ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จิตวิทยาคลินิก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 20: บรรทัด 20:
นักจิตวิทยาคลินิก คือ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาด้านจิตวิทยาสาขาจิตวิทยาคลินิก (Clinical psychology) ซึ่งมี[[ใบประกอบโรคศิลปะ]] และปฏิบัติงานในสถานพยาบาลต่างๆ นักจิตวิทยาคลินิกเป็นส่วนหนึ่งของทีมผู้ให้การรักษาทางการแพทย์ ส่วนใหญ่มักประจำอยู่ในงาน[[จิตเวชศาสตร์]] (Psychiatry) บางส่วนอยู่ในงานอื่นๆ เช่น งานเวชกรรมป้องกัน หรือ งาน[[เวชศาสตร์ฟื้นฟู]] เป็นต้น
นักจิตวิทยาคลินิก คือ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาด้านจิตวิทยาสาขาจิตวิทยาคลินิก (Clinical psychology) ซึ่งมี[[ใบประกอบโรคศิลปะ]] และปฏิบัติงานในสถานพยาบาลต่างๆ นักจิตวิทยาคลินิกเป็นส่วนหนึ่งของทีมผู้ให้การรักษาทางการแพทย์ ส่วนใหญ่มักประจำอยู่ในงาน[[จิตเวชศาสตร์]] (Psychiatry) บางส่วนอยู่ในงานอื่นๆ เช่น งานเวชกรรมป้องกัน หรือ งาน[[เวชศาสตร์ฟื้นฟู]] เป็นต้น


สถาบันที่เปิดสอนทางด้านจิตวิทยาคลินิก ระดับปริญญาตรี ของรัฐบาลได้แก่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (คณะมนุษยศาสตร์ และก่อตั้งเป็นแห่งแรกของประเทศ พ.ศ. 2507) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (คณะศิลปศาสตร์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (คณะสังคมศาสตร์) มหาวิทยาลัยนเรศวร (คณะสังคมศาสตร์) และ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (คณะศึกษาศาสตร์ สาขาจิตวิทยาคลินิกและชุมชน) สำหรับมหาวิทยาลัยเอกชนที่เปิดสอน คือ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ (คณะศิลปศาสตร์) ระดับปริญญาโท ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล (คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สาขาจิตวิทยาคลินิก) และมหาวิทยาลัยรามคำแหง (คณะศึกษาศาสตร์ สาขาจิตวิทยาคลินิกและชุมชน)
สถาบันที่เปิดสอนทางด้านจิตวิทยาคลินิก ระดับปริญญาตรี ของรัฐบาลได้แก่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (คณะมนุษยศาสตร์ และก่อตั้งเป็นแห่งแรกของประเทศ พ.ศ. 2507) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (คณะศิลปศาสตร์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (คณะสังคมศาสตร์) มหาวิทยาลัยนเรศวร (คณะสังคมศาสตร์) และ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (คณะศึกษาศาสตร์ สาขาจิตวิทยาคลินิกและชุมชน) สำหรับมหาวิทยาลัยเอกชนที่เปิดสอน คือ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ (คณะศิลปศาสตร์) ระดับปริญญาโท ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล (คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สาขาจิตวิทยาคลินิก) และมหาวิทยาลัยรามคำแหง (คณะศึกษาศาสตร์ สาขาจิตวิทยาคลินิกและชุมชน)มหาวิทยาลัยมหาสารคาม(คณะศึกษาศาสตร์ สาขาจิตวิทยา**สาขาย่อยจิตวิทยาคลีนิกและสาขาการให้คำปรึกษา)


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:36, 7 สิงหาคม 2557

จิตวิทยาคลินิก คือ การประยุกต์หลักวิชาจิตวิทยา (Psychology) เพื่อนำมาใช้กับผู้ป่วยทางจิตเวช ผู้มีอาการทางจิต หรือผู้มีสภาพจิตใจย่ำแย่หลังจากประสบเหตุการณ์ร้ายแรงหรือความเครียดต่างๆ ทั้งที่เป็นแบบชั่วคราวหรือถาวร เพื่อช่วยให้อาการเหล่านั้นบรรเทาลงหรือหายขาด และช่วยให้เกิดการปรับตัวต่อสถานการณ์ต่างๆได้

ตัวอย่างงานจิตวิทยาคลินิก เช่น การทำจิตบำบัด (Psychotherapy), การให้คำปรึกษา (Counseling) , การทำแบบทดสอบและประเมินสภาพทางจิต บุคลิกภาพ และ เชาวน์ปัญญา เป็นต้น

จิตวิทยาคลินิกกับงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู

งานจิตวิทยาคลินิกมีส่วนสำคัญต่อการบำบัดฟื้นฟูมาก เนื่องจากผู้พิการหรือผู้ที่สูญเสียสมรรถภาพทางกายย่อมมีสภาพจิตใจแย่ลง หน้าที่ของนักจิตวิทยาคือการประเมินด้วยแบบทดสอบต่างๆ ให้คำปรึกษาและการรักษาทางจิตวิทยาร่วมกับจิตแพทย์และแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดการปรับสภาพจิตใจภายหลังเกิดความพิการได้

นอกจากนี้ ยังเป็นผู้ที่ดำเนินกิจกรรมกลุ่มบำบัดร่วมกับพยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟูและบุคลากรอื่นๆ ให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล คัดกรองผู้มีความเสี่ยงสูง และร่วมวางแผนการรักษาฟื้นฟูกับทีมงานเวชศาสตร์ฟื้นฟูอีกด้วย

งานจิตวิทยาคลินิกในต่างประเทศ

งานจิตวิทยาคลินิกเริ่มเป็นที่รู้จักมาตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 19 และได้ถือว่ามีกำเนิดอย่างเป็นทางการเมื่อปี ค.ศ. 1896 ที่มหาวิทยาลัยแห่งเมืองเพนซิลวาเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา งานจิตวิทยาคลินิกในต่างประเทศโดยเฉพาะในอเมริกาและยุโรปมีความก้าวหน้ามาก มีการให้บริการในทุกโรงพยาบาลในเมืองใหญ่ๆ มีการฝึกอบรมในมหาวิทยาลัยต่างๆ และงานวิจัยต่างๆก็ถูกตีพิมพ์ออกมาอย่างต่อเนื่อง

งานจิตวิทยาคลินิกในประเทศไทย

สถาบันการศึกษาแห่งแรกในประเทศไทยที่เปิดหลักสูตรจิตวิทยาคลินิกคือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่[1] เมื่อปี พ.ศ. 2507

ปัจจุบัน นักจิตวิทยาคลินิกมีกระจายอยู่ตามโรงพยาบาลใหญ่ในกรุงเทพฯและเมืองใหญ่ๆ และโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยเท่านั้น ในด้านการเรียนการสอน มีบางมหาวิทยาลัยเปิดการสอนด้านจิตวิทยาคลินิก ผู้ที่ปฏิบัติงานในสถานพยาบาลก็มีจำนวนไม่มากนัก โดยในปี พ.ศ. 2556 ประเทศไทยมีนักจิตวิทยาคลินิกที่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะประมาณ 500 คน

นักจิตวิทยาคลินิก

นักจิตวิทยาคลินิก คือ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาด้านจิตวิทยาสาขาจิตวิทยาคลินิก (Clinical psychology) ซึ่งมีใบประกอบโรคศิลปะ และปฏิบัติงานในสถานพยาบาลต่างๆ นักจิตวิทยาคลินิกเป็นส่วนหนึ่งของทีมผู้ให้การรักษาทางการแพทย์ ส่วนใหญ่มักประจำอยู่ในงานจิตเวชศาสตร์ (Psychiatry) บางส่วนอยู่ในงานอื่นๆ เช่น งานเวชกรรมป้องกัน หรือ งานเวชศาสตร์ฟื้นฟู เป็นต้น

สถาบันที่เปิดสอนทางด้านจิตวิทยาคลินิก ระดับปริญญาตรี ของรัฐบาลได้แก่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (คณะมนุษยศาสตร์ และก่อตั้งเป็นแห่งแรกของประเทศ พ.ศ. 2507) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (คณะศิลปศาสตร์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (คณะสังคมศาสตร์) มหาวิทยาลัยนเรศวร (คณะสังคมศาสตร์) และ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (คณะศึกษาศาสตร์ สาขาจิตวิทยาคลินิกและชุมชน) สำหรับมหาวิทยาลัยเอกชนที่เปิดสอน คือ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ (คณะศิลปศาสตร์) ระดับปริญญาโท ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล (คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สาขาจิตวิทยาคลินิก) และมหาวิทยาลัยรามคำแหง (คณะศึกษาศาสตร์ สาขาจิตวิทยาคลินิกและชุมชน)มหาวิทยาลัยมหาสารคาม(คณะศึกษาศาสตร์ สาขาจิตวิทยา**สาขาย่อยจิตวิทยาคลีนิกและสาขาการให้คำปรึกษา)

อ้างอิง

  • ดัดแปลงจากตำราเวชศาสตร์ฟื้นฟู นพ.เสก อักษรานุเคราะห์ บก. จัดพิมพ์โดยสมาคมเวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย.

ดูเพิ่ม