ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าอุปราช (บุญทวงษ์)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แอนเดอร์สัน ย้ายหน้า เจ้าอุปราช (บุญทวงศ์) ไปยัง เจ้าอุปราช (บุญทวงษ์): ตามอ้างอิง
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 53: บรรทัด 53:
ในตำแหน่งเจ้าอุปราชนั้น เจ้าบุญทวงษ์ ได้ปกิบัติหน้าที่เสมือนเป็นเจ้าหลวงองค์ที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่แม่ทัพในยามสงคราม เป็นผู้อำนวยการรักษาความสงบในอาณาจักรยามสงบ และเป็นหัวหน้าคณะลูกขุนตุลาการพิจารณาโทษ<ref>วงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่. 2539. '''เจ้าหลวงเชียงใหม่ : คณะทายาทสายสกุล ณ เชียงใหม่</ref>
ในตำแหน่งเจ้าอุปราชนั้น เจ้าบุญทวงษ์ ได้ปกิบัติหน้าที่เสมือนเป็นเจ้าหลวงองค์ที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่แม่ทัพในยามสงคราม เป็นผู้อำนวยการรักษาความสงบในอาณาจักรยามสงบ และเป็นหัวหน้าคณะลูกขุนตุลาการพิจารณาโทษ<ref>วงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่. 2539. '''เจ้าหลวงเชียงใหม่ : คณะทายาทสายสกุล ณ เชียงใหม่</ref>


เจ้าอุปราชบุญทวงษ์ ถึงแก่กรรในปี [[พ.ศ. 2425]]
เจ้าอุปราชบุญทวงษ์ ถึงแก่กรรมในปี [[พ.ศ. 2425]]


== ราชตระกูล ==
== ราชตระกูล ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:23, 19 พฤษภาคม 2557

เจ้าอุปราช (บุญทวงษ์)

บุญทวงษ์
เจ้าอุปราชแห่งนครเชียงใหม่
ราชวงศ์ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์
พระบิดาเจ้าราชวงศ์มหาพรหมคำคง
พระมารดาแม่เจ้าคำหล้า

เจ้าอุปราช (บุญทวงษ์)[1] หรือ เจ้าอุปราช (บุญทวงษ์ ณ เชียงใหม่)[2] (ไทยถิ่นเหนือ: ) เจ้าอุปราชแห่งนครเชียงใหม่ ในรัชสมัยของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 และเป็นเจ้าอุปราชที่มีบทบาทในการปกครองมาก เปรียบเทียบได้กับเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เพราะสามารถยกเลิกคำสั่งของเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้[3] จนมีการกล่าวว่าหากเจ้าอุปราชบุญทวงษ์ ยังมีพระชนม์อยู่ การแทรกแซงจากสยามจะกระทำได้ยากยิ่ง[4]

พระประวัติ

เจ้าบุญทวงษ์ เป็นโอรสในเจ้าราชวงศ์มหาพรหมคำคง กับแม่เจ้าคำหล้า และมีศักดิ์เป็นหลานของเจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 3 ทรงมีราชอนุชาและราชขนิษฐา ร่วมราชบิดา 16 พระองค์ มีพระนามตามลำดับ ดังนี้

  • พระเจ้าอินทวิชยานนท์ พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7
  • เจ้าอุปราชบุญทวงษ์ เจ้าอุปราชนครเชียงใหม่ -
  • เจ้าราชภาติกวงศ์ น้อยเทพวัง เจ้าราชภาติกวงศ์นครเชียงใหม่
  • เจ้าน้อยไชยลังกา
  • เจ้าหญิงฟองนวล
  • เจ้าหญิงดวงเทพ
  • เจ้าหญิงบุญฝ้าย
  • เจ้าหญิงคำทิพย์
  • เจ้าน้อยไชยวงศ์
  • เจ้าดวงทิพย์ - เจ้าปู่ใน "เจ้าทิพย์สมาตย์ ณ เชียงใหม่" "คุณหญิง เจ้าฉมชบา (ณ เชียงใหม่) วรรณรัตน์" "เจ้าวัฒนา (ณ เชียงใหม่) โชตนา"
  • เจ้าบุญสม
  • เจ้าหญิงบัวใส
  • เจ้าหญิงบัวเที่ยง
  • เจ้าหญิงกาบเมือง
  • เจ้าน้อยอ๋อ
  • เจ้าหญิงแว่นคำ

โอรส

เจ้าบุญทวงษ์ สมรสกับเจ้าฟองแก้ว มีโอรส 4 พระองค์ คือ

  • เจ้าสิงห์โต
  • เจ้าโสรส
  • เจ้าราชบุตร (คำตื้อ)
  • เจ้าแสงเมือง

กรณียกิจ

เจ้าบุญทวงษ์ มีบทบาทในการช่วยพระเชษฐาปฏิบัติพระภารกิจเมื่อครั้งยังมิได้ดำรงตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ กระทั่งในปี พ.ศ. 2416 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ต่อมาเจ้าหลวงได้มอบหมาให้เจ้าบุญทวงษ์ นำเครื่องบรรณาการไปถวายที่สยาม จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น "เจ้าอุปราช" ในปี พ.ศ. 2416 ภายหลังจากที่พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นเจ้าหลวงแล้ว 6 เดือน[5]

ในตำแหน่งเจ้าอุปราชนั้น เจ้าบุญทวงษ์ ได้ปกิบัติหน้าที่เสมือนเป็นเจ้าหลวงองค์ที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่แม่ทัพในยามสงคราม เป็นผู้อำนวยการรักษาความสงบในอาณาจักรยามสงบ และเป็นหัวหน้าคณะลูกขุนตุลาการพิจารณาโทษ[6]

เจ้าอุปราชบุญทวงษ์ ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2425

ราชตระกูล

อ้างอิง

  1. สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 350-351
  2. สกุล ณ เชียงใหม่ ได้รับพระราชทานในรัชสมัยของเจ้าแก้วนวรัฐ แต่เพื่อความเข้าใจและชัดเจน จึงมีการเติมต่อท้ายนามในภายหลัง
  3. คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์, นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ. [1]
  4. เจ้าอุปราชบุญทวงษ์
  5. พระเจ้าอินทวิชยานนท์
  6. วงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่. 2539. เจ้าหลวงเชียงใหม่ : คณะทายาทสายสกุล ณ เชียงใหม่

แหล่งข้อมูลอื่น

  • ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. เพ็ชร์ล้านนา. (ครั้งที่ 2) เชียงใหม่ :ผู้จัดการ ศูนย์ภาคเหนือ, 2538.
  • สมหมาย เปรมจิตต์, สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตำนานสิบห้าราชวงศ์ (ฉบับสอบชำระ) . เชียงใหม่: มิ่งเมือง, 2540.
  • ศักดิ์ รัตนชัย. พงศาวดารสุวรรณหอคำนครลำปาง (ตำนานเจ้าเจ็ดพระองค์กับหอคำมงคล ฉบับสอบทานกับเอกสารสืบค้น สรสว.ลำปาง) .
  • เจ้าวงศ์สัก ณ เชียงใหม่, คณะทายาทสายสกุล ณ เชียงใหม่. เจ้าหลวงเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2539.
  • คณะทายาทสายสกุล เจ้าหลวงเมืองพะเยา, สถาบันศิลปวัฒนธรรมโยนก. ครบรอบ 100 ปี แม่เจ้าทรายมูล (มหาวงศ์) ไชยเมือง และประวัติสายสกุลเจ้าหลวงเมืองพะเยา พุทธศักราช 2387 - 2456. พะเยา :บ.ฮาซัน พริ้นติ้ง จก., 2546
  • นงเยาว์ กาญจนจารี. ดารารัศมี : พระประวัติพระราชชายา เจ้าดารารัศมี. เชียงใหม่ :สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์, 2539.