ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พญายอดเชียงราย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nednai.Lukmaenim (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Nednai.Lukmaenim (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 20: บรรทัด 20:
|}}
|}}


'''พญายอดเชียงราย''' หรือ '''ท้าวยอดเมือง''' ({{lang-nod|ᨻᩕ᩠ᨿᩣᨴ᩶ᩣ᩠ᩅᨿ᩠ᩋᨯᨩ᩠ᨿᨦᩁᩣ᩠ᨿหรือ ᨴ᩶ᩣ᩠ᩅᨿ᩠ᩋᨯᨾᩮᩧ᩠ᩋᨦ }}; ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2030 - 2038) เป็นกษัตริย์ล้านนาพระองค์ที่ 10 แห่งราชวงศ์มังราย พระโอรสใน[[ท้าวบุญเรือง]]ซึ่งเป็นพระโอรสใน[[พระเจ้าติโลกราช]]
'''พญายอดเชียงราย''' หรือ '''ท้าวยอดเมือง''' ({{lang-nod|ᨻᩕ᩠ᨿᩣᨴ᩶ᩣ᩠ᩅᨿ᩠ᩋᨯᨩ᩠ᨿᨦᩁᩣ᩠ᨿ หรือ ᨴ᩶ᩣ᩠ᩅᨿ᩠ᩋᨯᨾᩮᩧ᩠ᩋᨦ }}; ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2030 - 2038) เป็นกษัตริย์ล้านนาพระองค์ที่ 10 แห่งราชวงศ์มังราย พระโอรสใน[[ท้าวบุญเรือง]]ซึ่งเป็นพระโอรสใน[[พระเจ้าติโลกราช]]


== พระราชประวัติ ==
== พระราชประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:04, 2 กรกฎาคม 2557

พญายอดเชียงราย
พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา
รัชสมัยพ.ศ. 2030 - 2038
รัชกาลก่อนหน้าพระเจ้าติโลกราช
รัชกาลถัดไปพญาแก้วภูตาธิปติราชาเจ้า
พระมเหสีมหาเทวีสิริยศวดี (นางโป่งน้อย หรืออโนชาเทวี)[1]
พระราชบุตรพญาแก้วภูตาธิปติราชาเจ้า
ราชวงศ์ราชวงศ์มังราย
พระราชบิดาท้าวบุญเรือง

พญายอดเชียงราย หรือ ท้าวยอดเมือง (ไทยถิ่นเหนือ: ᨻᩕ᩠ᨿᩣᨴ᩶ᩣ᩠ᩅᨿ᩠ᩋᨯᨩ᩠ᨿᨦᩁᩣ᩠ᨿ หรือ ᨴ᩶ᩣ᩠ᩅᨿ᩠ᩋᨯᨾᩮᩧ᩠ᩋᨦ; ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2030 - 2038) เป็นกษัตริย์ล้านนาพระองค์ที่ 10 แห่งราชวงศ์มังราย พระโอรสในท้าวบุญเรืองซึ่งเป็นพระโอรสในพระเจ้าติโลกราช

พระราชประวัติ

พญายอดเชียงรายเป็นพระโอรสในท้าวบุญเรือง มีฐานะเป็นพระราชนัดดาในพระเจ้าติโลกราช ท้าวยอดเมืองเคยร่วมทำสงครามกับท้าวบุญเรือง และพระเจ้าติโลกราชหลายครั้ง ท้าวยอดเมืองเคยครองเมืองแช่สัก ขณะที่ท้าวบุญเรืองผู้เป็นบิดาครองเมืองเชียงรายในฐานะเจ้าราชบุตรซึ่งเป็นอุปราช ต่อมาในปี พ.ศ. 2005 ท้าวยอดเมืองได้รับคำสั่งให้ขยายอำนาจไปสู่ดินแดนไทใหญ่ โดยเฉพาะเมืองนายและเมืองใกล้เคียง[2] และท้าวยอดเมืองก็มีบทบาทร่วมรบกับท้าวบุญเรืองผู้เป็นบิดาเสมอมา

ในปลายรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราชได้การประหารชีวิตบุคคลสำคัญหลายคนที่เคยร่วมศึกกันมา ซึ่งหนึ่งในนั้นคือท้าวบุญเรืองที่ถูกประหารชีวิตโดยมีความผิด โทษฐานคิดการก่อกบฏกับพระบิดา ผู้ที่เสียใจมากที่สุดคือท้าวยอดเมือง ด้วยเหตุนั้นพระองค์จึงได้สร้างวัดบริเวณตำแหน่งกาลกิณีเมือง ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่[3]

ครองราชย์

หลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าติโลกราช ท้าวยอดเมืองจึงสืบราชสมบัติต่อมา ในช่วงดังกล่าวได้เกิดความขัดแย้งระหว่างกษัตริย์กับขุนนาง โดยหลักฐานของจีนทำให้สันนิษฐานได้ว่าพญายอดเมืองทรงตอบสนองความต้องการของจีนหรือกรมการเมืองของยูนนานมาก จนไม่สนใจความต้องการของท้องถิ่น[4] ซึ่งเรื่องราวดังกล่าวสอดคล้องกับหลักฐานท้องถิ่นคือ ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ และตำนานพื้นเมืองลำพูน ที่กล่าวถึงท้าวยอดเมืองไม่รักเจ้าแก้ว ราชบุตรของพระองค์ที่เกิดจากนางโป่งน้อย แต่กลับเอาใจใส่ลูกฮ่อ ซึ่งเลี้ยงเป็นลูกและให้ไปครองเมืองพร้าว[5] ทั้งยังมีการกล่าวถึงเจ้าแก้วที่ถูกบังคับให้ไหว้ลูกฮ่ออีกด้วย[6] ด้วยการที่พระองค์สนิทสนมกับฮ่อมากเกินไป จึงสร้างความไม่พอใจแก่เหล่าขุนนางเนื่องจากพระองค์ไม่ทรงรับฟังขุนนาง ท้ายที่สุดพระองค์ก็ถูกขุนนางปลดออก หลังจากครองราชย์ได้ 8 ปี โดยพระองค์ให้ไปครองเมืองซะมาดในเขตแม่ฮ่องสอน พร้อมกับยกเจ้าแก้วขึ้นครองราชย์สืบมา[7]

ขณะที่มีการยกเจ้าแก้วขึ้นครองราชย์ ก็พบว่านางโป่งน้อย มีอำนาจสูงมาก เนื่องจากมีบทบาทในการปกครองร่วมกับพระโอรส โดยในหลักฐานมีการเรียกมหาเทวีและกษัตริย์ว่า "พระเป็นเจ้าสองพระองค์" และ "พระเป็นเจ้าแม่ลูกทั้งสอง"[8][9][10][11] ขณะเดียวกันบทบาทของขุนนางได้เพิ่มพูนมากขึ้นตามลำดับ ส่วนกษัตริย์กลับถูกลิดรอนอำนาจ[1]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 168
  2. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่, หน้า 78
  3. สมโชติ อ๋องสกุล และสรัสวดี อ๋องสกุล. วัดในทักษาเมือง, หน้า 42
  4. วินัย พงศ์ศรีเพียร. ปาไป่สีฟู-ปาไป่ต้าเตี้ยน, หน้า 149
  5. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่, หน้า 83
  6. ตำนานเมืองลำพูน (สังเขป), หน้า 78-79
  7. สรัสวดี อ๋องสกุล. พื้นเมืองเชียงแสน, หน้า 157
  8. ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3, หน้า 195
  9. ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3, หน้า 198
  10. ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4, หน้า 112
  11. ประชุมศิลาจารึกเมืองพะเยา, หน้า 263