ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรเบิร์ต กัมปิน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 23: บรรทัด 23:
[[ไฟล์:Robert Campin - L' Annonciation - 1425.jpg|thumb|300px|"[[บานพับภาพเมรอด]]" ค.ศ. 1425-1428]]
[[ไฟล์:Robert Campin - L' Annonciation - 1425.jpg|thumb|300px|"[[บานพับภาพเมรอด]]" ค.ศ. 1425-1428]]
งานอื่นที่กล่าวกันว่าเขียนโดยโรเบิร์ต กัมปินจะหาดูได้ที่ พิพิธภัณฑสถานเฮอร์มิทิจ (เมือง[[เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก]]), [[พิพิธภัณฑ์ปราโด|พิพิธภัณฑสถานปราโด]] (กรุง[[มาดริด]]) และ[[หอศิลป์แห่งชาติ (ลอนดอน)|หอศิลป์แห่งชาติ]] (กรุง[[ลอนดอน]])
งานอื่นที่กล่าวกันว่าเขียนโดยโรเบิร์ต กัมปินจะหาดูได้ที่ พิพิธภัณฑสถานเฮอร์มิทิจ (เมือง[[เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก]]), [[พิพิธภัณฑ์ปราโด|พิพิธภัณฑสถานปราโด]] (กรุง[[มาดริด]]) และ[[หอศิลป์แห่งชาติ (ลอนดอน)|หอศิลป์แห่งชาติ]] (กรุง[[ลอนดอน]])

== สมุดภาพ ==
<center>
<gallery mode="packed-overlay" heights="170px">
ภาพ:Robert Campin 003.jpg|"[[การประสูติของพระเยซู]]"<br />ราว ค.ศ. 1425,<br />พิพิธภัณฑสถานที่เมืองดีฌง<br />ประเทศฝรั่งเศส
ภาพ:Robert Campin 006.jpg| "[[การประกาศของเทพ]]"<br />ราว ค.ศ. 1420-1440,<br />พิพิธภัณฑสถานศิลปะที่กรุงบรัสเซลส์
ภาพ:Werl-Triptychons.jpg|"[[บานพับภาพเวิร์ล]]" พิพิธภัณฑสถานปราโด กรุงมาดริด
ภาพ:Werl-Triptychons (Saint-Barbara).jpg|"[[บานพับภาพเวิร์ล]]-<br />[[นักบุญบาร์บารา]]"<br />(รายละเอียด)
ภาพ:Robert Campin 012.jpg|ภาพเหมือนผู้หญิง<br /> ราว ค.ศ. 1430-1435<br />หอศิลป์แห่งชาติ กรุงลอนดอน
</gallery>
</center>


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
บรรทัด 36: บรรทัด 47:
* [http://www.zeno.org/Kunstwerke/A/Campin,+Robert โรเบิร์ต กัมปินที่ Zeno.org] {{en icon}}
* [http://www.zeno.org/Kunstwerke/A/Campin,+Robert โรเบิร์ต กัมปินที่ Zeno.org] {{en icon}}
* [http://www.abcgallery.com/C/campin/campin.html แกลเลอรีของงานโดยโรเบิร์ต กัมปิน] {{en icon}}
* [http://www.abcgallery.com/C/campin/campin.html แกลเลอรีของงานโดยโรเบิร์ต กัมปิน] {{en icon}}

== สมุดภาพ ==
<center>
<gallery mode="packed-overlay" heights="170px">
ภาพ:Robert Campin 003.jpg|"[[การประสูติของพระเยซู]]"<br />ราว ค.ศ. 1425,<br />พิพิธภัณฑสถานที่เมืองดีฌง<br />ประเทศฝรั่งเศส
ภาพ:Robert Campin 006.jpg| "[[การประกาศของเทพ]]"<br />ราว ค.ศ. 1420-1440,<br />พิพิธภัณฑสถานศิลปะที่กรุงบรัสเซลส์
ภาพ:Werl-Triptychons.jpg|"[[บานพับภาพเวิร์ล]]" พิพิธภัณฑสถานปราโด กรุงมาดริด
ภาพ:Werl-Triptychons (Saint-Barbara).jpg|"[[บานพับภาพเวิร์ล]]-<br />[[นักบุญบาร์บารา]]"<br />(รายละเอียด)
ภาพ:Robert Campin 012.jpg|ภาพเหมือนผู้หญิง<br /> ราว ค.ศ. 1430-1435<br />หอศิลป์แห่งชาติ กรุงลอนดอน
</gallery>
</center>



{{birth|1375}}{{death|1444}}
{{birth|1375}}{{death|1444}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:30, 19 มีนาคม 2557

แผ่นภาพ "Flemalle" ส่วนหนึ่ง
งานที่มักจะสันนิษฐานว่าเขียนโดยกัมปิน บานภาพนี้เป็นบานทางขวาของบานพับภาพเวิร์ล (Werl triptych) ที่เขียนเมื่อ ค.ศ. 1438 ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานปราโด ประเทศสเปน

โรเบิร์ต กัมปิน (ดัตช์: Robert Campin; ราว ค.ศ. 1375 - 26 เมษายน ค.ศ. 1444) เป็นจิตรกรสมัยเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกของประเทศเนเธอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมแผงและบานพับภาพ สันนิษฐานกันว่าโรเบิร์ต กัมปิน เป็นคนคนเดียวกับจิตรกรที่เรียกกันว่า "ครูบาแห่งเฟลมาล" (Master of Flémalle) ประวัติของกัมปินมีเนื้อหาค่อนข้างสมบูรณ์เมื่อเทียบกับชีวิตของคนในยุคนั้น[1] แต่ไม่มีงานชิ้นใดที่กล่าวได้แน่นอนว่าเป็นของกัมปิน ขณะที่งานส่วนใหญ่กล่าวกันว่าเป็นงานของผู้เรียกกันว่า "ครูบาแห่งเฟลมาล" ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกตามภาพเขียน[2]

ชีวิต

ดูเหมือนว่าโรเบิร์ต กัมปิน จะมีญาติอยู่ที่วาล็องเซียน (Valenciennes) ทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส เมื่อเริ่มแรกกัมปินตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ตูร์แน (Tournai) ปัจจุบันอยู่ในประเทศเบลเยียม ระหว่างปี ค.ศ. 1405-1406 และเป็นสมาชิกสมาคมจิตรกรที่นั่น ในปี ค.ศ. 1410 กัมปินซื้อสัญชาติซึ่งคงหมายความว่ากัมปินไม่ได้เกิดในที่นั่น ต่อมากัมปินก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการของสมาคมและหน้าที่ต่าง ๆ ที่วัดและสำนักงานท้องถิ่น รวมทั้งมีโรงปฏิบัติงานใหญ่เป็นของตนเอง แต่กัมปินถูกปลดจากตำแหน่งเพราะเหตุการณ์เล่าลือและถูกลงโทษให้ไปแสวงบุญ ในปี ค.ศ. 1429 กัมปินก็ถูกตัดสินว่ามีชู้และถูกลงโทษให้ขับออกจากเมืองไปปีหนึ่ง แต่มาร์กาเรตแห่งเบอร์กันดี ชายาของวิลเลียมที่ 2 (ผู้เป็นดุ๊กแห่งบาวาเรีย-ชเตราบิง) และน้องของจอห์นผู้เก่งกล้า (ผู้เป็นดุ๊กแห่งเบอร์กันดี) ก็เข้ามาช่วยลดการลงโทษให้เหลือเพียงแค่ปรับ[3] งานบานพับภาพที่ลงปีที่ทำว่าเป็น ค.ศ. 1438 แสดงว่ากัมปินยังคงทำงานอยู่จนถึงเวลานั้น บานพับภาพนี้เหลืออยู่เพียงบานปีกสองข้าง บานกลางสูญหายไป

จิตรกรและลักษณะภาพ

ถึงแม้ว่ากัมปินจะได้รับอิทธิพลจากศิลปินหนังสือวิจิตรรุ่นเดียวกันแต่งานของกัมปินมีลักษณะเป็นสัจนิยมมากกว่าจิตรกรคนอื่นก่อนหน้านั้น กัมปินเป็นจิตรกรคนแรกที่ทดลองการใช้สีน้ำมันแทนการใช้สีฝุ่นผสมเพื่อให้ได้สีที่สดขึ้นอันเป็นลักษณะของจิตรกรรมในสมัยนั้น กัมปินใช้วิธีการเขียนแบบทัศนียภาพในการทำให้แบบมีลักษณะเป็นสามมิติมากขึ้นโดยการใช้แสงและเงาช่วยในการจัดองค์ประกอบที่เป็นทัศนียภาพที่ซับซ้อน ประเด็นหนึ่งที่ยังเป็นที่ถกเถียงกันคือการใช้สัญลักษณ์ซับซ้อนที่ยอมรับกันว่าใช้ในงานของฟัน ไอก์ก็ใช้ในงานของกัมปินด้วย

นักประวัติศาสตร์ศิลปะได้พยายามที่จะสืบหาต้นตอของศิลปเรอเนซองส์ทางตอนเหนือของยุโรปแต่ก็มีหลักฐานทางตอนเหนือของอิตาลี และเข้าใจกันเป็นเวลานานว่ายัน ฟัน ไอก์เป็นจิตรกรคนแรกที่ใช้วิธีเขียนแบบใหม่ซึ่งเห็นได้จากหนังสือวิจิตรในการเขียนภาพบนแผ่นไม้ เมื่อมาถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 จึงเป็นที่เห็นได้ชัดว่าฟัน ไอก์เป็นจิตรกรร่วมสมัยกับผู้เขียนภาพที่รวมทั้ง "ฉากแท่นบูชาเมรอด" ซึ่งเขียนเมื่อ ค.ศ. 1428 ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตันในนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เป็นฉากแท่นบูชาที่เต็มไปด้วยรายละเอียดและความเหมือนจริง อึกสามแผ่นภาพก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน ว่ากันว่ามาจากแอบบีเฟลมาล (Flémalle) แต่ความจริงแล้วแอบบีเฟลมาลไม่มีจริง ปัจจุบันแผ่นภาพทั้งสามอยู่ที่แฟรงก์เฟิร์ต เป็นที่ถกเถียงกันว่างานเหล่านี้เป็นของ "ครูบาแห่งเฟลมาล" ซึ่งในขณะนั้นไม่สามารถบอกได้เป็นที่แน่นอนว่าใครคือผู้วาดที่แท้จริง

ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักวิชาการหลายท่านให้ความเห็นว่า "ครูบาแห่งเฟลมาล" เป็นใครไปไม่ได้นอกจากโรเบิร์ต กัมปิน ที่มีหลักฐานว่าเป็นครูบาจิตรกรที่ตูร์แนจากปี ค.ศ. 1406 ข้อโต้แย้งมาจากเอกสารที่กล่าวถึงลูกศิษย์สองคนที่กัมปินรับไว้ที่สตูดิโอในปี ค.ศ. 1427 - ฌัก ดาแร (Jacques Daret) และรอเฌอแล เดอ ลา ปาตูร์ (Rogelet de la Pasture) ชื่อหลังอาจจะเป็นคนเดียวกับ โรเคียร์ ฟัน เดอร์ไวเดิน เพราะชื่อแรกเป็นภาษาฝรั่งเศสและอีกชื่อหนึ่งภาษาดัตช์ แปลว่า "ทุ่ง" เหมือนกัน งานเขียนฉากแท่นบูชาชิ้นหนึ่งของดาแรมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับงานเขียนของ "ครูบาแห่งเฟลมาล" และงานสมัยแรก ๆ ของกัมปินเป็นอย่างมาก ฉะนั้นจึงน่าจะกล่าวได้ว่าทั้งสองคนเป็นลูกศิษย์ของ "ครูบาแห่งเฟลมาล" หรือโรเบิร์ต กัมปิน ข้อสันนิษฐานอีกข้อคือบานพับภาพเฟลมาลเขียนโดยโรเคียร์ ฟัน เดอร์ไวเดินเมื่อยังอายุในระหว่างยี่สิบปีกว่า ๆ นักวิชาการบางท่านกล่าวว่างาน "ชะลอร่างจากกางเขน" ที่พิพิธภัณฑสถานปราโดเขียนโดยโรเบิร์ต กัมปิน มิใช่โรเคียร์ ฟัน เดอร์ไวเดิน

งานสมัยแรก

"บานพับภาพการฝังพระเยซู" หรือ "บานพับภาพไซเลิร์น" (Entombment Triptych หรือ Seilern Triptych) ที่สถาบันคอร์โทลด์ที่ลอนดอนถือว่าเป็นงานชิ้นแรก ๆ ของโรเบิร์ต กัมปินซึ่งเขียนราวปี ค.ศ. 1415-1420[1] บานกลางแสดงให้เห็นอิทธิพลที่ได้มาจากรูปปั้นในสมัยนั้น (กัมปินเองก็มีชื่อว่าทาสีรูปปั้นหลายรูป) หลังจากนั้นกัมปินก็เขียน "การแต่งงานของพรหมจารี" (Marriage of the Virgin) ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานปราโด และ "การประสูติของพระเยซู" (Nativity) ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานศิลปะที่ดีฌงในประเทศฝรั่งเศสที่เขียนเมี่อราว ค.ศ. 1420-1425

บานพับภาพเมโรด์

ระหว่างปี ค.ศ. 1425-1430 ดูเหมือนว่ากัมปินจะเขียน "ฉากแท่นบูชาเมรอด" ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตัน นครนิวยอร์ก ซึ่งเป็นภาพที่ซับซ้อนจากหัวเรื่อง "การประกาศของเทพ" แผ่นกลางที่แปลกออกไปที่อยู่ที่พิพิธภัณฑสถานศิลปะที่บรัสเซลส์ทำให้เห็นว่าบานพับภาพเมรอดที่นิวยอร์กไม่ใช่ภาพต้นแบบจริง

งานอื่น ๆ

"บานพับภาพเมรอด" ค.ศ. 1425-1428

งานอื่นที่กล่าวกันว่าเขียนโดยโรเบิร์ต กัมปินจะหาดูได้ที่ พิพิธภัณฑสถานเฮอร์มิทิจ (เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก), พิพิธภัณฑสถานปราโด (กรุงมาดริด) และหอศิลป์แห่งชาติ (กรุงลอนดอน)

สมุดภาพ

อ้างอิง

  1. JSTOR An article by Lorne Campbell in the Burlington gives details and references.
  2. Fragments remain probably from some wall-paintings for which he was paid in 1406-7 Campbell:72
  3. Campbell op cit:72, and Campbell 1974

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:Link FA