ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะซาเลเซียนของคุณพ่อบอสโก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Rolandodeynigo (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 56: บรรทัด 56:
ปัจจุบันคณะซาเลเซียนในประเทศไทยได้รับมอบหมายให้ดูแลกิจการของคณะซาเลเซียนใน[[ประเทศกัมพูชา]]และ[[ประเทศลาว]] สำหรับกิจการคณะซาเลเซียนในราชอาณาจักรกัมพูชานั้น บาทหลวงยอห์น วิสเซอร์ อดีตอธิการโรงเรียนดอนบอสโก กรุงเทพฯ ได้เป็นผู้บุกเบิกนำสมาชิกซาเลเซียนเข้าสู่ประเทศนี้เมื่อปี ค.ศ. 1991 (พ.ศ. 2534) เปิดสอนโรงเรียนอาชีวะดอนบอสโกที่กรุงพนมเปญ, เมืองปอยเปต และเมืองสีหนุกวิลล์ ส่วนที่ประเทศลาวนั้น บาทหลวงตีโต เปดรอน ได้รับมอบหมายจากคณะซาเลเซียนให้ดำเนินการเจรจากับรัฐบาลประเทศลาวตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545) เพื่อจะเปิดโรงเรียนอาชีวะดอนบอสโก ที่กรุงเวียงจันท์ และขณะนี้ ซาเลเซียนได้เริ่มกิจการเล็ก ๆ โดยเปิดสอนวิชาชีพช่างยนต์และช่างไฟฟ้าแก่เยาวชนลาว ณ กรุงเวียงจันทน์
ปัจจุบันคณะซาเลเซียนในประเทศไทยได้รับมอบหมายให้ดูแลกิจการของคณะซาเลเซียนใน[[ประเทศกัมพูชา]]และ[[ประเทศลาว]] สำหรับกิจการคณะซาเลเซียนในราชอาณาจักรกัมพูชานั้น บาทหลวงยอห์น วิสเซอร์ อดีตอธิการโรงเรียนดอนบอสโก กรุงเทพฯ ได้เป็นผู้บุกเบิกนำสมาชิกซาเลเซียนเข้าสู่ประเทศนี้เมื่อปี ค.ศ. 1991 (พ.ศ. 2534) เปิดสอนโรงเรียนอาชีวะดอนบอสโกที่กรุงพนมเปญ, เมืองปอยเปต และเมืองสีหนุกวิลล์ ส่วนที่ประเทศลาวนั้น บาทหลวงตีโต เปดรอน ได้รับมอบหมายจากคณะซาเลเซียนให้ดำเนินการเจรจากับรัฐบาลประเทศลาวตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545) เพื่อจะเปิดโรงเรียนอาชีวะดอนบอสโก ที่กรุงเวียงจันท์ และขณะนี้ ซาเลเซียนได้เริ่มกิจการเล็ก ๆ โดยเปิดสอนวิชาชีพช่างยนต์และช่างไฟฟ้าแก่เยาวชนลาว ณ กรุงเวียงจันทน์


ปัจจุบัน สมาชิกคณะซาเลเซียนในประเทศไทยที่ยังมีชีวิต มีจำนวน 91 ท่าน (สถิติ ณ วันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2009) โดยมี บาทหลวงยอห์น บอสโก เทพรัตน์ ปิติสันต์ ดำรงตำแหน่ง[[อธิการเจ้าคณะแขวง]]ซาเลเซียนแห่งประเทศไทย
ปัจจุบัน สมาชิกคณะซาเลเซียนในประเทศไทยที่ยังมีชีวิต มีจำนวน 91 ท่าน (สถิติ ณ วันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2009) โดยมี บาทหลวงเปาโล ประเสริฐ สมงาม ดำรงตำแหน่ง[[อธิการเจ้าคณะแขวง]]ซาเลเซียนแห่งประเทศไทย


== '''โรงเรียนในเครือซาเลเซียน''' ==
== '''โรงเรียนในเครือซาเลเซียน''' ==
บรรทัด 80: บรรทัด 80:
*[[โรงเรียนดอนบอสโกกัมพูชา]]
*[[โรงเรียนดอนบอสโกกัมพูชา]]

==กิจกรรมเครือซาเลเซียน==
ซึ่งปัจจุบัน ได้มีกิจกรรมกีฬาเครือซาเลเซียนมากมาย เพื่อกระชับมิตร
*[[กีฬาเครือซาเลเซียน]] ซึ่งในปี2557นี้ จัดขึ้นเป็๋นครั้งที่8 ณ โรงเรียนแสงทองเป็นเจ้าภาพ ซึ่งจัดงานในระหว่างวันที่ 15-18 มกราคม 2557
และในครั้งต่อไปซึ่งเป็นครั้งที่9ในปี2559 โรงเรียนดอนบอสโกวิทยา อุดรธานีเป็นเจ้าภาพ


== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:43, 25 มกราคม 2557

คณะซาเลเซียนของคุณพ่อบอสโก
ไฟล์:Coat of Arms Salesians of Don Bosco.png
ชื่อย่อS.D.B
ก่อตั้งค.ศ. 1874
ประเภทคณะนักบวชคาทอลิก
บาทหลวง ปาสกวัล ชาเวส
เว็บไซต์คณะซาเลเซียนของคุณพ่อบอสโกแห่งประเทศไทย

คณะซาเลเซียนของคุณพ่อบอสโก (อังกฤษ: Salesians of Don Bosco) เรียกโดยย่อว่า คณะซาเลเซียน (Salesian Society) เป็นคณะนักบวชคาทอลิกชายที่ตั้งโดยนักบุญโจวันนี บอสโก หรือที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า "ดอนบอสโก" (คำว่า ดอน ในภาษาอิตาเลียนแปลว่า "คุณพ่อ" ซึ่งใช้เรียกบาทหลวง) สมาชิกของคณะนักบวชนี้ มักเรียกตัวเองว่า "ซาเลเซียน" และใช้คำย่อว่า S.D.B (Salesiani di Don Bosco) โดยชื่อซาเลเซียนนั้นนำมาจากชื่อของนักบุญฟร็องซัว เดอ ซาล

ประวัติ

เริ่มจากการที่คุณพ่อบอสโกได้รวบรวมเด็กกำพร้า เด็กยากจนบริเวณกรุงตูริน ประเทศอิตาลี มาไว้ในอุปถัมภ์ และให้การศึกษา ต่อมาท่านได้คิดว่าควรที่จะขยายโครงการนี้ ท่านจึงได้ริเริ่มตั้งคณะนักบวชเพื่อสานงานของท่าน คณะนักบวชซาเลเซียนนี้ถูกก่อตั้งขึ้นในวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1859 และเนื่องจากความคิดที่ต้องการจะเผยแพร่งานสำหรับเยาวชนนี้ต่อไปยังเยาวชนอื่นๆ ทั่วโลก ท่านจึงเริ่มส่งมิชชันนารีไปที่ทวีปเอเมริกาใต้และที่อื่นๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย คณะซาเลเซียนได้เข้ามาในประเทศไทยปี พ.ศ. 2447 ที่บางนกแขวก ปัจจุบันคณะซาเลเซียนมีอายุกว่า 150 ปีแล้ว ทำงานด้านส่งเสริมสังคม โดยเฉพาะสำหรับเด็กยากจน และด้อยโอกาส ผ่านทางการศึกษาอบรม คณะซาเลเซียนมีเครือข่ายอยู่ทั่วโลกกว่า 128 ประเทศ

ด้วยความเชื่อมั่นในระบบการอบรมของคุณพ่อบอสโก ซึ่งมีพื้นฐานการอบรมโดยใช้หลักศาสนา เหตุผล และความรักใจดี บรรดาซาเลเซียนทั้งหลายจึงมีความพยายามอย่างจริงจังในการเสริมสร้างบรรยากาศแห่งการต้อนรับ ส่งเสริมความศรัทธาด้านศาสนา พัฒนาการเรียนรู้ และเตรียมความพร้อมสู่ชีวิตในสังคมให้กับบรรดาเยาวชน นับตั้งแต่วันแรกที่ซาเลเซียนก้าวเข้าสู่ดินแดนสยาม ในปี ค.ศ. 1927 นับเนื่องจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลากว่า 80 ปีแล้ว ที่ซาเลเซียนในประเทศไทยได้เติบโตและเจริญก้าวหน้าขึ้น จวบจนวันนี้คณะซาเลเซียนแห่งประเทศไทยมีกิจการอยู่กว่า 40 แห่ง รวมถึงกิจการที่กำลังดำเนินอยู่ในประเทศกัมพูชาและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเพื่อช่วยบรรดาเยาวชนให้ได้รับการอบรมและการศึกษาที่ดี

ตราคณะซาเลเซียน

ความหมาย

ดาวจำรัสแสง  : คุณธรรมแห่งความเชื่อ

สมอเรือใหญ่  : คุณธรรมแห่งความไว้ใจ

หัวใจเพลิง  : คุณธรรมแห่งความรัก

คุณธรรมเหล่านี้เป็นฤทธิ์กุศล ที่สมาชิกนักบวชซาเลเซียนยึดถือ

นักบุญฟรังซิส เดอ ซาลล์ : องค์อุปถัมภ์ของคณะซาเลเซียน

หมู่ไม้  : นักบุญยวง บอสโก (บอสโก แปลว่า หมู่ไม้)

ยอดเขาสูง  : ยอดความครบครันที่สมาชิกต้องพยายามบรรลุถึง

ช่อชัยพฤกษ์  : บำเหน็จรางวัลแก่สมาชิกซาเลเซียน ผู้ที่ได้ดำเนินชีวิตอย่างศักดิ์สิทธิ์และเสียสละ

“Da Mihi Animas Caetera Tolle” ภาษาลาติน แปลว่า “ขอเพียงแต่วิญญาณ สิ่งอื่นไม่ต้องการ” อันเป็นอุดมคติของคุณพ่อบอสโก ที่ต้องการช่วยเยาวชนให้รอดไปสวรรค์ ซาเลเซียนในประเทศไทย

ซาเลเซียนในประเทศไทย

การริเริ่มส่งมิชชันนารีคณะซาเลเซียนมาประเทศไทย เริ่มในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1925 (พ.ศ. 2468) โดยบาทหลวงอีญาซีโอ กานาเซย์ (Ignazio Canazei) อธิการเจ้าคณะแขวงซาเลเซียนประจำประเทศจีน (ภายหลังได้รับการอภิเษกเป็นบิชอปแห่งซิวเจา) ได้เดินทางมาประเทศไทย เพื่อสำรวจหาข้อมูลและความเป็นไปได้ในการที่จะให้มิชชันนารีซาเลเซียนได้เข้ามาดำเนินกิจการในประเทศไทย ในปี ค.ศ. 1926 (พ.ศ. 2469) พระคุณเจ้าหลุยส์ มาทีอัส อาร์ชบิชอปแห่งชิลลง พร้อมด้วยบาทหลวงอีญาซีโอ กานาเซย์ ได้นำบาทหลวงปีเอโตร รีกัลโดเน รองอัคราธิการคณะซาเลเซียนเดินทางมาที่กรุงเทพฯ และเข้าพบพระคุณเจ้าเรอเน แปโร ประมุขมิสซังกรุงเทพฯ เพื่อเตรียมการส่งธรรมทูตซาเลเซียนมาประเทศไทย

ในที่สุดวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1927 (พ.ศ. 2470) คณะมิชชันนารีซาเลเซียนชุดแรกประกอบด้วยบาทหลวงยอห์น กาเสตตา และเซมานาเรียนยอร์ช ไปนอตตี ก็เดินทางจากมาเก๊า ประเทศจีนมาถึงประเทศไทย และได้พำนักที่โบสถ์บางนกแขวก จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อเตรียมการต้อนรับคณะธรรมทูตที่จะเดินทางมาอย่างเป็นทางการ วันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1927 ธรรมทูตซาเลเซียนกลุ่มใหญ่จำนวน 18 ท่าน ก็ได้เดินทางทางเรือมาถึงบางนกแขวก ภายใต้การนำของบาทหลวงกาเอตัน ปาซอตตี (ต่อมาท่านได้รับการอภิเษกเป็นมุขนายกมิสซังราชบุรี) และที่บางนกแขวกนี้ก็นับว่าเป็นบ้านแรกของคณะซาเลเซียนในเมืองไทย จากนั้น ก็มีธรรมทูตอีกหลายชุดเดินทางเข้ามาเพื่อเสริมกำลังจนเป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ใหญ่ของคณะซาเลเซียนให้ความสนใจกับเมืองไทยเป็นพิเศษ เพราะในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี ก็ได้มีการส่งธรรมทูตมาเมืองไทยเป็นจำนวนมาก

ธรรมทูตซาเลเซียนทั้งหมดได้เริ่มเรียนภาษาไทย เรียนรู้ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมประเพณีไทย และสิ่งอื่น ๆ ที่จะช่วยให้เข้าใจประเทศไทย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการแพร่ธรรม ท่านเหล่านั้นต้องประสบกับปัญหาเรื่องอาหาร อากาศ และสภาพความเป็นอยู่ที่แตกต่างจากประเทศอิตาลีบ้านเกิดอย่างสิ้นเชิง แต่ท่านเหล่านั้นก็ได้ต่อสู้อุปสรรคเหล่านี้ด้วยพลังแห่งความรักในการรับใช้เยาวชนตามจิตตารมณ์ของคุณพ่อบอสโก วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1929 (พ.ศ. 2472) พระคุณเจ้าแปโร ประมุขมิสซังลกรุงเทพฯ ได้มอบให้คณะซาเลเซียนดูแลเขตมิสซังราชบุรี และในวันที่ 30 มิถุนายน ปีเดียวกัน บาทหลวงกาเอตัน ปาซอตตี ได้รับการแต่งตั้งให้ปกครองเขตมิสซังราชบุรีและต่อมาอีก 12 ปี คือในวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1941 (พ.ศ. 2484) ท่านจึงได้รับการอภิเษกเป็นมุขนายกมิสซังราชบุรีอย่างเป็นทางการ เขตมิสซังราชบุรีนั้นเริ่มตั้งแต่จังหวัดราชบุรี กาญจนบุรีแล้วลงไปจนสุดแดนภาคใต้ คณะซาเลเซียนทำหน้าที่ดูแลกิจการของโบสถ์ โรงเรียน และการอภิบาลสัตบุรุษของมิสซัง ซึ่งนับว่าเป็นภารกิจที่ท้าทายและยิ่งใหญ่สำหรับธรรมทูตซาเลเซียนในยุคนั้น

คณะธรรมทูตซาเลเซียนที่เข้ามาในเมืองไทยนี้เป็นกลุ่มที่บุกเบิกวางรากฐานกิจการแพร่ธรรมในประเทศไทย พวกท่านได้อุทิศทั้งชีวิตเพื่ออนาคตที่ดีของเยาวชนไทย และพวกท่านเหล่านี้เกือบทั้งหมดต่างก็ได้สิ้นชีวิตและฝังร่างของท่านไว้ในแผ่นดินไทย เพื่อเป็นพยานแห่งรักอันซื่อสัตย์ต่อจิตตารมณ์ซาเลเซียน เป็นเมล็ดพันธุ์ให้คณะซาเลเซียนเจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป

หลังจากนั้น ได้มีธรรมทูตซาเลเซียนจากประเทศอิตาลี, เบลเยี่ยม, สเปน, เนเธอร์แลนด์ และฟิลิปปินส์ได้เดินทางมาสมทบกับธรรมทูตรุ่นพี่เพื่อสืบสานกิจการแห่งความรักของคุณพ่อบอสโกต่อบรรดาเยาวชนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เยาวชนที่กำพร้า ยากจน และถูกทอดทิ้งในประเทศไทยให้ได้รับการอบรม การศึกษา และดูแลให้เป็นคนที่ดี สมบูรณ์และมีคุณภาพทั้งสำหรับพระศาสนจักรและประเทศชาติต่อไป ต่อมาเมื่อมีการแยกเขตมิสซังสุราษฎร์ธานีออกมาเป็นมิสซังใหม่ ในวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) พระคุณเจ้าปีเอโตร ลุยจี การ์เรตโต ได้ย้ายมาเป็นประมุขเขตมิสซังสุราษฎร์ธานี โดยมอบเขตมิสซังราชบุรีให้แก่มุขนายกโรเบิร์ต รัตน์ บำรุงตระกุล ในวันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน และตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา คณะซาเลเซียนก็รับผิดชอบงานแพร่ธรรมของเขตมิสซังสุราษฎร์ธานี เริ่มตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์จนสุดแดนภาคใต้ของประเทศไทย ปัจจุบันนี้ พระคุณเจ้ายอแซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล เป็นมุขนายกจากคณะซาเลเซียนปกครองเขตมิสซังแห่งนี้ สืบต่อจากพระคุณเจ้าไมเกิล ประพนธ์ ชัยเจริญ ผู้สืบอำนาจต่อจากพระคุณเจ้าปีเอโตร ลุยจี การ์เรตโต ซึ่งมุขนายกทั้งสององค์ได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว

ปัจจุบันคณะซาเลเซียนในประเทศไทยได้รับมอบหมายให้ดูแลกิจการของคณะซาเลเซียนในประเทศกัมพูชาและประเทศลาว สำหรับกิจการคณะซาเลเซียนในราชอาณาจักรกัมพูชานั้น บาทหลวงยอห์น วิสเซอร์ อดีตอธิการโรงเรียนดอนบอสโก กรุงเทพฯ ได้เป็นผู้บุกเบิกนำสมาชิกซาเลเซียนเข้าสู่ประเทศนี้เมื่อปี ค.ศ. 1991 (พ.ศ. 2534) เปิดสอนโรงเรียนอาชีวะดอนบอสโกที่กรุงพนมเปญ, เมืองปอยเปต และเมืองสีหนุกวิลล์ ส่วนที่ประเทศลาวนั้น บาทหลวงตีโต เปดรอน ได้รับมอบหมายจากคณะซาเลเซียนให้ดำเนินการเจรจากับรัฐบาลประเทศลาวตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545) เพื่อจะเปิดโรงเรียนอาชีวะดอนบอสโก ที่กรุงเวียงจันท์ และขณะนี้ ซาเลเซียนได้เริ่มกิจการเล็ก ๆ โดยเปิดสอนวิชาชีพช่างยนต์และช่างไฟฟ้าแก่เยาวชนลาว ณ กรุงเวียงจันทน์

ปัจจุบัน สมาชิกคณะซาเลเซียนในประเทศไทยที่ยังมีชีวิต มีจำนวน 91 ท่าน (สถิติ ณ วันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2009) โดยมี บาทหลวงเปาโล ประเสริฐ สมงาม ดำรงตำแหน่งอธิการเจ้าคณะแขวงซาเลเซียนแห่งประเทศไทย

โรงเรียนในเครือซาเลเซียน

กิจกรรมเครือซาเลเซียน

ซึ่งปัจจุบัน ได้มีกิจกรรมกีฬาเครือซาเลเซียนมากมาย เพื่อกระชับมิตร

  • กีฬาเครือซาเลเซียน ซึ่งในปี2557นี้ จัดขึ้นเป็๋นครั้งที่8 ณ โรงเรียนแสงทองเป็นเจ้าภาพ ซึ่งจัดงานในระหว่างวันที่ 15-18 มกราคม 2557

และในครั้งต่อไปซึ่งเป็นครั้งที่9ในปี2559 โรงเรียนดอนบอสโกวิทยา อุดรธานีเป็นเจ้าภาพ

แหล่งข้อมูลอื่น

อ้างอิง

  • http://www.thaisdb.org/home/aboutus/%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%a1/
  • Public Domain Ernest, Marsh (1913). "The Salesian Society". ใน Herbermann, Charles (บ.ก.). สารานุกรมคาทอลิก. New York: Robert Appleton Company. สืบค้นเมื่อ 8 เม.ย. 2554. {{cite encyclopedia}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)