ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โทรทัศน์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Oilcon (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มเติมหลักการทำงานของโทรศัทน์
Oilcon (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มเติมหลักการทำงานของโทรศัทน์
บรรทัด 126: บรรทัด 126:


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
<ref> http://www.rmutphysics.com/physics/oldfront/TV/television.htm</ref>
<ref> http://dictionary.sanook.com/search/dict-th-th-royal-institute/%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C</ref>
<ref> ประเทศไทย, “ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา,” ดิจิทัล, ๒๕ เมษายน ๒๕๕๐ http://www.ceted.org</ref>
<ref> http://www.thaitelecomkm.org/TTE/topic/attach/Television_Broadcasting/index.php</ref>

{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:46, 19 ตุลาคม 2557

เครื่องรับโทรทัศน์ Braun HF 1 จากเยอรมนี สมัยปี พ.ศ. 2501

โทรทัศน์ เป็นระบบโทรคมนาคมสำหรับการกระจายและรับภาพเคลื่อนไหวและเสียงระยะไกล คำนี้ยังหมายถึงรายการโทรทัศน์และการแพร่ภาพอีกด้วย คำว่าโทรทัศน์ในภาษาไทย มีที่มาจากคำในภาษาอังกฤษ คือ television ซึ่งเป็นคำผสมจากคำกรีก tele- ("ระยะไกล" — โทร-) และ -vision ที่มาจากภาษาละติน visio ("การมองเห็น" — ทัศน์) มักเรียกย่อเป็น TV (ทีวี)

เครื่องรับโทรทัศนขาว-ดำเครื่องแรกของโลก สร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2468 โดยเป็นผลงานการประดิษฐ์ของจอห์น ลอกกี้ เบรียด ชาวสกอตแลนด์[1]

ตัวเลขที่ถูกบังคับให้ส่งคลื่น

  • VHF มีจำนวน 12 ช่อง คือ ช่อง 1-12 บางกรณีอาจถึง 13 ช่อง คือจนถึงช่อง 13 นั้นเอง (บางครั้งก็ใช้ตัวอักษรโรมัน เรียกการส่งคลื่นในบางประเทศ)
  • UHF มีจำนวน 72 ช่อง คือ ช่อง 13-84 บางกรณีอาจเริ่มตั้งแต่ช่อง 14 เพราะฉะนั้นมาตรฐานอาจจะเหลือเป็น 71 ช่อง

ทั้งนี้ บางประเทศอาจส่งโทรทัศน์มากกว่ามาตรฐานก็ว่าได้ ยกตัวอย่างเช่น มีบางประเทศอาจจะส่งโทรทัศน์ในระบบวีเอชเอฟตั้งแต่ช่อง 1 ถึงช่อง 18 และระบบยูเอชเอฟตั้งแต่ช่อง 19 ถึงช่อง 72 เป็นต้น และระบบทั้ง 2 เป็นช่องส่งสัญญาณโทรทัศน์ที่กำหนดได้แน่นอนที่สุด แม้จะออกอากาศโดยใช้เสาอากาศภาคพื้นดิน

คลื่นความถี่ส่ง

แบ่งเป็น 3 ประเภทดังนี้

ประเภทเครื่องส่งกับเสาอากาศภาคพื้นดิน

ประเภทเครื่องส่งกับดาวเทียม

ประเภทอื่น

ประเภทของเครื่องรับโทรทัศน์

ขนาดภาพของโทรทัศน์ส่วนใหญ่ที่ส่งมาตามบ้านมักจะมีขนาดเล็กมากกว่าจอเครื่องรับโทรทัศน์ทั่วไป ขนาดของโทรทัศน์ที่แสดงในตารางเป็นขนาดอย่างน้อยที่สุดที่ภาพจะไม่ถูกบีบอัดให้เล็กลง โดยทั่วไปมักใช้ SDTV ที่ภาพมีขนาดพอดีกับ 8 นิ้วแต่ภาพก็จะมาถูกขยายให้ใหญ่เท่ากับขนาดของเครื่องรับโทรทัศน์ที่อยู่ตามบ้านซึ่งอาจอยู่ที่ 14-28 นิ้ว ส่วนเครื่องรับโทรทัศน์ตั้งแต่แบบ HDTV ขึ้นไปจะเป็นการส่งสัญญาณภาพที่มีขนาดใหญ่มากกว่าเพื่อความชัดของภาพ และโดยทั่วไปมักใช้เครื่องรับโทรทัศน์ขนาด 32 นิ้วขึ้นไปในการรับชมแบบความละเอียดสูง ถ้าเครื่องรับโทรทัศน์ตามบ้านมีขนาดเล็กกว่าขนาดของภาพที่ส่งมา ภาพก็จะถูกบีบอัดให้เล็กลงตามขนาดของเครื่องรับโทรทัศน์

ชื่อ ขนาด อัตราส่วน อักษรย่อ
โทรทัศน์ความละเอียดต่ำ 320 × 240 4 : 3 LDTV (240p)
โทรทัศน์ความละเอียดมาตรฐาน 640 × 480 4 : 3 SDTV (480p)
โทรทัศน์ความละเอียดมาตรฐาน (ภาพกว้าง) 1024 × 576 9 : 16 EDTV (576p)
โทรทัศน์ความละเอียดสูง (ภาพกว้าง) 1920 × 1080 16 : 9 HDTV (1080p)
โทรทัศน์ความละเอียดสูงมาก (ภาพกว้าง) 2560 × 1440 16 : 9 EHDTV (1440p)
โทรทัศน์ความละเอียดสูงยิ่ง (4k) (ภาพกว้าง) 3840 × 2160 16 : 9 QHDTV (2160p)
โทรทัศน์ความละเอียดสูงยิ่งยวด (8k) (ภาพกว้าง) 7680 × 4320 16 : 9 UHDTV (4320p)
  • โทรทัศน์ความละเอียดต่ำ จะใช้ส่งเฉพาะในโทรศัพท์เคลื่อนที่เท่านั้น
  • โทรทัศน์ความละเอียดสูงมาก จะไม่มีการใช้ โดยในอนาคตจะข้ามไปใช้โทรทัศน์ 4k แทนและมักเป็นความละเอียดสำหรับสื่อบนอินเทอร์เน็ตเท่านั้น
  • โทรทัศน์ 4k เริ่มทดลองออกอากาศที่ประเทศญี่ปุ่นในปี 2012 และเริ่มแพร่ภาพครั้งแรกที่ มหกรรมฟุตบอลโลก 2014 ที่ประเทศบราซิล
  • โทรทัศน์ 8k เริ่มทดลองออกอากาศที่ประเทศญี่ปุ่นในปี 2016 และเริ่มแพร่ภาพครั้งแรกที่ มหกรรมกีฬาโอลิมปิก 2020 ที่ประเทศญี่ปุ่นเช่นเดียวกัน

การจัดเวลาออกอากาศ

ประเทศต่างๆ ที่มีเขตเวลาของประเทศเพียงเขตเดียวจะแจ้งเวลาออกอากาศเพียง 1 เวลาตามปกติเท่านั้น เช่น ในประเทศไทย ส่วนประเทศที่มีขนาดใหญ่มากและมีเขตเวลาหลายเขตจะแจ้งเวลาในการออกอากาศของรายการโทรทัศน์ต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา มีช่วงแบ่งเขตเวลาหลักๆ ในประเทศทั้งหมด 4 เขตหลัก กับอีก 4 เขตย่อยและจะนับทางซ้ายสุดของประเทศเป็นเขตที่ 1 ตามมาด้วยจนถึงด้านขวาสุดเป็นเขตที่ 4 โดยในโทรทัศน์จะทำการแจ้งเวลาที่ 2 เขตตรงกลาง คือ เขตที่ 2 และ 3 ของประเทศเท่านั้น ส่วนที่เหลือผู้ชมจะต้องบวกลบเวลากันเอาเอง ซึ่งรายการได้ฉายพร้อมกันทั้งประเทศจะแจ้งเวลาดังนี้

8/7 Central หมายถึง 16:00 (4 pm) นาฬิกาตรงเขตย่อยที่ 1 ของประเทศ (Hawaii Time)
8/7 Central หมายถึง 17:00 (5 pm) นาฬิกาตรงเขตย่อยที่ 2 ของประเทศ (Alaska Time)
  • 8/7 Central หมายถึง 18:00 (6 pm) นาฬิกาตรงเขตหลักที่ 1 ของประเทศ (Pacific Time)
  • 8/7 Central หมายถึง 19:00 (7 pm) นาฬิกาตรงเขตหลักที่ 2 ของประเทศ (Mountain Time)
  • 8/7 Central หมายถึง 20:00 (8 pm) นาฬิกาตรงเขตหลักที่ 3 ของประเทศ (Central Time)
  • 8/7 Central หมายถึง 21:00 (9 pm) นาฬิกาตรงเขตหลักที่ 4 ของประเทศ (Eastern Time)
8/7 Central หมายถึง 22:00 (10 pm) นาฬิกาตรงเขตย่อยที่ 3 ของประเทศ (Atlantic Time)
8/7 Central หมายถึง 22:30 (10:30 pm) นาฬิกาตรงเขตย่อยที่ 4 ของประเทศ (Newfoundland Time)

เพราะฉะนั้นถ้าแจ้งเวลามาเป็น 8/7 Central ทางด้านซ้ายสุดของประเทศจะได้รับชมในเวลา 18:00 (6 pm) นาฬิกา (เขตเวลาการออกอากาศของสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่นับแค่ 48 รัฐในแผ่นดินใหญ่ซึ่งผนวกเวลาในส่วนของ Atlantic Time กับ Newfoundland Time เข้าไปไว้กับ Eastern Time และไม่นับรวม Hawaii Time กับ Alaska Time ที่จะห่างออกไปอีก 1-2 ชั่วโมง) แต่โดยส่วนมากแล้วถ้าฉายพร้อมกันทั้งประเทศจะทำให้บางเขตไม่เหมาะสมและตรงกับในช่วงเวลาตอนเย็นหรือเวลาทำงาน ฉะนั้นอีกครึ่งประเทศทางด้านซ้าย 2 ส่วนโดยส่วนมากจะได้รับชมช้ากว่าครึ่งประเทศทางด้านขวา 1-2 ชั่วโมงเพื่อให้ตรงกับเวลาที่ผู้คนเลิกงานแล้ว โดยจะถูกจัดการตารางโดย Affiliate หรือสถานีย่อยเพื่อความเหมาะสม

ดูเพิ่ม

โทรทัศน์แบ่งได้เป็น 2 ระบบ คือ

1. การแพร่ภาพและเสียงในระบบวงจรเปิด (Open-Circuit Television หรือ Broadcasting Television) ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ระบบย่อย คือ 1.1 ระบบ VHF (Very High Frequency) ใช้ในการแพร่ภาพของสถานีโทรทัศน์เพื่อความบันเทิงและการค้า 1.2 ระบบ UHF (Ultra High Frequency) ใช้ในการแพร่ภาพของสถานีโทรทัศน์ที่มิใช่เพื่อการค้าและสถานีที่ส่งตามสายเคเบิลนั่นเอง 2. การแพร่ภาพและเสียงในระบบวงจรปิด (Closed-Circuit Television: CCTV) เป็นการแพร่ภาพและเสียงไปตามสายแทนการออกอากาศ เช่น โทรทัศน์วงจรปิดที่ใช้ในมหาวิทยาลัย ประเภทของโทรทัศน์ มี 2 ประเภท คือ 1) โทรทัศน์อนาล็อก (Analog Television) เป็นโทรทัศน์ที่มีระบบการรับ- ส่งสัญญาณภาพและเสียงในรูปสัญญาณอนาล็อกแบบ A.M. และ F.M. โดยมีการส่งเป็นสัญญาณแพร่กระจายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นการผสมคลื่นแบบ Vestigial Sideband (VSB) เป็นสัญญาณโทรทัศน์ที่มีการใช้งานทั่วไป

2) โทรทัศน์ดิจิตอล (Digital Television) เป็นโทรทัศน์ที่มีระบบการรับ – ส่งสัญญาณภาพและเสียงที่มีการพัฒนามาจากโทรทัศน์อนาล็อกมีระบบการส่งสัญญาณภาพและเสียงแบบดิจิตอลคือส่งข้อมูลเป็นบิต การส่งข้อมูลแบบนี้สามารถส่งข้อมูลได้มากกว่าแบบอนาล็อก เป็นการผสมคลื่นแบบ COFDM โดยในหนึ่งช่องสัญญาณสามารถนำมาส่งได้หลายๆรายการโทรทัศน์ (Program) การส่งสัญญาณเป็นแบบดิจิตอลจึงทำให้ได้คุณภาพของภาพและเสียงดีกว่าด้วย

หลักการแพร่ภาพของโทรทัศน์

การมองเห็นภาพเคลื่อนไหวเกิดจากการที่ตามนุษย์เห็นภาพนิ่งที่มีความแตกต่างกันเล็กน้อยซ้อนๆเรียงๆกันตั้งแต่ 16 ภาพต่อวินาทีขึ้นไป จึงจะทำให้สายตาของคนจับการเปลี่ยนแปลงของภาพไม่ทัน จึงเกิดลักษณะการมองเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวได้ จากหลักการดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้ในการแพร่ภาพโทรทัศน์ เนื่องจากการแพร่ภาพคือการส่งภาพและเสียงออกไปในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นสัญญาณโทรทัศน์เพื่อให้เครื่องรับสามารถรับภาพและเสียงได้อย่างต่อเนื่องและเคลื่อนไหว

     	หลักในการแพร่ภาพคือ การส่งสัญญาณภาพในรูปสัญญาณ เอ.เอ็ม.(AM) ผสมคลื่นแบบ Vestigial Sideband และผสมสัญญาณเสียงในรูปสัญญาณ เอฟ.เอ็ม.(FM)โดยที่เครื่องส่งจะทำการเปลี่ยนภาพที่อยู่ในรูปพลังงานแสงให้เป็นพลังงานทางไฟฟ้า (Video Signal-สัญญาณภาพ) แล้วทำการขยายให้มีกำลังมากขึ้น จากนั้นจึงนำไปผสมสัญญาณกับสัญญาณวิทยุและสัญญาณซิงโครไนซ์ แล้วแพร่กระจายออกสู่อากาศในรูปของแม่เหล็กไฟฟ้า สัญญาณที่แพร่ออกไปถึงเครื่องรับโทรทัศน์จะทำการแยกสัญญาณภาพที่ผสมมากับสัญญาณวิทยุ และสัญญาณซิงโครไนซ์ให้กลายเป็นภาพปรากฏที่หน้าจอเครื่องรับโทรทัศน์ โดยการที่เครื่องรับและเครื่องส่งจะทำงานตรงจังหวะกันได้นั้นเกิดจากสัญญาณซิงโครไนซ์ที่ได้ทำการผสมสัญญาณเข้ากับสัญญาณภาพ และสัญญาณวิทยุก่อนส่งเพราะสัญญาณ ซิงโครไนซ์เป็นสัญญาณที่ทำให้การสแกนเป็นไปอย่างถูกต้องทั้งในแนวตั้งและแนวนอน
Manita

ภาพโทรทัศน์ที่บันทึกไว้หรือแสดงออกทางหน้าจอจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนเล็ก ๆ เรียกว่า จุดภาพ(Dot) หรือพิกเซล (Pixel) ซึ่งพิกเซลเหล่านี้จะถูกเปลี่ยนจากข้อมูลแสง (ความสว่างของภาพ) ให้เป็นค่าทางไฟฟ้าที่เป็นสัญญาณภาพ และแทนสีแดง(R) สีเขียว (G) สีน้ำเงิน (B) ที่เกิดเป็นภาพ โดยการใช้ลำแสงสแกนตามแนวนอนทีละเส้น จากด้านซ้ายไปด้านขวาและจากด้านบนลงด้านล่าง สัญญาณไฟฟ้าที่ได้จะส่งไปแสดงผลที่เครื่องรับทีละเส้นแบบเส้นต่อเส้น ซึ่งเครื่องรับจะใช้สัญญาณภาพเป็นสัญญาณควบคุมลำอิเล็กตรอนเพื่อเขียนภาพที่หน้าจอเครื่องรับโทรทัศน์ตามภาพที่ส่งมานั้น

การส่งสัญญาณโทรทัศน์

1) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดิน

      เป็นการแพร่กระจายคลื่นสัญญาณไปในอากาศเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อติดตั้งเสาอากาศแล้วต่อสายนำสัญญาณเข้าเครื่องรับก็สามารถรับสัญญาณโทรทัศน์จากสถานีส่งได้ การส่งสัญญาณด้วยคลื่นวิทยุส่งได้ในช่วงความถี่ 30- 300MHz จะเป็นช่วงของ Very high Frequency (VHF) และช่วงความถี่ 300 - 3000 MHz จะเป็นช่วงของ Ultra high Frequency (UHF)

2) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านช่องนำสัญญาณ

     เป็นการส่งสัญญาณไปตามสายนำสัญญาณหรือสายเคเบิลไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ ซึ่งเป็นการติดต่อโดยตรงระหว่างสถานีส่งกับผู้รับสัญญาณ การส่งสัญญาณด้วยสายนำสัญญาณแบ่งออกเป็น
     2.1) เคเบิลโทรทัศน์ชุมชน 
     2.2) ระบบเสาอากาศโทรทัศน์ชุมชน
     2.3) ระบบเสาอากาศชุดเดียว

3) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม

     เป็นการส่งสัญญาณโทรทัศน์โดยผ่านดาวเทียมซึ่งใช้คลื่นไมโครเวฟเป็นตัวกลางในการส่งสัญญาณ

4) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านอินเตอร์เน็ต

     เป็นการส่งสัญญาณโทรทัศน์โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต www สามารถเปิดใช้งานและรับชมได้ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อผ่านระบบเครือข่ายเนตเวิร์ก (Network) แต่อาจจะมีการล่าช้าหรือติดขัดขณะส่งสัญญาณเนื่องจากเครือข่ายไม่เสถียรก็เป็นได้

หลักการทํางานของโทรทัศน์

หลักการทํางานของโทรทัศน์

หลักการทำงานของโทรทัศน์ ก็อยากอธิบายแบบง่ายๆ ว่า โทรทัศน์จะมีการส่งสัญญาณ ภาพและเสียงมาด้วยกัน (แต่แยกความถี่ของการส่งที่ต่างกัน) โดยเมื่อมาถึงเครื่องรับ สัญญาณดังกล่าวจะถูกแยกไป โดยสัญญาณของเสียงก็จะไปเข้าที่ภาครับเสียง เพื่อทำการปรับแต่ง ลด และขยายสัญญาณให้มีความเหมาะสม ส่วนสัญญาณภาพจะถูกนำไป ทำการปรับแต่งด้วยเช่นกัน เช่นสัญญาณสี และส่งต่อไปยังภาคขยายโดยการควบคุม ขนาดของภาพให้มีความเหมาะสม โดยการส่งเข้าหน้าจอภาพนั้นจะใช้หลักการของการ ควบคุมภาพตามแนวตั้งและแนวนอน เพื่อให้เกิดการเบี่ยงเบนของลำแสงอิเล็กตรอน เพื่อให้เกิดภาพที่หน้าจอ โดยในแต่ละขั้นตอนและกระบวนการจะถูกควบคุมด้วยแหล่ง จ่ายไฟเพื่อให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำงานได้


อ้างอิง

[2] [3] [4] [5]

  1. "World Analogue Television Standards and Waveforms - section - Timeline". Histrorical television data 2011. สืบค้นเมื่อ 29 January 2011.
  2. http://www.rmutphysics.com/physics/oldfront/TV/television.htm
  3. http://dictionary.sanook.com/search/dict-th-th-royal-institute/%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C
  4.  ประเทศไทย, “ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา,” ดิจิทัล, ๒๕ เมษายน ๒๕๕๐ http://www.ceted.org
  5. http://www.thaitelecomkm.org/TTE/topic/attach/Television_Broadcasting/index.php

หนังสืออ่านเพิ่ม

  • Albert Abramson, The History of Television, 1942 to 2000, Jefferson, NC, and London, McFarland, 2003, ISBN 0-7864-1220-8.
  • Pierre Bourdieu, On Television, The New Press, 2001.
  • Tim Brooks and Earle March, The Complete Guide to Prime Time Network and Cable TV Shows, 8th ed., Ballantine, 2002.
  • Jacques Derrida and Bernard Stiegler, Echographies of Television, Polity Press, 2002.
  • David E. Fisher and Marshall J. Fisher, Tube: the Invention of Television, Counterpoint, Washington, DC, 1996, ISBN 1-887178-17-1.
  • Steven Johnson, Everything Bad is Good for You: How Today's Popular Culture Is Actually Making Us Smarter, New York, Riverhead (Penguin), 2005, 2006, ISBN 1-59448-194-6.
  • Jerry Mander, Four Arguments for the Elimination of Television, Perennial, 1978.
  • Jerry Mander, In the Absence of the Sacred, Sierra Club Books, 1992, ISBN 0-87156-509-9.
  • Neil Postman, Amusing Ourselves to Death: Public Discourse in the Age of Show Business, New York, Penguin US, 1985, ISBN 0-670-80454-1.
  • Evan I. Schwartz, The Last Lone Inventor: A Tale of Genius, Deceit, and the Birth of Television, New York, Harper Paperbacks, 2003, ISBN 0-06-093559-6.
  • Beretta E. Smith-Shomade, Shaded Lives: African-American Women and Television, Rutgers University Press, 2002.
  • Alan Taylor, We, the Media: Pedagogic Intrusions into US Mainstream Film and Television News Broadcasting Rhetoric, Peter Lang, 2005, ISBN 3-631-51852-8.

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA