ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มัชฌิมาปฏิปทา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 24: บรรทัด 24:
และการปรับสมดุลทำให้เกิดชีวิต ทำให้สิ่งทั้งปวงย่อมต้องเปลี่ยนแปลงสถานะเดิม อย่างธาตุดิน (ของแข็ง) เปลี่ยนเป็นธาตุน้ำ (ของเหลว) เปลี่ยนเป็นธาตุลม (แก๊ส) และเปลี่ยนเป็นธาตุไฟ (แสง ความร้อน พลังงาน) และเปลี่ยนไปไม่สิ้นสุด แม้จะเปลี่ยนแปลงแต่การเปลี่ยนแปลงก็มีขีดจำกัดทำให้เกิดกฎแห่งวัฏจักรหรือวัฏฏะ โลก จักรวาล กาแล็กซี ย่อมหมุนเป็นวงกลม สิ่งมีชีวิตเริ่มต้นถึงที่สุดก็กลับมาตั้งต้นใหม่ การปรับสมดุลที่รักษาข้อมูลหรือพันธุ์กรรมของสิ่งมีชีวิต เช่นเดียวกับจิตที่เกิดดับตลอดเวลา แต่ก็จะถ่ายเทข้อมูลหรือภวังคจิตอันเป็นเช่นกับพันธุกรรมของจิต สู่จิตดวงใหม่ก่อนจิตดวงเก่าจะดับลงทำให้เกิด'''สันตติ''' การสืบต่อ การถ่ายทอดพันธุกรรมตามกฎพีชนิยามทำให้ลูกมาจากปัจจัยพ่อแม่ของตน ทำให้ลูกเหมือนพ่อแม่ของตน แต่กฎอนิจจังความไม่แน่นอนทำให้สัตว์ พืช อาจไม่เหมือนพ่อแม่ของตนได้นิดหน่อย
และการปรับสมดุลทำให้เกิดชีวิต ทำให้สิ่งทั้งปวงย่อมต้องเปลี่ยนแปลงสถานะเดิม อย่างธาตุดิน (ของแข็ง) เปลี่ยนเป็นธาตุน้ำ (ของเหลว) เปลี่ยนเป็นธาตุลม (แก๊ส) และเปลี่ยนเป็นธาตุไฟ (แสง ความร้อน พลังงาน) และเปลี่ยนไปไม่สิ้นสุด แม้จะเปลี่ยนแปลงแต่การเปลี่ยนแปลงก็มีขีดจำกัดทำให้เกิดกฎแห่งวัฏจักรหรือวัฏฏะ โลก จักรวาล กาแล็กซี ย่อมหมุนเป็นวงกลม สิ่งมีชีวิตเริ่มต้นถึงที่สุดก็กลับมาตั้งต้นใหม่ การปรับสมดุลที่รักษาข้อมูลหรือพันธุ์กรรมของสิ่งมีชีวิต เช่นเดียวกับจิตที่เกิดดับตลอดเวลา แต่ก็จะถ่ายเทข้อมูลหรือภวังคจิตอันเป็นเช่นกับพันธุกรรมของจิต สู่จิตดวงใหม่ก่อนจิตดวงเก่าจะดับลงทำให้เกิด'''สันตติ''' การสืบต่อ การถ่ายทอดพันธุกรรมตามกฎพีชนิยามทำให้ลูกมาจากปัจจัยพ่อแม่ของตน ทำให้ลูกเหมือนพ่อแม่ของตน แต่กฎอนิจจังความไม่แน่นอนทำให้สัตว์ พืช อาจไม่เหมือนพ่อแม่ของตนได้นิดหน่อย


เมื่อสิ่งต่างๆมีผลกระทบต่อกันในด้านต่างๆ จำต้องปรับสมดุลเพื่อรักษาระบบทำให้เกิด'''ชีวิตา'''หรือกฎแห่งหน้าที่ ทำให้มีความเป็นระเบียบของระบบทำงานของร่างกาย เช่น ตับย่อมทำหน้าที่ของตับ ไม่อาจทำหน้าที่เป็นกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้เกิด'''[[ฆนะ]]''' ความเป็นก้อน รูปร่าง หรือการเป็นโครงสร้าง ที่ปิดบังกฎ'''[[อนัตตา]]'''แห่งไตรลักษณ์ได้ และถ้าธาตุทั้งสี่ไม่มีกฎแห่งหน้าที่นี้ ที่เป็นเหตุให้ธาตุประกอบกันเป็นร่างกาย ร่างกายย่อมต้องแตกแยกสลายไป สิ่งทั้งปวงไม่มีตัวตนอยู่เองโดยไม่เกี่ยวเนี่ยวกับใคร มีตัวตนเพราะอาศัยปัจจัยต่างๆประกอบกันขึ้น เช่น ต้นไม้ย่อมอาศัยแสง ดิน น้ำ แร่ธาตุ ราก ใบ กิ่ง แก่น ลำต้น อากาศ ทำให้ดำรงอยู่ได้ สิ่งทั้งปวงย่อมเกี่ยวเนี่องซึ่งกันและกัน อย่างร่างกายของเราย่อมเกิดจากความเกี่ยวข้องกันเล็กๆน้อยและเพิ่มขึ้นซับซ้อนพัฒนาขึ้น เพราะการปรับสมดุลของธรรมชาติ ตามหลักมัชเฌนธรรม
เมื่อสิ่งต่างๆมีผลกระทบต่อกันในด้านต่างๆ จำต้องปรับสมดุลเพื่อรักษาระบบทำให้เกิด'''[[ปฏิจจสมุปบาท|ปัจจยตา]]'''หรือกฎแห่งหน้าที่ ทำให้มีความเป็นระเบียบของระบบทำงานของร่างกาย เช่น ตับย่อมทำหน้าที่ของตับ ไม่อาจทำหน้าที่เป็นกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้เกิด'''[[ฆนะ]]''' ความเป็นก้อน รูปร่าง หรือการเป็นโครงสร้าง ที่ปิดบังกฎ'''[[อนัตตา]]'''แห่งไตรลักษณ์ได้ และถ้าธาตุทั้งสี่ไม่มีกฎแห่งหน้าที่นี้ ที่เป็นเหตุให้ธาตุประกอบกันเป็นร่างกาย ร่างกายย่อมต้องแตกแยกสลายไป สิ่งทั้งปวงไม่มีตัวตนอยู่เองโดยไม่เกี่ยวเนี่ยวกับใคร มีตัวตนเพราะอาศัยปัจจัยต่างๆประกอบกันขึ้น เช่น ต้นไม้ย่อมอาศัยแสง ดิน น้ำ แร่ธาตุ ราก ใบ กิ่ง แก่น ลำต้น อากาศ ทำให้ดำรงอยู่ได้ สิ่งทั้งปวงย่อมเกี่ยวเนี่องซึ่งกันและกัน อย่างร่างกายของเราย่อมเกิดจากความเกี่ยวข้องกันเล็กๆน้อยและเพิ่มขึ้นซับซ้อนพัฒนาขึ้น เพราะการปรับสมดุลของธรรมชาติ ตามหลักมัชเฌนธรรม


หลักมัชเฌนธรรมจัดได้ว่าเป็นกฎแห่งพีชนิยามของนิยามทั้ง5
หลักมัชเฌนธรรมจัดได้ว่าเป็นกฎแห่งพีชนิยามของนิยามทั้ง5
#ทุกขัง (ความทนได้ยาก)ทำให้เกิดกฎสมตา(ความสมดุล) ทำให้มี อิริยาบถ(การบริหารปรับตัว) ที่บิดบังทุกขัง และกฎทุกขังจะทำลายกฎสมตานั้นในที่สุด
#ทุกขัง (ความทนได้ยาก)ทำให้เกิดกฎสมตา(ความสมดุล) ทำให้มี อิริยาบถ(การบริหารปรับตัว) ที่บิดบังทุกขัง และกฎทุกขังจะทำลายกฎสมตานั้นในที่สุด
#อนิจจัง (ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน) ทำให้เกิดกฎวัฏฏะ(การหมุนวนเวียน)ทำให้มีสันตติ(การสืบต่อ)ที่ปิดบังอนิจจัง และกฎอนิจจังจะทำลายกฎวัฏฏะในที่สุด
#อนิจจัง (ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน) ทำให้เกิดกฎวัฏฏะ(การหมุนวนเวียน)ทำให้มีสันตติ(การสืบต่อ)ที่ปิดบังอนิจจัง และกฎอนิจจังจะทำลายกฎวัฏฏะในที่สุด
#อนัตตา (ไม่ใช่ตัวตน) ทำให้เกิดกฎชีวิตา (การมีระบบระเบียบของโครงสร้าง)ทำให้มี ฆนะ(ความเป็นก้อน,รูปร่าง,โครงสร้าง)ที่ปิดบังอนัตตาและกฎอนัตตาจะทำลายกฎชีวิตาในที่สุด<ref>พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๗ มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑ ปัจจัย ๒๔</ref>
#อนัตตา (ไม่ใช่ตัวตน) ทำให้เกิดกฎปัจจยตา (การมีระบบระเบียบของโครงสร้าง)ทำให้มี ฆนะ(ความเป็นก้อน,รูปร่าง,โครงสร้าง)ที่ปิดบังอนัตตาและกฎอนัตตาจะทำลายกฎชีวิตาในที่สุด<ref>พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๗ มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑ ปัจจัย ๒๔</ref>


== ดูเพิ่ม ==
== ดูเพิ่ม ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:59, 10 มกราคม 2557

มัชฌิมาปฏิปทาในทางพุทธศาสนาหมายถึงทางสายกลาง คือ การไม่ยึดถือสุดทางทั้ง 2 ได้แก่ อัตตกิลมถานุโยค คือ การประกอบตนเองให้ลำบากเกินไป กามสุขัลลิกานุโยค คือ การพัวพันในกามในความสบาย ที่ไม่ใช่ทางสายกลาง คือ สักแต่ว่ากลาง โดยเป็นแต่เพียงโวหารไม่ได้กำหนดวิธีที่ถูกต้องไว้เลย แต่พระพุทธองเจ้าได้ทรงกำหนดหลักทางสายกลางนี้ไว้อย่างชัดเจน คือ อริยมรรคมีองค์ 8 เมื่อย่นย่อแล้ว เรียกว่า "ไตรสิกขา" ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา

มัชฌิมาปฏิปทาหมายถึงการปฏิบัติสายกลาง ซึ่งเป็นหลักจริยธรรมย่อมต้องคู่กับหลักสัจจธรรมอันเป็นสายกลางเช่นกัน โดยที่หลักสัจจธรรมอันเป็นสายกลางนี้เรียกว่ามัชเฌนธรรม หรือหลักทฤษฎีที่ว่าด้วยความสมดุล (สมตา)ที่มีลักษณะเป็นกฎธรรมชาติสากลของสรรพสิ่ง

มัชฌิมาปฏิปทาใช้ในความหมายถึงความพอเพียง หรือการใช้ชีวิตที่ถูกต้องตามหลัก สัมมาอาชีวะ คือใช้ชีวิตอย่างรู้ประมาณในการบริโภค คือใช้ปัจจัยสี่เท่าที่จำเป็น ไม่ใช่ใช้ตามความต้องการเพื่อสนองความอยาก

มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง หมายถึง ทางปฏิบัติที่ไม่สุดโต่งไปในทางอุดมการณ์ใดอุดมการณ์หนึ่งเกินไป มุ่งเน้นใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา มักไม่ยืดถือหลักการอย่างงมงาย

มัชฌิมาปฏิปทาในทางจิตวิญญาณหมายถึงสติ สติเป็นความสมดุลทางจิตอย่างหนึ่ง คือสมดุลระหว่างศรัทธาและปัญญา สติจะอยู่ตรงกลางระหว่างอารมณ์และเหตุผล ถ้าความคิดเปรียบเป็นน้ำไหล สมาธิเปรียบเป็นน้ำนิ่ง สติจะเป็นน้ำไหลนิ่ง สติเป็นทางสายกลางทางจิตวิญญาณ


มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลาง หมายถึง ความสมดุล ความเหมาะสม ความเสมอ ความพอดี ซึ่งเป็นความประสานสอดคล้องกันระหว่างข้อปฏิบัติปลีกย่อยต่างๆ ที่มาประชุมกันร่วมกันทำงาน ข้อปฏิบัติต่างๆ ในพระพุทธศาสนาจะต้องมีสมตาคือความสมดุล ซึ่งเป็นความพอดีชนิดหนึ่ง เป็นชื่อเรียกสติอีกอย่างหนึ่ง เช่นความสมดุลระหว่างวิริยะกับสมาธิ และความพอดีระหว่างศรัทธากับปัญญา โดยมีสติเป็นเครื่องควบคุม

มัชฌิมาปฏิปทา ใช้ในความหมายอีกอย่างหนึ่งว่า มัตตัญญุตา คือ ความรู้จักประมาณ หรือรู้จักพอดีในการปฏิบัติต่างๆ โดยทั่วไป หรือรู้จักพอดีที่เป็นหลักกลางๆ เช่น จะรับประทานอาหารก็ต้องมีความรู้จักประมาณ รู้จักพอดีในอาหาร ถ้ารับประทานอาหารไม่พอดีก็เกิดโทษแก่ร่างกาย แทนที่จะได้สุขภาพ แทนที่จะได้กำลัง ก็อาจจะเสียสุขภาพ และอาจจะทอนกำลังทำให้อ่อนแอลงไป หรือเกิดโรค เพราะฉะนั้นท่านจึงสอนให้มีความรู้จักประมาณในการบริโภค เรียกว่า โภชเนมัตตัญญุตา

จะเห็นว่าหลักพระพุทธศาสนาในทุกระดับมีเรื่องของความพอดี หรือความเป็นสายกลางนี้ ฉะนั้นความเป็นสายกลาง คือ ความพอดีที่จะให้ถึงจุดหมาย และที่จะให้ตรงกับความจริง ไม่ให้ไปสุดโต่ง เอียงสุด ซึ่งจะพลาดจากตัวความจริงไปนั้น จึงเป็นลักษณะทั่วไปอย่างหนึ่งของพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสายกลางทั้งหลักทฤษฎี(มัชเฌนธรรม) และหลักการปฏิบัติ(มัชฌิมาปฏิปทา)

อีกตัวอย่างหนึ่ง มองกว้างออกไปอีกมัชฌิมาปฏิปทาในแนวคิดที่เป็นกฎธรรมชาติซึ่งเป็นสัจจธรรมอันคู่กับหลักจริยธรรมของมัชฌิมาปฏิปทาได้แก่หลักมัชเฌนธรรม หรือหลักสมตาความสมดุล ที่กล่าวแสดงไว้ว่าความสมดุลเป็นกฎธรรมชาติ จัดเป็นกฎพีชนิยาม ความสมดุลเป็นเหตุุให้สิ่งต่างๆดำรงอยู่ไม่แตกสลายไปตามกฎไตรลักษณ์เร็วนัก และทำให้เกิดการปรับสภาพให้เหมาะสมของสรรพสิ่ง อันเป็นเหตุให้มีสภาวะข้อมูลของสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะสิ่งมีชีวิต ที่มีข้อมูลต่างๆเพราะการปรับสมดุล ที่ทำให้เกิดการปรับตัวมีกลไกขึ้น และยังทำให้เกิดความเป็นระเบียบของข้อมูล จึงเกิดมีระบบชีวิต ทำให้มีการดำรงอยู่ อันเป็นเหตุให้เกิดการถ่ายทอดจนเกิดวัฏฏะ(หมุนวนเวียน)มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป กลับไปกลับมาที่ทำให้เกิดสันตติ(การสืบต่อ)ที่สามารถปิดบังกฎอนิจจัง(ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน)แห่งไตรลักษณ์ได้ รวมถึงการที่ธรรมชาติมีความสมดุลจนโลกเหมาะสมที่จะมีสิ่งมีชีวิตอยู่ได้ ตลอดจนสรรพชีวิตและธรรมชาติมีวัฏจักรสมดุลสัมพันธ์ต่อกันเพราะกฎแห่งความสมดุลนี้

ทุกขัง (ความบีบคั้นทนอยู่ในสภาพเดิม)ของสรรพสิ่ง คือสิ่งทั้งปวงหยุดนิ่งมิได้เหมือนจะต้องระเบิดอยู่ตลอดเวลา อย่างแสงอาทิตย์ต้องวิ่งมาชนโลก โลก จักรวาล กาแล๊คซี่ต้องหมุน ลมต้องพัด เปลือกโลกต้องเคลื่อน ทำให้ธรรมชาติเกิดการปรับสมดุล เช่นเรานอนเฉยๆต้องขยับ หรือวิ่งมากๆต้องหยุด เช่นความร้อนย่อมต่องการสลายตัวไปที่เย็นกว่า ไฟฟ้าในเมฆพายุฝนที่มีมากทิ้งมาที่พื้นโลกจนเกิดฟ้าผ่า ที่ ๆ เป็นสุญญากาศย่อมดึงให้สิ่งที่มีอยู่เข้ามา ความทุกข์เองทำให้เกิดการวิวัฒนาการของสัตว์ พืช เช่นพืชที่ปลูกถี่ๆกันย่อมแย่งกันสูงเพื่อแย่งแสงอาทิตย์ในการอยู่รอด โดยการปรับสมดุลของร่างกายที่จะบริหารหนีทุกข์ของสิ่งมีชีวิต ทำให้เกิดอิริยาบถ(การบริหารกายและจิต)ที่สามารถปิดบังกฎทุกขังแห่งไตรลักษณ์ได้

และการปรับสมดุลทำให้เกิดชีวิต ทำให้สิ่งทั้งปวงย่อมต้องเปลี่ยนแปลงสถานะเดิม อย่างธาตุดิน (ของแข็ง) เปลี่ยนเป็นธาตุน้ำ (ของเหลว) เปลี่ยนเป็นธาตุลม (แก๊ส) และเปลี่ยนเป็นธาตุไฟ (แสง ความร้อน พลังงาน) และเปลี่ยนไปไม่สิ้นสุด แม้จะเปลี่ยนแปลงแต่การเปลี่ยนแปลงก็มีขีดจำกัดทำให้เกิดกฎแห่งวัฏจักรหรือวัฏฏะ โลก จักรวาล กาแล็กซี ย่อมหมุนเป็นวงกลม สิ่งมีชีวิตเริ่มต้นถึงที่สุดก็กลับมาตั้งต้นใหม่ การปรับสมดุลที่รักษาข้อมูลหรือพันธุ์กรรมของสิ่งมีชีวิต เช่นเดียวกับจิตที่เกิดดับตลอดเวลา แต่ก็จะถ่ายเทข้อมูลหรือภวังคจิตอันเป็นเช่นกับพันธุกรรมของจิต สู่จิตดวงใหม่ก่อนจิตดวงเก่าจะดับลงทำให้เกิดสันตติ การสืบต่อ การถ่ายทอดพันธุกรรมตามกฎพีชนิยามทำให้ลูกมาจากปัจจัยพ่อแม่ของตน ทำให้ลูกเหมือนพ่อแม่ของตน แต่กฎอนิจจังความไม่แน่นอนทำให้สัตว์ พืช อาจไม่เหมือนพ่อแม่ของตนได้นิดหน่อย

เมื่อสิ่งต่างๆมีผลกระทบต่อกันในด้านต่างๆ จำต้องปรับสมดุลเพื่อรักษาระบบทำให้เกิดปัจจยตาหรือกฎแห่งหน้าที่ ทำให้มีความเป็นระเบียบของระบบทำงานของร่างกาย เช่น ตับย่อมทำหน้าที่ของตับ ไม่อาจทำหน้าที่เป็นกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้เกิดฆนะ ความเป็นก้อน รูปร่าง หรือการเป็นโครงสร้าง ที่ปิดบังกฎอนัตตาแห่งไตรลักษณ์ได้ และถ้าธาตุทั้งสี่ไม่มีกฎแห่งหน้าที่นี้ ที่เป็นเหตุให้ธาตุประกอบกันเป็นร่างกาย ร่างกายย่อมต้องแตกแยกสลายไป สิ่งทั้งปวงไม่มีตัวตนอยู่เองโดยไม่เกี่ยวเนี่ยวกับใคร มีตัวตนเพราะอาศัยปัจจัยต่างๆประกอบกันขึ้น เช่น ต้นไม้ย่อมอาศัยแสง ดิน น้ำ แร่ธาตุ ราก ใบ กิ่ง แก่น ลำต้น อากาศ ทำให้ดำรงอยู่ได้ สิ่งทั้งปวงย่อมเกี่ยวเนี่องซึ่งกันและกัน อย่างร่างกายของเราย่อมเกิดจากความเกี่ยวข้องกันเล็กๆน้อยและเพิ่มขึ้นซับซ้อนพัฒนาขึ้น เพราะการปรับสมดุลของธรรมชาติ ตามหลักมัชเฌนธรรม

หลักมัชเฌนธรรมจัดได้ว่าเป็นกฎแห่งพีชนิยามของนิยามทั้ง5

  1. ทุกขัง (ความทนได้ยาก)ทำให้เกิดกฎสมตา(ความสมดุล) ทำให้มี อิริยาบถ(การบริหารปรับตัว) ที่บิดบังทุกขัง และกฎทุกขังจะทำลายกฎสมตานั้นในที่สุด
  2. อนิจจัง (ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน) ทำให้เกิดกฎวัฏฏะ(การหมุนวนเวียน)ทำให้มีสันตติ(การสืบต่อ)ที่ปิดบังอนิจจัง และกฎอนิจจังจะทำลายกฎวัฏฏะในที่สุด
  3. อนัตตา (ไม่ใช่ตัวตน) ทำให้เกิดกฎปัจจยตา (การมีระบบระเบียบของโครงสร้าง)ทำให้มี ฆนะ(ความเป็นก้อน,รูปร่าง,โครงสร้าง)ที่ปิดบังอนัตตาและกฎอนัตตาจะทำลายกฎชีวิตาในที่สุด[1]

ดูเพิ่ม

สมตา

อ้างอิง

อุปาทิยสูตร มัญญมานสูตร อภินันทมานสูตร ขันธ. สํ. (๑๓๙, ๑๔๐ ,๑๔๑) ตบ. ๑๗ : ๙๑-๙๔ ตท. ๑๗ : ๗๙-๘๒ ตอ. K.S. ๓ : ๖๔-๖๕

  1. พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๗ มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑ ปัจจัย ๒๔