ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แพรดำ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
SeeingMole (คุย | ส่วนร่วม)
เอา youtube video link ออก
บรรทัด 75: บรรทัด 75:
* [http://www.siamzone.com/movie/m/2030 http://www.siamzone.com/movie/m/2030]
* [http://www.siamzone.com/movie/m/2030 http://www.siamzone.com/movie/m/2030]
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}

==แหล่งข้อมูลอื่น==
*{{youtube|lyNHbsWJm84|แพรดำ (1080HD)}}

[[หมวดหมู่:ภาพยนตร์ไทย|พ]]
[[หมวดหมู่:ภาพยนตร์ไทย|พ]]
[[หมวดหมู่:ภาพยนตร์ฟิล์มนัวร์|พ]]
[[หมวดหมู่:ภาพยนตร์ฟิล์มนัวร์|พ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:52, 13 กันยายน 2557

แพรดำ
กำกับรัตน์ เปสตันยี
เขียนบทรัตน์ เปสตันยี
อำนวยการสร้างรัตน์ เปสตันยี
นักแสดงนำรัตนาวดี รัตนาพันธ์
ทม วิศวชาติ
เสณี อุษณีษาณฑ์
ถวิล วรวิบูลย์
ศรินทิพย์ ศิริวรรณ
จมื่นมานพนริศน์
พิชิต สาลีพันธิ์
จุรัย เกษมสุวรรณ
กำกับภาพรัตน์ เปสตันยี
เอเดิ้ล เปสตันยี
ตัดต่อรัตน์ เปสตันยี
ดนตรีประกอบปรีชา เมตไตรย์
คณะดุริยประณีต
ผู้จัดจำหน่ายหนุมานภาพยนตร์
วันฉาย22 มิถุนายน พ.ศ. 2504
ความยาว129 นาที
ประเทศไทย
ภาษาไทย
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน

แพรดำ เป็นภาพยนตร์ไทย ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2504 ฟิล์ม 35 มม. สี เสียง ซีนีมาสโคบ สร้างโดย หนุมานภาพยนตร์ เขียนบทและกำกับภาพยนตร์โดย รัตน์ เปสตันยี นำแสดงโดย รัตนาวดี รัตนาพันธ์ เป็นบุตรสาวคนโตของ รัตน์, ทม วิศวชาติ, เสณี อุษณีษาณฑ์, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ เป็นภาพยนตร์อาชญกรรมที่ถือได้ว่าเป็นฟิล์มนัวร์เรื่องแรกของประเทศไทย[1]ผสมผสานองค์ประกอบที่ตีแผ่ให้เห็นด้านมืดของปุถุชนคนธรรมดา วันที่เข้าฉายเมื่อ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2504 ฉายครั้งแรกที่ เฉลิมกรุง

แพรดำ เป็นภาพยนตร์ที่ รัตน์ เปสตันยี ต้องการสร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่ภาพยนตร์ไทยให้เป็นที่รู้จักในต่างประเทศ [2] โดยได้ส่งเข้าร่วมประกวดในงาน เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1961 แม้ว่าจะไม่ได้รับรางวัลใดๆ กลับมา แต่ก็ได้รับการตอบรับที่ดีจากสื่อมวลชนที่ไปร่วมงาน[3] และได้รับรางวัลถ่ายภาพ ในงานประกาศผล รางวัลตุ๊กตาทอง ประจำปี พ.ศ. 2505

ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้นำมาจัดจำหน่ายในรูปแบบดีวีดี โดย มูลนิธิหนังไทย เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ พร้อมกับภาพยนตร์เรื่องอื่นที่ รัตน์ เปสตันยี กำกับ

เรื่องย่อ

เรื่องราวของ แพร (รัตนาวดี รัตนาพันธ์) หญิงหม้ายลูกติดที่สวมชุดสีดำเพื่อไว้ทุกข์ให้กับสามีผู้ล่วงลับมาสองปีก่อน เธออยู่กับอาของเธอชื่อว่า แดง (ศรินทิพย์ ศิริวรรณ) ความสัมพันธ์ระหว่างเธอกับ ทม (ทม วิศวชาติ) คนคุมไนท์คลับ ชักนำเธอให้เข้าไปพัวพันกับเหตุฆาตกรรม ซึ่ง เสนีย์ (เสณี อุษณีษาณฑ์) เจ้าของไนท์คลับ เจ้านายของทม และทมได้ร่วมกันก่อขึ้น เพื่อความหวังในชีวิตที่ดีขึ้น

ท้ายสุดทมก็พาชีวิตของตัวเองให้ก้าวไปไกลเกินกว่าที่จะกลับในวิถีชีวิตปกติ ซึ่งแทนที่จะช่วยให้ทมและแพร สมหวังในความรักกลับเป็นเหตุให้ความหวังเหล่านั้นหลุดลอยห่างไกลออกไปทุกที และชีวิตของแพรก็ต้องเปลี่ยนไปเมื่อเข้าไปรับรู้การฆาตกรรมที่เกิดขึ้น จนนำไปสู่การลักพาตัวลูกชายของแพร และสร้างความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงให้กับชีวิตของเธอ เธอจึงได้บวชชี

ต่อมา เธอได้ออกจากการบวชชีก่อน เพราะลูกของเธอที่ถูกจับนั้นป่วย และเธอกับทมได้ไต่สวนคดีฆาตกรรม จึงตัดสินให้ทมถูกประหารชีวิต สุดท้ายเธอได้หันหน้าเข้าหาความสงบจากพระธรรม

นักแสดง

เพลงประกอบ

การสร้าง

แพรดำ เป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ถ่ายทำในระบบฟิล์ม 35 มม. สี เสียงซีนีมาสโคบ ที่ให้ภาพจอกว้างเต็มตา เป็นภาพยนตร์อาชญกรรมที่ถือได้ว่าเป็นฟิล์มนัวร์เรื่องแรกของเมืองไทย ผสมผสานองค์ประกอบที่ตีแผ่ให้เห็นด้านมืดของปุถุชนคนธรรมดา เหนืออื่นใด แพรดำ เป็นภาพยนตร์ที่สมควรได้รับการยกย่องให้เป็นผลงานระดับคลาสสิก โดยเฉพาะในส่วนของศิลปะหนัง เพื่อพัฒนาเรื่องและสื่อความหมายได้อย่างดีเยี่ยม

รัตนาวดี รัตนาพันธ์ เป็นชื่อในการแสดง ของบุตรสาวคนโตของรัตน์ เปสตันยี แสดงนำเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในบทของ แพร หญิงหม้ายลูกติดที่สวมชุดสีดำเพื่อไว้ทุกข์ให้กับสามีผู้ล่วงลับ ซึ่งเป็นการสร้างบุคลิกที่ชัดเจนแก่ตัวละคร ในช่วงท้ายของเรื่องซึ่งแพรได้หันหน้าเข้าหาความสงบจากพระธรรม และเพื่อจะให้ภาพสร้างจริง ผู้กำกับให้แพนโกนหัวบวชชีจริงๆ เพื่อเข้าฉากภาพยนตร์

ดีวีดี

ภาพยนตร์ แพรดำ ได้นำทำเป็นดีวีดีออกจำหน่าย โดยมี มูลนิธิหนังไทย เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ดีวีดีเรื่องนี้มีราคา 250 บาท ในระบบสีและเสียง มีความยาวของภาพยนตร์อยู่ 129 นาที ดีวีดีเรื่องนี้ถือว่าเป็นหนังอาชญกรรมที่ถือได้ว่าเป็นฟิล์มนัวร์เรื่องแรกๆ ของเมืองไทย สมผสานองค์ประกอบที่ตีแผ่ให้เห็นด้านมืดของปุถุชนคนธรรมดา เหนืออื่นใด แพรดำ เป็นหนังที่สมควรได้รับการยกย่องให้เป็นผลงานระดับคลาสสิก โดยเฉพาะในส่วนของศิลปะหนัง เพื่อพัฒนาเรื่องและสื่อความหมายได้อย่างดีเยี่ยม

ดีวีดีเรื่องนี้ได้ออกจัดจำหน่ายพร้อมกับดีวีดีเรื่องที่ รัตน์ เปสตันยี กำกับ ในปัจจุบัน ดีวีดีเรื่องนี้จะสามารถสั่งซื้อได้ที่เว็บไซต์ของ มูลนิธิหนังไทย

อ้างอิง

  1. http://www.thaifilm.com/supportDetail.asp?id=80 .
  2. ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554. กรุงเทพฯ : โพสต์ พับลิชชิง, 2555. 355 หน้า. ISBN 978-974-228-070-3
  3. http://www.thaifilm.com/articleDetail_en.asp?id=40 .