ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Wonton2ton (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 176: บรรทัด 176:
| ''[[สถานีประดิษฐ์มนูธรรม|ประดิษฐ์มนูธรรม]]'' (Pradit Manutham)
| ''[[สถานีประดิษฐ์มนูธรรม|ประดิษฐ์มนูธรรม]]'' (Pradit Manutham)
| align="center"|2
| align="center"|2
| [[ไฟล์:Bangkok MRT Grey line unofficial logo.png|18px|18px]] [[รถไฟฟ้าสายสีเทา]] : [[สถานีพระราม 9 (รถไฟฟ้าสายสีเทา)|พระราม 9]]
|
|-
|-
| align="center"|OR16
| align="center"|OR16

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:30, 22 พฤศจิกายน 2557

รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม
ไฟล์:Bangkok MRT Orange line unofficial logo.png
ไฟล์:Capture-20130508-111808.jpg
รูปแบบรถไฟฟ้า (เมื่อ พ.ศ. 2556)
ข้อมูลทั่วไป
สถานะโครงการ
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ที่ตั้งกรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
ปลายทาง
จำนวนสถานี29 (โครงการ)
การดำเนินงาน
รูปแบบรถไฟฟ้ายกระดับ และ รถไฟฟ้าใต้ดิน
ระบบรถไฟฟ้ามหานคร
ผู้ดำเนินงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ประวัติ
เปิดเมื่อพ.ศ. 2562
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง35.4 กิโลเมตร (22.0 ไมล์)*
รางกว้าง1435
ระบบจ่ายไฟรางที่สาม
ความเร็ว80 km/h (50 mph)
แผนที่เส้นทาง

ตลาดน้ำตลิ่งชัน
ไฟฉาย – บางยี่ขัน
บางขุนนนท์
ศิริราช
แม่น้ำเจ้าพระยา
สนามหลวง
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
บางขุนพรหม – สามยอด
หลานหลวง
สายธานีรัถยา ยศเส – ราชวิถี
ยมราช
ราชเทวี พญาไท – สยาม
ราชเทวี
ประตูน้ำ
ราชปรารภ พญาไท – มักกะสัน
ราชปรารภ
ดินแดง
ประชาสงเคราะห์
ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
ห้วยขวาง – พระราม 9
ศูนย์ซ่อมบำรุง
รฟม.
นวศรี – ศูนย์วิจัย
วัดพระราม 9
รามคำแหง 12
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
กกท.
รามคำแหง 40
สนามกีฬาคลองจั่น
บางกะปิ – ศรีกรีฑา
แยกลำสาลี
ศรีบูรพา
คลองบ้านม้า
สัมมากร
น้อมเกล้า
ราษฎร์พัฒนา
มีนพัฒนา
เคหะรามคำแหง
ตลาดมีนบุรี
มีนบุรี
แยกร่มเกล้า(สุวินทวงศ์)

รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม (อังกฤษ: Metropolitan Rapid Transit Orange Line, MRT Orange Line) เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟฟ้ามหานคร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีทั้งโครงสร้างใต้ดินและยกระดับ มีแนวเส้นทางที่รองรับการเดินทางภายในเขตเมืองตามแนวตะวันออก-ตะวันตก เริ่มต้นจากสถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน ชานเมืองด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรี เข้าสู่ย่านบางกอกน้อย แล้วลอดแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่ย่านเมืองเก่าในเขตพระนคร ป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตดุสิต ผ่านสถานที่สำคัญเช่น สนามหลวง ถนนราชดำเนิน ภูเขาทอง ตลาดมหานาค เข้าสู่ใจกลางเมืองย่านราชเทวี ประตูน้ำ ดินแดง ไปยังศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ออกสู่ถนนรามคำแหง บางกะปิ สะพานสูง มาสิ้นสุดเส้นทางที่เขตมีนบุรี ชานเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเทพฯ รวมระยะทาง 37.5 กิโลเมตร[1]

พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน

ประวัติของโครงการ

เส้นทางรถไฟฟ้าสายนี้เกิดขึ้นจากการปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง พ.ศ. 2538 ที่นำเอาเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มเดิมช่วงสามเสน (หอสมุดแห่งชาติ)-บางกะปิ มาต่อขยายเส้นทางจากสามเสน (ซังฮี้) ไปยังบางบำหรุ กลายเป็นเส้นทางบางบำหรุ-บางกะปิที่กำหนดให้เป็นสายสีส้ม บรรจุในแผนแม่บทฯ ของสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2547 ต่อมาแนวเส้นทางส่วนต่อขยายช่วงบางกะปิ-มีนบุรี ได้แยกออกไปเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลเมื่อปี พ.ศ. 2548 แต่จากการปรับแผนแม่บทฯ เมื่อปี พ.ศ. 2552 จึงได้นำกลับมารวมกันเป็นเส้นทางสายสีส้มช่วงบางบำหรุ-มีนบุรีอีกครั้งหนึ่ง โดยในปี พ.ศ. 2553 ได้แก้ไขแนวเส้นทางบางส่วนโดยสลับกับโครงข่ายในเมืองของรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ทำให้แนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีส้มกลายเป็นตลิ่งชัน-มีนบุรี และในพ.ศ. 2554 ก็ได้มีการแก้ไขแบบแผนอีกครั้ง โดยตัดเส้นทางจากเดิมที่จะไปสิ้นสุดที่ตลิ่งชัน ให้มาสุดอยู่แค่แยกจรัญสนิทวงศ์เนื่องจากเส้นทางทับซ้อนกับสายสีแดงอ่อนช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน-ศาลายา ทำให้แนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีส้มเหลือเพียงแค่ บางขุนนนท์-มีนบุรี ต่อมาในปี พ.ศ. 2556 ได้มีการแก้ไขเส้นทาง ขยายเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มถึงตลิ่งชันอีกครั้ง [2]

ปัจจุบัน โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ได้แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ส่วน คือเส้นทางช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ, ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางกะปิ และช่วงบางกะปิ-มีนบุรี[1] ซึ่งปัจจุบันอยู่ในแผนเร่งรัด 4 ปีของรัฐบาล โดยจะเริ่มก่อสร้างเส้นทาง มีนบุรี-บางกะปิ-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ก่อนเป็นอันดับแรก เพราะเนื่องจากส่วนที่เหลือเป็นโครงการใต้ดินทั้งหมด ซึ่งจะทำให้ค่าใช้จ่ายทั้งโครงการสูงขึ้น แต่ก็มีความพร้อมในการก่อสร้างโครงการหลังจากปี พ.ศ. 2558 ไปแล้ว ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างการออกแบบรายละเอียด และเตรียมประมูลงานก่อสร้างในช่วงแรก

รูปแบบของโครงการ

  • เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดหนัก (heavy rail transit) [3]
  • ทางวิ่งใต้ดินทั้งหมดเป็นอุโมงค์คู่ ยกเว้นช่วงที่มีเนื้อที่จำกัดและมีประชาชนอาศัยหนาแน่นจะเป็นอุโมงค์เดี่ยว[3]
  • ขนาดราง 1.435 เมตร (standard guage) โดยมีรางที่ 3 ขนานไปกับรางวิ่งสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวรถ[3]
  • ตัวรถใช้ระบบเดียวกันกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน เป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 3.2 เมตร ยาว 20-24 เมตร สูงประมาณ 3.7 เมตร ความจุ 320 คนต่อคัน เดินรถ 3-6 คันต่อขบวน ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลท์ ป้อนระบบขับเคลื่อนรถ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง[3]
  • ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถ และใช้ระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติเช่นเดียวกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน[3]

ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ

เส้นทางช่วงบางขุนนนท์-บางกะปิใช้ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถบริเวณถนนเทียมร่วมมิตร (ที่ทำการบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน) ร่วมกับรถไฟฟ้าสายมหานคร สายสีน้ำเงิน[3] ส่วนเส้นทางช่วงบางกะปิ-มีนบุรีใช้ศูนย์ซ่อมบำรุงร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีจุดจอดแล้วจร (park and ride) ที่สถานีต้นทาง (บางกะปิ) และสถานีปลายทาง (บางขุนนนท์) [3]

สถานี

มี 28 สถานี (ไม่รวมสถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ) เป็นสถานีใต้ดิน 20 สถานี และสถานียกระดับ 8 สถานี

รูปแบบสถานี

สถานีใต้ดินยาวประมาณ 250 เมตร กว้าง 20 เมตร มีประตูชานชาลา (platform screen door) ส่วนสถานียกระดับยาวประมาณ 250 เมตร กว้าง 18 เมตร มีประตูชานชาลาความสูงแบบ Half-Height มีทั้งรูปแบบชานชาลากลางและชานชาลาด้านข้าง[3]

เส้นทาง

โครงการช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

เป็นเส้นทางที่เกิดขึ้นจากการปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง พ.ศ. 2538 มาสู่แผนแม่บทฯ พ.ศ. 2547 โดยต่อขยายแนวเส้นทางช่วงสามเสน (ซังฮี้) -ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางกะปิ ของเส้นทางสายสีส้มเดิมมาเป็นบางบำหรุ-ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางกะปิ และในแผนแม่บท พ.ศ. 2553 ได้มีการแก้ไขเส้นทางโดยสลับกับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน โครงข่ายในเมือง ที่ได้เปลี่ยนจากช่วงตลิ่งชัน-มักกะสัน มาเป็นบางบำหรุ-มักกะสัน และเปลี่ยนแปลงเส้นทางสายสีส้มส่วนนี้จากบางบำหรุ-ศูนย์วัฒนธรรมฯ มาเป็นตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมฯ และต่อมาในพ.ศ. 2554 ก็ได้มีการแก้ไขแบบแผนอีกครั้ง โดยตัดเส้นทางจากเดิมที่จะไปสิ้นสุดที่ตลิ่งชัน ให้มาสุดอยู่แค่แยกจรัญสนิทวงศ์เนื่องจากเส้นทางทับซ้อนกับสายสีแดงอ่อนช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน-ศาลายา ทำให้แนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีส้มเหลือเพียงแค่ บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ในที่สุด

เนื่องจากเส้นทางเดิมช่วงสามเสน-บางกะปิ ได้ผ่านการพิจารณาเห็นชอบการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) แล้ว การสลับแนวสายทางครั้งนี้ทำให้ต้องมีการเสนอเพื่อขอเปลี่ยนแปลงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมดังกล่าวใหม่อีกครั้งหนึ่ง[1]

เป็นเส้นทางใต้ดินทั้งหมด เริ่มต้นจากที่สถานีบางขุนนนท์ ของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน จากนั้นวิ่งผ่านสถานีรถไฟธนบุรี โรงพยาบาลศิริราช ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่แนวถนนราชดำเนินกลาง ผ่านสนามหลวง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วงที่สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ผ่านสะพานผ่านฟ้าลีลาศเข้าสู่แนวถนนหลานหลวง ผ่านตลาดมหานาค เข้าสู่แนวถนนเพชรบุรีที่แยกยมราช ผ่านแยกอุรุพงษ์ แยกเพชรพระราม มาเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีราชเทวี เลี้ยวซ้ายที่แยกประตูน้ำมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือตามแนวถนนราชปรารภ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่สถานีราชปรารภ เบี่ยงขวาที่แยกสามเหลี่ยมดินแดงเข้าสู่ถนนดินแดงแล้วเบี่ยงซ้ายที่แยกใต้ทางด่วนดินแดง มุ่งหน้าไปทางทิศเหนือตามแนวถนนวิภาวดีรังสิต ผ่านศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง แล้วเลี้ยวขวาบริเวณถนนมิตรไมตรีตรงข้ามโรงพยาบาลทหารผ่านศึกไปทางทิศตะวันออก ผ่านศาลาว่าการ กทม. 2 ไปที่สถานีประชาสงเคราะห์ ใจกลางย่านเคหะชุมชนดินแดงบริเวณถนนประชาสงเคราะห์ จากนั้นมุ่งหน้าสู่ถนนรัชดาภิเษกไปสิ้นสุดเส้นทางที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นสถานีร่วมกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) รวมระยะทางทั้งสิ้น 17.5 กิโลเมตร[1]

โครงการช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-บางกะปิ

เป็นเส้นทางที่เกิดขึ้นครั้งแรกในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง พ.ศ. 2538 โดยเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางบางกะปิ-ราษฎร์บูรณะของสายสีส้มเดิม ซึ่งเส้นทางส่วนนี้ยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาจนถึงปัจจุบัน เป็นเส้นทางที่มีความสำคัญเพราะเป็นเส้นทางเข้าสู่พื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยที่ใช้ร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และยังเป็นเส้นทางหลักที่เชื่อมต่อการคมนาคมจากแหล่งที่พักอาศัยขนาดใหญ่ย่านบางกะปิเข้ากับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ที่กำหนดให้เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าวงแหวนรอบกรุงเทพฯ

เป็นเส้นทางใต้ดินทั้งหมด เริ่มต้นจากจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เข้าสู่พื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ แล้วเข้าสู่แนวถนนพระราม 9 บริเวณหน้าที่ทำการของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออก ผ่านแยกพระราม 9 - ประดิษฐ์มนูธรรม แล้วเข้าสู่ถนนรามคำแหง บริเวณแยกรามคำแหง ผ่านมหาวิทยาลัยรามคำแหง ราชมังคลากีฬาสถาน ไปสิ้นสุดเส้นทางที่แยกลำสาลีในย่านบางกะปิ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) รวมระยะทางทั้งสิ้น 9 กิโลเมตร[1] [4] [5]

โครงการช่วงบางกะปิ-มีนบุรี

เป็นเส้นทางที่เกิดขึ้นครั้งแรกในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง พ.ศ. 2538 โดยเป็นส่วนต่อขยายของเส้นทางบางกะปิ-ราษฎร์บูรณะของสายสีส้มเดิม แต่ได้แยกออกมาเป็นรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล[6] เมื่อปี พ.ศ. 2548 และมีการปรับแผนแม่บทฯ รวมเอาเส้นทางสายสีน้ำตาลกลับเข้ามาเป็นสายสีส้มอีกครั้งในปี พ.ศ. 2552

เป็นเส้นทางยกระดับเกือบทั้งหมดตามแนวถนนรามคำแหง (สุขาภิบาล 3) เริ่มต้นจากโครงสร้างอุโมงค์ใต้ดินที่แยกลำสาลีซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับเส้นทางช่วงก่อนหน้านี้ ผ่านจุดตัดถนนศรีบูรพา จากนั้นจึงเริ่มยกระดับตามแนวเกาะกลางถนนเข้าสู่สถานีบ้านม้า ผ่านหมู่บ้านสัมมากร ยกข้ามทางแยกต่างระดับรามคำแหงจุดตัดถนนกาญจนภิเษก ผ่านแยกลาดบัวขาวจุดตัดถนนมีนพัฒนา ผ่านเคหะรามคำแหง ไปสิ้นสุดเส้นทางที่สถานีมีนบุรี บริเวณก่อนถึงแยกรามคำแหง-ร่มเกล้าซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าโมโนเรล สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และเป็นที่ตั้งของศูนย์ซ่อมบำรุงสำหรับเส้นทางส่วนนี้ร่วมกับสายสีชมพู รวมระยะทางทั้งสิ้น 11 กิโลเมตร[1]

รายชื่อสถานี

รหัส ชื่อสถานี ชานชาลา จุดเปลี่ยนเส้นทาง
OR1 ตลิ่งชัน (Taling Chan) 2 ไฟล์:Bangkok MRT Light Red line unofficial logo.png รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน สถานีตลิ่งชัน (โครงการ)
OR2 บางขุนนนท์ (Bang Khun Non) 2 ไฟล์:Bangkok MRT Blue line unofficial logo.png รถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายบางซื่อ-ท่าพระ : บางขุนนนท์ (โครงการ)
OR3 ศิริราช (Siriraj) 2
OR4 สนามหลวง (Sanam Luang) 2
OR5 อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (Democracy Monument) 4 ไฟล์:Bangkok MRT Purple line unofficial logo.png รถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (โครงการ)
OR6 หลานหลวง (Lan Luang) 2
OR7 ยมราช (Yommarat) 2 ไฟล์:Bangkok MRT Red line unofficial logo.png รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม : สถานียมราช (โครงการ)
OR8 ราชเทวี (Ratchathewi) 2 ไฟล์:Bangkok MRT Light Green line unofficial logo.png รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท : ราชเทวี
OR9 ประตูน้ำ (Pratu Nam) 2
OR10 ราชปรารภ (Ratchaprarop) 2 ไฟล์:Bangkok Airport Link unofficial logo.png รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ : ราชปรารภ
OR11 รางน้ำ (Rang Nam) 2 ไฟล์:Bangkok MRT Light Green line unofficial logo.png รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท : อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
OR12 เคหะดินแดง (Kheha Din Daeng) 2
OR13 พระราม 9 (Phra Ram 9) 4 ไฟล์:Bangkok MRT Blue line unofficial logo.png รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล : พระราม 9
OR14 รฟม. (MRTA) 2
OR15 ประดิษฐ์มนูธรรม (Pradit Manutham) 2 รถไฟฟ้าสายสีเทา : พระราม 9
OR16 รามคำแหง 12 (Ramkhamhaeng 12) 2
OR17 รามคำแหง (Ramkhamhaeng) 2
OR18 ราชมังคลา (Ratcha Mangkhla) 2
OR19 หัวหมาก (Hua Mak) 2
OR20 ลำสาลี (Lam Sali) 2 ไฟล์:Bangkok MRT Yellow line unofficial logo.png รถไฟฟ้าสายสีเหลืองอ่อน : แยกลำสาลี (โครงการ)
OR21 ศรีบูรพา (Si Burapha) 2
OR22 คลองบ้านม้า (Khlong Ban Ma) 2
OR23 สัมมากร (Sammakon) 2 รถไฟฟ้าโมโนเรล สายสีน้ำตาล (โครงการ)
OR24 น้อมเกล้า (Nom Klao) 2
OR25 ราษฎร์พัฒนา (Rat Phatthana) 2
OR26 มีนพัฒนา (Min Phatthana) 2
OR27 เคหะรามคำแหง (Kheha Ramkhamhaeng) 2
OR28 มีนบุรี (Min Buri) 4 ไฟล์:Bangkok MRT Pink line unofficial logo.png รถไฟฟ้าโมโนเรล สายสีชมพู (โครงการ)
OR29 สุวินทวงศ์ (Suwinthawong) 2

งบประมาณ

เส้นทางบางขุนนนท์-มีนบุรี มีมูลค่ารวม 137,750 ล้านบาท แบ่งเป็นรัฐลงทุน 110,380 ล้านบาท และเอกชนลงทุน 27,370 ล้านบาท[1]

การปรับเปลี่ยนเส้นทาง

  • ตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางเดิมเมื่อปี พ.ศ. 2538 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดินสายบางกะปิ-สามเสน-ราษฎร์บูรณะ แต่ในภายหลังได้มีการปรับแผนแม่บทฯ เมื่อปี พ.ศ. 2547 ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทำให้เส้นทางช่วงสามเสน-ราษฎร์บูรณะกลายเป็นเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ-สามเสน-ราษฎร์บูรณะ) ซึ่งเป็นเส้นทางใหม่ที่ปรับปรุงมาจากเส้นทางสายสีส้มเดิมและสีน้ำเงินส่วนต่อขยายเดิม (บางใหญ่-บางซื่อ) จากนั้นได้ต่อขยายเส้นทางสายสีส้มจากสามเสนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางทิศตะวันตก กลายเป็นเส้นทางบางกะปิ-สามเสน-บางบำหรุ ต่อมาเส้นทางส่วนต่อขยายที่ต่อเนื่องมาจากสายสีส้มตามแนวถนนรามคำแหงช่วงบางกะปิ-มีนบุรีได้ถูกแยกออกไปเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล เมื่อปี พ.ศ. 2548
  • ปี พ.ศ. 2548 นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความพยายามปรับแผนแม่บทโดยเสนอแนวทางเลือกโครงการทดแทนรถไฟฟ้าสายสีส้มด้วยระบบบีอาร์ที ในเส้นทางบางกะปิ-รามคำแหง-คลองตัน เพื่อเชื่อมต่อกับสถานีรามคำแหงของเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนแทนการเชื่อมต่อกับสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย นอกจากบีอาร์ทีแล้ว ยังมีข้อเสนอแนะให้ใช้รถไฟฟ้ารางเดี่ยว (monorail) แทนในเส้นทางช่วงนี้เพื่อให้สามารถก่อสร้างเส้นทางในเขตทางของถนนรามคำแหงที่แคบได้ ขณะที่เส้นทางเข้าสู่ใจกลางเมืองมุ่งหน้าบางบำหรุได้มีข้อเสนอแนะให้ทดแทนด้วยเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนช่วงสถานีรถไฟมักกะสัน-ยมราช ต่อเนื่องไปยังระบบรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีแดงที่เพิ่มเติมขึ้นมาใหม่ช่วงยมราช-ถนนพิษณุโลก-สามเสน-ราชวิถี-ซังฮี้-บางบำหรุ เนื่องจากเส้นทางสายสีส้มมีแนวเส้นทางคู่ขนานกับสายสีแดงอ่อนอยู่แล้ว[7] แต่แนวคิดที่จะยกเลิกโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มพร้อมกับสายสีม่วงในครั้งนั้นมีประชนส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วย ต่อมาก็ไม่ปรากฏเส้นทางทดแทนสายสีส้มนี้ในแผนงานอื่นใดอีก
  • ปี พ.ศ. 2551 นายกรัฐมนตรีนายสมัคร สุนทรเวช พยายามปรับแผนแม่บท โดยต่อขยายเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มจากบางกะปิไปถึงมีนบุรี และจากบางบำหรุผ่านสถานีตลิ่งชัน ไปสิ้นสุดที่สถานีศาลายา ซึ่งเส้นทางช่วงบางกะปิ-มีนบุรีทับซ้อนกับเส้นทางสายสีน้ำตาล และช่วงบางบำหรุ-ศาลายาทับซ้อนกับโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และส่วนต่อขยายที่มีอยู่ในแผนแม่บทก่อนหน้านั้น แต่ในเวลาต่อมาทาง สนข. ไม่ได้นำเอาเส้นทางดังกล่าวไปบรรจุในแผนแม่บท เนื่องจากไม่เคยมีการศึกษาความเหมาะสมมาก่อน[8]
  • ปี พ.ศ. 2552 การปรับแผนแม่บทฯ ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทำให้เส้นทางสายสีน้ำตาลกลับมารวมกันกับเส้นทางสายสีส้มอีกครั้งหนึ่ง และต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงเส้นทางสายสีส้มช่วงบางบำหรุ-ศูนย์วัฒนธรรมฯ มาเป็นตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม โดยสลับกับเส้นทางสายสีแดงอ่อน โครงข่ายในเมือง จากช่วงตลิ่งชัน-มักกะสัน มาเป็นบางบำหรุ-มักกะสัน ส่งผลให้ต้องมีการเสนอการเปลี่ยนแปลงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมใหม่ การปรับปรุงโครงข่ายเส้นทางครั้งมีส่งผลดี คือเพิ่มความสามารถในการให้บริการประชาชน เนื่องจากสายสีส้มมีลักษณะเป็นระบบขนส่งมวลชนขนาดหนัก มีความถี่ของการเดินรถและสถานีมากกว่ารูปแบบรถไฟชานเมืองของสายสีแดงอ่อน จึงสอดคล้องกับลักษณะพื้นที่ดังกล่าวที่มีการเดินทางสูง (ต่างจากลักษณะการเดินทางตามแนวถนนราชวิถี-สิรินธรที่ได้มีการเปลี่ยนรูปแบบไปเป็นรถไฟชานเมือง) สายสีส้มจะมีแนวเส้นทางที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายอื่นได้มากขึ้น ทำให้เดินทางสะดวก มีการเปลี่ยนต่อรถไฟฟ้าน้อยลง และเพิ่มพื้นที่การให้บริการตามแนวถนนเพชรบุรีและราชปรารภ ทั้งยังเป็นการทดแทนโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียวอ่อน ช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-พรานนกในอดีตที่มีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ก่อสร้าง[1]
  • ปี พ.ศ. 2554 สนข. มีการลดระยะทางเปลี่ยนสถานีปลายทางจากสถานีตลิ่งชัน เป็นสถานีบางขุนนนท์ เนื่องจากทับซ้อนกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน-ศาลายา
  • ปี พ.ศ. 2555 มีการปรับเปลี่ยนเส้นทางในช่วง ศูนย์วัฒนธรรมฯ - บางกะปิ จากเดิมที่เมื่อออกจากสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยแล้ว จะเข้าสู่ถนนเทียมร่วมมิตร แล้วตัดข้ามถนนประดิษฐ์มนูธรรม เข้าสู่ซอยนวศรี (รามคำแหง 21) เป็นเมื่อออกจากศูนย์ซ่อมบำรุง รฟม. แล้ว จะเข้าสู่ถนนพระราม 9 บริเวณหน้าที่ทำการ รฟม. มุ่งหน้าแยกพระราม 9 - ประดิษฐ์มนูธรรม แทน เนื่องจากถนนเทียมร่วมมิตร มีพื้นที่จำกัด อาจเกิดปัญหาตามมาในอนาคต อีกทั้งถนนพระราม 9 ยังสามารถรองรับผู้โดยสารได้มากขึ้น [9]

ความคืบหน้า

  • พ.ศ. 2547 รถไฟฟ้าสายสีส้ม บางกะปิ-บางบำหรุ ปรากฏในแผนแม่บทพัฒนารถไฟฟ้า 7 สาย สมัยนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  • พ.ศ. 2548 สมัยนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มีการเพิ่มเติมเส้นทางรถไฟฟ้าอีก 3 เส้นทางในแผนแม่บทฯ รวมเป็น 10 เส้นทาง รวมถึงสายสีน้ำตาล ช่วงบางกะปิ-มีนบุรี ที่เคยเป็นส่วนต่อขยายของสายสีส้ม
  • วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ที่ประชุมคณะกรรมการ รฟม. ได้พิจารณาวงเงินจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อออกแบบโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางกะปิ-บางบำหรุ[10]
  • แผนแม่บทโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปี พ.ศ. 2549-2555 ตามมติ ครม. วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ในรัฐบาล พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ มีโครงการรถไฟฟ้า 5 สาย แต่ไม่ปรากฏเส้นทางสายสีส้ม ช่วงบางกะปิ-บางบำหรุ
  • ช่วงปี พ.ศ. 2551 ในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช รฟม. ได้เสนอเส้นทางช่วงบางกะปิ-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ระยะทาง 12 กิโลเมตร ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาก่อสร้างเป็นช่วงแรก เพื่อขยายโครงข่ายรถไฟฟ้ามหานครที่เปิดให้บริการแล้วออกสู่ย่านบางกะปิ[11] โดยชั้นชานชาลาของสถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ ซึ่งเป็นสถานีเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล ได้ออกแบบให้มีพื้นที่เตรียมไว้สำหรับการก่อสร้างอุโมงค์เพิ่มเติมแล้ว คาดว่าจะช่วยรองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นได้ถึง 5 แสนเที่ยวคนต่อวัน จากที่ปัจจุบันมีผู้โดยสารมาใช้บริการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลเฉลี่ย 2 แสนเที่ยวคนต่อวัน[8]
  • การประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการขนส่งทางรางและขนส่งมวลชน เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2551 ที่มีนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้มีการจัดทำแผนแม่บทโครงการรถไฟฟ้า 9 สายขึ้น โดยกำหนดให้เส้นทางรถไฟฟ้าศาลายา-มีนบุรี ระยะทาง 51 กิโลเมตร ที่เกิดจากการรวมเส้นทางสายสีน้ำตาลช่วงบางกะปิ-มีนบุรี, สายสีส้มช่วงบางกะปิ-บางบำหรุ และสายสีแดงอ่อนช่วงบางบำหรุ-ศาลายาเข้าด้วยกัน เป็นเส้นทางหนึ่งในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าระยะที่ 2 ที่จะเริ่มประกวดราคาในปี พ.ศ. 2552[12] แต่ไม่มีความคืบหน้าใดๆ เกิดขึ้นในเวลาดังกล่าว ขณะที่เส้นทางรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนช่วงตลิ่งชัน-บางซื่อ ของ รฟท. ที่ทับซ้อนกับเส้นทางช่วงบางบำหรุ-ศาลายาได้เริ่มการประกวดราคาไปก่อนหน้านั้นแล้ว
  • วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ครั้งที่ 1/2553 ได้เห็นชอบแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตามที่ สนข. เสนอ โดยให้เส้นทางสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี อยู่ในแผนโครงข่ายเพิ่มเติมระยะ 10 ปี (เปิดให้บริการภายในปี พ.ศ. 2562)
  • วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมติดตามการดำเนินโครงการรถไฟฟ้า ถึงการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงมีนบุรี-บางกะปิ-ศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน อาจจะแบ่งดำเนินการเป็น 2 ช่วง เนื่องจากช่วงมีนบุรี-บางกะปิ-ศูนย์วัฒนธรรม ออกแบบเบื้องต้นไว้แล้ว แต่ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน มีการปรับแนวเส้นทางใหม่จึงต้องใช้เวลาออกแบบรายละเอียด และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมอีกประมาณ 1-2 ปี
  • วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553 นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมจะเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนผู้ใช้บริการ นักลงทน และนักวิชาการ ที่มีต่อโครงการรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีชมพู และ สายสีส้ม วงบางกะปิ-บางบำหรุ ว่าทั้ง 2 เส้นทางมีปริมาณการใช้ของประชาชนอย่างไร และมีความจำเป็นเร่งด่วนแค่ไหน เพื่อนำมาประกอบการการพิจารณาและเร่งรัดโครงการ
  • วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคม เตรียมเสนอให้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่พิจารณาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ในเส้นทางตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ-มีนบุรี ให้สามารถดำเนินการได้ในปีพ.ศ. 2555 เนื่องจากมีความพร้อมในการดำเนินการ และได้ผ่านการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้ว[13]
  • วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554 พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า รัฐบาลชุดนี้จะสร้างรถไฟฟ้า 10 สายให้เสร็จภายใน 7-8 ปี ทุกสายทางจะเริ่มต้นก่อสร้างและประมูลภายใน 4 ปีนี้ โดยสำหรับสายสีส้มจะสร้างช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางกะปิ-มีนบุรี ก่อนเพราะเนื่องจากส่วนที่เหลือเป็นโครงการใต้ดิน ซึ่งจะใช้เงินลงทุนสูง ดังนั้นจึงน่าจะเริ่มต้นดำเนินการไปได้หลังจากปีพ.ศ. 2558 ไปแล้ว[14]
  • วันที่ 15 มีนาคม 2555 ได้มีการลงนามสัญญาจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด เพื่อศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ จัดเตรียมเอกสารประกวดราคา และดำเนินงานตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ พ.ศ. 2535[15]
  • ล่าสุด ตุลาคม 2557 โครงการนี้เป็น1ในโครงการที่ทางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เตรียมจะเสนอโครงการนี้ให้ทางคณะรัฐมนตรีพิจจารณาภายในสิ้นปีพ.ศ. 2557และเปิดประมูลช่วงต้นปีพ.ศ. 2558

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 เอกสารโครงการศึกษาปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล : การสัมมนารับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 3 วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 จัดโดย สนข.
  2. http://www.thairath.co.th/content/region/340161
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางกะปิ-บางบำหรุ โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
  4. ทำรถไฟฟ้าบางขุนนนท์-มีนบุรี เวนคืนอื้องบพุ่ง ถึง1.78แสนล้าน
  5. แผนที่เส้นทาง โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ฉบับใหม่)
  6. โครงการระบบขนส่งมวลชนสายสีน้ำตาล โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)
  7. ปรับรายวันรถไฟฟ้าสีม่วง ยึดแนวเดิมเข้าบางซื่อ ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2548
  8. 8.0 8.1 หั่นเส้นทางรถไฟฟ้าใยแมงมุม ที่ปรึกษาชี้ไม่มีข้อมูลรองรับ หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 5-7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
  9. รฟม.ทุ่มเพิ่ม 2 พันล้าน ปรับเส้นทางเดินรถไฟสายสีส้ม
  10. รฟม.จ้างเอกชนผุดส่วนต่อ 3 เส้นทาง กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
  11. รฟม. ชงรถไฟฟ้าสีส้ม ช่วงแรก 12 กม.แสน ล. มติชนรายวัน วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2551
  12. วันที่รอคอย รถไฟฟ้า "สมัคร 1" เปิดหวูดเฟสแรก 7 เส้นทาง 3 แสนล้าน ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2551
  13. คมนาคมพร้อมชงครม.ใหม่ เดินหน้ารถไฟฟ้าสารพัดสี ทั้งสีส้ม ชมพู เหลือง
  14. เพื่อไทยรื้อแผนปชป. ตัดทิ้งรถไฟฟ้า2สาย เส้นวัชรพล-พระราม9 และดินแดง-ยศเส สีส้มตัดระยะทางเหลือ 20 ก.ม.
  15. 'จารุพงศ์'ย้ำสร้างมูลค่าเพิ่มแนวรถไฟฟ้า

แหล่งข้อมูลอื่น