ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คาร์ล มาคส์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 14: บรรทัด 14:
| influences = [[อดัม สมิธ]], [[วอลแตร์]], [[โยฮันน์ โวลฟ์กัง ฟอน เกอเธอ]]|
| influences = [[อดัม สมิธ]], [[วอลแตร์]], [[โยฮันน์ โวลฟ์กัง ฟอน เกอเธอ]]|
| influenced = [[วลาดีมีร์ เลนิน]], [[โจเซฟ สตาลิน]], [[ลีออน ทร็อตสกี]], [[เหมา เจ๋อตง]], [[ฟีเดล กัสโตร]], [[เช เกบารา]], [[โรซา ลุกเซมบวร์ก]], [[ฌ็อง-ปอล ซาทร์]], ''และอื่น ๆ'' |
| influenced = [[วลาดีมีร์ เลนิน]], [[โจเซฟ สตาลิน]], [[ลีออน ทร็อตสกี]], [[เหมา เจ๋อตง]], [[ฟีเดล กัสโตร]], [[เช เกบารา]], [[โรซา ลุกเซมบวร์ก]], [[ฌ็อง-ปอล ซาทร์]], ''และอื่น ๆ'' |
| notable_ideas = ผู้ร่วมก่อตั้งสำนักมากซ์ิส (ร่วมกับ [[ฟรีดริช เองเงิลส์]]), [[ค่าส่วนเกิน]], [[ทฤษฎีความแปลกแยก]]และการใช้ประโยชน์ของแรงงาน, [[คำประกาศพรรคคอมมิวนิสต์]]
| notable_ideas = ผู้ร่วมก่อตั้งสำนักมากซ์ส (ร่วมกับ [[ฟรีดริช เองเงิลส์]]), [[ค่าส่วนเกิน]], [[ทฤษฎีความแปลกแยก]]และการใช้ประโยชน์ของแรงงาน, [[คำประกาศพรรคคอมมิวนิสต์]]
|signature = Karl Marx Signature.svg }}
|signature = Karl Marx Signature.svg }}


บรรทัด 55: บรรทัด 55:
ในภายหลังมากซ์ได้ระบุแหล่งข้อมูลที่เขาใช้ว่าคือหนังสือพิมพ์ ''เดอะ มอร์นิง สตาร์''
ในภายหลังมากซ์ได้ระบุแหล่งข้อมูลที่เขาใช้ว่าคือหนังสือพิมพ์ ''เดอะ มอร์นิง สตาร์''


เองเงิลส์ได้ใช้เนื้อที่ในส่วนคำนำในการพิมพ์ครั้งที่สี่ของหนังสือ ''ว่าด้วยทุน'' เพื่อพูดถึงเรื่องนี้ แต่ก็ไม่สามารถจบข้อโต้เถียงนี้ลงได้ เองเงิลส์อ้างว่าแหล่งข่าวนั้นไม่ใช่ ''เดอะ มอร์นิง สตาร์'' แต่เป็น ''ไทมส์'' นักวิจารณ์แนวคิดมากซ์ิเช่นนักข่าว [[พอล จอห์นสัน]] ยังคงใช้เรื่องนี้ในการกล่าวหามากซ์ในเรื่องความซื่อสัตย์อยู่
เองเงิลส์ได้ใช้เนื้อที่ในส่วนคำนำในการพิมพ์ครั้งที่สี่ของหนังสือ ''ว่าด้วยทุน'' เพื่อพูดถึงเรื่องนี้ แต่ก็ไม่สามารถจบข้อโต้เถียงนี้ลงได้ เองเงิลส์อ้างว่าแหล่งข่าวนั้นไม่ใช่ ''เดอะ มอร์นิง สตาร์'' แต่เป็น ''ไทมส์'' นักวิจารณ์แนวคิดมากซ์เช่นนักข่าว [[พอล จอห์นสัน]] ยังคงใช้เรื่องนี้ในการกล่าวหามากซ์ในเรื่องความซื่อสัตย์อยู่


=== ช่วงปลายชีวิตของมากซ์ ===
=== ช่วงปลายชีวิตของมากซ์ ===
บรรทัด 83: บรรทัด 83:
นอกเหนือจากการที่อ้างว่าความสามารถของมนุษย์คือการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติแล้ว มากซ์มิได้ใช้ข้ออ้างอื่นๆ เกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์อีกเลย.
นอกเหนือจากการที่อ้างว่าความสามารถของมนุษย์คือการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติแล้ว มากซ์มิได้ใช้ข้ออ้างอื่นๆ เกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์อีกเลย.


มากซ์สืบทอดแนวคิดแบบวิภาษวิธีของเฮเกิล ดังนั้นเขาจึงมักจะหลีกเลี่ยงความคิดที่ว่ามนุษย์มีธรรมชาติบางอย่างที่ไม่เปลี่ยนแปลง บางครั้งมากซ์ิสจะอธิบายแนวคิดนี้โดยการเปรียบเทียบระหว่าง "ธรรมชาติ" กับ "ประวัติศาสตร์" หลายครั้งพวกเขาจะกล่าวว่า "สภาพการมีอยู่นำหน้าสำนึก" นั่นคือใครคนหนึ่งจะเป็นอย่างใดนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งแห่งหนและเวลาที่เขาอยู่ -- สถาพทางสังคมมีอำนาจมากกว่าพฤติกรรมดั้งเดิม หรืออาจกล่าวได้ว่าลักษณะสำคัญของมนุษย์คือการปรับตัวให้เขากับสิ่งต่างๆ รอบตัว
มากซ์สืบทอดแนวคิดแบบวิภาษวิธีของเฮเกิล ดังนั้นเขาจึงมักจะหลีกเลี่ยงความคิดที่ว่ามนุษย์มีธรรมชาติบางอย่างที่ไม่เปลี่ยนแปลง บางครั้งมากซ์สจะอธิบายแนวคิดนี้โดยการเปรียบเทียบระหว่าง "ธรรมชาติ" กับ "ประวัติศาสตร์" หลายครั้งพวกเขาจะกล่าวว่า "สภาพการมีอยู่นำหน้าสำนึก" นั่นคือใครคนหนึ่งจะเป็นอย่างใดนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งแห่งหนและเวลาที่เขาอยู่ -- สถาพทางสังคมมีอำนาจมากกว่าพฤติกรรมดั้งเดิม หรืออาจกล่าวได้ว่าลักษณะสำคัญของมนุษย์คือการปรับตัวให้เขากับสิ่งต่างๆ รอบตัว


มากซ์ไม่เชื่อว่าคนทุกคนจะทำงานในลักษณะเดียวกัน แต่เขาก็ไม่เชื่อเช่นเดียวกันว่าลักษณะที่ใครสักคนทำงานนั้นถูกกำหนดด้วยความคิดส่วนตัวไปทั้งสิ้น เขากลับอธิบายว่าการทำงานนั้นเป็นกิจกรรมทางสังคม และเงื่อนไขรวมถึงรูปแบบของการทำงานนั้นถูกกำหนดโดยสังคมและเปลี่ยนแปลงตามเวลา
มากซ์ไม่เชื่อว่าคนทุกคนจะทำงานในลักษณะเดียวกัน แต่เขาก็ไม่เชื่อเช่นเดียวกันว่าลักษณะที่ใครสักคนทำงานนั้นถูกกำหนดด้วยความคิดส่วนตัวไปทั้งสิ้น เขากลับอธิบายว่าการทำงานนั้นเป็นกิจกรรมทางสังคม และเงื่อนไขรวมถึงรูปแบบของการทำงานนั้นถูกกำหนดโดยสังคมและเปลี่ยนแปลงตามเวลา
บรรทัด 122: บรรทัด 122:
{{โครง-ส่วน}}
{{โครง-ส่วน}}
== การวิพากษ์มากซ์โดยนักคิดร่วมสมัย ==
== การวิพากษ์มากซ์โดยนักคิดร่วมสมัย ==
ทฤษฎีมากซ์ิสถูกวิพากษ์วิจารณ์จากหลายๆ มุมมอง
ทฤษฎีมากซ์สถูกวิพากษ์วิจารณ์จากหลายๆ มุมมอง


ผู้สนับสนุนระบบทุนนิยมได้อธิบายว่า แท้จริงแล้ว ในท้ายที่สุด ระบบทุนนิยมจะมีประสิทธิภาพในการสร้างและกระจายความร่ำรวย ได้ดีกว่าระบบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์ และช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน ที่มากซ์และเองเงิลส์กังวลนั้น เป็นแค่ปรากฏการณ์ชั่วคราวเท่านั้น. บางคนกล่าวว่า ความละโมบและความต้องการที่จะมีทรัพย์สินนั้น เป็นความต้องการพื้นฐานที่ซ่อนอยู่ของมนุษย์ หาใช่เป็นผลมาจากการรับเอาระบบทุนนิยมเข้ามา หรือว่าเกิดจากระบบเศรษฐกิจใด ๆ (แม้ว่า[[มานุษยวิทยาเชิงวัฒนธรรม|นักมานุษยวิทยา]]จะตั้งข้อสงสัยกับคำกล่าวอ้างนี้) และระบบเศรษฐกิจที่แตกต่างกันนั้น เกิดจากสังคมที่แตกต่างกันสะท้อนความจริงนี้ออกมาไม่เหมือนกัน กลุ่มนักเศรษฐศาสตร์[[สายออสเตรีย]]วิจารณ์มากซ์ในการใช้[[ทฤษฎีมูลค่าจากแรงงาน]] ([[:en:labor theory of value|labor theory of value]]) นอกจากนี้นโยบายและการกระทำต่าง ๆ ของ[[รัฐสังคมนิยม]] ที่มักอ้างว่าเป็นการกระทำตามแนวคิดของมากซ์ ได้ทำลายชื่อของมากซ์อย่างมากมายใน[[โลกตะวันตก]]
ผู้สนับสนุนระบบทุนนิยมได้อธิบายว่า แท้จริงแล้ว ในท้ายที่สุด ระบบทุนนิยมจะมีประสิทธิภาพในการสร้างและกระจายความร่ำรวย ได้ดีกว่าระบบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์ และช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน ที่มากซ์และเองเงิลส์กังวลนั้น เป็นแค่ปรากฏการณ์ชั่วคราวเท่านั้น. บางคนกล่าวว่า ความละโมบและความต้องการที่จะมีทรัพย์สินนั้น เป็นความต้องการพื้นฐานที่ซ่อนอยู่ของมนุษย์ หาใช่เป็นผลมาจากการรับเอาระบบทุนนิยมเข้ามา หรือว่าเกิดจากระบบเศรษฐกิจใด ๆ (แม้ว่า[[มานุษยวิทยาเชิงวัฒนธรรม|นักมานุษยวิทยา]]จะตั้งข้อสงสัยกับคำกล่าวอ้างนี้) และระบบเศรษฐกิจที่แตกต่างกันนั้น เกิดจากสังคมที่แตกต่างกันสะท้อนความจริงนี้ออกมาไม่เหมือนกัน กลุ่มนักเศรษฐศาสตร์[[สายออสเตรีย]]วิจารณ์มากซ์ในการใช้[[ทฤษฎีมูลค่าจากแรงงาน]] ([[:en:labor theory of value|labor theory of value]]) นอกจากนี้นโยบายและการกระทำต่าง ๆ ของ[[รัฐสังคมนิยม]] ที่มักอ้างว่าเป็นการกระทำตามแนวคิดของมากซ์ ได้ทำลายชื่อของมากซ์อย่างมากมายใน[[โลกตะวันตก]]
บรรทัด 128: บรรทัด 128:
มากซ์เองก็โดนวิพากษ์วิจารณ์จากทางฝ่ายซ้ายด้วยเช่นกัน นักสังคมนิยมแนววิวัฒนาการไม่เชื่อคำอ้างของมากซ์ว่า การสร้างรัฐสังคมนิยมจะต้องกระทำผ่านทางการปะทะระหว่างชนชั้น และการปฏิวัติอย่างรุนแรงเท่านั้น. บางกลุ่มก็กล่าวว่า ความไม่เท่าเทียมระหว่างชนชั้นนั้น ไม่ใช่ความไม่เท่าเทียมพื้นฐานของประวัติศาสตร์ และชี้ให้เห็นความปัญหาของ[[ลัทธิชายเป็นใหญ่]] และ[[การเหยียดชาติพันธุ์]] นอกจากนี้ยังมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับความถูกต้อง ทั้งในด้านทฤษฎีและด้านประวัติศาสตร์ ในการใช้ "ชนชั้น" เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ และมีการตั้งคำถามในทิศทางเดียวกันนี้ ถึงการที่มากซ์ถือความเชื่อของสมัยศตวรรษที่ 19 ที่เชื่อมวิทยาศาสตร์เข้ากับแนวคิดของ "ความก้าวหน้า" (ดู [[วิวัฒนาการเชิงสังคม]]) หลายคนเชื่อว่าระบบทุนนิยมเองได้เปลี่ยนแปลงไปมาก นับจากสมัยของมากซ์ และการแบ่งแยกชนชั้นก็มีรูปแบบที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น โดยยกตัวอย่างจากการที่คนงานก็มีสิทธิถือครองหุ้นของบรรษัทขนาดใหญ่ได้ โดยผ่านทางกองทุน (ดู [[แนวคิดหลังโครงสร้างนิยม]] และ [[แนวคิดหลังสมัยใหม่]] สำหรับการเคลื่อนไหวสองกลุ่มที่มักมีทิศทางสอดคล้องกับแนวคิดฝ่ายซ้าย ที่วิพากษ์มากซ์และ[[ลัทธิมากซ์]])
มากซ์เองก็โดนวิพากษ์วิจารณ์จากทางฝ่ายซ้ายด้วยเช่นกัน นักสังคมนิยมแนววิวัฒนาการไม่เชื่อคำอ้างของมากซ์ว่า การสร้างรัฐสังคมนิยมจะต้องกระทำผ่านทางการปะทะระหว่างชนชั้น และการปฏิวัติอย่างรุนแรงเท่านั้น. บางกลุ่มก็กล่าวว่า ความไม่เท่าเทียมระหว่างชนชั้นนั้น ไม่ใช่ความไม่เท่าเทียมพื้นฐานของประวัติศาสตร์ และชี้ให้เห็นความปัญหาของ[[ลัทธิชายเป็นใหญ่]] และ[[การเหยียดชาติพันธุ์]] นอกจากนี้ยังมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับความถูกต้อง ทั้งในด้านทฤษฎีและด้านประวัติศาสตร์ ในการใช้ "ชนชั้น" เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ และมีการตั้งคำถามในทิศทางเดียวกันนี้ ถึงการที่มากซ์ถือความเชื่อของสมัยศตวรรษที่ 19 ที่เชื่อมวิทยาศาสตร์เข้ากับแนวคิดของ "ความก้าวหน้า" (ดู [[วิวัฒนาการเชิงสังคม]]) หลายคนเชื่อว่าระบบทุนนิยมเองได้เปลี่ยนแปลงไปมาก นับจากสมัยของมากซ์ และการแบ่งแยกชนชั้นก็มีรูปแบบที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น โดยยกตัวอย่างจากการที่คนงานก็มีสิทธิถือครองหุ้นของบรรษัทขนาดใหญ่ได้ โดยผ่านทางกองทุน (ดู [[แนวคิดหลังโครงสร้างนิยม]] และ [[แนวคิดหลังสมัยใหม่]] สำหรับการเคลื่อนไหวสองกลุ่มที่มักมีทิศทางสอดคล้องกับแนวคิดฝ่ายซ้าย ที่วิพากษ์มากซ์และ[[ลัทธิมากซ์]])


ยังมีกลุ่มที่วิจารณ์มากซ์โดยใช้ทัศนะจากการศึกษาด้านปรัชญาของวิทยาศาสตร์ ที่โดดเด่นก็คือ [[คาร์ล พอพเพอร์]] ผู้เป็นนักปรัชญา ได้วิพากษ์ทฤษฎีของมากซ์ว่า เป็นสิ่งที่ตรวจสอบว่าผิดไม่ได้ ซึ่งจะทำให้คำอ้างทางประวัติศาสตร์ รวมถึงด้านสังคมและการเมืองของมากซ์นั้น ไม่สอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์ สาเหตุหลักมาจากการทำนายของมากซ์ว่า ระบบทุนนิยมจะล่มสลายลงเนื่องจากการปฏิวัติของชนชั้น ผู้ที่ไม่เชื่อจะกล่าวว่า "สิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้น" ในขณะที่เหล่ามากซ์ิสจะโต้ว่า "แต่มันจะต้องเกิด" ลักษณะเช่นนี้ทำให้ข้อพิสูจน์ต่าง ๆ ของแนวคิดมากซ์ที่วางอยู่บนหลักฐานเชิง[[ประจักษ์นิยม]]นั้น เป็นไปไม่ได้ ด้วยเหตุผลนี้ พอพเพอร์จึงอธิบายว่า ไม่ว่ามากซ์จะอ้างว่า ได้ทำให้การศึกษาประวัติศาสตร์เป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์ก็ตาม แต่ความจริงแล้ว ความคิดแนวมากซ์ไม่สามารถเป็นความคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ได้. [[กลุ่มต่อต้านคอมมิวนิสต์]]ในฝั่งตะวันตกมักกล่าวโทษมากซ์อย่างรุนแรง ซึ่งเป็นผลมาจากการมองมากซ์ผ่านทางการกระทำของรัฐคอมมิวนิสต์ และปัญหาการเมืองเมื่อสมัย[[สงครามเย็น]]
ยังมีกลุ่มที่วิจารณ์มากซ์โดยใช้ทัศนะจากการศึกษาด้านปรัชญาของวิทยาศาสตร์ ที่โดดเด่นก็คือ [[คาร์ล พอพเพอร์]] ผู้เป็นนักปรัชญา ได้วิพากษ์ทฤษฎีของมากซ์ว่า เป็นสิ่งที่ตรวจสอบว่าผิดไม่ได้ ซึ่งจะทำให้คำอ้างทางประวัติศาสตร์ รวมถึงด้านสังคมและการเมืองของมากซ์นั้น ไม่สอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์ สาเหตุหลักมาจากการทำนายของมากซ์ว่า ระบบทุนนิยมจะล่มสลายลงเนื่องจากการปฏิวัติของชนชั้น ผู้ที่ไม่เชื่อจะกล่าวว่า "สิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้น" ในขณะที่เหล่ามากซ์สจะโต้ว่า "แต่มันจะต้องเกิด" ลักษณะเช่นนี้ทำให้ข้อพิสูจน์ต่าง ๆ ของแนวคิดมากซ์ที่วางอยู่บนหลักฐานเชิง[[ประจักษ์นิยม]]นั้น เป็นไปไม่ได้ ด้วยเหตุผลนี้ พอพเพอร์จึงอธิบายว่า ไม่ว่ามากซ์จะอ้างว่า ได้ทำให้การศึกษาประวัติศาสตร์เป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์ก็ตาม แต่ความจริงแล้ว ความคิดแนวมากซ์ไม่สามารถเป็นความคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ได้. [[กลุ่มต่อต้านคอมมิวนิสต์]]ในฝั่งตะวันตกมักกล่าวโทษมากซ์อย่างรุนแรง ซึ่งเป็นผลมาจากการมองมากซ์ผ่านทางการกระทำของรัฐคอมมิวนิสต์ และปัญหาการเมืองเมื่อสมัย[[สงครามเย็น]]


พรรคการเมืองมากซ์ิสต์รวมถึงการเคลื่อนไหวต่าง ๆ นั้น ลดความเข้มแข็งลง ภายหลังจาก[[การล่มสลายของสหภาพโซเวียต]] นักวิจารณ์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฝ่ายขวา ได้ใช้เหตุการณ์นี้อธิบายว่า เกิดขึ้นมาจากความล้มเหลวภายในหลาย ๆ อย่างในสหภาพโซเวียต และการล่มสลายที่ตามมานี้ เป็นผลพวงโดยตรงจากแผนการของมากซ์ แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของแนวคิดมากซ์ิสม์. อย่างไรก็ตาม กลุ่มมากซ์ิสต์กล่าวว่า นโยบายของสหภาพโซเวียต ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบเลนินนิสต์และสตาลินนิสต์นั้น แม้จะดูผิวเผินแล้วคล้ายคลึงกับทฤษฎีของมากซ์ แต่ในเนื้อแท้แล้วแตกต่างกันมาก. มากซ์วิเคราะห์โลกในยุคสมัยของเขา และปฏิเสธที่จะเขียนแผนการว่าโลกสังคมนิยมจะต้องเป็นอย่างใด โดยเขากล่าวว่าเขามิได้ "เขียนตำราอาหาร สำหรับอนาคต". สำหรับภายนอกยุโรปและสหรัฐอเมริกาแล้ว การเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้าน[[ลัทธิจักรวรรดินิยม]] รวมถึงการกลุ่ม[[ชาตินิยม]] มักมีความสำคัญกว่าคอมมิวนิสต์. อย่างไรก็ตาม หลายครั้งกลุ่มเคลื่อนไหวนี้ ได้ใช้แนวคิดของมากซ์เป็นพื้นฐานทางทฤษฎี.
พรรคการเมืองมากซ์สต์รวมถึงการเคลื่อนไหวต่าง ๆ นั้น ลดความเข้มแข็งลง ภายหลังจาก[[การล่มสลายของสหภาพโซเวียต]] นักวิจารณ์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฝ่ายขวา ได้ใช้เหตุการณ์นี้อธิบายว่า เกิดขึ้นมาจากความล้มเหลวภายในหลาย ๆ อย่างในสหภาพโซเวียต และการล่มสลายที่ตามมานี้ เป็นผลพวงโดยตรงจากแผนการของมากซ์ แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของแนวคิดมากซ์สม์. อย่างไรก็ตาม กลุ่มมากซ์สต์กล่าวว่า นโยบายของสหภาพโซเวียต ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบเลนินนิสต์และสตาลินนิสต์นั้น แม้จะดูผิวเผินแล้วคล้ายคลึงกับทฤษฎีของมากซ์ แต่ในเนื้อแท้แล้วแตกต่างกันมาก. มากซ์วิเคราะห์โลกในยุคสมัยของเขา และปฏิเสธที่จะเขียนแผนการว่าโลกสังคมนิยมจะต้องเป็นอย่างใด โดยเขากล่าวว่าเขามิได้ "เขียนตำราอาหาร สำหรับอนาคต". สำหรับภายนอกยุโรปและสหรัฐอเมริกาแล้ว การเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้าน[[ลัทธิจักรวรรดินิยม]] รวมถึงการกลุ่ม[[ชาตินิยม]] มักมีความสำคัญกว่าคอมมิวนิสต์. อย่างไรก็ตาม หลายครั้งกลุ่มเคลื่อนไหวนี้ ได้ใช้แนวคิดของมากซ์เป็นพื้นฐานทางทฤษฎี.


ผู้สนับสนุนมากซ์ในปัจจุบันกล่าวโดยทั่วไปว่า มากซ์นั้นพูดไว้อย่างถูกต้องว่า ธรรมชาติของมนุษย์นั้นเป็นภาพสะท้อนมาจากผลของประวัติศาสตร์และสภาพทางสังคม (ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และไม่สามารถจะทำความเข้าใจได้ถ้ายังเชื่อว่ามีธรรมชาติที่แท้ของมนุษย์อยู่) พวกเขาเชื่อว่าการวิเคราะห์เกี่ยวกับสินค้าของมากซ์ยังคงเป็นสิ่งที่ใช้ประโยชน์ได้ และความแปลกแยกก็ยังเป็นปัญหาที่สำคัญอยู่ พวกเขากล่าวว่าระบบทุนนิยมนั้น ไม่ได้ดำรงอยู่เป็นระบบโดด ๆ แยกกันไปตามแต่ละประเทศ ดังนั้นการวิเคราะห์จะต้องพิจารณาว่าเป็นระบบที่เชื่อมต่อกันในระดับโลก พวกเขากล่าวว่าเมื่อมองในระดับโลกแล้ว ระบบทุนนิยมในขณะนี้ก็อยู่ระหว่างการก่อตัว และก็กำลังขยายช่องว่างระหว่างคนมั่งมีและคนยากจนขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกับในประเทศอังกฤษในบทความของเองเงิลส์ ซึ่งช่องว่างนี้เองเป็นสิ่งที่ทำให้มากซ์หันเหจากการศึกษาปรัชญามาสนใจปัญหาสังคม
ผู้สนับสนุนมากซ์ในปัจจุบันกล่าวโดยทั่วไปว่า มากซ์นั้นพูดไว้อย่างถูกต้องว่า ธรรมชาติของมนุษย์นั้นเป็นภาพสะท้อนมาจากผลของประวัติศาสตร์และสภาพทางสังคม (ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และไม่สามารถจะทำความเข้าใจได้ถ้ายังเชื่อว่ามีธรรมชาติที่แท้ของมนุษย์อยู่) พวกเขาเชื่อว่าการวิเคราะห์เกี่ยวกับสินค้าของมากซ์ยังคงเป็นสิ่งที่ใช้ประโยชน์ได้ และความแปลกแยกก็ยังเป็นปัญหาที่สำคัญอยู่ พวกเขากล่าวว่าระบบทุนนิยมนั้น ไม่ได้ดำรงอยู่เป็นระบบโดด ๆ แยกกันไปตามแต่ละประเทศ ดังนั้นการวิเคราะห์จะต้องพิจารณาว่าเป็นระบบที่เชื่อมต่อกันในระดับโลก พวกเขากล่าวว่าเมื่อมองในระดับโลกแล้ว ระบบทุนนิยมในขณะนี้ก็อยู่ระหว่างการก่อตัว และก็กำลังขยายช่องว่างระหว่างคนมั่งมีและคนยากจนขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกับในประเทศอังกฤษในบทความของเองเงิลส์ ซึ่งช่องว่างนี้เองเป็นสิ่งที่ทำให้มากซ์หันเหจากการศึกษาปรัชญามาสนใจปัญหาสังคม

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:27, 2 มกราคม 2558

คาร์ล มากซ์
เกิด5 พฤษภาคม พ.ศ. 2361
เทรียร์, ปรัสเซีย
เสียชีวิต14 มีนาคม พ.ศ. 2426 (64 ปี)
ลอนดอน, สหราชอาณาจักร
แนวทางปรัชญาตะวันตก
สำนักลัทธิมากซ์, คอมมิวนิสต์, เฮเกลเลียน
ความสนใจหลัก
เศรษฐศาสตร์, การเมือง, การต่อสู้ของชนชั้น, ประวัติศาสตร์, สังคมวิทยา
แนวคิดเด่น
ผู้ร่วมก่อตั้งสำนักมากซ์ส (ร่วมกับ ฟรีดริช เองเงิลส์), ค่าส่วนเกิน, ทฤษฎีความแปลกแยกและการใช้ประโยชน์ของแรงงาน, คำประกาศพรรคคอมมิวนิสต์
ลายมือชื่อ

คาร์ล ไฮน์ริช มากซ์ (อังกฤษ: Karl Heinrich Marx; 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2361 — 14 มีนาคม พ.ศ. 2426) เป็นนักปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์การเมือง นักประวัติศาสตร์ นักสังคมนิยม นักคอมมิวนิสต์ และนักปฏิวัติชาวเยอรมัน ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของแนวคิดที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาคอมมิวนิสต์สมัยใหม่ มากซ์ได้สรุปแนวคิดของเขาไว้ในบรรทัดแรกของ คำประกาศเจตนาคอมมิวนิสต์ ซึ่งตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2391 ว่า: "ประวัติศาสตร์ของสังคมทั้งหมดที่ผ่านมาจนกระทั่งถึงบัดนี้ล้วนแต่เป็นประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้ทางชนชั้น"

มากซ์ไม่ใช่เป็นแค่นักทฤษฎีทางสังคมและการเมือง แต่เขายังเป็นเรี่ยวแรงสำคัญในการจัดตั้งสมาคมกรรมกรสากล (International Workingmen's Association - เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "องค์กรสากลที่ 1") งานเขียนของเขาเป็นแกนหลักของการเคลื่อนไหวในแนวทางคอมมิวนิสต์, สังคมนิยม, ลัทธิเลนิน, และลัทธิมากซ์

ประวัติ

วัยเด็ก

คาร์ล มากซ์ เกิดในครอบครัวชาวยิวหัวก้าวหน้าในเมืองเทรียร์แคว้นปรัสเซีย (ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศเยอรมนี) พ่อของเขา เฮอร์เชล ผู้สืบเชื้อสายมาจากตระกูลที่เป็นราไบ ทำอาชีพทนาย ชื่อสกุลเดิมของมากซ์คือ มากซ์ เลวี ซึ่งแปลงมาจากชื่อสกุลยิวเก่าว่า มาร์โดไค ในปี ค.ศ. 1817 พ่อของมากซ์ได้เปลี่ยนศาสนาเป็นศาสนาคริสต์นิกายลูเธอร์ซึ่งเป็นศาสนาประจำรัฐปรัสเซีย เพื่อรักษาอาชีพทนายเอาไว้ ครอบครัวมากซ์เป็นครอบครัวเสรีนิยม และได้รับรองแขกที่เป็นนักวิชาการและศิลปินหลายคนในสมัยที่มากซ์ยังเป็นเด็กและยังเป็นเพื่อนของ อัลเบริด ไอสไตอีกด้วย

การศึกษา

มากซ์เมื่อครั้งเป็นนักเรียน

มากซ์ได้คะแนนดีใน ยิมเนเซียม ซึ่งเป็นโรงเรียนระดับมัธยมปลายของรัฐปรัสเซีย เขาได้รางวัลจากวิทยานิพนธ์ระดับมัธยมปลายที่มีชื่อว่า "ศาสนา: กาวที่เชื่อมต่อสังคมเข้าด้วยกัน" งานชิ้นแรกนี้เป็นจุดเริ่มต้นให้กับงานวิเคราะห์ศาสนาของเขาต่อไปในภายหลัง

มากซ์เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งเมืองบอนน์ในปี ค.ศ. 1833 (พ.ศ. 2376) เพื่อศึกษากฎหมาย ตามคำเรียกร้องของบิดา ที่บอนน์เขาเข้าชมรมนักเดินทางแห่งเทรียร์ (และบางช่วงยังได้เป็นประธานชมรม) ผลการเรียนของเขาเริ่มตกต่ำ เนื่องจากเขาใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการร้องเพลงอยู่ในร้านเบียร์ ปีถัดไปพ่อของเขาจึงให้เขาย้ายไปยังกรุงเบอร์ลินเพื่อเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยฟรีดรีช-วิลเฮล์ม (Friedrich-Wilhelms-Universität) ที่เอาจริงเอาจังด้านการวิชาการมากขึ้น ปัจจุบันมหาวิทยาลัยนี้คือมหาวิทยาลัยฮุมโบลด์ทแห่งเบอร์ลิน (Humboldt-Universität zu Berlin)

มากซ์และกลุ่มนิยมเฮเกิลรุ่นใหม่

ที่เบอร์ลิน มากซ์เริ่มหันไปสนใจปรัชญาท่ามกลางความไม่พอใจของบิดา เขาได้เข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มนักศึกษาและอาจารย์ที่มีอายุไม่มากที่เป็นที่รู้จักในชื่อ "กลุ่มนิยมเฮเกิลรุ่นใหม่" (Young Hegelians) ซึ่งนำโดยบรูโน บาวเออร์ (Bruno Bauer) สมาชิกหลายคนในกลุ่มพยายามโยงปรัชญาแนวหลังอริสโตเติลเข้ากับปรัชญาหลังเฮเกิล มักซ์ สเตอร์เนอร์ สมาชิกกลุ่มเฮเกิลรุ่นใหม่อีกคนหนึ่ง นำการวิพากษ์แบบเฮเกิลมาใช้เพื่อสร้างคำอธิบายที่แทบจะเป็นแบบสุญนิยม ว่าสุดท้ายแล้วอีโกนิยมคือเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์ แนวคิดเช่นนี้ไม่เป็นที่ยอมรับของแทบทุกคนในกลุ่ม และมากซ์ได้โต้แนวคิดนี้บางส่วนใน Die Deutsche Ideologie (อุดมการณ์เยอรมัน)

เกออร์ก เฮเกิล (Georg Hegel) เพิ่งเสียชีวิตไปไม่นานในปีค.ศ. 1831 (พ.ศ. 2374) และในช่วงชีวิตของเขานั้น ได้เป็นผู้ที่ทรงอิทธิพลทางวิชาการในสังคมเยอรมนีมาก กลุ่มที่เชื่อแนวคิดแบบเฮเกิล (รู้จักกันในชื่อว่า กลุ่มเฮเกิลขวา) เชื่อว่าลำดับการวิภาษทางประวัติศาสตร์นั้นเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว และสังคมปรัสเซีย ที่ถึงพร้อมด้วยการบริการพลเมือง มหาวิทยาลัยที่ดี การพัฒนาทางอุตสาหกรรม และอัตราการจ้างงานที่สูง เป็นผลสรุปของการพัฒนาการทางสังคมดังกล่าว กลุ่มนิยมเฮเกิลรุ่นใหม่ที่มากซ์สังกัดอยู่ด้วยนั้นเชื่อว่ายังจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงแบบวิภาษอีก และสังคมปรัสเซียในขณะนั้น ยังมีความไม่สมบูรณ์อีกมาก ทั้งนี้เนื่องจากสังคมยังมีความยากจน รัฐบาลยังคงใช้ระบบเซ็นเซอร์ที่เข้มแข็ง และกลุ่มคนที่มิได้นับถือศาสนาคริสต์นิกายลูเธอร์ยังคงโดยกีดกันทางสังคม

มากซ์ถูกเตือนมิให้ส่งวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยฟรีดรีช-วิลเฮล์ม เนื่องจากคาดว่าจะไม่เป็นที่ยอมรับที่นั่นเนื่องจากชื่อเสียงของมากซ์ ว่าเป็นนักคิดแนวถอนรากถอนโคนในกลุ่มนิยมเฮเกิลรุ่นใหม่ มากซ์จึงส่งวิทยานิพนธ์ของเขา ที่เปรียบเทียบทฤษฎีทางด้านอะตอมของดิโมคริตัสกับอีพิคารุสไปยังมหาวิทยาลัยเจนา ในปีค.ศ. 1840 (พ.ศ. 2383) ซึ่งได้กลายเป็นมหาวิทยาลัยที่มากซ์จบการศึกษา

อาชีพ

เมื่อบาวเออร์อาจารย์ของเขาถูกขับออกจากภาควิชาปรัชญาในปี ค.ศ. 1842 (พ.ศ. 2385) มากซ์จึงเลิกสนใจปรัชญาและหันเหความสนใจไปยังการเป็นนักข่าว เขาได้เข้าทำหน้าที่บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ Rheinische Zeitung หนังสือพิมพ์หัวก้าวหน้าของเมืองโคโลญ อย่างไรก็ตามหนังสือพิมพ์เล่มนั้นโดนสั่งปิดในปี ค.ศ. 1843 (พ.ศ. 2386) ซึ่งเป็นผลบางส่วนจากความขัดแย้งระหว่างมากซ์กับมาตรการเซ็นเซอร์ของรัฐ มากซ์กลับไปสนใจปรัชญา และหันไปเป็นนักกิจกรรมทางการเมือง พร้อมกับทำงานเป็นนักข่าวอิสระ ไม่นานมากซ์ก็ต้องเดินทางลี้ภัย ซึ่งเป็นสิ่งที่มากซ์ต้องกระทำอยู่เรื่อย ๆ เนื่องจากการแสดงความเห็นแบบถอนรากถอนโคนของเขา

มากซ์เดินทางไปยังประเทศฝรั่งเศส ที่นั่นเอง เขาได้ขบคิดเรื่องราวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเขากับบาวเออร์และกลุ่มนิยมเฮเกิลรุ่นใหม่ และได้เขียนบทความ ปัญหาชาวยิว (On the Jewish Question) ซึ่งเป็นบทวิพากษ์แนวคิดปัจจุบันเกี่ยวกับสิทธิพลเมืองและการปลดปล่อยทางการเมือง ที่ปารีสเขาได้พบ ฟรีดริช เองเงิลส์ ผู้ซึ่งกลายเป็นผู้ร่วมงานกับมากซ์ไปตลอดชีวิตของเขา เองเงิลส์ได้กระตุ้นให้มากซ์สนใจสถานการณ์ของชนชั้นทำงาน และช่วยแนะนำให้มากซ์สนใจเศรษฐศาสตร์ เมื่อเขาและเองเงิลส์ถูกภัยการเมืองอีกครั้งอันเนื่องมาจากงานเขียน เขาย้ายไปยังเมืองปรัสเซล ประเทศเบลเยียม

พวกเขาได้ร่วมกันเขียนบทความชื่อ อุดมการณ์เยอรมัน (The German Ideology) ซึ่งวิพากษ์วิจารณ์ปรัชญาของเฮเกิลและกลุ่มนิยมเฮเกิลรุ่นใหม่ หลังจากนั้นมากซ์เขียน ความอับจนของปรัชญา (The Poverty of Philosophy) ซึ่งวิพากษ์ความคิดสังคมนิยมสายฝรั่งเศส บทความทั้งสองวางรากฐานให้กับ คำประกาศเจตนาคอมมิวนิสต์ (The Communist Manifesto) อันเป็นผลงานที่โด่งดังที่สุดของมากซ์และเองเงิลส์. หนังสือ คำประกาศเจตนา ซึ่งสมาพันธ์คอมมิวนิสต์ซึ่งเป็นกลุ่มผู้อพยพชาวเยอรมันที่มากซ์ได้พบที่ลอนดอนได้ร้องขอให้เขียน ได้รับการตีพิมพ์เมื่อวันที่ 21 ก.พ. ค.ศ. 1848 (พ.ศ. 2391)

ปีนั้นเอง ในยุโรปได้เกิดการลุกฮือครั้งยิ่งใหญ่ กลุ่มคนงานได้เข้ายึดอำนาจจากพระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส และได้เชิญมากซ์กลับปารีส ต่อมาหลังจากที่รัฐบาลคนงานล่มสลายลงในปี ค.ศ. 1849 (พ.ศ. 2392) มากซ์ได้ย้ายกลับไปยังโคโลญ และได้เริ่มพิมพ์หนังสือพิมพ์ Rheinische Zeitung ขึ้นมาใหม่ก่อนจะถูกสั่งปิดลงอีกครั้ง สุดท้ายมากซ์จึงย้ายไปอยู่ที่ลอนดอน ขณะที่อยู่ที่ลอนดอนนั้น มากซ์ทำหน้าที่เป็นผู้สื่อข่าวฝั่งยุโรปให้กับหนังสือพิมพ์นิวยอร์กทรีบูน (New York Tribune) ระหว่างปี ค.ศ. 1852 (พ.ศ. 2395) ถึง 1861 (พ.ศ. 2404) ในปี ค.ศ. 1852 นั้นเอง มากซ์ได้เขียนแผ่นพับ การปฏิวัติของหลุยส์ โบนาปาร์ต (The Eighteenth Brumaire of Louis Bonaparte) เพื่อวิเคราะห์เหตุการณ์ที่หลุยส์-นโปเลียน โบนาปาร์ต (หลานของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศส) เข้ายึดอำนาจรัฐในประเทศฝรั่งเศสและสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดินโปเลียนที่ 3

สากลที่หนึ่ง และคำพูดของแกลดสโตน

ในปีค.ศ. 1863 (พ.ศ. 2406) รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของอังกฤษ วิลเลียม อีวาร์ท แกลดสโตนได้กล่าวสุนทรพจน์แก่สภาผู้แทน โดยเขาได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของความร่ำรวยของประเทศอังกฤษและได้เพิ่มเติม (ตามรายงานจากหนังสือพิมพ์ ไทมส์) ว่า "ผมควรจะมองการเพิ่มขึ้นของความมั่งคั่งและอำนาจอย่างเมามายเหล่านี้ ด้วยความหวาดกลัวและความเจ็บปวด ถ้าผมเชื่อว่ามันเกิดขึ้นเฉพาะกับกลุ่มชนที่มีชีวิตสะดวกสบายเท่านั้น ที่ผมกล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับสภาพของประชากรที่ใช้แรงงานเลย การเพิ่มขึ้นมาของความมั่งคั่งที่ผมได้อธิบายและที่ผมคิดว่าเกิดขึ้นจากกำไรจากการลงทุนนั้น เป็นการเพิ่มขึ้นที่เกิดเฉพาะกับชนชั้นที่ครอบครองทรัพย์สินเท่านั้น" แต่ในรายงานฉบับกึ่งทางการ แกลดสโตนได้ลบประโยคสุดท้ายออก ซึ่งการแก้ไขนี้เป็นสิ่งที่กระทำกันทั่วไปในหมู่สมาชิกสภา

ในปี ค.ศ. 1864 (พ.ศ. 2407) มากซ์ได้ก่อตั้งสมาคมกรรมกรสากล ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่าองค์การสากลที่หนึ่ง เพื่อเป็นแกนหลักในการทำกิจกรรมทางการเมือง ในคำสุนทรพจน์เปิดงานนั้น มากซ์ได้อ้างถึงคำพูดของแกลดสโตนไปในทำนองที่ว่า "การเพิ่มขึ้นของความร่ำรวยและอำนาจอย่างเมามายนี้ เกิดขึ้นกับเฉพาะชนชั้นที่มีทรัพย์สินเท่านั้น" เขายังอ้างถึงคำพูดนี้อีกในหนังสือ ว่าด้วยทุน ไม่นานนักความแตกต่างระหว่างสิ่งที่มากซ์อ้างกับที่มีบันทึกไว้ในรายงาน (ซึ่งเป็นที่แพร่หลาย) ถูกนำมาใช้เพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของแนวร่วมระหว่างประเทศ มากซ์พยายามจะโต้ตอบข้อกล่าวหาเรื่องความไม่ซื่อสัตย์นี้ แต่ว่าข้อกล่าวอ้างนั้นก็กลับมาเรื่อยๆ

ในภายหลังมากซ์ได้ระบุแหล่งข้อมูลที่เขาใช้ว่าคือหนังสือพิมพ์ เดอะ มอร์นิง สตาร์

เองเงิลส์ได้ใช้เนื้อที่ในส่วนคำนำในการพิมพ์ครั้งที่สี่ของหนังสือ ว่าด้วยทุน เพื่อพูดถึงเรื่องนี้ แต่ก็ไม่สามารถจบข้อโต้เถียงนี้ลงได้ เองเงิลส์อ้างว่าแหล่งข่าวนั้นไม่ใช่ เดอะ มอร์นิง สตาร์ แต่เป็น ไทมส์ นักวิจารณ์แนวคิดมากซ์เช่นนักข่าว พอล จอห์นสัน ยังคงใช้เรื่องนี้ในการกล่าวหามากซ์ในเรื่องความซื่อสัตย์อยู่

ช่วงปลายชีวิตของมากซ์

ปกในของหนังสือ ว่าด้วยทุน (Das Kapital)

ที่ลอนดอน ในช่วงเวลาเดียวกันกับที่มีการโต้เถียงเรื่องการอ้างคำพูดของแกลดสโตนนี้ มากซ์ได้ทุ่มเทเวลาไปกับการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์และเชิงทฤษฎีสำหรับการเขียนหนังสือ ว่าด้วยทุน (หรือในชื่อเต็มว่า ทุน: บทวิพากษ์ทางเศรษฐศาสตร์การเมือง และชื่อภาษาเยอรมันว่า Das Kapital). มากซ์ตีพิมพ์เล่มแรกของชุดในปี ค.ศ. 1867 (พ.ศ. 2410) , สำหรับอีกสองเล่มที่เหลือนั้น มากซ์ไม่ได้เขียนให้เสร็จสิ้น แต่ได้รับการเรียบเรียงโดยเองเงิลส์จากบันทึกและร่างต่าง ๆ และตีพิมพ์หลังจากที่มากซ์เสียชีวิตลงแล้ว

ช่วงเวลาที่เขาใช้ชีวิตอยู่ที่ลอนดอนนั้น ครอบครัวของมากซ์ค่อนข้างยากจน และยังต้องอาศัยเงินช่วยเหลือจากเองเงิลส์เป็นระยะ ๆ มากซ์เสียชีวิตที่ลอนดอนในปี ค.ศ. 1883 (พ.ศ. 2426) ศพของเขาฝังที่สุสานไฮห์เกต (Highgate Cemetery) ที่ลอนดอน บนป้ายชื่อของเขาจารึกไว้ว่า: "กรรมาชีพในทุกพื้นถิ่น จงรวมพลัง!" ("Workers of all lands, unite!")

ชีวิตสมรส

เจนนี ฟอน เวสฟาเลน ผู้เป็นภรรยาของมากซ์ มาจากครอบครัวราชการ ลุงของเธอคือไลออน ฟิลิปส์ บิดาของพี่น้องเจอราร์ดและแอนตันผู้ก่อตั้งบริษัทฟิลิปส์ในปีค.ศ. 1891 ครอบครัวมากซ์มีลูกหลายคน แต่ก็มีหลายคนที่เสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก เอลินอร์ มากซ์ลูกสาวของพวกเขา (1855-1898) ซึ่งเกิดในลอนดอน ก็เป็นนักสังคมนิยมที่ทุ่มเทและช่วยแก้ไขงานของพ่อของเธอ เจนนี มากซ์เสียชีวิตในเดือนธันวาคมปีค.ศ. 1881 (พ.ศ. 2424)

แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อความคิดของมากซ์

ความคิดของมากซ์นั้นได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากทั้งแนวคิดวิภาษวิธีประวัติศาสตร์ของเกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล (Georg Wilhelm Friedrich Hegel) และเศรษฐศาสตร์การเมืองของแอดัม สมิท (Adam Smith) และเดวิด ริคาร์โด (David Ricardo) เขาเชื่อในความเป็นไปได้ที่จะศึกษาประวัติศาสตร์และสังคมในลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะทำให้เข้าใจแนวโน้มของประวัติศาสตร์รวมถึงผลลัพธ์ของข้อขัดแย้งทางสังคมได้

เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล

ปรัชญาของมากซ์ (ที่เฮเกล เรียกว่า วัตถุนิยมประวัติศาสตร์) นั้นได้รับอิทธิพลอย่างสูงมาจากแนวคิดของเฮเกิลที่ว่าความจริง (รวมถึงประวัติศาสตร์) นั้นจะต้องพิจารณาแบบวิภาษวิธี (dialectic) โดยมองว่าเป็นการปะทะกันของแรงคู่ตรงข้าม หลายครั้งแนวคิดนี้ถูกเขียนย่อว่าเป็น thesis + antithesis → synthesis (ข้อวินิจฉัย + ข้อโต้แย้ง → การประสม, การสังเคราะห์) เฮเกลเชื่อว่าทิศทางของประวัติศาสตร์นั้นสามารถพิจารณาได้เป็นช่วง ๆ ที่มีเป้าหมายไปสู่ความสมบูรณ์และจริงแท้ เขากล่าวว่าหลายครั้งพัฒนาการจะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่ก็อาจมีบางช่วงที่ต้องมีการต่อสู้และเปลี่ยนแปลงผู้ที่อยู่ในอำนาจเดิม มากซ์ยอมรับภาพรวมของประวัติศาสตร์ตามที่เฮเกลเสนอ อย่างไรก็ตามเฮเกลนั้นเป็นนักปรัชญาแนวจิตนิยม ส่วนมากซ์นั้นต้องการจะอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในรูปของวัตถุ เขาได้เขียนว่านักปรัชญาสายเฮเกลนั้นวางความเป็นจริงไว้บนหัว ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องจับมันให้วางเสียใหม่บนเท้าของตนเอง

ในการยอมรับวิภาษวิธีเชิงวัตถุ ซึ่งเป็นการปฏิเสธแนวคิดแบบจิตนิยมของเฮเกลนั้น มากซ์ได้รับอิทธิพลมาจาก ลุควิก ฟอยเออร์บาค (Ludwig Feuerbach). ในหนังสือ "The Essence of Christianity" ฟอยเออร์บาคได้อธิบายว่าพระเจ้านั้น คือผลงานสร้างสรรค์ของมนุษย์ และคุณลักษณะต่าง ๆ ที่ผู้คนยกย่องพระเจ้านั้น แท้จริงแล้วเป็นคุณลักษณะของความเป็นมนุษย์นั่นเอง. มากซ์ยอมรับแนวคิดเช่นนี้ และได้อธิบายว่า โลกวัตถุนั้นเป็นโลกที่แท้จริง ส่วนแนวคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับโลกนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นผลสืบเนื่องมาจากโลกวัตถุ แม้ว่ามากซ์จะเชื่อเช่นเดียวกับเฮเกิลและนักปรัชญาคนอื่น ๆ ในการแบ่งแยกโลกที่ปรากฏกับโลกที่แท้จริง เขาไม่เชื่อว่าโลกวัตถุนั้นจะซ่อนโลกที่แท้จริงทางจิตเอาไว้ ในทางกลับกัน มากซ์ยังเชื่อว่าอุดมการณ์ที่ถูกสร้างผ่านทางประวัติศาสตร์และกระบวนการสังคมนั้น เป็นสิ่งที่ปิดบังไม่ให้ผู้คนเห็นสถาพทางวัตถุที่แท้จริงในชีวิตของพวกเขา

ผลงานอีกชิ้นหนึ่ง ที่มีส่วนสำคัญในการปรับปรุงแนวคิดของเฮเกลของมากซ์ คือ หนังสือที่เขียนโดย ฟรีดริช เองเงิลส์ (Friedrich Engels) ชื่อว่า "The Condition of the Working Class in England in 1844" (สภาพของชนชั้นกรรมาชีพในอังกฤษในปี 1844) หนังสือเล่มนี้ทำให้มากซ์มองวิภาษวิธีเชิงประวัติศาสตร์ออกมาในรูปของความขัดแย้งระหว่างชนชั้น และมองเป็นว่าชนชั้นกรรมาชีพสมัยใหม่จะเป็นแรงผลักดันที่ก้าวหน้าที่สุดสำหรับการปฏิวัติ

ปรัชญาของมากซ์

แนวคิดหลักของมากซ์วางอยู่บนความเข้าใจเกี่ยวกับ แรงงาน โดยพื้นฐานแล้ว มากซ์กล่าวว่ามนุษย์มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงสิ่งรอบข้าง เขาเรียกกระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้ว่าการ ใช้แรงงาน และความพลังในการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า กำลังแรงงาน สำหรับมากซ์แล้ว การใช้แรงงานนี้นอกจากจะเป็นความสามารถโดยธรรมชาติของกิจกรรมต่างๆ ทางกายภาพแล้ว แรงงานยังเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับความคิดและจินตนาการของมนุษย์ด้วย:

แมงมุมทำกิจกรรมที่ไม่ต่างไปจากช่างทอผ้า และการสร้างรังของฝูงผึ้งก็สามารถทำให้สถาปนิกต้องอับอายได้ แต่ความแตกต่างระหว่างสถาปนิกที่แย่ที่สุดกับผึ้งที่เยี่ยมยอดที่สุดก็คือ สถาปนิกนั้นวาดภาพโครงสร้างของเขาในจินตนาการ ก่อนที่จะสร้างมันขึ้นมาในโลกความเป็นจริง.

นอกเหนือจากการที่อ้างว่าความสามารถของมนุษย์คือการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติแล้ว มากซ์มิได้ใช้ข้ออ้างอื่นๆ เกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์อีกเลย.

มากซ์สืบทอดแนวคิดแบบวิภาษวิธีของเฮเกิล ดังนั้นเขาจึงมักจะหลีกเลี่ยงความคิดที่ว่ามนุษย์มีธรรมชาติบางอย่างที่ไม่เปลี่ยนแปลง บางครั้งมากซ์สจะอธิบายแนวคิดนี้โดยการเปรียบเทียบระหว่าง "ธรรมชาติ" กับ "ประวัติศาสตร์" หลายครั้งพวกเขาจะกล่าวว่า "สภาพการมีอยู่นำหน้าสำนึก" นั่นคือใครคนหนึ่งจะเป็นอย่างใดนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งแห่งหนและเวลาที่เขาอยู่ -- สถาพทางสังคมมีอำนาจมากกว่าพฤติกรรมดั้งเดิม หรืออาจกล่าวได้ว่าลักษณะสำคัญของมนุษย์คือการปรับตัวให้เขากับสิ่งต่างๆ รอบตัว

มากซ์ไม่เชื่อว่าคนทุกคนจะทำงานในลักษณะเดียวกัน แต่เขาก็ไม่เชื่อเช่นเดียวกันว่าลักษณะที่ใครสักคนทำงานนั้นถูกกำหนดด้วยความคิดส่วนตัวไปทั้งสิ้น เขากลับอธิบายว่าการทำงานนั้นเป็นกิจกรรมทางสังคม และเงื่อนไขรวมถึงรูปแบบของการทำงานนั้นถูกกำหนดโดยสังคมและเปลี่ยนแปลงตามเวลา

การวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ของมากซ์นั้นวางอยู่บนความแตกต่างระหว่าง ปัจจัยการผลิต ซึ่งหมายถึงสิ่งของเช่นที่ดินหรือทรัพยากรธรรมชาติ รวมไปจนถึงเทคโนโลยี ที่จำเป็นต่อการผลิตสินค้าที่เป็นวัตถุ และ ความสัมพันธ์เชิงสังคมของการผลิต ที่กล่าวได้ว่าเป็นความสัมพันธ์เชิงสังคมที่ผู้คนถูกดึงเข้าไปร่วม เมื่อเขาได้เป็นเจ้าของและได้ใช้ปัจจัยการผลิต ปัจจัยสองประการนี้รวมเป็น รูปแบบการผลิต มากซ์สังเกตว่าในสังคมหนึ่งๆ รูปแบบการผลิตนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย สำหรับสังคมทางยุโรปนั้นมีรูปแบบในการพัฒนาโดยเริ่มจากรูปแบบการผลิตแบบศักดินา ไปจนถึงรูปแบบการผลิตแบบทุนนิยม โดยทั่วไปแล้ว มากซ์เชื่อว่าปัจจัยการผลิตนั้นเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วมากกว่าความสัมพันธ์ของการผลิต ยกตัวอย่างเช่นเราได้พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ เช่นอินเทอร์เน็ต แต่ต้องใช้เวลาหลังจากนั้น ก่อนที่เราจะได้พัฒนากฎหมายที่ควบคุมเทคโนโลยีนั้น สำหรับมากซ์แล้วการไม่เข้ากันของ ฐาน ทางเศรษฐกิจกับ โครงสร้างส่วนบน (superstructure) ทางสังคม คือสิ่งที่ทำให้เกิดความระส่ำระสายและความขัดแย้งในสังคม

ในการพิจารณาความสัมพันธ์เชิงสังคมของการผลิตนั้น มากซ์ไม่ได้มองแค่ความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกแต่ละคน แต่ยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคน หรือ กลุ่มชนชั้น มากซ์มิได้นิยาม "ชนชั้น" ขึ้นมาโดยอาศัยใช้เพียงแค่การบรรยายแบบอัตวิสัย (subjective) เท่านั้น หากแต่ว่าเขายังพยายามจะนิยามชนชั้นด้วยเงื่อนไขที่เป็นแบบวัตถุวิสัย (objective) ด้วย เช่นการเข้าถึงทรัพยากรในการผลิต

มากซ์ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับกำลังแรงงาน ซึ่งเป็นทรัพยากรพื้นฐานที่สุดของมนุษย์เอง ในการอธิบายความสัมพันธ์นี้โดยละเอียด มากซ์ทำโดยผ่านทางปัญหาความแปลกแยก ซึ่งเกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงาน กล่าวคือ เมื่อกำลังแรงงานได้ถูกใช้ไปในการผลิต แต่เมื่อกิจกรรมนั้นสิ้นสุดลงกรรมสิทธิ์ของผลลัพธ์ที่ได้กลับตกไปเป็นของนายทุน นั่นคือมองได้ว่าเป็นการละทิ้งกรรมสิทธิ์ในกำลังแรงงานของตนเอง สภาวะเช่นนี้ก่อให้เกิดความแปลกแยกจากธรรมชาติของตนเอง และก่อให้เกิดความรู้สึกสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ ภาวะเช่นนี้ก่อให้เกิดสภาพการคลั่งไคล้โภคภัณฑ์ (commodity fetishism) ซึ่งผู้คนจะคิดว่าสิ่งสำคัญที่พวกเขาสร้างขึ้นก็คือสินค้า ความสำคัญทุกอย่างจะถูกถ่ายโอนไปที่วัตถุรอบกายแทนที่จะเป็นผู้คนด้วยกันเอง หลังจากนั้นผู้คนจะมองเห็นและเข้าใจตนเองผ่านทางความสัมพันธ์กับทรัพย์สินหรือสินค้าที่ตนเองครอบครองไว้เท่านั้น

การคลั่งไคล้โภคภัณฑ์นี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของสิ่งที่เองเงิลส์เรียกว่า สำนึกที่ผิดพลาด ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเข้าใจในเรื่องของ อุดมการณ์ ซึ่งมากซ์และเองเงิลส์ได้ให้ความหมายว่าเป็นความคิดที่สะท้อนผลประโยชน์ของบางชนชั้นในบางช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ แต่กลับถูกแสดงว่าเป็นความเชื่อที่ถูกต้องสำหรับทุกๆ ชนชั้นและทุกๆ เวลา ในความคิดของพวกเขานั้น ความเชื่อดังกล่าวมิได้เป็นเพียงแค่สิ่งที่ผิดพลาดเท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งที่ทำหน้าที่สำคัญทางการเมืองด้วย กล่าวในอีกนัยหนึ่งได้ว่า การควบคุมที่ชนชั้นหนึ่งๆ กระทำผ่านทางการครอบครองเครื่องมือการผลิตนั้นมิได้เกิดขึ้นเฉพาะกับกับการผลิตอาหารหรือสินค้าเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นกับการผลิตความคิดหรือความเชื่อด้วยเช่นกัน ความคิดนี้อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่อธิบายว่าทำไมสมาชิกของชนชั้นที่ถูกกดขี่จึงยังมีความเชื่อที่ขัดแย้งกับผลประโยชน์ของตนเอง ดังนั้นแม้ว่าความเชื่อบางอย่างจะผิดพลาดแต่มันก็ยังเผยให้เห็นความจริงบางอย่างที่ถูกซ่อนไว้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางการเมือง ยกตัวอย่างเช่น ความเชื่อที่ว่าสิ่งของที่คนผลิตขึ้นนั้นมีผลิตผลมากกว่าคนที่ผลิตมันขึ้นมานั้นอาจฟังประหลาด แต่มันก็แสดงให้เห็น (ในความคิดของมากซ์และเองเงิลส์) ว่าผู้คนภายใต้ระบบทุนนิยมนั้นถูกทำให้แปลกแยกจากกำลังแรงงานของตนเอง อีกตัวอย่างหนึ่งพบได้ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนาโดยมากซ์ ที่สรุปได้ในย่อหน้าหนึ่งของ Contribution to the Critique of Hegel's "Philosophy of Right:"

ความทุกข์ทางศาสนานั้นเป็นทั้งการแสดงออกของความทุกข์ที่แท้จริงและการประท้วงไม่ยอมแพ้ต่อความทุกข์ที่แท้จริง ศาสนาคือเสียงกรีดร้องของสิ่งมีชีวิตที่ถูกกดขี่ หัวใจของโลกที่ไร้หัวใจ และวิญญาณของสภาพไร้วิญญาณ มันคือฝิ่นของมวลชน

แม้ว่าในงานวิทยานิพนธ์ระดับเตรียมอุดมศึกษาเขาเคยอ้างว่าหน้าที่หลักของศาสนาคือการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ในที่นี้มากซ์มองว่าศาสนานั้นเป็นเครื่องมือทางสังคมสำหรับการแสดงออกและจัดการกับความเหลื่อมล้ำนั่นเอง

เราสามารถสรุปแนวคิดของคาร์ล มากซ์ได้คร่าวๆดังนี้

  1. ประวัติศาสตร์ของมนุษย์เป็นการต่อสู้ระหว่างชนชั้น โดยนับต้องแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน เช่น ทาสกับนาย ไพร่กับผู้ดี นายจ้างกับลูกจ้าง โดยจะมีคนนึงเป็นผู้ข่มเหง และอีกคนหนึ่งเป็นผู้ถูกข่มเหง
  2. โลกของนายทุน ในโลกปัจจุบันเกิดชนชั้นใหม่ที่มีบทบาทในสังคมมาก ได้แก่พวกนายทุน นายทุนเอาเปรียบชนชั้นแรงงานทุกวิถีทาง อำนาจของนายทุนคืออำนาจทางเศรษฐกิจและการเมือง โดยกษัตริย์และผู้ปกครองก็อยู่ภายใต้อิทธิพลนายทุนด้วย
  3. พวกนายทุนทั้งหลายมักเรียกร้องเสรีภาพ เช่น การค้าขายอย่างเสรี การแข่งขันเสรี แต่แท้จริงแล้วเป็นการเรียกร้องให้ตัวเองเอาเปรียบผู้อื่น
  4. นายทุนเป็นพวกไร้ศีลธรรม มองเห็นความสัมพันธ์ของมนุษย์เป็นเพียงการสะสมเงินทอง ส่วนคุณค่าทางจิตใจ ความเมตตาปรานีหรือมนุษยธรรมแทบจะไม่มีอยู่ในสำนึกของนายทุน
  5. ชนชั้นกรรมาชีพจะชนะนายทุนในที่สุด ในตอนแรกสังคมอาจมีหลายชนชั้น แต่สุดท้ายจะเหลือเพียง นายทุน และ กรรมาชีพ ซึ่งจะถูกนายทุนข่มเหงตลอดเวลา จนต้องรวมตัวเป็นสหภาพกรรมกร และกลายมาเป็นพรรคการเมือง จนมีอำนาจเอาชนะนายทุนได้
  6. ไม่มีทรัพย์สินส่วนตัว ลักษณะที่สำคัญที่สุดของระบอบคอมมิวนิสต์คือ การล้มล้างทรัพย์สินส่วนตัว เพราะสิ่งนี้คือ สัญลักษณ์แห่งความเห็นแก่ตัว ของนายทุน

การวิพากษ์ระบบทุนนิยมโดยมากซ์

มากซ์อธิบายว่าสภาวะแปลกแยกของกำลังแรงงาน (ที่ทำให้เกิดการคลั่งไคล้โภคภัณฑ์) นั้นเป็นลักษณะเฉพาะตัวของระบบทุนนิยม หาใช่การเกิดขึ้นของตลาดเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้เนื่องจากก่อนหน้าจะมีระบบทุนนิยม ในยุโรปก็มีตลาดที่ผู้ค้าและผู้ผลิตได้ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าอยู่แล้ว ในทัศนะของมากซ์ รูปแบบการผลิตแบบทุนนิยมพัฒนาขึ้นในยุโรปเมื่อแรงงานถูกเปลี่ยนให้เป็นโภคภัณฑ์---นั่นคือ เมื่อชาวนามีอิสระที่จะขายกำลังแรงงานของตนเอง และอยู่ในภาวะจำเป็นต้องกระทำการดังกล่าวเนื่องจากการขาดที่ดินหรือเครื่องมือสำหรับการผลิต ผู้คนยอมขายกำลังกายของตนเมื่อเขายอมรับค่าตอบแทนสำหรับงานใดๆ ที่เขาทำในช่วงเวลาหนึ่งๆ (ในอีกทางหนึ่งก็คือ พวกเขาไม่ได้ขายผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการผลิต แต่พวกเขากลับขายความสามารถในการทำงาน) ค่าตอบแทนที่แลกมาด้วยกำลังแรงงานคือเงินที่ทำให้พวกเขามีชีวิตรอดต่อไปได้ กลุ่มคนที่ต้องขายกำลังแรงงานเพื่อการยังชีพคือ "ชนชั้นกรรมาชีพ" ในขณะที่คนที่ซื้อกำลังแรงงาน ซึ่งมักจะเป็นผู้ที่ครอบครองที่ดินและเครื่องมือรวมถึงเทคโนโลยีในการผลิตคือ "นายทุน" หรือ "กระฎุมพี" แน่นอนว่าจำนวนของชนกรรมาชีพย่อมมากกว่าจำนวนนายทุน มากซ์เชื่อว่าการอธิบายระบบทุนนิยมในลักษณะนี้เป็นการอธิบายแบบวัตถุพิสัย ซึ่งแตกต่างจากคำกล่าวอ้างอื่นๆ เกี่ยวกับระบบทุนนิยม ซึ่งมักจะขึ้นกับอุดมการณ์บางอย่าง

มากซ์แยกแยะความแตกต่างระหว่างนายทุนกับผู้ค้าขาย พ่อค้าแม่ค้าซื้อสินค้าจากที่หนึ่งมาเพื่อขายในอีกที่หนึ่ง หรือถ้าจะกล่าวให้ชัดเจนก็คือ พวกเขาซื้อของจากตลาดหนึ่งเพื่อไปขายยังอีกตลาดหนึ่ง เนื่องจากกฎอุปสงค์และอุปทานทำงานภายในตลาดใดๆ ตลาดเดียว ราคาโภคภัณฑ์ระหว่างสองตลาดอาจมีความแตกต่างกันได้ ผู้ค้าขายจึงใช้ประโยชน์จากความแตกต่างนี้เพื่อหวังกำไร ในความคิดของมากซ์นั้น นายทุนกลับใช้ความแตกต่างระหว่างตลาดแรงงานกับตลาดของโภคภัณฑ์ที่ผลิตขึ้น มากซ์สังเกตว่าในทุกๆ อุตสาหกรรมที่ประสบผลสำเร็จ ค่าจ้างแรงงานจะมีราคาต่ำกว่าราคาของสินค้าที่ผลิตได้ มากซ์เรียกความแตกต่างนี้ว่า "มูลค่าส่วนเกิน" และอธิบายว่ากำไรของนายทุนนั้นเกิดจากมูลค่าส่วนเกินนี่เอง

รูปแบบการผลิตแบบทุนนิยมนั้นมีศักยภาพในการเติบโตได้มหาศาล ทั้งนี้เนื่องจากนายทุนนั้นสามารถนำผลกำไรที่ได้ไปลงทุนเพิ่มในเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ และนายทุนเองก็มีแรงจูงใจที่จะการลงทุนเพิ่มเติมในลักษณะเช่นนี้ด้วย มากซ์มองว่าชนชั้นนายทุนเป็นกลุ่มที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ทั้งนี้เนื่องจากเป็นกลุ่มที่คอยปฏิวัติเครื่องมือในการผลิตอยู่ตลอดเวลา แต่มากซ์เชื่อว่าในระบบทุนนิยมนั้นจะมีการเกิดวิกฤตเป็นระลอกๆ เขาชี้ให้เห็นว่านายทุนจะลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ในปริมาณที่มากขึ้น ในขณะที่จะลดต้นทุนของแรงงานลงเรื่อยๆ ด้วยเช่นกัน เนื่องจากมากซ์เชื่อว่ามูลค่าส่วนเกินที่ได้จากการขูดรีดแรงงานคือที่มาของกำไร เขาสรุปว่าการลงทุนดังกล่าวจะทำให้อัตราได้กำไรลดลงแม้ว่าเศรษฐกิจจะเติบโตขึ้นก็ตาม การที่อัตราได้กำไรลดลงต่ำกว่าจุดๆ หนึ่งจะก่อให้เกิดภาวะถดถอยหรือภาวะตกต่ำที่จะทำให้บางส่วนของระบบเศรษฐกิจจะพังลง มากซ์เข้าใจว่าในช่วงวิกฤตดังกล่าวค่าจ้างแรงงานก็จะเกิดการตกต่ำลงเช่นเดียวกัน และในที่สุดก็จะทำให้การลงทุนในเทคโนโลยีใหม่เป็นไปได้ และทำให้เกิดการเติบโตขึ้นของส่วนใหม่ๆ ของระบบเศรษฐกิจ

มากซ์เชื่อว่าวงจรของการเติบโต, ทรุด, และเติบโตใหม่ จะก่อให้เกิดภาวะวิกฤตที่เลวร้ายขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งไปกว่านั้นเขาเชื่อว่าผลกระทบในระยะยาวของกระบวนการนี้จะทำให้นายทุนมีความแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่กรรมาชีพกลับยากจนลงทุกที เขาเชื่อว่าถ้ากรรมาชีพลุกขึ้นสู้และเข้ายึดครองเครื่องมือในการผลิตแล้ว พวกเขาจะสร้างความสัมพันธ์ในสังคมขึ้นมาใหม่ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์กับทุกๆ คนอย่างเท่าเทียม และก่อให้เกิดระบบการผลิตแบบใหม่ซึ่งทนทานต่อวิกฤตการณ์มากกว่าแต่ก่อน กล่าวโดยทั่วไปแล้ว มากซ์เชื่อว่าการเจรจาอย่างสันติจะไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ และการปฏิวัติอย่างรุนแรงของมวลชนขนาดใหญ่ที่มีการจัดการที่ดีเป็นสิ่งที่จำเป็น เขากล่าวว่าเพื่อจะรักษาการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไว้ รัฐเผด็จการโดยกรรมาชีพจะต้องถูกสร้างขึ้น แต่หลังจากที่ระบบการผลิตแบบใหม่ได้เริ่มขึ้นรัฐดังกล่าวจะค่อยๆ ลดความสำคัญลงและหายไปเอง

บทวิพากษ์สังคมกระฎุมพีและการเหยียดเชื้อชาติของมากซ์

อิทธิพลของแนวคิดของมากซ์

การวิพากษ์มากซ์โดยนักคิดร่วมสมัย

ทฤษฎีมากซ์สถูกวิพากษ์วิจารณ์จากหลายๆ มุมมอง

ผู้สนับสนุนระบบทุนนิยมได้อธิบายว่า แท้จริงแล้ว ในท้ายที่สุด ระบบทุนนิยมจะมีประสิทธิภาพในการสร้างและกระจายความร่ำรวย ได้ดีกว่าระบบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์ และช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน ที่มากซ์และเองเงิลส์กังวลนั้น เป็นแค่ปรากฏการณ์ชั่วคราวเท่านั้น. บางคนกล่าวว่า ความละโมบและความต้องการที่จะมีทรัพย์สินนั้น เป็นความต้องการพื้นฐานที่ซ่อนอยู่ของมนุษย์ หาใช่เป็นผลมาจากการรับเอาระบบทุนนิยมเข้ามา หรือว่าเกิดจากระบบเศรษฐกิจใด ๆ (แม้ว่านักมานุษยวิทยาจะตั้งข้อสงสัยกับคำกล่าวอ้างนี้) และระบบเศรษฐกิจที่แตกต่างกันนั้น เกิดจากสังคมที่แตกต่างกันสะท้อนความจริงนี้ออกมาไม่เหมือนกัน กลุ่มนักเศรษฐศาสตร์สายออสเตรียวิจารณ์มากซ์ในการใช้ทฤษฎีมูลค่าจากแรงงาน (labor theory of value) นอกจากนี้นโยบายและการกระทำต่าง ๆ ของรัฐสังคมนิยม ที่มักอ้างว่าเป็นการกระทำตามแนวคิดของมากซ์ ได้ทำลายชื่อของมากซ์อย่างมากมายในโลกตะวันตก

มากซ์เองก็โดนวิพากษ์วิจารณ์จากทางฝ่ายซ้ายด้วยเช่นกัน นักสังคมนิยมแนววิวัฒนาการไม่เชื่อคำอ้างของมากซ์ว่า การสร้างรัฐสังคมนิยมจะต้องกระทำผ่านทางการปะทะระหว่างชนชั้น และการปฏิวัติอย่างรุนแรงเท่านั้น. บางกลุ่มก็กล่าวว่า ความไม่เท่าเทียมระหว่างชนชั้นนั้น ไม่ใช่ความไม่เท่าเทียมพื้นฐานของประวัติศาสตร์ และชี้ให้เห็นความปัญหาของลัทธิชายเป็นใหญ่ และการเหยียดชาติพันธุ์ นอกจากนี้ยังมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับความถูกต้อง ทั้งในด้านทฤษฎีและด้านประวัติศาสตร์ ในการใช้ "ชนชั้น" เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ และมีการตั้งคำถามในทิศทางเดียวกันนี้ ถึงการที่มากซ์ถือความเชื่อของสมัยศตวรรษที่ 19 ที่เชื่อมวิทยาศาสตร์เข้ากับแนวคิดของ "ความก้าวหน้า" (ดู วิวัฒนาการเชิงสังคม) หลายคนเชื่อว่าระบบทุนนิยมเองได้เปลี่ยนแปลงไปมาก นับจากสมัยของมากซ์ และการแบ่งแยกชนชั้นก็มีรูปแบบที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น โดยยกตัวอย่างจากการที่คนงานก็มีสิทธิถือครองหุ้นของบรรษัทขนาดใหญ่ได้ โดยผ่านทางกองทุน (ดู แนวคิดหลังโครงสร้างนิยม และ แนวคิดหลังสมัยใหม่ สำหรับการเคลื่อนไหวสองกลุ่มที่มักมีทิศทางสอดคล้องกับแนวคิดฝ่ายซ้าย ที่วิพากษ์มากซ์และลัทธิมากซ์)

ยังมีกลุ่มที่วิจารณ์มากซ์โดยใช้ทัศนะจากการศึกษาด้านปรัชญาของวิทยาศาสตร์ ที่โดดเด่นก็คือ คาร์ล พอพเพอร์ ผู้เป็นนักปรัชญา ได้วิพากษ์ทฤษฎีของมากซ์ว่า เป็นสิ่งที่ตรวจสอบว่าผิดไม่ได้ ซึ่งจะทำให้คำอ้างทางประวัติศาสตร์ รวมถึงด้านสังคมและการเมืองของมากซ์นั้น ไม่สอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์ สาเหตุหลักมาจากการทำนายของมากซ์ว่า ระบบทุนนิยมจะล่มสลายลงเนื่องจากการปฏิวัติของชนชั้น ผู้ที่ไม่เชื่อจะกล่าวว่า "สิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้น" ในขณะที่เหล่ามากซ์สจะโต้ว่า "แต่มันจะต้องเกิด" ลักษณะเช่นนี้ทำให้ข้อพิสูจน์ต่าง ๆ ของแนวคิดมากซ์ที่วางอยู่บนหลักฐานเชิงประจักษ์นิยมนั้น เป็นไปไม่ได้ ด้วยเหตุผลนี้ พอพเพอร์จึงอธิบายว่า ไม่ว่ามากซ์จะอ้างว่า ได้ทำให้การศึกษาประวัติศาสตร์เป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์ก็ตาม แต่ความจริงแล้ว ความคิดแนวมากซ์ไม่สามารถเป็นความคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ได้. กลุ่มต่อต้านคอมมิวนิสต์ในฝั่งตะวันตกมักกล่าวโทษมากซ์อย่างรุนแรง ซึ่งเป็นผลมาจากการมองมากซ์ผ่านทางการกระทำของรัฐคอมมิวนิสต์ และปัญหาการเมืองเมื่อสมัยสงครามเย็น

พรรคการเมืองมากซ์สต์รวมถึงการเคลื่อนไหวต่าง ๆ นั้น ลดความเข้มแข็งลง ภายหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต นักวิจารณ์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฝ่ายขวา ได้ใช้เหตุการณ์นี้อธิบายว่า เกิดขึ้นมาจากความล้มเหลวภายในหลาย ๆ อย่างในสหภาพโซเวียต และการล่มสลายที่ตามมานี้ เป็นผลพวงโดยตรงจากแผนการของมากซ์ แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของแนวคิดมากซ์สม์. อย่างไรก็ตาม กลุ่มมากซ์สต์กล่าวว่า นโยบายของสหภาพโซเวียต ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบเลนินนิสต์และสตาลินนิสต์นั้น แม้จะดูผิวเผินแล้วคล้ายคลึงกับทฤษฎีของมากซ์ แต่ในเนื้อแท้แล้วแตกต่างกันมาก. มากซ์วิเคราะห์โลกในยุคสมัยของเขา และปฏิเสธที่จะเขียนแผนการว่าโลกสังคมนิยมจะต้องเป็นอย่างใด โดยเขากล่าวว่าเขามิได้ "เขียนตำราอาหาร สำหรับอนาคต". สำหรับภายนอกยุโรปและสหรัฐอเมริกาแล้ว การเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยม รวมถึงการกลุ่มชาตินิยม มักมีความสำคัญกว่าคอมมิวนิสต์. อย่างไรก็ตาม หลายครั้งกลุ่มเคลื่อนไหวนี้ ได้ใช้แนวคิดของมากซ์เป็นพื้นฐานทางทฤษฎี.

ผู้สนับสนุนมากซ์ในปัจจุบันกล่าวโดยทั่วไปว่า มากซ์นั้นพูดไว้อย่างถูกต้องว่า ธรรมชาติของมนุษย์นั้นเป็นภาพสะท้อนมาจากผลของประวัติศาสตร์และสภาพทางสังคม (ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และไม่สามารถจะทำความเข้าใจได้ถ้ายังเชื่อว่ามีธรรมชาติที่แท้ของมนุษย์อยู่) พวกเขาเชื่อว่าการวิเคราะห์เกี่ยวกับสินค้าของมากซ์ยังคงเป็นสิ่งที่ใช้ประโยชน์ได้ และความแปลกแยกก็ยังเป็นปัญหาที่สำคัญอยู่ พวกเขากล่าวว่าระบบทุนนิยมนั้น ไม่ได้ดำรงอยู่เป็นระบบโดด ๆ แยกกันไปตามแต่ละประเทศ ดังนั้นการวิเคราะห์จะต้องพิจารณาว่าเป็นระบบที่เชื่อมต่อกันในระดับโลก พวกเขากล่าวว่าเมื่อมองในระดับโลกแล้ว ระบบทุนนิยมในขณะนี้ก็อยู่ระหว่างการก่อตัว และก็กำลังขยายช่องว่างระหว่างคนมั่งมีและคนยากจนขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกับในประเทศอังกฤษในบทความของเองเงิลส์ ซึ่งช่องว่างนี้เองเป็นสิ่งที่ทำให้มากซ์หันเหจากการศึกษาปรัชญามาสนใจปัญหาสังคม

แหล่งข้อมูลอื่น

อ้างอิง

แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link GA