ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พรเทพ เตชะไพบูลย์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dechachat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
มังกรคาบแก้ว (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 58: บรรทัด 58:
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.]]
[[หมวดหมู่:สกุลเตชะไพบูลย์]]
[[หมวดหมู่:สกุลเตชะไพบูลย์]]
[[หมวดหมู่:ชาวไทยเชื้อสายจีน]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:52, 17 สิงหาคม 2557

นายพรเทพ เตชะไพบูลย์
ไฟล์:พรเทพ เตชะไพบูลย์.jpg
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
29 กันยายน พ.ศ. 2535 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538
นายกรัฐมนตรีนายชวน หลีกภัย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด17 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 (70 ปี)
กรุงเทพ ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์
คู่สมรสศรีสกุล พร้อมพันธุ์ (หย่า)
ปภัสรา เตชะไพบูลย์

นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย (สมัยแรก) และอดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ประวัติ

พรเทพ เตชะไพบูลย์ เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 เป็นบุตรของนายสุเมธ เตชะไพบูลย์ กับนางรังสี เตชะไพบูลย์[1] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านการบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา และปริญญาโทในสาขาเดียวกัน จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และปริญญาโท สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

ด้านชีวิตครอบครัว พรเทพ เตชะไพบูลย์ เคยสมรสกับศรีสกุล พร้อมพันธุ์ (ภรรยาคนปัจจุบันของสุเทพ เทือกสุบรรณ) น้องสาวของนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ มีบุตร 3 คนคือ สิทธิพัฒน์ เตชะไพบูลย์ เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ และ ธีราภา พร้อมพันธุ์[2] ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 ได้สมรสใหม่กับปภัสรา เตชะไพบูลย์ มีบุตร 1 คน ดิสรยา เตชะไพบูลย์

การทำงาน

พรเทพ เตชะไพบูลย์ เริ่มเข้าสู่งานการเมืองโดยการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อปี พ.ศ. 2529 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับการเลือกตั้งหลายสมัย ต่อมาได้รับตำแหน่งรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2532 และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย[3] เมื่อปี พ.ศ. 2538 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในยุครัฐบาลชวน2 กระทั่งปี พ.ศ. 2547 จึงได้ย้ายไปสังกัดพรรคมหาชน และพรรครวมชาติพัฒนา ในปี พ.ศ. 2550

ในปี พ.ศ. 2552 นายพรเทพ ได้ย้ายมาสังกัดพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้ง และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กระทั่งในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 ได้ลาออกจากตำแหน่ง โดยให้เหตุผลส่วนตัวว่าต้องดูแลบุตรชายที่ป่วย[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.
  2. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
  4. ปรับ16เก้าอี้-หลุด9รอโปรดเกล้าฯครม.'ยิ่งลักษณ์2จตุพร'ทำใจรอคิวพร้อมบ้านเลขที่111บรรหารขอบคุณ'ปู'ไม่แตะก.เกษตร
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย จำนวน ๔,๒๓๘ ราย)
  6. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ชั้นสายสะพาย สมาชิกวุฒิสภา เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๗)