ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กมล สุโกศล แคลปป์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kurino (คุย | ส่วนร่วม)
Kurino (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13: บรรทัด 13:
| spouse =
| spouse =
| othername =
| othername =
| occupation = นักดนตรี นักธุรกิจ พิธีกร
| occupation = นักดนตรี นักธุรกิจ พิธีกร นักแต่งเพลง
| yearsactive =
| yearsactive =
| notable role =
| notable role =
| เครื่องดนตรี = [[กีตาร์]], คีย์บอร์ด <ref>[http://www.webcitation.org/query?id=1256533474005344&url=www.geocities.com/pru_pru_pru_pru/profile.html Pru fansite]</ref>
| เครื่องดนตรี = [[กีตาร์]], คีย์บอร์ด <ref>[http://www.webcitation.org/query?id=1256533474005344&url=www.geocities.com/pru_pru_pru_pru/profile.html Pru fansite]</ref>
| แนวเพลง = [[ร็อก]]
| แนวเพลง = [[ร็อก]] , [[อีดีเอ็ม]]
| ค่าย = [[เบเกอรี่ มิวสิค]] Sukosol Entertainment
| ค่าย =
| ส่วนเกี่ยวข้อง = [[พรู]]
| ส่วนเกี่ยวข้อง = [[พรู]]
| homepage =
| homepage =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:22, 11 ตุลาคม 2557

กมล สุโกศล แคลปป์
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512 (54 ปี)
กมล สุโกศล แคลปป์
อาชีพนักดนตรี นักธุรกิจ พิธีกร นักแต่งเพลง
สังกัดเบเกอรี่ มิวสิค Sukosol Entertainment

กมล สุโกศล แคลปป์ (สุกี้) เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512 เป็นนักดนตรีชาวไทย นักกีตาร์วงพรู และเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งเบเกอรี่มิวสิก และเลิฟอีส

ประวัติ

กมล สุโกศล แคลปป์ เป็น บุตรคนที่สามของ กมลา สุโกศล แคลปป์ กับ Terrence H. Clapp ชื่อ "กมล" ตั้งตามชื่อของคุณตา คือ กมล สุโกศล นักธุรกิจผู้ก่อตั้งกลุ่มธุรกิจ"กมล สุโกศล" [1] ศึกษาระดับปริญญาตรีสาขา Liberal Art เอกปรัชญา จาก Music Technology New York University U.S.A. และเรียนเสริมด้าน sound engineer ที่ นิวยอร์ก เริ่มทำงานห้องอัดที่อเมริกา กลับมาก่อตั้งค่ายเพลง เบเกอรี่มิวสิก ร่วมกับ บอย โกสิยพงษ์ สมเกียรติ อริยชัยพาณิชย์ และสาลินี ปันยารชุน ต่อมาเกิดวิกฤตเศรษฐกิจจะกดดันให้ต้องเปิดให้ BMG (Bertelsmann Music Group) เข้ามาร่วมทุน และต่อมาปลายปี 2547 โซนี่เข้าซื้อกิจการของ BMG ทั่วโลกรวมถึงในไทย นั่นทำให้ Bakery กลายเป็นสังกัดย่อยของโซนี่ บีเอ็มจี กมลจึงลาออกจากเบเกอรี่ มาตั้งค่ายเพลงใหมชื่อเลิฟอีส[2]

กมลทำรายการที่ชื่อว่า "ซิ่งล่าฝันปี 1" เป็นเรียลลิตี้โชว์ที่เดินทางไปยังประเทศต่าง ๆ ด้วยมอเตอร์ไซค์ และจากเสียงตอบรับที่ดีจึงมี รายการ"ดรีมเชสเซอร์ ซิ่งล่าฝันปีที่ 2" ออกฉายที่ช่อง 3 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551[3]

ทางด้านชีวิตส่วนตัว กมล สุโกศล แคลปป์ มีพี่สาว 2 คนชื่อ มาริสาและดารณี มีน้องชายคือ กฤษดา สุโกศล แคลปป์ [1]มีลูกชาย 1 คนคือ ดีโน่ (เดชจุฑา วากเนอร์ แคลปป์) [1]

การกลับเข้าสู่วงการเพลง

หลังห่างหายจากวงการเพลงไปนานถึง 9 ปี โดยสุกี้ กลับมาสู่วงการเพลงอีกครั้งพร้อมโปรเจ็กต์ยักษ์ MONEY DISCO BOY (มังกี้ ดิสโก้ บอย) หรือ M.D.B คว้าศิลปินแถวหน้าของเมืองไทยมาร่วมกันปฏิวัติวงการเพลงไทย แนวเพลงดิสโก้หรืออีดีเอ็ม (Electronics Dance Music) ซึ่งเริ่มต้นด้วยจุดกำเนิดของมังกี้ดิสโก้บอย มนุษย์จากดาวเรฟ (Rave) ที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายลิง ออกแบบโดย อเล็กซ์ เฟส ศิลปินกราฟฟิตี้ชื่อดัง มีความพิเศษตรงที่มนุษย์จากดาวดวงนี้จะมีดนตรีอีดีเอ็มเป็นพลังชีวิต คลอดผลงานใหม่ในนามค่ายเลเซอร์เฟส ภายใต้การดูแลของวอร์เนอร์มิวสิค ไทยแลนด์

สำหรับในโปรเจ็กต์ MONKEY DISCO BOY มีศิลปินมากมายภายในโปรเจ็คได้แก่ ธนชัย อุชชิน (ป๊อด โมเดิร์นด็อก), อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข (แสตมป์), กษิดิศ สำเนียง (จีน) , บุรินทร์ บุญวิสุทธิ์, เบน ชลาทิศ (เบน), กฤษดา สุโกศล แคลปป์ (น้อย วงพรู) , ริค วชิรปิลันธิ์ (ริค) และศิลปินน้องใหม่ไฟแรงที่แจ้งเกิดจากโซเซี่ยลเน็ตเวิร์ค "บูม บูม แคช" (Boom Boom Cash)[4]

โดยสุกี้ใช้เวลาทั้งหมด 14 เดือนเพื่อสร้างสรรค์เพลงออกมา 24 เพลง จาก 24 เลือกเพลง 9 เพลงเท่านั้นเข้ามาในโปรเจค[5]

รายชื่อเพลงภายในโปรเจ็ค

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 กมล สุโกศล แคลปป์, Bakery & I : ชีวิต ดนตรี และเบเกอรี่ ผ่านสายตาของสุกี้, สำนักพิมพ์ a book, พ.ศ. 2550, 320 หน้า, ISBN 978-974-7291-19-3'
  2. กมล สุโกศล แคลปป์ “Back To Indy” Positioning Magazine พฤศจิกายน 2548
  3. ซิ่งล่าฝันซีซั่น2 กับ สุกี้-กมลสุโกศล แคลปป์ ข่าววันที่ 2 มิถุนายน 2551 แหล่งข่าวจาก สยามรัฐ
  4. สุกี้ คว้าศิลปินแถวหน้าร่วมโปรเจ็กต์ MONKEY DISCO BOY
  5. Deezer : Monkey Disco Boy ผลงานเพลงแนว EDM โดย ” สุกี้ “
  6. [http://www.youtube.com/watch?v=GAmQ4NU0e-w&list=UUjKQw6u1VunUG5oqxGY5Ruw&index=5 ชมเพลง Forever Young - Sukie feat. BOOM BOOM CASH
  7. ชมเพลง รักรอที่ฟลอร์เต้นรำ (Gay Night) - Sukie feat. เบน ชลาทิศ ตันติวุฒิ [Official Audio
  8. When We Were Young - Sukie feat. แสตมป์ อภิวัชร์ เอื้อถาวรวสุข [Official Audio]
  9. ชมเพลง ปรารถนา (Desire) - Sukie feat. ป๊อด ธนชัย อุชชิน [Official Audio
  10. ชมเพลง สุดท้าย (Last Chance) - Sukie feat. บุรินทร์ บุญวิสุทธิ์ [Official Audio]