ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พูน เกษจำรัส"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
สุขเกษม อุยโต (คุย | ส่วนร่วม)
สุขเกษม อุยโต (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 12: บรรทัด 12:
ปีพุทธศักราช 2490 ได้เข้ารับราชการเป็นครูตรี ที่โรงเรียนเพาะช่างจนถึงปีพุทธศักราช 2496
ปีพุทธศักราช 2490 ได้เข้ารับราชการเป็นครูตรี ที่โรงเรียนเพาะช่างจนถึงปีพุทธศักราช 2496
ปีพทธศักราช 2496 ย้ายไปสอนที่โรงเรียนอุเทนถวาย สอนอยู่ได้ไม่กี่เดือน ทางวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ ทุ่งมหาเมฆ ได้ขอย้ายให้เข้าสอนประจำที่แผนกวิชาช่างภาพ สอนนักศึกษาช่างภาพตั้งแต่รุ่นแรก จนถึงปีพุทธศักราช 2525 (ปีที่กรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี) ครบเกษียณอายุราชการ สอนในแผนกวิชาช่างภาพรวม 27 ปี ตำแหน่งสุดท้ายคือหัวหน้าคณะวิชาช่างพิมพ์-ช่างภาพ
ปีพทธศักราช 2496 ย้ายไปสอนที่โรงเรียนอุเทนถวาย สอนอยู่ได้ไม่กี่เดือน ทางวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ ทุ่งมหาเมฆ ได้ขอย้ายให้เข้าสอนประจำที่แผนกวิชาช่างภาพ สอนนักศึกษาช่างภาพตั้งแต่รุ่นแรก จนถึงปีพุทธศักราช 2525 (ปีที่กรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี) ครบเกษียณอายุราชการ สอนในแผนกวิชาช่างภาพรวม 27 ปี ตำแหน่งสุดท้ายคือหัวหน้าคณะวิชาช่างพิมพ์-ช่างภาพ

มีวาทะของศาสตราจารย์ พูน เกษจำรัส ที่ท่านเคยกล่าวไว้มีประโยคหนึ่งว่า "งานศิลปะมิใช่มีไว้เพื่อความงามแต่อย่างเดียวก็หาไม่ หากแต่มีไว้เพื่อนำไปใช้จรรโลงสังคมและประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้เป็นอย่างดีอีกด้วย"

ศิลปะภาพถ่าย (Photography) ได้รับการยกย่องว่าเป็นงานวิจิตรศิลป์ (Fine Arts) สาขาหนึ่ง ด้วยความสำคัญข้อนี้ บรรดานักถ่ายภาพที่มีผลงานสร้างสรรค์ศิลปะภาพถ่าย จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นศิลปินช่างภาพ (Artist Photographer) เช่นเดียวกับศิลปินในงานวิจิตรศิลป์สาขาอื่น ๆ ด้วย ดังนั้น สิทธิในการจรรโลงสังคมและประเทศชาติจึงย่อมจะไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:38, 22 พฤษภาคม 2550

ไฟล์:พูน.jpg
ศาสตราจารย์ พูน เกษจำรัส

ศาสตราจารย์ พูน เกษจำรัส (15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464 - 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2540) เป็นชาวเพชรบุรีโดยกำเนิด ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพถ่ายศิลปะ) เมื่อ ปี พ.ศ. 2531

ประวัติ

ศาสตราจารย์พูน เกษจำรัส เกิดวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2464 ณ ตำบลหนองโสน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เป็นบุตรของนายดี และนางเนื่อง เกษจำรัส สมรสกับนางสาวสุดา วงศ์ขจรสุข ชาวกรุงเทพฯ มีบุตรชาย 2 คน บุตรสาว 4 คน

การศึกษา

ศาสตราจารย์พูน เกษจำรัสเริ่มเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนประชาบาลวัดสิงห์ ตำบลหนองโสน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เข้าศึกษาต่อในชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัดคงคาราม อันเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปีพุทธศักราช 2482 แล้วเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เข้ารับการศึกษาต่อที่โรงเรียนเพาะช่าง ได้วุฒิ ปปช. และ วท. ในปีพุทธศักราช 2485 หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นนักศึกษารุ่นแรก (นักศึกษาคนแรกของมหาวิทยาลัยศิลปากร-นักศึกษาเลขประจำหมายเลข ๑) สำเร็จการศึกษาวุฒิอนุปริญญาศิลปบัณฑิต สาขาจิตรกรรมและประติมากรรม (การศึกษาชั้นสูงสุดในขณะนั้น)

การทำงาน

ปีพุทธศักราช 2490 ได้เข้ารับราชการเป็นครูตรี ที่โรงเรียนเพาะช่างจนถึงปีพุทธศักราช 2496 ปีพทธศักราช 2496 ย้ายไปสอนที่โรงเรียนอุเทนถวาย สอนอยู่ได้ไม่กี่เดือน ทางวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ ทุ่งมหาเมฆ ได้ขอย้ายให้เข้าสอนประจำที่แผนกวิชาช่างภาพ สอนนักศึกษาช่างภาพตั้งแต่รุ่นแรก จนถึงปีพุทธศักราช 2525 (ปีที่กรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี) ครบเกษียณอายุราชการ สอนในแผนกวิชาช่างภาพรวม 27 ปี ตำแหน่งสุดท้ายคือหัวหน้าคณะวิชาช่างพิมพ์-ช่างภาพ

มีวาทะของศาสตราจารย์ พูน เกษจำรัส ที่ท่านเคยกล่าวไว้มีประโยคหนึ่งว่า "งานศิลปะมิใช่มีไว้เพื่อความงามแต่อย่างเดียวก็หาไม่ หากแต่มีไว้เพื่อนำไปใช้จรรโลงสังคมและประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้เป็นอย่างดีอีกด้วย"

ศิลปะภาพถ่าย (Photography) ได้รับการยกย่องว่าเป็นงานวิจิตรศิลป์ (Fine Arts) สาขาหนึ่ง ด้วยความสำคัญข้อนี้ บรรดานักถ่ายภาพที่มีผลงานสร้างสรรค์ศิลปะภาพถ่าย จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นศิลปินช่างภาพ (Artist Photographer) เช่นเดียวกับศิลปินในงานวิจิตรศิลป์สาขาอื่น ๆ ด้วย ดังนั้น สิทธิในการจรรโลงสังคมและประเทศชาติจึงย่อมจะไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน

อ้างอิง

  • http://www.rmutk.ac.th/photograph/Photo_5.html
  • หนังสือร่มไผ่ อนุสรณ์งานช่างภาพสัมพันธ์ ครั้งที่ 7 ณ แผนกวิชาช่างภาพ วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2526