ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แผ่นดินไหวในชูเอ็ตสึ จังหวัดนีงาตะ พ.ศ. 2547"

พิกัด: 37°18′N 138°48′E / 37.3°N 138.8°E / 37.3; 138.8
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
Vop (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 13: บรรทัด 13:
== รายละเอียดของแผ่นดินไหว ==
== รายละเอียดของแผ่นดินไหว ==


การไหวครั้งแรกสร้างแรงสั่นสะเทือนในพื้นที่[[จูเอ็ทสึ]]ในจังหวัดนีงะตะ อ่านค่าความสั่นสะเทือนในมาตรา[[ชินโดะ]]ที่เมือง[[คะวะงุจิ]] จังหวัดนีงะตะ ได้ที่ระดับชินโดะ 7 และอ่านค่าใน[[มาตราริกเตอร์]]ได้ที่ขนาดประมาณ 6.9 (เพื่อการเปรียบเทียบ [[แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิง]]ที่ทำลายพื้นที่หลายส่วนใน[[โคะเบะ]] วัดค่าชินโดะได้ระดับ 7 และขนาด 7.2 ริกเตอร์) แผ่นดินไหวเกิดขึ้นที่ความลึก 15.8 กิโลเมตร JMA ได้ให้พิกัดของแผ่นดินไหวที่ {{coord|37.3|N|138.8|E|display=inline,title}}
การไหวครั้งแรกสร้างแรงสั่นสะเทือนในพื้นที่[[จูเอ็ทสึ]]ในจังหวัดนีงะตะ อ่านค่าความรุนแรงของแผ่นดินไหวในมาตรา[[ชินโดะ]]ที่เมือง[[คะวะงุจิ]] จังหวัดนีงะตะ ได้ที่ระดับ 7 และอ่านขนาดของแผ่นดินไหวได้ที่แมกนิจูด 6.9 (เพื่อการเปรียบเทียบ [[แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิง]]ที่ทำลายพื้นที่หลายส่วนใน[[โคะเบะ]] วัดค่าความรุนแรงตามาตราชินโดะได้ระดับ 7 และวัดขนาดได้ที่แมกนิจูด 7.2 ) แผ่นดินไหวเกิดขึ้นที่ความลึก 15.8 กิโลเมตร JMA ได้ให้พิกัดของแผ่นดินไหวที่ {{coord|37.3|N|138.8|E|display=inline,title}}


การไหวครั้งที่สองเกิดขึ้นเมื่อเวลา 18:12 (16 นาทีหลังจากครั้งแรก) ครั้งนี้เกิดขึ้นที่ความลึกน้อยกว่าครั้งแรกมาก วัดได้ชินโดะ 6+ และขนาด 5.9 ริกเตอร์ ครั้งที่สามเกิดขึ้นเมื่อเวลา 18:34 ระดับชินโดะ 6- เวลา 19:46 เกิดแผ่นดินไหวระดับชินโดะ 6- ขึ้นอีกครั้ง และยังมีแผ่นดินไหวย่อยที่รุนแรงน้อยกว่าเกิดขึ้นเป็นระยะในภูมิภาค ใน 66 ชั่วโมงแรก มีแผ่นดินไหวระดับชินโดะ 5- หรือสูงกว่าเกิดขึ้น 15 ครั้งในภูมิภาคจูเอ็ทสึ
การไหวครั้งที่สองเกิดขึ้นเมื่อเวลา 18:12 (16 นาทีหลังจากครั้งแรก) ครั้งนี้เกิดขึ้นที่ความลึกน้อยกว่าครั้งแรกมาก วัดความรุนแรงได้ชินโดะ 6+ และวัดขนาดได้ที่แมกนิจูก 5.9 ครั้งที่สามเกิดขึ้นเมื่อเวลา 18:34 ระดับความรุนแรงวัดได้ที่ชินโดะ 6- เวลา 19:46 เกิดแผ่นดินไหวระดับความรุนแรงชินโดะ 6- ขึ้นอีกครั้ง และยังมีแผ่นดินไหวย่อยที่รุนแรงน้อยกว่าเกิดขึ้นเป็นระยะในภูมิภาค ใน 66 ชั่วโมงแรก มีแผ่นดินไหวระดับความรุนแรงชินโดะ 5- หรือสูงกว่าเกิดขึ้น 15 ครั้งในภูมิภาคจูเอ็ทสึ


ตามรายงานของสื่อ Geographical Survey Institute (GSI) ในสังกัดรัฐบาลญี่ปุ่น ได้ประเมินขึ้นต้นว่า รอยเลื่อนที่ยาว 22 กิโลเมตร และกว้าง 17 กิโลเมตร ได้เคลื่อนที่ไป 1.4 เมตร
ตามรายงานของสื่อ Geographical Survey Institute (GSI) ในสังกัดรัฐบาลญี่ปุ่น ได้ประเมินขึ้นต้นว่า รอยเลื่อนที่ยาว 22 กิโลเมตร และกว้าง 17 กิโลเมตร ได้เคลื่อนที่ไป 1.4 เมตร

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:54, 23 มีนาคม 2557

แผ่นดินไหวในจูเอ็ทสึ พ.ศ. 2547
ไฟล์:Chuetsu earhquake, 2004.jpg
เวลาสากลเชิงพิกัด??
รหัสเหตุการณ์ ISC
USGS-ANSS
วันที่*23 ตุลาคม พ.ศ. 2547
[[Category:EQ articles using 'date' or 'time'
(deprecated)]]
วันที่ท้องถิ่น
เวลาท้องถิ่น
ขนาด6.9
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ผู้ประสบภัยเสียชีวิต 40 ราย
เลิกใช้แล้ว ดูเอกสาร

แผ่นดินไหวในจูเอ็ทสึ พ.ศ. 2547 ([Chūetsu Earthquakes] ข้อผิดพลาด: {{Lang-xx}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)โรมาจิ中越地震ทับศัพท์: Chūetsu jishin) เกิดขึ้นเมื่อเวลา 17:56 (ตามเวลาท้องถิ่น) เมื่อวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2547 Japan Meteorological Agency (JMA) ได้ตั้งชื่อว่า Heisei 16 Niigata Prefecture Chuetsu Earthquake (平成16年新潟県中越地震) (โระมะจิ: เฮเซจุโระคุเน็นนีงะตะเค็งจูเอ็ทสึจิชิง) หรือ The Mid Niigata Prefecture Earthquake of 2004 จังหวัดนีงะตะตั้งอยู่ในภูมิภาคโฮะคุริกุบนเกาะฮนชู ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น แผ่นดินไหวครั้งนี้สามารถรับรู้แรงสะเทือนได้จากพื้นที่เกือบครึ่งหนึ่งของเกาะฮนชู ได้แก่บางส่วนของภูมิภาคโทะโฮะกุ โฮะคุริกุ จูบุ และคันโต

รายละเอียดของแผ่นดินไหว

การไหวครั้งแรกสร้างแรงสั่นสะเทือนในพื้นที่จูเอ็ทสึในจังหวัดนีงะตะ อ่านค่าความรุนแรงของแผ่นดินไหวในมาตราชินโดะที่เมืองคะวะงุจิ จังหวัดนีงะตะ ได้ที่ระดับ 7 และอ่านขนาดของแผ่นดินไหวได้ที่แมกนิจูด 6.9 (เพื่อการเปรียบเทียบ แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิงที่ทำลายพื้นที่หลายส่วนในโคะเบะ วัดค่าความรุนแรงตามาตราชินโดะได้ระดับ 7 และวัดขนาดได้ที่แมกนิจูด 7.2 ) แผ่นดินไหวเกิดขึ้นที่ความลึก 15.8 กิโลเมตร JMA ได้ให้พิกัดของแผ่นดินไหวที่ 37°18′N 138°48′E / 37.3°N 138.8°E / 37.3; 138.8

การไหวครั้งที่สองเกิดขึ้นเมื่อเวลา 18:12 (16 นาทีหลังจากครั้งแรก) ครั้งนี้เกิดขึ้นที่ความลึกน้อยกว่าครั้งแรกมาก วัดความรุนแรงได้ชินโดะ 6+ และวัดขนาดได้ที่แมกนิจูก 5.9 ครั้งที่สามเกิดขึ้นเมื่อเวลา 18:34 ระดับความรุนแรงวัดได้ที่ชินโดะ 6- เวลา 19:46 เกิดแผ่นดินไหวระดับความรุนแรงชินโดะ 6- ขึ้นอีกครั้ง และยังมีแผ่นดินไหวย่อยที่รุนแรงน้อยกว่าเกิดขึ้นเป็นระยะในภูมิภาค ใน 66 ชั่วโมงแรก มีแผ่นดินไหวระดับความรุนแรงชินโดะ 5- หรือสูงกว่าเกิดขึ้น 15 ครั้งในภูมิภาคจูเอ็ทสึ

ตามรายงานของสื่อ Geographical Survey Institute (GSI) ในสังกัดรัฐบาลญี่ปุ่น ได้ประเมินขึ้นต้นว่า รอยเลื่อนที่ยาว 22 กิโลเมตร และกว้าง 17 กิโลเมตร ได้เคลื่อนที่ไป 1.4 เมตร

แผ่นดินไหวครั้งนี้เป็นครั้งที่ร้ายแรงที่สุดในญี่ปุ่นนับตั้งแต่แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิงเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2538

ความเสียหาย

ถนนที่เสียหาย ถ่ายภาพเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2547 ในเมืองโอะจิยะ
รถบรรเทาสาธารณภัยของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น
ซุปที่ปรุงเพื่อแจกจ่ายให้ผู้ไร้ที่พักอาศัยจากแผ่นดินไหว
รถของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น บรรทุกอุปกรณ์ปฐมพยาบาล

ในวันที่ 3 พฤศจิกายน พบผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวรายที่ 39 ขณะที่ยังคงมีแผ่นดินไหวตามเกิดขึ้นในระดับที่รู้สึกได้ มีรายงานว่าในจังหวัดนีงะตะมีผู้บาดเจ็บมากกว่า 3,000 คน คนมากกว่าหนึ่งหมื่นคนต้องละทิ้งบ้าน แผ่นดินไหวทำให้บ้านหลายหลังในเมืองโอะจิยะพังถล่ม

เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่รถไฟชินคันเซ็นตกรางขณะให้บริการ ตู้ของ Toki 35 (ชินคันเซ็น 200 series) แปดตู้จากสิบตู้ตกรางบนสายโจเอ็ทสึระหว่างสถานีนะงะโอะกะในเมืองนะงะโอะกะ กับสถานีอุระสะในเมืองยะมะโตะ มีผู้โดยสาร 155 คน แต่ไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ ทั้ง Railbeds สะพาน และอุโมงล้วนแต่ได้รับผลกระทบ East Japan Railway Company ได้หยุดรถไฟทุกขบวนในจังหวัดนีงะตะ ซึ่งสายที่ได้รับความเสียหายอย่างหนักได้แก่ สายโจเอ็ทสึ สายหลักชินเอ็ทสึ สายอียะมะ สายทะดะมิ และสายเอะจิโงะ ส่วนหนึ่งของสถานีนะงะโอะกะพร้อมจะพังถล่มได้ทุกเมื่อจากแผ่นดินไหวตาม แต่หลังจากปิดชั่วคราวก็เปิดให้บริการอีกครั้ง

เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2547 รถไฟสายโจเอ็ทสึและอียะมะส่วนที่ยังคงเหลืออยู่ได้เปิดให้บริการอีกครั้ง ต่อมาวันที่ 28 ธันวาคม ชินคันเซ็นสายโจะเอ็ทสึกลับมาเปิดให้บริการ Japan Highways ได้ปิดทางด่วนทั้งหมดในจังหวัดนีงะตะ ซึ่งมีผลให้ทางด่วนสายคังเอ็ทสึและสายโฮะคุริกุต้องปิดด้วยเช่นกัน ในวันที่ 4 พฤศจิกายน ทางด่วนสายคันเอ็ทสึยังคงปิดให้บริการในช่วงระหว่าง Nagaoka Interchange กับ Koide Interchange ซึ่งส่วนนี้กลับมาเปิดในวันที่ 5 พฤศจิกายน

เหตุแผ่นดินถล่มและปัญหาอื่นๆทำให้ต้องปิดทางหลวงสองสาย คือ หมายเลข 8 และหมายเลข 17 รวมทั้งถนนในจังหวัดอีกหลายเส้นทาง ทำให้ท้องถิ่นหลายส่วนถูกตัดขาด อย่างเช่นหมู่บ้านยะมะโคะชิเกือบทั้งหมู่บ้าน ซึ่งเคยเป็นหมู่บ้านในเขตโคะชิ แต่ต่อมาถูกผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่งของเมืองนะงะโอะกะ ในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 รัฐบาลได้ยกเลิกคำสั่งอพยพประชาชนที่มีมานานเก้าเดือน โดยมีผลต่อ 528 ครัวเรือนจากที่ได้รับผลกระทบ 690 ครัวเรือน

นอกจากนี้แผ่นดินไหวยังทำให้เกิดแผ่นดินถล่มทับรถยนต์สามคัน เด็กชายคนหนึ่งถูกช่วยเหลือออกมาจากรถยนต์คันหนึ่งได้ แต่มารดาและพี่สาวเสียชีวิต (พายุไต้ฝุ่นที่เกิดขึ้นก่อนหน้าไม่นานทำให้ดินอุ้มน้ำ จึงถล่มได้ง่ายขึ้น)

แผ่นดินไหวทำให้ท่อส่งน้ำประปาเสียหาย และมีรายงานว่าไฟฟ้า โทรศัพท์ (รวมโทรศัพท์มือถือ) และอินเทอร์เน็ต ใช้งานไม่ได้เป็นพื้นที่วงกว้าง ระบบโทรศัพท์มือถือขัดข้องเนื่องจากสถานีถ่ายทอดสัญญาณได้รับความเสียหายโดยตรง อีกทั้งพลังงานสำรองก็ถูกใช้จนหมด

ผลพวง

ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2550 มีการยกเลิกคำสั่งอพยพชุมชนห้าแห่งที่เคยอยู่ในหมู่บ้านยะมะโคะชิ (ต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของเมืองนะงะโอะกะ) ผู้พักอาศัยได้รับอนุญาตให้กลับบ้านหลังจากอพยพออกไปนานเกือบสองปีครึ่ง

ประวัติศาสตร์

ตามที่บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ จังหวัดนีงะตะประสบเหตุแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง ครั้งใหญ่ที่ผ่านมาไม่นานคือเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2507 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.5 ริกเตอร์ มีผู้เสียชีวิต 28 คน อีกทั้งยังทำให้เกิดเหตุดินกลายเป็นของเหลวครั้งใหญ่และเกิดคลื่นสึนามิพัดเข้าทำลายท่าเรือของเมืองนีงะตะ แผ่นดินไหวครั้งนั้นเป็นครั้งแรกที่วิศวกรเริ่มศึกษาปรากฏการณ์ดินกลายเป็นของเหลวอย่างจริงจัง

นอกจากนั้น ยังมีเหตุ แผ่นดินไหวนอกฝั่งจูเอ็ทสึ พ.ศ. 2550 ที่เกิดขึ้นหลังจากพายุไต้ฝุ่นพัดผ่านไม่นาน

External links