ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดจันทบุรี"

พิกัด: 12°37′N 102°07′E / 12.61°N 102.11°E / 12.61; 102.11
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 450: บรรทัด 450:
===การศึกษา===
===การศึกษา===
{{ดูเพิ่มที่|รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดจันทบุรี}}
{{ดูเพิ่มที่|รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดจันทบุรี}}
สถาบันการศึกษาในจังหวัดจันทบุรีมีทั้งที่ดำเนินการโดยหน่วยงานทางภาครัฐบาลและภาคเอกชน โดยในส่วนภาคเอกชนมีองค์กรทางศาสนาเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมจัดการศึกษาด้วย ภาษาที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนใช้[[ภาษาไทย]]และ[[ภาษาอังกฤษ]] เป็นหลัก และมีการสอดแทรก[[ภาษาจีน]]และภาษาใน[[ทวีปยุโรป]]อื่น ๆ เข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอีกด้วย โรงเรียนประจำจังหวัดของจันทบุรีมีทั้งสิ้น 2 แห่งคือ[[โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี]] (โรงเรียนประจำจังหวัดชาย) และ[[โรงเรียนศรียานุสรณ์]] (โรงเรียนประจำจังหวัดหญิง<ref>{{cite web|url=http://www.bj.ac.th/main/?name=aboutus&file=history|title=ประวัติโรงเรียน และที่ตั้ง|publisher=โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี|date=22 December 2014}}</ref><ref>{{cite web|url=http://www.siya.ac.th/websiya/index.php?option=com_content&view=article&id=52&Itemid=57|title=ประวัติโรงเรียน|publisher=โรงเรียนศรียานุสรณ์|date=22 December 2014}}</ref>
สถาบันการศึกษาในจังหวัดจันทบุรีมีทั้งที่ดำเนินการโดยหน่วยงานทางภาครัฐบาลและภาคเอกชน โดยในส่วนภาคเอกชนมีองค์กรทางศาสนาเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมจัดการศึกษาด้วย ภาษาที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนใช้[[ภาษาไทย]]และ[[ภาษาอังกฤษ]] เป็นหลัก และมีการสอดแทรก[[ภาษาจีน]]และภาษาใน[[ทวีปยุโรป]]อื่น ๆ เข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอีกด้วย โรงเรียนประจำจังหวัดของจันทบุรีมีทั้งสิ้น 2 แห่งคือ[[โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี]] (โรงเรียนประจำจังหวัดชาย) และ[[โรงเรียนศรียานุสรณ์]] (โรงเรียนประจำจังหวัดหญิง)<ref>{{cite web|url=http://www.bj.ac.th/main/?name=aboutus&file=history|title=ประวัติโรงเรียน และที่ตั้ง|publisher=โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี|date=22 December 2014}}</ref><ref>{{cite web|url=http://www.siya.ac.th/websiya/index.php?option=com_content&view=article&id=52&Itemid=57|title=ประวัติโรงเรียน|publisher=โรงเรียนศรียานุสรณ์|date=22 December 2014}}</ref>


ในส่วนของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดจันทบุรีที่เปิดสอนระดับปริญญาบัณฑิตมีอยู่หลายแห่ง เช่น [[มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี]] [[มหาวิทยาลัยบูรพา]] วิทยาเขตสารสนเทศจันทบุรี [[มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก]] วิทยาเขตจันทบุรี [[สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์]] (วิทยาลัยนาฏศิลป์จันทบุรี) [[มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช]] (ศูนย์วิทยพัฒนาจันทบุรี) เป็นต้น
ในส่วนของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดจันทบุรีที่เปิดสอนระดับปริญญาบัณฑิตมีอยู่หลายแห่ง เช่น [[มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี]] [[มหาวิทยาลัยบูรพา]] วิทยาเขตสารสนเทศจันทบุรี [[มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก]] วิทยาเขตจันทบุรี [[สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์]] (วิทยาลัยนาฏศิลป์จันทบุรี) [[มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช]] (ศูนย์วิทยพัฒนาจันทบุรี) เป็นต้น

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:29, 22 ธันวาคม 2557

จังหวัดจันทบุรี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Chanthaburi
คำขวัญ: 
น้ำตกลือเลื่อง เมืองผลไม้ พริกไทยพันธุ์ดี อัญมณีมากเหลือ เสื่อจันทบูร สมบูรณ์ธรรมชาติ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รวมญาติกู้ชาติที่จันทบุรี

ข้อผิดพลาด: ต้องระบุภาพในบรรทัดแรก

แผนที่ประเทศไทย จังหวัดจันทบุรีเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ นายสามารถ ลอยฟ้า[1]
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2557)
พื้นที่
 • ทั้งหมด6,338.0 ตร.กม.[2] ตร.กม. (Formatting error: invalid input when rounding ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 33
ประชากร
 (พ.ศ. 2556)
 • ทั้งหมด524,260 คน[3] คน
 • อันดับอันดับที่ 47
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 57
รหัส ISO 3166TH-22
ชื่อไทยอื่น ๆเมืองจันท์, จันทบูร
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้สำรอง, จัน
 • ดอกไม้เหลืองจันทบูร
ศาลากลางจังหวัด
 • โทรศัพท์0 3931 2277
 • โทรสาร0 3931 2539
เว็บไซต์http://www.chanthaburi.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดจันทบุรี เป็นจังหวัดทางชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย มีเนื้อที่ 6,388 ตารางกิโลเมตร สภาพภูมิประเทศประกอบไปด้วยป่าไม้ ภูเขา ที่ราบสูง ที่ราบลุ่มน้ำ และที่ราบชายฝั่งทะเล ในส่วนของพื้นที่ป่าไม้มีประมาณ 3 ใน 10 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด[4] มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา และสระแก้วทางทิศเหนือ ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดตราดและประเทศกัมพูชา ทิศใต้ติดกับอ่าวไทย และทิศตะวันตกติดกับจังหวัดระยองและชลบุรี อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 245 กิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดจันทบุรีอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัด[5] โดยอาชีพที่ประชากรในจังหวัดนิยมประกอบอาชีพมากที่สุดคือเกษตรกรรมและประมง[6] และศาสนาที่มีการนับถือมากที่สุดในจังหวัดคือศาสนาพุทธ

จันทบุรีเป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ก่อตั้งโดยชนชาติชอง จังหวัดจันทบุรีเป็นเมืองที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ไทยอยู่ 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีใช้จังหวัดจันทบุรีในการรวบรวมไพร่พลและเสบียงอาหาร ครั้งที่ 2 เกิดสงครามอานัมสยามยุทธในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและครั้งที่ 3 ฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรีเป็นเมืองประกันหลังจากเกิดวิกฤตการณ์ปากน้ำในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยความที่จังหวัดจันทบุรีมีความสำคัญต่อเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์หลายเหตุการณ์และมีความหลากหลายทางภูมิประเทศ ส่งผลให้จังหวัดจันทบุรีเป็นจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวทั้งทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมหลายแห่ง

ประวัติและตำนาน

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

จันทบุรีเป็นเมืองเก่า จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เชื่อกันว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี สร้างขึ้นโดยชนชาติ ชอง บางตำนานก็ว่าสร้างโดยชนชาติ ขอม หัวเมืองเดิมตามศิลาจารึกเรียกว่า "ควนคราบุรี" ชาวพื้นเมืองเรียกว่า "เมืองกาไว" ตามชื่อผู้ปกครอง เมืองจันทบุรีเดิมตั้งอยู่บริเวณหน้าเขาสระบาป มีชนพื้นเมืองเดิมอาศัยอยู่เรียกว่า ชาวชอง มีภาษาพูดเป็นภาษาของตนเอง ซึ่งแตกต่างจากภาษาไทยและภาษาเขมร เจ้าผู้ครองเมืองที่ยิ่งใหญ่ในตำนานคือ พระเจ้าพรหมทัต (พ.ศ. 1349-1399) ครั้นถึงปี พ.ศ. 1800 ได้มีการย้ายถิ่นฐานมาสร้างเมืองใหม่ที่บ้านหัววัง ตำบลพุงทลาย ซึ่งอยู่ใกล้กับแม่น้ำจันทบุรีในปัจจุบัน

ต่อมาปี พ.ศ. 2200 ได้ย้ายมาสร้างเมืองใหม่ที่บ้านลุ่ม อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรี ในปี พ.ศ. 2310 หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงให้แก่พม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้เข้ายึดเมืองจันทบุรีเพื่อใช้เป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหารและรวบรวมกำลังพลในการกอบกู้กรุงศรีอยุธยาคืนจากพม่า ในคราวนั้นเจ้าเมืองจันทบุรีนามว่าเจ้าขรัวหลาน(ยศเจ้าเมืองจันทบุรีเดิม) ชึ่งราษฎรเลือกขึ้นเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยา โดยหวังว่าพระยาจันทบูร จะช่วยปกป้องรักษาเมืองจันทบุรีให้อยู่รอดสืบต่อไป ได้ต่อต้านกองทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยได้พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้เมืองจันทบุรีอยู่รอดเป็นอิสระ รักษาแผ่นดินไว้ให้ชนชาติบูรพา แต่สุดท้ายก็ต้องปราชัยพ่ายแพ้แก่กองทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยพระองค์ทรงใช้พญาช้างศึกบุกชนกำแพงเมืองจนสามารถเข้าตีเมืองเอาไว้ได้สำเร็จ เจ้าเมืองจันทบุรีได้หลบภัยไปอาณาจักรกัมพูชาจนถึงแก่อสัญกรรม เมืองจันทบุรีจึงตกเป็นของสยามนับแต่นั้นเป็นต้นมา

ต่อมาในปี พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสได้เข้ายึดเมืองจันทบุรีไว้นานถึง 11 ปี[7] เนื่องจากสยามมีข้อพิพาทเรื่องดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง โดยฝรั่งเศสกล่าวหาว่าสยามล่วงล้ำดินแดนอาณานิคมของฝรั่งเศส ส่วนสยามได้อ้างว่าดินแดนดังกล่าวเป็นของสยาม ฝ่ายสยามเห็นว่าจะต่อสู้ทางทหารฝรั่งเศสไม่ได้จึงขอเปิดการเจรจา ทางฝรั่งเศสยื่นคำขาด โดยฝ่ายสยามต้องยอมยกดินแดนที่เป็นข้อพิพาทรวมทั้งเกาะทั้งหมดในลำน้ำโขง พร้อมเงินอีกหนึ่งล้านฟรังก์และสามล้านบาท โดยจนกว่าจะดำเนินการเสร็จฝรังเศสจะยึดเมืองจันทบุรีไว้ก่อน แต่เมื่อทางสยามดำเนินการเสร็จ ฝรั่งเศสไม่ได้ถอนกำลังออก ฝ่ายสยามจึงต้องยอมยกเมืองตราดและเมืองประจันตคีรีเขตร์ (เกาะกง) เพื่อแลกกับเมืองจันทบุรี และอีกหนึ่งปีต่อมาสยามยอมยกเมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ เพื่อแลกเมืองตราดคืนมา แต่ฝรั่งเศสไม่ได้คืนเมืองประจันตคีรีเขตร์แต่อย่างใด ปัจจุบันเมืองประจันตคีรีเขตร์จึงอยู่ในอาณาเขตประเทศกัมพูชา ต่อมามีการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล จัดตั้งมณฑลจันทบุรี โดยมีเมืองจันทบุรี ระยอง และตราดอยู่ในเขตการปกครองจนถึงปี พ.ศ. 2476 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย จึงยกเลิกมณฑลเทศาภิบาลและได้จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินใหม่ โดยแบ่งออกเป็นจังหวัดและอำเภอ ดังนั้นเมืองจันทบุรีจึงมีฐานะเป็นจังหวัดจนถึงปัจจุบันนี้

ทำเนียบรายพระนามและรายนามผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี

รายพระนามและรายนามผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี[8][9]
พระนาม/ชื่อ เข้ารับตำแหน่ง สิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง
1. พระภิรมย์ฯ ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล
2. พระจันทบุรีศรีสมุทร์เขตต์ ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล
3. หม่อมเจ้านพมาศ นวรัตน์ พ.ศ. 2459 พ.ศ. 2469
4. พระยามานิตย์กุลพัทธ พ.ศ. 2469 ธันวาคม พ.ศ. 2471
5. พระพิสิษฏสุทธเลขา 17 ธันวาคม พ.ศ. 2471 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2477
6. พระนิกรบดี 1 มิถุนายน พ.ศ. 2477 2 ธันวาคม พ.ศ. 2479
7. ขุนประสงค์สุขการี 2 ธันวาคม พ.ศ. 2479 1 ธันวาคม พ.ศ. 2484
8. หลวงอรรถสิทธิสุนทร (ผวน ทองสยาม) 2 ธันวาคม พ.ศ. 2484 2 ตุลาคม พ.ศ. 2485
9. หลวงอรรถเกษมเกษา (สวิง อรรถเกษม) 3 ตุลาคม พ.ศ. 2485 1 มกราคม พ.ศ. 2487
10. ขุนรัฐวุฒิวิจารณ์ (สุวงศ์ รัฐวุฒิวิจารณ์) 11 มกราคม พ.ศ. 2487 13 มิถุนายน พ.ศ. 2489
11. นายชุบ พิเศษนครกิจ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2489 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2492
12. นายถนอม วิบูลมงคล 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 7 มกราคม พ.ศ. 2495
13. ขุนคำนวณวิจิตร (เชย บุนนาค) 8 มกราคม พ.ศ. 2495 2 เมษายน พ.ศ. 2496
14. ขุนวรคุตตคณารักษ์ 3 เมษายน พ.ศ. 2496 18 มีนาคม พ.ศ. 2499
15. นายผาด นาคพิน 19 มีนาคม พ.ศ. 2499 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501
16. หม่อมเจ้าทองคำเปลว ทองใหญ่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 28 กันยายน พ.ศ. 2507
17. นายส่ง เหล่าสุนทร 29 กันยายน พ.ศ. 2507 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2512
18. จ.ต.ต. ชั้น สุวรรณทรรภ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 25 ธันวาคม พ.ศ. 2514
19. นายวิชิต ศุขะวิริยะ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2514 6 ธันวาคม พ.ศ. 2516
20. นายบุญช่วย ศรีสารคาม 7 ธันวาคม พ.ศ. 2516 30 กันยายน พ.ศ. 2519
21. น.อ.จำลอง ประเสริฐยิ่ง ร.น. 1 ตุลาคม พ.ศ. 2519 30 กันยายน พ.ศ. 2520
22. นายประกิต อุตตะโมต 1 ตุลาคม พ.ศ. 2520 14 ตุลาคม พ.ศ. 2521
23. นายพิบูลย์ ธุรภาคพิบูล 15 ตุลาคม พ.ศ. 2521 30 กันยายน พ.ศ. 2523
24. นายบุญนาค สายสว่าง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2523 30 กันยายน พ.ศ. 2528
25. นายสมพงศ์ พันธ์สุวรรณ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2528 30 กันยายน พ.ศ. 2532
26. นายปรีดา มุตตาหารัช 1 ตุลาคม พ.ศ. 2532 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533
27. เรือตรี สุกรี รักษ์ศรีทอง 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 30 กันยายน พ.ศ. 2534
28. นายวิมล พวงทอง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2534 30 กันยายน พ.ศ. 2536
29. นายอมร อนันตชัย 1 ตุลาคม พ.ศ. 2536 30 กันยายน พ.ศ. 2541
30. ประพันธ์ ชลวีระวงศ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 30 กันยายน พ.ศ. 2543
31. นายอัครพงศ์ พยัคฆันตร 1 ตุลาคม พ.ศ. 2543 30 กันยายน พ.ศ. 2544
32. นายวิทยา ปิณฑะแพทย์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 30 กันยายน พ.ศ. 2547
33. นายพนัส แก้วลาย 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 30 กันยายน พ.ศ. 2550
34. นายประจักษ์ สุวรรณภักดี 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 30 กันยายน พ.ศ. 2551
35. นายพูลศักดิ์ ประณุทนรพาล 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 30 กันยายน พ.ศ. 2553
36. นายธีรเทพ ศรียะพันธ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
37. นายวิชิต ชาตไพสิฐ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 28 กันยายน พ.ศ. 2555
38. นายสุรชัย ขันอาสา 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 30 กันยายน พ.ศ. 2556
39. นายเกรียงเดช เข็มทอง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557
40. นายสามารถ ลอยฟ้า 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ปัจจุบัน

ภูมิศาสตร์

ชายหาดแหลมสิงห์

จังหวัดจันทบุรีตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยอยู่ห่างกรุงเทพมหานครเมืองหลวงของประเทศไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 245 กิโลเมตร[10] จังหวัดจันทบุรีมีพื้นที่ทั้งหมด 6,338 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 16.6 ของพื้นที่ภาคตะวันออก และเท่ากับร้อยละ 1.8 ของพื้นที่ทั้งประเทศ โดยพื้นที่ของจังหวัดเป็นที่ราบชายฝั่งทะเล ที่ราบสูงและภูเขา ภูมิอากาศของจังหวัดมีลักษณะแบบมรสุมเขตร้อน[11] จุดสูงสุดของจังหวัดอยู่ที่ยอดเขาสอยดาวใต้ ซึ่งเป็นยอดเขาที่มีความสูงที่สุดในภาคตะวันออก โดยมีความสูง 1,675 เมตร[12]

ลักษณะภูมิประเทศ

จังหวัดจันทบุรีมีลักษณะภูมิประเทศอยู่ 3 ลักษณะ คือ 1.ภูเขาและเนินสูง 2.ที่ราบสูงและที่ราบเชิงเขา 3.ที่ราบลุ่มแม่น้ำและชายฝั่งทะเล โดยในบริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทิศเหนือและทิศตะวันออกของจังหวัดจะเป็นเขตภูเขาสูง เช่น เทือกเขาบรรทัด เทือกเขาจันทบุรี เป็นต้น บริเวณนี้เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำลำธารหลายสาย รวมถึงเป็นแนวที่กั้นเขตแดนระหว่างจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดระยอง จังหวัดฉะเชิงเทราและจังหวัดสระแก้ว[12][13] ในส่วนของที่ราบสูงและที่ราบเชิงเขานั้นจะตั้งอยู่ในเขตอำเภอสอยดาว อำเภอโป่งน้ำร้อน พื้นที่ตอนกลางของอำเภอขลุง รวมไปถึงทางตะวันออกของอำเภอมะขาม อำเภอแก่งหางแมว อำเภอเขาคิชฌกูฏ และทางตอนเหนือของอำเภอท่าใหม่[13] โดยบริเวณนี้ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นที่ราบลูกคลื่น[14] ในส่วนพื้นที่สุดท้ายของจังหวัดมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำและชายฝั่งทะเล โดยพื้นที่เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่มีแม่น้ำไหลผ่าน เช่น ที่ราบลุ่มแม่น้ำคลองโตนด ที่ราบลุ่มแม่น้ำพังราด ที่ราบลุ่มแม่น้ำจันทบุรีและที่ราบลุ่มแม่น้ำเวฬุ เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้วพื้นที่เหล่านี้จะอยู่ในเขตอำเภอนายายอาม เมืองจันทบุรีและขลุง รวมถึงพื้นที่บางส่วนของอำเภอแก่งหางแมว เขาคิชฌกูฏและอำเภอท่าใหม่[13] สำหรับพื้นที่ชายฝั่งทะเลมักมีลักษณะเป็นที่ราบชายฝั่งทะเลแคบ ๆ มีการทับถมของตะกอนทราย ที่ราบชายฝั่งทะเลบางแห่งอยู่ใกล้ปากแม่น้ำส่งผลให้บริเวณนั้นมีดินโคลนผสมด้วย บริเวณที่พบที่ราบชายฝั่งทะเลได้แก่ พื้นที่ทางตอนใต้ของอำเภอนายายอาม อำเภอท่าใหม่ อำเภอแหลมสิงห์ และอำเภอขลุง[14]

ลักษณะภูมิอากาศ

สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปจังหวัดจันทบุรีตั้งอยู่ในเขตมรสุมเขตร้อน[11] โดยได้รับฝนจากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้[15] มีฝนตกชุกติดต่อกันประมาณ 6 เดือนต่อปี โดยเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคมเป็นเดือนที่มีปริมาณน้ำฝนสูงที่สุด ซึ่งอาจมีปริมาณน้ำฝนสูงถึง 500 มิลลิเมตรต่อเดือน[16] จังหวัดจันทบุรีมี 3 ฤดูกาลคือฤดูฝน (พฤษภาคม - ตุลาคม) ฤดูหนาว (ตุลาคม - มกราคม) และฤดูร้อน (กุมภาพันธ์ - เมษายน)[17] โดยที่ฤดูหนาวจะมีอากาศหนาวเย็นช้ากว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือของประเทศ[18]

จังหวัดจันทบุรีมีอุณหภูมิเฉลี่ย 23 - 31 องศาเซลเซียสในแต่ละปี โดยที่อุณหภูมิในแต่ละฤดูของจังหวัดจะไม่มีความแตกต่างกันมากนัก อันเนื่องมาจากการตั้งอยู่ใกล้กับทะเล สำหรับอุณหภูมิในแต่ละฤดูนั้น ฤดูฝนมีอุณหภูมิระหว่าง 24 - 30 องศาเซลเซียส ฤดูหนาวมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 22 - 31 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูร้อนมีอุณหภูมิระหว่าง 23 - 33 องศาเซลเซียส[16]

ข้อมูลภูมิอากาศของจันทบุรี
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 31.9
(89.4)
32.2
(90)
32.6
(90.7)
33.3
(91.9)
32.2
(90)
30.9
(87.6)
30.6
(87.1)
30.4
(86.7)
30.7
(87.3)
31.5
(88.7)
31.4
(88.5)
31.2
(88.2)
31.58
(88.84)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 20.3
(68.5)
22.0
(71.6)
23.2
(73.8)
24.1
(75.4)
24.6
(76.3)
24.7
(76.5)
24.5
(76.1)
24.4
(75.9)
24.0
(75.2)
23.4
(74.1)
22.4
(72.3)
20.6
(69.1)
23.18
(73.73)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 13.3
(0.524)
45.0
(1.772)
55.1
(2.169)
111.1
(4.374)
355.5
(13.996)
513.0
(20.197)
439.6
(17.307)
513.7
(20.224)
475.5
(18.72)
279.6
(11.008)
61.2
(2.409)
12.4
(0.488)
2,875
(113.189)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย 2 4 6 10 22 25 24 26 25 19 6 2 171
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 282.1 243.6 248.0 240.0 182.9 132.0 139.5 127.1 129.0 189.1 243.0 282.1 2,438.4
แหล่งที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา

ทรัพยากรดินและน้ำ

แม่น้ำจันทบุรี

ทรัพยากรดินในจังหวัดจันทบุรีมีความอุดมสมบูรณ์สูงมาก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นดินที่เกิดจากการสลายตัวของหินปูน ทำให้ดินมีความเป็นด่างเหมาะแก่การปลูกผลไม้อันเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจของจังหวัดจันทบุรี[19] ดินมีลักษณะเป็นดินตื้นถึงลึกอันเนื่องมาจากสภาพภูมิประเทศ โดยดินส่วนมากของจังหวัดจันทบุรีเป็นดินที่สามารถระบายน้ำออกได้ดีถึงดีมาก[20] อย่างไรก็ตามจังหวัดจันทบุรีมีพื้นที่ดินที่ไม่เหมาะสมกับการทำเกษตรประมาณ 3,000 ตารางกิโลเมตร โดยปัญหาทรัพยากรดินที่พบมากที่สุดคือดินเค็มในบริเวณชายฝั่งทะเล ดินตื้นและดินในพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน[21]

ในส่วนของทรัพยากรน้ำในจังหวัดจันทบุรีนั้น แม้ว่าจังหวัดจันทบุรีจะอยู่ในพื้นที่ทึ่มีฝนตกชุก แต่จันทบุรียังคงประสบกับปัญหาภาวะความแห้งแล้งในพื้นที่ของจังหวัดเนื่องจากแม่น้ำทั้งหมดในจังหวัดเป็นเพียงแม่น้ำสายสั้น ๆ และมีขนาดเล็ก ยกตัวอย่างเช่น แม่น้ำพังราด (30 กิโลเมตร) แม่น้ำวังโตนด (6 กิโลเมตร) แม่น้ำเวฬุ (88 กิโลเมตร)และแม่น้ำจันทบุรี (123 กิโลเมตร)[14] เป็นต้น ส่งผลให้น้ำในแม่น้ำไหลลงสู่อ่าวไทยอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้หากมีปริมาณฝนในจังหวัดจันทบุรีมากเกินไป ปริมาณน้ำอาจจะเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ต่าง ๆ ได้อีกด้วย จึงมีการสร้างอ่างเก็บน้ำและเขื่อนเป็นจำนวนมากเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเขื่อนและอ่างเก็บน้ำที่สำคัญคือ เขื่อนคีรีธาร อ่างเก็บน้ำคลองศาลทราย เขื่อนพลวงและเขื่อนทุ่งเพล[22]

สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ไฟล์:Lvvangcanthabuun.jpg
เหลืองจันทบูร

จังหวัดจันทบุรีมีพื้นที่ป่าไม้มากที่สุดในภาคตะวันออก โดยคิดเป็น 1 ใน 4 ของจำนวนพื้นที่ป่าไม้ทั้งภาค[23] อย่างไรก็ตามหากเปรียบเทียบในอดีตจะพบว่าจังหวัดจันทบุรีสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ไปเป็นจำนวนมาก เพราะเดิมทีจังหวัดจันทบุรีมีเนื้อที่ป่าไม้มากกว่าร้อยละ 50 ของจังหวัด[24] โดยสาเหตุของการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ส่วนใหญ่เกิดจากการลักลอบตัดไม้ การบุกรุกของราษฎรและการขาดการเข้มงวดกวดขันของเจ้าหน้าที่[25] ในปัจจุบันมีการประกาศให้พื้นที่ป่าไม้ของจังหวัดจันทบุรีขึ้นเป็นอุทยานแห่งชาติ 3 แห่งคือ อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ อุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้น และอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว[26] วนอุทยานแห่งชาติ 1 แห่งคือ วนอุทยานแห่งชาติแหลมสิงห์[27] และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 3 แห่งคือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองเครือหวาย[28]

สำหรับพืชที่ค้นพบในจังหวัดจันทบุรีมีอยู่หลายประเภท ที่สำคัญคือสำรองและจัน ซึ่งถือเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดของจันทบุรี ในส่วนของพืชชนิดอื่น ๆ ที่สำคัญของจังหวัด ได้แก่ สอยดาว ชะมวง กฤษณา กระวานและเหลืองจันทบูรอันเป็นดอกไม้ประจำจังหวัด[4][29] นอกจากนี้แล้วในจังหวัดจันทบุรียังค้นพบพืชเฉพาะถิ่นอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น เนตรม่วง (Microchirita purpurea) ซึ่งพบได้เฉพาะในเขตอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรีเพียงแห่งเดียวเท่านั้น[30] เป็นต้น

สำหรับในส่วนของสัตว์ป่าในจังหวัดจันทบุรีนั้นพบว่ามีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 122 ชนิด นก 276 ชนิด สัตว์เลื้อยคลานไม่น้อยกว่า 88 ชนิด สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ 29 ชนิดและปลาน้ำจืดอีกกว่า 47 ชนิด[31] จึงนับได้ว่าจังหวัดจันทบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตค่อนข้างมาก ในจำนวนสัตว์เหล่านี้มีสัตว์ที่สำคัญ ยกตัวอย่างเช่น กบอกหนาม นกกระทาดงจันทบุรี นกแต้วแล้วใหญ่หัวสีน้ำเงินและนกสาลิกาเขียวหางสั้น เป็นต้น ซึ่งสัตว์เหล่านี้เป็นสัตว์ที่สามารถพบได้ในบริเวณจังหวัดจันทบุรีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยเท่านั้น[31][32] นอกจากนี้ยังมีสัตว์ที่สำคัญอีกชนิด คือ ปลาบู่มหิดล ที่มีการค้นพบในจังหวัดจันทบุรี แต่มีกระจายตัวอยู่ในจังหวัดระนองและจังหวัดภูเก็ตด้วย[33]

การเมืองการปกครอง

จังหวัดจันทบุรีมีรูปแบบการปกครองทั้งในรูปแบบการแบ่งอำนาจและการกระจายอำนาจ โดยในปัจจุบันจังหวัดจันทบุรีมีการแบ่งอำนาจออกเป็น 10 อำเภอและมีจำนวนเทศบาลตามหลักการกระจายอำนาจ 45 เทศบาล 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัดและ 34 องค์การบริหารส่วนตำบล ในส่วนของการเมืองระดับชาตินั้น จังหวัดจันทบุรีมีเขตการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 เขตและเขตการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา 1 เขต

หน่วยการปกครอง

แผนที่จังหวัดจันทบุรี

จังหวัดจันทบุรีแบ่งการปกครองออกเป็น 10 อำเภอ 76 ตำบล 731 หมู่บ้าน[34] ดังนี้[35]

1. อำเภอเมืองจันทบุรี 2. อำเภอขลุง 3. อำเภอท่าใหม่ 4. อำเภอโป่งน้ำร้อน 5. อำเภอมะขาม

1.  ตำบลตลาด
2.  ตำบลวัดใหม่
3.  ตำบลคลองนารายณ์
4.  ตำบลเกาะขวาง
5.  ตำบลคมบาง
6.  ตำบลท่าช้าง
7.  ตำบลจันทนิมิต
8.  ตำบลบางกะจะ
9.  ตำบลแสลง
10.  ตำบลหนองบัว
11.  ตำบลพลับพลา

1.  ตำบลขลุง
2.  ตำบลบ่อ
3.  ตำบลเกวียนหัก
4.  ตำบลตะปอน
5.  ตำบลบางชัน
6.  ตำบลวันยาว
7.  ตำบลซึ้ง
8.  ตำบลมาบไพ
9.  ตำบลวังสรรพรส
10.  ตำบลตรอกนอง
11.  ตำบลตกพรม
12.  ตำบลบ่อเวฬุ

1.  ตำบลท่าใหม่
2.  ตำบลยายร้า
3.  ตำบลสีพยา
4.  ตำบลบ่อพุ
5.  ตำบลพลอยแหวน
6.  ตำบลเขาวัว
7.  ตำบลเขาบายศรี
8.  ตำบลสองพี่น้อง
9.  ตำบลทุ่งเบญจา
10.  ตำบลรำพัน
11.  ตำบลโขมง
12.  ตำบลตะกาดเง้า
13.  ตำบลคลองขุด
14.  ตำบลเขาแก้ว

1.  ตำบลทับไทร
2.  ตำบลโป่งน้ำร้อน
3.  ตำบลหนองตาคง
4.  ตำบลเทพนิมิต
5.  ตำบลคลองใหญ่

1.  ตำบลมะขาม
2.  ตำบลท่าหลวง
3.  ตำบลปัถวี
4.  ตำบลวังแซ้ม
5.  ตำบลฉมัน
6.  ตำบลอ่างคีรี

6. อำเภอแหลมสิงห์ 7. อำเภอสอยดาว 8. อำเภอแก่งหางแมว 9. อำเภอนายายอาม 10. อำเภอเขาคิชฌกูฏ
  1. ตำบลปากน้ำแหลมสิงห์
  2. ตำบลเกาะเปริด
  3. ตำบลหนองชิ่ม
  4. ตำบลพลิ้ว
  5. ตำบลคลองน้ำเค็ม
  6. ตำบลบางสระเก้า
  7. ตำบลบางกะไชย
  1. ตำบลปะตง
  2. ตำบลทุ่งขนาน
  3. ตำบลทับช้าง
  4. ตำบลทรายขาว
  5. ตำบลสะตอน
  1. ตำบลแก่งหางแมว
  2. ตำบลขุนซ่อง
  3. ตำบลสามพี่น้อง
  4. ตำบลพวา
  5. ตำบลเขาวงกต
  1. ตำบลนายายอาม
  2. ตำบลวังโตนด
  3. ตำบลกระแจะ
  4. ตำบลสนามไชย
  5. ตำบลช้างข้าม
  6. ตำบลวังใหม่
  1. ตำบลซากไทย
  2. ตำบลพลวง
  3. ตำบลตะเคียนทอง
  4. ตำบลคลองพลู
  5. ตำบลจันทเขลม

การปกครองส่วนท้องถิ่น

เขตการเลือกตั้งของจังหวัดจันทบุรี

จังหวัดจันทบุรีมีหน่วยการปกครองในรูปแบบกระจายอำนาจทั้งสิ้น 80 แห่ง แบ่งออกเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลเมือง 5 แห่ง เทศบาลตำบล 40 แห่งและองค์การบริหารส่วนตำบล 34 แห่ง[36][37] ในส่วนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรีได้รับการจัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 โดยมีขอบเขตครอบคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัดจันทบุรี[38] โดยมีหน้าที่หลักในการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนในพื้นที่ รวมถึงประสานและร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการวางแผนพัฒนาจังหวัด[39] ปัจจุบันมีนายธนภณ กิจกาญจน์ เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรีคนปัจจุบัน[40] สำหรับหน่วยการปกครองท้องถิ่นในระดับเทศบาลนั้นเริ่มขึ้นครั้งแรกในเขตอำเภอเมืองจันทบุรี โดยมีการจัดตั้งสุขาภิบาลจันทบุรีขึ้นในปี พ.ศ. 2451[41] ซึ่งต่อมาได้มีการยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองจันทบุรีในปี พ.ศ. 2478[42]

การเมืองระดับชาติ

ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเมืองระดับชาติของจังหวัดจันทบุรีนั้น คณะกรรมการการเลือกตั้งได้กำหนดให้จังหวัดจันทบุรีมีเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 เขตเลือกตั้ง[43] โดยเขตเลือกตั้งที่ 1 ประกอบไปด้วยอำเภอเมืองจันทบุรีและอำเภอแหลมสิงห์ เขตเลือกตั้งที่ 2 ประกอบไปด้วยอำเภอท่าใหม่ อำเภอนายายอาม อำเภอแก่งหางแมวและอำเภอเขาคิชฌกูฏและเขตเลือกตั้งที่ 3 ประกอบไปด้วยอำเภอขลุง อำเภอมะขาม อำเภอโป่งน้ำร้อนแล้วก็อำเภอสอยดาว[44] สำหรับจำนวนสมาชิกวุฒิสภาของจังหวัดจันทบุรีในอดีตมี 2 คน อย่างไรก็ตามตั้งแต่ พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา จังหวัดจันทบุรีสามารถมีสมาชิกวุฒิสภาได้ 1 คนเท่านั้น[45]

เศรษฐกิจ

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัดจันทบุรี ณ ราคาตลาด

จังหวัดจันทบุรีเป็นจังหวัดที่มีเกษตรกรรมเป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจ โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัดจันทบุรีเกินครึ่งหนึ่งมาจากภาคเกษตรกรรม รองลงมาเป็นอุตสาหกรรม การก่อสร้าง การศึกษาและภาคส่วนอื่น ๆ ตามลำดับ ในปี พ.ศ. 2555 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัดจันทบุรีรวมมูลค่าทั้งสิ้น 100,901 ล้านบาท คิดเป็นอันดับที่ 22 ของประเทศและมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัดต่อหัว 200,876 บาทต่อปี[46] ในส่วนของรายได้ที่แท้จริงของประชากรในจังหวัดจันทบุรีนั้น ประชากรในจังหวัดมีรายได้เฉลี่ย 7,784 บาทต่อเดือนและมีรายจ่ายเฉลี่ย 6,655 บาทต่อเดือน สัดส่วนของคนจนในจังหวัดจันทบุรีเมื่อพิจารณามิติของรายได้พบว่ามีประชากรร้อยละ 8.8 อยู่ในสภาวะยากจน[47][48]

เกษตรกรรม

ภาคส่วนเกษตรกรรมเป็นภาคส่วนที่มีสัดส่วนของผลิตภัณฑ์มวลรวมสูงที่สุดในจังหวัดจันทบุรี โดยในปี พ.ศ. 2555 ภาคส่วนเกษตรกรรมมีผลิตภัณฑ์มวลรวมเท่ากับ 56,262 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 55.76 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งหมด เมื่อเปรียบเทียบย้อนหลังระหว่างปี พ.ศ. 2538 - 2555 จะพบว่าภาคส่วนทางด้านเกษตรกรรมในภาพรวมมีผลิตภัณฑ์มวลรวมสูงขึ้นต่อเนื่องทุกปี[46] สำหรับภาคส่วนเกษตรกรรมที่มีความสำคัญของจังหวัดจันทบุรีส่วนใหญ่เป็นการเพาะปลูก โดยพืชที่นิยมปลูกมากในจังหวัดจันทบุรีคือพืชไม้ผล พริกไทยและยางพารา

ไม้ผลที่เกษตรกรในจังหวัดจันทบุรีนิยมปลูกมากคือมังคุด ทุเรียน สละและเงาะ[49] เนื่องจากจันทบุรีมีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศเหมาะสมสำหรับปลูกผลไม้เหล่านี้ทำให้จังหวัดจันทบุรีมีผลไม้เหล่านี้เป็นจำนวนมากและมีคุณภาพดี[50] โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุเรียนซึ่งจังหวัดจันทบุรีเป็นจังหวัดที่มีการผลิตมากที่สุดในประเทศไทย[51] ผลไม้อีกชนิดหนึ่งซึ่งมีชื่อเสียงมากของจังหวัดจันทบุรีคือสละเนินวง โดยปลูกมากในบริเวณค่ายเนินวง ตำบลบางกะจะ[52] ผลไม้ของจังหวัดจะออกสู่ตลาดในช่วงระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายนของทุกปี[53] อย่างไรก็ตามปริมาณผลไม้ของจังหวัดในแต่ละปีจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ หากเกิดภาวะภัยแล้งขึ้นในจังหวัด ปริมาณผลไม้ที่จะออกสู่ตลาดในปีนั้นจะมีปริมาณลดลง[54]

ทุเรียน

จังหวัดจันทบุรีเป็นแหล่งปลูกพริกไทยที่สำคัญมากของประเทศไทย โดยพื้นที่ปลูกพริกไทยร้อยละ 95 อยู่ในจังหวัดจันทบุรี[55] โดยพริกไทยสามารถสร้างรายได้เข้าจังหวัดจันทบุรีปีละประมาณ 30 - 60 ล้านบาท อย่างไรก็ตามในช่วงหลายปีที่ผ่านมาพื้นที่การปลูกพริกไทยลดลงเป็นอย่างมาก จากการที่เกษตรกรเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น ปัญหาความเสื่อมโทรมของดินและปัญหาด้านต้นทุนการผลิต โดยเกษตรกรเหล่านี้จะเปลี่ยนจากการปลูกพริกไทยเป็นแก้วมังกรและยางพารา[56]

ในส่วนของยางพารานั้น หลวงราชไมตรี (ปูม ปุณศรี) เป็นบุคคลแรกที่นำยางพาราเข้ามาปลูกในจังหวัดจันทบุรีเป็นพื้นที่แรกของภาคตะวันออก[57] ในปี พ.ศ. 2551 เกษตรกรชาวจันทบุรีปลูกยางพาราในพื้นที่ 463,799 ไร่ โดยปลูกมากที่สุดในอำเภอแก่งหางแมว คิดเป็นร้อยละ 41.60 ของพื้นที่ปลูกยางพาราของจังหวัด[58] แม้ว่ายางพาราจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรชาวจันทบุรีเป็นจำนวนมาก แต่ในหลาย ๆ ปีมักประสบปัญหาราคายางพาราตกต่ำ[59] [60]

ประมง

การประมงของจังหวัดจันทบุรี แม้จะมีส่วนแบ่งในผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัดค่อนข้างน้อย (2,683 ล้านบาท) แต่เป็นภาคส่วนที่มีความสำคัญของจังหวัดจันทบุรี[46] เนื่องจากจังหวัดจันทบุรีมีชายฝั่งทะเลยาว 108 กิโลเมตรและมีแม่น้ำหลายสาย[61] ชาวประมงในจันทบุรีมีทั้งที่จับปลาในแหล่งน้ำและเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ โดยสัตว์น้ำที่นิยมเพาะพันธุ์มากที่สุดคือกุ้ง ซึ่งมีผลผลิตรวมกันทั้งจังหวัดในปี พ.ศ. 2552 เท่ากับ 64,262 ตัน[62]

อัญมณี

ทับทิม

จังหวัดจันทบุรีได้รับฉายาว่าเป็นเมืองหลวงทางด้านอัญมณีแห่งหนึ่งของโลก[63] โดยกิจการเหมืองอัญมณีของจังหวัดจันทบุรีเริ่มเมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด แต่พบหลักฐานในจดหมายเหตุคราวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2419 ความว่า "ได้มีราษฎรนำเอาผลไม้และพลอย หลากสีมาถวาย"[64] อัญมณีที่มีชื่อเสียงมากของจังหวัดจันทบุรีมีหลายชนิด เช่น ไพลิน สตาร์ บุษราคัม แต่ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ ทับทิมสยาม ซึ่งมีชื่อเสียงมากในระดับโลก[65] อัญมณีดังกล่าวเหล่านี้มักขุดหาจากเหมืองในบริเวณเขารอบ ๆ ตัวเมืองจันทบุรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณเขาพลอยแหวนและเขตตำบลบางกะจะ ซึ่งค้นพบอัญมณีเป็นจำนวนมาก[66][64] อย่างไรก็ตามในปัจจุบันปริมาณอัญมณีที่ค้นพบในเขตจังหวัดจันทบุรีลดลงไปมาก ส่งผลให้ต้องนำเข้าอัญมณีจากต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประเทศมาดากัสการ์ในทวีปแอฟริกา เพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบให้ช่างเจียระไนพลอยในจังหวัดจันทบุรีเป็นผู้เจียระไน การซื้อขายอัญมณีในจังหวัดจันทบุรีจะทำการซื้อขายในตลาดพลอย ซึ่งตั้งอยู่ในเขตเมืองเก่าจันทบุรี โดยมีผู้ซื้อทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ[63] มีการคาดการณ์กันว่าใน 1 สัปดาห์มีเงินสะพัดอยู่ในตลาดพลอยประมาณ 200 - 500 ล้านบาท[67]

การท่องเที่ยว

จังหวัดจันทบุรีมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้การท่องเที่ยวของจังหวัดจันทบุรีสร้างรายได้ให้กับจังหวัดเป็นจำนวนมาก จากสถิติในแต่ละปีจะพบว่ามีปริมาณนักท่องเที่ยวและรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2555 มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในจังหวัดจันทบุรีรวมทั้งสิ้น 1,072,348 โดยเกือบทั้งหมดเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย ในส่วนของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรีมีเพียง 53,443 คนเท่านั้น นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเข้ามาพักผ่อนในจังหวัดจันทบุรีโดยเฉลี่ย 2.31 วัน นักท่องเที่ยวเหล่านี้สร้างรายได้ให้กับจังหวัดจันทบุรีกว่า 4,214 ล้านบาท โดยมีค่าเฉลี่ยการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่อวันอยูที่ 1,503.07 ต่อคน โดยนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะใช้จ่ายต่อวันอยู่ที่ 2,501.61 ต่อคน[68]

โครงสร้างพื้นฐาน

การศึกษา

สถาบันการศึกษาในจังหวัดจันทบุรีมีทั้งที่ดำเนินการโดยหน่วยงานทางภาครัฐบาลและภาคเอกชน โดยในส่วนภาคเอกชนมีองค์กรทางศาสนาเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมจัดการศึกษาด้วย ภาษาที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เป็นหลัก และมีการสอดแทรกภาษาจีนและภาษาในทวีปยุโรปอื่น ๆ เข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอีกด้วย โรงเรียนประจำจังหวัดของจันทบุรีมีทั้งสิ้น 2 แห่งคือโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี (โรงเรียนประจำจังหวัดชาย) และโรงเรียนศรียานุสรณ์ (โรงเรียนประจำจังหวัดหญิง)[69][70]

ในส่วนของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดจันทบุรีที่เปิดสอนระดับปริญญาบัณฑิตมีอยู่หลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศจันทบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (วิทยาลัยนาฏศิลป์จันทบุรี) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (ศูนย์วิทยพัฒนาจันทบุรี) เป็นต้น

สาธารณสุข

การคมนาคมและการสื่อสาร

การเดินทางสู่จังหวัดจันทบุรีมีเส้นทางดังนี้

  • เส้นทางสายกรุงเทพฯ–ชลบุรี–พัทยา–บ้านฉาง–ระยอง–จันทบุรี โดยใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) ระยะทางประมาณ 315 กิโลเมตร
  • เส้นทางสายกรุงเทพฯ–ชลบุรี–ศรีราชา–บ้านฉาง–ระยอง–จันทบุรี โดยใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 (ถนนเมืองพัทยา-ระยอง) ระยะทางประมาณ 289 กิโลเมตร
  • เส้นทางสายกรุงเทพฯ–ชลบุรี–แกลง–จันทบุรี โดยใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 344 (ถนนชลบุรี-แกลง) ระยะทางประมาณ 249 กิโลเมตร
  • เส้นทางยุทธศาสตร์เชื่อมระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือผ่านปราจีนบุรี ผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 (ถนนสุวรรณศร) เข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 317 (ถนนจันทบุรี-สระแก้ว) ผ่านอำเภอสอยดาว อำเภอโป่งน้ำร้อน และอำเภอมะขาม เข้าสู่จังหวัดจันทบุรี
  • เส้นทางจันทบุรี–ตราด ระยะทาง 69.94 กิโลเมตร
  • เส้นทางจันทบุรี–ระยอง ระยะทาง 111.67 กิโลเมตร
  • เส้นทางจันทบุรี–สระแก้ว ระยะทาง 156.4 กิโลเมตร
  • เส้นทางจันทบุรี–ชลบุรี ระยะทาง 167.03 กิโลเมตร
  • เส้นทางจันทบุรี–ฉะเชิงเทรา ระยะทาง 191.09 กิโลเมตร
  • เส้นทางจันทบุรี–สระบุรี ระยะทาง 327.77 กิโลเมตร
  • เส้นทางจันทบุรี–นครราชสีมา ระยะทาง 338.05 กิโลเมตร
  • เส้นทางจันทบุรี–บุรีรัมย์ ระยะทาง 344.32 กิโลเมตร
  • เส้นทางจันทบุรี–แม่สอด ระยะทาง 697.83 กิโลเมตร

ประชากร

จากประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยปี พ.ศ. 2556 รายงานว่า จังหวัดจันทบุรีมีประชากร 524,260 คน คิดเป็นอันดับที่ 46 ของประเทศ[3] มีความหนาแน่นของประชากร 82.71 คนต่อตารางกิโลเมตร โดยบริเวณที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุดในจังหวัดอยู่ที่เขตเทศบาลเมืองขลุง ซึ่งมีความหนาแน่นของประชากร 3,772 คนต่อตารางกิโลเมตร[36] ประชากรของจังหวัดจันทบุรีส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมืองจันทบุรี โดยมีประชากรอาศัยอยู่ร้อยละ 25.03 ส่วนอำเภอที่มีประชากรอาศัยอยู่น้อยที่สุดคืออำเภอเขาคิชฌกูฏ โดยมีประชากรอาศัยอยู่เพียงร้อยละ 5.33 ของประชากรทั้งจังหวัด[71] ประชากรจังหวัดจันทบุรีบางส่วนเดินทางย้ายถิ่นฐานไปยังจังหวัดอื่น โดยส่วนใหญ่แล้วเพื่อหางานทำในจังหวัดนั้น ๆ[72] ประชากรชาวจันทบุรีส่วนมากมีสัญชาติไทยคิดเป็นร้อยละ 94.82 รองลงมามีสัญชาติกัมพูชาร้อยละ 2.90 สัญชาติลาวร้อยละ 1.20 ที่เหลือเป็นประชากรสัญชาติอื่น ๆ ในจำนวนนี้มีชาวยุโรป 397 คนและชาวแอฟริกัน 561 คนรวมอยู่ด้วย[73]

จำนวนประชากร

ภาษา

ภายในของอาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล

ชาวจันทบุรีใช้ภาษาไทยแบบภาคกลางเป็นภาษาทางราชการและใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตามภาษาไทยที่ชาวจันทบุรีใช้พูดนั้นจะมีสำเนียงและหางเสียงที่แปลกจากภาษาไทยภาคกลาง[75] มีคำบางคำที่เป็นภาษาถิ่นเฉพาะ เช่น การใช้คำว่า ฮิ เป็นคำสร้อย การเรียกยายว่า แมะ เป็นต้น[76] นอกจากนี้แล้วในจังหวัดจันทบุรียังพบภาษาท้องถิ่นในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกที่สำคัญอีก 1 ภาษา คือ ภาษาชอง ซึ่งเป็นภาษาที่พูดโดยชาวชอง ส่วนใหญ่แล้วชาวชองมักตั้งถิ่นฐานในอำเภอมะขาม อำเภอโป่งน้ำร้อนและอำเภอเขาคิชฌกูฎ[77] [78] ในปัจจุบันภาษาชองกำลังตกอยู่ในภาวะสูญหาย เนื่องจากพลเมืองชาวชองประมาณ 6,000 คน มีผู้ที่สามารถพูดภาษาชองได้เพียงแค่ 500 คนเท่านั้น[79] ในส่วนของภาษาอื่น ๆ ที่มีประชากรในจังหวัดใช้สื่อสารในครัวเรือนเกิน 1,000 คนขึ้นไป ได้แก่ ภาษาเขมร ภาษาลาว ภาษาพม่าและภาษาอังกฤษ[80]

ศาสนา

จากการสำมะโนประชากรของจังหวัดจันทบุรีในปี พ.ศ. 2553 พบว่า ประชากรส่วนมากในจังหวัดจันทบุรีนับถือศาสนาพุทธคิดเป็นร้อยละ 97.95 รองลงมานับถือศาสนาคริสต์คิดเป็นร้อยละ 1.22 ศาสนาอิสลามคิดเป็นร้อยละ 0.40 ศาสนาฮินดูคิดเป็นร้อยละ 0.03 ศาสนาอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 0.23 และมีผู้ไม่นับถือศาสนาใด ๆ คิดเป็นร้อยละ 0.17[81] ในกลุ่มศาสนิกชนที่นับถือศาสนาอื่นนอกเหนือจากศาสนาพุทธส่วนใหญ่มักอาศัยอยู่ในเขตเทศบาล[81] ในส่วนของคริสต์ศาสนิกชนในจังหวัดจันทบุรีพบมากที่สุดในเขตเทศบาลเมืองจันทนิมิตโดยมีผู้นับถือศาสนาคริสต์ถึงร้อยละ 50 จากประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาล[82]

ประเพณีและวัฒนธรรม

ด้วยความที่จังหวัดจันทบุรีมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ทำให้มีประเพณีและวัฒธรรมที่หลากหลาย โดยประเพณีและวัฒนธรรมเหล่านี้ล้วนแล้วแต่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษทั้งสิ้น โดยมากแล้ววัฒนธรรมและประเพณีส่วนใหญ่ของจังหวัดนี้จะเกิดจากวิถีชีวิตและความเชื่อของคนในจังหวัด

เทศกาลและประเพณี

อาหาร

จังหวัดจันทบุรีเป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีพืชพันธุ์หลากหลายชนิด ส่งผลให้มีการนำพืชพันธุ์เหล่านั้นเข้ามาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการประกอบอาหาร สำหรับอาหารที่ขึ้นชื่อมากที่สุดของจังหวัดจันทบุรี คือ แกงหมูชะมวง ซึ่งใช้ใบชะมวงเป็นวัตถุดิบหลักในการปรุงขึ้น มีรสชาติทั้งสิ้น 3 รส คือ เค็ม เปรี้ยวและหวาน อาหารอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมและสร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดจันทบุรีเป็นอย่างมาก คือ ก๋วยเตี๋ยวเนื้อเลียงหรือหมูเลียง โดยนำก๋วยเตี๋ยวเส้นจันท์ ซึ่งเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยวที่มีลักษณะเหนียวนุ่ม ไม่เปื่อยง่าย เข้ามาผสมผสานกับน้ำก๋วยเตี๋ยวที่ปรุงจากเครื่องเทศและวัตถุดิบอื่น ๆ ในส่วนอาหารอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดจันทบุรีได้แก่ น้ำพริกปูไข่ แกงเนื้อ แกงหมู ก๋วยเตี๋ยวผัดปู น้ำพริกเกลือ น้ำพริกระกำและอาหารทะเลจานต่าง ๆ เป็นต้น[83]

ในส่วนของอาหารว่างและเครื่องดื่มของจังหวัดจันทบุรีนั้นมีหลายอย่างที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในส่วนของอาหารว่างที่สำคัญคือ ข้าวเกรียบอ่อนน้ำจิ้ม ซึ่งมีลักษณะใหญ่กว่าข้าวเกรียบปากหม้อโดยทั่วไป ทองม้วนอ่อน ซึ่งจะมีรสชาติแตกต่างไปตามวัตถุดิบที่เข้ามาเป็นส่วนผสมและ ปาท่องโก๋ ซึ่งมีความแตกต่างจากปาท่องโก๋ในจังหวัดอื่นที่น้ำจิ้ม โดยน้ำจิ้มปาท่องโก๋ของจังหวัดจันทบุรีจะเป็นน้ำจิ้มที่มีรสหวานออกเปรี้ยว[83] ในส่วนของเครื่องดื่มนั้นที่สำคัญได้แก่ น้ำสำรอง ซึ่งเป็นน้ำพืชสมุนไพรที่มีคุณค่าทางอาหารและสรรพคุณทางยา[84]

การแสดงพื้นบ้าน

จังหวัดจันทบุรีเป็นจังหวัดที่มีการแสดงพื้นบ้านอย่างหลากหลาย โดยมักเป็นการแสดงที่บ่งบอกถึงวิถีชีวิตของผู้คนในท้องถิ่น ชาติพันธ์ การประกอบอาชีพ รวมไปถึงสภาพทางภูมิศาสตร์ชองท้องถิ่น การแสดงพื้นบ้านของจังหวัดจันทบุรีมีทั้งที่เกิดจากการถ่ายทอดของบรรพชนภายในท้องถิ่นหรือการแสดงพื้นบ้านบางอย่างอาจเกิดขึ้นจากการประดิษฐ์คิดค้นของผู้คนในปัจจุบัน โดยการแสดงพื้นบ้านของจังหวัดจันทบุรีที่สำคัญมีดังนี้[85]

ชื่อการแสดงพื้นบ้าน ลักษณะสำคัญ
ยันแย่ ยันแย่เป็นการแสดงของชาวชอง ในอดีตใช้เป็นเพลงกล่อมเด็ก แต่ในปัจจุบันนำทำนองเพลงยันแย่มาแต่งบทร้อง เพื่อใช้เป็นบทเกี้ยวพาราสี[86]
อาไย ทิดฮัมและทิดบูนเป็นผู้นำมาเผยแพร่จากประเทศกัมพูชา เป็นการแสดงที่ใช้ภาษาเขมรในการร้องพร้อมกับการรำ ใช้ซออู้ ซอด้วง กลอง ฉิ่ง ขิมและโมงเซเป็นเครื่องดนตรีประกอบการแสดง ปัจจุบันเป็นการละเล่นของชาวบ้านตามูลล่าง อำเภอโป่งน้าร้อน[87]
ละครเท่งตุ๊ก ละครเท่งตุ๊กได้รับอิทธิพลจากละครชาตรีและละครโนรา โดยชื่อของการแสดงมาจากเสียงของโทนและกลองตุ๊ก การแสดงจะใช้ทั้งมือและเท้า พร้อมทั้งการใช้เอวและไหล่ให้ตรงตามจังหวะกลอง[88]
ระบำเก็บพริกไทย คณาจารณ์วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรีเป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ โดยนำลักษณะของการการเก็บพริกไทยมาใช้ประดิษฐ์ท่า โดยดัดแปลงเครื่องแต่งกายของผู้แสดงเพื่อให้เกิดความสวยงาม ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวมในการบรรเลง[85]
ระบำทอเสื่อ คณาจารย์วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรีเป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ โดยนำวิธีการทำเสื่อจันทบูรมาใช้ประดิษฐ์ท่า ผู้แสดงเป็นผู้หญิงทั้งหมด[85]
ระบำเริงนทีบูรพา ระบำเริงนทีบูรพาเป็นการแสดงที่นำวิถีชีวิตของชาวประมงและพฤติกรรมของสัตว์มาใช้เป็นจินตนาการในการสร้างการแสดง โดยใช้วงปี่พาทย์ไม้นวมในการบรรเลง[85]
ระบำควนคราบุรี วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรีประดิษฐ์การแสดงชุดนี้ขึ้น เพื่อจำลองให้เห็นสภาพวิถีชีวิตของชาวจันทบุรีในสมัยโบราณ การแต่งกายใช้รูปแบบตามศิลปะลพบุรี ส่วนการบรรเลงใช้วงปี่พาทย์ไม้แข็ง[85]
ระบำชอง ระบำชองเป็นระบำพื้นบ้านของชาวชอง จุดมุ่งหมายของระบำนี้คือความร่าเริงและสนุกสนาน[85]

กีฬาและการละเล่นพื้นบ้าน

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

  • เสื่อจันทบูร หัตถกรรมพื้นบ้านอีกชนิดที่มีชื่อเสียงของจังหวัด ผลิตจากกก ได้มีการนำเอากกมาดัดแปลงเป็นเครื่องใช้ต่าง ๆ มากมาย
  • ก๋วยเตี๋ยวเส้นจันท์ นับเป็นสินค้าพื้นเมืองที่เป็นเอกลักษณ์อีกสิ่งหนึ่งของจังหวัด เหมาะที่จะซื้อเป็นของที่ระลึกเมื่อมาเที่ยวจังหวัดจันทบุรี

สถานที่ท่องเที่ยว

อุทยานแห่งชาติทางบก

อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว
  1. อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ
  2. อุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้น
  3. อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว
  4. อุทยานแห่งชาติน้ำตกเขาสอยดาว

วนอุทยานแห่งชาติ

  1. วนอุทยานแห่งชาติแหลมสิงห์

ดูเพิ่ม

ชาวจันทบุรีที่มีชื่อเสียง

เมืองพี่น้อง

อ้างอิง

  1. "67 บิ๊กข้าราชการ ถูกคสช.สั่งย้าย ปฏิบัติการสลายขั้วอำนาจเก่า". แนวหน้า. สืบค้นเมื่อ 4 July 2014.
  2. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  3. 3.0 3.1 ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2556
  4. 4.0 4.1 "จังหวัดจันทบุรี 3". สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
  5. "จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดจันทบุรี ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553". สำนักสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
  6. "จังหวัดจันทบุรี 1". สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
  7. "เหตุสงครามระหว่างสยามกับฝรั่งเศสและจดหมายเหตุฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรี (พ.ศ. 2436-2447)." พระนคร: กรมศิลปากร, 2483.
  8. "ทำเนียบรายพระนามและรายนามผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี". สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
  9. "ทำเนียบผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี". กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดจันทบุรี ศาลากลางจังหวัดจันทบุรี. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
  10. "ข้อมูลการเดินทางในจันทบุรี". การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.
  11. 11.0 11.1 "ความแห้งแล้งในประเทศไทย". กรมพัฒนาที่ดิน. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.
  12. 12.0 12.1 "ข้อมูลประจำจังหวัดจันทบุรี". สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.
  13. 13.0 13.1 13.2 "ลักษณะภูมิประเทศ". สำนักงานสรรพากรจังหวัดจันทบุรี. สืบค้นเมื่อ 19 April 2014.
  14. 14.0 14.1 14.2 "จังหวัดจันทบุรี". สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม. สืบค้นเมื่อ 18 April 2014.
  15. "มรสุมตะวันตกเฉียงใต้" (PDF). สำนักภูมิสารสนเทศอุตุนิยมวิทยา. สืบค้นเมื่อ 19 April 2014.
  16. 16.0 16.1 "จันทบุรี - ค่าเฉลี่ย 30 ปี (2504-2533)". กรมอุตุนิยมวิทยา. สืบค้นเมื่อ 19 April 2014.
  17. "ข้อมูลประจำจังหวัดจันทบุรี". สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี. สืบค้นเมื่อ 19 April 2014.
  18. "ความรู้อุตุนิยมวิทยา". กรมอุตุนิยมวิทยา. สืบค้นเมื่อ 19 April 2014.
  19. "ทรัพยากรดิน". โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต. สืบค้นเมื่อ 18 April 2014.
  20. "ข้อมูลสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดจันทบุรี". สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดจันทบุรี. สืบค้นเมื่อ 18 April 2014.
  21. "ปัญหาทรัพยากรดินและการปรับปรุงแก้ไข". สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดจันทบุรี. สืบค้นเมื่อ 18 April 2014.
  22. "เขื่อนและอ่างเก็บน้ำ". chanthaboon. สืบค้นเมื่อ 18 April 2014.
  23. "เนื้อที่ป่าไม้แยกรายจังหวัด". สำนักความหลากหลายทางชีวภาพ. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.
  24. "สถานการณ์ป่าไม้ประเทศไทย ในวาระ 21 ปี สืบ นาคะเสถียร". มูลนิธิสืบนาคะเสถียร. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.
  25. "สภาพปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง". สถาบันสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.
  26. "อุทยานแห่งชาติ". กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.
  27. "วนอุทยานแห่งชาติ". กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.
  28. "รายชื่อเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า". สำนักความหลากหลายทางชีวภาพ. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.
  29. "ต้นไม้ประจำจังหวัด". สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี. สืบค้นเมื่อ 17 April 2014.
  30. "อย่างไรเรียกว่า...สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่?". ASTVผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 17 April 2014.
  31. 31.0 31.1 "ธรรมชาติวิทยา สัตว์ท้องถิ่นของจันทบุรี". สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี. สืบค้นเมื่อ 17 April 2014.
  32. "การจัดสถานภาพการถูกคุกคามของนกที่พบในประเทศไทย" (PDF). คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้. สืบค้นเมื่อ 17 April 2014.
  33. "ปลาบู่มหิดล : ปลาเกียรติยศของพระประทีปแห่งการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำของไทย". กรมประมง. สืบค้นเมื่อ 17 April 2014.
  34. "อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน และ อปท". สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดจันทบุรี. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
  35. "รายการข้อมูลอำเภอในจังหวัดจันทบุรี". thaitambon. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
  36. 36.0 36.1 "รายชื่อเทศบาลเมือง จำนวน 171 แห่ง". สำนักพัฒนาระบบ รูปแบบและโครงสร้าง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
  37. "รายชื่อองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 5,492 แห่ง". สำนักพัฒนาระบบ รูปแบบและโครงสร้าง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
  38. "ประวัติความเป็นมา". องค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
  39. "อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี". องค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
  40. "โครงสร้างองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี". องค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
  41. ""ชุมชนเก่าท่าหลวง (ถนนสุขาภิบาล)" ชุมชนเก่าแก่ริมแม่น้ำจันทบุรี". travel.thaiza. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
  42. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี พุทธศักราช ๒๔๗๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
  43. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปครั้งแรกภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๕๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
  44. "จำนวนหน่วยเลือกตั้งแยกรายอำเภอ จังหวัดจันทบุรี ในการเตรียมการเลือกตัง ส.ส. จันทบุรี". คณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดจันทบุรี. สืบค้นเมื่อ 11 June 2014.
  45. "ทำเนียบสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดจันทบุรีจากอดีตจนถึงปัจจุบัน". คณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดจันทบุรี. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
  46. 46.0 46.1 46.2 "GROSS PROVINCIAL PRODUCT AT CURRENT MARKET PRICES". สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 20 April 2014.
  47. "จังหวัด จันทบุรี : ตาราง 4 ตัวชี้วัดในแผนที่ความยากจน ในภาพรวม พ.ศ. 2552 : มิติค่าใช้จ่าย" (PDF). สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 20 April 2014. {{cite web}}: line feed character ใน |title= ที่ตำแหน่ง 19 (help)
  48. "จังหวัด จันทบุรี : ตาราง 4 ตัวชี้วัดในแผนที่ความยากจน ในภาพรวม พ.ศ. 2552 : มิติรายได้" (PDF). สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 20 April 2014. {{cite web}}: line feed character ใน |title= ที่ตำแหน่ง 19 (help)
  49. "พืชพรรณไม้ประจำถิ่น". สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี. สืบค้นเมื่อ 21 April 2014.
  50. "แวะชิม แวะเที่ยว สวนผลไม้จันทบุรี". Kapook. สืบค้นเมื่อ 21 April 2014.
  51. "เปิดสวนจังหวัดจันทบุรี". chanforchan. สืบค้นเมื่อ 21 April 2014.
  52. "สละเนินวง". chanthaboon. สืบค้นเมื่อ 21 April 2014.
  53. "ผลไม้เลื่องชื่อ". chanthaboon. สืบค้นเมื่อ 21 April 2014.
  54. "ภัยแล้งจันทบุรี ทำพื้นที่การเกษตรเสียหายกว่า 5 หมื่นไร่". ASTVผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 21 April 2014.
  55. "พริกไทยพันธุ์ดี". chanthaboon. สืบค้นเมื่อ 21 April 2014.
  56. "พริกไทยจันทบุรี : พืชเศรษฐกิจที่ชาวสวนต้องรักษาไว้". สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. สืบค้นเมื่อ 21 April 2014.
  57. "ประวัติยางพารา". องค์การสวนยาง. สืบค้นเมื่อ 21 April 2014.
  58. "โครงการจัดทำฐานขอมูลเชิงพื้นที่ของยางพาราป 2550 โดยการสำรวจขอมูลระยะไกลและเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ" (PDF). กรมวิชาการเกษตร. สืบค้นเมื่อ 21 April 2014.
  59. "จันทบุรี-ราคายางตกต่ำในรอบ 3 ปี". ครอบครัวข่าว 3. สืบค้นเมื่อ 21 April 2014.
  60. "ชาวสวนยางตรัง-จันทบุรี ชุมนุมร้องรัฐแก้ปัญหาราคาตกต่ำ". ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 21 April 2014.
  61. "ข้อมูลลักษณะภูมิประเทศ : จังหวัดจันทบุรี". ศูนย์วิจัยและพัฒนาโครงสร้างมูลฐานอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สืบค้นเมื่อ 21 April 2014.
  62. "ข้อมูลประมงของจังหวัดจันทบุรี พ.ศ. 2549 - 2552". ประมงจังหวัดจันทบุรี. สืบค้นเมื่อ 21 April 2014.
  63. 63.0 63.1 "Thailand's gem capital". Asia Times Online. สืบค้นเมื่อ 22 April 2014.
  64. 64.0 64.1 "พลอยเมืองจันท์". chanthaboon. สืบค้นเมื่อ 22 April 2014.
  65. "ความรู้เรื่องพลอย". ร้านเพชรไอยราเจมส์. สืบค้นเมื่อ 22 April 2014.
  66. "Gem Market". lonely planet. สืบค้นเมื่อ 22 April 2014.
  67. "เจาะธุรกิจพลอยเมืองจันท์ "เยือนตลาดค้าพลอยร้อยล้าน"". ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 22 April 2014.
  68. "สถิตินักท่องเที่ยวในประเทศ (รายจังหวัด)". สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มฐานข้อมูลการตลาด. สืบค้นเมื่อ 25 April 2014.
  69. "ประวัติโรงเรียน และที่ตั้ง". โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี. 22 December 2014.
  70. "ประวัติโรงเรียน". โรงเรียนศรียานุสรณ์. 22 December 2014.
  71. "ตารางที่ 1 ประชากร จำแนกตามเพศ ครัวเรือน จำแนกตามประเภทของครัวเรือน อำเภอ และเขตการปกครอง". สำนักงานสถิติจังหวัดจันทบุรี. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.
  72. "ตารางที่ 20 ประชากรที่ย้ายถิ่นภายใน 5 ปี จำแนกตามเหตุผลของการย้ายถิ่น เพศ และเขตการปกครอง". สำนักงานสถิติจังหวัดจันทบุรี. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.
  73. "ตารางที่ 5 ประชากร จำแนกตามสัญชาติ เพศ และเขตการปกครอง". สำนักงานสถิติจังหวัดจันทบุรี. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.
  74. "รายชื่อเทศบาลเมือง จำนวน 171 แห่ง". สำนักพัฒนาระบบ รูปแบบและโครงสร้าง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
  75. "จังหวัดจันทบุรี 8". สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.
  76. "ภาษาถิ่นตะวันออก". สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุพรรณบุรี. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.
  77. "ภาษาชอง". มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.
  78. "ภาษาชอง". โครงการแผนที่วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ชายแดนไทย-กัมพูชา. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.
  79. "ต่อลมหายใจ "มรดกภาษา" ฟื้นชาติพันธุ์ "ชอง" ผ่านห้องเรียน". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.
  80. "ตารางที่ 6 ประชากร จำแนกตามภาษาที่ใช้พูดในครัวเรือน เพศ และเขตการปกครอง". สำนักงานสถิติจังหวัดจันทบุรี. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.
  81. 81.0 81.1 "ตารางที่ 4 ประชากร จำแนกตามศาสนา เพศ และเขตการปกครอง". สำนักงานสถิติจังหวัดจันทบุรี. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.
  82. "ประวัติชุมชน". เทศบาลเมืองจันทนิมิต. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.
  83. 83.0 83.1 "อาหารประจำท้องถิ่น". สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี. สืบค้นเมื่อ 11 June 2014.
  84. "จังหวัด จันทบุรี : ผลิตภัณฑ์น้ำสำรอง". ไทยตำบล. สืบค้นเมื่อ 11 June 2014.
  85. 85.0 85.1 85.2 85.3 85.4 85.5 "การละเล่นและการแสดงพื้นบ้านของชาวจันท์". สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี. สืบค้นเมื่อ 4 July 2014.
  86. "ยันแย่". โครงการแผนที่วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ชายแดนไทย-กัมพูชา. สืบค้นเมื่อ 4 July 2014.
  87. "อาไย/อายัย จ.จันทบุรี". โครงการแผนที่วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ชายแดนไทย-กัมพูชา. สืบค้นเมื่อ 4 July 2014.
  88. "ละครเท่งตุ๊ก ศิลปะการแสดงพื้นบ้านชาวจันทบูร". chanthaboon.net. สืบค้นเมื่อ 4 July 2014.
  89. 89.0 89.1 "ความสัมพันธเมืองพี่น้องที่ลงนามความตกลงแลว" (PDF). กองการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
  90. 90.0 90.1 "บันทึกความเข้าใจฯ กับราชอาณาจักรกัมพูชา". mahachonnews. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น

12°37′N 102°07′E / 12.61°N 102.11°E / 12.61; 102.11