ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เผด็จการทหาร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thmmrth (คุย | ส่วนร่วม)
ประเทศไทยไม่ใข่เผด็จการทหารครับ
บรรทัด 22: บรรทัด 22:
* {{flag|ฟิจิ}} - ทหารเข้ายึดอำนาจเมื่อเดือน[[ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2549]]
* {{flag|ฟิจิ}} - ทหารเข้ายึดอำนาจเมื่อเดือน[[ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2549]]
* {{flag|สาธารณรัฐแอฟริกากลาง}} -
* {{flag|สาธารณรัฐแอฟริกากลาง}} -
* {{flag|ประเทศไทย}} - ทหารเข้ายึดอำนาจเมื่อวันที่ 22 เดือน[[พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2557]]
[[หมวดหมู่:เผด็จการทหาร| ]]
[[หมวดหมู่:เผด็จการทหาร| ]]
{{โครงการเมือง}}
{{โครงการเมือง}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:30, 23 พฤษภาคม 2557

ระบอบเผด็จการทหาร (อังกฤษ: Military dictatorship) คือ รูปแบบการปกครองที่อำนาจทางการเมืองขึ้นอยู่กับกองทัพ โดยถือได้ว่าเป็นการปกครองในระบอบเผด็จการอำนาจนิยม ซึ่งเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพทางการเมืองของประชาชน

ลักษณะและการแบ่งหมวดหมู่

รัฐบาลเผด็จการทหารส่วนมากจัดตั้งหลักจากรัฐประหาร ซึ่งล้มล้างอำนาจรัฐบาลชุดก่อนหน้า ตัวอย่างที่แตกต่างออกไป คือ การปกครองในสมัยของ ซัดดัม ฮุสเซน ในประเทศอิรัก ซึ่งเริ่มจากรัฐที่ปกครองโดย รัฐบาลพรรคเดียว โดย พรรคบะอัธ แต่เมื่อเวลาผ่านไปรัฐบาลดังกล่าวเปลี่ยนไปเป็นเผด็จการทหาร (ตามที่ผู้นำสวมเครื่องแบบทหารและกองทัพก็มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดในรัฐบาล)

ในอดีต เผด็จการทหารมักจะอ้างความชอบธรรมให้แก่พวกเขาเองว่าเป็นการสร้างความสมานฉันท์แก่ชาติ และช่วยชาติให้พ้นจากภัยคุกคามของ "อุดมการณ์ที่อันตราย" อันเป็นการสร้างการข่มขวัญ ในละตินอเมริกา ภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์ และทุนนิยม ถูกนำเป็นข้ออ้างในการรัฐประหาร คณะทหารมักจะกล่าวว่าพวกเขาเป็นพวกไม่ฝักใฝ่พรรคการเมืองใด เป็นคณะที่มีความเป็นกลาง สามารถจัดการกับความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ ได้ และกล่าวว่านักการเมืองที่มาจากประชาชนนั้นคดโกงและไร้ประสิทธิภาพ ลักษณะร่วมประการหนึ่งของรัฐบาลทหาร คือการประกาศใช้กฎอัยการศึก หรือการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

รัฐบาลทหารมักจะไม่เคารพต่อสิทธิมนุษยชน และมักใช้วิธีการปิดปากศัตรูทางการเมือง รัฐบาลทหารมักจะไม่คืนอำนาจจนกว่าจะมีการปฏิวัติโดยประชาชน

ละตินอเมริกา ทวีปแอฟริกา และตะวันออกกลาง เป็นพื้นที่ที่เป็นเผด็จการทหารบ่อยครั้ง เหตุผลหนึ่งคือทหารมีการประสานงานร่วมกัน และมีโครงสร้างของสถาบันที่เข้มแข็งกว่าสถาบันทางสังคมของประชาชน

ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา ระบอบเผด็จการทหารเริ่มมีจำนวนลดลง เหตุผลหนึ่งมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า เผด็จการทหารไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ และรัฐบาลทหารมักไม่ประสบความสำเร็จในการควบคุมประเทศไม่ให้เกิดการต่อต้านได้ นอกจากนี้ การสิ้นสุดสงครามเย็น ที่ส่งผลให้สหภาพโซเวียตล่มสลาย ทำให้กองทัพไม่สามารถใช้ข้ออ้างในเรื่องของคอมมิวนิสต์ในการอ้างความชอบธรรมของตนเองได้อีกต่อไป

กรณีตัวอย่าง

รัฐที่อยู่ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการทหารในปัจจุบัน แสดงให้เห็นเป็นสีเขียวมะกอก

รายการประเทศข้างล่างอาจจะไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะอาจจะขาดข้อมูลก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2

ประเทศที่ปกครองโดยกองทัพในปัจจุบัน