ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอปะคำ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kowito (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{รอการตรวจสอบ}}

{{กล่องข้อมูล อำเภอ
{{กล่องข้อมูล อำเภอ
| name = ปะคำ
| name = ปะคำ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:13, 31 ตุลาคม 2557

อำเภอปะคำ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Pakham
คำขวัญ: 
เมืองปะ พระทองคำ ถ้ำจารึกพันปี ควาญดี ศรีปะคำ
แผนที่จังหวัดบุรีรัมย์ เน้นอำเภอปะคำ
แผนที่จังหวัดบุรีรัมย์ เน้นอำเภอปะคำ
พิกัด: 14°26′18″N 102°43′30″E / 14.43833°N 102.72500°E / 14.43833; 102.72500
ประเทศ ไทย
จังหวัดบุรีรัมย์
พื้นที่
 • ทั้งหมด296.029 ตร.กม. (114.297 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2556)
 • ทั้งหมด45,189 คน
 • ความหนาแน่น152.65 คน/ตร.กม. (395.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 31220
รหัสภูมิศาสตร์3112
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอปะคำ หมู่ที่ 9 ตำบลปะคำ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ 31220
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ปะคำ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์

ประวัติ

บ้านปะคำ ไม่มีหลักฐานใดที่สามารถยืนยันได้แน่ชัดว่าตั้งขึ้น รู้แต่เพียงว่า “ บ้านปะคำ ” ได้รับการยกฐานะเป็นตำบลปะคำ ขึ้นกับอำเภอนางรอง โดยเดิม บ้านปะคำ ยังมีหมู่บ้านและชุมชนเก่าแก่ดั้งเดิมเพียงไม่กี่แห่งซึ่งสมัยนั้นมักเรียกกันติดปากว่า “ซุม” ( ปัจจุบันเรียกว่า คุ้ม ) เช่น ซุมมะเดื่อ , ซุมหัวนอน , ซุมปะตี๋น (ภาษาปะคำ) , ซุมป่ายาง , ซุมหนองบอน ซุมหนองกราด , ซุมโนนประดู่ , ซุมโคกกะโด๋น (ภาษาปะคำ) , ซุมหนองปะทราย (บ้านกองพระทรายในปัจจุบัน ) และนอกจากนี้ยังมีหมู่บ้านเล็กๆที่อยู่รอบนอกอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งสมัยนั้นถือว่าอยู่ห่างไกลกันมากประกอบไปด้วย หมู่บ้านหินโคนดง หมู่บ้านโคกเขาหญ้าคา (บ้านโคกเขาในปัจจุบัน ) หมู่บ้านโคกมะม่วง หมู่บ้านหนองน้ำขุ่น หมู่บ้านหนองไม้เสียบ หมู่บ้านส้มป่อย หมู่บ้านโนนดินแดง ( อำเภอโนนดินแดง ) เป็นต้น การสัญจรไปมาหาสู่กันค่อนข้างลำบาก ต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร พาหนะสำคัญที่ใช้ได้แก่ ม้า , เกวียน และช้าง

ต่อมา “ บ้านปะคำ ” เริ่มมีประชากรหนาแน่นขึ้น จึงได้มีการขยับขยายเพื่อจับจองมองหาที่ทำกินแห่งใหม่สู่บริเวณรอบนอก โดยยึดเอาพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำเป็นหลักสำคัญในการอยู่อาศัย เช่น บ้านถนนหัก , บ้านหนองต้อ , บ้านโคกงิ้ว , บ้านโคกตามะโน

  • พ.ศ. 2496 ทางรัฐบาลได้จัดให้มีการจัดสรรที่ทำกินให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป โดยการออกเอกสารสิทธิที่ดิน ( ส.ค.1 ) เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้มีที่ทำกินเป็นหลักแหล่งและถูกกฎหมาย

ต่อมา ไม่นานได้เกิดความแห่งแล้งขึ้นในหลายจังหวัดหลายพื้นที่ทางภาคอีสาน เป็นเหตุให้มีผู้คนจากหลายที่หลายแห่งและหลายจังหวัดต่างพากันอพยพเข้ามาจับจองที่ทำกินและที่อยู่อาศัยกันอย่างต่อเนื่อง สาเหตุหนึ่งเนื่องมาจากความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ “บ้านปะคำ”โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บ้านปลื้ม (ตำบลโคกมะม่วง ในปัจจุบัน) ที่มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแหล่งน้ำธรรมชาติ พืชพันธุ์ธัญญาหาร และทรัพยากรธรรมชาติมากมายหลากหลายชนิด จึงทำให้มีการอพยพเข้ามาอยู่อาศัยของผู้คนจากต่างถิ่นมีมาอย่างต่อเนื่องจนทำให้มีหมู่บ้านใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายหลายหมู่บ้าน เช่น บ้านไทยเจริญ บ้านถนนหัก บ้านโคกลอย บ้านโคกปราสาทบ้านโคกว่าน ( ปัจจุบันชื่อบ้านสุขสำราญ ) บ้านดอนนางดำ ( ปัจจุบันชื่อบ้านดอนนางงาม ) บ้านทุ่งไผ่ บ้านโคกประเดียบ บ้านปลื้ม บ้านเทพ บ้านโคกไม้แดง บ้านน้อย และอีกหลายต่อหลายหมู่บ้าน จวบจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2555) รวมแล้วทั้งสิ้น 77 หมู่บ้าน

  • พ.ศ. 2504 ทางการได้แยก ตำบลละหานทราย และตำบลปะคำ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอ

นางรอง มาเป็น กิ่งอำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์

  • พ.ศ. 2506 กิ่งอำเภอละหานทรายได้รับการยกฐานะอีกครั้งเป็น “อำเภอละหานทราย” ปะคำ จึงเป็นอีกตำบลหนึ่งของอำเภอละหานทราย
  • พ.ศ. 2521 ตำบลปะคำ ได้รับการยกฐานะเป็น กิ่งอำเภอปะคำ โดยมีปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้า กิ่งอำเภอปะคำคนแรก คือ “ ปลัดเฉลียว โพธิดารา ” โดยประกอบไปด้วย 3 ตำบล ได้แก่ ตำบล

ปะคำ , ตำบลไทยเจริญ และตำบลหนองบัว ส่วนหมู่บ้านส้มป่อยและหมู่บ้าน โนนดินแดง (อำเภอโนนดินแดง) ยังคงขึ้นอยู่กับอำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์

  • พ.ศ. 2526 กิ่งอำเภอปะคำ ได้รับการยกฐานะอีกครั้งเป็น อำเภอปะคำ โดยแบ่งการปกครองเพิ่มจาก 3 ตำบล เป็น 5 ตำบล โดยเพิ่ม ตำบลหูทำนบ และตำบลโคกมะม่วง ในเวลาต่อมา จวบจนถึงปัจจุบัน ( พ.ศ. 2555 ) แยกหมู่บ้านต่างๆ ใหญ่บ้าง เล็กบ้าง รวมแล้วทั้งสิ้น 77 หมู่บ้าน จากเดิมย้อนไปประมาณ 50 – 60 ปีก่อน “ ปะคำ ” มีเพียง 5 – 6 หมู่บ้านเท่านั้น โดยได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วด้วยปัจจัยหลายประการดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น


ประวัติการตั้งถิ่นฐาน

การตั้งถิ่นฐานบ้านปะคำ ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่ามีการก่อตั้งขึ้นในยุคสมัยใดทุกสิ่งทุกอย่างจึงเป็นเพียงแค่การสันนิษฐานสืบต่อกันมาว่า น่าจะตั้งขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 15 -17 เพราะสังเกตเห็นได้จากการที่มีโบราณสถานและโบราณวัตถุต่างๆใหญ่บ้างเล็กบ้างรายล้อมอยู่โดยทั่วไป อย่างเช่น , พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ , เทวรูปสัมฤทธิ์ , เครื่องปั้นดินเผาเครื่องประดับ , โครงกระดูก , อาวุธ เป็นต้น แต่ไม่ได้มีการเก็บรักษาให้ดีเท่าที่ควรเนื่องจากโดยส่วนใหญ่ เป็นการขุดค้นพบโดยนักค้าโบราณวัตถุมากกว่า จึงไม่ได้มีการศึกษาประวัติสิ่ง ของต่างๆเหล่านี้ดีเท่าที่ควร ( ปัจจุบันยังพอมีให้เห็นอยู่บ้างที่ พิพิธภัณฑ์วัดโคกงิ้ว หมู่ที่ 3 ต.ปะคำ อ.ปะคำ จ.บุรีรัมย์ ) และโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บริเวณรอยต่อชุมชนบ้านปะคำหมู่ที่ 1 และชุมชนบ้านปะคำหมู่ที่ 2 ตำบลปะคำ ลึกลงไปใต้ดินราว 1 – 5 เมตร จะพบว่ามีโครงกระดูกของคนในสมัยโบราณเรียงรายอยู่โดยทั่วไป นอกจากนี้ยังพบวัตถุสิ่งของต่างๆ เช่นหมวกโลหะ , อาวุธ , เครื่องใช้ต่างๆ ฯลฯ ดังนั้นจึงสันนิษฐานว่า บ้านปะคำ น่าจะเป็นหมู่บ้านและชุมชนโบราณที่มีความเก่ามากแห่งหนึ่ง

มีผู้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องการตั้งหมู่บ้านปะคำที่พออ้างอิงได้ว่า เกิดจากหลวงแสง ที่ทำหน้าที่เป็นนายด่านปะคำ ช่วงก่อนเสียชีวิตได้ไปอยู่ที่เมืองประจิมปากน้ำ หลังจากเสียชีวิตลงบุตรของท่านมี นามว่า หลวงอุดมพนาเวช ( ตระกูลอุดมพงษ์ ) ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายด่านปะคำต่อจากบิดา

อีกตระกูลหนึ่งคือ ขุนพิพิธ ซึ่งเป็นหลานของพระยานางรอง ได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านปะคำมีบุตรชายหนึ่งคนชื่อ ถิน ( ตระกูลศรีณรงค์ ) ซึ่งต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง กำนันตำบลปะคำเป็นคนแรก โดยใช้นามว่า ขุนจงโยธา ( ตระกูลจงโยธา )ทั้งสองตระกูลนี้มีความเกี่ยวข้องเป็นเครือญาติกัน โดยทั้งสองตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บริเวณ ด้านทิศตะวันออกของห้วยลำมาศ ( บริเวณหมู่ที่ 1 ตำบลปะคำ ในปัจจุบัน )

อย่างไรก็ดี ทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมาแล้วนี้ ล้วนเป็นเพียงแนวคิดและความเชื่อตามคำบอกเล่าที่มีสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นเท่านั้น หาได้มีพยานหลักฐานใดอ้างอิง หรือมีข้อเท็จ จริงใดๆที่สามารถ ยืนยันได้แน่ชัดว่า ข้อไหนคือเรื่องจริงและข้อไหนคือความเชื่อ ทุกอย่างจึงเป็นเพียง “ ตำนาน ” แนวคิด ความเชื่อ และคำบอกเล่า ที่มีสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นเท่านั้นหาได้มีข้อเท็จจริงใดที่สามารถ ยืนยันได้แต่ประการใดไม่ ................. ?


ที่ตั้งและอาณาเขต

ที่ตั้ง

อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 9 ตำบลปะคำ ห่างจากตัวจังหวัดบุรีรัมย์ ไปทางด้านทิศใต้ ประมาณ 75 กิโลเมตร ตามถนนทางหลวงหมายเลข 218 บุรีรัมย์ – นางรองทางหลวงหมายเลข 2073 นางรอง – ลำปลายมาศ , ทางหลวงหมายเลข 24 โชคชัย – เดชอุดม และทางหลวงหมายเลข 348 นางรอง – ปะคำ – อรัญ ( นางรอง – อรัญ ) มีเนื้อที่ประมาณ 336 ตารางกิโลเมตร ( หรือราว 210,000 ไร่ เศษ )

อาณาเขต

อำเภอปะคำ มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอต่างๆ ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดกับ อำเภอโนนสุวรรณและอำเภอนางรอง บุรีรัมย์
  • ทิศใต้ ติดกับ อำเภอ โนนดินแดง บุรีรัมย์
  • ทิศตะวันออก ติดกับ อำเภอนางรอง อำเภอละหานทราย และอำเภอโนนดินแดง บุรีรัมย์
  • ทิศตะวันตก ติดกับ อำเภอ เสิงสาง นครราชสีมา

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอปะคำแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 ตำบล 77 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ปะคำ (Pakham) จำนวน 10 หมู่บ้าน
2. ไทยเจริญ (Thai Charoen) จำนวน 14 หมู่บ้าน
3. หนองบัว (Nong Bua) จำนวน 12 หมู่บ้าน
4. โคกมะม่วง (Khok Mamuang) จำนวน 22 หมู่บ้าน
5. หูทำนบ (Hu Thamnop) จำนวน 19 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอปะคำประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลปะคำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปะคำทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไทยเจริญ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไทยเจริญทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกมะม่วง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกมะม่วงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหูทำนบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหูทำนบทั้งตำบล

ข้อมูลทั่วไป

ประชากร

อำเภอปะคำ มีประชากรทั้งสิ้น 44,242 คน แยกเป็นตำบลได้ ดังนี้

  1. ตำบลปะคำ จำนวน 6,854 คน ( มากเป็นลำดับที่ 4 )
  2. ตำบลไทยเจริญ จำนวน 6,953 คน ( มากเป็นลำดับที่ 3 )
  3. ตำบลหนองบัว จำนวน 6,091 คน ( มากเป็นลำดับที่ 5 )
  4. ตำบลหูทำนบ จำนวน 10,867 คน ( มากเป็นลำดับที่ 2 )
  5. ตำบลโคกมะม่วง จำนวน 13,477 คน ( มากเป็นลำดับที่ 1 )

ภาษาที่ใช้

ภาษาที่ชาวอำเภอปะคำนิยมใช้โดยทั่วไป ได้แก่ ภาษาอีสาน , ภาษาไทยโคราช

การนับถือศาสนา

ประชากรของอำเภอปะคำคิดเป็น ร้อยละ 98  % นับถือ “ ศาสนาพุทธ ” และอีกประมาณร้อยละ 2 % นับถือ “ ศาสนาคริสต์ ”

การประกอบอาชีพ

อาชีพหลักที่สำคัญของอำเภอปะคำ ได้แก่ ทำนา ทำสวน ทำไร่ ค้าขาย รับราชการ รับจ้าง ตามลำดับ

พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ

พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของอำเภอปะคำ ได้แก่ ข้าว , มันสำปะหลัง , พืชสวน ,และอื่นๆ

การศึกษา

เขตการศึกษา

อำเภอปะคำ สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 จังหวัดบุรีรัมย์

  • อำเภอปะคำ มีสถานศึกษาทั้งสิ้น 23 แห่ง ดังนี้
    • มหาวิทยาลัยราชภัฎเฉลิมพระเกียรติจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 1 แห่ง
    • โรงเรียนมัธยมประจำอำเภอ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ไทยเจริญวิทยา และโรงเรียนปะคำพิทยาคม
    • โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 20 แห่ง


ประเพณีสำคัญ

อำเภอปะคำ มีประเพณีสำคัญๆต่างๆได้แก่ ประเพณีลอยกระทง ประเพณี แห่เทียนพรรษา ประเพณีบุญบั้งไฟ ประเพณีแข่งเรือ และประเพณีบุญหัวมันใหญ่

แต่ละตำบล ได้มีการจัดงานประเพณีสำคัญต่างๆ ในแต่ละตำบลตามความถนัด และความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ดังนี้

  • ตำบลปะคำ ด้าน ประเพณีลอยกระทง งานศาลหลักเมืองปะคำ และแห่เทียนพรรษา
  • ตำบลหูทำนบ ด้าน ประเพณีแข่งเรือ และประเพณีบุญบั้งไฟ
  • ตำบลไทยเจริญ ด้าน ประเพณีบุญบั้งไฟ
  • ตำบลหนองบัว ด้าน ประเพณีแห่เทียนพรรษา
  • ตำบลโคกมะม่วง ด้าน ประเพณีบุญหัวมันใหญ่

สัญญลักษณ์ประจำอำเภอ

สีประจำอำเภอ

 สี  ฟ้าขาว

ต้นไม้ และดอกไม้ประจำอำเภอ

ต้นไม้

    ต้นปะคำ      

ดอกไม้

   ดอกจาน

ธงตราสัญลักษณ์ประจำอำเภอ

     ธงตราสัญลักษณ์ประจำอำเภอปะคำ  ได้แก่    ธงรูปช้างศึกอยู่ตรงกลางผืนผ้าสีเขียว  ( สีเขียว ) 
มายถึงสีแห่งความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติ   ส่วนรูปช้างนั้นหมายถึง 
 “ ช้าง  ”  ที่เป็นสัตว์เลี้ยงคู่บ้านคู่เมืองปะคำ    ซึ่งมีอยู่คู่บ้านคู่เมืองเรามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 


ด้านสินค้าโอท็อป

อำเภอปะคำ มีสินค้าโอท็อปที่ขึ้นชื่อติดระดับห้าดาว ได้แก่ น้ำพริกป้าเหลียม ( ตำบลปะคำ ) ซึ่งเป็นของฝากที่ขึ้นชื่อของอำเภอปะคำ รูปแกะสลักหินทรายบ้านสินพัฒนา ( ตำบลไทยเจริญ )

แหล่งท่องเที่ยว

โบราณสถาน

  • โบราณสถานถ้ำเป็ดทอง ( ตำบลโคกมะม่วง )
  • โบราณสถานปราสาทวัดโคกงิ้ว ( ตำบลปะคำ )
  • โบราณสถานถ้ำหัวละเลิง ( ตำบลหูทำนบ )
  • โบราณสถานปราสาทตาเสา ( ตำบลปะคำ )
  • โบราณสถานปราสาทตาดำ ( ตำบลไทยเจริญ )
  • โบราณสถานบ้านโคกปราสาท ( ตำบลไทยเจริญ )
  • โบราณสถานวัดโพธิ์ย้อย ( ตำบลปะคำ )

โบราณวัตถุ

  • พิพิธภัณฑ์วัดโคกงิ้ว พระพุทธรูปเก่าแก่วัดโพธิ์ย้อย ( ตำบลปะคำ )

แหล่งน้ำ

  • แหล่งน้ำสายสำคัญของอำเภอปะคำ ได้แก่ ห้วยลำมาศ ซึ่งไหลผ่านอำเภอปะคำตลอดทั้ง

ปีและใช้หล่อเลี้ยงประชากรในอีก 2 อำเภอ ของจังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่อำเภอนางรอง และอำเภอลำ ปลายมาศ ฯลฯ และ

  • หน่วยส่งบำรุงและรักษาน้ำลำปลายมาศ ( ฝายปะคำ )

กำนัน

รายชื่อ กำนันตำบลปะคำ

ลำดับที่ ชื่อ – นามสกุล ชื่อเล่น วันที่ดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ

  1. กำนัน ขุนจงโยธา ( ตระกูลจงโยธา ) ถิน
  2. กำนัน แจ้ง อบอุ่น แจ้ง
  3. กำนัน เมือง โสภาพันธ์ เมือง
  4. กำนัน เริก อบอุ่น เริก
  5. กำนัน ใหญ่ จงโยธา ใหญ่
  6. กำนัน โป๊ะ ส่งศรี โป๊ะ
  7. กำนัน ร่วม จูไพจิตร ร่วม
  8. กำนัน ยิ้ม ฉันทะกุล ยิ้ม
  9. กำนัน แม้น ปราบพยัคฆา แม้น
  10. กำนัน ซุน สงวนธรรม ซุน
  11. กำนัน ชุม จันทร์พายัพ ชุม
  12. กำนัน พะเนาว์ อบอุ่น หรุย ถูกลอบยิงเสียชีวิต
  13. กำนัน เหลือ คชชาญ เหลือ ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต
  14. กำนัน ฉัตร แป้นดวงเนตร ฉัตร เกษียณอายุ 60 ปี
  15. กำนัน มณฑา จรเอ้กา ดำ 2526 – 31 ม.ค. 47 ลาออก
  16. กำนัน สนาม พงษ์ศรีเจริญสุข แป๋ว 10 ก.พ. 2547 ครบวาระ 10 ก.พ. 52
  17. กำนัน นุชา คชชาญ / พานิคม เหน่ / ใหญ่ 20 มี.ค. 2552 ถึง พ.ศ. 2565 ( เกษียณ)

รายชื่อ กำนันตำบลไทยเจริญ

ลำดับที่ ชื่อ – นามสกุล ชื่อเล่น วันที่ดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ

  1. กำนัน จันทา พิมพ์ภักดี จันทา -
  2. กำนัน ประพันธ์ อันทามา ประพันธ์ -
  3. กำนัน บุญมา ประกอบกัน บุญมา -
  4. กำนัน นบ นุ่มชัยภูมิ นบ -
  5. กำนัน ทองใส คำหวัน ใส -
  6. กำนัน บุญแทน วาปีเท แทน -
  7. กำนัน บุญล้อม อันทามา ล้อม -

รายชื่อ กำนันตำบลหนองบัว

ลำดับที่ ชื่อ – นามสกุล ชื่อเล่น วันที่ดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ

  1. กำนัน ทัด รักษาสระน้อย ทัด -
  2. กำนัน บุญเลี้ยง ผิวสำโรง เลี้ยง -
  3. กำนัน คำรณ ชัยกิตติภร รณ -
  4. กำนัน วงวานิช ตัดสำโรง วง
5 กำนัน อินทร์   บุญเทพ  อิน

รายชื่อ กำนันตำบลหูทำนบ

ลำดับที่ ชื่อ – นามสกุล ชื่อเล่น วันที่ดำรงตำแหน่ง

  1. กำนัน แสงดาว กันหาชัย ดาว
  2. กำนัน สุด มิตรเจริญ สุด 11 พ.ย. 2553


รายชื่อ กำนันตำบลโคกมะม่วง

ลำดับที่ ชื่อ – นามสกุล ชื่อเล่น วันที่ดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ

  1. กำนัน สุพจน์ ราญมีชัย ทุย -
  2. กำนัน จันทร์ จันทร์ -
  3. กำนัน พิกุล ศรีสันต์ ตุ๋ย -
  4. กำนัน มงคล พรมไชยา มงคล -

นายอำเภอ

ทำเนียบนายอำเภอปะคำ ลำดับที่ ชื่อ – นามสกุล ตำแหน่ง รับตำแหน่ง เมื่อวัน / เดือน / ปี – วัน / เดือน / ปี

  1. นายเฉลียว โพธิดารา ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้ากิ่ง 1 ธ.ค. 21 – 7 ม.ค. 25
  2. นายทวีสักดิ์ คิดบรรจง ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้ากิ่ง 8 ม.ค. 25 – 1 ก.ย. 25
  3. ปลัดเฉลียว โพธิดารา ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้ากิ่ง 2 ก.ย. 25 – 23 เม.ย. 27
  4. นายชิน จุนถิระพงศ์ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้ากิ่ง 6 พ.ค. 27 – 5 พ.ค. 28

ตำแหน่งนายอำเภอ

  1. นายสุรพันธ์ เงินหมื่น นายอำเภอปะคำ 6 พ.ค. 28 – 16 ต.ค. 30
  2. นายวิชา ทับธง นายอำเภอปะคำ 18 ต.ค. 30 – 15 ต.ค. 32
  3. นายปัทมศักดิ์ อัศวานุวัฒน์ นายอำเภอปะคำ 22 ต.ค. 32 – 29 มิ.ย. 33
  4. นายสมชาย พฤติวงศ์ นายอำเภอปะคำ 2 ก.ค. 33 – 12 ค.ต. 35
  5. นายมงคล สัณฐิติวิฑูร นายอำเภอปะคำ 12 ค.ต. 35 – 7 พ.ย. 36
  6. นายเฉลิมพล พลวัน นายอำเภอปะคำ 7 พ.ย. 36 – 16 ต.ค 37
  7. นายนิมิต จันทน์วิมล นายอำเภอปะคำ 17 ต.ค. 37 – 31 ต.ค. 38
  8. นายสว่าง ฉวีวรรณ นายอำเภอปะคำ 1 พ.ย. 38 – 1 พ.ย. 41
  9. นายเลอเกียรติ แก้วศรีจันทร์ นายอำเภอปะคำ 2 พ.ย. 41 – 21 พ.ย. 42
  10. นายเกรียงเดช เข็มทอง นายอำเภอปะคำ 22 พ.ย. 42 – 17 เม.ย. 43
  11. นายหิรัญ เจริญทวีทรัพย์ นายอำเภอปะคำ 18 เม.ย. 43 – 28 ต.ค. 44
  12. นายพัลลภ สิงหเสนี นายอำเภอปะคำ 11 ธ.ค. 44 – 21 ต.ค. 45
  13. นายจรัญ เงินแก้ว นายอำเภอปะคำ 16 ธ.ค. 45 – 30 ก.ย. 48
  14. นายธนวัฒน์ บูรณะพิภพ นายอำเภอปะคำ 26 ธ.ค. 48 – 30 ก.ย. 50
  15. นายวีรวัฒน์ วิกสิด นายอำเภอปะคำ 12 พ.ย. 50 – 23 ส.ค. 52
  16. นายอนุวัฒน์ หิระนิล นายอำเภอปะคำ 24 ส.ค. 52 – 18 พ.ค. 54
  17. นายวิสิษฎ์ สกุลยืนยง นายอำเภอปะคำ 18 พ.ค. 54 –
  18. นายสมชาย ลี้วงศกร นายอำเภอปะคำ 13 ธ.ค. 54 – 16 พ.ค. 55
  19. นายโกสินทร์ ธาราศักดิ์ นายอำเภอปะคำ 21 พ.ค. 55 – 30 ก.ย. 55
  20. นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ นายอำเภอปะคำ 26 พ.ย. 55 -

อ้างอิง