ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปุ๋ย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Gofertilizerplus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Gofertilizerplus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น
บรรทัด 97: บรรทัด 97:
* [http://www.thaifertilizer.org/ สมาคมการค้าผู้ผลิตปุ๋ยไทย]
* [http://www.thaifertilizer.org/ สมาคมการค้าผู้ผลิตปุ๋ยไทย]
* [http://www.fertilizer.org International Fertilizer Industry Association]
* [http://www.fertilizer.org International Fertilizer Industry Association]
* [http://www.gofertilizerplus.com/ความรู้เรื่องปุ๋ย]
[http://ความรู้เรื่องปุ๋ย * [http://www.gofertilizerplus.com/ความรู้เรื่องปุ๋ย<nowiki>]</nowiki>]
[[หมวดหมู่:ปุ๋ย| ]]
[[หมวดหมู่:ปุ๋ย| ]]
[[หมวดหมู่:เกษตรกรรม]]
[[หมวดหมู่:เกษตรกรรม]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:59, 16 กุมภาพันธ์ 2557

A large, modern fertilizer spreader

ปุ๋ย เป็น วัสดุที่ให้สารอาหารกับพืช หรือ ช่วยปรับปรุงดินให้เหมาะสมกับการเพาะปลูก

พืชต้องการธาตุอาหาร 16 ชนิดได้แก่ ออกซิเจน ไฮโดรเจน คาร์บอน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปตัสเซียม กำมะถัน แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี แมงกานิส ทองแดง โบรอน โมลิบดินัม และคลอรีน ในจำนวนนี้ ออกซิเจน ไฮโดรเจน คาร์บอน พืชได้รับจากน้ำและอากาศ ส่วน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โปแตสเซียม พืชต้องการในปริมาณมาก เมื่อเทียบกับธาตุอื่นๆ (ซึ่งถูกจัดเป็นธาตุอาหารหลัก หรือ ธาตุปุ๋ย) และในดินมักมีไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก จึงมีความจำเป็นต้องเพิ่มเติมธาตุเหล่านี้โดยการให้ปุ๋ย

ปุ๋ยแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ

1.ปุ๋ยเคมี คือ ปุ๋ยที่เป็นอินทรีย์สาร อาจเป็นปุ๋ยเชิงเดี่ยว ปุ๋ยเชิงผสมและปุ๋ยเชิงประกอบ ตัวอย่างปุ๋ยเคมีได้แก่ ยูเรีย,ปุ๋ยเม็ด 16-20-0 แต่ไม่รวมถึงสารที่ใช้สำหรับปรับปรุงดิน เช่น ซีโอไลต์ ,ภูไมท์ และ สารต่างๆที่มีคุณสมบัติโครงสร้างทางฟิสิกส์ของดินให้ดีขึ้น

 	1.1 แม่ปุ๋ยหรือปุ๋ยเดี่ยว   คือ ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารหลักพืช คือ N P K เป็นส่วนประกอบของปริมาณธาตุอาหารจะคงที่
 	1.2 ปุ๋ยผสม 		คือ ปุ๋ยที่ได้จากการเอาแม่ปุ๋ยหลายๆ ชนิดมารวมกันเพื่อให้ได้ปริมาณธาตุอาหารหลักของปุ๋ยตามต้องการเพื่อให้เหมาะตามสภาพดิน ในแต่ละพื้นที่

2.ปุ๋ยอินทรีย์ ได้มาจากสารประกอบทางธรรมชาติ ธาตุอาหารที่ได้ส่วนใหญ่ต้องเกิดจากการย่อยสลายจากจุลินทรีย์ก่อนเป็นกระบวนการผลิตสารอาหารจากธรรมชาติ ปุ๋ยอินทรีส่วนใหญ่มักจะใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงคุณภาพดิน แบ่งชนิดของปุ๋ยอินทรีย์ได้3ประเภทคือ 2.1 ปุ๋ยหมัก คือ ปุ๋ยที่เกิดจากเศษพืชต่าง ๆ เช่น หญ้าและใบไม้ ตัวถั่ว ต้นข้าวโพด ซัง่ข้าวโพด เปลือกถั่วต่าง ๆ ใบจามจุรี ฟาวข้าว ผักตบชวา เมื่อนำมากองหมักไว้จนเน่าเปื่อยก็ใช้เป็นหมักได้

  2.2.ปุ๋ยคอก คือ ปุ๋ยที่ได้จากสิ่งที่สัตว์ขับถ่ายออกมา เช่น อุจาจาระ ปัสสาวะ ของพวกสัตว์ต่าง ๆ ปุ๋ยคอกเป็นปุ๋ยที่มีประโยชน์ในการปรับปรุงสภาพทางกายภาพของดิน ช่วยลดอัตราการพังทลายของดินเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดิน เป็นต้น คุณภาพของปุ๋ยคอกนั้นขึ้นอยู่กับสิ่งต่าง ๆ 
	 2.3. ปุ๋ยพืชสด คือ ปุ๋ยที่ได้จากการปลูกพืชบำรุงดิน เช่น พวกพืชตระกูลถั่ว เมื่อพืชเจริญเติบโตถึงระยะหนึ่ง เราก็ทำการไถกลบในขณะที่พืชยังเขียวและสดอยู่ ซึ่งมักจะไถกลบในช่วงที่พืชกำลังออกดอก เพราะเป็นช่วงที่เหมาะสมแก่การให้ธาตุอาหารแก่พืชมากที่สุด

3.ปุ๋ยชีวภาพ คือ การนำจุลินทรีย์ที่มีชีวิต มาใช้เพื่อเพิ่มปริมาณธาตุอาหาร หรือ เพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดิน ปุ๋ยชีวภาพอาจมีบทบาทในการปรับปรุงบำรุงดินทางชิวภาพ ทางกายภาพและทางชีวเคมี และปุ๋ยชีวภาพยังหมายความรวมถึง หัวเชื้อจุลินทรีย์

4.ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ คือการนำข้อดีของปุ๋ย2ชนิดมาผสมกัน โดยนำปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านกระบวนการควมคุมคุณภาพการผลิต โดยการนำปุ๋ยอินทรีย์และแร่ธาตุต่างๆเช่น คีเลต ธาตุอาหารเสริม สารบำรุงดิน มาผ่านการฆ่าเชื้อและทำการเพาะเชื้อจุลินทรีที่เหมาะสมนำมาผสมกับปุ๋ยอินทรีย์และทำการหมักเพาะเชื้อจุลินทรีย์ที่ผสมลงไปจนถึงระยะเวลาที่พอเหมาะ จึงสามารถนำไปใช้งานได้ เป็นปุ๋ยที่เหมาะแก่ การทำ เกษตรอินทรีย์

[1]

ความหมายของปุ๋ย ตามพระราชบัญญัติปุ๋ย

พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘อ้างอิงผิดพลาด: ไม่มีการปิด </ref> สำหรับป้ายระบุ <ref> [2] [3]

ปุ๋ยละลายช้าช่วยทำให้พืชได้รับสารอาหารอย่างสม่ำเสมอ แบบค่อยเป็นค่อยไปลดความเสี่ยงจากภาวะที่เรียกว่า "จุกหรืออด" (feast or famine) ที่พืชอาจได้รับปุ๋ยมากเกินไปในช่วงแรกแล้วหลังจากสารอาหารถูกชะล้างไปหมด ก็จะขาดสารอาหารได้ นอกจากนั้น ปุ๋ยละลายช้า ยังมีข้อดีในแง่สิ่งแวดล้อมอีกด้วย เพราะมันยังช่วยลดปริมาณสารเคมีที่ถูกชะล้างจากแหล่งเพาะปลูกลงไปสู่แหล่ง ที่มีน้ำธรรมชาติอีกด้วย


ปุ๋ยที่พวกชาวบ้านชาวสวนชอบใช้กัน คือ ปุ๋ยหมักชีวภาพ ปุ๋ยคอก แต่ปุ๋ยที่ไม่ค่อยมีประโยชน์ คือ ปุ๋ยเคมี ซึ่งมีราคาแพง และมีผลเสียต่อสุขภาพอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง

  1. ความรู้เรื่องปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร
  2. C. Neal, Slow-Release Fertilizers for Home Gardens and Landscapes, University of New Hampshire Cooperative Extension, url=http://extension.unh.edu/resources/representation/Resource000494_Rep516.pdf (retrieved 22 June 2011)
  3. T. M. Blessington, D. L. Clement, and K. G. Williams, SLOW RELEASE FERTILIZERS, Fact Sheet 870, Maryland Cooperative Extension, University of Maryland, College Park-Eastern Shore; url=http://extension.umd.edu/publications/pdfs/fs870.pdf (retrieved 22 June 2011)


แหล่งข้อมูลอื่น

* [http://www.gofertilizerplus.com/ความรู้เรื่องปุ๋ย]