ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นิโคลา เทสลา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Song2281 (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มหมวดหมู่การเสียชีวิต / 100 ปีให้หลัง กับศูนย์วิจัย HAARP / วัฒนธรรมสมัยนิยม
บรรทัด 43: บรรทัด 43:
[[Dorothy Skerrit]] เลขาส่วนตัวของเทสลากล่าวว่า "ความมีไมตรีและบุคลิกส่วนตัวที่ดูสูงส่งและสง่าผ่าเผยแสดงถึงความเป็นสุภาพบุรุษที่ฝังลึกอยู่ในจิตวิญญาณของเขา"
[[Dorothy Skerrit]] เลขาส่วนตัวของเทสลากล่าวว่า "ความมีไมตรีและบุคลิกส่วนตัวที่ดูสูงส่งและสง่าผ่าเผยแสดงถึงความเป็นสุภาพบุรุษที่ฝังลึกอยู่ในจิตวิญญาณของเขา"
[[Julian Hawthorne]] เพื่อนของเทสลากล่าวว่า "หายากมากที่คุณจะพบนักวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรที่เป็นทั้งกวี, นักปรัชญา, ผู้ที่ชื่นชอบดนตรีดีๆ, นักภาษาศาสตร์, และผู้ที่เชี่ยวชาญทั้งเรื่องอาหารและเครื่องดื่ม"
[[Julian Hawthorne]] เพื่อนของเทสลากล่าวว่า "หายากมากที่คุณจะพบนักวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรที่เป็นทั้งกวี, นักปรัชญา, ผู้ที่ชื่นชอบดนตรีดีๆ, นักภาษาศาสตร์, และผู้ที่เชี่ยวชาญทั้งเรื่องอาหารและเครื่องดื่ม"

== เสียชีวิต ==

นิโคลา เทศลาเสียชีวิตที่โรงแรมแห่งหนึ่งในเมืองนิวยอร์ค ด้วยอาการ[[หัวใจล้มเหลว]] รวมอายุได้อายุได้ 86 ปี ซึ่งไม่สามารถระบุวันเวลาที่แน่นอนของการเสียชีวิตได้ แต่มีการคาดว่าน่าจะอยู่ระหว่างช่วงบ่ายของวันที่ 5 มกราคม ถึงช่วงเช้าของวันที่ [[7 มกราคม]] [[ค.ศ. 1943]]

หลังจากที่นิโคลาเสียชีวิตลง หลังจากเขาเสียชีวิต ประธานาธิบดี เจ. เอดการ์ ฮูเวอร์ (J. Edgar Hoover) ได้ส่งบันทึกไปยังเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ว่า เรื่องราวทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับ นิโคลา เทสลา ต้องถูกจัดการอย่างลับที่สุด และทุกฝ่ายต้องรักษาความลับของสิ่งประดิษฐ์ของเขาให้เป็นความลับตลอดไป<ref>[http://blog.etcpool.com/articles/environment/dedicated-to-nikola-tesla/ Dedicated to Nikola Tesla : อย่าลืม นิโคล่า เทสล่า]</ref><ref>[http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/25171-037137/ นิโคลา เทสลา อัจฉิรยะสติฟั่นเฟือง]</ref>




== ผลงานเด่น ==
== ผลงานเด่น ==
บรรทัด 61: บรรทัด 69:
ไฟล์:100RSD front.jpg|ธนบัตรเซอร์เบีย ปี 2007
ไฟล์:100RSD front.jpg|ธนบัตรเซอร์เบีย ปี 2007
</gallery>
</gallery>


== 100 ปีให้หลัง กับศูนย์วิจัย HAARP ==
100 ปี ให้หลัง รังสีหายนะของเทสลากลับกลายเป็นเรื่องจริง วงการวิทยาศาสตร์เพิ่งตามเขาทัน ในเรื่อง “รังสีหายนะ” (Death Ray ชื่อที่หนังสือพิมพ์ขนานนามขีปนาวุธ “โทรกำลัง” Teleforce ของเขา)
ในปี ค.ศ. 1993 กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เริ่มก่อสร้างศูนย์วิจัยไอโอโนสเฟียร์ (ionosphere คือชั้นบรรยากาศโลกที่ความสูงตั้งแต่ ๗๐-๕๐๐ กิโลเมตร) ในเมืองกาโคนา มลรัฐอะแลสกา ศูนย์นี้มีชื่อว่า HAARP (High Frequency Active Auroral Research Program) ได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยหลายแห่งในการดำเนินโครงการเพื่อศึกษาคุณสมบัติการสะท้อน (resonant properties) ของโลกและชั้นบรรยากาศโลก โครงการนี้มีความเกี่ยวโยงกับงานของเทสลาอย่างชัดเจน กล่าวคือ HAARP กำลังศึกษาปรากฏการณ์เดียวกันกับที่เทสลาค้นคว้าที่โคโลราโด

== วัฒนธรรมสมัยนิยม ==
ในการ์ตูน[[ซูเปอร์แมน]] (ค.ศ. 1941) ได้พาดพิง นิโคลา เทศลา และสิ่งประดิษฐ์ของเขามาแต่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับนักวิทยาศาสตร์ชื่อ ''เทสลา'' ที่พยายามทำลายล้างโลกด้วยเครื่องยิงลำแสงมหาประลัย หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า Death Ray<ref>[https://archive.org/details/superman_1941 Superman (1941)]</ref>



== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:37, 23 พฤศจิกายน 2557

นิโคลา เทสลา
"ข้าพเจ้าได้จัดการรังสีคอสมิก และนำมาใช้ควบคุมอุปกรณ์ที่เคลื่อนไหว" - นิโคลา เทสลา; บรุกลิน อีเกิล,
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2474
เกิด10 กรกฎาคม พ.ศ. 2399 โครเอเชีย (จักรวรรดิออสเตรีย)
เสียชีวิต7 มกราคม พ.ศ. 2486 (86 ปี) สหรัฐอเมริกา
สัญชาติออสเตรีย-ฮังการี (พ.ศ. 2399-2434; จักรวรรดิออสเตรียเปลี่ยนเป็นจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีในปี พ.ศ. 2410)
อเมริกัน (พ.ศ. 2434-2486)
อาชีพนักวิทยาศาสตร์

นิโคลา เทสลา (เซอร์เบีย: Никола Тесла, Nikola Tesla) เกิดเมื่อ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2399 - ถึงแก่กรรม 7 มกราคม พ.ศ. 2486 (86 ปี) เป็น นักประดิษฐ์, นักฟิสิกส์, วิศวกรเครื่องกล, วิศวกรไฟฟ้า และ นักทำนายอนาคต เขาเกิดที่ Smiljan ในอดีตออสเตรีย - ฮังการี ซึ่งปัจจุบันคือสาธารณรัฐโครเอเชีย ภายหลังเขาได้รับสัญชาติเป็นพลเมืองอเมริกัน

เทสลามีปัญหาทางประสาทในวัยเด็ก ที่เขาต้องทุกข์ทรมาน จาก โรคย้ำคิดย้ำทำ เขาได้งานแรกในบูดาเปสต์โดยทำงานที่บริษัทโทรศัพท์ เทสล่าได้ประดิษฐ์ลำโพงสำหรับโทรศัพท์ระหว่างที่ทำงานอยู่ที่นี่ ก่อนที่จะเดินทางเร่ร่อนไปอเมริกาในปี 2427 เพื่อที่จะไปทำงานกับ โทมัส เอดิสัน แต่ในไม่นาน เขาก็เริ่มก่อตั้ง ห้องปฏิบัติการ/บริษัท พัฒนาอุปกรณ์ไฟฟ้า ของตัวเองโดยมีผู้สนับสนุนด้านการเงินให้ สิทธิบัตรมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับแบบเหนี่ยวนำ และ หม้อแปลงไฟฟ้า ได้รับการจดทะเบียนโดย จอร์จ เวสติงเฮ้าส์ ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างให้เทสลาเป็นที่ปรึกษาและพัฒนาระบบไฟฟ้ากระแสสลับด้วย

ผลงานของเทสลาที่ทำให้เขาเป็นสนใจในสมัยนั้นอาทิเช่น การทดลองเกี่ยวกับ คลื่นความถี่สูงและแรงดันไฟฟ้าแรงสูง ใน นิวยอร์ก และ โคโลราโด สปริงซ์, สิทธิบัตรของอุปกรณ์และทฤษฎีที่ใช้ในการสร้างวิทยุสื่อสาร, การทดลอง X-ray ของเขา, เขายังเป็นผู้คิดค้นตัวกำเนิดสัญญาน (oscillator) หลากหลายรูปแบบอีกด้วย และ โครงการ Wardenclyffe Tower ซึ่งเป็นความพยายามในการส่งสัญญานไร้สายข้ามทวีปแต่โชคร้ายที่โครงการนี้ไม่ประสบความสำเร็จ

แม้เทสลาจะเป็นผู้คิดค้นสัญญานวิทยุ การค้นพบหลักการสนามแม่เหล็กไฟฟ้า แต่ผลงานที่ทำให้เขาเป็นที่รู้จักกันดีคือ การค้นคว้าพัฒนาไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งในขณะนั้นมีการแข่งขันกับไฟฟ้ากระแสตรงที่ถูกพัฒนาขึ้นมา โทมัส เอดิสัน แต่ในที่สุดไฟฟ้ากระแสสลับก็ได้รับความนิยมมากกว่า เพราะเกิดการสูญเสียน้อยกว่าในการส่งกระแสไฟฟ้าในระยะทางไกล

เทสลาประสบความสำเร็จเป็นที่รู้จักและทำให้ผู้คนเห็นถึงความสามารถของจากโชว์สิ่งประดิษฐ์ที่ดูน่าอัศจรรย์ทั้งหลาย ถึงแม้ว่าเขาจะได้เงินจากสิทธิบัตรต่าง ๆ แต่เขาก็ได้ทำการทดลองอย่างมากมายด้วยเช่นกัน ทำให้ในช่วงบั้นปลายชีวิตของเขาต้องเป็นหนี้ และ มีปัญหาด้านการเงิน ต้องอาศัยอยู่อย่างโดษเดี่ยวในห้องพักหมายเลข 3327 ที่โรงแรม New Yorker ด้วยลักษณะและธรรมชาติในการทำงานของเทสลาทำให้เขาถูกขนานนามว่าเป็น "นักวิทยาศาสตร์เพี้ยน"

เทสลาถูกพบว่าเสียชีวิตในห้องพักหมายเลข 3327 ที่โรงแรม New Yorker เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2486

หลังจากการตายของเขางานของเทสล่าก็ได้เงียบหายไป แต่ในปี 2533 เขาก็เริ่มกลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้ง ในปี 2548 เขาถูกเสนอชื่อให้เป็นตัวแทน 1 ใน 100 คนในรายการโทรทัศน์ "The Greatest American" โดยการสำรวจนิยมโดย AOL กับ ช่อง Discovery

การทำงานและสิ่งประดิษฐ์ที่มีชื่อเสียงของเขายังเป็นจุดกำเนิดของทฤษฎีสมคบคิดจำนวนมาก และ ยังได้นำไปใช้สนับสนุน pseudosciences (ระบบสรุปผลโดยปราศจากเหตุผลทางวิทยาศาสตร์หรือความจริง), ทฤษฎียูเอฟโอ และ ไสยศาสตร์ยุคใหม่ อีกด้วย

ในปี 2503 หน่วยสำหรับวัดความ ความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็ก หรือ การเหนี่ยวนำด้วยพลังแม่เหล็ก (ที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็นสนามแม่เหล็ก B \), ถูกตั้งชื่อว่า เทสลา เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา

นอกจากนี้ เทสลายังถือเป็นวิศวกรที่สร้างนวัตกรรมล้ำยุคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สิทธิบัตรของเทสลาและผลงานเชิงทฤษฎีของเขากลายเป็นพื้นฐานของระบบไฟฟ้ากระแสสลับ ได้แก่ ระบบจ่ายกำลังหลายเฟส และมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งเขามีส่วนผลักดันเป็นอย่างมากในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง

ชีวิตส่วนตัว

เทสลาถึงแม้จะเป็นคนที่สุภาพและมีผู้หญิงหลายคนพยายามแข่งขันกันเพื่อเอาชนะใจเขา แต่เทสลากลับไม่เคยแต่งงานหรือพบว่ามีความสัมพันธ์ใดๆ โดยเทสลากล่าวว่าการถือพรหมจรรย์ของเขานั้นช่วยได้มากในเรื่องทางวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม ในช่วงปั้นปลายชีวิตเขากล่าวว่า "บางทีการที่เขาเลือกที่จะไม่แต่งงานอาจเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่เกินไปสำหรับงาน(ทางวิทยาศาสตร์)ของเขา"

เทสล่าค่อนข้างเป็นคนสันโดษและปลีกตัวจากสังคมเพื่องานทางวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม เมื่อต้องเข้าสังคม ผู้คนรอบข้างต่างพูดถึงในเชิงบวกและชมเชยเขา Robert Underwood Johnson บรรยายถึงลักษณะเฉพาะตัวของเทสล่าว่า "เป็นคนอ่อนหวาน, จริงใจ, ถ่อมตัว, เรียบร้อย, มีความกรุณา, และน่าเชื่อถือ" Dorothy Skerrit เลขาส่วนตัวของเทสลากล่าวว่า "ความมีไมตรีและบุคลิกส่วนตัวที่ดูสูงส่งและสง่าผ่าเผยแสดงถึงความเป็นสุภาพบุรุษที่ฝังลึกอยู่ในจิตวิญญาณของเขา" Julian Hawthorne เพื่อนของเทสลากล่าวว่า "หายากมากที่คุณจะพบนักวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรที่เป็นทั้งกวี, นักปรัชญา, ผู้ที่ชื่นชอบดนตรีดีๆ, นักภาษาศาสตร์, และผู้ที่เชี่ยวชาญทั้งเรื่องอาหารและเครื่องดื่ม"

เสียชีวิต

นิโคลา เทศลาเสียชีวิตที่โรงแรมแห่งหนึ่งในเมืองนิวยอร์ค ด้วยอาการหัวใจล้มเหลว รวมอายุได้อายุได้ 86 ปี ซึ่งไม่สามารถระบุวันเวลาที่แน่นอนของการเสียชีวิตได้ แต่มีการคาดว่าน่าจะอยู่ระหว่างช่วงบ่ายของวันที่ 5 มกราคม ถึงช่วงเช้าของวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1943

หลังจากที่นิโคลาเสียชีวิตลง หลังจากเขาเสียชีวิต ประธานาธิบดี เจ. เอดการ์ ฮูเวอร์ (J. Edgar Hoover) ได้ส่งบันทึกไปยังเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ว่า เรื่องราวทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับ นิโคลา เทสลา ต้องถูกจัดการอย่างลับที่สุด และทุกฝ่ายต้องรักษาความลับของสิ่งประดิษฐ์ของเขาให้เป็นความลับตลอดไป[1][2]


ผลงานเด่น

  1. ผู้ประดิษฐ์ขดลวดเทสลา (Tesla coil) และค้นพบวิธีการเปลี่ยนสนามแม่เหล็กเป็นสนามไฟฟ้า จึงเป็นที่มาของหน่วยวัดสนามแม่เหล็กเทสลา
  2. ผู้ค้นพบวิธีการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless communication)
  3. ผู้ประดิษฐ์หลอดไฟแบบใช้ก๊าซให้แสงสว่าง หรือ หลอดฟลูออเรสเซนต์
  4. ผู้คิดทฤษฎีของเครื่อง [[เรดาร์]
  5. ผู้คิดรีโมตคอนโทรล

เกียรติคุณและอนุสรณ์


100 ปีให้หลัง กับศูนย์วิจัย HAARP

100 ปี ให้หลัง รังสีหายนะของเทสลากลับกลายเป็นเรื่องจริง วงการวิทยาศาสตร์เพิ่งตามเขาทัน ในเรื่อง “รังสีหายนะ” (Death Ray ชื่อที่หนังสือพิมพ์ขนานนามขีปนาวุธ “โทรกำลัง” Teleforce ของเขา) ในปี ค.ศ. 1993 กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เริ่มก่อสร้างศูนย์วิจัยไอโอโนสเฟียร์ (ionosphere คือชั้นบรรยากาศโลกที่ความสูงตั้งแต่ ๗๐-๕๐๐ กิโลเมตร) ในเมืองกาโคนา มลรัฐอะแลสกา ศูนย์นี้มีชื่อว่า HAARP (High Frequency Active Auroral Research Program) ได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยหลายแห่งในการดำเนินโครงการเพื่อศึกษาคุณสมบัติการสะท้อน (resonant properties) ของโลกและชั้นบรรยากาศโลก โครงการนี้มีความเกี่ยวโยงกับงานของเทสลาอย่างชัดเจน กล่าวคือ HAARP กำลังศึกษาปรากฏการณ์เดียวกันกับที่เทสลาค้นคว้าที่โคโลราโด

วัฒนธรรมสมัยนิยม

ในการ์ตูนซูเปอร์แมน (ค.ศ. 1941) ได้พาดพิง นิโคลา เทศลา และสิ่งประดิษฐ์ของเขามาแต่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับนักวิทยาศาสตร์ชื่อ เทสลา ที่พยายามทำลายล้างโลกด้วยเครื่องยิงลำแสงมหาประลัย หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า Death Ray[3]


อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA

แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link GA