ผลต่างระหว่างรุ่นของ "งานวิจัยที่มีความเริ่มแรก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Addbot (คุย | ส่วนร่วม)
Bot: Migrating 4 interwiki links, now provided by Wikidata on d:q1813536 (translate me)
ป้ายระบุ: ลบลิงก์ข้ามภาษา
บรรทัด 21: บรรทัด 21:
[[หมวดหมู่:ระเบียบวิธีวิจัย]]
[[หมวดหมู่:ระเบียบวิธีวิจัย]]


]


[[en:Research#Original research]]
[[en:Research#Original research]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:29, 24 ธันวาคม 2556

งานวิจัยใหม่ที่มีความเริ่มแรก (original research) หมายถึงงานวิจัยมีเนื้อหาที่ไม่ได้ใช้ผลการสรุป งานปริทัศน์ หรือการสังเคราะห์ของงานวิชาการที่ตีพิมพ์ก่อนหน้านั้น วัตถุประสงค์ของงานวิจัยใหม่ที่มีความเริ่มแรกก็เพื่อการสร้างความรู้ใหม่มากกว่าการนำเสนอความรู้ที่มีอยู่ก่อนแล้วในรูปแบบใหม่ (เช่น การสรุป หรือ การจำแนก)

ขอบเขตที่ยังไม่ชัดเจน

ขอบเขตของงานวิจัยใหม่ที่มีความเริ่มแรก กับ งานรวมรวม (compilation) อาจยังดูคลุมเครืออยู่ ตัวอย่างเช่น การจำแนก (classification) ในด้านหนึ่งอาจดูว่าไม่มีความเริ่มแรก เป็นเพียงการรวมรวมสิ่งต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบเท่านั้น แต่ในอีกด้านหนึ่ง การจำแนกใหม่อาจทำให้เกิดการเข้าถึงความรู้ในวิชานั้นๆ ในระดับที่ลึกมากกว่าเดิมที่สามารถนำไปสู่การคาดการณ์หรือการค้นพบสิ่งใหม่ ดังตัวอย่างคลาสสิก เช่น การทำ ตารางธาตุทางเคมี ของ ดมีตรี เมนเดเลเยฟ (Mendeleev's periodic table of chemical elements.) เมื่อ พ.ศ. 2412 ที่นำไปสู่การค้นพบใหม่ทางเคมีในภายหลัง

รูปแบบอย่างอื่น

งานวิจัยใหม่ที่มีความเริ่มแรกอาจมีรูปแบบได้หลายอย่างขึ้นอยู่กับสาขาวิชาซึ่งมีความแตกต่างกัน ในงานวิจัยเชิงทดลอง (experimental) ซึ่งโดยทั่วไปเกี่ยวข้องการสังเกตการณ์โดยตรงหรือทางอ้อมในหัวเรื่องงานวิจัยที่ทำ เช่น การสังเกตการณ์ในห้องทดลอง หรือในภาคสนาม การบันทึกเอกสาร การทำระเบียบวิธีวิทยา ผลลัพธ์และการสรุปการทดลองหรือชุดของการทดลอง หรือการเสนอการแปลความหมายของผลการทดลองที่ผ่านมาแล้ว ใน งานวิจัยเชิงวิเคราะห์ (anlytical) ซึ่งโดยทั่วไปจะได้ผลลัพธ์(เช่น) ผลลัพธ์เชิงคณิตศาสตร์ออกมาใหม่ หรือได้วิธีการเข้าสู่ปัญหาที่มีอยู่เดิมด้วยวิธีใหม่ ในบางสาขาวิชาที่ไม่มีการใช้วิธีการทดลองหรือการวิเคราะห์ในลักษณะดังกล่าว ความใหม่หรือความเริ่มแรกก็คือการเปลี่ยนหรือการแปลความความเข้าใจเดิมให้ถูกต้องโดยใช้ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิจัยของนักวิจัยผู้นั้น

ความมากน้อยของความเริ่มแรกหรือความใหม่ของงานวิจัยถือเป็นเกณฑ์พิจารณาที่สำคัญสำหรับการตีพิมพ์ของวารสารทางวิชาการซึ่งปรกติจะใช้วิธีการทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน (peer review)

ดูเพิ่ม

อ้างอิง