ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไลท์ฟลายเวท"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{รีไรต์}}
{{ขาดกล่องข้อมูล}}
{{เก็บกวาด}}
'''ไลท์ฟลายเวท''' ({{lang-en|Light flyweight}}) ชื่อน้ำหนักรุ่นมวยที่เล็กเป็นอันดับ 2 ของโลก โดยนักมวยผู้ที่จะชกในพิกัดนี้ ต้องมีน้ำหนักมากกว่า 105 ปอนด์ (47.727 กิโลกรัม) และไม่เกิน 108 ปอนด์ (48.988 กิโลกรัม) ในสถาบัน[[สภามวยโลก]] (WBC) และ[[มวยสากลสมัครเล่น]] จะเรียกรุ่นนี้ว่า ไลท์ฟลายเวท ในสถาบันสมาคมมวยโลก (WBA) และสหพันธ์มวยนานาชาติ (IBF) จะเรียกรุ่นนี้ว่า '''จูเนียร์ฟลายเวท''' (Junior flyweight) โดยสถาบันแรกที่เริ่มก่อตั้งพิกัดน้ำหนักรุ่นนี้คือ สภามวยโลก (WBC) ในปี [[ค.ศ. 1975]]
'''ไลท์ฟลายเวท''' ({{lang-en|Light flyweight}}) ชื่อน้ำหนักรุ่นมวยที่เล็กเป็นอันดับ 2 ของโลก โดยนักมวยผู้ที่จะชกในพิกัดนี้ ต้องมีน้ำหนักมากกว่า 105 ปอนด์ (47.727 กิโลกรัม) และไม่เกิน 108 ปอนด์ (48.988 กิโลกรัม) ในสถาบัน[[สภามวยโลก]] (WBC) และ[[มวยสากลสมัครเล่น]] จะเรียกรุ่นนี้ว่า ไลท์ฟลายเวท ในสถาบันสมาคมมวยโลก (WBA) และสหพันธ์มวยนานาชาติ (IBF) จะเรียกรุ่นนี้ว่า '''จูเนียร์ฟลายเวท''' (Junior flyweight) โดยสถาบันแรกที่เริ่มก่อตั้งพิกัดน้ำหนักรุ่นนี้คือ สภามวยโลก (WBC) ในปี [[ค.ศ. 1975]]



รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:58, 15 ธันวาคม 2557

ไลท์ฟลายเวท (อังกฤษ: Light flyweight) ชื่อน้ำหนักรุ่นมวยที่เล็กเป็นอันดับ 2 ของโลก โดยนักมวยผู้ที่จะชกในพิกัดนี้ ต้องมีน้ำหนักมากกว่า 105 ปอนด์ (47.727 กิโลกรัม) และไม่เกิน 108 ปอนด์ (48.988 กิโลกรัม) ในสถาบันสภามวยโลก (WBC) และมวยสากลสมัครเล่น จะเรียกรุ่นนี้ว่า ไลท์ฟลายเวท ในสถาบันสมาคมมวยโลก (WBA) และสหพันธ์มวยนานาชาติ (IBF) จะเรียกรุ่นนี้ว่า จูเนียร์ฟลายเวท (Junior flyweight) โดยสถาบันแรกที่เริ่มก่อตั้งพิกัดน้ำหนักรุ่นนี้คือ สภามวยโลก (WBC) ในปี ค.ศ. 1975

สำหรับนักมวยไทยที่เคยครองแชมป์โลกในรุ่นนี้ ได้แก่ เนตรน้อย ศ.วรสิงห์, เมืองชัย กิตติเกษม, สมาน ส.จาตุรงค์, พิชิต ช.ศิริวัฒน์, วันดี สิงห์วังชา (เป็นเพียงแชมป์เฉพาะกาล) และ คมพยัคฆ์ ป.ประมุข

ในส่วนของมวยสากลสมัครเล่น มีนักมวยไทย 2 คนที่ได้รับเหรียญรางวัลจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2 คน คือ พเยาว์ พูนธรัตน์ ในโอลิมปิก 1976 ที่มอนทรีออล ประเทศแคนาดา ได้รับเหรียญทองแดง และเป็นนักกีฬาคนแรกของไทยด้วยที่ได้รับเหรียญรางวัลโอลิมปิก[1] และ แก้ว พงษ์ประยูร ในโอลิมปิก 2012 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้รับเหรียญเงิน[2]

ในส่วนของนักมวยต่างชาติที่มีชื่อเสียงในพิกัดนี้ ได้แก่ เฟรดดี้ คัสติญโญ, หลุยส์ เอสตาบา, ฮุมเบอร์โต กอนซาเลซ, ไมเคิล คาร์บาฮาล, ชาง จุงกู, เมียง วูยูห์, โยโกะ กูชิเก้น, โรแลนโด ปาสคัว, ลีโอ กาเมซ, โรเซนโด อัลวาเรซ, คะซุโตะ อิโอะกะ และ นะโอะยะ อิโนะอุเอะ เป็นต้น[3]

อ้างอิง

  1. "Payao, Kingdom's first Olympic hero, dies at 50". Nation. สืบค้นเมื่อ 27 August 2014.
  2. "Kaew Pongprayoon Leaves Boxing After Winning Silver". boxingscene.com. 16 August 2014. สืบค้นเมื่อ 27 August 2014.
  3. Goldman, Herbert (June 1980), "Junior Divisions", The Ring 59, no. 4: 74, 75