ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศาสนา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 195: บรรทัด 195:


}
}

== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{สถานีย่อย2}}

[[หมวดหมู่:ศาสนา| ]]
{{Link FA|ca}}
{{Link FA|nah}}
{{Link FA|sco}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:06, 2 ธันวาคม 2557

สัญลักษณ์ของศาสนาต่าง ๆ

ศาสนา (อังกฤษ: religion) ลัทธิความเชื่อของมนุษย์ เกี่ยวกับการกำเนิดและสิ้นสุดของโลก หลักศีลธรรม ตลอดจนลัทธิพิธีที่กระทำตามความเชื่อนั้น ๆ[1] หลายศาสนามีการบรรยาย สัญลักษณ์และประวัติศาสตร์ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเจตนาอธิบายความหมายของชีวิต และ/หรืออธิบายกำเนิดชีวิตหรือเอกภพ จากความเชื่อของศาสนาเกี่ยวกับจักรวาลและธรรมชาติมนุษย์ คนได้รับศีลธรรม จริยศาสตร์ กฎหมายศาสนาหรือวิถีชีวิตลำดับก่อน บางการประมาณว่า มีศาสนาราว 4,200 ศาสนาในโลก[2]

นอกจากการนับถือศาสนาแล้ว ยังมีความเชื่อไม่นับถือศาสนาด้วย เรียก "อศาสนา" (อังกฤษ: irreligion) และผู้ไม่นับถือศาสนาเรียก "อศาสนิกชน" (อังกฤษ: irreligious person)

ความหมายเชิงนิรุกติศาสตร์

สำหรับบางภาษา มีการใช้คำว่าศาสนาแตกต่างกันออกไป และบางภาษาไม่มีคำว่าศาสนาโดยสิ้นเชิง เช่นภาษาสันสกฤต คำว่า ธรรมะ (dharma) อาจใช้เทียบเคียงกับศาสนาได้ แต่มีความหมายโดยทั่วไปว่ากฎหมาย

ประวัติ

มีความเชื่อว่าศาสนานั้นเกิดมาจากความต้องการเข้าใจในธรรมชาติของมนุษย์ นับแต่อดีตมนุษย์จะสงสัยว่าสิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ทำไมต้องเกิดขึ้น จะเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ เปลี่ยนแปลงแล้วจะเกิดผลอะไรต่อมาอีก จนนำมาสู่การค้นหาแนวทางต่างๆเพื่อตอบปัญหาเหล่านี้ จนนำมาเป็นความเชื่อและเลื่อมใส ตัวอย่างเช่นศาสนาพุทธ เกิดจากเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นความทุกข์ จึงทรงหาแนวทางให้หลุดพ้นจากความทุกข์ ด้วยวิธีการต่าง ๆ นา ๆ จนทรงค้นพบอริยสัจ 4 ด้วยวิธีที่ เป็นการฝึกจิตด้วยสติจนถึงซึ่งความรู้แจ้ง ในสรรพสิ่ง และความดับความทุกข์ ทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าดับสิ้นซึ่งกิเลส ทรงสอนให้มนุษย์ ให้ทำบุญ รักษาศีล และภาวนา เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการพ้นทุกข์ของมหาชน อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาในปัจจุบัน คำอธิบายของการเกิดขึ้นและพัฒนาการของศาสนา สามารถแบ่งได้เป็นสี่กลุ่ม[ต้องการอ้างอิง]

  • ศาสนาเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากความกลัว ในธรรมชาติที่ตนเองไม่รู้ จนต้องวิงวอนและร้องขอในสิ่งที่อยากได้
  • ศาสนาเกิดจากความไม่รู้สงสัย ในอภิปรัชญาว่าโลกเกิดขึ้นมาได้อย่างไร และจะเป็นเช่นไรต่อไป
  • ศาสนาเกิดจากความต้องการที่จะสร้างความเชื่อขึ้นมา เพื่อช่วยควบคุมความประพฤติของคนในสังคม ให้สังคมสงบสุข
  • ศาสนาเกิดจากความต้องการที่จะพ้นจากความทุกข์ เช่นความอดอยาก โรคระบาด ความแก่ ความตาย การสูญเสีย

องค์ประกอบ

  1. พระเป็นเจ้า (กรณีเป็นเทวนิยม)
  2. ศาสดา
  3. คัมภีร์
  4. นักบวช
  5. ศาสนสถาน
  6. สัญลักษณ์
  7. พิธีกรรม

ประเภท

ศาสนาในโลกถึงแม้จะมีมาก แต่ถ้าจัดเป็นประเภทก็ได้เป็น 2 ประเภท คือ

เทวนิยม

เชื่อว่ามีเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่เหนือกว่าเทพเจ้าทั้งหลาย หรือเรียกกันว่าพระเป็นเจ้า มีเพียงพระองค์เดียว เป็นพระผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งและเชื่อกันว่าพระเจ้าอาจติดต่อมนุษย์โดยผ่านผู้เผยพระวจนะหลายคน เช่น อัลลอฮ์ทรงติดต่อกับนบีมุฮัมหมัด พระยาห์เวห์ทรงติดต่อกับโมเสสและพระเยซู ส่วนบางศาสนาก็นับถือพระเจ้าหรือเทพเจ้าหลายองค์ อย่างศาสนาฮินดู เชื่อว่าพระเจ้าอวตารแยกเป็น 3 องค์เรียกว่าตรีมูรติ เป็นต้น

เอกเทวนิยม

ทวิเทวนิยม

พหุเทวนิยม

อเทวนิยม

ศาสนาประเภทนี้ ไม่เชื่อในการมีอยู่จริงของพระเป็นเจ้า โดยเชื่อว่าโลกและสรรพสิ่งเกิดขึ้นเองตามกฎของธรรมชาติ เชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตของตนเอง ทุกสิ่งเป็นไปตามเหตุปัจจัย ศาสนาประเภทนี้ ได้แก่

กลุ่มของศาสนา

ศาสนาอับราฮัม

เป็นคำที่ใช้เรียกศาสนาสำคัญ 4 ศาสนาที่เป็นลัทธิเทวนิยมที่มึความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียว —ซึ่งทั้งสี่ศาสนานับอับราฮัมเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสนา

ศาสนาแบบอินเดีย

ศาสนาแบบจีน

ศาสนาแบบอิหร่าน

ศาสนาญี่ปุ่น

ปรัชญา

ศาสนาของโลกถ้าแบ่งตามลักษณะปรัชญาที่คล้ายคลึงกัน แบ่งได้ 2 ลักษณะ

ศาสนาที่ยึดถือพระเจ้าเป็นสิ่งสูงสุด

กลุ่นศาสนาที่นิยมเรียกว่า ปรัชญาตะวันตก โดยถือตามอิทธิพลในการรับอารยธรรม ได้แก่ศาสนาโซโรอัสเตอร์ ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาซิกข์ ศาสนาบาไฮ ศาสนาฮินดู

ศาสนากลุ่มนี้มีลักษณะที่คล้ายกันคือ

  • พระเจ้าคือสิ่งที่ทรงปัญญาสูงสุด และมีอำนาจสูงสุด ที่ไม่อาจเข้าถึงได้ ถ้าพระองค์ไม่ประสงค์
  • ศาสนิกต้องแสดงความรักหรือภักดีต่อพระเจ้าด้วยการสรรเสริญ ปฏิบัติตามที่พระองค์ประสงค์ที่ได้ตรัสผ่านศาสนทูตของพระเจ้า
  • อาจขอให้ทรงไถ่บาป อ้อนวอนให้ทรงประทานสิ่งที่ดีแก่ชีวิต
  • เชื่อว่าเป็นพระผู้สร้าง สร้างสรรพสิ่ง กำหนดสภาวการณ์ที่เป็นไปของโลก แต่ทรงปล่อยให้มนุษย์เลือกทางแห่งตนเอง โดยจะทรงช่วยเมื่อมนุษย์ลงมือกระทำ
  • ก่อนที่จะเชื่อให้ไตร่ตรองอย่างรอบคอบ เมื่อเชื่อแล้วอย่าสงสัย เพราะพระเจ้าจะทรงทดสอบจิตใจในศรัทธา
  • เมื่อถึงวันสิ้นโลกพระเจ้าจะทำลายทุกสิ่ง ที่พระองค์สร้างขึ้น และจะชุบชีวิตทุกคนให้ฟื้นคืนชีพมารับฟังคำพิพากษา ผู้เชื่อจะรอด และอยู่กับพระองค์ชั่วนิรันดร์ ผู้ไม่เชื่อ จะถูกลงทัณฑ์ให้ตกนรกชั่วกาล
  • ให้วางใจในพระเจ้า รับพระองค์เข้าไว้ในใจจะพบแต่สันติสุข

ศาสนาที่มุ่งเข้าถึงความจริงสูงสุด

กลุ่มศาสนาที่นิยมเรียกว่าปรัชญาตะวันออก โดยถือตามอิทธิพลในการรับอารยธรรม ได้แก่ศาสนาพุทธทั้งเถรวาทและนิกายเซน ศาสนาเชน ลัทธิเต๋า และลัทธิขงจื๊อ ศาสนากลุ่มนี้มีลักษณะที่คล้ายกันคือ

  • เชื่อว่าโลกนี้เกิดขึ้นเองตามกฎธรรมชาติ สรรพสิ่งแท้จริงเป็นเพียงความว่างเปล่า
  • ความจริงแท้ไม่อาจอธิบายได้ด้วยคำพูด และไม่อาจเข้าถึงได้ด้วยหลักตรรกะและอนุมาน
  • การเข้าถึงความจริงแท้ทำได้ด้วยการบรรลุปัญญาญาณ จากการไม่ติดอยู่ในมายาของตรรกะและอนุมาน
  • เชื่อในการเวียนว่ายตายเกิด เชื่อในกฎแห่งกรรม
  • มีหลักคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม ที่มักน้อยสันโดษพอเพียง ยึดถือหน้าที่ มีวันัยสูงไม่เห็นแก่ตัว แต่ไม่ยึดติดในสิ่งทั้งปวง มุ่งละกิเลส
  • เชื่อในตัวมนุษย์ว่าเข้าถึงความจริงได้ ทุกสิ่งเกิดจากการกระทำของตนเอง เชื่อในศาสตร์ลี้ลับ (เวทมนตร์ โหราศาสตร์ ไสยศาสตร์) ว่ามีจริง
  • เชื่อว่าถ้าจิตวิญญาณเข้าถึงความจริงสูงสุดจะหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด

ทั้งสองกลุ่มมีความเชื่อที่ไม่เหมือนกันคือกลุ่มแรกยอมรับว่าองค์สูงสุดมีอยู่จริง เช่น ศาสนาคริสต์และอิสลามเรียกองค์สูงสุดว่าพระเจ้า ผู้นับถือมีเป้าหมายเพื่อการเข้าไปรวมอยู่ในอาณาจักรของพระเจ้า ส่วนกลุ่มหลังเช่นศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่ไม่ยอมรับการมีอยู่ของพระเจ้าหรือองค์สูงสุด แต่เชื่อในการมีอยู่ของเทพเจ้า (พรหมา) ซึ่งเป็นเทวดาชั้นสูงสุดเรียกว่าพรหม แต่ต่างกันตรงที่ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธไม่มีเป้าหมายเพื่อการไปรวมอยู่กับพรหม แต่สามารถไปเกิดเป็นพรหมได้ เพราะการรวมอยู่หรือไปเกิดเป็นพรหม เมื่อหมดเหตุปัจจัยก็ยังต้องเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ อันมีต่ำสุดคือนรก สูงสุดคือพรหม อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทางที่จะหลุดพ้นจากสังสารวัฏได้จึงมีทางเดียวเท่านั้นคือ นิพพาน

ศาสนาในอดีตและปัจจุบัน

ศาสนาในโลกอาจแบ่งเป็นศาสนาที่ยังมีชีวิตอยู่ ศาสนาที่ตายแล้ว และศาสนาที่สาบสูญ

  1. ศาสนาที่ยังมีชีวิตอยู่ คือศาสนาที่มีความเป็นสถาบันมีองค์กร มีผู้นับถือเป็นจำนวนมากพอประมาณ มีระบบคำสอน ได้แก่ศาสนาในโลกปัจจุบัน
  2. ศาสนาที่ตายแล้ว คือศาสนาที่เคยมีผู้นับถือ แต่ปัจจุบันแทบไม่มีคนนับถืออีกแล้ว แต่ยังมีหลักฐานให้เรารู้ว่าเคยมีศาสนานี้อยู่ในโลกมาก่อน
  3. ศาสนาที่สาบสูญ คือศาสนาที่เราไม่มีข้อมูลให้รู้ว่าเคยมีศาสนานี้อยู่ในโลกมาก่อน

อดีต

ศาสนาที่ตายแล้ว

ปัจจุบัน

ศาสนาที่ยังมีชีวิตอยู่

จำนวนผู้นับถือศาสนา[4]

  1. ศาสนาคริสต์: 2.1 พันล้านคน – 2.2 พันล้านคน
  2. ศาสนาอิสลาม: 1.5 พันล้านคน – 1.6 พันล้านคน [5]
  3. ไม่นับถือศาสนา/เชื่อในวิทยาศาสตร์แบบตายแล้วสูญ/อศาสนา: 1.1 พันล้านคน
  4. ศาสนาฮินดู: 1.0 พันล้านคน – 1.1 พันล้านคน
  5. ศาสนาพุทธ: 376 ล้านคน[4]
  6. ศาสนาซิกข์: 23 ล้านคน
  7. ลัทธิจูเช (นับถือคิมอิลซุง) : 19 ล้านคน
  8. นับถือผี: 15 ล้านคน
  9. ศาสนายูดาห์: 14 ล้านคน
  10. ศาสนาบาไฮ: 7 ล้านคน
  11. ศาสนาโซโรอัสเตอร์: 2.6 ล้านคน
  12. ลัทธิเพแกนใหม่: 1 ล้านคน
  13. ขบวนการราสตาฟาเรียน: 6 แสนคน

}

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 1142
  2. The Everything World's Religions Book: Explore the Beliefs, Traditions and Cultures of Ancient and Modern Religions, page 1 Kenneth Shouler - 2010
  3. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 365
  4. 4.0 4.1 http://www.adherents.com/Religions_By_Adherents.html
  5. http://www.pewforum.org/Mapping-the-Global-Muslim-Population.aspx