ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สปีชีส์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Love Krittaya (คุย | ส่วนร่วม)
Love Krittaya (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 5575545 สร้างโดย 223.204.156.207 (พูดคุย)
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ปรับภาษา}}
บายเช่นนี้มีประโยชน์ แต่นักวิวัฒนาการแยกสิ่งมีชีวิตออกเป็นสปีชีส์ได้ด้วยวิธีที่ง่ายกว่านี้มาก กล่าวคือสิ่งมีชีวิตสปีชีส์เดียวกัน จะต้องผสมพันธุ์กันได้และมีลูกด้วยกันได้ พัฟฟินจะผสมกับพัฟฟินด้วยกันเอง มิใช่กับนกชนิดอื่น เช่น [[เรเซอร์บิลล์]] ([[เรเซอร์บิลล์|razorbill]]) หรือ[[กิลลิมอต]] ([[กิลลิมอต|guillemot]]) ดังนั้นนกเหล่านี้จึงเป็นนกต่างสปีชีส์ไปจากพัฟฟิน
{{การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์}}
'''สปีชีส์''' หรือ '''สปีซีส์''' ({{lang-en|Species}}) หมายถึง กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่เราเห็นว่ามีความคล้ายคลึงกันมาก ดังเช่น สปีชีส์ "[[พัฟฟิน]]" ([[Puffin]]) หมายถึง นกกลุ่มหนึ่งที่พบทั่วไปในแถบแอตแลนติกเหนือ พัฟฟินผสมพันธุ์ในโพรงบนพื้นดิน และมีจะงอยปากหลายสี ตีนสีส้ม และมีท่าเดินน่าขบขัน คำอธิบายเช่นนี้มีประโยชน์ แต่นักวิวัฒนาการแยกสิ่งมีชีวิตออกเป็นสปีชีส์ได้ด้วยวิธีที่ง่ายกว่านี้มาก กล่าวคือสิ่งมีชีวิตสปีชีส์เดียวกัน จะต้องผสมพันธุ์กันได้และมีลูกด้วยกันได้ พัฟฟินจะผสมกับพัฟฟินด้วยกันเอง มิใช่กับนกชนิดอื่น เช่น [[เรเซอร์บิลล์]] ([[เรเซอร์บิลล์|razorbill]]) หรือ[[กิลลิมอต]] ([[กิลลิมอต|guillemot]]) ดังนั้นนกเหล่านี้จึงเป็นนกต่างสปีชีส์ไปจากพัฟฟิน


== มีกี่สปีชีส์ ==
== มีกี่สปีชีส์ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:20, 28 พฤศจิกายน 2557

The various levels of the scientific classification system.สปีชีส์สกุลวงศ์อันดับชั้นไฟลัมส่วนอาณาจักรโดเมนชีวิต
The various levels of the scientific classification system.

แปดลำดับขั้นสำคัญ ๆ ของการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ ในหนึ่งสกุลประกอบด้วยหนึ่งสปีชีส์ขึ้นไป ตามแผนภาพไม่ได้แสดงลำดับขั้นที่อยู่อื่น ๆ ที่อยู่ระหว่างนี้

สปีชีส์ หรือ สปีซีส์ (อังกฤษ: Species) หมายถึง กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่เราเห็นว่ามีความคล้ายคลึงกันมาก ดังเช่น สปีชีส์ "พัฟฟิน" (Puffin) หมายถึง นกกลุ่มหนึ่งที่พบทั่วไปในแถบแอตแลนติกเหนือ พัฟฟินผสมพันธุ์ในโพรงบนพื้นดิน และมีจะงอยปากหลายสี ตีนสีส้ม และมีท่าเดินน่าขบขัน คำอธิบายเช่นนี้มีประโยชน์ แต่นักวิวัฒนาการแยกสิ่งมีชีวิตออกเป็นสปีชีส์ได้ด้วยวิธีที่ง่ายกว่านี้มาก กล่าวคือสิ่งมีชีวิตสปีชีส์เดียวกัน จะต้องผสมพันธุ์กันได้และมีลูกด้วยกันได้ พัฟฟินจะผสมกับพัฟฟินด้วยกันเอง มิใช่กับนกชนิดอื่น เช่น เรเซอร์บิลล์ (razorbill) หรือกิลลิมอต (guillemot) ดังนั้นนกเหล่านี้จึงเป็นนกต่างสปีชีส์ไปจากพัฟฟิน

มีกี่สปีชีส์

ไม่มีใครรู้ว่าโลกเรามีสิ่งมีชีวิตอยู่กี่สปีชีส์ จนถึงขณะนี้มีผู้พบแล้ว 1.4 ล้านสปีชีส์ 750,000 สปีชีส์เป็นแมลง 250,000 เป็นพืชและ 41,000 เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลัง แต่อาจมีมากกว่านี้มาก ซึ่งน่าจะเป็นแมลงที่ซ่อนตัวอยู่ตามป่าชื้น นักชีววิทยาคนหนึ่งพบว่ามีแมลงถึง 3,000 ชนิดบนต้นไม้ในเขตร้อนเพียงต้นเดียว และคำนวณไว้ว่าน่าจะมีแมลงถึง 30 ล้านสปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่เวลาผ่านไปรวดเร็วมาก หลายสปีชีส์สูญพันธุ์ก่อนที่จะได้รับการบันทึกไว้ด้วยซ้ำไป

การเกิดสปีชีส์ใหม่

กว่า 3.5 พันล้านปีของสิ่งมีชีวิตบนโลก มีสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ๆ นับจำนวนไม่ถ้วนที่วิวัฒนาการมาอยู่ได้ระยะเวลาหนึ่งแล้วก็สูญพันธุ์ แม้ว่าหลายสปีชีส์จะมีลักษณะบางอย่างร่วมกัน และหลายสปีชีส์อาจมองดูคล้ายคลึงกัน แต่ละสปีชีส์ก็แตกต่างจากสปีชีส์อื่นๆ ที่เคยมีชีวิตอยู่ ทุกสปีชีส์มีลักษณะเฉพาะตัว นับจากไดโนเสาร์ไทรันโนซอรัส เร็กซ์ (Tyrannosauras rex) จนถึงผึ้ง ลักษณะที่เราเห็นในสปีชีส์กลุ่มใหม่ๆ เป็นผลจากการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตต่อการเปลี่ยนแปลงบางประการที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อม สภาพการณ์ดังกล่าวไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้อีก ดังนั้น เมื่อสปีชีส์ใดสูญพันธุ์หรือปรับตัวเองจนเปลี่ยนเป็นสปีชีส์ใหม่แล้ว จะสูญหายไปจากโลกอย่างสิ้นเชิง ทฤษฎีวิวัฒนาการของชาลส์ ดาร์วิน แสดงให้เห็นว่าสปีชีส์เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างไร และความเข้าใจในวิวัฒนาการอย่างลึกซึ้งของเขาช่วยให้เราเข้าใจว่า ทำไมจึงมีสิ่งมีชีวิตมากมายหลายประเภทในโลก

การทำให้เกิดสปีชีส์ใหม่ด้วยการขัดขวางมิให้เกิดการสืบพันธุ์

การเกิดสปีชีส์ (speciation) เป็นวิธีการสำคัญที่ทำให้เกิดสปีชีส์ใหม่ โดยการแยกกลุ่มเก่าออกจากกัน หมู่เกาะกาลาปากอส มีนกกระจอก (finch) หลายสปีชีส์ นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่าเมื่อ 2-3 ล้านปีที่แล้วมา นกกระจอกกลุ่มหนึ่งจากอเมริกาใต้ถูกลมพัดมาติดที่เกาะหนึ่งและตั้งรกรากอยู่ที่นั่น ต่อมานกเหล่านี้กลุ่มเล็กๆ บินไปอยู่อีกเกาะหนึ่ง ปัจจุบันนกสองกลุ่มนี้แยกกันอยู่คนละเกาะและผสมพันธุ์กันไม่ได้ เนื่องจากแต่ละกลุ่มจะปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมบนเกาะที่อยู่นานเป็นพันปี นกสองกลุ่มนี้จะมีพันธุกรรมแปลกแยกจากกันมากขึ้นทุกปี จนกลายเป็นพันธุกรรมเฉพาะกลุ่มของตน เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นหลายครั้งจนมีนกกระจอกสปีชีส์ใหม่เกิดขึ้นหลายสปีชีส์

วิวัฒนาการแบบปรับตัวเข้าหากัน

สิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ๆ แต่ละสปีชีส์จะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ ผลจากการปรับตัวนี้ทำให้สปีชีส์ที่มิได้เกี่ยวข้องกัน แต่ตกอยู่ในสภาพแวดล้อมเหมือนกันจนปรับตัวไปในทิศทางเดียวกันจนดูคล้ายคลึงกัน เช่น หมาป่าแทสเมเนียที่มองดูเหมือนสุนัข แต่แท้จริงแล้วเป็นพวกมาร์ซูเปียล (marsupial) ที่ดำเนินชีวิตเหมือนสัตว์กินสัตว์ เช่น สุนัขและหมาป่า

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  • Stephen Webster เขียน ,รศ.ดร.อุษณีย์ ยศยิ่งยวด แปล, วิวัฒนาการ, นานมีบุคส์, 2003. ISBN 974-9656-27-X

แหล่งข้อมูลอื่น