ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สะพานกรุงธน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2: บรรทัด 2:
| bridge_name = สะพานกรุงธน
| bridge_name = สะพานกรุงธน
| native_name =
| native_name =
| image =
| image = Krung Thong Bridge 05499.jpg
| image_size = 350
| image_size = 350
| bridge_name = สะพานกรุงธน
| bridge_name = สะพานกรุงธน

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:05, 3 ธันวาคม 2557

สะพานกรุงธน
สะพานกรุงธน
เส้นทางถนนราชวิถี
ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
ที่ตั้งเขตดุสิต, เขตบางพลัด
ชื่อทางการสะพานกรุงธน
ผู้ดูแลกรมทางหลวงชนบท
เหนือน้ำสะพานพระราม 6
ท้ายน้ำสะพานพระราม 8
ข้อมูลจำเพาะ
ประเภทชนิดปิดตายช่วงต่อเนื่องกัน
วัสดุเหล็กและคอนกรีต
ความยาว366.20 เมตร
ความสูง7.50 เมตร
จำนวนช่วง6
ประวัติ
วันเริ่มสร้าง31 สิงหาคม พ.ศ. 2497
วันสร้างเสร็จ7 มีนาคม พ.ศ. 2500
วันเปิด7 มีนาคม พ.ศ. 2500
ที่ตั้ง
แผนที่

สะพานกรุงธน (อังกฤษ: Krung Thon Bridge) หรือ สะพานซังฮี้ เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่บริเวณถนนราชวิถี เชื่อมระหว่างแขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กับแขวงบางพลัดและแขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของกรมทางหลวงชนบท

ประวัติ

สะพานกรุงธนเริ่มก่อสร้างเมื่อ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2497 โดยบริษัทฟูจิ คาร์แมนูแฟ็กเจอริง จำกัด ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีบริษัท สหวิศวการโยธา จำกัด เป็นผู้แทนในประเทศไทย และได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 สะพานกรุงธนประกอบด้วยโครงสะพานเหล็กยาว 6 ช่วง เชิงสะพานทั้งสองฝั่งเป็นคอนกรีต มีทางเท้าทั้งขนาบสองข้าง ช่วงลอดกลางสะพานสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 7.50 เมตร เป็นสะพานที่เปิดไม่ได้ สร้างเสร็จและเปิดการจราจรเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2500 งบประมาณค่าก่อสร้างรวมเป็นเงินทั้งหมด 24,837,500 บาท

สะพานกรุงธนเป็นสะพานที่สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการคมนาคมแก่ประชาชนสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และแบ่งเบาความคับคั่งของสะพานพระพุทธยอดฟ้า สะพานกรุงธนสร้างเสร็จและเปิดการจราจรเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2501 เรียกกันว่า สะพานซังฮี้ เพราะเริ่มต้นที่ถนนราชวิถีหรือถนนซังฮี้ และขณะที่เริ่มก่อสร้างประชาชนเรียกสะพานนี้ว่า "สะพานซังฮี้" จึงเรียกกันมาจนปัจจุบัน


ปากเล่าจากชาวบ้าน

จากการเล่าของผู้เฒ่าชาวบ้านผู้ที่อยู่อาศัยบริเวณเขตบางพลัด และเคยมีส่วนร่วมในการก่อสร้างนั้นได้กล่าวไว้ว่า ในขณะที่ก่อสร้างจะมีการขุดหลุมเป็นหลายๆ หลุม มีขนาด 1 ตารางวา และลึก 1 ศอก เพื่อจะได้ทำเป็นฐานราบที่มั่นคง เพราะว่าบริเวณนั้นเป็นบริเวณสวนริมแม่น้ำเป็นหลุมเป็นบ่อ จึงต้องทำให้พื้นเรียบก่อนถึงจะสร้างได้ ส่วนดินที่จะขนมาอัดตรงหลุมนั้นต้องไปนำมาจากสวนของตนเอง โดยนายจ้างจะจ่ายค่าแรงต่อหลุมให้ 12 บาทซึ่งถือว่ามีค่ามากในสมัยนั้น พออัดดินให้แน่นแล้วก็ต้องขนหิน และทรายมาอัดอีก แล้วจึงเทปูนลงใส่ จึงถือได้ว่าสะพานนี้ เป็นสะพานที่สร้างด้วยชาวบ้านไม่ใช่กรรมกร

ที่มาของชื่อ "สะพานซังฮี้"

ชื่อ ซังฮี้ เกี่ยวพันกับเครื่องกิมตึ้ง ซึ่งเป็นชื่อเครื่องถ้วยชามของประเทศจีน มีลวดลายต่าง ๆ ตกแต่งสวยงาม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นิยมสั่งถ้วยชามเหล่านี้มาจากประเทศจีนเพื่อใช้และสะสมเป็นของมีค่า และเมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังดุสิตขึ้น ได้พระราชทานนามตำหนัก ถนน สะพาน และคลองต่างๆ ภายในพระราชวังดุสิต เป็นชื่อเครื่องกิมตึ้งของประเทศจีนทั้งสิ้น เช่น ชื่อถนนด้านหลังพระราชวัง พระราชทานนามว่า ซังฮี้ ซังฮี้ แปลว่า ความยินดี มา2อย่างพร้อมกัน ซัง แปลว่า คู่ ฮี่ แปลว่า ความยินดี เช่น ได้ลูกชาย พร้อมกับได้เลื่อนตำแหน่ง อย่างนี้ เรียก ซังฮี้ (ความยินดี มา2อย่างพร้อมกัน) ถนนซังฮี้ในตอนแรกที่สร้างมีระยะทางจากแม่น้ำเจ้าพระยาไปสุดบริเวณด้านหลังพระราชวังดุสิตและได้ขยายต่อมาในภายหลัง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามสถานที่หลายแห่งนั้น ถนนซังฮี้ก็เป็นถนนหนึ่งที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อไปเป็น "ถนนราชวิถี" เมื่อมีการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งใหม่ในสมัยรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ขณะทำการสร้าง ประชาชนทั่วไปยังไม่ทราบชื่อสะพานอย่างเป็นทางการจึงเรียกชื่อสะพานว่า สะพานซังฮี้ เพราะสะพานนี้เริ่มต้นปลายถนนซังฮี้ทางด้านฝั่งพระนคร ต่อมาเมื่อสร้างเสร็จแล้วรัฐบาลได้ตั้งชื่อสะพานว่า "สะพานกรุงธน" นั่นเอง

ข้อมูลทั่วไป

  • วันที่ทำการก่อสร้าง : วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2497 แล้วเสร็จปลายปี พ.ศ. 2500
  • บริษัทที่ทำการก่อสร้าง : FUJI CAR MANUFACTURING CO.,LTD.
  • ราคาค่าก่อสร้าง : 24,837,500.00 บาท
  • แบบของสะพาน : ชนิดปิดตายช่วงต่อเนื่องกัน
  • ความยาวของสะพาน : 366.20 เมตร
  • สูงจากน้ำทะเลปานกลาง : 7.50 เมตร
  • เชิงลาดสะพานฝั่งพระนคร : 185.50 เมตร
  • เชิงลาดสะพานฝั่งธนบุรี : 97.20 เมตร
  • รวมความยาวทั้งหมด : 648.90 เมตร
  • ช่องจราจร : 4 ช่อง
  • ทางเท้ากว้างข้างละ : 2.50 เมตร
  • น้ำหนักโครงเหล็ก : รวมทั้งพื้นจราจร สำหรับช่วง 64.00 ม. หนัก 440 ตัน สำหรับช่วง 58.00 ม. หนัก 400 ตัน รับน้ำหนักได้ TRACTOR TRUCK WITH SEMI-TRAILER 29.25 TONS ต่อช่วงสะพานหรือ 16 TONS TRUCK TRAINS วิ่งสวนกัน 4 คัน และ วิ่งตามกันห่าง 4 ม. น้ำหนักแผ่อีก 400 km/m2

แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°46′51″N 100°30′11″E / 13.780892°N 100.502951°E / 13.780892; 100.502951

ดูเพิ่ม

สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน
เหนือน้ำ
สะพานพระราม 6
สะพานกรุงธน
ท้ายน้ำ
สะพานพระราม 8