ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Fernet (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 17: บรรทัด 17:
การประชุมรัฐภาคีฯ เพื่อติดตามการบังคับใช้อนุสัญญาฯ มีขึ้นเป็นประจำทุกปี ที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก
การประชุมรัฐภาคีฯ เพื่อติดตามการบังคับใช้อนุสัญญาฯ มีขึ้นเป็นประจำทุกปี ที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก


== การเข้าเป็นภาคีของประเทศไทย ==
== เหตุใดไทยยังไม่ได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาฯ==
ภาคประชาชนสนับสนุนให้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติให้ส่วนราชการดำเนินการเพื่อให้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ด้วยแล้ว ([http://www.mfa.go.th/article190/news_09.php ดูเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ]) อย่างไรก็ดี โดยที่ประเทศไทยใช้ระบบการนำกฎหมายระหว่างประเทศเข้ามาในระบบกฎหมายภายในเป็นแบบ 'ทวินิยม' กล่าวคือ ต้องนำเอากฎหมายระหว่างประเทศที่รัฐให้สัตยาบัน ซึ่งหมายถึงการนำเอาข้อบทกว่า 320 ข้อของอนุสัญญาฯ มาบรรจุเข้าในระบอบกฎหมายภายในก่อน และทำให้ต้องแก้ไขกฎหมายรายฉบับ (ตามแนวทางของ[[สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา]]) กว่า 60 ฉบับ จึงเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ซึ่งอุปสรรคดังกล่าวเป็นหนึ่งในเหตุผลที่อธิบายว่าทำไมไทยยังไม่ได้ให้สัตยาบัน



ล่าสุด เพื่อเร่งรัดการเข้าเป็นภาคีฯ ในการประชุมคณะกรรมการกฎหมายทะเลและเขตทางทะเลของประเทศไทย เมื่อ 15 กันยายน 2552 กระทรวงการต่างประเทศได้เสนอแนวทางใช้ "กฎหมายปะหน้า" (หรือเรียกอีกอย่างว่า "กฎหมายอนุวัติการให้เป็นไปตามอนุสัญญาฯ") ซึ่งอนุสัญญาฯ เองได้เปิดช่องทางนี้ไว้ในข้อ 310 กล่าวคือ เปิดให้รัฐภาคีจัดทำ "คำประกาศ" (declaration) และแก้ไขกฎหมายภายในของตนให้สอดคล้องกับข้อบทของอนุสัญญาฯ ภายหลังให้สัตยาบันแล้วได้ ดังนั้นการเข้าเป็นภาคีตามกระบวนการนี้ จะทำให้ประเทศไทยสามารถใช้สิทธิต่างๆ ตามอนุสัญญาฯ ได้ทันที และเป็นวิธีที่ไทยจะใช้สำหรับการดำเนินการต่างๆ เพื่อเข้าเป็นภาคี
ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลโดยการให้สัตยาบันแล้วเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 นับเป็นประเทศที่ 162 ของสมาชิกสหประชาชาติ โดยมีลำดับขั้นตอนดังนี้<ref>http://www.un.org/depts/los/convention_agreements/convention_declarations.htm#Thailand</ref>

* วันที่ 21 ธันวาคม 2553 - คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ฯ และได้นำเรื่องเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ

* วันที่ 26 เมษายน 2554 - ที่ประชุมร่วมรัฐสภามีมติเห็นชอบการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ฯ ของไทย

* วันที่ 15 พฤษภาคม 2554 - รัฐบาลโดยกระทรวงการต่างประเทศยื่นสัตยาบันสารสำหรับการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ฯ ต่อองค์การสหประชาชาติ

* วันที่ 14 มิถุนายน 2554 - อนุสัญญา ฯ มีผลใช้บังคับกับประเทศไทย

ในการเข้าเป็นภาคีนั้น ประเทศไทยมีคำประกาศแนบท้ายการให้สัตยาบันในลักษณะคล้ายข้อสงวน ดังต่อไปนี้

* รัฐบาลไทยจะดำเนินการทบทวนกฎหมายและข้อบังคับภายในของตนเพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลอย่างค่อยเป็นค่อยไป

* รัฐบาลไทยไม่ผูกพันคำประกาศหรือการแสดงท่าทีที่มีวัตถุประสงค์ เป็นการตัด หรือเปลี่ยนแปลงขอบเขตทางกฎหมายตามบทบัญญัติ และไม่ผูกพันโดยกฎหมายภายในใด ๆ ที่ไม่สอดคล้องกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง

* การให้สัตยาบันของไทยไม่เป็นการรับรองหรือยอมรับการอ้างสิทธิเหนือพื้นที่ของรัฐภาคีใด ๆ

* รัฐบาลไทยเข้าใจว่า ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ การใช้เสรีภาพในการเดินเรือที่สอดคล้องกับบทบัญญัติจะไม่รวมถึงการใช้ทะเลในทางไม่สันติโดย ปราศจากความยินยอมของรัฐชายฝั่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกทางทหาร หรือกิจกรรมที่กระทบต่อสิทธิและผลประโยชน์ของรัฐชายฝั่ง และไม่รวมถึงการคุกคามหรือการใช้กำลังต่อบูรณภาพแห่งดินแดน เอกราชทางการเมือง สันติภาพ หรือความมั่นคงของรัฐชายฝั่ง

* รัฐบาลไทยสงวนสิทธิที่จะทำคำประกาศที่เกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทในการตีความ หรือการใช้อนุสัญญา ฯ เมื่อเวลาที่เหมาะสม<ref>http://www.rtni.org/library/download/2555/February/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B5%20UNCLOS%201982%20%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2.pdf</ref>


== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:14, 11 มิถุนายน 2557

อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ชื่อย่อในภาษาอังกฤษว่า UNCLOS (จาก United Nations Convention on the Law Of the Sea) จัดทำขึ้นโดยสมัชชาสหประชาชาติ ตามข้อมติที่ 3067 (XXVIII) เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2516

  ประเทศที่ได้ลงนามและให้สัตยาบันอนุสัญญาฯ
  ประเทศที่ได้ลงนามอนุสัญญาฯ แต่ไม่ได้ให้สัตยาบัน (รวมถึงประเทศไทย)
  ประเทศที่ไม่ได้ลงนามอนุสัญญาฯ

ประวัติ

การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ครั้งที่ 3 ได้มีขึ้น ณ นครนิวยอร์ก ในเดือนธันวาคม 2516 การประชุมเสร็จสิ้นลงเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2525 ณ กรุงมอนเตโกเบย์ ประเทศจาไมกา โดยประเทศต่างๆ สามารถเริ่มลงนามในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ได้ตั้งแต่บัดนั้น ทั้งนี้ อนุสัญญาฯ เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2537 หลังจากที่รัฐภาคีที่ 60 ได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาฯ

อนุสัญญาฯ ได้ประมวลกฎหมายจารีตประเพณีทางทะเล อาทิ

นอกจากนี้ บทบัญญัติอนุสัญญาฯ ยังได้กำหนดหลักการทั่วไปเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรจากทะเล ซึ่งรวมถึงทรัพยากรที่มีชีวิตและทรัพยากรจากผิวดินและใต้ดิน

สำหรับการระงับข้อพิพาท อนุสัญญาฯ ได้จัดตั้งศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับการตีความและการบังคับใช้อนุสัญญาฯ

การประชุมรัฐภาคีฯ เพื่อติดตามการบังคับใช้อนุสัญญาฯ มีขึ้นเป็นประจำทุกปี ที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก

การเข้าเป็นภาคีของประเทศไทย

ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลโดยการให้สัตยาบันแล้วเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 นับเป็นประเทศที่ 162 ของสมาชิกสหประชาชาติ โดยมีลำดับขั้นตอนดังนี้[1]

  • วันที่ 21 ธันวาคม 2553 - คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ฯ และได้นำเรื่องเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ
  • วันที่ 26 เมษายน 2554 - ที่ประชุมร่วมรัฐสภามีมติเห็นชอบการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ฯ ของไทย
  • วันที่ 15 พฤษภาคม 2554 - รัฐบาลโดยกระทรวงการต่างประเทศยื่นสัตยาบันสารสำหรับการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ฯ ต่อองค์การสหประชาชาติ
  • วันที่ 14 มิถุนายน 2554 - อนุสัญญา ฯ มีผลใช้บังคับกับประเทศไทย

ในการเข้าเป็นภาคีนั้น ประเทศไทยมีคำประกาศแนบท้ายการให้สัตยาบันในลักษณะคล้ายข้อสงวน ดังต่อไปนี้

  • รัฐบาลไทยจะดำเนินการทบทวนกฎหมายและข้อบังคับภายในของตนเพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลอย่างค่อยเป็นค่อยไป
  • รัฐบาลไทยไม่ผูกพันคำประกาศหรือการแสดงท่าทีที่มีวัตถุประสงค์ เป็นการตัด หรือเปลี่ยนแปลงขอบเขตทางกฎหมายตามบทบัญญัติ และไม่ผูกพันโดยกฎหมายภายในใด ๆ ที่ไม่สอดคล้องกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
  • การให้สัตยาบันของไทยไม่เป็นการรับรองหรือยอมรับการอ้างสิทธิเหนือพื้นที่ของรัฐภาคีใด ๆ
  • รัฐบาลไทยเข้าใจว่า ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ การใช้เสรีภาพในการเดินเรือที่สอดคล้องกับบทบัญญัติจะไม่รวมถึงการใช้ทะเลในทางไม่สันติโดย ปราศจากความยินยอมของรัฐชายฝั่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกทางทหาร หรือกิจกรรมที่กระทบต่อสิทธิและผลประโยชน์ของรัฐชายฝั่ง และไม่รวมถึงการคุกคามหรือการใช้กำลังต่อบูรณภาพแห่งดินแดน เอกราชทางการเมือง สันติภาพ หรือความมั่นคงของรัฐชายฝั่ง
  • รัฐบาลไทยสงวนสิทธิที่จะทำคำประกาศที่เกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทในการตีความ หรือการใช้อนุสัญญา ฯ เมื่อเวลาที่เหมาะสม[2]

แหล่งข้อมูลอื่น

  1. http://www.un.org/depts/los/convention_agreements/convention_declarations.htm#Thailand
  2. http://www.rtni.org/library/download/2555/February/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B5%20UNCLOS%201982%20%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2.pdf