ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลในประเทศไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ZenithZealotry (คุย | ส่วนร่วม)
JackieBot (คุย | ส่วนร่วม)
Fix URL prefix
บรรทัด 198: บรรทัด 198:
| 16 || บริษัท ไทยนิวส์เน็ตเวิร์ก จำกัด || [[ทีเอ็นเอ็น24]] (TNN 24) || rowspan="7" align| ใบอนุญาต
| 16 || บริษัท ไทยนิวส์เน็ตเวิร์ก จำกัด || [[ทีเอ็นเอ็น24]] (TNN 24) || rowspan="7" align| ใบอนุญาต
|-
|-
| 17 || บริษัท ไทยทีวี จำกัด || [[ทีเอชวี|ไทยทีวี]]<ref>{{cite web |url=http://http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1401692814 |title=กสท.อนุมัติ 3 ช่องทีวีดิจิทัลเปลี่ยนชื่อ "อมรินทร์ทีวีเอชดี-โมโน 29 และไทยทีวี" |author= |date=2 มิถุนายน 2557 |work= |publisher= [[ประชาชาติธุรกิจ]] |accessdate=2 มิถุนายน 2557}}</ref>
| 17 || บริษัท ไทยทีวี จำกัด || [[ทีเอชวี|ไทยทีวี]]<ref>{{cite web |url=http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1401692814 |title=กสท.อนุมัติ 3 ช่องทีวีดิจิทัลเปลี่ยนชื่อ "อมรินทร์ทีวีเอชดี-โมโน 29 และไทยทีวี" |author= |date=2 มิถุนายน 2557 |work= |publisher= [[ประชาชาติธุรกิจ]] |accessdate=2 มิถุนายน 2557}}</ref>
|-
|-
| 18 || บริษัท ดีเอ็น บรอดคาสต์ จำกัด || [[นิว)ทีวี]] ( new)tv )<ref>{{cite web |url=http://www.dailynewstv.tv/jatc/index.php/news/3128-contentid-192561 |title=เดลินิวส์ ทีวี เปลี่ยนเป็น NEW TV |author=เดลินิวส์ทีวี |date=1 มีนาคม 2557 |work= |publisher= |accessdate=4 มีนาคม 2557}}</ref>
| 18 || บริษัท ดีเอ็น บรอดคาสต์ จำกัด || [[นิว)ทีวี]] ( new)tv )<ref>{{cite web |url=http://www.dailynewstv.tv/jatc/index.php/news/3128-contentid-192561 |title=เดลินิวส์ ทีวี เปลี่ยนเป็น NEW TV |author=เดลินิวส์ทีวี |date=1 มีนาคม 2557 |work= |publisher= |accessdate=4 มีนาคม 2557}}</ref>
บรรทัด 224: บรรทัด 224:
| 28 || บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด || [[ไทยทีวีสีช่อง 3]] เอสดี (Channel 3 SD)<ref name="ch3">{{cite web |url=http://www.thaipost.net/news/200214/86301 |title=ช่อง3ยอมรับยังไม่พร้อมลุย4ช่องดิจิตอล |author= |date=20 กุมภาพันธ์ 2557 |work= |publisher=[[ไทยโพสต์]] |accessdate=4 มีนาคม 2557}}</ref>
| 28 || บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด || [[ไทยทีวีสีช่อง 3]] เอสดี (Channel 3 SD)<ref name="ch3">{{cite web |url=http://www.thaipost.net/news/200214/86301 |title=ช่อง3ยอมรับยังไม่พร้อมลุย4ช่องดิจิตอล |author= |date=20 กุมภาพันธ์ 2557 |work= |publisher=[[ไทยโพสต์]] |accessdate=4 มีนาคม 2557}}</ref>
|-
|-
| 29 || บริษัท โมโน บรอดคาซท์ จำกัด || [[โมโน29]] (Mono 29)<ref>{{cite web |url=http://http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1401692814 |title=กสท.อนุมัติ 3 ช่องทีวีดิจิทัลเปลี่ยนชื่อ "อมรินทร์ทีวีเอชดี-โมโน 29 และไทยทีวี" |author= |date=2 มิถุนายน 2557 |work= |publisher= [[ประชาชาติธุรกิจ]] |accessdate=2 มิถุนายน 2557}}</ref>
| 29 || บริษัท โมโน บรอดคาซท์ จำกัด || [[โมโน29]] (Mono 29)<ref>{{cite web |url=http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1401692814 |title=กสท.อนุมัติ 3 ช่องทีวีดิจิทัลเปลี่ยนชื่อ "อมรินทร์ทีวีเอชดี-โมโน 29 และไทยทีวี" |author= |date=2 มิถุนายน 2557 |work= |publisher= [[ประชาชาติธุรกิจ]] |accessdate=2 มิถุนายน 2557}}</ref>
|-
|-
!colspan="5"| ประเภทรายการทั่วไป ภาพคมชัดสูง
!colspan="5"| ประเภทรายการทั่วไป ภาพคมชัดสูง
บรรทัด 236: บรรทัด 236:
| 33 || บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด || ไทยทีวีสีช่อง 3 เอชดี (Channel 3 HD)<ref name="ch3"/>
| 33 || บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด || ไทยทีวีสีช่อง 3 เอชดี (Channel 3 HD)<ref name="ch3"/>
|-
|-
| 34 || [[อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง|บริษัท อมรินทร์ เทเลวิชัน จำกัด]] || [[อมรินทร์ทีวี]] (Amarin TV)<ref>{{cite web |url=http://http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1401692814 |title=กสท.อนุมัติ 3 ช่องทีวีดิจิทัลเปลี่ยนชื่อ "อมรินทร์ทีวีเอชดี-โมโน 29 และไทยทีวี" |author= |date=2 มิถุนายน 2557 |work= |publisher= [[ประชาชาติธุรกิจ]] |accessdate=2 มิถุนายน 2557}}</ref>
| 34 || [[อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง|บริษัท อมรินทร์ เทเลวิชัน จำกัด]] || [[อมรินทร์ทีวี]] (Amarin TV)<ref>{{cite web |url=http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1401692814 |title=กสท.อนุมัติ 3 ช่องทีวีดิจิทัลเปลี่ยนชื่อ "อมรินทร์ทีวีเอชดี-โมโน 29 และไทยทีวี" |author= |date=2 มิถุนายน 2557 |work= |publisher= [[ประชาชาติธุรกิจ]] |accessdate=2 มิถุนายน 2557}}</ref>
|-
|-
| 35 || บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด || [[ช่อง 7 สี]]
| 35 || บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด || [[ช่อง 7 สี]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:22, 9 มิถุนายน 2557

ไฟล์:Thai-digitaltv-mascot.png
ภาพสัญลักษณ์ "ดิจิทัลทีวี" และตุ๊กตาสัญลักษณ์ "น้องดูดี" เพื่อประชาสัมพันธ์

โทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย (อังกฤษ: Digital television in Thailand) เป็นระบบรับส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ภายในอาณาเขตประเทศไทย ด้วยระบบดิจิทัล โดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ปัจจุบันกำลังอยู่ในระยะของการทดลองออกอากาศ ระหว่างวันอังคารที่ 1 ถึงวันพฤหัสบดีที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2557[1] โดยตามแผนของ กสทช.จะยุติการส่งสัญญาณโทรทัศน์ ภาคพื้นดินระบบแอนะล็อก ภายในปี พ.ศ. 2558[2]

ตามแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ พ.ศ. 2555 กำหนดให้เริ่มต้นรับส่งสัญญาณ วิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ด้วยระบบดิจิทัลภายในเวลา 4 ปี นับแต่วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555 ซึ่งประกาศแผนแม่บทฉบับดังกล่าว และสืบเนื่องด้วย แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 1 (กรอบการดำเนินงานอยู่ในช่วงระหว่างปี 2555-2559) มีการกำหนดยุทธศาสตร์ และระยะเวลาในการเปลี่ยนผ่าน จากการส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ด้วยระบบแอนะล็อก ไปสู่การใช้ระบบดิจิทัล โดยให้เริ่มรับส่ง สัญญาณวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ด้วยระบบดิจิทัล ภายใน 4 ปี, ให้มีมาตรการสนับสนุนการวิจัย และพัฒนาการผลิตอุปกรณ์รับสัญญาณ วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ภายใน 3 ปี, ให้มีมาตรการสนับสนุน อุปกรณ์รับสัญญาณวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล สำหรับผู้มีรายได้น้อย ภายใน 3 ปี และให้มีจำนวนครัวเรือนในเมืองใหญ่ ที่สามารถรับสัญญาณวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ในระบบดิจิทัลได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ภายใน 5 ปี[3]

จำนวนและประเภทช่องโทรทัศน์

กสทช. กำหนดจำนวนและรูปแบบ ช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล เบื้องต้นไว้ทั้งสิ้น 48 ช่อง[3] ได้แก่

  • กลุ่มช่องประเภทบริการสาธารณะและชุมชน จำนวน 24 ช่อง โดยใช้วิธีการคัดเลือกคุณสมบัติ (Beauty Contest) เพื่อรับรองใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ ได้แก่
  1. ประเภทรายการบริการสาธารณะ จำนวน 12 ช่อง (ระดับชาติ)
  2. ประเภทรายการบริการชุมชน จำนวน 12 ช่อง (จำแนกเป็นแต่ละเขตบริการ)
  • กลุ่มช่องประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ จำนวน 24 ช่อง โดยใช้วิธีการประมูลคลื่นความถี่ (Auction) เพื่อรับรองใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ ได้แก่
  1. ประเภทรายการเด็ก เยาวชน และครอบครัว จำนวน 3 ช่อง โดยกำหนดราคาประมูลขั้นต่ำไว้ที่ 140 ล้านบาท
  2. ประเภทรายการข่าวสาร และสาระ จำนวน 7 ช่อง โดยกำหนดราคาประมูลขั้นต่ำไว้ที่ 220 ล้านบาท
  3. ประเภทรายการทั่วไป ภาพคมชัดปกติ (Standard Definition : SD) จำนวน 7 ช่อง โดยกำหนดราคาประมูลขั้นต่ำไว้ที่ 380 ล้านบาท
  4. ประเภทรายการทั่วไป ภาพคมชัดสูง (High Definition : HD) จำนวน 7 ช่อง โดยกำหนดราคาประมูลขั้นต่ำไว้ที่ 1,510 ล้านบาท

การประมูลใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่

ช่องประเภทรายการทั่วไป ภาพคมชัดสูง

กสทช.จัดการประมูลช่องโทรทัศน์ ประเภทรายการทั่วไป ภาพคมชัดสูง เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556 โดยมีบริษัทยื่นซองประมูลทั้งสิ้น 9 ราย ประมูลได้ 7 ราย มีรายได้รวม 23,700 ล้านบาท

อันดับ รหัสประมูล ชื่อผู้ประมูล มูลค่าประมูล
(ล้านบาท)
1 H04 (ช่อง 3) บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด 3,530
2 H06 (น.พ. ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ) บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด 3,460
3 H05 (ช่อง 7) บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด 3,370
4 H08 (ไทยรัฐ) บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด 3,360
5 H03 (ช่อง 9) บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) 3,340
6 H01 (อมรินทร์ พรินติง) บริษัท อมรินทร์ เทเลวิชั่น จำกัด 3,320
7 H07 (แกรมมี่) บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอชดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด 3,320
8 ไม่ผ่านการประมูล บริษัท พีเอ็ม กรุ๊ป จำกัด 3,310
9 ไม่ผ่านการประมูล บริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด 3,000

ช่องประเภทรายการทั่วไป ภาพคมชัดปกติ

กสทช.จัดการประมูลช่องโทรทัศน์ ประเภทรายการทั่วไป ภาพคมชัดปกติ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556 โดยมีบริษัทยื่นซองประมูล 16 ราย ประมูลได้ 7 ราย มีรายได้รวม 15,950 ล้านบาท

อันดับ รหัสประมูล ชื่อผู้ประมูล มูลค่าประมูล
(ล้านบาท)
1 S15 (เวิร์คพอยท์) บริษัท ไทย บรอดคาสติง จำกัด 2,355
2 S03 (กลุ่มทรู) บริษัท ทรู ดีทีที จำกัด 2,315
3 S10 (แกรมมี่) บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอชดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด 2,290
4 S02 (ช่อง 3) บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด 2,275
5 S09 (อาร์เอส) บริษัท อาร์.เอส.เทเลวิชัน จำกัด 2,265
6 S13 บริษัท โมโน บรอดคาซต์ จำกัด 2,250
7 S12 (เครือเนชั่น) บริษัท แบงคอก บิสสิเนส บรอดแคสติง จำกัด 2,200
8 ไม่ผ่านการประมูล บริษัท บีบีทีวี แซทเทลวิชัน จำกัด
9 ไม่ผ่านการประมูล บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
10 ไม่ผ่านการประมูล บริษัท อมรินทร์ เทเลวิชัน จำกัด
11 ไม่ผ่านการประมูล บริษัท โฟร์ วัน วัน เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด
12 ไม่ผ่านการประมูล บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติง จำกัด
13 ไม่ผ่านการประมูล บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสต์ จำกัด
14 ไม่ผ่านการประมูล บริษัท ไทยทีวี จำกัด
15 ไม่ผ่านการประมูล บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด
16 ไม่ผ่านการประมูล บริษัท ทัช ทีวี จำกัด

ช่องประเภทรายการข่าวสาร และสาระ

กสทช.จัดการประมูลช่องโทรทัศน์ ประเภทรายการข่าวสารและสาระ (ภาพคมชัดปกติ) เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556 โดยมีบริษัทยื่นซองประมูล 10 ราย ประมูลได้ 7 ราย มีรายได้รวม 9,238 ล้านบาท

อันดับ รหัสประมูล ชื่อผู้ประมูล มูลค่าประมูล
(ล้านบาท)
1 N09 (เครือเนชั่น) บริษัท เอ็นบีซี เน็กซ์ วิชัน จำกัด 1,338
2 N06 บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด 1,330
3 N08 (ทีวีพูล) บริษัท ไทยทีวี จำกัด 1,328
4 N01 บริษัท สปริงนิวส์ เทเลวิชัน จำกัด 1,318
5 N05 (ทีเอ็นเอ็น) บริษัท ไทย นิวส์ เน็ตเวิร์ก จำกัด 1,316
6 N10 (เดลินิวส์) บริษัท ดีเอ็น บรอดคาสต์ จำกัด 1,310
7 N04 บริษัท 3 เอ. มาร์เก็ตติง จำกัด 1,298
8 ไม่ผ่านการประมูล บริษัท โมโน เจเนอเรชัน จำกัด
9 ไม่ผ่านการประมูล บริษัท ไอ-สปอร์ต มีเดีย จำกัด
10 ไม่ผ่านการประมูล บริษัท โพสต์ ทีวี จำกัด

ช่องประเภทรายการเด็ก เยาวชน และครอบครัว

กสทช.จัดการประมูลช่องโทรทัศน์ ประเภทรายการเด็ก เยาวชน และครอบครัว (ภาพคมชัดปกติ) เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556 โดยมีบริษัทยื่นซองประมูล 6 ราย ประมูลได้ 3 ราย มีรายได้รวม 1,974 ล้านบาท

อันดับ รหัสประมูล ชื่อผู้ประมูล มูลค่าประมูล
(ล้านบาท)
1 K01 (ช่อง 3) บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด 666
2 K03 (ช่อง 9) บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) 660
3 K06 (ทีวีพูล) บริษัท ไทยทีวี จำกัด 648
ไม่ผ่านการประมูล บริษัท โรสมีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด
ไม่ผ่านการประมูล บริษัท เนชัน คิดส์ จำกัด
ไม่ผ่านการประมูล บริษัท ทรู ดีทีที จำกัด

รายชื่อผู้ให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล

ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ลงมติในการประชุมครั้งที่ 23/2556 เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน กำหนดให้เจ้าของโครงข่าย โทรทัศน์ระบบแอนะล็อกเดิม ซึ่งประกอบด้วยกรมประชาสัมพันธ์ โดยสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย, บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) โดยโมเดิร์นไนน์ทีวี, องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย โดยโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (2 โครงข่าย) เป็นผู้ให้บริการโครงข่ายในระบบดิจิทัลไปพร้อมกันด้วย[4] กล่าวคือผู้ประกอบการทุกรายที่ กสทช.รับรองใบอนุญาต ให้ใช้คลื่นความถี่ตามที่กำหนด จะต้องเลือกใช้โครงข่ายกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จากผู้ให้บริการทั้ง 4 รายดังกล่าว ดังรายละเอียดตามตารางต่อไปนี้[5]

อุปกรณ์รวมส่งสัญญาณ เลขช่องสัญญาณ
(เฉพาะสถานีกรุงเทพฯ)
ชื่อผู้ให้บริการโครงข่าย ชื่อผู้รับบริการโครงข่าย เริ่มส่งสัญญาณ
MUX#1 26 กรมประชาสัมพันธ์ โดยสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
(รหัส: PRD)
  • เอ็นบีที เอชดี (2)
  • 6 ช่องสัญญาณว่าง[6]
MUX#2 36 สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก
(รหัส: TV5 MUX2)
  • ททบ.เอชดี (1)
  • ทีเอ็นเอ็น24 (16)
  • เวิร์กพอยต์ทีวี (23)
  • ทรูโฟร์ยู (24)
  • จีเอ็มเอ็มวัน เอชดี (31)
  • ช่อง 7 สี เอชดี (35)
MUX#3 40 บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) โดยโมเดิร์นไนน์ทีวี
(รหัส: MCOT)
  • เอ็มคอต เอชดี (30)
  • เอ็มคอต คิดส์แอนด์แฟมิลี (14)
  • สปริงนิวส์ (19)
  • วอยซ์ทีวี (21)
  • ไทยรัฐทีวี เอชดี (32)
  • สทท.แอนะล็อก (A-11)[6]
  • 2 ช่องสัญญาณว่าง[6]
MUX#4 44 องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย
โดยโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (รหัส: TPBS)
  • ไทยพีบีเอส เอชดี (3)
  • ไทยพีบีเอส คิดส์ (4)
  • แฟมิลี 3 (13)
  • โลกา (15)
  • ไทยทีวี (17)
  • ช่อง 8 (27)
  • ไทยทีวีสีช่อง 3 เอสดี (28)
  • ไทยทีวีสีช่อง 3 เอชดี (33)
MUX#5 52 สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก
(รหัส: TV5 MUX5)
  • นิว)ทีวี (18)
  • ไบรต์ทีวี (20)
  • เนชั่นทีวี (22)
  • จีเอ็มเอ็มบิ๊ก (25)
  • นาว (26)
  • โมโน29 (29)
  • อมรินทร์ทีวี (34)
  • พีพีทีวี เอชดี (36)

รายชื่อช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล และหมายเลขที่ใช้ออกอากาศ

หลังจากผ่านการประมูลช่องรายการแล้ว เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557 กสทช.เชิญบริษัทซึ่งผ่านการประมูลทั้งหมด มาประชุมเพื่อตกลงร่วมกัน ในการเลือกหมายเลขช่องที่ใช้ออกอากาศ และวันที่ 27 มกราคม ปีเดียวกัน กสทช.จึงประกาศหมายเลขช่องของแต่ละบริษัท ดังมีรายละเอียดตามตารางต่อไปนี้[5]

เลขช่อง องค์กร ชื่อช่อง ลักษณะ
ประเภทบริการสาธารณะ
1 กองทัพบกไทย สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ททบ.) ภาครัฐ
2 กรมประชาสัมพันธ์ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.)
3 องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS)
4 ไทยพีบีเอส คิดส์ (Thai PBS Kids)
5 สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ[ต้องการอ้างอิง] สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (ETV)[ต้องการอ้างอิง]
6 (ช่องศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม)
7 (ช่องสุขภาพ กีฬา คุณภาพชีวิต)
8 (ช่องความมั่นคงของรัฐ)
9 (ช่องความปลอดภัยสาธารณะ)
10 สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา สถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา (TPTV)[7]
11 (ช่องส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย)
12 (ช่องเด็ก คนด้อยโอกาส)
ประเภทรายการเด็ก เยาวชน และครอบครัว
13 บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด ช่อง 3 แฟมิลี (Channel 3 Family) ใบอนุญาต
14 บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เอ็มคอตคิดส์แอนด์แฟมิลี (MCOT Kids & Family)
15 บริษัท ไทยทีวี จำกัด โลกา (Loca)
ประเภทรายการข่าวสาร และสาระ
16 บริษัท ไทยนิวส์เน็ตเวิร์ก จำกัด ทีเอ็นเอ็น24 (TNN 24) ใบอนุญาต
17 บริษัท ไทยทีวี จำกัด ไทยทีวี[8]
18 บริษัท ดีเอ็น บรอดคาสต์ จำกัด นิว)ทีวี ( new)tv )[9]
19 บริษัท สปริงนิวส์ เทเลวิชัน จำกัด สปริงนิวส์ (Spring News)
20 บริษัท 3 เอ. มาร์เก็ตติง จำกัด ไบรต์ทีวี (Bright TV)
21 บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด วอยซ์ทีวี (Voice TV)
22 บริษัท เอ็นบีซี เน็กซ์ วิชัน จำกัด เนชั่นทีวี (Nation TV)[10]
ประเภทรายการทั่วไป ภาพคมชัดปกติ
23 บริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด เวิร์กพอยต์ครีเอทีฟทีวี (Workpoint Creative TV) ใบอนุญาต
24 บริษัท ทรู ดีทีที จำกัด ทรูโฟร์ยู (true4U)[11]
25 บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอสดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด จีเอ็มเอ็มบิ๊ก (GMM BIG)
26 บริษัท แบงคอก บิสสิเนส บรอดแคสติง จำกัด นาว (NOW)[12]
27 บริษัท อาร์.เอส.เทเลวิชัน จำกัด ช่อง 8
28 บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด ไทยทีวีสีช่อง 3 เอสดี (Channel 3 SD)[13]
29 บริษัท โมโน บรอดคาซท์ จำกัด โมโน29 (Mono 29)[14]
ประเภทรายการทั่วไป ภาพคมชัดสูง
30 บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เอ็มคอต เอชดี (MCOT HD)[15] ใบอนุญาต
31 บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอชดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด จีเอ็มเอ็มวัน (GMM ONE)
32 บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด ไทยรัฐทีวี (Thairath TV)
33 บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด ไทยทีวีสีช่อง 3 เอชดี (Channel 3 HD)[13]
34 บริษัท อมรินทร์ เทเลวิชัน จำกัด อมรินทร์ทีวี (Amarin TV)[16]
35 บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ช่อง 7 สี
36 บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติง จำกัด พีพีทีวี (PPTV)

เหตุการณ์สำคัญหลังออกอากาศจริง

ไฟล์:NPOMC LogoOnTV.png
รูปแบบภาพสัญลักษณ์ คสช.ที่แสดงบนหน้าจอ ของช่องโทรทัศน์ที่ได้รับอนุญาต
  • 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) ออกคำสั่งฉบับที่ 7/2557 ให้ระงับการออกอากาศ วอยซ์ทีวี ช่อง 21 นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์วงการโทรทัศน์ ที่มีคำสั่งระงับการออกอากาศ โทรทัศน์ประเภทธุรกิจระดับชาติ นอกจากกรณีก่อรัฐประหาร
  • 22 พฤษภาคม - เวลา 16:30 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ประกาศก่อรัฐประหาร ในนามคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
    • เวลา 17:00 น. คสช. สั่งให้กำลังทหารเข้ายึด อุปกรณ์รวมส่งสัญญาณ โทรทัศน์ระบบดิจิทัลทั้ง 5 ชุด อันเป็นผลให้โทรทัศน์ระบบดิจิทัลทั้ง 28 ช่อง รวมถึงช่องจีเอ็มเอ็มบิ๊ก และช่องอมรินทร์ทีวี ซึ่งมีกำหนดเริ่มแพร่ภาพในวันที่ 23 พฤษภาคม ต้องระงับการออกอากาศลง เพื่อบังคับถ่ายทอดสัญญาณ จากสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก
    • เวลา 19.00 น. คสช. ออกประกาศฉบับที่ 4/2557 บังคับให้วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดิน และโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมทั้งหมด ยุติการออกรายการตามปกติ โดยให้ถ่ายทอดสัญญาณ จากสถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบก ในกรณีของวิทยุกระจายเสียง และสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ในกรณีวิทยุโทรทัศน์และผ่านดาวเทียม จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
  • 23 พฤษภาคม - คสช. ประกาศเรียกผู้ให้บริการโทรทัศน์ระบบดิจิทัลทั้งหมด เข้าพบเพื่อปรึกษาหารือ และรับฟังคำชี้แจงแนวทาง ในการกลับมาออกอากาศ โทรทัศน์ระบบดิจิทัลตามปกติ ในวันที่ 24 พฤษภาคม เวลา 09:00 น.[ต้องการอ้างอิง]
  • 24 พฤษภาคม - คสช. ยกเว้นประกาศฉบับที่ 14/2557 และ 18/2557 แก่ช่องโทรทัศน์ระบบดิจิทัลทั้งหมดโดยอนุโลม จึงสามารถกลับมาออกอากาศตามปกติอีกครั้ง ยกเว้นวอยซ์ทีวี ช่อง 21 ที่ยังคงให้ระงับการออกอากาศ ตามประกาศฉบับที่ 15/2557 ต่อไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง อนึ่ง ทุกช่องจะแสดงภาพสัญลักษณ์ที่ คสช.กำหนด ไว้ที่หน้าจอมุมบนทางขวามือของผู้ชม เพื่อเป็นเครื่องยืนยันการอนุโลมให้ออกอากาศ หลังจากที่ คสช.ก่อรัฐประหาร
  • 8 มิถุนายน - เวลา 19:15 น. โทรทัศน์ทุกช่องเริ่มทยอยนำตราเครื่องหมาย คสช.ออกจากมุมขวาบนของหน้าจอ (มีเพียงช่องพีพีทีวีที่แสดงอยู่มุมซ้ายบน) หลังจากได้รับอนุญาตแล้ว[17]

ระเบียงภาพ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "กสทช.ทดลองออกอากาศทีวีดิจิตอล 1-24 เม.ย." กรุงเทพธุรกิจ. 1 เมษายน 2557. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "การเปลี่ยนผ่านสู่ โทรทัศน์ระบบดิจิทัล (Digital TV)". บมจ.กสท โทรคมนาคม. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 กสทช. "การเปลี่ยนผ่านสู่โทรทัศน์ระบบดิจิทัล." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://digital.nbtc.go.th/index.php/articles-en/18-future-digital 2556. สืบค้น 27 ธันวาคม 2556.
  4. บอร์ดกระจายเสียง/กสทช. มีมติอนุญาตให้ กองทัพบก บมจ. อสมท. กรมประชาสัมพันธ์ และ องค์การแพร่ภาพและกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เป็นผู้ให้บริการโครงข่ายทีวีดิจิตอล, 25 มิถุนายน 2556, กสทช.
  5. 5.0 5.1 ช่องรายการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล จากเว็บไซต์ ภารกิจกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช.
  6. 6.0 6.1 6.2 รอรับสัญญาณ ช่องประเภทบริการสาธารณะ
  7. "กสทช.เตรียมมอบทีวีดิจิตอลช่อง 10 ให้รัฐสภาตุลาคมนี้ ส่วน"ช่อง5" ได้เลขช่อง1 "ไทยพีบีเอส"เลขช่อง3". มติชน. 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  8. "กสท.อนุมัติ 3 ช่องทีวีดิจิทัลเปลี่ยนชื่อ "อมรินทร์ทีวีเอชดี-โมโน 29 และไทยทีวี"". ประชาชาติธุรกิจ. 2 มิถุนายน 2557. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. เดลินิวส์ทีวี (1 มีนาคม 2557). "เดลินิวส์ ทีวี เปลี่ยนเป็น NEW TV". สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. เดลินิวส์ทีวี (11 มกราคม 2557). "ระดมผู้ผลิตอิสระร่วม 'เนชั่นทีวี-NOW'". คมชัดลึก. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. ประชาชาติธุรกิจ (6 มีนาคม 2557). "กดปุ่มทีวีดิจิทัล "ทรู4ยู"ช่องวาไรตี้วางโพสิชั่นจับกลุ่มคนรุ่นใหม่". สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "ระดมผู้ผลิตอิสระร่วม 'เนชั่นทีวี-NOW'". คมชัดลึก. 11 มกราคม 2557. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. 13.0 13.1 "ช่อง3ยอมรับยังไม่พร้อมลุย4ช่องดิจิตอล". ไทยโพสต์. 20 กุมภาพันธ์ 2557. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. "กสท.อนุมัติ 3 ช่องทีวีดิจิทัลเปลี่ยนชื่อ "อมรินทร์ทีวีเอชดี-โมโน 29 และไทยทีวี"". ประชาชาติธุรกิจ. 2 มิถุนายน 2557. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. "ช่อง 9 ออกคู่ขนาน 'ฟรีทีวี' อนาล็อก-ดิจิทัล". กรุงเทพธุรกิจ. 10 กุมภาพันธ์ 2557. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. "กสท.อนุมัติ 3 ช่องทีวีดิจิทัลเปลี่ยนชื่อ "อมรินทร์ทีวีเอชดี-โมโน 29 และไทยทีวี"". ประชาชาติธุรกิจ. 2 มิถุนายน 2557. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  17. คสช.ให้ทีวีนำโลโก้ คสช. ออกจากจอแล้ว, ประชาไท, 8 มิถุนายน 2557.

แหล่งข้อมูลอื่น