ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พีระ ตรีบุปผา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Eakeakeak (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล นักแสดง
| bgcolour =
| name = พีระ ตรีบุปผา
| image =
| imagesize =
| caption =
| birthname = พีระ ตรีบุปผา
| nickname =
| birthdate = [[28 เมษายน]] [[พ.ศ. 2475]]
| location = [[อำเภอเสนา]] [[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]]
| deathdate = [[27 เมษายน]] [[พ.ศ. 2545]]
| deathplace =
| spouse = สมจิตต์ ตรีบุปผา
| othername =
| occupation = นักแต่งเพลง นักดนตรี นักเรียบเรียงเสียงประสาน
| yearsactive = พ.ศ. 2492 - พ.ศ. 2545
| notable role =
| เครื่องดนตรี =
| แนวเพลง = [[ลูกทุ่ง]], [[ลูกกรุง]], เพลงประกอบภาพยนตร์
| ค่าย =
| ส่วนเกี่ยวข้อง = [[สมยศ ทัศนพันธ์]]<br>[[สายัณห์ สัญญา]]
| homepage =
| academyawards =
| emmyawards =
| tonyawards =
| goldenglobeawards =
| baftaawards =
| cesarawards =
| goyaawards =
| afiawards =
| filmfareawards =
| olivierawards =
| grammyawards =
| ตุ๊กตาทอง = [[พ.ศ. 2517]] - เพลงและดนตรีประกอบยอดเยี่ยม จากเรื่อง [[แม่ศรีไพร]]
| สุพรรณหงส์ =
| ชมรมวิจารณ์บันเทิง =
| โทรทัศน์ทองคำ =
| เมขลา =
| imdb_id =
| thaifilmdb_id =
}}


'''พีระ ตรีบุปผา''' ([[28 เมษายน]] [[พ.ศ. 2475]]-[[27 เมษายน]] [[พ.ศ. 2545]]) นักแต่งเพลง นักดนตรี นักเรียบเรียงเสียงประสานชาวไทย ที่มีผลงานสร้างชื่อจากการทำเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง [[มนต์รักลูกทุ่ง]] ([[พ.ศ. 2513]]) <ref name="สยามดารา">[http://www.siamdara.com/ColumnDetail.asp?cid=1477 ที่มาชื่อเรื่อง ''มนต์รักลูกทุ่ง'' จาก สยามดารา]</ref> เกิดที่[[อำเภอเสนา]] [[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]] เป็นบุตรของนายติ่ง และนางตั่ง ตรีบุปผา สำเร็จการศึกษาระดับ[[มัธยมศึกษา]]ตอนปลาย ที่โรงเรียนประจำอำเภอเสนา

พีระเข้าสู่วงการเพลงโดยเริ่มแต่งเพลงเมื่อปี [[พ.ศ. 2492]] ในระยะแรกมักจะยึดแม่แบบจากนักร้อง[[สมยศ ทัศนพันธ์]] มาใช้ในการแต่งเพลง จนขอฝากตัวเป็นศิษย์ของสมยศ นอกจากนี้ยังมีโอกาสร้องเพลงสลับภาพยนตร์ไทย และร้องเพลงออกอากาศตามสถานีวิทยุต่างๆ อีกทั้งได้ตั้งวงดนตรี "พีระศิลป์" โดยทำการบรรเลงผ่านทางสถานีวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ โดยใช้ผลงานการประพันธ์เพลงของตัวเองทั้งหมด

ครูพีระมีผลงานการแต่งเพลงกับ สมยศ ทัศนพันธ์ เช่น แม่นางนกขมิ้น เสียงครวญจากเหมันต์ น่านน้ำคืนเพ็ญ แก้วลืมคอน อย่ามาคิดถึงฉันเลย ผู้เสียสละ ซึ่งเพลง "ผู้เสียสละ" นี้เองที่ [[สายัณห์ สัญญา]] นำมาขับร้องบันทึกเสียงในเวลาต่อมา โดยครูพีระยังรับหน้าที่เรียบเรียงเสียงประสาน จนได้รับ[[รางวัลเสาอากาศทองคำพระราชทาน]] ประเภทเรียบเรียงเสียงประสานเพลงลูกทุ่งยอดเยี่ยม ประจำปี [[พ.ศ. 2521]] และยังแต่งเพลงให้กับนักร้องอีกหลายท่าน อาทิ [[ทูล ทองใจ]] (กระท่อมวิปโยค) [[ไพรวัลย์ ลูกเพชร]] (วิวาห์สะอื้น) เป็นต้น

ด้านการเรียบเรียงเสียงประสาน ครูพีระเริ่มหัดเรียนเขียนโน้ตจากการอ่านตำราของ[[พระเจนดุริยางค์]]<ref name="ครูเพลงตัวเล็ก ผลงานใหญ่ พีระ ตรีบุปผา">[http://www.komchadluek.net/detail/20090427/10644/%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%9C%E0%B8%B2.html ครูเพลงตัวเล็ก ผลงานใหญ่พีระ ตรีบุปผา]</ref> จนกลายเป็นบันไดขั้นสำคัญที่ทำให้ก้าวเข้ามายึดอาชีพนี้ โดยมีผลงานเรียบเรียงเพลงไว้จำนวนมากมาย เช่นเพลง มนต์รักแม่กลอง, รักแล้งเดือนห้า ฯลฯ รวมถึงสร้างดนตรีประกอบ[[ภาพยนตร์ไทย]]เป็นจำนวนราว 150 เรื่องในยุคทองของหนังเพลงลูกทุ่ง (พ.ศ. 2509-2529)<ref>[http://news.sanook.com/entertain/entertain_237591.php คมเคียวคมปากกา-เพลงดีครูพีระ] จาก คม ชัด ลึก</ref> อาทิ "มนต์รักลูกทุ่ง", แว่วเสียงซึง, แม่ศรีไพร, แคนลำโขง, ชาติลำชี, สุรพลลูกพ่อ, เทพธิดาโรงแรม, 7 ประจัญบาน, ลูกสาวกำนัน, ทุ่งกุลาร้องไห้ ฯลฯ<ref>[http://www.siamdara.com/ColumnDetail.asp?cid=7771 คิดถึงครูพีระ จาก สยามดารา]</ref> โดยมักใช้ความอลังการของเครื่องดนตรีหลากชนิดมาถ่ายทอดได้อย่างเหมาะสม

ชีวิตส่วนตัว ครูพีระ สมรสกับนางสมจิตต์ ตรีบุปผา มีบุตรทั้งสิ้น 2 คน

ครูพีระ ตรีบุปผา เสียชีวิตเมื่อวันที่ [[27 เมษายน]] [[พ.ศ. 2545]] เนื่องด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตต่ำ และเส้นเลือดตีบ สิริอายุได้ 69 ปี <ref name="ครูเพลงตัวเล็ก ผลงานใหญ่ พีระ ตรีบุปผา"/>

==รางวัลเกียรติยศ==
* [[รางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน]] จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากเพลง "พุทธภาษิต" ประเภทคำร้อง ทำนอง และเรียบเรียงเสียงประสาน (พ.ศ. 2508)
* รางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ประเภท ก. จากเพลง "มนต์รักชาวไร่" (พ.ศ. 2514)
* รางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ประเภท ข. จากเพลง "แว่วเสียงซึง" (พ.ศ. 2514)
* รางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ประเภท ค. ดนตรีลูกทุ่งยอดเยี่ยม จากเพลง "มนต์รักชาวไร่" (พ.ศ. 2514)
* [[รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี]] ประเภทดนตรีประกอบภาพยนตร์ไทยยอดเยี่ยม จากเรื่อง "แม่ศรีไพร" (พ.ศ. 2517)
* [[รางวัลเสาอากาศทองคำพระราชทาน]] ประเภทเรียบเรียงเสียงประสานยอดเยี่ยม เพลงลูกทุ่ง จากเพลง "ผู้เสียสละ" (พ.ศ. 2521)<ref name="ครูเพลงตัวเล็ก ผลงานใหญ่ พีระ ตรีบุปผา"/>


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:21, 22 มกราคม 2557

พีระ ตรีบุปผา
เกิด28 เมษายน พ.ศ. 2475
พีระ ตรีบุปผา
เสียชีวิต27 เมษายน พ.ศ. 2545
คู่สมรสสมจิตต์ ตรีบุปผา
อาชีพนักแต่งเพลง นักดนตรี นักเรียบเรียงเสียงประสาน
ปีที่แสดงพ.ศ. 2492 - พ.ศ. 2545
พระสุรัสวดีพ.ศ. 2517 - เพลงและดนตรีประกอบยอดเยี่ยม จากเรื่อง แม่ศรีไพร

พีระ ตรีบุปผา (28 เมษายน พ.ศ. 2475-27 เมษายน พ.ศ. 2545) นักแต่งเพลง นักดนตรี นักเรียบเรียงเสียงประสานชาวไทย ที่มีผลงานสร้างชื่อจากการทำเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง มนต์รักลูกทุ่ง (พ.ศ. 2513) [1] เกิดที่อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายติ่ง และนางตั่ง ตรีบุปผา สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่โรงเรียนประจำอำเภอเสนา

พีระเข้าสู่วงการเพลงโดยเริ่มแต่งเพลงเมื่อปี พ.ศ. 2492 ในระยะแรกมักจะยึดแม่แบบจากนักร้องสมยศ ทัศนพันธ์ มาใช้ในการแต่งเพลง จนขอฝากตัวเป็นศิษย์ของสมยศ นอกจากนี้ยังมีโอกาสร้องเพลงสลับภาพยนตร์ไทย และร้องเพลงออกอากาศตามสถานีวิทยุต่างๆ อีกทั้งได้ตั้งวงดนตรี "พีระศิลป์" โดยทำการบรรเลงผ่านทางสถานีวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ โดยใช้ผลงานการประพันธ์เพลงของตัวเองทั้งหมด

ครูพีระมีผลงานการแต่งเพลงกับ สมยศ ทัศนพันธ์ เช่น แม่นางนกขมิ้น เสียงครวญจากเหมันต์ น่านน้ำคืนเพ็ญ แก้วลืมคอน อย่ามาคิดถึงฉันเลย ผู้เสียสละ ซึ่งเพลง "ผู้เสียสละ" นี้เองที่ สายัณห์ สัญญา นำมาขับร้องบันทึกเสียงในเวลาต่อมา โดยครูพีระยังรับหน้าที่เรียบเรียงเสียงประสาน จนได้รับรางวัลเสาอากาศทองคำพระราชทาน ประเภทเรียบเรียงเสียงประสานเพลงลูกทุ่งยอดเยี่ยม ประจำปี พ.ศ. 2521 และยังแต่งเพลงให้กับนักร้องอีกหลายท่าน อาทิ ทูล ทองใจ (กระท่อมวิปโยค) ไพรวัลย์ ลูกเพชร (วิวาห์สะอื้น) เป็นต้น

ด้านการเรียบเรียงเสียงประสาน ครูพีระเริ่มหัดเรียนเขียนโน้ตจากการอ่านตำราของพระเจนดุริยางค์[2] จนกลายเป็นบันไดขั้นสำคัญที่ทำให้ก้าวเข้ามายึดอาชีพนี้ โดยมีผลงานเรียบเรียงเพลงไว้จำนวนมากมาย เช่นเพลง มนต์รักแม่กลอง, รักแล้งเดือนห้า ฯลฯ รวมถึงสร้างดนตรีประกอบภาพยนตร์ไทยเป็นจำนวนราว 150 เรื่องในยุคทองของหนังเพลงลูกทุ่ง (พ.ศ. 2509-2529)[3] อาทิ "มนต์รักลูกทุ่ง", แว่วเสียงซึง, แม่ศรีไพร, แคนลำโขง, ชาติลำชี, สุรพลลูกพ่อ, เทพธิดาโรงแรม, 7 ประจัญบาน, ลูกสาวกำนัน, ทุ่งกุลาร้องไห้ ฯลฯ[4] โดยมักใช้ความอลังการของเครื่องดนตรีหลากชนิดมาถ่ายทอดได้อย่างเหมาะสม

ชีวิตส่วนตัว ครูพีระ สมรสกับนางสมจิตต์ ตรีบุปผา มีบุตรทั้งสิ้น 2 คน

ครูพีระ ตรีบุปผา เสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2545 เนื่องด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตต่ำ และเส้นเลือดตีบ สิริอายุได้ 69 ปี [2]

รางวัลเกียรติยศ

  • รางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากเพลง "พุทธภาษิต" ประเภทคำร้อง ทำนอง และเรียบเรียงเสียงประสาน (พ.ศ. 2508)
  • รางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ประเภท ก. จากเพลง "มนต์รักชาวไร่" (พ.ศ. 2514)
  • รางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ประเภท ข. จากเพลง "แว่วเสียงซึง" (พ.ศ. 2514)
  • รางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ประเภท ค. ดนตรีลูกทุ่งยอดเยี่ยม จากเพลง "มนต์รักชาวไร่" (พ.ศ. 2514)
  • รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ประเภทดนตรีประกอบภาพยนตร์ไทยยอดเยี่ยม จากเรื่อง "แม่ศรีไพร" (พ.ศ. 2517)
  • รางวัลเสาอากาศทองคำพระราชทาน ประเภทเรียบเรียงเสียงประสานยอดเยี่ยม เพลงลูกทุ่ง จากเพลง "ผู้เสียสละ" (พ.ศ. 2521)[2]

อ้างอิง