ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฟุตบอลโลก 2014"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ Jarankan (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Potapt
Jarankan (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น
บรรทัด 1,310: บรรทัด 1,310:
{{commonscat|FIFA World Cup 2014|ฟุตบอลโลก 2014}}
{{commonscat|FIFA World Cup 2014|ฟุตบอลโลก 2014}}
* [http://www.fifa.com/worldcup/brazil2014/index.html Official Website]
* [http://www.fifa.com/worldcup/brazil2014/index.html Official Website]
* [http://tv1d.com/ Official Website]

{{ฟุตบอลโลก}}
{{ฟุตบอลโลก}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:02, 19 พฤษภาคม 2557

ฟุตบอลโลก 2014
Copa do Mundo da FIFA
Brasil 2014
ตราสัญลักษณ์ฟุตบอลโลก 2014
รายละเอียดการแข่งขัน
ประเทศเจ้าภาพบราซิล
วันที่13 มิถุนายน13 กรกฎาคม
ทีม32 (จาก 6 สมาพันธ์)
สถานที่12 (ใน 12 เมืองเจ้าภาพ)
2010
2018

ฟุตบอลโลก 2014 (อังกฤษ: 2014 FIFA World Cup; โปรตุเกส: Copa do Mundo da FIFA 2014) เป็นการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งที่ 20 ซึ่งมีกำหนดจะจัดขึ้นที่ประเทศบราซิล ระหว่างวันที่ 12 มิถุนายน13 กรกฎาคม พ.ศ. 2557[1] นี่เป็นครั้งที่สองที่บราซิลได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันดังกล่าว โดยเป็นเจ้าภาพครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2493 ทำให้บราซิลกลายเป็นประเทศที่ 5 ที่เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกสองครั้งต่อจากประเทศเม็กซิโก ประเทศอิตาลี ประเทศฝรั่งเศส และประเทศเยอรมนี ฟุตบอลโลกครั้งนี้เป็นนับเป็นการแข่งขันฟุตบอลโลกที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในทวีปอเมริกาใต้นับตั้งแต่ฟุตบอลโลกปี พ.ศ. 2521 ที่ประเทศอาร์เจนตินา เป็นครั้งแรกที่มีจัดการแข่งขันนอกทวีปยุโรปสองครั้งติดต่อกัน และเป็นครั้งแรกที่มีจัดการแข่งขันในซีกโลกใต้ติดต่อกันสองครั้ง (ก่อนหน้านี้ ฟุตบอลโลก 2010 จัดในประเทศแอฟริกาใต้) นอกจากนี้ ฟีฟ่าก็จะใช้เทคโนโลยีโกลไลน์เป็นครั้งแรกในการแข่งขันครั้งนี้ด้วย[2]

ตั๋วของการแข่งขันเปิดขายตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556 จำนวนประมาณ 3.3 ล้านใบ ผ่านเว็บไซต์ของฟีฟ่า[3]

การคัดเลือกเจ้าภาพ

เซพพ์ บลัทเทอร์ ยืนยันการเป็นเจ้าภาพของประเทศบราซิล

วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2546 ฟีฟ่าได้ประกาศว่า การแข่งขันฟุตบอลโลกจะจัดขึ้นในทวีปอเมริกาใต้อีกครั้งนับตั้งแต่การแข่งขันฟุตบอลโลก 1978 ในอาร์เจนตินา เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายที่จะหมุนเวียนสิทธิ์ในการจัดการแข่งขันไปตามสหพันธ์ฟุตบอลต่าง ๆ ต่อมาในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2546 สมาพันธ์ฟุตบอลอเมริกาใต้ (คอนเมบอล) ได้แจ้งว่าอาร์เจนตินา บราซิล และโคลอมเบียมีความประสงค์จะเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2014 รอบสุดท้าย[4] และในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2547 คอนเมบอลได้ลงมติเอกฉันท์ให้บราซิลเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันในครั้งนี้[5]

บราซิลได้ประกาศเสนอตัวเป็นเจ้าภาพอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 และโคลอมเบียได้ประกาศในวันถัดมา ส่วนอาร์เจนตินาไม่มีการประกาศเสนอตัว โดยในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2550 โคลอมเบียได้ขอถอนตัวอย่างเป็นทางการ ซึ่งฟรันซิสโก ซานโตส กัลเดรอน รองประธานาธิบดีโคลอมเบียกล่าวว่าโคลอมเบียจะจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกชุดอายุไม่เกิน 20 ปี ใน พ.ศ. 2554 แทน ทำให้เหลือเพียงบราซิลประเทศเดียวที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันนี้[6]

บราซิลชนะการคัดเลือกเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2014 โดยงานประกาศนั้นมีขึ้นในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ในฐานะที่เป็นประเทศเดียวที่เสนอชื่อเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน[7]

คุณสมบัติการคัดเลือก

การจับสลาก

การจับสลากแบ่งกลุ่มฟุตบอลโลก 2014 จัดขึ้นที่มารีนาดากลูเรีย ในเมืองรีโอเดจาเนโร เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554[8] [9] โดยประเทศเจ้าภาพทีมชาติบราซิล จะผ่านเข้ารอบสุดท้ายในการแข่งขันนี้โดยอัตโนมัติ

ยุโรป (ยูฟ่า)

  เข้ารอบ
  มีโอกาสเข้ารอบ
  ไม่ผ่านเข้ารอบ – มีเกมที่จะลงเล่น
  ไม่ผ่านเข้ารอบ – ตกรอบ
  ไม่ผ่านเข้ารอบ – เป็นสมาชิกฟีฟ่า
  ไม่ผ่านเข้ารอบ – ไม่ได้เป็นสมาชิกฟีฟ่าก่อนร่วมการแข่งขัน

(53 ทีมคัดเลือกเหลือ 13 ทีม)

อเมริกาใต้ (คอนเมบอล)

(9 ทีมคัดเลือกเหลือ 4 หรือ 5 ทีม โดยมีการคัดเลือกก่อน)

คอนเมบอลนั้นจะมี 4 หรือ 5 ทีมที่จะเข้ารอบลงทำการแข่งขันในรอบสุดท้าย กับ 4 ทีมที่มีคะแนนมากที่สุดในรอบแบ่งกลุ่มการคัดเลือก และอันดับที่ 5 จะต้องเล่นรอบคัดเลือกกับทีมอันดับที่ 5 จากทวีปเอเชีย ในการแข่งขันแบบเหย้า-เยือน โดย บราซิล เข้ารอบโดยอัตโนมัติเนื่องจากเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน

แอฟริกา (ซีเอเอฟ)

(52 ทีมคัดเลือกเหลือ 5 ทีม)

เอเชีย (เอเอฟซี)

(43 ทีมคัดเลือกเหลือ 4 หรือ 5 ทีม โดยมีการคัดเลือกก่อน)

อเมริกาเหนือและอเมริกากลาง และแคริบเบียน (คอนคาเคฟ)

(35 ทีมคัดเลือกเหลือ 3 หรือ 4 ทีม โดยมีการคัดเลือกก่อน) จะมี 3 ทีมที่ผ่านการคัดเลือกได้เข้าไปแข่งขันรอบสุดท้าย ส่วนทีมที่ 4 จะต้องทำการเล่นรอบคัดเลือกกับทีมชนะเลิศของทวีปโอเชียเนีย ในการแข่งขันแบบเหย้า-เยือน

โอเชียเนีย (โอเอฟซี)

(11 ทีมคัดเลือกเหลือ 0 หรือ 1 โดยมีการคัดเลือกก่อน) โดยทีมชนะเลิศจะต้องเล่นรอบคัดเลือกกับทีมอันดับที่ 4 ของคอนคาเคฟ ในการแข่งขันแบบเหย้า-เยือน

ทีมที่ได้ลงแข่งขัน

ทีมชาติ เข้ารอบลำดับที่ วิธีการเข้ารอบ วันที่เข้ารอบ ครั้งที่เข้ารอบ เข้ารอบครั้งล่าสุด ผลงานที่ดีที่สุด อันดับโลกฟีฟ่า
ก่อนเริ่มการแข่งขัน
ธงชาติบราซิล บราซิล 1 เจ้าภาพ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2550 20 2010 ชนะเลิศ (1958, 1962, 1970, 1994, 2002) 11
ธงชาติญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 2 ทีมชนะเลิศ กลุ่มบี การคัดเลือกโซนเอเชีย 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556 5 2010 รอบ 16 ทีมสุดท้าย (2002, 2010) 44
ธงชาติออสเตรเลีย ออสเตรเลีย 3 ทีมรองชนะเลิศ กลุ่มบี การคัดเลือกโซนเอเชีย 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556 4 2010 รอบ 16 ทีมสุดท้าย (2006) 57
ธงชาติอิหร่าน อิหร่าน 4 ทีมชนะเลิศ กลุ่มเอ การคัดเลือกโซนเอเชีย 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556 4 2006 รอบแบ่งกลุ่ม (1978, 1998, 2006) 49
ธงชาติเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 5 ทีมรองชนะเลิศ กลุ่มเอ การคัดเลือกโซนเอเชีย 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556 9 2010 อันดับ 4 (2002) 56
ธงชาติเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ 6 ทีมชนะเลิศ กลุ่มดี การคัดเลือกโซนยุโรป 10 กันยายน พ.ศ. 2556 10 2010 รองชนะเลิศ (1974, 1978, 2010) 8
ธงชาติอิตาลี อิตาลี 7 ทีมชนะเลิศ กลุ่มบี การคัดเลือกโซนยุโรป 10 กันยายน พ.ศ. 2556 18 2010 ชนะเลิศ (1934, 1938, 1982, 2006) 9
ธงชาติสหรัฐ สหรัฐ 8 อันดับ 1 การคัดเลือกโซนคอนคาเคฟ 10 กันยายน พ.ศ. 2556 10 2010 อันดับ 3 (1930) 13
ธงชาติคอสตาริกา คอสตาริกา 9 อันดับ 2 การคัดเลือกโซนคอนคาเคฟ 10 กันยายน พ.ศ. 2556 4 2006 รอบ 16 ทีมสุดท้าย (1990) 31
ธงชาติอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา 10 อันดับ 1 การคัดเลือกโซนอเมริกาใต้ 10 กันยายน พ.ศ. 2556 16 2010 ชนะเลิศ (1978, 1986) 3
ธงชาติเบลเยียม เบลเยียม 11 ทีมชนะเลิศ กลุ่มเอ การคัดเลือกโซนยุโรป 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556 12 2002 อันดับ 4 (1986) 5
ธงชาติสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ 12 ทีมชนะเลิศ กลุ่มอี การคัดเลือกโซนยุโรป 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556 10 2010 รอบ 8 ทีมสุดท้าย (1934, 1938, 1954) 7
ธงชาติเยอรมนี เยอรมนี 13 ทีมชนะเลิศ กลุ่มซี การคัดเลือกโซนยุโรป 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556 18 2010 ชนะเลิศ (1954, 1974, 1990) 2
ธงชาติโคลอมเบีย โคลอมเบีย 14 อันดับ 2 การคัดเลือกโซนอเมริกาใต้ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556 5 1998 รอบ 16 ทีมสุดท้าย (1990) 4
ธงชาติรัสเซีย รัสเซีย 15 ทีมชนะเลิศ กลุ่มเอฟ การคัดเลือกโซนยุโรป 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556 10 2002 อันดับ 4(1986) 19
ธงชาติบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา 16 ทีมชนะเลิศ กลุ่มจี การคัดเลือกโซนยุโรป 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556 1 16
ธงชาติอังกฤษ อังกฤษ 17 ทีมชนะเลิศ กลุ่มเอช การคัดเลือกโซนยุโรป 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556 14 2010 ชนะเลิศ (1966) 10
ธงชาติสเปน สเปน 18 ทีมชนะเลิศ กลุ่มไอ การคัดเลือกโซนยุโรป 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556 14 2010 ชนะเลิศ (2010) 1
ธงชาติชิลี ชิลี 19 อันดับ 3 การคัดเลือกโซนอเมริกาใต้ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556 9 2010 อันดับ 3 (1962) 12
ธงชาติเอกวาดอร์ เอกวาดอร์ 20 อันดับ 4 การคัดเลือกโซนอเมริกาใต้ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556 3 2006 รอบ 16 ทีมสุดท้าย (2006) 22
ธงชาติฮอนดูรัส ฮอนดูรัส 21 อันดับ 3 การคัดเลือกโซนคอนคาเคฟ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556 3 2010 รอบแบ่งกลุ่ม (1982, 2010) 34
ธงชาติไนจีเรีย ไนจีเรีย 22 ผู้ชนะรอบที่ 3 การคัดเลือกโซนแอฟริกา 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 5 2010 รอบ 16 ทีมสุดท้าย (1994, 1998) 33
ธงชาติโกตดิวัวร์ โกตดิวัวร์ 23 ผู้ชนะรอบที่ 3 การคัดเลือกโซนแอฟริกา 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 3 2010 รอบแบ่งกลุ่ม (2006, 2010) 17
ธงชาติแคเมอรูน แคเมอรูน 24 ผู้ชนะรอบที่ 3 การคัดเลือกโซนแอฟริกา 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 7 2010 รอบ 8 ทีมสุดท้าย (1990) 59
ธงชาติกานา กานา 25 ผู้ชนะรอบที่ 3 การคัดเลือกโซนแอฟริกา 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 3 2010 รอบ 8 ทีมสุดท้าย (2010) 23
ธงชาติแอลจีเรีย แอลจีเรีย 26 ผู้ชนะรอบที่ 3 การคัดเลือกโซนแอฟริกา 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 4 2010 รอบแบ่งกลุ่ม (1982, 1986, 2010) 32
ธงชาติกรีซ กรีซ 27 ผู้ชนะการเพลย์ออฟ โซนยุโรป 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 3 2010 รอบแบ่งกลุ่ม (1994, 2010) 15
ธงชาติโครเอเชีย โครเอเชีย 28 ผู้ชนะการเพลย์ออฟ โซนยุโรป 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 4 2006 อันดับ 3 (1998) 18
ธงชาติโปรตุเกส โปรตุเกส 29 ผู้ชนะการเพลย์ออฟ โซนยุโรป 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 6 2010 อันดับ 3 (1966) 14
ธงชาติฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 30 ผู้ชนะการเพลย์ออฟ โซนยุโรป 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 14 2010 ชนะเลิศ (1998) 21
ธงชาติเม็กซิโก เม็กซิโก 31 ผู้ชนะการเพลย์ออฟ โซนคอนคาเคฟ - โอเชเนีย 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 15 2010 รอบรองชนะเลิศ (1970, 1986) 24
ธงชาติอุรุกวัย อุรุกวัย 32 ผู้ชนะการเพลย์ออฟ โซนเอเชีย - อเมริกาใต้ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 12 2010 ชนะเลิศ (1930, 1950) 6

วันและสถานที่แข่งขัน

วันแข่งขัน

การแข่งขันครั้งนี้จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 มิถุนายน ถึง 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ซึ่งเป็นสัปดาห์หลังจากที่การแข่งขันฟุตบอลลีกในทวีปยุโรปปิดฤดูกาลลง และยังตรงกับช่วงฤดูหนาวของประเทศในเขตกึ่งร้อนอย่างบราซิลอีกด้วย

สถานที่แข่งขัน

จิลมา รูเซฟ (คนที่ 2 จากขวา) และเปเล่ (คนกลาง) กับการติดตามงานในเมืองเบโลโอรีซอนตี

เมือง 17 เมืองที่สนใจจะเข้ารับคัดเลือกเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งนี้ ได้แก่ เบเลง, เบโลโอรีซอนตี, บราซีเลีย, กัมปูกรันดี, กุยาบา, กูรีตีบา, โฟลเรียนอโปลิส, ฟอร์ตาเลซา, โกยาเนีย, มาเนาส์, นาตาล, โปร์ตูอาเลเกร, เรซีฟี, โอลิงดา (สนามจะเป็นสนามที่ใช้ร่วมกัน 2 เมือง), รีโอบรังโก, รีโอเดจาเนโร, ซัลวาดอร์ และเซาเปาลู[10] ส่วนมาเซโอได้ถอนตัวไปในเดือนมกราคม พ.ศ. 2552

ตามกฎของฟีฟ่า ห้ามมีเมืองที่ใช้แข่งขันเกิน 1 สนาม และจำนวนของเมืองเจ้าภาพต้องอยู่ระหว่าง 8–10 เมือง โดยสมาพันธ์ฟุตบอลบราซิล (เซเบเอฟี) ได้ยื่นคำขอที่จะใช้เมืองเจ้าภาพ 12 เมืองในการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายครั้งนี้[11] ต่อมาในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ฟีฟ่าได้อนุมัติแผนการใช้เมืองเจ้าภาพที่มากถึง 12 เมือง[12]

ก่อนหน้าที่จะมีการคัดเลือกตัดสินเมืองที่จะเป็นเจ้าภาพ มีการสงสัยกันว่า สนามที่จะได้จัดการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศคงเป็นสนามมารากานังในเมืองรีโอเดจาเนโร ซึ่งเคยเป็นสนามแข่งขันนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลโลก 1950 ระหว่างอุรุกวัยกับบราซิลมาแล้ว แต่เดิมสมาพันธ์ฟุตบอลบราซิลตั้งใจจะจัดการแข่งขันนัดเปิดสนามที่สนามโมรุงบีในเมืองเซาเปาลูซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของบราซิล อย่างไรก็ตาม วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553 สนามโมรุงบีถูกตัดชื่อออกเนื่องจากไม่สามารถวางเงินประกันการปรับปรุงสนามให้เป็นไปตามมาตรฐานได้[13] ต่อมาในปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2553 สมาคมฟุตบอลบราซิลได้ประกาศให้ใช้อาเรนาโกริงชังส์จัดการแข่งขันในเซาเปาลู

เมือง 12 เมืองที่จะเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 ได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 เมืองเบเลง, กัมปูกรันดี, โฟลเรียนอโปลิส, โกยาเนีย และรีโอบรังโกถูกตัดออก เกินครึ่งของเมืองที่ผ่านการคัดเลือกจะต้องปรับปรุงสนามหรือสร้างสนามขึ้นมาใหม่เพื่อใช้ในการแข่งขันครั้งนี้ ในขณะที่สนามในกรุงบราซีเลียจะถูกทุบและสร้างขึ้นใหม่ ส่วนอีกห้าเมืองก็กำลังปรับปรุงสนามของตนเอง

รีโอเดจาเนโร บราซีเลีย เซาเปาลู ฟอร์ตาเลซา
สนามกีฬานักหนังสือพิมพ์มารีอู ฟิลยู
(มารากานัง)
สนามกีฬาแห่งชาติบราซีเลีย
(มาเน การิงชา)
อาเรนาโกริงชังส์ สนามกีฬาปลาซีดู อาเดรัลดู กัสเตลู
(กัสเตเลา)
ความจุ : 76,935คน[14] ความจุ : 70,042คน[15] ความจุ : 68,000คน
(สนามใหม่)
ความจุ : 64,846คน[16]
เบโลโอรีซอนตี โปร์ตูอาเลเกร
สนามกีฬาผู้ว่าการมากัลไยส์ ปิงตู
(มีเนย์เรา)
สนามกีฬาฌูแซ ปิญเญย์รู บอร์ดา
(เบย์รา-รีอู)
ความจุ : 62,547 คน ความจุ : 51,300 คน[17]
(ปรับปรุงใหม่)
ไฟล์:Novo mineirão aérea.jpg
ซัลวาดอร์ เรซีฟี
ศูนย์กีฬาศาสตราจารย์โอกตาวีอู มังกาเบย์รา
(อาเรนาฟงชีนอวา)
อาเรนาเปร์นัมบูกู
ความจุ : 56,000 คน[18] ความจุ : 46,154 คน
(สนามใหม่)
กุยาบา มาเนาส์ นาตาล กูรีตีบา
อาเรนาปังตานัล อาเรนาอามาโซเนีย อาเรนาดัสดูนัส สนามกีฬาโฌอากิง อาเมรีกู กีมาไรส์
(อาเรนาดาไบชาดา)
ความจุ : 42,968 คน
(สร้างใหม่)
ความจุ : 42,374 คน
(สร้างใหม่)
ความจุ : 42,086 คน
(สร้างใหม่)
ความจุ : 43,900 คน
(ปรับปรุงใหม่)
ไฟล์:Dunes Arena closer.jpg ไฟล์:Arenadabaixada.jpg

การจับสลากแบ่งกลุ่มรอบสุดท้าย

การจับสลากแบ่งกลุ่มรอบสุดท้ายของฟุตบอลโลก 2014 จัดขึ้นที่กอสตาดูเซาอีปีรีสอร์ต เมืองมาตาจีเซาโฌเอา รัฐบาเยีย ในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556[19] เวลา 13:00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (UTC –3)[20]

รอบแบ่งกลุ่ม

อาเรนาฟงชีนอวาในเมืองซัลวาดอร์ ขณะที่กำลังก่อสร้างเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ตารางการแข่งขันได้รับการประกาศจากสำนักงานใหญ่ฟีฟ่าที่เมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554[21] ต่อมาในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555 คณะกรรมาธิการจัดการแข่งขันได้ประกาศเวลาที่จะใช้แข่งขันในแต่ละเมือง โดยการแข่งขันนัดเปิดสนามจะจัดขึ้นในวันที่ 12 มิถุนายน ที่เมืองเซาเปาลู เวลา 17.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น และรอบแบ่งกลุ่มจะแข่งขันเวลา 13.00 น., 16.00 น., 17.00 น., 18.00 น., 19.00 น. และ 21.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น และรอบแพ้คัดออก (รอบน็อกเอาต์) จะทำการแข่งขันในเวลา 13.00 น. และ 17.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น รอบรองชนะเลิศจะทำการแข่งขันในเวลา 17.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น และรอบชิงชนะเลิศจะจัดขึ้นในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ที่สนามกีฬามารากานัง เวลา 16:00 น. ตามเวลาท้องถิ่น[22]

เวลาทั้งหมดที่ระบุข้างล่างนี้เป็นเวลาท้องถิ่นบราซีเลีย (UTC –3) เป็นเขตเวลาของเมืองเจ้าภาพ 10 เมืองจากทั้งหมด 12 เมือง ซึ่งช้ากว่าประเทศไทย 10 ชั่วโมง ส่วนเมืองกุยาบาและมาเนาส์นั้นอยู่ในเขตเวลาแอมะซอน (UTC –4) หรือช้ากว่าประเทศไทย 11 ชั่วโมง ดังนั้น ตัวเลขเวลาการแข่งขันที่จัดขึ้นในเมืองทั้งสองจะเร็วกว่าเวลาที่ระบุไว้ข้างล่างนี้หนึ่งชั่วโมง[23]

กลุ่มเอ

ทีมชาติ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย +/- คะแนน
ธงชาติบราซิล บราซิล 0 0 0 0 0 0 0 0
ธงชาติโครเอเชีย โครเอเชีย 0 0 0 0 0 0 0 0
ธงชาติเม็กซิโก เม็กซิโก 0 0 0 0 0 0 0 0
ธงชาติแคเมอรูน แคเมอรูน 0 0 0 0 0 0 0 0
17 มิถุนายน 2557 นัดที่ 17บราซิล ธงชาติบราซิลvธงชาติเม็กซิโก เม็กซิโกฟอร์ตาเลซา
16:00 สนามกีฬา: กัสเตเลา

กลุ่มบี

ทีมชาติ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย +/- คะแนน
ธงชาติสเปน สเปน 0 0 0 0 0 0 0 0
ธงชาติเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ 0 0 0 0 0 0 0 0
ธงชาติชิลี ชิลี 0 0 0 0 0 0 0 0
ธงชาติออสเตรเลีย ออสเตรเลีย 0 0 0 0 0 0 0 0
13 มิถุนายน 2557 นัดที่ 4ชิลี ธงชาติชิลีvธงชาติออสเตรเลีย ออสเตรเลียกุยาบา
19:00 สนามกีฬา: อาเรนาปังตานัล
18 มิถุนายน 2557 นัดที่ 19สเปน ธงชาติสเปนvธงชาติชิลี ชิลีรีโอเดจาเนโร
19:00 สนามกีฬา: มารากานัง

กลุ่มซี

ทีมชาติ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย +/- คะแนน
ธงชาติโคลอมเบีย โคลอมเบีย 0 0 0 0 0 0 0 0
ธงชาติกรีซ กรีซ 0 0 0 0 0 0 0 0
ธงชาติโกตดิวัวร์ โกตดิวัวร์ 0 0 0 0 0 0 0 0
ธงชาติญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 0 0 0 0 0 0 0 0
14 มิถุนายน 2557 นัดที่ 5โคลอมเบีย ธงชาติโคลอมเบียvธงชาติกรีซ กรีซเบโลโอรีซอนตี
13:00 สนามกีฬา: มีเนย์เรา
19 มิถุนายน 2557 นัดที่ 22ญี่ปุ่น ธงชาติญี่ปุ่นvธงชาติกรีซ กรีซนาตาล
19:00 สนามกีฬา: อาเรนาดัสดูนัส
24 มิถุนายน 2557 นัดที่ 38กรีซ ธงชาติกรีซvธงชาติโกตดิวัวร์ โกตดิวัวร์ฟอร์ตาเลซา
17:00 สนามกีฬา: กัสเตเลา

กลุ่มดี

ทีมชาติ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย +/- คะแนน
ธงชาติอุรุกวัย อุรุกวัย 0 0 0 0 0 0 0 0
ธงชาติคอสตาริกา คอสตาริกา 0 0 0 0 0 0 0 0
ธงชาติอังกฤษ อังกฤษ 0 0 0 0 0 0 0 0
ธงชาติอิตาลี อิตาลี 0 0 0 0 0 0 0 0
14 มิถุนายน 2557 นัดที่ 8อังกฤษ ธงชาติอังกฤษvธงชาติอิตาลี อิตาลีมาเนาส์
22:00 สนามกีฬา: อาเรนาอามาโซเนีย
24 มิถุนายน 2557 นัดที่ 39อิตาลี ธงชาติอิตาลีvธงชาติอุรุกวัย อุรุกวัยนาตาล
13:00 สนามกีฬา: อาเรนาดัสดูนัส

กลุ่มอี

ทีมชาติ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย +/- คะแนน
ธงชาติสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ 0 0 0 0 0 0 0 0
ธงชาติเอกวาดอร์ เอกวาดอร์ 0 0 0 0 0 0 0 0
ธงชาติฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 0 0 0 0 0 0 0 0
ธงชาติฮอนดูรัส ฮอนดูรัส 0 0 0 0 0 0 0 0

กลุ่มเอฟ

ทีมชาติ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย +/- คะแนน
ธงชาติอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา 0 0 0 0 0 0 0 0
ธงชาติบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา 0 0 0 0 0 0 0 0
ธงชาติอิหร่าน อิหร่าน 0 0 0 0 0 0 0 0
ธงชาติไนจีเรีย ไนจีเรีย 0 0 0 0 0 0 0 0

กลุ่มจี

ทีมชาติ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย +/- คะแนน
ธงชาติเยอรมนี เยอรมนี 0 0 0 0 0 0 0 0
ธงชาติโปรตุเกส โปรตุเกส 0 0 0 0 0 0 0 0
ธงชาติกานา กานา 0 0 0 0 0 0 0 0
ธงชาติสหรัฐ สหรัฐ 0 0 0 0 0 0 0 0
16 มิถุนายน 2557 นัดที่ 14กานา ธงชาติกานาvธงชาติสหรัฐ สหรัฐนาตาล
19:00 สนามกีฬา: อาเรนาดัสดูนัส
21 มิถุนายน 2557 นัดที่ 29เยอรมนี ธงชาติเยอรมนีvธงชาติกานา กานาฟอร์ตาเลซา
16:00 สนามกีฬา: กัสเตเลา
22 มิถุนายน 2557 นัดที่ 30สหรัฐ ธงชาติสหรัฐvธงชาติโปรตุเกส โปรตุเกสมาเนาส์
16:00 สนามกีฬา: อาเรนาอามาโซเนีย
26 มิถุนายน 2557 นัดที่ 45สหรัฐ ธงชาติสหรัฐvธงชาติเยอรมนี เยอรมนีเรซีฟี
13:00 สนามกีฬา: อาเรนาเปร์นัมบูกู

กลุ่มเอช

ทีมชาติ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย +/- คะแนน
ธงชาติเบลเยียม เบลเยียม 0 0 0 0 0 0 0 0
ธงชาติแอลจีเรีย แอลจีเรีย 0 0 0 0 0 0 0 0
ธงชาติรัสเซีย รัสเซีย 0 0 0 0 0 0 0 0
ธงชาติเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 0 0 0 0 0 0 0 0

การตลาด

สัญลักษณ์

สัญลักษณ์การแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 อย่างเป็นทางการ

สัญลักษณ์ของการแข่งขันมีชื่อว่า อิงส์ปีราเซา (โปรตุเกส: Inspiração) แปลว่า "แรงบันดาลใจ" ออกแบบโดยบริษัทอาฟรีกาจากประเทศบราซิล ดัดแปลงมาจากภาพถ่ายเชิงสัญลักษณ์ของมือผู้ชนะ 3 มือกำลังชูถ้วยรางวัลฟุตบอลโลกอยู่ นอกจากจะถ่ายทอดแนวคิดมนุษยธรรมผ่านรูปมือที่สอดประสานกันแล้ว การลงสีรูปมือด้วยสีเหลืองและสีเขียวก็ยังเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงบราซิล ประเทศเจ้าภาพที่จะต้อนรับทุกประเทศอย่างอบอุ่นอีกด้วย ได้มีการเปิดตัวสัญลักษณ์ไปเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ที่เมืองโจฮันเนสเบิร์ก ประเทศแอฟริกาใต้

ฟีฟ่าและคณะกรรมาธิการจัดฟุตบอลโลก 2014 ได้เชิญชวนบริษัท 25 แห่งในบราซิลให้เข้าร่วมประกวดออกแบบสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการของการแข่งขันครั้งนี้ โดยหน้าที่ในการคัดเลือกผู้ชนะเป็นของคณะกรรมการตัดสินที่ประกอบด้วยบุคคลที่มีชื่อเสียง 7 คนจากสาขาต่าง ๆ ได้แก่ รีการ์ดู เตย์เชย์รา ประธานสมาพันธ์ฟุตบอลบราซิล, เฌโรม วาลก์ เลขาธิการฟีฟ่า, จิเซล บุนเชน นางแบบชาวบราซิล, อูสการ์ นีเอไมเยอร์ นักออกแบบสถาปัตยกรรม, เปาลู กูเอลยู นักเขียน, อีเวชี ซังกาลู นักร้อง และฮันส์ ดอนเนอร์ นักออกแบบ[24]

อาเลชังดรี วอลเนร์ นักออกแบบกราฟิกชาวบราซิล ได้วิจารณ์ว่าสัญลักษณ์นี้ดูคล้ายกับมือที่ปิดหน้าเพราะความอับอาย และยังวิจารณ์ถึงกระบวนการคัดเลือกสัญลักษณ์ด้วย ซึ่งกรรมการคัดเลือกนั้นส่วนใหญ่ไม่ใช่นักออกแบบกราฟิกมืออาชีพ[25]

โปสเตอร์

โปสเตอร์อย่างเป็นทางการได้รับการเปิดตัวในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556 โดยทูตฟุตบอลโลกชาวบราซิล โรนัลโด, เบแบตู, มารีอู ซากาลู, อามาริลดู ตาวาริส ดา ซิลเวย์รา, การ์ลุส อัลเบร์ตู ตอริส รวมไปถึงมาร์ตา นักฟุตบอลหญิงชาวบราซิล โดยงานเปิดตัวจัดขึ้นในเมืองรีโอเดจาเนโร[26][27]

โปสเตอร์นั้นได้รับการออกแบบโดยคาเรน ไฮดิงเกอร์[28] เป็นนักออกแบบจากบริษัทกรามาในบราซิล โดยมีลักษณะเป็นแผนที่ประเทศบราซิลที่วาดขึ้นจากขาของนักฟุตบอลที่กำลังเตะลูกฟุตบอล[29] นอกจากนี้ยังแสดงถึงวัฒนธรรมบราซิลและลักษณะเด่นอื่น ๆ ของชาติบราซิลเช่นพืชและสัตว์ท้องถิ่น สีสันที่สดใสของโปสเตอร์ก็สื่อถึงความงดงามและความหลากหลายของประเทศ เฌอโรม วาลก์ เลขาธิการฟีฟ่า กล่าวว่า โปสเตอร์ชิ้นนี้เป็นตัวอย่างงานศิลปะที่แสดงให้เห็นว่าบราซิลเป็นชาติที่มีความสามารถและมีความคิดสร้างสรรค์[30]

ตุ๊กตาสัญลักษณ์

อาร์มาดิลโลเป็นสัตว์ที่ปกป้องตัวเองด้วยการกลิ้งเหมือนกับลูกบอล ทำให้มันได้ถูกเลือกมาเป็นตุ๊กตาสัญลักษณ์ของการแข่งขันอย่างเป็นทางการโดยฟีฟ่า และมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555[31] โดยมีการเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยรายการข่าว ฟังตัสชีกู (Fantástico)[32] ส่วนชื่อนั้นได้รับการคัดเลือกจากผู้คนและได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน[33] ซึ่งผู้คนถึง 1.7 ล้านคน และมากกว่าร้อยละ 48 เลือกชือ ฟูแลกู ชนะชื่อ ซูแซกู (ร้อยละ 31) และอามีฌูบี (ร้อยละ 21) ทำให้ชื่อนี้ชนะอย่างเอกฉันท์ และตุ๊กตาสัญลักษณ์นี้เป็นที่ชื่นชอบของชาวบราซิล ซึ่งชาวบราซิลมากกว่าร้อยละ 89 ชื่นชอบมัน[34]

"ฟูแลกู" มีความหมายโดยแบ่งแยกเป็นตัวอักษรเป็นภาษาโปรตุเกสคือ "Futebol" ("ฟุตบอล") และ "Ecologia" ("ระบบนิเวศ")[33]

ลูกฟุตบอล

ลูกฟุตบอลอย่างเป็นทางการของการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 คือ อาดิดาส บราซูกา ซึ่งชื่อนั้นได้รับการคัดเลือกมากจากผู้ชมฟุตบอลชาวบราซิลมากกว่า 1 ล้านคน ซึ่ง บราซูกา ได้รับการโหวตมากกว่าร้อยละ 70[35] โดยอาดิดาส ออกแบบลูกฟุตบอลสำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลก ตั้งแต่การแข่งขันฟุตบอลโลก 1970 เห็นถึงแรงบันดาลใจของวัฒนธรรมชาวบราซิลพลัดถิ่น ซึ่งชื่อนี้ชนะชื่อ บอสซาโนวา และ คาร์นาวาเลสกา[35]

กาชีโรลา

กาชีโรลา (โปรตุเกส: caxirola) ได้รับการยืนยันเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555 โดยกระทรวงกีฬาของประเทศบราซิลให้เป็นเครื่องดนตรีอย่างเป้นทางการของการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 คล้ายกับวูวูเซลา ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ที่ประเทศแอฟริกาใต้ โดยกาชีโรลา ไม่ได้มีเสียงดังเหมือนกับวูวูเซลา และพวกมันได้รับการออกแบบมาพิเศษเพื่อให้ไม่ส่งเสียงรบกวนในสนามระหว่างการแข่งขัน[36] อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยภายในสนาม กาชีโรลาจะถูกห้ามไม่ให้นำเข้าไปในสนามแข่งขัน[37]

โครงสร้างพื้นฐาน

สนามแข่งขัน

สมาพันธ์ฟุตบอลบราซิล ได้ประมาณค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างและปรับปรุงสนามแข่งขัน[38] เป็นจำนวนเงินประมาณ 9.9 พันล้านเรอัลบราซิล (1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ, 550 ล้านปอนด์)[39] นอกจากนั้นยังมีการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ต้องรองรับคนนับล้านที่จะเข้าร่วมชมการแข่งขันนี้[40]

เมื่อได้รับคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพการแข่งขัน รีการ์ดู เตย์เชย์รา ประธานสมาพันธ์ฟุตบอลบราซิลได้กล่าวว่า "เราเป็นประเทศที่มีอารยะ ประเทศที่จะเป็นเจ้าภาพที่ดีเยี่ยมในการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกที่ดีที่สุด" ที่สำนักงานใหญ่ของฟีฟ่าในเมืองซูริก[41]

อ้างอิง

  1. "Pot allocations for the Preliminary Draw". FIFA. 27 July 2011. สืบค้นเมื่อ 28 July 2011.
  2. FIFA launch GLT tender for Brazil 2013/14 FIFA.com. Retrieved 19 February 2013
  3. "FIFA 2014 World Cup Tickets on Sale in August 2013". Fifa2014wiki.com. 2 June 2013. สืบค้นเมื่อ 20 June 2013.
  4. "Argentina, Brazil and Colombia want 2014 World Cup". People's Daily. 19 January 2003. สืบค้นเมื่อ 9 October 2011.
  5. Blatter reiterates wish that the 2014 World Cup be in Brazil [ลิงก์เสีย]
  6. "Brazil confirms bid – Colombia withdraws". Fifa.com. สืบค้นเมื่อ 9 October 2011.
  7. "Brazil confirmed as 2014 hosts". FIFA. 30 October 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 October 2007. สืบค้นเมื่อ 30 October 2007.
  8. "Rio draw pits Spain against France". FIFA.com. 30 July 2011. สืบค้นเมื่อ 28 March 2013.
  9. "Draw for World Cup qualifiers at Marina da Glória in Rio" (ภาษาPortuguese). globoesporte.com. 8 December 2010. สืบค้นเมื่อ 21 January 2011.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  10. "FIFA's Inspection Report" (PDF). สืบค้นเมื่อ 9 October 2011.
  11. "FIFA wants to decide which cities will house World Cup 2014", Sportsya [ลิงก์เสีย]
  12. "Mondiali 2014 in dodici città" (ภาษาItalian). Tuttomercatoweb.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  13. "Sao Paulo dropped for 2014". SBS. 17 June 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 June 2010. สืบค้นเมื่อ 17 June 2010. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  14. "Estadio do Maracana - Rio De Janeiro". fifa.com. สืบค้นเมื่อ 2 June 2013.
  15. Estadio Nacional Mane Garrincha - Brasilia - FIFA 2014 Venue
  16. Estadio Castelao - Fortaleza
  17. "Site oficial do Sport Club Internacional - Projeto Gigante Para Sempre". Internacional.com.br. สืบค้นเมื่อ 25 May 2013.
  18. Arena Fonte Nova - Salvador Stadium
  19. "Key issues addressed at Brasilia meeting". fifa.com. 28 June 2012.
  20. "Organising Committee for the FIFA World Cup extends its responsibilities to cover 2018 and 2022". fifa.com. 19 March 2013.
  21. "นัดที่ schedule for 2014 FIFA World Cup™ unveiled". fifa.com. 20 October 2011.
  22. "FIFA Executive Committee approves kick-off times for Brazil 2014". fifa.com. 27 September 2012.
  23. "นัดที่ schedule for 2014 FIFA World Cup™" (PDF). fifa.com. 27 September 2012.
  24. Shanahan, Mark; Goldstein, Meredith (10 July 2010). "Gisele picks logo, shops with Tom – The Boston Globe". Boston Globe. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2010. สืบค้นเมื่อ 11 July 2010. {{cite news}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  25. "Designer critica logo da Copa 2014: "É uma porcaria" – Terra – Esportes". Terramagazine.terra.com.br. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2010. สืบค้นเมื่อ 11 July 2010. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  26. "EMBAIXADORES DA COPA DO MUNDO DA FIFA 2014 APRESENTAM CARTAZ OFICIAL" (ภาษาPortuguese). สืบค้นเมื่อ 30 January 2013. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  27. "2014 Ambassadors unveil Official Poster". FIFA.com. 30 January 2013. สืบค้นเมื่อ 28 March 2013.
  28. "PÔSTER OFICIAL DA COPA" (ภาษาPortuguese). สืบค้นเมื่อ 30 January 2013. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)[แหล่งอ้างอิงอาจไม่น่าเชื่อถือ]
  29. "Brazil's World Cup poster is the nuts". FIFA. 30 de janeiro de 2013. สืบค้นเมื่อ 13 de fevereiro de 2013. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  30. "FIFA releases official poster of World Cup 2014 in Brazil" (ภาษาEnglish). สืบค้นเมื่อ 31 January 2013. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  31. "Fifa registra desenho e confirma tatu-bola como mascote da Copa" (ภาษาPortuguese). Globoesporte.com. 11 September 2012. สืบค้นเมื่อ 11 September 2012.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  32. "2014 Mascot is big in Brazil".
  33. 33.0 33.1 "Fuleco é escolhido como nome do mascote da Copa de 2014". UOL Esporte (ภาษาPortuguese). São Paulo. 26 November 2012. สืบค้นเมื่อ 26 November 2012.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  34. "Fuleco wins name game". Fifa.com. 26 November 2012. สืบค้นเมื่อ 1 December 2012.
  35. 35.0 35.1 "adidas Brazuca – Name of Official Match Ball decided by Brazilian fans". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. 2 September 2012. สืบค้นเมื่อ 3 September 2012.
  36. "Caxirolas: The Vuvuzelas of 2014 FIFA World Cup in Brazil". Fifa2014wiki.com. สืบค้นเมื่อ 20 June 2013.
  37. "Folha de S.Paulo - Internacional - En - Sports - Caxirola is Banned in Brazil's Games and FIFA Events - 28/05/2013". .folha.uol.com.br. 2013-05-28. สืบค้นเมื่อ 2013-10-21.
  38. All Stadiums for Brazil 2014 World Cup [ลิงก์เสีย]
  39. "Brazil Named as World Cup 2014 Host". Brazil.homesgofast.com. สืบค้นเมื่อ 9 October 2011.
  40. "Stadium construction work in Brazil viewed by Pléiades".
  41. "Fifa Protected Area". Protectedplanet.net. สืบค้นเมื่อ 20 June 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น