ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พงษ์สิทธิ์ คำภีร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Stoned76 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Stoned76 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 172: บรรทัด 172:
* MP3- บันทึก 50 เพลงชีวิต
* MP3- บันทึก 50 เพลงชีวิต
* MP3- Kampee Collection
* MP3- Kampee Collection
* MP3- คิดถึงตลอดเวลา ๑


=== อัลบั้มภาคพิเศษ ===
=== อัลบั้มภาคพิเศษ ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:21, 31 ตุลาคม 2557

พงษ์สิทธิ์ คำภีร์
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดพงษ์สิทธิ์ คำภีร์
รู้จักในชื่อตำนานเพลงเพื่อชีวิตรุ่นที่ 3, เจ้าพ่อเพลงรักเพื่อชีวิต
เกิด2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 (56 ปี)
ที่เกิดอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
แนวเพลงเพื่อชีวิต
อาชีพนักร้อง, นักแต่งเพลง
เครื่องดนตรีกีตาร์, เมาท์ออร์แกน
ช่วงปีพ.ศ. 2530 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงบัฟฟาโล่เฮด
รถไฟดนตรี
เอ็มสแควร์
ฅ.เรคคอร์ดส์
กันตนา มิวสิค
แกรมมี่
เสียงคำภีร์
คาราวาน สตูดิโอ
มิเดียส์ มิวสิค
โซนี่ มิวสิค บีอีซีเทโร
วอร์เนอร์ มิวสิค ประเทศไทย
สมาชิกพงษ์สิทธิ์ คำภีร์ ร้องนำ,กีตาร์,ฮาร์โมนิก้า
ศิวะพงษ์ ศรีปรีชาพัฒนะ กีตาร์
ยุทธดนัย มั่งนิมิตร เบส,ประสานเสียง
อุดร ทีนะกุล กลอง
สุวรรณ มโนษร คีย์บอร์ด,ไวโอลิน
อดีตสมาชิกเมธี จันทรา กีตาร์
อุทัยวุฒิ เหมือนทอง คีย์บอร์ด
Jack Barry กีตาร์
เว็บไซต์http://www.facebook.com/pupongsitofficial แฟนเพจอย่างเป็นทางการ

พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ เป็นศิลปินเพลงเพื่อชีวิตชาวไทย ที่ได้รับความนิยมในช่วงทศวรรษ 2530 จากผลงานเพลง ตลอดเวลา

ประวัติ

ชีวิตช่วงต้น

พงษ์สิทธิ์เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 ที่อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย มีชื่อเล่นว่า "ปู" โดยมีพ่อเป็นผู้ช่วยแพทย์ในโรงพยาบาล ที่อยู่ใกล้บ้าน พงษ์สิทธิ์เริ่มสนใจดนตรีและกีฬาฟุตบอลมาตั้งแต่วัยเด็ก และภายหลังจากที่เรียนจบการศึกษาในระดับมัธยมต้นจากโรงเรียน "ปทุมเทพ วิทยาคาร" พงษ์สิทธิ์ก็มุ่งหน้าสู่จังหวัดขอนแก่น เพื่อสอบเรียนต่อที่วิทยาลัยเทคนิคไทย-เยอรมัน (ปัจจุบันเป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น) แต่ก็ต้องผิดหวัง เพราะวันประกาศผลสอบกลับไม่มีชื่อของเขา พงษ์สิทธิ์จึงตัดสินใจสมัครเรียนในโรงเรียนเอกชนชื่อ "โรงเรียนช่างกลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ" (ปัจจุบันเป็น วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอนแก่น) เพื่อไม่ให้เสียเวลาและเป็นการเตรียมพร้อมในการสอบคราวหน้า หลังจากเวลาผ่านไปหนึ่งปี จึงได้เข้าสมัครสอบที่วิทยาลัยเทคนิคไทย-เยอรมันอีกครั้ง และครั้งนี้ พงษ์สิทธิ์ก็ไม่ผิดหวัง ช่วงมาเรียนที่นี้ พงษ์สิทธิ์ได้เข้ามาเป็นนักฟุตบอลของวิทยาลัย รวมทั้งฝึกการเล่นกีตาร์ไปพร้อมกัน ถึงขนาดแต่งเพลงไว้หลายบทเพลงด้วยกัน จนกระทั่งได้มีโอกาสร่วมเล่นดนตรีกับวงดนตรีรุ่นพี่ในวิทยาลัย ชื่อวง "รีไทร์" ในตำแหน่งมือกีตาร์ และนั้นก็เป็นก้าวแรกในการเริ่มต้นของการเป็นนักดนตรีของพงษ์สิทธิ์ (ช่วงนี้ วงรีไทร์ ไดมีโอกาสเล่นเป็นวงเปิดให้กับศิลปินเพื่อชีวิต อย่าง ฅาราวาน และ พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ ทำให้พงษ์สิทธิ์ ได้มีโอกาสทำความรู้จัก และฅาราวานก็เป็นวงแม่แบบให้กับพงษ์สิทธิ์ตลอดมา)

ภายหลังจากจบการศึกษาในระดับปวช. แผนกช่างกลโรงงาน พงษ์สิทธิ์ก็เดินทางเข้าสู่กรุงเทพมหานคร โดยมาพักอยู่กับ ซู (ระพินทร์ พุฒิชาติ) และ (ปราโมทย์ ม่วงไหมทอง) (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ด้วยความตั้งใจที่จะเป็นนักดนตรีอย่างเต็มตัว โดยมีนักดนตรีที่เคารพนับถือและชื่นชอบอยู่ 2 ท่าน คือ หงา ฅาราวาน (สุรชัย จันทิมาธร) และ เล็ก คาราบาว (ปรีชา ชนะภัย) ที่คอยให้คำปรึกษา ให้ความช่วยเหลือ จนในระยะแรกก็ได้มาร่วมงานกับวงฅาราวานโดยเป็นนักดนตรีแบ็คอัพในตำแหน่งมือเบส และมีโอกาสได้ทัวร์ "คอนเสิร์ตสันติภาพในประเทศกัมพูชา" รวมทั้งคอนเสิร์ตที่ประทับใจอีกแห่ง คือ ปูวิชยาคาน "คอนเสิร์ตนครวัด"

จนกระทั่งในที่สุดก็ได้ออกอัลบั้มชุดแรกในปี พ.ศ. 2530 ชื่อชุด "ถึงเพื่อน" กับบริษัทบัฟฟาโล เฮด ที่มีสมาชิกของวงดนตรีคาราบาว เป็นผู้ดูแล และได้ (สุเทพ ปานอำพัน) มาช่วยอีกแรงหนึ่ง ด้วยงานชุดนี้ไม่ถือว่าประสบความสำเร็จเท่าไหร่นัก แต่ก็มีเพลงฮิตอย่าง ถึงเพื่อน,เรียนและงาน ที่ถูกเปิดให้ได้ยินกันบ่อย ๆ ในยุคนั้น

ตำนานเพลงเพื่อชีวิตรุ่นที่ 3

พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ เริ่มเป็นที่รู้จักในปี พ.ศ. 2533 จากเพลง ตลอดเวลา ในอัลบั้ม "เสือตัวที่ 11" ซึ่งออกกับค่าย "รถไฟดนตรี" พร้อมทั้งได้ทำเพลงประกอบละคร "ตะวันชิงพลบ" ซึ่งได้มีโอกาสที่จะนำเพลงดังกล่าวไปบรรจุรวมอยู่ในอัลบั้ม "บันทึกการเดินทาง" ด้วยแต่ติดอยู่ตรงที่ปัญหาทางด้านลิขสิทธิ์เพลง จึงจำเป็นต้องถอดออกภายหลัง แต่พงษ์สิทธิ์ ได้นำเพลง โรงเรียนของหนู มาใส่ไว้แทน และเป็นอัลบั้มที่แฟนเพลงรู้จักมากขึ้นหลังจากออกวางจำหน่าย ไม่ว่าจะเป็น คิดถึง, โรงเรียนของหนู, เธอ...ผู้เสียสละ, ไทรโศก, แม่ เป็นต้น

พงษ์สิทธิ์มีชื่อเล่นว่า "ปู" แต่บางครั้งแฟนเพลงจะนิยมเขาว่า "คำภีร์" ตามชื่อนามสกุลที่เจ้าตัวเรียกตัวเองในแต่ละอัลบั้ม โดยในปี พ.ศ. 2535 พงษ์สิทธิ์ก็ออกอัลบั้มชุด "มาตามสัญญา" มีเพลงที่เป็นที่รู้จักกันคือ สุดใจ, ไถ่เธอคืนมา และ มาตามสัญญา ที่ได้มีโอกาสร่วมร้องกับเล็ก คาราบาว ศิลปินรุ่นพี่ที่ชื่นชอบอีกด้วย โดยช่วงปีนั้น พงษ์สิทธิ์ได้รับความนิยมสูงสุด จนได้รับฉายาว่า "ตำนานเพลงเพื่อชีวิตรุ่นที่ 3" (ต่อจาก ฅาราวาน และ คาราบาว) หรือ "เจ้าพ่อเพลงรักเพื่อชีวิต"

ไฟล์:Lek06.jpg
หน้าปกอัลบั้ม ปลั๊กหลุด อัลบั้มอะคูสสติกที่ออกร่วมกับ เล็ก คาราบาว (พ.ศ. 2536)

พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ เป็นนักร้องที่มีโทนเสียงไพเราะ มีลูกคอก้องกังวาล เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ดังนั้นเพลงที่เป็นที่นิยมและรู้จักของแฟนเพลงมาจนถึงปัจจุบัน มักจะเป็นเพลงช้า เนื้อหาซึ้ง ๆ บรรยายถึงความรักหรือความเหงาเป็นต้น ตามรายชื่อดังที่ได้กล่าวมาในข้างต้น และในส่วนของเพลงเร็ว ที่เป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ หนุ่มน้อย, ยอดชาย, ทองดี ทองเค, นักแสวงหา, ม.ให้อะไร, อีกคนหนึ่ง, บันทึกคนถนน, แรงยังมี เป็นต้น

ปัจจุบัน ด้วยสภาพกระแสดนตรีในประเทศไทยเปลี่ยนไป ชื่อเสียงและผลงานของพงษ์สิทธิ์ คำภีร์ เริ่มสร่างซาความนิยมและกล่าวถึงลง แต่พงษ์สิทธิ์ก็ยังได้ผลิตงานออกมาเป็นระยะ ๆ และผลงานเพลงในสมัยที่ยังโด่งดังสุดขีดก็ยังคงเป็นที่นิยมของกลุ่มแฟนเพลงเพื่อชีวิตอยู่เหมือนเดิม จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2555 พงษ์สิทธิ์ ได้ออกงานอัลบั้มมีชื่อว่า "25 ปี (มีหวัง)" ตามการครบรอบ 25 ปี บนถนนสายดนตรีของ พงษ์สิทธิ์ เอง

คอนเสิร์ต

ภายหลังจากเข้ามาอยู่กับค่าย "รถไฟดนตรี" พงษ์สิทธิ์ก็ได้เปิดการแสดงคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งแรกของตนเองขึ้นในปี พ.ศ. 2536 โดยใช้ชื่อว่า "ปิด-เปิดสัญญา" ณ ดาดฟ้าลานจอดรถ ห้างฟอร์จูน ทาวน์ รัชดา (ซึ่งก่อนหน้า พงษ์สิทธิ์เคยได้มีคอนเสิร์ตร่วมกับ หงา ฅาราวาน กับคอนเสิร์ตที่มีชื่อว่า "อคูสติกคอนเสิร์ตนี้ไม่มีเหงา" ในปี พ.ศ. 2534) ตามด้วยคอนเสิร์ต "อันปลั๊ก" ที่ร่วมกับ เล็ก คาราบาว ในปีเดียวกัน และต่อมาในปี พ.ศ. 2537 พงษ์สิทธิ์ได้มีการย้ายค่ายเพลงมาอยู่กับ "เอ็มสแควร์" และออกอัลบั้ม "เราจะกลับมา" พร้อมมีการจัดคอนเสิร์ตที่มีชื่อว่า "อคูสติกคอนเสิร์ต ดนตรี กลางแจ้ง ผ้าแดง และคำภีร์" โดยมีศิลปินรับเชิญ อย่าง เล็ก คาราบาว และ หงา ฅาราวาน มาสร้างสีสันและควานสนุกให้กับแฟนเพลง

ปี พ.ศ. 2541 ได้มีคอนเสิร์ตใหญ่ที่มีชื่อว่า "คอนเสิร์ต 3 ตำนานเพื่อชีวิต" ที่ร่วมกับ สุรชัย จันทิมาธร และ ยืนยง โอภากุล โดยมีวงออร์เคสตรา BSO (วงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ) เป็นวงแบ็คอัพ โดยคอนเสิร์ตครั้งนี้เป็นการนำศิลปินเพื่อชีวิต ทั้ง 3 ยุค มาเล่นบนเวทีเดียวกันเพื่อบันทึกรอยต่อสำคัญของทั้ง 3 ศิลปินในด้านต่างๆ หรือจะเป็นคอนเสิร์ตการกุศลอย่าง คอนเสิร์ต "หัวใจสีขาว" โดยที่รายได้ส่วนหนึ่งจะมอบให้มูลนิธิ ธรรมรักษ์ วัดพระบาทน้ำพุ จังหวัดลพบุรี จนกระทั่งในช่วงเวลาครบรอบ 15 ปี บนถนนสายดนตรีของพงษ์สิทธิ์ ก็ได้จัดคอนเสิร์ต 15 ปี คำภีร์ เต็มขั้น ขึ้นในปี พ.ศ. 2545 รวมทั้งพงษ์สิทธิ์ ยังได้จัดทำโครงการช่วยเหลือสังคม คือ "โครงการห้องสมุด คำภีร์ เพื่อเด็กในชนบท" อีกด้วย

จนกระทั่งปี พ.ศ. 2549 พงษ์สิทธิ์ได้ย้ายมาอยู่กับค่ายเพลง "วอร์เนอร์ มิวสิค ประเทศไทย" รวมทั้งได้ออกอัลบั้ม "บันทึกคนบนถนน" และมีคอนเสิร์ต "19 เข้า 20 เสือออกลาย" ซึ่งเป็นการแสดงคอนเสิร์ตในโอกาสย่างเข้าสู่ทศวรรษที่สองในการทำงานดนตรีของตัวเอง โดยมี หงา ฅาราวาน, เล็ก คาราบาว, ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี และ ฝน ธนสุนทร เป็นแขกรับเชิญ และวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 พงษ์สิทธิ์ได้เปิดการแสดงคอนเสิร์ตครั้งใหญ่ขึ้นอีกครั้ง โดยใช้ชื่อว่า "ฮักเสี่ยว" ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) โดยมี แอ๊ด คาราบาว, ปาล์มมี่ และ อพาร์ทเม้นท์คุณป้า ร่วมเป็นแขกรับเชิญ [1] และวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2553 ได้แสดงคอนเสิร์ต "อยู่อย่างสิงห์" ณ ธันเดอร์โดม เมืองทองธานี โดยมี ชาตรี คงสุวรรณ มือกีตาร์ระดับเทพ ไพบูลย์เกียรติ เขียวแก้ว, สินเจริญ บราเธอร์ส, ณัฐฐาวีรนุช ทองมี และ ชุมพล เอกสมญา ลูกชายคนโตของ พ.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา ร่วมเป็นแขกรับเชิญพิเศษ[2] ถัดมาในปี พ.ศ. 2554 พงษ์สิทธิ์ ได้กลับมาอีกครั้ง กับคอนเสิร์ตที่มีชื่อว่า "Singha Presents Pongsit Kampee Live by Request @ Saxophone" ซึ่งจัดชึ้นที่ "แซ๊กโซโฟน ผับ" เพราะเป็นสถานที่ๆ มีความผูกพันของพงษ์สิทธิ์เอง และการจัดคอนเสิร์ตครั้งนี้ มีการจำกัดจำนวนแฟนเพลงตัวจริงไว้ที่ 100 ท่านเท่านั้น ไม่มีการจำหน่ายบัตร และก็เพื่อที่จะได้มีการสื่อสารระหว่างพงษ์สิทธิ์กับแฟนเพลงได้อย่างทั่วถึง โดยการแสดงครั้งนี้จัดในรูปแบบอะคูสติค และเล่นด้วยเครื่องดนตรีไฟฟ้า เพื่อสร้างความบันเทิงให้กับแฟนๆ อย่างเต็มที่ รวมไปถึงการพูดคุย ไต่ถาม ความเป็นไป ความรู้สึกต่างๆ กับแฟนเพลงได้อย่างใกล้ชิดและเปิดโอกาสให้แฟนๆ ได้ขอบทเพลงต่างๆ ที่อยากฟังกันอย่างเต็มที่ สมกับเป็น "Live by Request" หรือ "สดตามคำขอ" นอกจากนี้ยังให้แฟนๆ ที่มีความสามารถขึ้นมาร่วมเล่นกีตาร์ร้องเพลงกับพงษ์สิทธิ์อย่างเป็นกันเองอีกด้วย

ในปี พ.ศ. 2555 เป็นการครบรอบ 25 ปี บนถนนสายดนตรี ของ พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ และได้มีการทัวร์คอนเสิร์ตครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตการเป็นศิลปิน กับคอนเสิร์ตที่มีชื่อว่า “หัวใจเพื่อชีวิต 25 ปี พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ รักกัน…ตลอดเวลา” ที่พร้อมมอบความสุขแทนคำขอบคุณให้กับแฟนเพลงใน 7 จังหวัดทั่วประเทศ ในการแสดงคอนเสิร์ตครั้งสุดท้ายของทัวร์คอนเสิร์ต ณ ลานแอกทีฟสแควร์ เมืองทองธานี ในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ได้มีการชุมนุมและทำร้ายร่างกายของกลุ่มผู้มาร่วมคอนเสิร์ตจำนวนหนึ่ง จนทำให้ต้องยุติการแสดงลงกลางคัน[ต้องการอ้างอิง] แต่แล้วการแสดงคอนเสิร์ตใหญ่ที่จะต้องต่อให้จบก็ได้เริ่มขึ้นอีกครั้งในวันที่ 31 มีนาคม 2556 ณ อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก ซึ่งเป็นการปิดท้ายงานครบรอบ 25 ปี พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ ที่เริ่มกันมาตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2555 อย่างสมบูรณ์ อีกทั้งยังมีสองศิลปินระดับตำนาน หงา ฅาราวาน และ เล็ก คาราบาว รวมทั้ง เป้ อารักษ์ ศิลปินรุ่นใหม่ที่ยกให้พงษ์สิทธิ์เป็นศิลปินในดวงใจ ขึ้นมาร่วมแจมกับพงษ์สิทธิ์บนเวทีด้วย และในวันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน 2556 ที่โรงละครอักษรา คิงเพาเวอร์ พงษ์สิทธิ์ ได้ร่วมกับ เล็ก คาราบาว อีกครั้งกับอคูสติก คอนเสิร์ต ปลั๊กหลุด 2 ตอน เสียบปลั๊ก (สดใส... ไม่อึกทึก) ซึ่งเป็นการครบรอบ 20 ปี ของอัลบั้มปลั๊กหลุดอีกด้วย โดยจำกัดผู้ชมเพียง 600 ท่านเท่านั้น เพื่อความใกล้ชิดและเป็นกันเองนั้นเอง

และภายหลังในปี พ.ศ. 2557 ซึ่งตรงกับวันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคม ณ.ไบเทค บางนา ฮอลล์ 105 พงษ์สิทธิ์ก็ได้มีคอนเสิร์ตใหญ่อีกครั้งตามคำเรียกร้องจากแฟนเพลง กับคอนเสิร์ตโรแมนติกครั้งแรกของเจ้าพ่อเพลงรักเพื่อชีวิตที่มีชื่อว่า "คอนเสิร์ตคำภีร์เพลงรัก" ที่รวบรวมบทเพลงรักทุกสถานะมากล่อมใจให้แฟนๆ พร้อมด้วยศิลปินแขกรับเชิญพิเศษที่มามอบความหวานอย่างสมบูรณ์แบบอย่าง ลิเดีย ศรัณย์รัชต์ วิสุทธิธาดา และ แสตมป์ อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข ซึ่งในทุกแง่มุมของบทเพลงรักครั้งนี้ ได้ถูกหยิบมาเล่นร้องบนเวทีคอนเสิร์ตอย่างต่อเนื่องเป็นครั้งแรก เพื่อให้แฟนเพลงได้สัมผัสกับความเป็นเจ้าพ่อเพลงรักเพื่อชีวิตของพงษ์สิทธิ์ได้อย่างเต็มที่และสมบูรณ์แบบที่สุด

ในด้านความเห็นทางการเมือง แม้พงษ์สิทธิ์จะเคยขึ้นเวทีให้กับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในปี พ.ศ. 2551 ก็ตาม แต่หลังจากนั้นเขาก็ไม่ได้ร่วมการชุมนุมของกลุ่มการเมืองใดอีก[3] ในอีกสองปีต่อมาพงษ์สิทธิ์ได้แต่งเพลง "นครลิง" ซึ่งมีเนื้อหาเสียดสีสถานการณ์การเมืองในขณะนั้น เพลงดังกล่าวได้รวมอยู่ในอัลบั้ม "25 ปี (มีหวัง)" ในปี พ.ศ. 2555 ปัจจุบันพงษ์สิทธิ์ไม่ได้สังกัดพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองใดๆ[ต้องการอ้างอิง]

ผลงานเพลง

อัลบั้มภาคปกติ

อัลบั้มแสดงสด

อัลบั้มรวมเพลง

  • ชีวิตกับเวลา 1-2 (เพิ่มเพลงพิเศษ ทุกยาม,วันต่อวัน (เวอร์ชันใหม่),เพื่อนเอย,เหมือนเดิม,ตลอดเวลา (ที่มีการเพิ่มเนื้อร้องเข้าไปใหม่)
  • ชีวิต ความรัก ความฝัน 1-3 (เพิ่มเพลงพิเศษ เพราะว่าฟ้ากว้าง,วันนั้น วันนี้ วันไหน,ขับร้องขับขาน,เพื่อนชีวิต)
  • เคียงข้าง สร้างฝัน 1-3
  • "จาก..คำภีร์" พิเศษ เพิ่ม VCD 4 เพลงในแผ่นเดียวกัน
  • รวมสุดยอดเพลงเพื่อชีวิต ชุดที่ 1 (ปกอัลบั้มขอบปกจะเป็นสีเหลือง)
  • รวมสุดยอดเพลงเพื่อชีวิต
  • บันทึก 15 ปี คัมภีร์เพลงชีวิต 1-2
  • บันทึก...เพลงชีวิต (เป็นการนำเพลงจากอัลบั้ม "บันทึก 15 ปี คัมภีร์เพลงชีวิต" ทั้ง 2 อัลบั้มมารวมกัน โดยคัดมาทั้งหมด 16 เพลง จาก 30 เพลง)
  • กลิ่นดิน กลิ่นหญ้า รวมเพลงลูกทุ่ง (เพิ่มเพลงพิเศษ ฝากเพลงถึงเธอ และ กลับมาที่เก่า)
  • บันทึกคนเดินทาง (เพิ่มเพลงพิเศษ ไม่รู้จักฉัน ไม่รู้จักเธอ,ฉันฝัน,เรา,โลกทั้งผอง พี่น้องกัน,สามเณรหัวใจสิงห์)
  • Box Set รวมฮิตสุด/ชีวิต/รัก/มันส์ (ภายหลังได้มีการเปลี่ยนชื่ออัลบั้มใหม่ว่า THE BEST OF KAMPEE พร้อมแพคเกจใหม่ แต่จำนวนเพลงและรายชื่อยังเหมือนเดิม เพียงแต่วางรายชื่อเพลงสลับกัน พร้อมเพิ่มเพลงพิเศษ สาวส่งออก (เวอร์ชันใหม่),ทองดี ทองเค ที่มีการเพิ่มเนื้อร้องเข้าไปใหม่ และอีกหลายบทเพลงที่บันทึกเสียงใหม่)
  • คำภีร์ ดีที่สุด 1-3 (VCD)
  • รวมฮิต 25 ปี พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ Vol.1 (DVD)
  • รวมฮิต 25 ปี พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ รักกัน...ตลอดเวลา (อัลบั้มคู่ โดย พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ เป็นผู้คัดเลือกเพลงเอง พร้อมเพลงพิเศษ "อย่าให้เป็นเรา")
  • Box Set รวมฮิต 25 ปี พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ รักกัน...ตลอดเวลา (พร้อมเพลง "ตะวันชิงพลบ" เวอร์ชันใหม่)

อัลบั้มรวมเพลงภาคพิเศษ (รวมศิลปิน)

  • เสือพบสิงห์ 1-3 ร่วมกับ พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ
  • มนต์เพลงคาราบาว - เพลง เรฟูจี ร่วมกับ คณาคำ อภิรดี
  • ประวัติศาสตร์ - 12 ขุนพล ฅ. เพื่อชีวิต - เพลง รักแท้
  • ประวัติศาสตร์ 15 ฅน 15 เพลงเพื่อนชีวิต Vol.1-2 - เพลง คิดถึง,ตลอดเวลา
  • ภูผา รำลึก - เพลง นาวา (ภายหลังได้มีการเปลี่ยนปกใหม่ พร้อมชื่อใหม่เป็น "บทเพลงจากภูผา ฝากใจสู่นาคร ดาวแดงแห่งภูพาน)
  • กำไรชีวิต 1 - เพลง ถึงเพื่อน
  • 3 ช่าแดนซ์ - เพลง ทองดี ทองเค
  • 3 ช่า สามัคคี - เพลง ทองดี ทองเค,ยอดชาย,แรงยังมี,นักแสวงหา
  • 12 ชีวิต หัวใจสัมพันธ์ - เพลง ถึงเพื่อน
  • 12 คน 12 แบบ ทั้งแสบทั้งคัน - เพลง สู้
  • 13 ชีวัน มันกว่ากันเยอะ - เพลง ถนน
  • 14 บทเพลงรวมมิตรคาราวาน - เพลง นาวา
  • 18 หัวกะทิเพื่อชีวิต - เพลง ตลอดเวลา
  • รวมฮิตหัวกะทิ - เพลง รักเอย
  • เหมันต์สะออน - เพลง พเนจร
  • เพื่อชีวิตพันล้าน - เพลง ไถ่เธอคืนมา
  • ฅ.ฅนดนตรี 1-2
  • ตนเพลง รวมยอดเพลงเพื่อชีวิต
  • ตำนานเพลงเพื่อชีวิต Songs For Life
  • M-16 NUMBER 1
  • กร้าว เพลงชีวิต Vol.1 - เพลง หนุ่มน้อย,เราจะกลับมา
  • ร้าว เพลงชีวิต Vol.1 - เพลง แค่นั้น,ความเข้มแข็งสุดท้าย
  • คิดถึง...เพื่อชีวิต 1-3
  • แรงใจ 1-2
  • แรงใจเกินร้อย 1-2
  • โรงเรียนเพื่อชีวิต
  • เพื่อชีวิต ใจเกินร้อย 1-2 - เพลง ตลอดเวลา,ถึงเพื่อน
  • รักหวานหยด - เพลง ตลอดเวลา
  • ซูเปอร์บิ๊กฮิต - เพลง ตลอดเวลา
  • เสียงเพรียกแห่งชีวิต 7 - เพลง สัญญาจากใจ
  • เสียงเพรียกแห่งชีวิต 8 - เพลง จดหมายถึงพ่อ,จันทร์เจ้าขา
  • เสียงเพรียกแห่งชีวิต 11 - เพลง ฝากเพลงถึงเธอ,กลับมาที่เก่า
  • รักเธอประเทศไทย - เพลง ดอกไม้ให้คุณ
  • แด่..ผู้บังเกิดเกล้า รักที่ยิ่งใหญ่ - เพลง แม่,จดหมายถึงพ่อ,พ่อเป็นกรรมกร
  • แด่..คุณครูด้วยดวงใจ - เพลง แม่พิมพ์ของชาติ, โรงเรียนของหนู
  • เพื่อชีวิตลูกทุ่ง ลมพัดชายทุ่ง - เพลง น้ำตาฟ้า,ควาย
  • แรงงานสร้างโลก - เพลง พ่อเป็นกรรมกร,จดหมายถึงพ่อ
  • หนึ่งก้าว ๖๐ เพื่อนพ้องร้องเพลงพงษ์เทพ - เพลง ขอบฟ้าขอบใจ
  • ฯลฯ

อัลบั้มรวมเพลงในรูปแบบ MP3

อัลบั้มภาคพิเศษ

  • ปลั๊กหลุด ร่วมกับ ปรีชา ชนะภัย
  • เพลงคาราวาน ตำนานชีวิต
  • ใจเกินร้อย
  • ขอโทษทีรอบนี้ไม่มี 3 ช่า
  • คำภีร์ สามช่า
  • พักกาย พักใจ
  • คำภีร์ลูกทุ่ง 1-2
  • สหาย ร่วมกับ ศุ บุญเลี้ยง และ ฤทธิพร อินสว่าง
  • วันพัก...เพลงชีวิต 1-2 ร่วมกับ พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ และ สุรชัย จันทิมาธร
  • สองหนึ่ง - 2 ชีวิต 1 ศรัทธา ร่วมกับ ปรีชา ชนะภัย
  • คาราวะ ฅาราวาน - (เป็นงานอัลบั้มที่ทำภายใต้ชื่อของ คำภีร์ โดยมีศิลปินรับเชิญอีกหลายๆ ท่านมาร่วมงานด้วยกัน และภายหลังได้มีการเปลี่ยนปกและสลับรายชื่อเพลง)
  • ฯลฯ

อัลบั้มการกุศลและเพลงภาคพิเศษอื่นๆ

  • รักษ์น้ำ รักแม่ ร่วมดูแลพลังงาน - เพลง แม่ (รวมศิลปิน) จัดทำขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 78 พรรษา 12 สิงหาคม 2553
  • ทองผืนเดียวกัน - เพลง เพียงความจริง ร่วมกับ สุรชัย จันทิมาธร และ ตุล ไวฑูรเกียรติ (รวมศิลปิน) จัดทำขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 7 รอบในปี 2554 โดยรายได้ทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศล ตามพระราชอัธยาศัย
  • ร่วมพลิกชะตากรรมชาติ อ่าน คิด ลงประชามติ รธน.2550 - เพลง สวัสดีเจ้า ร่วมกับ ลานนา คัมมินส์ จัดทำขึ้นโดย คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ ในคณะกรรมการอำนวยการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำรัฐธรรมนูญฯ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
  • ตำนานหัวใจสีขาว ชุดที่ 1 - เพลง หัวใจสีขาว,รักษ์มนุษย์,วาดชีวิต,ใต้โคนรุ้ง (รวมศิลปิน) จัดทำขึ้นเพื่อโครงการหัวใจสีขาว (หยุดเอดส์) โดยรายได้ทั้งหมดมอบให้มูลนิธิธรรมรักษ์ บ้านพักผู้ป่วยโรคเอดส์ระยะสุดท้ายในประเทศไทย
  • หลวงตามหาบัว - มหัศจรรย์มหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ - เพลง ต้นใจงาม (รวมศิลปิน)
  • ป่าตะโกน - รักษา ป่าใหญ่ สานใยชีวิต - เพลง อยู่บนดิน (รวมศิลปิน)
  • ผูกพัน - เพลง จันทร์เจ้าขา (รวมศิลปิน) พล.ต.ต.สุรศักดิ์ สุทธารมณ์ ได้จัดทำขึ้นเพื่อช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาส
  • ซับน้ำตาอันดามัน - เพลง สึนามิ (รวมศิลปิน) จัดทำขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติคลื่นยักษ์ สึนามิ 6 จังหวัดภาคใต้
  • ตุลาธาร - เพลง 6 ต.ค. 2519 (รวมศิลปิน) จัดทำขึ้นเพื่อรำลึก 25 ปี 14 ตุลา
  • เสรีภาพ - ชุด ๑ มนต์การเมือง และ ชุด ๔ สะพานสายรุ้ง - เพลง แป๊ะเจี๊ยะ, ชูวิทน์ โอวาทวงษ์ (รวมศิลปิน) จัดทำขึ้นเพื่อสมทบทุนสร้างอนุสรณ์สถาน14 ตุลาคม
  • แสงดาวแห่งศรัทธา - เพลง จิตอาสา,ฝ่าฝัน,แสงดาวแห่งศรัทธา (รวมศิลปิน) จัดทำขึ้นเพื่อมูลนิธิ มิตรภาพบำบัด เป็นมูลนิธิที่ทำหน้าที่สืบสานเจตนารมณ์ในการสร้างเครือข่ายจิตอาสา
  • สืบสานประชาธิปไตย - แต่งเพลง ตามรอยวีรชน (รวมศิลปิน)
  • รำลึก 15 ปี พฤษภาประชาธรรม - เพลง หว้ง (รวมศิลปิน)
  • รำลึกสืบสาน 20 ปี วีรชนพฤษภา 35 - เพลง ขอคืนมา (รวมศิลปิน) จัดทำขึ้นเพื่อคารวะวีรชนพฤษภา 35
  • 9 ปีถนนดนตรี 92.5FM RADIO THAILAND - เพลง เพื่อชีวิต (รวมศิลปิน) จัดทำขึ้นเพื่อร่วมก่อตั้งกองทุนศิลปินเพื่อชีวิต
  • พังงาเกมส์ - เพลง พังงาเกมส์,มุ่งสู่ความหวัง จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในงาน กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 18
  • เพลงเลือกตั้ง ประพันธ์เนื้อร้องโดย พล.ต.ต.สุรศักดิ์ สุทธารมณ์ จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย)
  • เพลง เชียงใหม่ FC
  • เพลง ราชมงคลขอนแก่น
  • เพลง 40 ปี แก่นนคร พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย และแต่งเพลงนี้ขึ้นมาในงานครบรอบ 40 ปี โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย พ.ศ. 2551
  • เพลง ขวานไทยใจหนึ่งเดียว (รวมศิลปิน) จัดทำขึ้นเพื่อปลุกจิตสำนึกให้คนไทยมีความรักสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน 2547
  • เพลง ต้องกล้า คนหัวใจสิงห์ (รวมศิลปิน) จัดทำขึ้นเพื่อสร้างแรงบันดาลใจแก่คนในสังคมให้กล้าที่จะเอาชนะอุปสรรคสำคัญ คือ การชนะใจตนเอง
  • เพลง น้องน้ำ แต่งขึ้นเพื่อให้กำลังใจผู้ประสบ อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554
  • เพลง หลวงพ่อเงิน แต่งขึ้นเพื่อหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร
  • เพลง ไทยแลนด์โอลิมปิก ร่วมกับ สุรชัย จันทิมาธร และ ยืนยง โอภากุล เนื้อหาเกี่ยวกับการส่งแรงใจให้นักกีฬาไทยคว้าเหรียญทองในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 30 “ลอนดอนเกมส์ 2012”
  • เพลง นครลิง แต่งขึ้นเพื่อเสียดสีบรรยากาศทางการเมืองไทย 2553 และภายหลังได้มีการนำเพลงนี้ไปบรรจุไว้ในอัลบั้ม 25 ปี (มีหวัง) อีกด้วย
  • เพลง ศพสุดท้าย แต่งมอบให้ "น้องไบต์" แฟนเพลงท่านหนึ่งที่ถูกลูกหลงจากเหตุทะเลาะวิวาทจนถึงแก่ชีวิตในงานคอนเสิร์ต และภายหลังได้มีการนำเพลงนี้ไปบรรจุไว้ในอัลบั้ม 25 ปี (มีหวัง) อีกด้วย
  • เพลง สุรชัย จันทิมาธร แต่งขึ้นเพื่อเป็นการเคารพต่อศิลปินรุ่นพี่อย่าง สุรชัย จันทิมาธร ในงานคอนเสิร์ต "40 ปี มิตรภาพบนถนนดนตรี สุรชัย จันทิมาธร"
  • เพลง กราบแผ่นดิน แต่งขึ้นเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่ทาง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
  • เพลง GU12 แต่งให้ทีมสโมสรฟุตบอล บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
  • ฯลฯ

อัลบั้มอื่นๆ ในฐานะศิลปินรับเชิญ โดยไม่รวมงานแสดงสด

อัลบั้มแสดงสด ในฐานะศิลปินรับเชิญ

  • คาราวาน คืนคน คาราวาน (เล่นแบ็คอัพในตำแหน่งมือ กีตาร์ ให้แก่ทางวงคาราวาน)
  • คาราวาน บันทึกการแสดงสดคอนเสิร์ต โลกร้อน คนละลาย 1
  • คาราวาน บันทึกการแสดงสดคอนเสิร์ต โลกร้อน คนละลาย 2
  • สุรชัย จันทิมาธร บันทึกการแสดงสดคอนเสิร์ต 60 ปี วีรชนคนกล้า
  • สุรชัย จันทิมาธร บันทึกการแสดงสดคอนเสิร์ต 40 ปี มิตรภาพบนถนนดนตรี สุรชัย จันทิมาธร
  • คาราบาว บันทึกการแสดงสดคอนเสิร์ต 20 ปี คาราบาว
  • คาราบาว บันทึกการแสดงสดคอนเสิร์ต เพื่อช้าง
  • คาราบาว บันทึกการแสดงสดคอนเสิร์ต คาราบาว 3 ช่า สามัคคี ตอน ลูกทุ่งแฟนเทเชีย
  • สินเจริญ บราเธอร์ส บันทึกการแสดงคอนเสิร์ต สินเจริญเชิญแหลก
  • Bodyslam บันทึกการแสดงสดคอนเสิร์ต Save My Life
  • ฯลฯ

ผลงานเพลงที่แต่งให้ศิลปินอื่นๆ เและร่วมโปรดิวเซอร์

ผลงานเพลงที่ศิลปินอื่นๆ นำไปคัฟเวอร์ใหม่

ผลงานเพลงประกอบต่างๆ ทั้งด้านละครและภาพยนตร์

  • เพลงประกอบละคร ของแท้ ชุด "พิเศษ" - เพลง ตะวันชิงพลบ (รวมเพลงละคร)
  • เพลงประกอบละคร ของแท้ 3 "ผู้การเรือเร่" - เพลง ตะวันชิงพลบ, แต่งเพลง ผู้การเรือเร่, เรียบเรียงเพลง ทหารเรืออ้อนรัก (รวมเพลงละคร)
  • เพลงประกอบละคร รวมฮิต ของแท้ - เพลง ตะวันชิงพลบ (รวมเพลงละคร)
  • เพลงประกอบละคร รวมเพลงละคร กำไรชีวิต ตะวันชิงพลบ - เพลง ตะวันชิงพลบ (รวมเพลงละคร)
  • เพลงประกอบละคร ต้นฉบับ อมตะครองเมือง สุขาอยู่หนใด - เพลง ตะวันชิงพลบ (รวมเพลงละคร)
  • เพลงประกอบละคร เพลงฮิตละครฮิต - เพลง ตะวันชิงพลบ (รวมเพลงละคร)
  • เพลงประกอบละคร ไทรโศก
  • เพลงประกอบละคร สามเณรใจสิงห์
  • เพลงประกอบสารคดี แปซิฟิค - ดนตรีประกอบ
  • เพลงประกอบสารคดี โรงเรียนของหนู - เพลง โรงเรียนของหนู
  • เพลงประกอบสารคดี ตามรอยพระอรหันต์ - เพลง ทะเลบุญ, ตะวันแดง, ตำนานพระธุตังคเจดีย์
  • เพลงประกอบรายการ ส่องโลก - เพลง เพราะว่าฟ้ากว้าง
  • เพลงประกอบรายการ วงเวียนชีวิต - เพลง วงเวียนชีวิต
  • เพลงประกอบรายการ โค้ก มิวสิกอะวอร์ดส์ - เพลง ขับร้องขับขาน
  • เพลงประกอบโฆษณา โค้ก - เพลง ตลอดเวลา
  • เพลงประกอบโฆษณา หลอดนีออน โตชิบา - เพลง มาตามสัญญา
  • เพลงประกอบโฆษณา แดนซ์ โคโลญ - เพลง เพื่อนเอย
  • เพลงประกอบโฆษณา เบียร์ลีโอ - เพลง ลีโอ
  • เพลงประกอบโฆษณา โซดาสิงห์ - เพลง ชีวิตภาคค่ำ
  • เพลงประกอบภาพยนตร์ เรื่อง เชอรี่ แอน - เพลง จำใจจาก ประพันธ์เนื้อร้องโดย รุ่งเฉลิม กนกชวาลชัย หรือ เฮาดี้
  • เพลงประกอบภาพยนตร์ เรื่อง สะบายดีหลวงพระบาง ภาค 2 - เพลง วันต่อวัน
  • เพลงประกอบภาพยนตร์สั้น เรื่อง ผีมะขาม - เพลง อยู่ตรงนี้
  • นักแสดงประกอบ ภาพยนตร์ เรื่อง ผู้หญิง 5 บาป ภาค 1 (รับบทเป็น Security)
  • แสดงร่วมภาพยนตร์แผ่น เรื่อง สมเด็จโต (รับบทเป็น ปู พงษ์สิทธิ์ คำภีร์)

ผลงานเพลงที่ศิลปินท่านอื่นๆ แต่งให้และกล่าวถึง

  • สุรชัย จันทิมาธร - เพลงยังหนุ่ม (แต่งให้คำภีร์ในคอนเสิร์ต ฮักเสี่ยว และบรรจุอยู่ในอัลบั้ม "หนังสือในชื่อเธอ")
  • มงคล อุทก - เพลงไฟเพื่อชีวิต (เป็นบทเพลงที่กล่าวถึงศิลปินเพื่อชีวิต โดยมีเนื้อร้องอยู่ท่อนหนึ่งที่กล่าวถึงชื่อของ พงษ์สิทธิ์ เพลงนี้แต่งเนื้อร้องโดย พยัพ คำพันธุ์ และบรรจุอยู่ในอัลบั้ม "เสี่ยหำน้อย")
  • ปรีชา ชนะภัย - เพลงคำภีร์กีตาร์ (แต่งให้กีตาร์ของคำภีร์ ซึ่งเป็นเพลงบรรเลงที่อยู่ในอัลบั้ม "โปร่งใส")
  • โฮป - เพลงจากใจ (เป็นบทเพลงที่กล่าวถึงศิลปินเพื่อชีวิต โดยมีเนื้อร้องอยู่ท่อนหนึ่งที่กล่าวถึงชื่อของ ปู คำภีร์ และบรรจุอยู่ในอัลบั้ม "จากวันนั้นถึงวันนี้")
  • ปราชญ์ เฉยกลาง ต้อม คำภีร์ - เพลงรักคำภีร์ (หนึ่งในทีนงานของวงคำภีร์ ที่นำเอาชื่อเพลงของคำภีร์ มาเรียงร้อยเป็นบทเพลง)

ศิลปินต่างประเทศที่เคยร่วมงานและรับเชิญ

  • Jack Barry มือกีตาร์ ชาวอเมริกัน เคยร่วมงานกับ พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ มาหลายอัลบั้ม
  • Carol Isaacs นักเปียโน ชาวไอริช เป็นนักดนตรีในห้องอัดและเคยร่วมงานกับศิลปินระดับโลก อย่าง Senead O' Conner ฯลฯ
  • Wayne Diggins มือเซ็กโซโฟน ชาวแคนาดา (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) เคยร่วมงานกับศิลปินบูลส์อย่าง Albert Collins ฯลฯ และร่วมแจมเพลง 6 ตุลาคม 2519
  • Matthew Seligman มือเบส ชาวไซปรัส เคยร่วมงานกับศิลปินระดับโลก เช่น David Bowie, Senead O' Conner ฯลฯ และร่วมแจมในเพลง ออนซอน,เพียงลม ฯลฯ
  • Katherine C.Bond นักดนตรี ชาวอเมริกัน เป็นด็อกเตอร์ ทำงานเกี่ยวกับสาธารณสุข เคยร่วมเล่นในอัลบั้ม ชุด "เพลงฅาราวาน ตำนานชีวิต" และร่วมแจมในเพลง กว่าจะรู้,อ้างว่ารัก ฯลฯ
  • Sel Vester Lester C.Esteban นักดนตรีชาวฟิลิปปินส์ อดีตมือกลอง หิน เหล็ก ไฟ และ เดอะ ซัน ฉายา "กระเดื่องตากาล็อก" ร่วมแจมในเพลง สะดืด,ครับนาย และอีกหลายอัลบั้ม เช่น Vol.1, คำภีร์ 3 ช่า ฯลฯ

ผลงานหนังสือ

ผลงานด้านช่วยเหลือสังคม

  • โครงการห้องสมุด คำภีร์ เพื่อเด็กในชนบท
  • มูลนิธิคำภีร์เพื่อสัตว์ร่วมโลก

ฯลฯ

รางวัล

  • สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย รางวัลศิลปินเพลงสร้าสรรค์ยอดเยี่ยม ประจำปี 2534
  • รางวัลโทรทัศน์ทองคำ เพลงนำละครดีเด่น เรื่อง "ตะวันชิงพลบ" ปี 2534
  • ชมรมสภาวะแวดล้อมสยาม รางวัลเพลงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม "สัตว์รักสัตว์" ปี 2535
  • คณะกรรมการ สยช. รางวัลผู้ผลิตงานสื่อมวลชนดีเด่นเพื่อเยาวชน "โรงเรียนของหนู" ปี 2535
  • รางวัลศิลปินผู้ช่วยเหลือกิจการ โรงเรียนวชิรวุธวิทยาลัย ปี 2535
  • รางวัลโทรทัศน์ทองคำ มิวสิกวิดีโอดีเด่น "โรงเรียนของหนู" ปี 2535
  • รางวัลสีสันอะวอร์ดส์ เพลงยอดเยี่ยม "6 ตุลา 19" ปี 2539
  • รางวัลสีสันอะวอร์ดส์ เพลงในการบันทึกเสียงยอดเยี่ยม "ออนซอน" ปี 2542
  • คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 10 อัลบั้มยอดเยี่ยม "25 ปี มีหวัง" ปี 2555
  • รางวัลสีสันอะวอร์ดส์ ศิลปินชายยอดเยี่ยม ปี 2555
  • และ รางวัลต่างๆอีกมากมาย ตั้งแต่รางวัล ระดับประเทศ, องค์กร, สถาบันต่างๆที่ได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วน

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น