ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 226: บรรทัด 226:
*****'''นายศิริมงคล สิงห์รุณ''' (มาร์ค)
*****'''นายศิริมงคล สิงห์รุณ''' (มาร์ค)
****'''นายอารีย์ รามางกูร''' (ชายแดน)
****'''นายอารีย์ รามางกูร''' (ชายแดน)
***'''อาชญาท้าว พระบำรุง''' (เทพพะจิตต์ บุคคละ) ชาวเวียงจันทน์ (เกิดแต่อัญญานางแก้วปัพพาร)
***'''อาชญาท้าว พระบำรุงพนมเจดีย์''' (เทพพะจิตต์ บุคคละ) ชาวเวียงจันทน์ (เกิดแต่อัญญานางแก้วปัพพาร)
***'''อาชญาท้าว โพธิสารพินิต''' (อินวงษ์ บุคคละ) ชาวเวียงจันทน์ (เกิดแต่อัญญานางสีสุข)
***'''อาชญาท้าว โพธิสารพินิต''' (อินวงษ์ บุคคละ) ชาวเวียงจันทน์ (เกิดแต่อัญญานางสีสุข)
***'''อาชญาท้าว คำพรหม บุคคละ''' ชาวเวียงจันทน์ (เกิดแต่นางชาวลาว)
***'''อาชญาท้าว คำพรหม บุคคละ''' ชาวเวียงจันทน์ (เกิดแต่นางชาวลาว)
บรรทัด 233: บรรทัด 233:
***'''อาชญานาง ข่ายคำ บุคคละ''' ชาวเวียงจันทน์ (เกิดแต่นางชาวลาว)
***'''อาชญานาง ข่ายคำ บุคคละ''' ชาวเวียงจันทน์ (เกิดแต่นางชาวลาว)
**'''อาชญาเจ้า จารย์พุทธา''' (พุทธา บุคคละ) เกิดแต่อาชญาเจ้าแม่โซ่น นางบุษดี
**'''อาชญาเจ้า จารย์พุทธา''' (พุทธา บุคคละ) เกิดแต่อาชญาเจ้าแม่โซ่น นางบุษดี
***'''อาชญาท้าว กง รามางกูร'''
**'''อาชญาเจ้า พระอุปฮาซา''' (เฮือง รามางกูร, นายฮ้อยเฮือง) เกิดแต่อาชญาเจ้าแม่โซ่น นางบุษดี
**'''อาชญาเจ้า พระอุปฮาซา''' (เฮือง รามางกูร, นายฮ้อยเฮือง) เกิดแต่อาชญาเจ้าแม่โซ่น นางบุษดี
***'''นายดวง บุคคละ''' (มหาดวง รามางกูร)
***'''ร้อยตำรวจตรีประดิษฐ์ บุคคละ''' (ประดิษฐ์ รามางกูร)
****'''นายประดับ บุคคละ''' (ดร. วีรพงษ์ รามางกูร (โกร่ง))
**'''อาชญาเจ้า พรหมบุตร์''' (เที่ยง รามางกูร, นายฮ้อยพรหมบุตร) เกิดแต่อาชญาเจ้าแม่โซ่น นางบุษดี
**'''อาชญาเจ้า พรหมบุตร์''' (เที่ยง รามางกูร, นายฮ้อยพรหมบุตร) เกิดแต่อาชญาเจ้าแม่โซ่น นางบุษดี
**'''อาชญาเจ้า คำผิว''' (ท้าวผิว บุคคละ, พิราลัยเมื่อยังหนุ่ม) เกิดแต่อาชญาเจ้าแม่โซ่น นางบุษดี
**'''อาชญาเจ้า คำผิว''' (ท้าวผิว บุคคละ, พิราลัยเมื่อยังหนุ่ม) เกิดแต่อาชญาเจ้าแม่โซ่น นางบุษดี

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:03, 9 ตุลาคม 2557

อาชญาเจ้า ขุนรามราชรามางกูร (อักษรโรมัน: Arjjaya Chao Khun Rammarajaramangkura; ราวพุทธศักราช 2300–ราวพุทธศักราช 2400) ทรงเป็นต้นตระกูล รามางกูร (Ramangkura) แห่งอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ทรงเป็นเจ้าเมืองพนมหรือเจ้าเมืองธาตุพนมพระองค์แรกจากราชวงศ์เวียงจันทน์ ในราชอาณาจักรศรีสัตนาคนหุตล้านช้างเวียงจันทน์ ก่อนตกเป็นประเทศราชของราชอาณาจักรสยาม[1] และทรงเป็นเจ้าขุนโอกลาษผู้รักษาพระบรมมหาธาตุเจ้าเจดีย์พระนม (พระธาตุพนม) พระองค์แรกแห่งราชวงศ์เวียงจันทน์ด้วย[2] ระหว่างราวปี พ.ศ. 2330 ถึงราวปี พ.ศ. 2350 ซึ่งตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 3 (สมเด็จพระเจ้าสิริบุญสาร) หรือรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้านันทเสน ถึงรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 5 (สมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์) แห่งราชอาณาจักรเวียงจันทน์ และตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรแห่งราชอาณาจักรศรีอยุธยา ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชแห่งกรุงเทพพระมหานคร พระองค์นับเป็นราชวงศ์ผู้เป็นปฐมราชตระกูลดั้งเดิมที่มีชื่อเสียงและเก่าแก่แห่งเมืองธาตุพนมอยู่จำนวนมากมายหลายตระกูล ทรงเป็นผู้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในดินแดนพนมซึ่งเป็นหัวเมืองสำคัญทางพระพุทธศาสนาแถบริมฝั่งแม่น้ำโขงในอดีต และเป็นหัวเมืองสำคัญชายพระราชอาณาเขตสยามภายหลังกบฏสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์แห่งนครเวียงจันทน์ ทรงเป็นผู้สถาปนาวัดหัวเวียงรังษี[3] ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่และสำคัญที่สุดเพียงวัดเดียวที่ได้รับการอนุญาตจากชาวบ้านให้สร้างขึ้นในบริเวณใกล้เคียงกับองค์พระธาตุพนม อันถือเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกที่สำคัญที่สุดในเมืองธาตุพนม ในดินแดนอีสาน และในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อย่างไรก็ตาม สถานะเจ้าผู้ปกครองเมืองธาตุพนมของพระองค์นั้น มีความแตกต่างจากเจ้าเมืองทั่วๆ ไป เพราะเมืองธาตุพนมเป็นเมืองพิเศษ คือ เมืองธาตุพนมเป็นเมืองที่กษัตริย์ล้านช้างถวายเป็นกัลปนาให้แก่พระธาตุพนม ผู้คนที่ถูกถวายกัลปนานี้ถือเป็นข้าโอกาสพระธาตุพนม ผู้ปกครองเมืองหรือเจ้าขุนโอกาสมีสถานะเป็นข้าโอกาสด้วยเช่นกัน เจ้าผู้ปกครองไม่อาจจะใช้พระราชอาชญาลงโทษหรือกะเกณฑ์เก็บส่วยข้าทาสในเมืองธาตุพนมมาใช้สอยส่วนตัว หรือสักเลขประชาชนในเมืองของตนได้ พระราชอำนาจของพระองค์จึงถูกจำกัดในทางการปกครอง และเป็นเจ้าเมืองที่มีสถานะพิเศษกว่าหัวเมืองต่างๆ ในอีสาน ซึ่งเป็นไปในทำนองเดียวกับ เจ้าหม่อมบ่าวหลวงเจ้าเมืองหลวงโพนสิม ในแขวงสุวรรณเขตของลาว ที่เป็นเจ้าเมืองข้าโอกาสพระธาตุอิงฮัง

พระราชประวัติ

อาชญาเจ้า ขุนรามราชรามางกูร ทรงมีพระนามเดิมว่า เจ้าลาม บ้างก็ออกนามว่า ท้าวลาม บ้างก็ออกนามว่า เจ้ารามราช หรือ ญาหลวงรามราช ในเอกสารอนุญาตให้ใช้สกุล รามางกูร พุทธศักราช 2490 ของอาชญาเจ้า พระอุปฮาชา (เฮือง รามางกูร) ผู้มีศักดิ์เป็นพระนัดดา ออกนามพระองค์ว่า ขุนรามฯ[4] และในเอกสารการสืบลำดับวงศ์สกุลอีกฉบับ ซึ่งเป็นสมบัติของ ท้าวคำมี รามางกูร ผู้มีศักดิ์เป็นปนัดดา ออกนามว่า ขุนรามรามางกูร[5] พระเถระและคนแก่ชาวธาตุพนมหลายคนต่างออกนามว่า เจ้าพ่อขุนราม และนามอันเป็นที่นิยมทั่วไปนิยมออกว่า ขุนราม ทรงบรรดาศักดิ์ชั้น ขุน ราชทินนามที่ รามราชรามางกูร แปลว่า เจ้ารามราชผู้เป็นหน่อเนื้อเชื้อไขของพระยาเมืองฮามนามฮุ่งศรี สืบเชื้อสายจากราชวงศ์เวียงจันทน์ สันนิษฐานว่า สมเด็จพระเจ้าสิริบุญสารเป็นผู้พระราชทานบรรดาศักดิ์ รามราชรามางกูร นี้แก่ราชวงษ์ผู้อพยพเข้ามาดูแลข้าโอกาสพระธาตุพนม และชาวเมืองธาตุพนมภายหลังการแตกศึกจำนวนหลายครั้งของเมืองธาตุพนม

พระบิดาของพระองค์พระนามว่า อาชญาเจ้า พระยาเมืองฮามนามฮุ่งศรี (คำอยู่) ภาษาไทยออกนามว่า พระยาเมืองรามนามรุ่งศรี จึงอาจเป็นที่มาของสร้อยราชทินนามว่า รามางกูร อันแปลว่า หน่อเนื้อเชื้อไขของราม[6] ทรงเป็นกรมการเก่าแก่แห่งนครเวียงจันทน์และนครจำปาศักดิ์ พระมารดาพระนามว่า อาชญาเจ้า นางบุคคะลี ธิดาของเพียนันทา กรมการนครจำปาศักดิ์ พระอัยกาทรงพระนามว่า อาชญาเจ้า พระยานาเหนือ (คำบุค หรือคำบุก) กรมการเก่าแก่แห่งนครเวียงจันทน์และนครจำปาศักดิ์ พระอัยยิกาทรงพระนามว่า อาชญาเจ้า นางลาดโนลี (แพงสุวรรณ หรือแพง) เจ้านายในราชวงศ์จำปาศักดิ์ พระปัยกาทรงพระนามว่า อาชญาเจ้า พระยาบุตรโคตรแวงบ่าวบูรพา (บุตร์โคตร) ทรงเป็นพระราชโอรสใน สมเด็จพระเจ้าสิริบุญสารพระมหากษัตริย์เอกราชแห่งนครเวียงจันทน์พระองค์สุดท้าย กับ พระอรรคชายาจันทะมาส หลังจากรัชสมัยของพระเจ้าสิริบุญสารแล้ว นครเวียงจันทน์ก็ตกเป็นประเทศราชของสยามจนกระทั่งถูกฝรั่งเศสเข้ายึดครอง[7] แต่อย่างไรก็ตาม พระราชโอรสของพระเจ้าสิริบุญสารที่มีพระนามว่า พระยาบุตรโคตรแวงบ่าวบูรพานี้ ยังคงมีข้อถกเถียงทางประวัติศาสตร์อยู่บ้าง เนื่องจากว่าเป็นนามที่ปรากฏอยู่ในเฉพาะบันทึกวงศ์ตระกูลของเจ้านายเมืองธาตุพนมเท่านั้น

ในประชุมพงศาวดารภาคที่ 70 เรื่อง คำให้การพระยาเมืองฮาม ได้มีการกล่าวถึงบรรพบุรุษของ อาชญาเจ้า ขุนรามราชรามางกูร ไว้ดังนี้

"หลวงเสนีพิทักษ์ ขุนพิศณุแสน ข้าหลวง วัน 2 12 ค่ำ ปีจออัฏฐศกศักราช 1248 นายทองมหาดเล็ก เจ้าราชสัมพันธวงษ์ เจ้าหมุนเมือ ณ จำปาศักดิ์ ราชวงศ์ผู้ว่าราชการเมืองเชียงแตง นั่งพร้อมกัน ณ ทำเนียบที่พักเมืองเชียงแตง ได้หาตัวพระยาเมืองฮามมาถามด้วยรายเขตต์แดนเมืองเชียงแตง กับเมืองพนมเปญติดต่อกัน พระยาเมืองฮาม อายุ 56 ปีให้การว่า เดิมพระยาเมืองฮาม ชื่อนายอยู่ บุตรพระยานาเหนือ มารดาชื่อแพง ตั้งบ้านเรือนอยู่จำปาศักดิ์ ครั้นอายุพระยาเมืองฮามได้ยี่สิบเก้าปี มาได้บุตรสาวของเพี้ยนันทา เมืองนครจำปาศักดิ์เป็นภรรยาพระยาเมืองฮาม ก็ได้รับราชการอยู่กับเจ้านครจำปาศักดิ์คำ ๆ ตั้งให้เป็นที่เพี้ยสุขรนันทา รับราชการมาช้านาน เจ้านครจำปาศักดิ์ถึงแก่พิราลัยแล้ว เจ้าคำศุขลงไปรับสัญญาบัตรเป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ พระยาเมืองฮามได้เข้ารับราชการมาช้านาน เจ้านครจำปาศักดิ์จึงตั้งให้เป็นที่พระยาเมืองฮาม ข้าพเจ้าได้ทราบความเมื่อครั้งปีวอกฉศก ศักราช 1246 ปี มีท้องตราพระราชสีห์โปรดเกล้า ฯ ให้พระยาราชเสนาแต่ยังเป็นที่หลวงภักดีณรงค์ ขึ้นมาจัดการอยู่ที่เมืองนครจำปาศักดิ์ พระยาราชเสนาได้หาตัวอุปฮาดราชวงศ์ เมืองเชียงแตงแลกรมการผู้ใหญ่ผู้น้อย เมืองธราบริวัฒ เมืองศรีทันดร เมืองแสนปาง ขึ้นมาพร้อมกันที่เมืองนครจำปาศักดิ์ พระยาราชเสนา กับเจ้านครจำปาศักดิ์ ได้ถามอุปฮาดราชวงศ์เมืองเชียงแตง ว่าอาณาเขตต์เมืองพนมเปญมาติดต่อกับเมืองเชียงแตงที่ตำบลใดได้ปักปันสิ่งใดไว้เป็นสำคัญ อุปฮาดราชวงศ์เมืองเชียงแตง แจ้งความต่อพระยาราชเสนาข้าหลวง แลเจ้านครจำปาศักดิ์ว่า เขตต์แดนเมืองเชียงแตงต่อติดกับเมืองพนมเปญนั้นมีต้นมะขามที่บุ่งขลาท้ายเกาะแพ ด่านจะลับนั้นต่อติดกันที่ต้นกะโดนต้นหนึ่ง ต้นรังต้นหนึ่งหว่างเขาตาปมแต่เดิมมา ภายหลังเจ้าพระยาบดินทร์เดชา ฯ ก็ได้แต่งข้าหลวงออกมาปักปันเขตต์แดนที่ตำบลบุ่งขลาแห่งหนึ่ง ด่านจะลับแห่งหนึ่ง ครั้นปีฉลูสัปตศก ศักราช 1227 ปี เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์แต่ยังเป็นเจ้าราชวงศ์เมืองนครจำปาศักดิ์ ได้ลงไปวัดเส้นตรวจทางไปถึงบุ่งขลา ได้เอาหลักเสาไม้แก่นปักซ้ำรอยหลักเดิมหลักหนึ่ง ไปปักด่านจะลับตามรอยหลักเดิมหลักหนึ่ง แล้วพระยาราชเสนากับเจ้านครจำปาศักดิ์ แต่งให้ข้าพเจ้ากับอำมาตย์เสนาเพี้ยเมืองซองเมืองนครจำปาศักดิ์ กับราชบุตรแสนปานท้าวสีโสราชเมืองศรีทันดร ไปปักหลักเขตต์แดนพร้อมด้วยอุปฮาดราชวงศ์เมืองเชียงแตง ข้าพเจ้าพร้อมกันได้ออกไปถึงด่านบุ่งขลาได้ตรวจตราเห็นว่ามีต้นมะขามสามต้น แต่หลักเก่านั้นชำรุดผุโค่นเสียหมด ข้าพเจ้าจึงตัดไม้แก่นปักลงไว้ที่ตำบลบุ่งขลาหลักหนึ่ง แต่ที่ด่านจะลับนั้นได้ตรวจตราเห็นว่ามีต้นกะโดนต้นหนึ่ง ต้นรังต้นหนึ่งอยู่หว่างช่องเขาตาปม แต่ต้นกะโดนต้นรังห่างพ้นเขาตาปมประมาณสิบเส้น ข้าพเจ้าก็พร้อมกันตัดเสาไม้แก่นปักไว้ห่างต้นรังเข้ามาสองวา ซ้ำรอยหลักเดิม แล้วข้าพเจ้าก็กลับมาแจ้งความต่อพระยาราชเสนาเจ้านครจำปาศักดิ์ ข้าพเจ้าให้การตามรู้ตามเห็น สิ้นคำให้การข้าพเจ้าแต่เท่านี้ ข้าพเจ้าได้ประทับตรารูปองคตถือพระขรรค์ไว้เป็นสำคัญ"[8]

บรรดาศักดิ์ของพระบิดาและพระอัยกาของพระองค์ เป็นบรรดาศักดิ์ที่มีปรากฏอยู่ในธรรมเนียบพระธรรมศาสตร์หลวงโบราณของลาวล้านช้าง ตำแหน่งเหล่านี้เรียกว่า "ขื่อบ้านขางเมือง" อันหมายถึงตำแหน่งสำคัญของกรมการเมืองที่คอยช่วยเหลือคณะอาญาสี่ซึ่งหัวเมืองต่าง ๆ นั้นจะขาดเสียมิได้ บรรดาศักดิ์พระยาเมืองฮามอันเป็นของพระบิดานั้น คือหน้าที่ข้าราชการพลเรือนชั้นผู้ใหญ่ที่คอยกำกับดูแลช่วยเหลือพระยาเมืองขวา พระยาเมืองซ้าย และพระยาเมืองกลาง ในการดูแลพัศดุทุกอย่างของนครประเทศราช ทำนองเดียวกับหน้าที่พะทำมะรงหรือพัศดีในปัจจุบัน รวมทั้งดูแลรักษานักโทษว่าจะปล่อยหรือจะคุมขังตามที่คณะอาญาสี่สั่งการ คอยดูแลโบสถ์ วิหาร ศาลา วัดวาอาราม ว่าจะปฏิสังขรณ์หรือรื้อสร้างใหม่ เป็นผู้กำกับการสักเลกไพร่ และรักษาบัญชีเลกไพร่พลที่ไปมีภริยาอยู่เมืองอื่น หน้าที่ของพระยาเมืองฮามนี้จะทำงานคู่กันไปกับพระยาเมืองคุก และพระยาเมืองแพน ส่วนบรรดาศักดิ์พระยานาเหนือของพระอัยกานั้น เป็นบรรดาศักดิ์ที่คู่กันกับพระยานาใต้ ทำหน้าที่จัดหาเสบียงไว้ในยุ้งฉาง สำหรับเป็นกำลังแก่ราชการบ้านเมืองเวลาเกิดศึกสงคราม และเป็นผู้เก็บส่วยในเขตแขวงของบ้านเมือง เก็บเงินของไพร่พลที่อพยพไปมีภริยาอยู่หัวเมืองอื่นโดยมีภูมิลำเนาอยู่แล้ว หรือยังไม่มีภูมิลำเนาก็ตาม ทางการต้องถือว่าเป็น เลกเขยสู่ หรือที่เรียกว่า เดินทุ่ง นำมารวมส่งยังเมืองที่ตนสังกัดอยู่แต่เดิม นอกจากนี้ยังเป็นผู้มีหน้าที่สำรวจสำมะโนครัวของเขตแขวงในชั่ว 3 ปี ต่อครั้ง เป็นผู้จัดคุมยวดยานสัตว์พาหนะ และเป็นผู้ควบคุมการแทงจำหน่ายเลก เช่น หนี หาย ตาย ชรา พิการ อุปสมบถ เป็นต้น บรรดาศักดิ์เหล่านี้ หากเมืองเมืองนั้นเป็นเมืองน้อยรองลงไปจากเมืองประเทศราช เมืองเอกราช หรือกรุงเอกราช คือหัวเมืองชั้นเอก หัวเมืองชั้นโท หัวเมืองชั้นตรี บรรดาศักดิ์ที่ได้นั้นจะเป็นชั้น เพีย และหากเมืองนั้นเป็นเมืองน้อยลงไปอีก คือหัวเมืองชั้นจัตวา หัวเมืองกึ่งตำบล ก็จะได้บรรดาศักดิ์เป็นชั้น ท้าว[9]

ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช หรือสมเด็จพระเจ้าสิริบุญสาร (พุทธศักราช 2294- พุทธศักราช 2322) แห่งนครเวียงจันทน์ ได้เกิดความยุ่งยากวุ่นวายทางการเมืองขึ้นหลายครั้ง อาทิ กบฏพระบรมราชากู่แก้ว เจ้าเมืองละคร กบฏเจ้าพระวรราชปิตา เจ้าพระวรราชภักดี เมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน รวมทั้งศึกสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยกทัพมาตีนครเวียงจันทน์ด้วย เป็นต้น ในรัชสมัยนี้พม่าได้ยกทัพมายึดครองนครเวียงจันทน์ และได้จับพระบรมวงศานุวงศ์จำนวนหลายพระองค์ อาทิ พระราชโอรส พระราชนัดดา พร้อมทั้งจับขุนนางข้าราชสำนักชั้นผู้ใหญ่ไปเป็นองค์ประกันอีกหลายท่าน ต่อมาพระราชโอรสและขุนนางหลายท่านได้รับการช่วยเหลือจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และเจ้านายล้านนาจากราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ ให้กลับคืนสู่ราชสำนักเวียงจันทน์ หนึ่งในจำนวนพระราชโอรสหลายพระองค์ที่ได้รับการช่วยเหลือนั้น ได้ปรากฏพระนามของ อาชญาเจ้า พระยาบุตรโคตรแวงบ่าวบูรพา (บุตร์โคตร) ผู้เป็นพระอัยกาของ อาชญาเจ้า ขุนรามราชรามางกูร อยู่ด้วย[10]

ในสำเนาสุภอักษรที่เสนาบดีแห่งกรุงธนบุรีได้มีมาถึงเสนาบดีแห่งนครเวียงจันทน์ ครั้งที่ 2 ได้ออกพระนามของพระอัยกาใน อาชญาเจ้า ขุนรามราชรามางกูร ไว้ดังนี้

".........ประการหนึ่งเร่งตัดท่าทางขนข้าวปลาเสบียงอาหาร อย่าให้กองทัพไปเถิงกรุงศรีสัตนาคณหูต ประการหนึ่งจงโอบอ้อมเอาไทข้าขอบขันธเสมากรุงเทพไว้ จะได้กลับกรุงศรีสัตนาคณหูต (จะได้เป็นกันชนกรุงศรีสัตนาคนหุต) เห็นจะรุ่งเรืองเป็นใหญ่ เพราะเป็นใจไปด้วยพม่าแท้ (เพราะไปฝักใฝ่เข้ากับพม่าแท้) อย่าให้ไพร่ (เมือง) ลาวเป็นสุขได้ แต่ไพร่เมืองลาวเข้าไปสู่พระบรมโพธิสมภารประมาณหมื่นหนึ่งแล้ว บัดนี้ได้ส่งพระยาหลวงเมืองแสน พระยาหาญอาษา (พระยาหาญอาสา) พระยาจันทอง พระยาโคตร พระยาบุตรโคตรแวงบ่าวบูรพา ทัพหมู่เตรียมหากับไพร่ชาย 61 หญิง 3 เป็น64 คน ขึ้นมาให้อัครมหาเสนาธิบดี และเสนาบดีทูลถวายแด่พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคณหูตตามรับสั่ง

สุภอักษร มา ณ วัน 6 6 ฯ 1 ค่ำ จุลศักราช 1166 ปีมะแม ศ. ศก ให้พระยาหลวงเมืองแสนถือไปล้านช้าง........."[11]

และจากสุภสำเนาครั้งนี้ ได้เป็นมูลเหตุเบื้องต้นที่จะทำให้นครเวียงจันทน์และกรุงธนบุรีเป็นอริกัน จนในที่สุดสมเด็จพระเจ้าตากสินได้ยกทัพมาตีนครเวียงจันทน์เป็นประเทศราช ครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าสิรบุญสารได้พาพระราชโอรสบางส่วนหนีไปพำนักที่เมืองคำเกิดใกล้ชายแดนเมืองญวณ และพระบรมวงศานุวงศ์บางพระองค์ รวมถึง อาชญาเจ้า พระยานาเหนือ (คำบุค หรือคำบุก) อาชญาเจ้า พระยาเมืองฮามนามฮุ่งศรี (คำอยู่) อาชญาเจ้า รามราช ก็ได้พากันอพยพไปพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระเจ้านครจำปาศักดิ์ ณ นครจำปาศักดิ์ด้วย จากนั้นจึงได้เข้ารับราชการสนองพระเดชพระคุณในภายหลัง

ตำแหน่งเจ้าเมืองและเจ้าขุนโอกาส

เมืองธาตุพนมเป็นเมืองที่มีเจ้านายปกครองมาก่อน มีหลักฐานหลายประการที่บ่งชี้ว่าเมืองแห่งนี้มีราชวงศ์ท้องถิ่นปกครองมายาวนานหลายยุคแล้ว ราวพุทธศักราช ๒๔๙๗ ได้มีการค้นพบพระพุทธรูปทองคำฐานบุเงินใต้พระวิหารวัดพระธาตุพนม พระพุทธรูปองค์นี้ปรากฏพระนามจารึกว่า พระเจ้าสุวรรณาวรวิสุทธิ์ อุตมวิโรจน์ โชติรัตนาลังการ ในฐานบุเงินของพระพุทธรูปองค์นี้ได้จารึกเอ่ยนามถึงเจ้านายชั้นสูงของเมืองธาตุพนมว่า

" .........สังกราช ๔๓ ตัว ปีฮ้วงเฮ้า เดือน ๑๒ แฮม ๔ ค่ำ วัน ๕ มื้อกัดใส้ ยามแถใกล้เที่ยง วันฤกษ์ ๔ ลูก นาทีฤกษ์ ๕๙ ติดถี ๑๘ นาทีติดถี ๕๖,๕๓๘ มาส เกณฑ์ ๕๘๑ อาวมาน ๑๕,๕๙๙ หรคุณ (จุลศักราช ๑๐๔๓ หรือพุทธศักราช ๒๒๒๔) หัวท้าวเคยแปง เล่าคึดกับทังมาตุปิตาชายา มีประสาทะสัทธา ประกอบด้วยมหากุสละเจตนา เลื่อมใสในวรพุทธศาสนายิ่ง จิงได้สร้างพระพุทธรูปเจ้าขึ้นนามวิเศษ......... ""[12]

จุลศักราช ๑๑๖๘ ปีฮวายยี่ หรือพุทธศักราช ๒๓๔๘ เจ้าพระยาจันทสุริยวงศาเจ้าเมืองบังมุก (มุกดาหาร) ได้มีศรัทธาปฏิสังขรณ์ผูกพัทสีมาไว้ในวัดพระธาตุพนม พร้อมทรงจารึกอิฐเผาไว้ด้วย ในจารึกนี้ได้กล่าวถึงนามของเจ้านายชั้นสูงผู้ปกครองข้าโอกาส หรือข้าโอกลาษเมืองธาตุพนมไว้ดังนี้

“ .........ศักราชล่วงได้ ฮ้อย ๖๘ ตัว ปีฮวายยี่ เจ้าพระยาจันทสุริยวงศา เมืองมุกดาหาร กับทั้งปุตตนัตตาภริยา มีอัคคะมหาเสนาเจ้าใหญ่ทั้งปวง มีปัสสาทสัทธาในวรศาสนาอันล้ำยิ่ง จึงให้พระยาหลวงเมืองจันทน์ ขึ้นมาปัคคัยหะกับขุนโอกลาษ พร้อมกันโมทนาเจ้าสังฆราชกับทั้งอันเตวาสิก พร้อมกันริจนาสิมมาสืบฮอยมืออรหันตาเจ้าไว้ ขอให้ได้ดังใจจงนิพพานปัจจโยโหตุฯ......... ”[13]

เกี่ยวกับเรื่องเจ้าขุนโอกาสผู้ดูแลรักษาข้าโอกาสพระธาตุพนม และปฏิบัติวัฏฐากพระมหาธาตุเจ้าพนมนี้ ชาวเมืองธาตุพนมยกย่องกันมานานว่า ตระกูลรามางกูร ถือเป็นเชื้อสายโดยตรงของเจ้าขุนโอกาส ดังบทสัมภาษณ์ของ พระครูสิริเจติยานุรักษ์ พระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่ผู้มีพรรษามากของวัดพระธาตุพนม และได้เคยสนิทคุ้นเคยกับทายาทลูกหลานของตระกูลรามางกูรในวัดพระธาตุพนมมาโดยตลอด กล่าวว่า

" .........ตระกูลรามางกูร เป็นตระกูลเก่าแก่ของอำเภอธาตุพนม เป็นตระกูลขุนโอกาสที่มีความสำคัญกับวัดพระธาตุพนมมาช้านาน และได้มีการใช้ชื่อ ขุนรามรามางกูร เป็นชื่อเรือยาวด้วยว่า เรือเจ้าพ่อขุนรามฯ แห่งวัดมรุกขาราม .........บุตรหลานของตระกูลรามางกูรจะเกี่ยวข้องกับวัดพระธาตุพนมมาโดยตลอด เป็นไวยาวัจกรบ้าง เป็นมัคคทายกบ้าง .........ทั้งมหาดวง รามางกูร .........พ่อใหญ่บุญ รามางกูร ก็เป็นไวยาวัจกร .........พ่อใหญ่เศียร รามางกูร ก็เป็นมัคคทายก......... "[14]

พุทธศักราช ๒๔๒๓ สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระบำราบปรปักษ์ ซึ่งสำเร็จราชการมหาดไทย ได้ทรงมีท้องตรามาถึงเจ้าเมืองมุกดาหารและเจ้าเมืองนครพนม เกี่ยวกับเรื่องการตั้งท้าวอุปละ (ถง ต้นตระกูล อุลปะ, อุประ, อึ้งอุประ) เชื้อสายเจ้านายเดิมของเมืองธาตุพนมให้มีบรรดาศักดิ์ที่ พระพิทักษ์เจดีย์ นายกองข้าตัวเลกพระธาตุพนม ซึ่งปรากฏในเอกสาร ร.๕ร.ล.ตราน้อย เล่มที่ ๔ จ.ศ. ๑๒๔๒ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ได้มีข้อความกล่าวถึงเจ้าเมืองธาตุพนมว่า

" .........แต่ท้าวอุปละกับครอบครัวตัวเลกรายนี้ก็ปรนนิบัติรักษาอารามพระเจดีย์พระธาตุพนมมาช้านานหลายเจ้าเมืองแล้ว ถ้าจะไม่ตั้งเป็นหมวดเป็นกองไว้ ท้าวเพี้ยตัวเลกข้าพระธาตุจะพากันโจทย์ไปอยู่ต่างบ้านต่างเมืองเลกข้าพระธาตุพนมก็จะร่วงโรยเบาบางลงจะเสียไพร่พลเมือง......... "[15]

ในบันทึกของหมอฝรั่งชื่อ ดร.เปแนซ์ นักสำรวจชาวฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียง ได้เดือนทางเรือสำรวจแม่น้ำโขงขึ้นไปทางตอนเหนือ ราวเดือนมีนาคม พุทธศักราช 2425 การเดินทางครั้งนี้ได้เดือนทางผ่านเมืองธาตุพนม ในข้อความมีการกล่าวถึงเจ้าเมืองธาตุพนมและความเชื่อท้องถิ่นว่า

" .........ขณะเดินทางผ่านนครพนมนั้น เมืองต่าง ๆ ริมแม่น้ำโขงกำลังเป็นอหิวาตกโรค ...ชาวบ้านชาวเมืองไม่ยอมฝังศพคนตายที่ตายด้วยอหิวาต์ เขาจะทิ้งศพลงน้ำโขงทุกราย แม้หมอแนซ์จะได้พยายามชี้แจงให้เจ้าเมืองธาตุพนมเกี่ยวกับเรื่องอหิวาต์ ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไรและขอร้องให้นำศพไปฝังเสีย เจ้าเมืองก็หายอมไม่ กลับตอบว่าเป็นธรรมเนียมของชาวบ้านชาวเมืองเช่นนี้ อหิวาต์มาจากทางเหนือเราก็ต้องส่งลงไปทางใต้ต่อไป......... "[16]

เกี่ยวกับเรื่องเจ้าเมืองธาตุพนมนี้ ดร. โกร่ง หรือ ดร. วีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายกสมาคมมิตรภาพไทย-ลาว ซึ่งเป็นผู้สืบเชื้อสายเจ้าเมืองธาตุพนมมาโดยตรง ได้กล่าวถึงวงศ์วานว่านเครือของเจ้าเมืองธาตุพนมไว้อย่างน่าสนใจว่า

" .........ตระกูลผมเป็นเจ้ามืองธาตุพนมมาโดยตลอด นามสกุลนี่มาจากปู่ทวด มีบรรดาศักดิ์เป็นขุน คงจะเป็นหัวเมืองชั้นจัตวา เพราะว่าเจ้าเมืองแค่ขุนเท่านั้นเอง ชื่อว่า ขุนราม ก็เลยเอามาเป็นนามสกุลของตระกูล รามางกูรก็เลือดเนื้อเชื้อไขของราม คือขุนราม ลูกของขุนรามก็เป็นเจ้าเมืองต่อมา แต่ว่าเมืองคงจะใหญ่ขึ้น คิดว่าคงปลายกรุงศรีอยุธยาสืบทอดกันมาหลายชั่วคน ลูกของขุนรามก็เป็นเจ้าเมือง ต่อมามีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงแล้ว แสดงว่าเมืองใหญ่ขึ้น ชื่อว่า หลวงปราณีพุทธบริษัท ลูกของหลวงปราณีฯ ก็เป็นเจ้าเมืองต่อมา ชื่อว่า หลวงกลางน้อยศรีมงคล หลวงกลางน้อยฯ เป็นปู่ทวดของผม เป็นพ่อของปู่ของผมชื่อว่า เรือง ภาษาอีสานคือ เฮือง .........ทีนี้หลวงกลางน้อยศรีมงคลเป็นเจ้าเมืองที่เป็นคนท้องถิ่นคนสุดท้ายของเมืองธาตุพนม หลังจากนั้นก็มีการปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ ๕ สมัยสมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ พระองค์เจ้าชายดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็เลิกเอาคนท้องถิ่นเป็นเจ้าเมือง ส่งข้าราชการจากกรุงเทพมหานครไป ก็เลยหมด ปู่ผมก็ไม่ได้เป็นเจ้าเมือง .........ความที่ปู่มีความฝังใจอยากให้ลูกหลานเป็นเจ้าเมือง ก็บอกว่าให้ผมเรียนรัฐศาสตร์ให้เรียนปกครองและให้เข้ากระทรวงมหาดไทย......... "[17]

เมืองพนม หรือเมืองธาตุพนม

เมืองธาตุพนม เดิมชื่อว่าเมืองพนม หรือเมืองปะนม มีศูนย์กลางอยู่ที่ภูกำพร้า หรือดอยกัปปนคีรี บริเวณนี้อาจเป็นทั้งศูนย์กลางทางการเมืองและศูนย์กลางทางศาสนาด้วย ในสมัยพญาสุมิตธรรมวงศาทรงครองเมืองมรุกขนคร นับเป็นครั้งแรกที่มีปรากฏหลักฐานอยู่ในตำนานอุรังคนิทานว่า เมืองธาตุพนมได้มีสถานะเป็นเมืองเมืองหนึ่งหรือเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ซึ่งเกิดจากการถวายผู้คนให้เป็นข้าอุปัฏฐากของพระมหาธาตุเจ้าพนม ดังข้อความว่า

“ .........พญาสุมิตธรรมจึงตรัสสั่งแก่พลเทวอำมาตย์ ให้ไปบอกกล่าวแก่คนทั้งหลายว่า บุคคลเหล่าใดยังพอใจในการพระราชศรัทธา เราจะให้รับราชการเป็นข้าอุปัฏฐากพระมหาธาตุเจ้า เราจะอภัยโทษให้เว้นเสียจากราชการบ้านเมือง และยังให้ที่ดินไร่นาไว้แก่เขาเหล่านั้น .........และให้เขาหาลูกเมีย ญาติพี่น้องวงศ์วานเข้ามาตั้งบ้านสร้างเมืองอยู่ในที่นั้น......... ”[18]

ราวพุทธศักราช 2184 นายเกอร์ริต วอน วูลทอฟฟ์ ทูตการค้าชาวฮอลลันดาได้เดินทางตามลำน้ำโขงจากเมืองละแวกของกัมพูชา ไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชที่นครเวียงจันทน์ นายเกอร์ริต วอน วูลทอฟฟ์ ได้เดินทางผ่านบริเวณพระธาตุพนมและเมืองศรีโคตรบูรพร้อมได้บันทึกไว้ว่า

" .........ผ่านเมืองธาตุพนมมีประชาชนตั้งบ้านเรือนหนาแน่น เห็นพระธาตุมีแสงสะท้อนกับลำน้ำในแม่น้ำโขงเป็นแสงระยิบระยับ ครั้นเดินทางต่อไปอีกวันหนึ่งก็ถึงแคว้นศรีโคตรบูร อันมีเมืองมรุกขนครเป็นเมือง หลวง......... "

ในจารึกใบลานพงศาวดารเมืองมุกดาหาร และหัวเมืองในลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งเผยแพร่โดย นายสุรจิตต์ จันทรสาขา ทายาทเจ้าเมืองมุกดาหาร ได้แสดงหลักฐานว่า เดิมเมืองธาตุพนมนี้ชื่อว่าเมืองพนม ดังนี้[19]

ศักราชได้ ๙๒ ปีเส็ด (พ.ศ. ๒๒๗๓) พนมแตกทีกอน

ศักราชได้ ๙๔ ปีสี (พ.ศ. ๒๒๗๕) พนมผ้าขาวพันนาแตก

ศักราชได้ ๑๗๔ ปีเต่าสัน (พ.ศ. ๒๓๕๕) เจ้าเวียงจันทน์มาสลองวัดพนม

ศักราชได้ ๒๒๐ ปีมะเมีย (พ.ศ. ๒๔๐๑) เหื่อธาตุพนมไหลออกก้ำด้านใต้

ในพงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทน์ ได้ออกนามเมืองธาตุพนมว่าพนม ดังนี้[20]

ศักราชได้ ๙๒ ปีเส็ด (จอ) พนมแตกทีก่อน

ศักราชได้ ๙๘ ปีสี (มะโรง) พนมผ้าขาวพนางแตก

ศักราชได้ ๑๖๙ ปีเม่า (เถาะ) เจ้าอนุเวียงจันทน์กลับเมืองละครบังมุก พร้อมกันฉลองขัวในพระมหาธาตุแลวัดท่ง เสตสัดธาตุหักก็แม่นปีนั้น อาชญาเจ้าบังมุกจุติก็แม่นปีนั้น

ศักราชได้ ๑๗๔ ตัวปีเตาสัน (วอก) เจ้ามหาชีวิตเวียงจันทน์ลงมาฉลองหอพระในพระมหาธาตุ แลแผ่นดินไหวเดือน ๕ แรม ๑๑ ค่ำวันเสาร์ก็แม่นปีนั้น

อย่างไรก็ตาม ในสมัยโบราณบางครั้งก็ออกนามเมืองธาตุพนมหรือเมืองพนมว่า ธาตุพนม หรือ ธาตุ เฉยๆ ก็มี ดังตัวอย่างปรากฏในพงศาวดารเมืองเวียงจันทน์อีกฉบับหนึ่ง ดังนี้[21]

ศักราชได้ ๙๘ ปีฮวงสี เจ้าคำตาย ขุดหลุมภูเดือน ๓ แรม ๙ ค่ำ วันศุกร์ไปธาตุพนมปีนั่น

ศักราชได้ ๙๙ ปีเมิงไส้ธาตุดอกช้อย ๆ

ศักราชได้ ๑๖๒ ปีกดสัน องทวยมาขอกำลังไปตีประกันขึ้นทางเมืองพวนกวาดคืนมา เจ้าแกวบ่วายเสียธาตุ

ศักราชได้ ๑๖๓ ปีฮวงเฮ้า พระยาสุโพฯ เป็นแม่ทัพไปตีแกวท่าสีดา เจ้าอินทไปพอกธาตุ ไทยมาเมืองนคร ๒,๐๐๐๐ ตามพระยาใต้น้ำ

ศักราชได้ ๑๖๙ ปีเม่า เจ้าเวียงจันทน์ไปฉลองขัวธาตุ

ศักราชได้ ๑๗๕ ปีเต่าสัน เดือนเจียง (อ้าย) แรม ๔ ค่ำวันอังคารเจ้าเวียงจันทน์ไปฉลองวัดธาตุ คืนมาเมื่อเดือนยี่ ขึ้นสามค่ำวันพฤหัศบดีฮอดมื้อนั้น เดือนสามเพ็งตั้งบุญหลวงเท่าฮอดมื่อฮับจึงแล้ว สร้างขัวข้ามของก็ปีนั้น เดือน ๔ แรม ๑๑ ค่ำ วันเสาร์ มื่อเมีงไค้ ยามใกล้รุ่งแผ่นดินไหวแล

ศักราชได้ ๒๐๘ ปีฮวยสะง่า เดือน ๑๑ แรม ๘ ค่ำ เจ้าเมืองหนองคายลงไปให้กะฐินธาตุพนมปีนั้น

ในหนังสือวชิรญาณวิเศษ เล่ม ๘ แผ่นที่ ๔๖ วันพฤหัสบดี ที่ ๒๔ สิงหาคม ร.ศ. ๑๑๒ หรือ พ.ศ. ๒๔๓๖ หน้า ๕๔๒-๕๔๓ ได้กล่าวถึงที่มาของเมืองธาตุพนมไว้ว่า

".........พระเจดีย์นั้นเรียกว่า ธาตุพนม หมู่บ้านซึ่งตั้งอยู่ใกล้เคียงพระเจดีย์นี้เรียกว่า บ้านธาตุพนม มีคำเก่าเล่าสืบมาว่า บ้านธาตุพนมนี้เดิมก็เป็นเมือง เรียกว่าเมืองธาตุพนม เจดีย์นี้มีกำแพงถึงสามชั้น มีสพานลงน้ำโขง ตรงข้ามน้ำเซ .........ที่ธาตุพนมนั้น มีคำเล่าว่า ชาวเวียงจันทน์ชาติโย้ยได้เป็นผู้ก่อสร้างขึ้น......... "[22]

ในหนังสือ PAGES LAOTIENNES ซึ่งเป็นบันทึกของนายราเกซ์ นักสำรวจชาวฝรั่งเศส ได้เดินทางมาถึงเมืองธาตุพนมเมื่อวันที่ 22 มกราคม ปีพุทธศักราช 2442 พ.ต.ท. สำเริง สิงหวาระ ได้แปลไว้ ความว่า

“ .........บนฝั่งขวาคือเมืองธาตุพนม เมืองเมกกะของลาว ซึ่งมีพระธาตุพนมเก่าแก่หลายร้อยปีตั้งอยู่ และเป็นที่สักการะของคนลาว คนไทย ในละแวกนั้น ......... เมืองธาตุพนมมีโจรและนักปล้นมาก โดยมากลักโคกระบือ......... ”[23]

ความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับราชวงศ์ลุ่มน้ำโขง

1. ความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับราชวงศ์เวียงจันทน์

2. ความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับราชวงศ์จำปาศักดิ์

3. ความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับราชวงศ์มุกดาหาร

4. ความสัมพันธ์ทางเครือญติกับราชวงศ์ศรีโคตรบูร

5. ความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับราชวงศ์เรณูนคร

6. ความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับราชวงศ์คำเกิด

ทายาทที่มีบทบาททางการเมืองการปกครองในเมืองธาตุพนม

๑. อาชญาเจ้า หลวงกลางน้อยศรีมงคล (ศรี รามางกูร)

เป็นเจ้าเมืองธาตุพนมองค์ที่ ๒ เดิมบรรดาศักดิ์ที่ ท้าวศรีมุงคุณ

๒. อาชญาเจ้า หลวงปราณีพุทธบริษัท (เมฆ รามางกูร)

เป็นเจ้าเมืองธาตุพนมองค์ที่ ๓

๓. อาชญาเจ้าพระอัคร์บุตร (บุญมี บุคคละ)

๔. อาชญาเจ้า พระอุปฮาต (เฮือง รามางกูร)

๕. ท้าวอุปละ (มุง อุปละ)

๖. พระพิทักษ์เจดีย์ (ถง อุปละ)

เดิมบรรดาศักดิ์ที่ ท้าวอุปละ

๗. พระพิทักษ์เจดีย์ (แก่น อุปละ)

เดิมบรรดาศักดิ์ที่ ท้าวพระลคร

๘. พระพิทักษ์เจดีย์ (พระศรี อุปละ)

เดิมบรรดาศักดิ์ที่ พระศรีชองฟ้าหรือพระศรีสองฟ้า

๙. พระบำรุงพนมเจดีย์ (เทพพะจิตต์ บุคคละ)

๑๐. ท้าวโพธิสารพินิต (อินทร์วงษ์ บุคคละ)

๑๑. กำนันสุนีย์ รามางกูร

การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา

ราวพุทธศักราช ๒๔๔๔ เมืองธาตุพนม ได้ถูกยุบให้กลายเป็นบริเวณธาตุพนม ตำบลธาตุพนม และอำเภอธาตุพนมตามลำดับ ในช่วงแรกแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว แต่ตำแหน่งคณะอาญา ๔ ของเมืองธาตุพนมก็ยังคงมีอยู่ เพียงแต่คณะอัญญายังคงถือศักดินาตามบรรดาศักดิ์และรับเงินบำนาญราชการ โดยมิได้ทำงานบริหารบ้านเมืองใดๆ หรือไม่ได้มีตำแหน่งแห่งที่ทางการเมืองใดๆ อีกต่อไป ดังปรากฏในจารึกอิฐเผาวัดพระธาตุพนมความว่า

".........พุทธศักราช ๒๔๔๔ ปีฉลู ตรีศก ร.ศ. ๑๒๐ ณ วัน เดือนอ้าย ขึ้น ๑๔ ค่ำ ภายในมีท่านพระครูสีทา พระครูอุดรพิทักษ์คณะเดช ท่านพระครูหนู พระเล็กเมืองอุบลราชธานี พระครูทาเจ้าด้านทั้ง ๔ วัดพระธาตุพนม (ชำรุด) .........หลวงชาญอักษร เมืองนครราชสีมา หลวงปราณี พระศรีวรราช หลวงภักดีเสนาวรราช หอมสมบัติ ผัว พรหมมหาไชย ยายทองดำ เมีย ท้าวพิมพิสารและทายกทายิกาบ้านธาตุพนม ท้าววรบุตร กำนันบ้านพระกลาง ไชยวงศา ผู้ใหญ่บ้านดอนกลาง หลวงปาศักดิ์สิทธิ์ผล กำนัน บ้านน้ำก่ำ อุปฮาชาราชวงศ์ พระชลชนะไชย์ พระวรสาร พ่อทุ่มเมืองเรณูนคร.........มีศรัทธาปฏิสังขรณ์พระธาตุพนม........."[24]

ราวพุทธศักราช ๒๔๖๔ พระภิกษุชั้นผู้ใหญ่ ขุนนางข้าราชการ ในเมืองธาตุพนมได้มีศรัทธาบูรณะวัดพระธาตุพนม ครั้งนี้อดีตเจ้าเมืองธาตุพนมคือ หลวงปาณีฯ หรือหลวงปาฑีฯ พร้อมด้วยทายาทเจ้านายเมืองธาตุพนมเดิม ได้ร่วมบริจาคทรัพย์ถวายวัดพระธาตุพนมรวมเป็นเงินได้ ๒๘ บาท ดังจารึกว่า

"จุลสังกราชล่วงได้ ๑๒๘๓ ข้าพระเจ้าครูสีลาภิรัตน์ ได้พร้อมด้วยภิกษุสามเณร แลอุบาสกอุบาสิกา มีขุนพิทักษ์พนมเขตอำเภอ กำนันพระอนุรักษ์ นายเหล็ก นายทองอิน นายจาม เป็นประธานกับสัตบุรุษทั้งมวล มีปสาทศรัทธาใ (น) พระบวรพุทธศาสนา ได้ประดิษฐานพัทธสีมาสีบร (อย) พระอรหันตาเจ้า ในเมื่อเดือน ๔ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีระกา ทำมาจน (ถึงปี) จอ เดือน ๑๐ จึงสำเร็จ สิ้นทรัพย์ไป ๒๔๕ (๖ บาท) ขอให้ตัวข้าพเจ้ากับทั้งภิกษุสาม (เณร แล) อุบาสก อุบาสิกาทั้งปวง ประกอบไปด้วยประโยชน์ความสุขโดยวิเศษ ขอจงให้เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อกระทำ (ให้) แจ้งซึ่งพระนฤพาน ไปในอนาคตกาลนานเทอญ นิพาน (ปัจ –) จโยโหตุ นายชาลี ศรัทธา ๑๔ บาท นายอุ่น ศรัทธา (๑๔ บาท นาย) บุญมา ศรัทธา ๗ บาท หลวงปาฑี ศรัทธา ๗ บาท นายเรือง ศรัทธา ๗ บาท นางหนูแ (พง) จารย์สีนวล นายฝัน จารย์แดง........."[25]

พุทธศักราช ๒๔๗๓ พ่อเฒ่าจารย์อุ่น จันทศ เชื้อสายเจ้าเมืองธาตุพนมเดิม และนางทองอยู่ รัตนโกศล ชาวธาตุพนม ได้มีศรัทธาในวรพุทธศาสนาเมืองพนม กราบอาราธนาหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต แต่เมื่อครั้งยังล่องเรือกลางน้ำโขงเดินทางขึ้นมาถึงพระธาตุพนม ให้มาจำพรรษาปักกลด ณ ที่พำนักสงฆ์เก่าชื่อ วัดป่าอ้อมแก้ว วัดนี้เดิมเป็นที่ดินของหลวงปู่แก้ว แล้วได้ถวายที่ดินให้เป็นวัด ตั้งอยู่ ณ บริเวณป่าหมากหนามทิศใต้วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ต่อมาพ่อเฒ่าจารย์อุ่น จันทศ พร้อมด้วยชาวบ้านได้ร่วมมือกันถากถางป่าให้เรียบเป็นทางเดินเข้าไปใกล้ทางใต้ลำห้วยแคน แล้วบูรณะวัดป่าอ้อมแก้วใหม่ให้ชื่อ วัดเกาะแก้วอัมพวัน ภายใต้การนำของหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล

การบูรณะวัดหัวเวียงรังสี

พระโอรสพระธิดา พระนัดดา และพระปนัดดา

อาชญาเจ้า ขุนรามราชรามางกูร ทรงมีพระโอรสพระธิดา อันประสูติแต่พระชายาและหม่อม ดังนี้

อาชญาเจ้าแม่โซ่น นางสิริบุญมา (บุญมา)

  • อาชญาเจ้า นางคำกอง (กอง) + ท้าวแสง (เมืองธาตุพนม), อาชญาเจ้า จันทร์ ณ นครพนม (บ้านโพธิ์คำ เมืองละคร)
    • อาชญาเจ้า หลวงปราณีพุทธบริษัท (เมฆ รามางกูร) เจ้าเมืองพนมที่ 3 เกิดแต่เจ้าจันทร์ ณ นครพนม + อาชญาเจ้าแม่โซ่น นางกองสี จันทรสาขา (พระธิดา อาชญาเจ้า อุปฮาต (เล จันทรสาขา) เมืองบังมุก (มุกดาหาร)), อาชญานางรี (ลี), อาชญานางคำสาม, อาชญานางสุวรรณแก้วคำ, อาชญานางยอดมะนี, อาชญานางนัน, อาชญานางสุ
      • อาชญาท้าว บุญมา (เกิดแต่อาชญาเจ้าแม่โซ่น นางกองสี จันทรสาขา)
      • อาชญาท้าว บับพา (เกิดแต่อาชญาเจ้าแม่โซ่น นางกองสี จันทรสาขา)
      • อาชญาท้าว สุพรรณ (เกิดแต่อาชญาเจ้าแม่โซ่น นางกองสี จันทรสาขา)
      • อาชญาท้าว บง (เกิดแต่อาชญาเจ้าแม่โซ่น นางกองสี จันทรสาขา)
    • อาชญาเจ้า มาก (เกิดแต่อาชญาเจ้า จันทร์ ณ นครพนม)
    • อาชญาเจ้า พรหมรินทร์ (เกิดแต่อาชญาเจ้า จันทร์ ณ นครพนม) + อาชญานางพิมพ์ (บ้านพระกลางท่า เมืองธาตุพนม)
      • อาชญาท้าว บุญ
      • อาชญาท้าว สุดตา
      • อาชญาท้าว สีดา
      • อาชญาท้าว ปัดชา
      • อาชญานาง ดี
    • อาชญาเจ้า หอม (เกิดแต่อาชญาเจ้า จันทร์ ณ นครพนม) + อาชญานางหนุ่น
      • อาชญาท้าว โหง่น
      • อาชญานาง จำปา
      • อาชญานาง หนูมั่น
      • อาชญาท้าว เกษม
    • อาชญาเจ้า นางขำ (เกิดแต่อาชญาเจ้าจันทร์ ณ นครพนม) + ท้าวดี (บ้านหัวบึงทุ่ง เมืองธาตุพนม)
    • อาชญาเจ้า นางแก้ว (เกิดแต่อาชญาเจ้า จันทร์ ณ นครพนม) + ท้าวโมกข์ (บ้านหนองกุดแคน เมืองธาตุพนม)
      • อาชญาท้าว เป
      • อาชญาท้าว ใบ
      • อาชญานาง หมูน
  • อาชญาเจ้า หลวงกลางน้อยศรีมงคล (ศรี) เจ้าเมืองพนมที่ 2 + อาชญาเจ้าแม่โซ่น นางบุษดี (บาดี), อาชญาเจ้าแม่ นางจันทุมมา (จันทุม), อาชญาเจ้าแม่ นางคำดวง (ดวง), อาชญานางเทพ, อาชญานางรือดี (ลือดี), อาชญานางอรดี, อาชญานางแก้วคำพา (แก้วคำภา), อาชญานางหมอก, อาชญานางจันทะลาด (จันทราช), อาชญานางคำแก้ว, อาชญานางนา, อาชญานางคำลุน, อาชญานางบัวละพัน (วรพัน), อาชญานางลาดสุวรรณ, อาชญานางคำนาลี, อาชญานางมน, อาชญานางยอดคำ
    • อาชญาเจ้า พระอัคร์บุตร (บุญมี บุคคละ) เกิดแต่อาชญาเจ้าแม่โซ่น นางบุษดี + หม่อมวัน (ชาวเมืองพนม), หม่อมโผน (ชาวเมืองพนม), อาชญาเจ้า นางบัวสี (ธิดาเพียทิพพะสอน นัดดาอาชญาเจ้า อุปฮาต เมืองคำเกิด), อาชญานางแก้วปัพพาร (ชาวเมืองคำเกิด), อาชญานางสีสุข (ชาวเมืองคำเกิด), นางเคือวัลย์ (ชาวเมืองคำม่วน), นางผ่อง (ชาวเมืองคำม่วน), นางเนือด (ชาวเมืองคำม่วน), นางต่อนคำ (ชาวเมืองคำม่วน), นางถ่อนแก้ว (ธิดาเพียจันทะฮด), นางหมัย (ชาวเมืองเวียงจันทน์), นางศรีเกิด (ชาวเมืองเวียงจันทน์), นางจำเลิด (ชาวเมืองเวียงจันทน์), นางน้อง (ชาวเมืองเวียงจันทน์), นางบัว (ชาวเมืองเวียงจันทน์), นางหนุ่น (ชาวเมืองเวียงจันทน์), นางหนูสุ่น (ชาวเมืองเวียงจันทน์)
      • ญานางคำสี บุคคละ ชาวพนม (เกิดแต่หม่อมชาวเมืองพนม)
      • ญานางคำดี บุคคละ ชาวพนม (เกิดแต่หม่อมชาวเมืองพนม)
      • กำนันสุนีย์ รามางกูร กำนันธาตุพนมคนที่ 6 (เกิดแต่หม่อมชาวเมืองพนม)
      • ญาท้าวเถิก บุคคละ ชาวพนม (เกิดแต่หม่อมชาวเมืองพนม)
      • ญาท้าวกอง บุคคละ ชาวพนม (เกิดแต่หม่อมชาวเมืองพนม)
      • ญานางหล่ำ บุคคละ ชาวพนม (เกิดแต่หม่อมชาวเมืองพนม )
      • อาชญาท้าว คำมี รามางกูร ชาวพนม (เกิดแต่อาชญาเจ้า นางบัวสี)+ นางทองแสง นีระพงศ์ (ชาวตำบลกุดฉิม เมืองธาตุพนม)
        • นายไม่ปรากฏนาม รามางกูร (หลอด) ถึงแก่กรรมเมื่อวัยเยาว์
        • นางฉวีวรรณ รามางกูร (แดง) + นายประสพสุข ใจสุข (ปะ) ชาวตำบลดอนนางหงส์
          • นางอารีรัตน์ ใจสุข (ดอกเอื้อง)
          • นายชัชวาล ใจสุข (อ๊อด)
          • นางจิราวรรณ ใจสุข (ดอกอ้อย)
          • นางสาวจุฑามาส ใจสุข (ดอกอ้อ)
        • นายสุพรรณ รามางกูร (จารย์กิ)
          • นายพูลศักดิ์ รามางกูร (กอล์ฟ)
          • นายเพลิงสุริยเทพ เจ้ามลาวลาช รามางกูร ณ โคตะปุระ (กิ๊ฟ)
        • นางสาวดวงจันทร์ รามางกูร (ด๊อกแด๊ก) ถึงแก่กรรมเมื่อวัยเยาว์
        • นายคำพันธ์ รามางกูร (ข่อหล่อ) ถึงแก่กรรม
          • นายพิพัฒน์ รามางกูร (แจ๊คกี้)
        • นางชฎาพร รามางกูร (ขอด)
          • นางสาวกนกพร ปิ่นกาศ (เฟรนด์)
        • นางวิไลวรรณ รามางกูร (เขียด)
          • นายสมชาย วงศ์มุกดา (ตี๋เล็ก)
        • นางสาวแสงจันทร์ รามางกูร (แหล่)
        • นางแสงเดือน รามางกูร (โปน)
          • นางสาวมานิตา สิงห์รุณ (ทราย)
          • นายศิริมงคล สิงห์รุณ (มาร์ค)
        • นายอารีย์ รามางกูร (ชายแดน)
      • อาชญาท้าว พระบำรุงพนมเจดีย์ (เทพพะจิตต์ บุคคละ) ชาวเวียงจันทน์ (เกิดแต่อัญญานางแก้วปัพพาร)
      • อาชญาท้าว โพธิสารพินิต (อินวงษ์ บุคคละ) ชาวเวียงจันทน์ (เกิดแต่อัญญานางสีสุข)
      • อาชญาท้าว คำพรหม บุคคละ ชาวเวียงจันทน์ (เกิดแต่นางชาวลาว)
      • อาชญาท้าว พรหมบุดดา บุคคละ ชาวเวียงจันทน์ (เกิดแต่นางชาวลาว)
      • อาชญานาง คำเลิศ บุคคละ ชาวเวียงจันทน์ (เกิดแต่นางชาวลาว)
      • อาชญานาง ข่ายคำ บุคคละ ชาวเวียงจันทน์ (เกิดแต่นางชาวลาว)
    • อาชญาเจ้า จารย์พุทธา (พุทธา บุคคละ) เกิดแต่อาชญาเจ้าแม่โซ่น นางบุษดี
      • อาชญาท้าว กง รามางกูร
    • อาชญาเจ้า พระอุปฮาซา (เฮือง รามางกูร, นายฮ้อยเฮือง) เกิดแต่อาชญาเจ้าแม่โซ่น นางบุษดี
      • นายดวง บุคคละ (มหาดวง รามางกูร)
      • ร้อยตำรวจตรีประดิษฐ์ บุคคละ (ประดิษฐ์ รามางกูร)
        • นายประดับ บุคคละ (ดร. วีรพงษ์ รามางกูร (โกร่ง))
    • อาชญาเจ้า พรหมบุตร์ (เที่ยง รามางกูร, นายฮ้อยพรหมบุตร) เกิดแต่อาชญาเจ้าแม่โซ่น นางบุษดี
    • อาชญาเจ้า คำผิว (ท้าวผิว บุคคละ, พิราลัยเมื่อยังหนุ่ม) เกิดแต่อาชญาเจ้าแม่โซ่น นางบุษดี
    • อาชญาเจ้าแม่โซ่น นางยอดแก้วก่องมะณี (ยอดแก้ว จันทรสาขา) เกิดแต่อาชญาเจ้าแม่ นางจันทุมมา
    • อาชญาเจ้า นางสิริพัน (พัน บุคคละ) เกิดแต่อาชญาเจ้าแม่ นางคำดวง
    • อาชญาเจ้า นางจันทะแจ่ม (จันทร์บุคคละ) เกิดแต่อาชญาเจ้าแม่ นางคำดวง
  • อาชญาเจ้า คำโหง่น (โหง่น)
  • อาชญาเจ้า นางคำหล้า (หล่า)
  • อาชญาเจ้า นางอ่อนน้อย (อ่อน)
  • อาชญาเจ้า โพธิราช (พุทธิราช)

อาชญาเจ้าแม่ นางเดือนผาด

  • อาชญาเจ้า นางจันทะวงษ์
  • อาชญาเจ้า สุวรรณราช (หมื่นสุวรรณ) + หม่อมศรีพุทธชาด (ธิดาเพียคำพิทูน), อาชญานางวง, อาชญานางบุญโฮม
    • อาชญาท้าว พรรณละนา (พันนา)
    • อาชญาท้าว สุขขะสัง (สุขสังข์)
    • อาชญาท้าว อินทร์สังข์
    • อาชญาท้าว สิริ
    • อาชญาท้าว ขาวสีเผือก (เผือก)
    • อาชญาท้าว คำเฮียว (คำเฮียก)
    • อาชญานาง ก้อนแก้ว
    • อาชญานาง เฮียม (เรียม)
    • อาชญานาง เทพปะจง (เทพบรรจง)
    • อาชญานาง สร้อยสุลิน

อาชญาเจ้าแม่ นางคำสุวรรณ

  • อาชญานางแก้วอำไพ

อาชญานางสีไท

อาชญานางคำค้อม

อาชญานางแก้วคำไข (แก้วคำคาย)

อาชญานางบัวละวอน

อาชญานางอินทะส่าง (อินทร์สร้าง)

อาชญานางพุทธิวงศ์

อาชญานางน้อยเจียร (น้อยเจียน)

หม่อมน้อยเกต (เกษ)

หม่อมสุขะวดี (สุขวดี)

หม่อมแก้วรัตนะ (แก้วรัตนะ)

หม่อมนัน

หม่อมจวน

หม่อมหนูแพง

หม่อมสุเทพ (สุ)

หม่อมสีคำ

หม่อมสีเทพ

หม่อมจำปา

หม่อมสุวรรณ

หม่อมบุญหอม

หม่อมหนูจีน

หม่อมพิมพ์

หม่อมคำนาก

หม่อมจันทะวงษา (จันทรวงศ์)

หม่อมน้อยคำหล่อ (น้อยคำหล่า)

หม่อมหม่อมเทพา

หม่อมไม่ทราบนาม

  • อาชญาท้าวสุวรรณจักร
  • อาชญาท้าวสีสุวัน
  • อาชญาท้าวนะระดน
  • อาชญาท้าวแดงอุไท
  • อาชญาท้าวคำแดง
  • อาชญาท้าวคำผ่าย
  • อาชญาท้าวหมาน้อย
  • อาชญาท้าวหำทอง
  • อาชญาท้าวโอคำ
  • อาชญาท้าวคำเศิก
  • อาชญาท้าวคำเกิด
  • อาชญาท้าวเปิด
  • อาชญานางปิน
  • อาชญานางมูน
  • อาชญานางวิน
  • อาชญานางธะ
  • อาชญานางนี
  • อาชญานางย้อง
  • อาชญานางผ้าย
  • อาชญานางสาย
  • อาชญานางจีบ
  • อาชญานางอินทร์ถวาย
  • อาชญานางแก้วพิฑูล
  • อาชญานางเนียระบล
  • อาชญานางแก้วโพธิ์คำ
  • อาชญานางสีสิน
  • อาชญานางหล่าน้อย

ตระกูลที่สืบเชื้อสาย

ทายาทของขุนรามราชรามางกูรที่อาศัยอยู่ในเมืองธาตุพนมนั้นมีอยู่เป็นจำนวนมาก และทายาทเหล่านั้นได้แตกแขนงวงศ์วานว่านเครือออกไปตั้งสกุลเป็นของตนเองอยู่หลายสิบตระกูล ทุกตระกูลต่างเป็นที่ทราบกันดีในเมืองธาตุพนมว่า เป็นตระกูลเก่าแก่และมีรกรากดั้งเดิมในเมืองธาตุพนม ในสำเนาหนังสือสำคัญการสืบวงศ์เจ้าเมืองธาตุพนมและนามสกุลอันเป็นเทือกเถาเหล่ากอของเจ้าเมืองธาตุพนม ของเจ้าอุปฮาต (ท้าวเฮือง รามางกูร) ผู้มีศักดิ์เป็นพระราชนัดดาของขุนรามราชรามางกูรนั้น ได้ออกนามตระกูลที่สืบเชื้อสายจากขุนรามราชรามางกูรในเมืองธาตุพนมไว้มากมายถึง 18 ตระกูลด้วยกัน ดังข้อความดังนี้

" สกุลนี้สืบมาแต่ ขุนรามรามางกูร

จดหมายบันทึก

ข้าพเจ้า ท้าวเฮือง รามางกูร เป็นบุตร์หลวงกลางน้อยศรีมงคล (ศรี) เจ้าเมืองธาตุพนม ๆ เป็นบุตร์ ขุนรามรามางกูร (ราม) เจ้าเมืองธาตุพนม ๆ เป็นบุตร์ พระยาเมืองฮามนามฮุ่งศรี (คำอยู่) เมืองนครจำปาศักดิ์ ๆ เป็นบุตร์ เจ้าพญานาเหนือราชวงษ์เมืองล้านช้างเวียงจันทน์

ขอแสดงความจำนงค์ไว้ในที่นี้ด้วยว่า ผู้ที่เป็นสายเครือญาติมีเถือกเถาเหล่ากอสืบต่อกันมาแต่ปู่ ย่า ตา ทวด โดยทางตรงหรือทางอ้อม ทางฝ่ายชาย ฝ่ายหญิง เช่น สกุล จันทนะ บุคคละ ชุณหปราณ ธีระภา พุทธศิริ ทามนตรี สุมนารถ ประคำมินทร์ วงศ์ขันธ์ มนารถ จันทศ ลือชา มันทะ รัตโนธร ครธน สารสิทธิ์ สายบุญ อุทา เป็นต้นก็ดี หรือสกุลที่เป็นสาขาก็ดี ถ้าผู้ใดมีความประสงค์จะรวมญาติโดยใช้สกุลรามางกูร รวมกับข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้ามีความยินดีให้ใช้ได้ทุกคน

ลงนาม (เฮือง รามางกูร) สำเนาถูกต้อง

เปลี่ยน สุนีย์ (นายเปลี่ยน สุนีย์) ปลัดอำเภอตรี อำเภอธาตุพนม

ลาวัณย์ คัด/ทาน"[26]

ส่วนในสำเนาหนังสือสำคัญการตั้งสกุลรามางกูรและอนุญาตให้ใช้สกุลรามางกูร พุทธศักราช 2490 ของท้าวเฮืองนั้น กล่าวไว้ว่ามี 17 ตระกูล[27] ซึ่งตกตระกูลบุคคละไป ตระกูลบุคคละเป็นตระกูลเดิมของอาชญาเจ้า พระอุปฮาต (เฮือง รามางกูร) ก่อนจะตั้งตระกูลรามางกูรขึ้น และในบรรดาตระกูลทั้งหมด 18 ตระกูลนี้ ยกย่องให้เกียรติกันว่าตระกูลบุคคละ เป็นตระกูลที่เก่าแก่ที่สุดของบุตรหลานเจ้าเมืองธาตุพนม ส่วนหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ร้อยตำรวจตรีประดิษฐ์ รามางกูร ดร. วีรพงษ์ รามางกูร ผู้เป็นบุตรชาย ได้ทำการรวบรวมบันทึกลำดับวงศาคณาญาติเจ้านายเมืองธาตุพนมไว้ และกล่าวว่าสกุลทั้งหมดนั้นมีเพียง 16 สกุล ดังข้อความ

" ............เมื่อปู่กับลุงมหาดวง รวบรวมญาติพี่น้องซึ่งกระจัดกระจายใช้นามสกุลต่างกันถึง 16 สกุลให้มาร่วมกันใช้นามสกุล รามางกูร เดียวกัน บรรดาญาติพี่น้องทั้งหมดมีความเห็นร่วมกันว่า ควรจะยกย่อง ขุนรามฯ เป็นต้นสกุล รามางกูร............"[28]

อย่างไรก็ตาม บรรดาสกุลทั้งหมด 18 สกุลนี้ บางสกุลก็ถือว่าเป็นสกุลที่แต่งงานผูดดองกับสกุลรามางกูรมาตั้งแต่โบราณ บางสกุลก็มีเชื้อสายทางฝ่ายชายเป็นท้าวมาก่อน บางสกุลก็มีเชื้อสายทางฝ่ายหญิงเป็นเจ้ามาก่อน บางสกุลก็เป็นเจ้านายกรมการเก่าแก่ในเมืองธาตุพนมมาแต่เดิม บางสกุลก็อพยพมาจากนครจำปาศักดิ์พร้อมกับกับสกุลรามางกูร บางสกุลก็อพยพมาแต่เมืองมุกดาหาร แต่บรรดาสกุลทั้งหมดนี้ สกุลประคำมินทร์ มักได้รับการยกย่องให้มีเกียรติว่าเป็นสกุลที่ใกล้ชิดกับสกุลรามางกูร มากที่สุดในบรรดาสกุลทั้งหลายของเจ้านายเมืองธาตุพนม และมักได้รับการนับญาติพี่น้องหรือกล่าวถึงมากที่สุดจากสกุลรามางกูร ส่วนสกุลบุคคละนั้น ภายหลังจากอาชญาเจ้า พระอุปฮาต (เฮือง รามางกูร) ตั้งสกุลรามางกูรขึ้นแล้ว บุตรหลานทั้งหลายก็พากันเปลี่ยนสกุลมาเป็นรามางกูรแทบทั้งหมด ทำให้บุตรหลานที่ใช้สกุลบุคคละ หลงเหลืออยู่เป็นจำนวนน้อย จะยังมีก็แต่บรรดาบุตรหลานดั้งเดิมของอาชญาเจ้า พระอัคร์บุตร (บุญมี บุคคละ) ที่อยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและทายาทเก่าแก่แถบริมฝั่งโขงที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่ดินเดิมของเจ้าเมืองบางส่วนที่ไม่ยอมเปลี่ยนสกุลตาม เพราะยังคงถือว่า บุคคละ เป็นมงคลนามอันมาแต่ราชทินนามของบรรดาศักดิ์เดิมแห่ง พระยานาเหนือ (เพียศรีบุคคะโล) ผู้เป็นพระอัยกาของ ขุนรามราชรามางกูร ซึ่งเป็นของสูงที่พระเจ้ากรุงล้านช้างพระราชทานให้มา จึงไม่เห็นควรเปลี่ยนสกุลแต่ประการใด

จากบรรดาตระกูลทั้งหมด 18 ตระกูล อันมีตระกูลรามางกูรเป็นตระกูลหลัก ได้แตกแขนงมหาสาขา และอนุสาขา ออกไปอีกนับได้ทั้งหมด 32 ตระกูล ดังต่อไปนี้

1. รามางกูร (ผู้ก่อตั้งคือ อาชญาเจ้า พระอุปฮาต (เฮือง รามางกูร) โอรสอาชญาเจ้า หลวงกลางน้อยศรีมงคล (ศรี รามางกูร) นัดดาอาชญาเจ้า ขุนรามราชรามางกูร (ลาม รามางกูร)

2. รามางกูร ณ โคตะปุระ (ผู้ก่อตั้งคือ นายเพลิงสุริยเทพ (เจ้ามลาวลาช) รามางกูร บุตร์นายสุพรรณ รามางกูร หลานท้าวคำมี รามางกูร เหลนอาชญาเจ้า พระอัคร์บุตร (บุญมี บุคคละ))

3. บุคคละ (ผู้ก่อตั้งคือ อาชญาเจ้าพระอัคร์บุตร (บุญมี บุคคละ) โอรสอาชญาเจ้า หลวงกลางน้อยศรีมงคล (ศรี รามางกูร) นัดดาอาชญาเจ้า ขุนรามราชรามางกูร (ลาม รามางกูร))

4. ประคำมินทร์ (ผู้ก่อตั้งคือ ท้าวกอง เมืองนครจำปาศักดิ์ และอาชญานางนาง รามางกูร ภริยา ธิดาอาชญานางหล้า (คำหล้า รามางกูร) นัดดาอาชญาเจ้า ขุนรามราชรามางกูร (ลาม รามางกูร))

5. ประคำ (แยกมาจากสกุลประคำมิทร์)

6. จันทนะ

7. จันทะนะ (แยกมาจากสกุลจันทนะ)

8. จันทรา

9. จันทศ (ผู้ก่อตั้งคือ หลวงทศทิศพนมธานี และอาชญานางจันทรา ภริยา พระขนิษฐาอาชญาเจ้า ขุนรามราชรามางกูร (ลาม รามางกูร))

10. จันทร์ทศ (แยกมาจากสกุลจันทศ)

11. ทศศะ (ผู้ก่อตั้งคือ หลวงทศทิศพนมธานี และอาชญานางจันทรา รามางกูร ภริยา พระขนิษฐาอาชญาเจ้า ขุนรามราชรามางกูร (ลาม รามางกูร))

12. ชุณหปราณ

13. ธีระภา

14. พุทธศิริ

15. ทามนตรี

16. มนารถ

17. สุมนารถ (ผู้ก่อตั้งคือ ท้าวจารย์บัวลี สกุลเดิม มนารถ)

18. วงศ์ขันธ์

19. วงษ์ขันธ์ (แยกมาจากสกุลวงศ์ขันธ์)

20. ลือชา

21. ฤๅชา (แยกมาจากสกุลลือชา)

22. มันทะ

23. มัณฑะ (แยกมาจากสกุลมันทะ)

24. มันตะ (แยกมาจากสกุลมันทะ)

25. รัตโนธร (ผู้ก่อตั้งคือ ท้าวเข็ง โอรสอาชญาท้าวโพธิราช รามางกูร หลานอาชญาเจ้า ขุนรามราชรามางกูร (ลาม รามางกูร))

26. ครธน

27. สารสิทธิ์

28. สายบุญ

29. อุทา

30. อุปละ (ผู้ก่อตั้งคือ พระพิทักษ์เจดีย์ นายกองข้าพระธาตุพนม ทายาทสายอาชญาเจ้าแม่โซ่นสิริบุญมา พระชายาอาชญาเจ้า ขุนรามราชรามางกูร (ลาม รามางกูร))

31. อุประ (แยกมาจากสกุลอุปละ)

32. อึ้งอุประ (แยกมาจากสกุลอุประ)

ทายาทผู้มีชื่อเสียง

ราชทินนามที่ใช้เป็นอนุสรณ์

  • นามสกุล รามางกูร
  • นามสกุล รามางกูร ณ โคตะปุระ
  • เรือเจ้าพ่อขุนราม
  • จวนขุนราม
  • ขุนรามเฮ้าส์
  • กาละแมขุนราม
  • บ้านรามางกูร

พงศาวลี

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 3 (สมเด็จพระเจ้าสิริบุญสาร) แห่งนครเวียงจันทน์
 
 
 
 
 
 
 
8. อาชญาเจ้า พระยาบุตรโคตรแวงบ่าวบูรพา (บุตรโคตร บุคคละ)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. พระอรรคชายา เจ้านางจันทะมาส
 
 
 
 
 
 
 
4. อาชญาเจ้า พระยานาเหนือ (คำบุค บุคคละ)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18.
 
 
 
 
 
 
 
9. อาชญาเจ้าแม่ นางเทพกินนะลี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19.
 
 
 
 
 
 
 
2. อาชญาเจ้า พระยาเมืองฮามนามฮุ่งศรี (คำอยู่ บุคคละ)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20.
 
 
 
 
 
 
 
10.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21.
 
 
 
 
 
 
 
5. อาชญาเจ้า นางลาดโนลี (แพงสุวรรณ บุคคละ)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22.
 
 
 
 
 
 
 
11.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23.
 
 
 
 
 
 
 
1. อาชญาเจ้า ขุนรามราชรามางกูร (ลาม รามางกูร)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. สมเด็จพระเจ้าไชยกุมมาร แห่งนครจำปาศักดิ์
 
 
 
 
 
 
 
12. เจ้าราชวงศ์ (สุริโย ณ จำปาศักดิ์)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. พระอัครมเหสี เจ้าเฮือนหญิงไม่ปรากฏพระนาม
 
 
 
 
 
 
 
6. เพียนันทา (สีสุริจันทน์ ณ จำปาศักดิ์)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26.
 
 
 
 
 
 
 
13. พระชายา เจ้าเฮือนหญิงไม่ปรากฏพระนาม
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27.
 
 
 
 
 
 
 
3. อาชญาเจ้าแม่ นางบุคคะลี (โมคคัลลี บุคคละ)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28.
 
 
 
 
 
 
 
14.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29.
 
 
 
 
 
 
 
7. อาชญาแม่ นางศรีคัลลาลัย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30.
 
 
 
 
 
 
 
15.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31.
 
 
 
 
 
 

|}

อ้างอิง

  1. วีรพงษ์ รามางกูร, อนุสรณ์ ร้อยตำรวจตรีประดิษฐ์ รามางกูร 22 กันยายน 2528, 1.
  2. พระครูสิริเจติยานุรักษ์, บทสัมภาษณ์เรื่อง เจ้าขุนโอกาสพระธาตุพนมและประวัติราชตระกูลรามางกูร, ไม่ปรากฏหน้า.
  3. นางจันเนา รามางกูร, บทสัมภาษณ์เรื่อง ขุนรามราชรามางกูรกับการสร้างวัดหัวเวียงรังสี : วัดประจำราชตระกูลรามางกูร, ไม่ปรากฏหน้า.
  4. นายเฮือง รามางกูร, สำเนาหนังสือสำคัญการตั้งสกุลรามางกูรและอนุญาตให้ใช้สกุลรามางกูร พุทธศักราช 2490, 1-2.
  5. ท้าวเฮือง รามางกูร, สำเนาหนังสือสำคัญการสืบวงศ์เจ้าเมืองธาตุพนมและนามสกุลอันเป็นเทือกเถาเหล่ากอของเจ้าเมืองธาตุพนม, 1.
  6. วีรพงษ์ รามางกูร, ไฮคลาส ปีที่ 14 ฉบับ 162 ต.ค. 2540 : สืบวงศ์วานเจ้าเมืองธาตุพนม, 125-127.
  7. มหาศิลา วีระวงศ์, พงศาวดารลาว ฉบับ ส. ธรรมภักดี, 122-161.
  8. กรมศิลปากร, ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 70 เรื่องคำให้การพระยาเมืองฮาม, 115-116.
  9. เติม วิภาคย์พจนกิจ, ประวัติศาสตร์อีสาน : ลักษณะการปกครองก่อนการปฏิรูป, 295-296.
  10. สิลา วีระวงส์, ประวัติศาสตร์ลาว, 137-151.
  11. มหาศิลา วีระวงศ์, พงศาวดานลาว, 138-140.
  12. พระธรรมราชานุวัตร (แก้ว อุทุมมาลา), อุรังคธาตุนิทาน : ตำนานพระธาตุพนม (พิศดาร), 183-184.
  13. พระธรรมราชานุวัตร (แก้ว อุทุมมาลา), อุรังคธาตุนิทาน : ตำนานพระธาตุพนม (พิศดาร), 137-138.
  14. พระครูสิริเจติยานุรักษ์, บทสัมภาษณ์เรื่อง ตระกูลรามางกูร : ตระกูลเจ้าขุนโอกาส, 137-138.
  15. สุรจิตต์ จันทรสาขา, เมืองมุกดาหาร, 34.
  16. สุพร สิริพัฒน์, นครพนม : ศรีโคตตะบูรณ์นคร, 165-166.
  17. วีรพงษ์ รามางกูร, ไฮคลาส ปีที่ 14 ฉบับ 162 ต.ค. 2540 : สืบวงศ์วานเจ้าเมืองธาตุพนม, 127-128.
  18. พระธรรมราชานุวัตร (แก้ว อุทุมมาลา), อุรังคธาตุนิทาน : ตำนานพระธาตุพนม (พิศดาร), 110-111.
  19. สุรจิตต์ จันทรสาขา, "ใบลานจารึกพงศาวดารเมืองมุกดาหาร, 156-157.
  20. ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๗๐, พงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทน์, ไม่ปรากฏหน้า.
  21. ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๗๐, พงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทน์, ไม่ปรากฏหน้า.
  22. วชิรญาณวิเศษ, เมืองลาวแถบโขง, 542-543.
  23. สุพร สิริพัฒน์, นครพนม : ศรีโคตตะบูรณ์นคร, 170.
  24. พระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นันตโร), จารึกดินเผาวัด เรื่อง ปฏิสังขรณ์พระธาตุพนม, 1.
  25. พระครูศีลาภิรัตน์ (หมี บุปผาชาติ), จารึกศิลาเลข เรื่อง ประดิษฐานพัทธสีมาวัดพระธาตุพนม, 1.
  26. ท้าวเฮือง รามางกูร, สำเนาหนังสือสำคัญการสืบวงศ์เจ้าเมืองธาตุพนมและนามสกุลอันเป็นเทือกเถาเหล่ากอของเจ้าเมืองธาตุพนม, 1.
  27. นายเฮือง รามางกูร, สำเนาหนังสือสำคัญการตั้งสกุลรามางกูรและอนุญาตให้ใช้สกุลรามางกูร พุทธศักราช 2490, 1-2.
  28. วีรพงษ์ รามางกูร, อนุสรณ์ ร้อยตำรวจตรี ประดิษฐ์ รามางกูร 22 กันยายน 2528, 1.