ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แท็กซี่"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Jimmy Classic (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Jimmy Classic (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 38: บรรทัด 38:
ในกรณีที่รถจอดหรือเคลื่อนที่ได้ไม่เกิน 6 กิโลเมตร/ชั่วโมง มิเตอร์เวลาจะเดิน อัตราค่าโดยสาร 1.00 บาท/นาที
ในกรณีที่รถจอดหรือเคลื่อนที่ได้ไม่เกิน 6 กิโลเมตร/ชั่วโมง มิเตอร์เวลาจะเดิน อัตราค่าโดยสาร 1.00 บาท/นาที


ต่อมาใน เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ได้มีการอนุมัติปรับค่าโดยสารแท็กซี่ขึ้นครั้งที่ 1 ซึ่งใช้อัตรานี้มาจนถึง พ.ศ. 2551 โดยอัตราค่าโดยสารเป็นดังนี้<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2539/D/095/28.PDF ราชกิจจานุเบกษา:ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารและพื้นที่ที่ต้องใช้มาตรค่าโดยสารสำหรับรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน (TAXI-METER)]</ref>
ต่อมาใน เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ได้มีการอนุมัติปรับค่าโดยสารแท็กซี่ขึ้นครั้งที่ 1 ซึ่งใช้อัตรานี้มาจนถึง พ.ศ. 2551 โดยอัตราค่าโดยสารเป็นดังนี้<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2539/D/095/28.PDF ราชกิจจานุเบกษา:ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารและพื้นที่ที่ต้องใช้มาตรค่าโดยสารสำหรับรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน (TAXI-METER) ที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร]</ref>

{|class=wikitable
{|class=wikitable
| ช่วงกิโลเมตร || ค่าโดยสาร
| ช่วงกิโลเมตร || ค่าโดยสาร
บรรทัด 53: บรรทัด 54:
ในกรณีที่รถจอดหรือเคลื่อนที่ได้ไม่เกิน 6 กิโลเมตร/ชั่วโมง มิเตอร์เวลาจะเดิน อัตราค่าโดยสาร 1.25 บาท/นาที
ในกรณีที่รถจอดหรือเคลื่อนที่ได้ไม่เกิน 6 กิโลเมตร/ชั่วโมง มิเตอร์เวลาจะเดิน อัตราค่าโดยสาร 1.25 บาท/นาที


แต่ต่อมาในช่วงเดือนกรกฎาคม [[พ.ศ. 2551]] ได้มีการปรับอัตราค่าโดยสารแท็กซี่ขึ้นเป็นครั้งที่ 2 โดยอัตราค่าโดยสารใหม่คือ<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/E/110/83.PDF ราชกิจจานุเบกษา:ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กําหนดอัตราคาจ้างบรรทุกคนโดยสารสําหรับรถยนตรับจ้างบรรทุกคนโดยสารไมเกินเจ็ดคน (TAXI-METER) ที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร]
แต่ต่อมาในช่วงเดือนกรกฎาคม [[พ.ศ. 2551]] ได้มีการปรับอัตราค่าโดยสารแท็กซี่ขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งใช้อัตราค่าโดยสารนี้จนถึงปี [[พ.ศ. 2557]] โดยอัตราค่าโดยสารใหม่คือ<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/E/110/83.PDF ราชกิจจานุเบกษา:ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กําหนดอัตราคาจ้างบรรทุกคนโดยสารสําหรับรถยนตรับจ้างบรรทุกคนโดยสารไมเกินเจ็ดคน (TAXI-METER) ที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร]</ref>

{|class=wikitable
{|class=wikitable
| กิโลเมตรที่ || ค่าโดยสาร
| กิโลเมตรที่ || ค่าโดยสาร

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:34, 9 พฤศจิกายน 2557

รถแท็กซี่ในซานฟรานซิสโก

แท็กซี่ เป็นการโดยสารสาธารณะประเภทหนึ่งสำหรับผู้โดยสารคนเดียว หรือกลุ่มเล็ก ๆ รถแท็กซี่เป็นยานพาหนะไว้สำหรับว่าจ้างโดยผู้ขับจะส่งผู้โดยสารระหว่างที่หนึ่งไปยังที่หนึ่งตามที่ผู้โดยสารอยากจะไป

แท็กซี่ เป็นคำย่อมาจาก แท็กซี่ แค็บ (Taxicab) คิดค้นโดยแฮร์รี่ เอ็น อัลเลน นักธุรกิจชาวนิวยอร์กที่นำเข้ารถแท็กซี่มาจากฝรั่งเศส โดยย่อมาจากคำว่า แท็กซี่มิเตอร์ แค็บ (Taximeter cab) อีกที ส่วนคำว่า cab มาจากคำว่า cabriolet คือรถม้าลากจูง และคำว่า taxi เป็นรากศัพท์ภาษาละตินในยุคกลาง ซึ่งมาจาก คำว่า taxa ที่หมายถึง ภาษีหรือการคิดเงิน และคำว่า meter มาจากภาษากรีกคำว่า metron แปลว่า วัดระยะทาง

ประวัติ

บันทึกแรกที่เกี่ยวกับแท็กซี่มิเตอร์ กล่าวถึงแท็กซี่มิเตอร์ว่าเริ่มมีมาตั้งแต่ยุคคริสตกาล เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนในอาณาจักรโรมัน เป็นรถม้า โดยที่ล้อของรถม้าจะต่อกับเฟืองเป็นทอดๆ ไป ทำให้เฟืองทั้งระบบหมุนตามล้อเมื่อรถเคลื่อนที่ และจะทำให้ "เม็ดกลม" ที่คนขับใส่ไว้ในช่องใส่เม็ดกลมถูกปล่อยหล่นลงในถาดท้ายรถหนึ่งเม็ดทุกๆครั้งที่ระยะทางครบรอบที่กำหนด และเมื่อถึงที่หมาย ผู้โดยสารจะจ่ายค่าโดยสารตามจำนวนเม็ดกลมที่หล่นลงมาในถาด หลังจากนั้นคนขับจะเก็บเม็ดกลมกลับเข้าช่องใส่เม็ดกลม รอลูกค้าคนต่อไป

เมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลายลง เทคโนโลยีแท็กซี่ที่ใช้มิเตอร์ก็หายไปจากหน้าประวัติศาสตร์นานกว่าพันปี

จนถึงต้นศตวรรษที่ 17 (ค.ศ. 1601 - 1700) มีการใช้รถม้ารับจ้างในการให้บริการในปารีสและลอนดอน โดยมีการควบคุมระเบียบ คุมจำนวนรถ จนในศตวรรษที่ 19 รถม้าเริ่มขนาดใหญ่ขึ้นและมีความเร็วรวมถึงความปลอดภัยแก่ผู้โดยสารมากขึ้น แต่ยังใช้ม้าลาก ซึ่งเรียกว่า รถแฮนซัม แค็บ (Hansom cabs)

หลังจากนั้นในคริสต์ทศวรรษ 1890 เริ่มมียานพาหนะที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ทั้งใน ปารีส ลอนดอนและนิวยอร์ก ในลอนดอนเรียกรถรับจ้างประเภทนี้ว่า ฮัมมิ่งเบิร์ด (มาจากเสียงของรถ) แต่ผู้ที่ริเริ่มแท็กซี่คือ วิลเฮล์ม บรุห์น (Wilhelm Bruhn) ชาวเยอรมันที่คิดค่าโดยสารแบบแท็กซี่มิเตอร์ ต่อมาในปี 1897 ก็อตไลบ์ เดมเลอร์ ได้ผลิตแท็กซี่มิเตอร์สมัยใหม่ที่เรียกว่า เดมเลอร์ วิกตอเรีย หลังจากนั้นก็เริ่มมีการผลิตแท็กซี่อย่างจริงจังที่เมืองสตุ๊ตการ์ต โดยมีนายฟรีดิช ไกรเนอร์เป็นหัวหลัก ในปี 1899 รถแท็กซี่ในกรุงปารีสได้ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงซึ่ง ต่อมาลอนดอนและนครนิวยอร์กก็เปลี่ยนมาใช้เช่นกัน

ในเมืองนิวยอร์กรถแท็กซี่นำเข้ามาจากฝรั่งเศสโดย แฮร์รี่ เอ็น อัลเลน ผู้ริเริ่มเรียกคำว่า แท็กซี่ เป็นคนแรก และยังพ่นสีรถให้เป็นสีเหลืองเพื่อให้มองเห็นได้ในระยะไกล ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นสีแท็กซี่ที่แพร่หลายในสหรัฐอเมริกา[1]

แท็กซี่ประเทศไทย

ในประเทศไทย เริ่มมีแท็กซี่ให้บริการเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) โดยพระยาเทพหัสดิน ร่วมกับ พระยาพิไชยชาญฤทธิ์ เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท แท็กซี่สยาม ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีรถให้บริการ 14 คัน คิดค่าบริการตามไมล์ ไมล์ละ 0.15 บาท (1 ไมล์ = 1.609344 กิโลเมตร) โดยใช้รถยนต์ยี่ห้อออสติน แต่ประสบปัญหาขาดทุน จึงต้องล้มเลิกกิจการไป จนกระทั่ง พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) เจ้าของธุรกิจเอกชนบางรายได้มีเริ่มการฟื้นฟูกิจการแท็กซี่ในประเทศไทยขึ้นมาใหม่ โดยในช่วงแรกจะนิยมใช้รถยนต์ยี่ห้อเรโนลต์ ยุคต่อมาก็เปลี่ยนกลับมานิยมยี่ห้อออสติน ตามด้วยรถ ดัทสัน บลูเบิร์ด, และโตโยต้าในที่สุด

อย่างไรก็ตาม ในช่วงนั้น ป้ายทะเบียนของรถประเภทแท็กซี่จะมีราคาแพง (หลักแสนบาท) จึงทำให้ผู้ให้บริการใช้รถยนต์แท็กซี่นานหลายสิบปีจนมีสภาพชำรุดทรุดโทรมเพื่อให้คุ้มทุนค่าป้ายทะเบียน อีกทั้งกฎหมายมิได้บังคับให้รถแท็กซี่มีการติดมิเตอร์ การจ่ายค่าโดยสารจึงเป็นไปตามการต่อรองระหว่างผู้โดยสารและผู้ให้บริการ เมื่อยุคสมัยผ่านไป ในช่วงเวลาหนึ่ง แท็กซี่กลายเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาจราจร จากการจอดต่อรองราคาดังกล่าว ดังนั้นใน พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยมีการออกกฎหมายให้รถแท็กซี่ที่จดทะเบียนใหม่ตั้งแต่ พ.ศ. 2535 เป็นต้นไป ต้องติดมิเตอร์ อีกทั้งกรมการขนส่งทางบกยังได้เปลี่ยนระบบป้ายทะเบียนแท็กซี่ ให้จดทะเบียนได้ในราคาถูกลงจากเดิม (หลักพันบาท) แต่จำกัดอายุของรถแท็กซี่ไว้มิให้เกิน 12 ปี หากเกินจากนี้จะต้องปลดประจำการไม่สามารถเป็นรถแท็กซี่ได้อีก และยังได้สั่งให้เปลี่ยนสีรถแท็กซี่บุคคล จากสี "ดำ-เหลือง" ในระบบป้ายแบบเก่า เป็นสี "เขียว-เหลือง" ในระบบป้ายแบบจำกัดอายุ

ค่าโดยสารแท็กซี่มิเตอร์ในเขตกรุงเทพฯ ยุคแรก จะถูกกำหนดโดยประกาศกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2535 ลงนามโดยนายบรรหาร ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร โดยจะเป็นดังนี้ [2]

ช่วงกิโลเมตร ค่าโดยสาร
0-2 35 บาท
2-3 5.00 บาท/กิโลเมตร
3-5 4.50 บาท/กิโลเมตร
5-7 4.00 บาท/กิโลเมตร
7 ขึ้นไป 3.50 บาท/กิโลเมตร

ในกรณีที่รถจอดหรือเคลื่อนที่ได้ไม่เกิน 6 กิโลเมตร/ชั่วโมง มิเตอร์เวลาจะเดิน อัตราค่าโดยสาร 1.00 บาท/นาที

ต่อมาใน เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ได้มีการอนุมัติปรับค่าโดยสารแท็กซี่ขึ้นครั้งที่ 1 ซึ่งใช้อัตรานี้มาจนถึง พ.ศ. 2551 โดยอัตราค่าโดยสารเป็นดังนี้[3]

ช่วงกิโลเมตร ค่าโดยสาร
0-2 35 บาท
2-12 4.50 บาท/กิโลเมตร
12-20 5.00 บาท/กิโลเมตร
20 ขึ้นไป 5.50 บาท/กิโลเมตร

ในกรณีที่รถจอดหรือเคลื่อนที่ได้ไม่เกิน 6 กิโลเมตร/ชั่วโมง มิเตอร์เวลาจะเดิน อัตราค่าโดยสาร 1.25 บาท/นาที

แต่ต่อมาในช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 ได้มีการปรับอัตราค่าโดยสารแท็กซี่ขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งใช้อัตราค่าโดยสารนี้จนถึงปี พ.ศ. 2557 โดยอัตราค่าโดยสารใหม่คือ[4]

กิโลเมตรที่ ค่าโดยสาร
0-1 35 บาท
2-12 5 บาท/กิโลเมตร
12-20 5.50 บาท/กิโลเมตร
20-40 6 บาท/กิโลเมตร
40-60 6.50 บาท/กิโลเมตร
60-80 7.50 บาท/กิโลเมตร
80 ขึ้นไป 8.50 บาท/กิโลเมตร

ในกรณีที่รถจอดหรือเคลื่อนที่ได้ไม่เกิน 6 กิโลเมตร/ชั่วโมง มิเตอร์เวลาจะเดิน อัตราค่าโดยสาร 1.50 บาท/นาที มิเตอร์จะขยับทีละ 2 บาท

ปัจจุบัน พลอากาศเอก ดร. ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา กำลังอยู่ในกระบวนการปรับขึ้นค่าโดยสารแท็กซี่มิเตอร์เป็นครั้งที่ 3 โดยคาดว่าจะออกประกาศกระทรวงคมนาคมและบังคับใช้ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557

โดยการคิดค่าโดยสารนั้น จะคิดแยกเป็นส่วนๆ (ส่วนของระยะทาง และส่วนของเวลา) ส่วนของระยะทาง มิเตอร์คำนวณค่าโดยสารได้เท่าไร จะปัดขึ้นเป็นจำนวนเต็มคี่ที่อยู่ถัดขึ้นไป (เช่น คำนวณได้ 47.75 บาท ก็จะปัดขึ้นเป็น 49 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเต็มคี่ที่อยู่ถัดไป) ส่วนของมิเตอร์เวลา มิเตอร์เวลาคำนวณค่าโดยสารได้เท่าไร จะปัดลงเป็นจำนวนเต็มคู่ที่อยู่ลงมา (เช่น มิเตอร์เวลาเดินไปได้ 3.75 บาท ก็จะปัดทิ้งเป็น 2 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเต็มคู่ที่อยู่ถัดลงมา)

นอกจากนี้ปัจจุบัน ยังได้ลดอายุการวิ่งบนท้องถนน 9 ปี จากรถรุ่นก่อนๆ สามารถวิ่งได้ 12 ปี แต่ยกเว้นแท็กซี่สีเหลือง-ดำ ซึ่งเป็นแท็กซี่รุ่นเก่าประมาณ ซึ่งสามารถวิ่งเป็นแท็กซี่บนท้องถนนได้ต่อไปเรื่อย ๆ เนื่องจากไม่มีการจำกัดอายุการใช้งานเป็นแท็กซี่แต่อย่างใด

แท็กซี่ในประเทศต่างๆ

อ้างอิง

  1. แท็กซี่ (ฝรั่ง)
  2. ราชกิจจานุเบกษา:ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดอัตราค่าโดยสารสำหรับรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน (รถแท็กซี่) โดยมาตรค่าโดยสารในเขตกรุงเทพมหานคร
  3. ราชกิจจานุเบกษา:ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารและพื้นที่ที่ต้องใช้มาตรค่าโดยสารสำหรับรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน (TAXI-METER) ที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร
  4. ราชกิจจานุเบกษา:ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กําหนดอัตราคาจ้างบรรทุกคนโดยสารสําหรับรถยนตรับจ้างบรรทุกคนโดยสารไมเกินเจ็ดคน (TAXI-METER) ที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร

pkstaxi