ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นางสุพรรณมัจฉา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เพิ่มเช่นนั้น
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{Infobox character
[[ไฟล์:Supanmacha.jpg|thumb|นางสุพรรณมัจฉา]]
| colour =
| name = {{PAGENAME}}
| series = [[รามเกียรติ์]]
| image = [[ไฟล์:Hunamansex.jpg|250px]]
| caption =
| first =
| creator =
| alias =
| species = [[เงือก]]
| family = [[ทศกัณฑ์]] <small>(บิดา)</small><br />[[นางสีดา]] <small>(พี่น้องร่วมบิดา)</small>
| spouse = [[หนุมาน]]
| children = [[มัจฉานุ]]
| nationality =
| noinfo = yes
}}


'''นางสุพรรณมัจฉา''' เป็นตัวละครจากวรรณคดีเรื่อง ''[[รามเกียรติ์]]'' อันเป็นบุตรของ[[ทศกัณฑ์]] ที่ต่อมาได้ตกเป็นภรรยาคนหนึ่งของ[[หนุมาน]]<ref name="Desai2005">{{cite book | author=S.N. Desai | title=Hinduism in Thai Life | url=http://books.google.com/books?id=VmsKr7lqTjwC&pg=PA135 | accessdate=2012-07-24 | year = 2005 | publisher=Popular Prakashan | isbn=978-81-7154-189-8 | page=135 }}</ref> ทหารเอกของ[[พระราม]]อันเป็นตัวเอกของวรรณคดีเรื่องดังกล่าว
'''นางสุพรรณมัจฉา''' เป็นธิดาของ[[ทศกัณฐ์]]กับนางปลา เป็นพี่น้องร่วมบิดากับ[[นางสีดา]] ถึงแม้นางจะเป็นถึงธิดาของเจ้าผู้ครองกรุง[[ลงกา]] แต่เจ้าหญิงองค์นี้ ก็ไม่มีโอกาสจะอยู่ในเวียงวังดังผู้อื่น เพราะนางอยู่ได้เฉพาะแต่ในน้ำ ดังนั้นที่อยู่ของนางจึงอยู่กลางทะเลใหญ่


นางปรากฏตัวครั้งแรกเมื่อครั้งที่พระรามให้หนุมานถมมหาสมุทรข้ามไปยังกรุงลงกา ทศกัณฑ์จึงให้นางสุพรรณมัจฉาและบริวารที่เป็นปลาลอบขนหินถมทะเลดังกล่าวไปทิ้ง หนุมานจึงสงสัยจึงดำลงไปใต้ท้องทะเลจึงพบนางสุพรรณมัจฉา ภายหลังทั้งสองได้ร่วมรักกันและมีบุตรคือ ''[[มัจฉานุ]]'' ที่ตัวเป็นลิงมีหางเป็นปลา
หลังจากแผน "นางลอย" ของทศกัณฐ์ล้มเหลว กองทัพวานรของ[[พระราม]]ก็ได้เคลื่อนพลตรงมาอย่างรวดเร็วจนถึงฝั่งทะเล และถมหินเป็นเส้นทางใหญ่ ตัดผ่านห้วยน้ำมุ่งหน้าข้ามสู่ฝั่งลงกาอย่างขมีขมัน ข่าวจากแนวหน้าชิ้นนี้ทำให้ทศกัณฐ์เริ่มวิตกคิดหาทางสกัดกองกำลังของพระรามไม่ให้เข้าประชิดกรุงลงกาได้วิธีหนึ่ง...นั้นก็คือ หวังยืมมือของนางสุพรรณมัจฉาผู้เป็นธิดาให้ออกคำสั่งใช้เหล่าปลาทั้งหลายในทะเลอันเป็นบริวารของนางทำลายการจองถนนของบรรดาวานรเสีย


เช่นเดียวกับ[[นางสีดา]] ที่มีบิดาเป็น[[ยักษ์]]แต่ก็มีรูปโฉมที่สวยงาม แม้นางสุพรรณมัจฉาจะเป็นตัวละครที่มีบทบาทไม่มากนัก แต่ก็เป็นที่กล่าวขานถึงรูปลักษณ์ที่งดงาม จนเป็นหนึ่งในนางในวรรณคดีที่มีชื่อเสียงนางหนึ่ง<ref name= "สนุก">{{cite web |url=http://hilight.kapook.com/view/84335|title=ประวัตินางในวรรณคดี หญิงงามในบทประพันธ์|author=|date=5 เมษายน 2556|work= |publisher=สนุกดอตคอม|accessdate=26 พฤษภาคม 2557}}</ref><ref>{{cite web |url=http://www.roommag.com/detail.aspx?articleId=213&magno=65|title=โรงละครอักษรา|author=|date=|work= |publisher=Room|accessdate=26 พฤษภาคม 2557}}</ref> ทั้งนี้นางสุพรรณมัจฉาปรากฏอยู่ใน[[รามายณะ]]ของภูมิภาค[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้|อุษาคเนย์]]บางประเทศเท่านั้น<ref name="Satyavrat2006">{{cite book | author=Satyavrat Sastri | title=Discovery of Sanskrit Treasures: Epics and Puranas | url=http://books.google.com/books?id=seljAAAAMAAJ | accessdate=2012-07-24 | year=2006 | publisher=Yash Publications | isbn=978-81-89537-04-3 | page = 77}}</ref>
เมื่อตกลงใจได้มั่นเหมาะแล้ว ทศกัณฐ์ก็เรียกนางสุพรรณมัจฉาเข้าเฝ้า มอบหมายหน้าที่นี้ให้แก่ธิดาครึ่งปลาทันที นางสุพรรณมัจฉาพอได้รับคำสั่งของบิดา นางก็เร่งปฏิบัติตาม พาเหล่าบริวารปลาใหญ่เล็กทั้งหลายแหล่ของนาง ไปยังบริเวณที่พลพรรควานรขนหินถมลงในน้ำจนเริ่มปรากฏเป็นเส้นทางแล้ว สั่งให้บรรดาปลาในน้ำลอบคาบก้อนหินไปทิ้งยังอ่าวลึก [[สุครีพ]]ผู้ควบคุมพลวานรจองถนนยิ่งดูก็ยิ่งสงสัย เพราะเห็นหินที่ถมลงไปมากมายก่ายกอง ลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ อย่างไม่รู้ต้นสายปลายเหตุ จึงปรึกษากับ[[หนุมาน]] หนุมานเห็นเช่นนั้นจึงตามคำน้าชายว่า ก็อาสาจะลงไปดูลาดเลาในน้ำเอง จึงได้พบสาเหตุที่ทำให้ถนนทรุดลงเรื่อย ๆ ด้วยความโกรธ หนุมานชักตรีออกมาไล่ฆ่าฟันพวกปลาเสียมาก ต่อมานางสุพรรณมัจฉาเห็นเข้า ก็ว่ายหนีเข้าไปปะปนกับฝูงปลาอื่น ๆ เพราะความกลัว แต่ก็ยังไม่อาจหนีพ้น ถูกหนุมานตามทัน จับตัวไว้ได้ หนุมานที่กำลังโมโหพอจับตัวการใหญ่ได้ก็ตวาดถามด้วยโทสะ ทำให้นางนางสุพรรณมัจฉาที่กลัวลานอยู่แล้วยิ่งสั่นหนักเข้าไปใหญ่ นางได้สารภาพทุกอย่างตามจริงไม่มีปิดบัง ทั้งสัญญาจะขนหินมาคืนให้ เพียงวิงวอนหนุมานให้ไว้ชีวิตนางเท่านั้น หนุมานที่หูได้ยินเสียงวิงวอนหวาน ๆ ตาได้เห็นรูปโฉมสวย ๆ อารมณ์บูดจึงหายไปกว่าครึ่งแล้ว สิ่งเกิดขึ้นแทนที่คือ... ความเจ้าชู้ วานรทหารเอกของพระราม เลยแสดงบทบาทเกี้ยวพาราสีสาวสวยลูกครึ่ง (ครึ่งยักษ์ครึ่งปลา) อย่างไว้ฝีมือ จนนางสุพรรณมัจฉามีความหลงใหลหนุมานยิ่งนัก... นับว่า ‘ความรัก ไม่มีพรมแดน’ ได้จริง ๆ แล้วหนุมานก็เกลี้ยกล่อมให้นางสุพรรณมัจฉาเรียกบริวารปลาของนางไปขนหินกลับคืนมาช่วยกันทั้งบนบกและในน้ำ จนกระทั่งถนนสายสู่ลงกาสำเร็จด้วยดี จึงลาจากนาง กลับกองทัพไป รายงานผล หลังจากนุมานผละจากไปแล้ว นางสุพรรณมัจฉาก็เริ่มได้คิด นางไม่เพียงไม่อาจทำตามคำสั่งพระบิดาทำลายถนนทิ้งเท่านั้น ซ้ำร้ายยังมีส่วนช่วยสร้างถนนสายนี้ด้วย โทษแค่นี้ก็ถึงประหารแล้ว อย่าว่าแต่นางยังไปมีสัมพันธ์สวาทกับหนุมานทหารเอกของฝ่ายข้าศึก จนกำลังมีครรภ์เข้าอีก ยิ่งเป็นเหตุให้นางไม่กล้ากลับไปพบหน้าพระยายักษ์ทศกัณฐ์ ด้วยเหตุผลที่มีอันตรายรายล้อมรอบด้านนางสุพรรณมัจฉาจึงได้ตัดสินใจจะหาสถานที่เร้นลับซักแห่ง แอบสำรอกบุตรในท้องของนางไว้ นางหาได้เนินทรายชายหาดที่สงบเงียบแห่งหนึ่ง จึงอธิษฐานต่อบรรดาเทพยดานางฟ้าให้ช่วยนางและบุตรด้วย เทวดานางฟ้าจึงได้พากันมาแสดงตนให้นางได้เห็นตามคำอธิษฐาน และอำนวยพรให้ พอถึงฤกษ์ดี นางก็สำรอกบุตรออกมาได้อย่างง่ายดาย บุตรของนางสุพรรณมัจฉาเป็นชายผิวขาวผ่องกายเหมือนหนุมานไม่ผิดเพี้ยนแม้แต่น้อย แถมมีหางเป็นปลา และพอเกิดก็ดูเติบใหญ่ราวอายุได้ 16 ปี (น่าจะนับว่าเป็นโชคดี ที่โอรสของนางดูเป็นแค่ครึ่งปลาครึ่งลิงเท่านั้น หากมีลักษณะครึ่งยักษ์ของทศกัณฐ์ผู้เป็นตาปนเข้าไปด้วย คงยิ่งดูนุงนัง กลายเป็นสัตว์ประหลาดที่หาคำบรรยายไม่ค่อยถูกเลยที่เดียว) เหล่าเทวดานางฟ้าที่มาช่วยจึงตั้งชื่อให้ว่า[[มัจฉานุ]] แล้วพากันกลับวิมานไป นางสุพรรณมัจฉายิ่งชื่นชมบุตรของนางได้เพียงครู่เท่านั้น ก็ต้องจากไปเช่นกัน นางจึงบอกเล่าชาติกำเนิดแก่มัจฉานุว่า บิดาของมัจฉานุ ชื่อ หนุมาน เป็นทหารของพระราม จุดสังเกตคือ หนุมานมีมาลัยกุณฑล ขนแก้ว เขี้ยวเพชร เหาะเหินได้ และสามารถหาวเป็นดาวเป็นเดือน แล้วนางสุพรรณมัจฉาก็ลาจากลูกชายแหวกว่ายไปในทะเลใหญ่ เพื่อหาทางหลบซ่อนจากพระอาญาของทศกัณฐ์พระบิดาของนางเอง ทิ้งมัจฉานุไว้ตามลำพังบนเนินทรายนั้น บังเอิญ[[ไมยราพ]]เจ้าเมืองบาดาลประพาสป่าผ่านมาพบเข้า รู้สึกถูกชะตายิ่ง จึงรับมัจฉานุไว้เป็นบุตรบุญธรรม ขุดสระใหญ่ให้เป็นด่านหน้าเมืองบาดาล


== ประวัติ ==
ส่วนทศกัณฐ์ที่เสียท่าในการศึกหลายหนได้ของความช่วยเหลือจากไมยราพที่เป็นพันธมิตรของลงกา ไมยราพเห็นแก่ความเป็นมิตร รับอาสาช่วยเหลือทศกัณฐ์ ด้วยการสะกดทัพวานรลักตัวพระรามไปกักไว้ในบาดาล พิเภกและพระลักษณ์ที่กำลังเศร้าโศกต่อการหายสาบสูญไปของพระเชษฐาว่าให้ส่งหนุมานตามไปช่วย หนุมานจึงติดตามมาถึงด่านหน้าเมืองบาดาลที่มัจฉานุอาศัยอยู่ สองพ่อลูกจึงเกิดสู้รบกันขึ้น แต่ต่างไม่สามารถเอาชนะกันและกันได้ ทำให้หนุมานสงสัยยิ่ง จึงสอบถามถึงเผ่าพงศ์ของมัจฉานุ ซึ่งมัจฉานุเองก็อดแคลงใจไม่ได้เหมือนกัน ที่คู่ต่อสู้ทำไมจึงมีหน้าตารูปกายคล้ายกับตนนัก จึงตอบตามสัตย์ว่า เป็นบุตรของพระนางสุพรรณมัจฉากับหนุมาน หนุมานรู้ก็ยินดียิ่ง แนะนำตัวเองต่อมัจฉานุว่าเป็นบิดา แต่มัจฉานุต้องการข้อยืนยัน หนุมานจึงเหาะขึ้นไปบนอากาศ และหาวเป็นดาวเป็นเดือนให้ดู มัจฉานุค่อยเชื่อว่าคือบิดา พอสองพ่อลูกได้รู้จักกันแล้ว สภาพการเป็นศัตรูก็เสื่อมสลายไป มัจฉานุยอมให้หนุมานผ่านด่านของตนลงสู่บาดาลไปช่วยเหลือพระรามโดยสะดวก เมื่อฝ่ายวานรช่วยเหลือพระรามออกไปจากบาดาลได้ และไมยราพพลาดท่าตายในที่รบและหนุมานก็มอบเมืองบาดาลให้ไวยวิก พระญาติผู้หนึ่งของไมยราพครอบครองต่อไป โดยมีมัจฉานุเป็นพระมหาอุปราช ก่อนจะกลับกองทัพวานรไปทำศึกสงครามต่อ ไวยวิกกับมัจฉานุที่ครอบครองเมืองบาดาลอย่างเป็นสุขมาตลอด วันหนึ่งเกิดอยากเข้าเฝ้าพระราม จึงจัดทัพเดินทางไปกรุงอยุธยา บังเอิญพบกับทัพท้าวชมพูเข้าที่หน้าเมืองอยุธยา สองทัพเกิดเข้าใจผิด จึงสู้รบกันเองซะอุตลุดวุ่นวาย พระรามได้ยินเสียงสู้รบกันดังสนั่น จึงให้หนุมานออกไปดู หนุมานเห็นเป็นพวกกันเองทั้งสองฝ่าย ก็เลยรีบเข้าห้าม และพาทั้งหมดเข้าเฝ้าพระราม พระรามเห็นว่าหางปลาของมัจฉานุดูเกะกะร่ารำราญ หนุมานก็เลยฉวยโอกาสนี้ทูลของพระรามช่วยตัดหางมัจฉานุออก พระรามไม่ขัด ทรงใช้พระขรรค์โมลีตัดหางปลาออกไปจากกายมัจฉานุด้วยความฉับไวแม่นยำทำให้มัจฉานุไม่รู้สึกเจ็บปวดแต่อย่างไร ยังความยินดีแก่มัจฉานุยิ่งที่ไม่ต้องมีสภาพครึ่งปลาอีกต่อไป แต่โชคดีของมัจฉานุยังไม่หมดแค่นั้น พระรามยังโปรดแต่งตั้งให้เป็นพระยาหนุราชไปครองเมืองมลิวัน มัจฉานุบุตรของนางสุพรรณมัจฉาเองนั้น ยังคงเวียนว่ายท่องเที่ยวไปในทะเลกว้างตามความเคยชิน นี่คือ ชีวิตรูปแบบหนึ่งของนางในวรรณคดีผู้มีเชื้อสายครึ่งยักษ์ครึ่งปลา และมีความงดงามคมซึ้งไม่ด้อยกว่าเทพธิดาบนสรวงสวรรค์... สุพรรณมัจฉา
นางสุพรรณมัจฉา เป็นบุตรของ[[ทศกัณฑ์]] กับนางปลา<ref name= "สำมนักขา">{{cite web |url=http://www.siamnt.net/ramakien_literature/html/character5.php|title=นางสำมนักขา, สุพรรณมัจฉา, นางเบญกาย, นางมณโฑ, สดายุ|author=|date=|work= |publisher=SiamNT ฝีมือไทย ภูมิปัญญาไทย|accessdate=26 พฤษภาคม 2557}}</ref><ref name= "ชานันท์">{{cite web |url=http://www.seaconsortium.net/autopagev4/show_page.php?topic_id=423&auto_id=5&TopicPk=181|title=รามเกียรติ์ : sex, ผู้หญิง, รัฐ และ อุษาคเนย์|author=ชานันท์ ยอดหงษ์|date=|work= |publisher=The Southeast Asian Consortium on Gender, Sexual and Health|accessdate=26 พฤษภาคม 2557}}</ref><ref name= "สุพรรณมัจฉา">{{cite web |url=http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=42259|title=สุพรรณมัจฉา (รามเกียรติ์)|author=|date=|work= |publisher=My First Brain|accessdate=26 พฤษภาคม 2557}}</ref> ซึ่งเป็นสัตว์เดียรัจฉานแต่ทศกัณฑ์ได้แปลงกายเป็นปลาลงไปสมสู่จนกำเนิดบุตรขึ้นมา<ref name= "ทศกัณฑ์">{{cite web |url=http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=42578|title=ทศกัณฑ์ (รามเกียรติ์)|author=|date=|work= |publisher=My First Brain|accessdate=26 พฤษภาคม 2557}}</ref> แม้ทศกัณฑ์จะเป็น[[ยักษ์]]แต่ในวรรณคดีอนุโลมให้ทศกัณฑ์เป็นมนุษย์<ref name= "พันธุศาสตร์">{{cite web |url=http://www.geneticsociety.or.th/content-ลักษณะประหลาดที่น่าสนใจทางพันธุศาสตร์ของตัวละครในวรรณคดีไทย-4-23326-306035-1.html|title=ลักษณะประหลาดที่น่าสนใจทางพันธุศาสตร์ของตัวละครในวรรณคดีไทย|author=ดร. ณรงค์ โฉมเฉลา|date=26 กุมภาพันธ์ 2557|work= |publisher=สมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย|accessdate=26 พฤษภาคม 2557}}</ref> ด้วยเหตุนี้เธอจึงมีรูปลักษณ์ที่ท่อนบนเป็นมนุษย์ส่วนท่อนล่างเป็นปลา<ref name= "สำมนักขา"/> คือกลายเป็น [[นางเงือก]]<ref name= "พันธุศาสตร์"/> กระนั้นนางสุพรรณมัจฉาก็มีรูปโฉมที่งดงาม มีผิวกายผ่องพรรณดุจสีทอง ดังปรากฏความว่า<ref name= "สุพรรณมัจฉา"/>


{{บทกวี|indent=1
== ลักษณะและสี ==
|แสดงรูปนาเรศ|สุพรรณมัจ ฉาเฮย
|ผิวเทียมทองอุบัติ|ผ่องพ้น}}
{{บทกวี
|ธิดาทศเศียรกษัตริย์|มาตุเรศปลาแฮ
|ที่ลักคาบศิลาล้น|สมุทรครั้งถมถนน}}


ด้วยเหตุนี้นางสุพรรณมัจฉาจึงเป็นพี่น้องร่วมบิดากับ[[นางสีดา]]<ref name= "ทศกัณฑ์"/> แต่ด้วยความที่นางสุพรรณมัจฉามีท่อนล่างเป็นปลาจึงอาศัยอยู่เพียงแต่ในน้ำในมหาสมุทร มิอาจอยู่ในเวียงวังดังบุตรคนอื่น<ref name= "สนุก"/>
นางสุพรรณมัจฉามีลำตัวเป็นสีขาวหรือสีนวล กายท่อนบนเป็นนางมนุษย์ กายท่อนล่างเป็นปลา สวมมงกุฎนางอยู่บนศีรษะ


== ความสัมพันธ์กับหนุมาน ==
นางสุพรรณมัจฉาเป็นสาวงามนางหนึ่งที่มีผู้ทัดเทียมได้ไม่มากนัก ดังที่มีความบรรยายไว้ว่า
[[ไฟล์:Hanuman and Mermaid Suvannamaccha.jpg|thumb|หนุมานและสุพรรณมัจฉา]]
ครั้นเมื่อพระราม ได้มอบหมายให้[[หนุมาน]]และ[[นิลพัท]]พาพลวานรไปถมมหาสมุทรเพื่อทำถนนไปสู่กรุงลงกา เมื่อทศกัณฑ์ล่วงรู้เข้าจึงสั่งให้สุพรรณมัจฉาและบริวารคือฝูงปลาคาบก้อนหินของฝ่ายพระรามไปทิ้งเสียทำให้การถมถนนไม่เป็นผลสำเร็จ<ref name= "สนุก"/> หนุมานจึงเกิดความสงสัยจึงดำลงไปใต้น้ำพบนางสุพรรณมัจฉาและฝูงปลากำลังคาบก้อนหินไปทิ้ง หนุมานโกรธแค้นมากจึงชักตรีออกไปฆ่านางสุพรรณมัจฉา แต่ท้ายที่สุดหนุมานก็เปลี่ยนทัศนคติแปรเป็นความรักต่อนาง<ref name= "สุพรรณมัจฉา"/> หนุมานจึงเกี้ยวพาราสีและร่วมสังวาสกัน<ref name= "ชานันท์"/> ดังปรากฏความว่า<ref name= "สุพรรณมัจฉา"/>


{{บทกวี|indent=1
: ''"เห็นเจ้าเยาวลักษณ์ ผิวพักตร์ดั่งเทพอัปสร แน่งน้อยนิ่มเนื้ออรชร ให้อาวรณ์ในองค์วนิดา งามทั้งกิริยามารยาท ท่วงทีฉลาดแหลมหลัก งามทรงงามองค์งามพักตร์ ให้จำเริญรักพันทวี"''
|เมื่อนั้น|นวลนางสุพรรณมัจฉา
|ได้ร่วมรสรักภิรมยา|กับวายุบุตรวุฒิไกร}}
{{บทกวี
|อิบแอบแนบชิดพิศวง|งวยงงด้วยความพิศมัย
|แสนรักแสนสวาทจะขาดใจ|อรทัยลืมกลัวพระบิดา}}
{{บทกวี
|ลืมเล่นในท้องชลธาร|ลืมฝูงบริวารมัจฉา
|ลืมอายลืมองค์กัลยา|เสน่หาเพิ่มพ้นพันทวี}}


หลังสิ้นการสังวาสนางสุพรรณมัจฉาก็เลิกก่อกวนการสร้างถนน แต่ก็ทำสำเร็จเปราะหนึ่งเพราะหนุมานก็ต้องเสียเวลามาร่วมเพศกับนางระยะหนึ่ง<ref name= "ชานันท์"/> ต่อมานางสุพรรณมัจฉาได้ตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตรชื่อ ''[[มัจฉานุ]]''<ref name= "พันธุศาสตร์"/><ref>{{cite web |url=http://ramayana.onlinewebshop.net/supanmatcha.html|title=สุพรรณมัจฉา|author=|date=|work= |publisher=รามเกียรติ์|accessdate=26 พฤษภาคม 2557}}</ref><ref>{{cite web |url=http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/17721-00/|title=ตัวละครหลักในเรื่องรามเกียรติ์|author=|date=|work= |publisher=True ปลูกปัญญา|accessdate=26 พฤษภาคม 2557}}</ref> ที่เป็นลิงแต่มีหางเป็นปลา นางสุพรรณมัจฉาเกรงว่าทศกัณฑ์ผู้บิดาจะล่วงรู้ว่านางได้เสียกับหนุมานแล้ว จึงนำบุตรมาทิ้งไว้ที่ชายหาด ที่ต่อมา[[ไมยราพ]]ได้นำไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม<ref name= "สุพรรณมัจฉา"/>
== สามีและโอรส ==

นางสุพรรณมัจฉาตกเป็นภรรยาของ[[หนุมาน]] เมื่อนางถูก[[ทศกัณฐ์]]ใช้ให้ไปรื้อถนนที่ทางฝ่าย[[พระราม]]สร้างเพื่อข้ามไปยังกรุงลงกา [[หนุมาน]]กับนางสุพรรณมัจฉามีบุตรด้วยกันคนหนึ่งคือ [[มัจฉานุ]]
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}

== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* {{commonscat-inline|Suvannamaccha|สุพรรณมัจฉา}}


{{รามเกียรติ์}}
{{รามเกียรติ์}}
[[หมวดหมู่:นางในวรรณคดี|ส]]
[[หมวดหมู่:นางในวรรณคดี]]
[[หมวดหมู่:ตัวละครในรามเกียรติ์]]
[[หมวดหมู่:ตัวละครในรามเกียรติ์]]
{{โครงวรรณกรรม}}
{{โครงวรรณกรรม}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:17, 26 พฤษภาคม 2557

นางสุพรรณมัจฉา
ตัวละครใน รามเกียรติ์
เผ่าพันธุ์เงือก
ครอบครัวทศกัณฑ์ (บิดา)
นางสีดา (พี่น้องร่วมบิดา)
คู่สมรสหนุมาน
บุตรมัจฉานุ

นางสุพรรณมัจฉา เป็นตัวละครจากวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ อันเป็นบุตรของทศกัณฑ์ ที่ต่อมาได้ตกเป็นภรรยาคนหนึ่งของหนุมาน[1] ทหารเอกของพระรามอันเป็นตัวเอกของวรรณคดีเรื่องดังกล่าว

นางปรากฏตัวครั้งแรกเมื่อครั้งที่พระรามให้หนุมานถมมหาสมุทรข้ามไปยังกรุงลงกา ทศกัณฑ์จึงให้นางสุพรรณมัจฉาและบริวารที่เป็นปลาลอบขนหินถมทะเลดังกล่าวไปทิ้ง หนุมานจึงสงสัยจึงดำลงไปใต้ท้องทะเลจึงพบนางสุพรรณมัจฉา ภายหลังทั้งสองได้ร่วมรักกันและมีบุตรคือ มัจฉานุ ที่ตัวเป็นลิงมีหางเป็นปลา

เช่นเดียวกับนางสีดา ที่มีบิดาเป็นยักษ์แต่ก็มีรูปโฉมที่สวยงาม แม้นางสุพรรณมัจฉาจะเป็นตัวละครที่มีบทบาทไม่มากนัก แต่ก็เป็นที่กล่าวขานถึงรูปลักษณ์ที่งดงาม จนเป็นหนึ่งในนางในวรรณคดีที่มีชื่อเสียงนางหนึ่ง[2][3] ทั้งนี้นางสุพรรณมัจฉาปรากฏอยู่ในรามายณะของภูมิภาคอุษาคเนย์บางประเทศเท่านั้น[4]

ประวัติ

นางสุพรรณมัจฉา เป็นบุตรของทศกัณฑ์ กับนางปลา[5][6][7] ซึ่งเป็นสัตว์เดียรัจฉานแต่ทศกัณฑ์ได้แปลงกายเป็นปลาลงไปสมสู่จนกำเนิดบุตรขึ้นมา[8] แม้ทศกัณฑ์จะเป็นยักษ์แต่ในวรรณคดีอนุโลมให้ทศกัณฑ์เป็นมนุษย์[9] ด้วยเหตุนี้เธอจึงมีรูปลักษณ์ที่ท่อนบนเป็นมนุษย์ส่วนท่อนล่างเป็นปลา[5] คือกลายเป็น นางเงือก[9] กระนั้นนางสุพรรณมัจฉาก็มีรูปโฉมที่งดงาม มีผิวกายผ่องพรรณดุจสีทอง ดังปรากฏความว่า[7]

แสดงรูปนาเรศ สุพรรณมัจ ฉาเฮย
ผิวเทียมทองอุบัติ ผ่องพ้น
ธิดาทศเศียรกษัตริย์ มาตุเรศปลาแฮ
ที่ลักคาบศิลาล้น สมุทรครั้งถมถนน

ด้วยเหตุนี้นางสุพรรณมัจฉาจึงเป็นพี่น้องร่วมบิดากับนางสีดา[8] แต่ด้วยความที่นางสุพรรณมัจฉามีท่อนล่างเป็นปลาจึงอาศัยอยู่เพียงแต่ในน้ำในมหาสมุทร มิอาจอยู่ในเวียงวังดังบุตรคนอื่น[2]

ความสัมพันธ์กับหนุมาน

หนุมานและสุพรรณมัจฉา

ครั้นเมื่อพระราม ได้มอบหมายให้หนุมานและนิลพัทพาพลวานรไปถมมหาสมุทรเพื่อทำถนนไปสู่กรุงลงกา เมื่อทศกัณฑ์ล่วงรู้เข้าจึงสั่งให้สุพรรณมัจฉาและบริวารคือฝูงปลาคาบก้อนหินของฝ่ายพระรามไปทิ้งเสียทำให้การถมถนนไม่เป็นผลสำเร็จ[2] หนุมานจึงเกิดความสงสัยจึงดำลงไปใต้น้ำพบนางสุพรรณมัจฉาและฝูงปลากำลังคาบก้อนหินไปทิ้ง หนุมานโกรธแค้นมากจึงชักตรีออกไปฆ่านางสุพรรณมัจฉา แต่ท้ายที่สุดหนุมานก็เปลี่ยนทัศนคติแปรเป็นความรักต่อนาง[7] หนุมานจึงเกี้ยวพาราสีและร่วมสังวาสกัน[6] ดังปรากฏความว่า[7]

เมื่อนั้น นวลนางสุพรรณมัจฉา
ได้ร่วมรสรักภิรมยา กับวายุบุตรวุฒิไกร
อิบแอบแนบชิดพิศวง งวยงงด้วยความพิศมัย
แสนรักแสนสวาทจะขาดใจ อรทัยลืมกลัวพระบิดา
ลืมเล่นในท้องชลธาร ลืมฝูงบริวารมัจฉา
ลืมอายลืมองค์กัลยา เสน่หาเพิ่มพ้นพันทวี

หลังสิ้นการสังวาสนางสุพรรณมัจฉาก็เลิกก่อกวนการสร้างถนน แต่ก็ทำสำเร็จเปราะหนึ่งเพราะหนุมานก็ต้องเสียเวลามาร่วมเพศกับนางระยะหนึ่ง[6] ต่อมานางสุพรรณมัจฉาได้ตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตรชื่อ มัจฉานุ[9][10][11] ที่เป็นลิงแต่มีหางเป็นปลา นางสุพรรณมัจฉาเกรงว่าทศกัณฑ์ผู้บิดาจะล่วงรู้ว่านางได้เสียกับหนุมานแล้ว จึงนำบุตรมาทิ้งไว้ที่ชายหาด ที่ต่อมาไมยราพได้นำไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม[7]

อ้างอิง

  1. S.N. Desai (2005). Hinduism in Thai Life. Popular Prakashan. p. 135. ISBN 978-81-7154-189-8. สืบค้นเมื่อ 2012-07-24.
  2. 2.0 2.1 2.2 "ประวัตินางในวรรณคดี หญิงงามในบทประพันธ์". สนุกดอตคอม. 5 เมษายน 2556. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "โรงละครอักษรา". Room. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. Satyavrat Sastri (2006). Discovery of Sanskrit Treasures: Epics and Puranas. Yash Publications. p. 77. ISBN 978-81-89537-04-3. สืบค้นเมื่อ 2012-07-24.
  5. 5.0 5.1 "นางสำมนักขา, สุพรรณมัจฉา, นางเบญกาย, นางมณโฑ, สดายุ". SiamNT ฝีมือไทย ภูมิปัญญาไทย. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. 6.0 6.1 6.2 ชานันท์ ยอดหงษ์. "รามเกียรติ์ : sex, ผู้หญิง, รัฐ และ อุษาคเนย์". The Southeast Asian Consortium on Gender, Sexual and Health. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 "สุพรรณมัจฉา (รามเกียรติ์)". My First Brain. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. 8.0 8.1 "ทศกัณฑ์ (รามเกียรติ์)". My First Brain. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. 9.0 9.1 9.2 ดร. ณรงค์ โฉมเฉลา (26 กุมภาพันธ์ 2557). "ลักษณะประหลาดที่น่าสนใจทางพันธุศาสตร์ของตัวละครในวรรณคดีไทย". สมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "สุพรรณมัจฉา". รามเกียรติ์. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "ตัวละครหลักในเรื่องรามเกียรติ์". True ปลูกปัญญา. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น