ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตั๋งโต๊ะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ทรงมีพระ'→'มีพระ'
Games (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 36: บรรทัด 36:


== ครอบครัว ==
== ครอบครัว ==
* '''มารดา'''
* '''มารดา''' ตั๋งฮูหยิน ([[พ.ศ. 645]] - [[พ.ศ. 735]])
* '''ภรรยา''' ตั๋งโต๊ะมีภรรยาหลายคน แต่เท่าที่ปรากฏนามได้แก่นาง[[เตียวเสี้ยน]]
* '''ภรรยา''' ตั๋งโต๊ะมีภรรยาหลายคน แต่เท่าที่ปรากฏนามได้แก่นาง[[เตียวเสี้ยน]]
* '''บุตรบุญธรรม''' [[ลิโป้]]
* '''บุตรบุญธรรม''' [[ลิโป้]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:02, 3 พฤษภาคม 2557

ตั้งโต๊ะ
ภาพวาดตั๋งโต๊ะ สมัยราชวงศ์ชิง
เจ้าเมืองแห่งเตียงฮัน
เกิดพ.ศ. 682
ถึงแก่กรรมพ.ศ. 735
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม董卓
อักษรจีนตัวย่อ董卓
ชื่อรองจ้งหยิ่ง (仲穎)

ตั้งโต๊ะ หรือต่งจัว (จีน: 董卓; พินอิน: Dǒng Zhuō) เป็นตัวละครอีกตัวหนึ่งซึ่งคาดว่ามีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์จีน ตามบันทึกที่มีนั้น ทำให้ทราบว่า ตั๋งโต๊ะ เป็นผู้มีอำนาจอีกคนหนึ่งซึ่งนำความหายนะมาสู่จีน

ประวัติ

ตั๋งโต๊ะ มีชื่อรองว่า จ้งอิ่ง เกิดเมื่อ ค.ศ. 139 เป็นชาวเมืองหลงเสที่อยู่ทางตอนเหนือของจีนซึ่งเป็นถิ่นของนักรบบนหลังม้าที่เหี้ยมหาญ เกิดเมืองเมืองหลินเถา(臨洮) มีบิดาเป็นนายอำเภอเมืองนั้น ในวัยฉกรรจ์เขาเป็นคนที่มีรูปร่างอ้วนใหญ่โต กำลังแขนและบ่าเหนือคนทั่วไป มีความชำนาญในการขี่ม้ายิงธนูและรำทวน จากนั้นได้รับราชการ เนื่องจากชำนาญการรบและคุ้นต่อชัยภูมิแถวชายแดน จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองเมืองเสเหลียง(หรือเมืองหลงซี (隴西))มีหน้าที่คอยป้องกันการรุกรานศัตรูจากตอนเหนือบนกำแพงจีน เมื่อเกิดเหตุการณ์โจรโพกผ้าเหลืองออกอาละวาด ตั๋งโต๊ะได้ติดสินบนกับขันทีให้ตนเองได้เข้าร่วมปราบ โดยสลับกับโลติด(ซึ่งเป็นอาจารย์ของเล่าปี่) แต่ตั๋งโต๊ะกลับรบพ่ายแพ้และถูกเกาทัณฑ์เข้าที่ไหล่ โชคดีที่กองทหารอาสาของเล่าปี่มาช่วยได้ทัน ตั๋งโต๊ะก็ได้ถามยศของเล่าปี่แต่พอทราบว่า เล่าปี่เป็นสามัญชนจึงทำท่ายโสโอหัง ทำให้เตียวหุยโกรธจึงจะพุ่งเข้าไปฆ่าตั๊งโต๊ะแต่เล่าปี่กลับห้ามไว้ หลังการปรามโจรโพกผ้าเหลืองสิ้นสุดลง ตั๋งโต๊ะได้โดนลงทัณฑ์ที่พ่ายแพ้กลับมา แต่ก็ได้ติดสินบนกับขันทีอีกครั้งทำให้รอดตัวและได้รับความดีความชอบด้วยการแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจการราชการมณฑลเสเหลียง แต่ตั๋งโต๊ะเริ่มมีบทบาทและเป็นที่รู้จักของชาวจีนในรัชสมัยของฮ่องเต้หองจูเปียน (弘農王) เพราะหลังจากจักรพรรดิเลนเต้ (漢靈帝) เสด็จสวรรคตลงในค.ศ. 189 เจ้าชายหองจูเปียนซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 13 พรรษาได้ขึ้นครองราชย์แทน นายพลโฮจิ๋น (何進) ได้ส่งสารไปยังหัวเมืองต่างๆให้มาช่วยตนปราบเหล่าขันทีในวัง เพราะเหล่าขันทีนั้นพยายามจะล้มหองจูเปียน และตั้งหองจูเหียบ พระอนุชาต่างมารดาของฮ่องเต้หองจูเปียนขึ้นเป็นกษัตริย์ จึงต้องการล้มล้างขันทีเสียก่อน เพื่อเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม

เมื่อตั๋งโต๊ะมาถึงราชธานีลกเอี๋ยง (洛陽) ก็พบว่าความวุ่นวายนั้นถูกสะสางไปแล้ว และองค์หองจูเปียนและหองจูเหียบปลอดภัย ก็ฉวยโอกาสทำเหมือนเป็นฝีมือของตนที่ทำให้องค์ฮ่องเต้ปลอดภัย ไทเฮาจึงให้เข้ามาทำงานในเมืองหลวง ในปีนั้น ตั๋งโต๊ะตัดสินใจทำการใหญ่เพื่อเสริมบารมีให้ตนเอง โดยการชักชวนลิโป้ (呂布) นักรบผู้เก่งกาจมาร่วมงาน และทำการเปลี่ยนตัวฮ่องเต้ โดยใช้วิธีขอความเห็นของเหล่าขุนนางในสภาโดยใช้คำพูดอ่อนหวาน แต่กริยาแกมขู่บังคับ และนำลิโป้มายืนหน้าเขม็งอยู่ใกล้ๆ เพื่อเป็นการขู่ทางอ้อม สภาจึงต้องจำยอม ในปี ค.ศ. 189ตั๋งโต๊ะจึงอัญเชิญ (ปลด) ฮ่องเต้หองจูเปียนและไทเฮาโฮ มารดาของเปียนลงจากบัลลังก์ และแต่งตั้งหองจูเหียบ ขึ้นเป็น "พระเจ้าเหี้ยนเต้ (漢獻帝)" ขณะมีพระชนมายุเพียง 8 พรรษาพร้อมแต่งตั้งตนเป็นผู้สำเร็จราชการแทน ส่วนฮ่องเต้หองจูเปียนและไทเฮาโฮ พระมารดานั้น ตั๋งโต๊ะได้สั่งให้คุมขังในตำหนักร้าง (และได้ส่งคนไปสังหารทั้งคู่ใน ค.ศ. 190)

และใน ค.ศ. 189 ตั๋งโต๊ะต้องพบศึกหนักกับทัพของสิบแปดหัวเมืองที่นำทัพโดยโจโฉ และ อ้วนเสี้ยว ทางด้านลิยู ที่ปรึกษาของตั๋งโต๊ะ บอกว่า ถ้าตอนนี้เรามีเตียงฮัน (長安) เป็นราชธานี เราจะสามารถตั้งรับศึกได้ดีกว่านี้ ตั๋งโต๊ะจึงได้อัญเชิญพระเจ้าเหี้ยนเต้ไปยังเตียงฮันและสั่งให้ทหารของตนไปปล้นฆ่าราษฏร์ในเมืองและริบทรัพย์สินมาทั้งหมด และเผาลกเอี๋ยงให้ราบ พร้องสร้างเตียงฮันเป็นราชธานีใหม่โดยนำเงินที่ปล้นมาเป็นทุน จากนั้นไม่นานกองทัพของสิบแปดหัวเมืองก็ได้แตกแยกกัน ทำให้ตั๋งโต๊ะดีใจจนกำเริบเสิบสานว่าจะไม่มีผู้ใดมาโค่นตนได้และได้สร้างความวิบัติให้จีนต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งวันหนึ่ง ตั๋งโต๊ะได้มีเรื่องบาดหมางกับลิโป้ ต่อมาก็คืนดีกัน แต่ไม่นานก็บาดหมางกันในเรื่องเดิมถึงขนาดอาฆาตเคียดแค้นกัน ว่ากันว่าสาเหตุมาจากหญิงงามที่ชื่อว่า เตียวเสี้ยน (貂蟬) บุตรสาวบุญธรรมของอ้องอุ้นขุนนางอาวุโสของราชวงศ์ฮั่น

ด้วยเวรกรรมที่ทำไว้ ตั๋งโต๊ะจึงหลงกลวังหลวงจนถูกลิโป้ฆ่าตายในวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 192 หลังจากตายไปแล้ว ศพของตั๋งโต๊ะถูกตั้งทิ้งไว้กลางทางแยกให้แร้งกามาจิกกิน ผู้คนต่างพากันสาปแช่ง เตะต่อยและถ่มน้ำลายใส่ ต่อมาเมื่อสถานการณ์เปลี่ยน ลิฉุยและกุยกี ลูกน้องคนสนิทของตั๋งโต๊ะสามารถยึดอำนาจคืนได้ ได้นำศพของตั๋งโต๊ะไปประกอบพิธีกรรมอย่างถูกต้องทางศาสนา ทว่าเมื่อจะบรรจุกระดูกเข้าหลุม ฟ้าได้ผ่าลงมาทำให้เถ้ากระดูกกระจัดกระจายไปไม่สามารถตามหาครบได้ ในประวัติศาสตร์จีนจึงบันทึกไว้ว่า ฟ้าดินไม่ต้องการให้มีกระดูกของตั๋งโต๊ะฝังอยู่ให้เป็นมลทินเปรอะเปื้อน นับว่าเป็นบุคคลที่ถูกสาปแช่งทั้งยังมีชีวิตและไร้ชีวิตไปแล้วอย่างแท้จริง ซึ่งยาขอบ นักประพันธ์ชาวไทยได้ให้ฉายาตั๋งโต๊ะว่าเป็น "ผู้ถูกสาปแช่งทั้ง 10 ทิศ"

ทางด้านครอบครัว ไม่มีบันทึกกล่าวไว้ชัดเจน แต่ตามวรรณคดีสามก๊ก คาดว่าตั๋งโต๊ะ ได้แต่งงานกับเตียวเสี้ยน (貂蟬) สาวงามผู้มีอายุน้อยกว่าตนถึง 30 ปี แต่ก็ไม่มีข้อพิสูจน์ใดๆ ที่ยืนยันได้ นี่เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้น ยังมีข้อสันนิษฐานอื่นที่เกี่ยวกับนางเตียวเสี้ยน เช่น เตียวเสี้ยนเป็นหญิงรับใช้ของตั๋งโต๊ะ แต่เป็นภรรยาของลิโป้ และอีกหลากหลายข้อสันนิษฐาน

ครอบครัว

  • มารดา ตั๋งฮูหยิน (พ.ศ. 645 - พ.ศ. 735)
  • ภรรยา ตั๋งโต๊ะมีภรรยาหลายคน แต่เท่าที่ปรากฏนามได้แก่นางเตียวเสี้ยน
  • บุตรบุญธรรม ลิโป้
  • บุตร ในสามก๊กไม่ได้บันทึกว่าตั๋งโต๊ะมีบุตรชายหรือไม่ แต่ทราบว่ามีบุตรสาว 3 คนขึ้นไป
  • ลูกเขย
    • ลิยู นอกจากจะเป็นลูกเขยแล้วยังเป็นกุนซือด้วย
    • เยียวหู หรือ งิวฮู

ความสัมพันธ์

ลิโป้

ในสมัยที่ลิโป้ยังเป็นองครักษ์ของเต๊งหงวน ตั๋งโต๊ะก็ชื่นชมในฝีมือรบของลิโป้ อยากจะได้มาเป็นขุนพลของตน ถึงขนาดยอมสละม้าเซ็กเธาว์และทรัพย์สมบัติอีกจำนวนหนึ่งเพื่อซื้อใจลิโป้ ลิโป้จึงได้ทรยศต่อเต๊งหงวนและสมัครเข้าป็นพรรคพวกของตั๋งโต๊ะ ตั๋งโต๊ะจึงตั้งให้เป็นองครักษ์ประจำตัวและรับลิโป้เป็นบุตรบุญธรรม ลิโป้อยู่ข้างกายตั๋งโต๊ะแทบจะตลอดเวลาเพื่อคุ้มครองป้องกันให้ตั๋งโต๊ะ เมื่อมีคนคิดปองร้ายตั๋งโต๊ะ ลิโป้ก็จะจับตัวคนที่คิดร้ายไปประหาร แต่ต่อมา ลิโป้กลับผิดใจกับตั๋งโต๊ะเพราะนางเตียวเสี้ยน ทำให้ลิโป้ลืมบุญคุณที่ตั๋งโต๊ะเคยมีให้ตน และสังหารตั๋งโต๊ะในเวลาต่อมา

ลิยู

ลิยูเป็นบุตรเขยของตั๋งโต๊ะ และเป็นที่ปรึกษาคนสนิทของตั๋งโต๊ะตั้งแต่ยังเป็นเจ้าเมืองซีหลง เป็นผู้แนะนำให้ตั๋งโต๊ะปลดพระเจ้าฮั่นเซ่าตี้ออก แล้วตั้งพระเจ้าฮั่นเหี้ยนเต้ขึ้นเป็นฮ่องเต้ ลิยูติดตามรับใช้ให้คำปรึกษาด้วยความซื่อสัตย์ ตั๋งโต๊ะก็ยอมรับข้อคิดเห็นของลิยูด้วยความที่เป็นที่ปรึกษาคนสนิท แต่ต่อมาตั๋งโต๊ะผิดใจกับลิโป้ด้วยเรื่องของนางเตียวเสี้ยน ลิยูแนะนำให้ตัดปัญหาด้วยการยกนางเตียวเสี้ยนให้กับลิโป้ ตั๋งโต๊ะโกรธมากที่ลิยูแนะนำมาดังนี้ แล้วเตือนว่าถ้าพูดเรื่องนี้อีกจะประหาร

รายชื่อบุคคลที่ถูกสังหารโดยตั๋งโต๊ะ

  • เงาฮู ตั้งใจจะลอบสังหารตั๋งโต๊ะ แต่พลาดไป ตั๋งโตะจึงสั่งให้นำตัวไปประหาร
  • เจียวปี คัดค้านตั๋งโต๊ะไม่ให้ย้ายเมืองหลวงจากลกเอี๋ยงไปเตียงฮัน ตั๋งโต๊ะไม่พอใจจึงสั่งประหาร
  • เหงาเค่ง คัดค้านตั๋งโต๊ะไม่ให้ย้ายเมืองหลวง ตั๋งโต๊ะไม่พอใจจึงสั่งประหารพร้อมกับเจียวปี
  • เตียวอุ๋น ตั๋งโต๊ะประหารเตียวอุ๋นเพื่อสร้างภาพให้ขุนนางทั้งหลายเกรงกลัวตน
ก่อนหน้า ตั๋งโต๊ะ ถัดไป
- อัครมหาเสนาบดีแห่งประเทศจีน
(พ.ศ. 732พ.ศ. 735)
โจโฉ

แม่แบบ:Link GA