ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พีระ ตรีบุปผา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: แทนที่คำ
Eakeakeak (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล นักแสดง
| bgcolour =
| name = พีระ ตรีบุปผา
| image =
| imagesize =
| caption =
| birthname = พีระ ตรีบุปผา
| nickname =
| birthdate = [[28 เมษายน]] [[พ.ศ. 2475]]
| location = [[อำเภอเสนา]] [[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]]
| deathdate = [[27 เมษายน]] [[พ.ศ. 2545]]
| deathplace =
| spouse = สมจิตต์ ตรีบุปผา
| othername =
| occupation = นักแต่งเพลง นักดนตรี นักเรียบเรียงเสียงประสาน
| yearsactive = พ.ศ. 2492 - พ.ศ. 2545
| notable role =
| เครื่องดนตรี =
| แนวเพลง = [[ลูกทุ่ง]], [[ลูกกรุง]], เพลงประกอบภาพยนตร์
| ค่าย =
| ส่วนเกี่ยวข้อง = [[สมยศ ทัศนพันธ์]]<br>[[สายัณห์ สัญญา]]
| homepage =
| academyawards =
| emmyawards =
| tonyawards =
| goldenglobeawards =
| baftaawards =
| cesarawards =
| goyaawards =
| afiawards =
| filmfareawards =
| olivierawards =
| grammyawards =
| ตุ๊กตาทอง = [[พ.ศ. 2517]] - เพลงและดนตรีประกอบยอดเยี่ยม จากเรื่อง [[แม่ศรีไพร]]
| สุพรรณหงส์ =
| ชมรมวิจารณ์บันเทิง =
| โทรทัศน์ทองคำ =
| เมขลา =
| imdb_id =
| thaifilmdb_id =
}}


'''พีระ ตรีบุปผา''' ([[28 เมษายน]] [[พ.ศ. 2475]]-[[27 เมษายน]] [[พ.ศ. 2545]]) นักแต่งเพลง นักดนตรี นักเรียบเรียงเสียงประสานชาวไทย ที่มีผลงานสร้างชื่อจากการทำเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง [[มนต์รักลูกทุ่ง]] ([[พ.ศ. 2513]]) <ref name="สยามดารา">[http://www.siamdara.com/ColumnDetail.asp?cid=1477 ที่มาชื่อเรื่อง ''มนต์รักลูกทุ่ง'' จาก สยามดารา]</ref> เกิดที่[[อำเภอเสนา]] [[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]] เป็นบุตรของนายติ่ง และนางตั่ง ตรีบุปผา สำเร็จการศึกษาระดับ[[มัธยมศึกษา]]ตอนปลาย ที่โรงเรียนประจำอำเภอเสนา

พีระเข้าสู่วงการเพลงโดยเริ่มแต่งเพลงเมื่อปี [[พ.ศ. 2492]] ในระยะแรกมักจะยึดแม่แบบจากนักร้อง[[สมยศ ทัศนพันธ์]] มาใช้ในการแต่งเพลง จนขอฝากตัวเป็นศิษย์ของสมยศ นอกจากนี้ยังมีโอกาสร้องเพลงสลับภาพยนตร์ไทย และร้องเพลงออกอากาศตามสถานีวิทยุต่างๆ อีกทั้งได้ตั้งวงดนตรี "พีระศิลป์" โดยทำการบรรเลงผ่านทางสถานีวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ โดยใช้ผลงานการประพันธ์เพลงของตัวเองทั้งหมด

ครูพีระมีผลงานการแต่งเพลงกับ สมยศ ทัศนพันธ์ เช่น แม่นางนกขมิ้น เสียงครวญจากเหมันต์ น่านน้ำคืนเพ็ญ แก้วลืมคอน อย่ามาคิดถึงฉันเลย ผู้เสียสละ ซึ่งเพลง "ผู้เสียสละ" นี้เองที่ [[สายัณห์ สัญญา]] นำมาขับร้องบันทึกเสียงในเวลาต่อมา โดยครูพีระยังรับหน้าที่เรียบเรียงเสียงประสาน จนได้รับ[[รางวัลเสาอากาศทองคำพระราชทาน]] ประเภทเรียบเรียงเสียงประสานเพลงลูกทุ่งยอดเยี่ยม ประจำปี [[พ.ศ. 2521]] และยังแต่งเพลงให้กับนักร้องอีกหลายท่าน อาทิ [[ทูล ทองใจ]] (กระท่อมวิปโยค) [[ไพรวัลย์ ลูกเพชร]] (วิวาห์สะอื้น) เป็นต้น

ด้านการเรียบเรียงเสียงประสาน ครูพีระเริ่มหัดเรียนเขียนโน้ตจากการอ่านตำราของ[[พระเจนดุริยางค์]]<ref name="ครูเพลงตัวเล็ก ผลงานใหญ่ พีระ ตรีบุปผา">[http://www.komchadluek.net/detail/20090427/10644/%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%9C%E0%B8%B2.html ครูเพลงตัวเล็ก ผลงานใหญ่พีระ ตรีบุปผา]</ref> จนกลายเป็นบันไดขั้นสำคัญที่ทำให้ก้าวเข้ามายึดอาชีพนี้ โดยมีผลงานเรียบเรียงเพลงไว้จำนวนมากมาย เช่นเพลง มนต์รักแม่กลอง, รักแล้งเดือนห้า ฯลฯ รวมถึงสร้างดนตรีประกอบ[[ภาพยนตร์ไทย]]เป็นจำนวนราว 150 เรื่องในยุคทองของหนังเพลงลูกทุ่ง (พ.ศ. 2509-2529)<ref>[http://news.sanook.com/entertain/entertain_237591.php คมเคียวคมปากกา-เพลงดีครูพีระ] จาก คม ชัด ลึก</ref> อาทิ "มนต์รักลูกทุ่ง", แว่วเสียงซึง, แม่ศรีไพร, แคนลำโขง, ชาติลำชี, สุรพลลูกพ่อ, เทพธิดาโรงแรม, 7 ประจัญบาน, ลูกสาวกำนัน, ทุ่งกุลาร้องไห้ ฯลฯ<ref>[http://www.siamdara.com/ColumnDetail.asp?cid=7771 คิดถึงครูพีระ จาก สยามดารา]</ref> โดยมักใช้ความอลังการของเครื่องดนตรีหลากชนิดมาถ่ายทอดได้อย่างเหมาะสม

ชีวิตส่วนตัว ครูพีระ สมรสกับนางสมจิตต์ ตรีบุปผา มีบุตรทั้งสิ้น 2 คน

ครูพีระ ตรีบุปผา เสียชีวิตเมื่อวันที่ [[27 เมษายน]] [[พ.ศ. 2545]] เนื่องด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตต่ำ และเส้นเลือดตีบ สิริอายุได้ 69 ปี <ref name="ครูเพลงตัวเล็ก ผลงานใหญ่ พีระ ตรีบุปผา"/>

==รางวัลเกียรติยศ==
* [[รางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน]] จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากเพลง "พุทธภาษิต" ประเภทคำร้อง ทำนอง และเรียบเรียงเสียงประสาน (พ.ศ. 2508)
* รางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ประเภท ก. จากเพลง "มนต์รักชาวไร่" (พ.ศ. 2514)
* รางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ประเภท ข. จากเพลง "แว่วเสียงซึง" (พ.ศ. 2514)
* รางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ประเภท ค. ดนตรีลูกทุ่งยอดเยี่ยม จากเพลง "มนต์รักชาวไร่" (พ.ศ. 2514)
* [[รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี]] ประเภทดนตรีประกอบภาพยนตร์ไทยยอดเยี่ยม จากเรื่อง "แม่ศรีไพร" (พ.ศ. 2517)
* [[รางวัลเสาอากาศทองคำพระราชทาน]] ประเภทเรียบเรียงเสียงประสานยอดเยี่ยม เพลงลูกทุ่ง จากเพลง "ผู้เสียสละ" (พ.ศ. 2521)<ref name="ครูเพลงตัวเล็ก ผลงานใหญ่ พีระ ตรีบุปผา"/>


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:20, 22 มกราคม 2557


อ้างอิง