ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"

พิกัด: 13°44′18″N 100°31′57″E / 13.73826°N 100.532413°E / 13.73826; 100.532413
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 303: บรรทัด 303:
== พื้นที่มหาวิทยาลัย ==
== พื้นที่มหาวิทยาลัย ==
=== พื้นที่การศึกษา ===
=== พื้นที่การศึกษา ===
[[ไฟล์:Chulalongkorn University Auditorium High View.JPG|thumb|left|300px|พื้นที่มหาวิทยาลัยฝั่งหอประชุมใหญ่]]
[[ไฟล์:Chulalongkorn University Auditorium High View.JPG|thumb|right|300px|พื้นที่มหาวิทยาลัยฝั่งหอประชุมใหญ่]]
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แบ่งพื้นที่การศึกษาออกเป็น 6 ส่วน<ref>[http://www.chula.ac.th/images/map/map.jpg แผนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]</ref> ซึ่งอยู่บริเวณ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน ได้แก่
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แบ่งพื้นที่การศึกษาออกเป็น 6 ส่วน<ref>[http://www.chula.ac.th/images/map/map.jpg แผนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]</ref> ซึ่งอยู่บริเวณ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน ได้แก่
* '''ส่วนที่ 1''' ฝั่งตะวันออกของ[[ถนนพญาไท]]ประกอบด้วย พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สนามรักบี้ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ อาคารมหาวชิราวุธ [[ศาลาพระเกี้ยว]] [[ศูนย์หนังสือจุฬาฯ]] (สาขาศาลาพระเกี้ยว) หอประวัติ (ตึกจักรพงษ์) อาคารจุลจักรพงษ์ สระว่ายน้ำ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี วิทยาลัยประชากรศาสตร์ สถาบันภาษา สถาบันวิจัยสังคม สถาบันเอเชียศึกษา และสถาบันการขนส่ง
* '''ส่วนที่ 1''' ฝั่งตะวันออกของ[[ถนนพญาไท]]ประกอบด้วย พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สนามรักบี้ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ อาคารมหาวชิราวุธ [[ศาลาพระเกี้ยว]] [[ศูนย์หนังสือจุฬาฯ]] (สาขาศาลาพระเกี้ยว) หอประวัติ (ตึกจักรพงษ์) อาคารจุลจักรพงษ์ สระว่ายน้ำ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี วิทยาลัยประชากรศาสตร์ สถาบันภาษา สถาบันวิจัยสังคม สถาบันเอเชียศึกษา และสถาบันการขนส่ง

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:42, 21 ธันวาคม 2556

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พระเกี้ยว
ชื่อย่อจุฬาฯ / CU
คติพจน์ความรู้คู่คุณธรรม
(ทางการ)
เกียรติภูมิจุฬาฯ คือเกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน[ต้องการอ้างอิง]
(ไม่เป็นทางการ)
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ
สถาปนา26 มีนาคม พ.ศ. 2459
(พ.ศ. 2460 ถ้านับตามสากล)
อธิการบดีศ. นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล
อธิการบดีศ. นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล
นายกสภาฯศ.(กิตติคุณ) ดร. คุณหญิงสุชาดา
กีระนันทน์
ที่ตั้ง
เว็บไซต์www.chula.ac.th

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย[1] ตั้งอยู่ที่เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ถือกำเนิดจาก "โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน" ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้นภายในพระบรมมหาราชวัง เมื่อปี พ.ศ. 2442 พร้อมทั้งพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญ "พระเกี้ยว" มาเป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียน การดำเนินงานของโรงเรียนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับ จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 (ขณะนั้นนับวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ นับอย่างใหม่ต้องเข้าปี พ.ศ. 2460) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงประดิษฐานขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย และพระราชทานนามว่า "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์เฉลิมพระเกียรติแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมชนกนาถของพระองค์ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2460 ถึงปัจจุบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีผู้บัญชาการและอธิการบดีดำรงตำแหน่งมาแล้ว 16 คน อธิการบดีคนปัจจุบัน คือ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ภิรมย์ กมลรัตนกุล

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอับดับให้เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศทั้งในสาขาศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาเวชชีวศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ และสาขาสังคมศาสตร์[2][3] และได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาในระดับดีมากจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา อีกทั้งยังเป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติอีกด้วย[4] นอกจากนี้ นักเรียนที่ทำคะแนนรวมได้สูงสุดของคณะต่างๆ จากการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาด้วยระบบกลางและระบบรับตรงของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย พบว่า ส่วนใหญ่เลือกเข้าศึกษาต่อในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[5][6]

ปัจจุบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดการเรียนการสอนใน 19 คณะ บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัย และสถาบันต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 540 สาขาวิชา[7] หลักสูตรนานาชาติและภาษาอังกฤษ รวมทั้งสิ้น 85 สาขาวิชา[8] นอกจากนี้ ยังได้จัดตั้งสถาบันวิจัยขึ้นภายในมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งเพื่อดำเนินการวิจัยในศาสตร์ต่าง ๆ ด้วย

ประวัติ

พระบรมราชานุสาวรีย์พระปิยมหาราช และพระมหาธีรราชเจ้า

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือกำเนิดจาก “โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2442 ณ ตึกยาว ข้างประตูพิมานชัยศรี ในพระบรมมหาราชวัง ด้วยมีพระราชปรารภที่จะทรงจัดการปกครองพระราชอาณาจักรให้ทันกาลสมัย จึงจัดตั้งโรงเรียนเพื่อฝึกหัดนักเรียนสำหรับรับราชการปกครองขึ้นในกระทรวงมหาดไทย ซึ่งนักเรียนที่จบการศึกษาจากโรงเรียนแห่งนี้ จะได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กรับราชการใกล้ชิดพระองค์ และด้วยประเพณีโบราณที่ข้าราชการจะถวายตัวเข้าศึกษางานในกรมมหาดเล็ก ก่อนที่จะออกไปรับตำแหน่งในกรมอื่น ๆ ดังนั้น พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามโรงเรียนเป็น “โรงเรียนมหาดเล็ก” เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2445[9]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริที่จะขยายการจัดการศึกษา เพื่อผลิตนักเรียนไปรับราชการในกระทรวง ทบวง กรมอื่น ๆ ไม่เฉพาะกระทรวงมหาดไทยเท่านั้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกโรงเรียนมหาดเล็กเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือน โดยใช้วังวินด์เซอร์เป็นสถานที่ประกอบการเรียนการสอน และสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2453 พร้อมทั้ง พระราชทานนามโรงเรียนแห่งนี้ว่า “โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” เนื่องจากเป็นโรงเรียนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริจัดตั้งขึ้น และได้ใช้เงินคงเหลือจากการที่ราษฎรเรี่ยรายกันเพื่อสร้างพระบรมรูปทรงม้านั้น มาใช้เป็นทุนของโรงเรียนแห่งนี้[10] นอกจากนี้ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดที่ดินพระคลังข้างที่รวมเนื้อที่ทั้งสิ้น 1,309 ไร่เป็นเขตโรงเรียน[11] โดยมีการจัดการศึกษาใน 5 โรงเรียน (คณะในปัจจุบัน) ได้แก่ โรงเรียนรัฎฐประศาสนศาสตร์ โรงเรียนคุรุศึกษา (โรงเรียนฝึกหัดครู) โรงเรียนราชแพทยาลัย โรงเรียนเนติศึกษา (โรงเรียนกฎหมาย) และโรงเรียนยันตรศึกษา[12]

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริเห็นสมควรที่จะขยายการศึกษาในโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น คือ ไม่เฉพาะสำหรับผู้ที่จะเล่าเรียนเพื่อรับราชการเท่านั้น แต่ผู้ใดที่มีความประสงค์จะศึกษาขั้นสูงก็สามารถเข้าเรียนได้ทั่วถึงกัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 พร้อมทั้งพระราชทานนามว่า “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เพื่อเป็นอนุสาวรีย์สมพระเกียรติแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้สังกัดอยู่ในกระทรวงธรรมการ[13]

ไฟล์:CivilServiceSchoollogo.jpg
ตราสัญลักษณ์โรงเรียนข้าราชการพลเรือน[14]

ในระยะแรกจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยอยู่เพียงระดับประกาศนียบัตรพร้อมกับเตรียมการเรียนการสอนในระดับปริญญา โดยจัดการศึกษาออกเป็น 2 วิทยาเขต คือ วิทยาเขตปทุมวันและวิทยาเขตโรงพยาบาลศิริราช จัดการเรียนการสอนออกเป็น 4 คณะ ได้แก่ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน) คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ส่วนโรงเรียนฝึกหัดครูย้ายกลับไปสังกัดกรมศึกษาธิการ กระทรวงธรรมการ และโรงเรียนกฎหมายย้ายกลับไปสังกัดกระทรวงยุติธรรม[15]

ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2465 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) ทรงเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการติดต่อขอความร่วมมือจากมูลนิธิร็อกเกอะเฟลเลอร์เพื่อปรับปรุงมาตรฐานการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผลให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสามารถจัดการศึกษาในระดับปริญญาได้[16]

หลังจากนั้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ขยายการจัดการศึกษาโดยจัดตั้งคณะและแผนกอิสระเพิ่มขึ้นอีกหลายแห่ง ได้แก่ คณะนิติศาสตร์ (โดยการรวมโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรมและแผนกวิชาข้าราชการพลเรือน (คณะรัฐประศาสนศาสตร์เดิม) เข้าไว้ด้วยกัน) [17][18] แผนกอิสระเภสัชกรรมศาสตร์ แผนกอิสระสัตวแพทยศาสตร์ แผนกอิสระสถาปัตยกรรมศาสตร์ และแผนกอิสระทันตแพทยศาสตร์[19] นอกจากนี้ ยังเริ่มเน้นการเรียนการสอนอันเป็นพื้นฐานของวิชาชีพในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยจัดตั้งโรงเรียนเตรียมมหาวิทยาลัย คือ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาในปัจจุบัน)

ระหว่างปี พ.ศ. 2476 - พ.ศ. 2486 การจัดการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง โดยมีการโอนย้ายส่วนราชการออกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบางส่วนเพื่อจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ขึ้น กล่าวคือ เมื่อ พ.ศ. 2476 มีการโอนคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ไปขึ้นตรงกับมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปัจจุบัน) [20] และ พ.ศ. 2486 มีการโอนย้ายคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล แผนกอิสระทันตแพทยศาสตร์ แผนกอิสระสัตวแพทยศาสตร์ และแผนกอิสระเภสัชกรรมศาสตร์ เพื่อตั้งเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน) [21] อย่างไรก็ตาม คณะเภสัชศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ ยังคงใช้สถานที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อจัดการศึกษาอยู่ ดังนั้น ทั้ง 3 คณะจึงถูกโอนกลับมาเป็นคณะวิชาในสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้งในระยะต่อมา[22][23]

เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มีการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงด้านภาษาและหนังสือหลายประการ เช่น ยกเลิกการใช้อักษร "" ให้ใช้ "," แทน และ ยกเลิกการใช้ "" ให้ใช้ "" แทน [24] ดังนั้น จึงได้ปรากฏการเขียนชื่อมหาวิทยาลัยในรูปแบบอื่นอีก ได้แก่ "จุลาลงกรน์มหาวิทยาลัย"[25] ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงไปตามสมัยนิยม อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลใหม่ ในปี พ.ศ. 2487 ก็มีการประกาศยกเลิกการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และให้กลับไปใช้การเขียนภาษาในรูปแบบเดิม การเขียนชื่อมหาวิทยาลัยจึงกลับเป็นแบบเดิม หลังจากนั้น ในช่วง พ.ศ. 2497 - พ.ศ. 2514 ยังสามารถพบการเขียนนามมหาวิทยาลัยว่า "จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย" ซึ่งไม่มีเครื่องหมายทัณฑฆาตที่ "" เช่น พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ฉบับที่ 4, 5 และ 6[26]

ระหว่างปี พ.ศ. 2486 - 2503 มหาวิทยาลัยก็ได้ขยายการศึกษาไปยังสาขาต่าง ๆ ให้กว้างขวางขึ้นโดยเน้นการศึกษาในระดับปริญญาตรีเป็นหลัก โดยมีการจัดตั้งคณะขึ้นใหม่หลายสาขา และตั้งแต่ พ.ศ. 2504 ถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยได้ขยายการศึกษาระดับปริญญาตรีอย่างกว้างขว้าง พร้อมกับพัฒนาการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และก่อตั้งหน่วยงานต่างๆ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและงานบริการทางวิชาการแก่สังคม

สัญลักษณ์ประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พระเกี้ยว สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

ทำเนียบผู้บัญชาการและอธิการบดี

นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีผู้บัญชาการและอธิการบดีมาแล้ว 16 คน ดังรายพระนามและรายนามต่อไปนี้[33]

ผู้บัญชาการ
ลำดับ รายนามผู้บัญชาการ วาระการดำรงตำแหน่ง อ้างอิง
1
มหาอำมาตย์ตรี พระยาอนุกิจวิธูร (สันทัด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) 6 เมษายน พ.ศ. 2460 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2468 [34]
2
มหาอำมาตย์ตรี พระยาภะรตราชา (ม.ล.ทศทิศ อิศรเสนา) 10 ธันวาคม พ.ศ. 2472 - 1 กันยายน พ.ศ. 2475 [35]
อธิการบดี
ลำดับ รายนามอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง อ้างอิง
3
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ เอ.จี. เอลลิส 21 ตุลาคม พ.ศ. 2478 - 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 [36]
4
จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 - 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 (วาระที่ 1) [37]
24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 - 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 (วาระที่ 2) [38]
24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 - 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 (วาระที่ 3)
24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 (วาระที่ 4)
21 ตุลาคม พ.ศ. 2492 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2493 (วาระที่ 5) [39]
5
ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก โสณกุล
1 กันยายน พ.ศ. 2487 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2489 (วาระที่ 1) [40]
1 กันยายน พ.ศ. 2489 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2491 (วาระที่ 2) [41]
1 กันยายน พ.ศ. 2491 - 5 กันยายน พ.ศ. 2492 (วาระที่ 3) [42]
6
พลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฎ์
17 สิงหาคม พ.ศ. 2493 - 16 สิงหาคม พ.ศ. 2495 (วาระที่ 1) [43]
17 สิงหาคม พ.ศ. 2495 - 16 สิงหาคม พ.ศ. 2497 (วาระที่ 2) [44]
17 สิงหาคม พ.ศ. 2497 - 16 สิงหาคม พ.ศ. 2499 (วาระที่ 3) [45]
17 สิงหาคม พ.ศ. 2499 - 16 สิงหาคม พ.ศ. 2501 (วาระที่ 4) [46]
29 สิงหาคม พ.ศ. 2501 - 28 สิงหาคม พ.ศ. 2503 (วาระที่ 5) [47]
29 สิงหาคม พ.ศ. 2403 - 6 กันยายน พ.ศ. 2504 (วาระที่ 6) [48]
7
จอมพล ประภาส จารุเสถียร
7 กันยายน พ.ศ. 2504 - 6 กันยายน พ.ศ. 2506 (วาระที่ 1) [49]
7 กันยายน พ.ศ. 2506 - 6 กันยายน พ.ศ. 2508 (วาระที่ 2) [50]
7 กันยายน พ.ศ. 2508 - 6 กันยายน พ.ศ. 2510 (วาระที่ 3) [51]
7 กันยายน พ.ศ. 2510 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2512 (วาระที่ 4) [52]
8
ศาสตราจารย์ ดร.แถบ นีละนิธิ
27 มีนาคม พ.ศ. 2512 - 3 มิถุนายน พ.ศ. 2512 (รักษาการ)
4 มิถุนายน พ.ศ. 2512 - 3 มิถุนายน พ.ศ. 2514 [53]
9
ศาสตราจารย์ ดร.อรุณ สรเทศน์
4 มิถุนายน พ.ศ. 2514 - 3 มิถุนายน พ.ศ. 2516 (วาระที่ 1) [54]
4 มิถุนายน พ.ศ. 2516 - 3 มิถุนายน พ.ศ. 2518 (วาระที่2) [55]
10
ศาสตราจารย์กิตติคุณ เติมศักดิ์ กฤษณามระ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2518 - 3 มิถุนายน พ.ศ. 2520 [56]
11
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.เกษม สุวรรณกุล
4 มิถุนายน พ.ศ. 2520 - 3 มิถุนายน พ.ศ. 2522 (วาระที่ 1) [57]
4 มิถุนายน พ.ศ. 2522 - 1 เมษายน พ.ศ. 2524 (วาระที่ 2)
1 เมษายน พ.ศ. 2524 - 1 เมษายน พ.ศ. 2528 (วาระที่ 3) [58]
1 เมษายน พ.ศ. 2528 - 2 มกราคม พ.ศ. 2532 (วาระที่ 4) [59]
12
ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลา
2 มกราคม พ.ศ. 2532 - 2 มกราคม พ.ศ. 2536 (วาระที่ 1) [60]
2 มกราคม พ.ศ. 2536 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2539 (วาระที่ 2) [61]
13
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.เทียนฉาย กีระนันทน์ 1 เมษายน พ.ศ. 2539 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2543

[62]

14
รองศาสตราจารย์ ดร.ธัชชัย สุมิตร 1 เมษายน พ.ศ. 2543 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2547 [63]
15
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.คุณหญิง สุชาดา กีระนันทน์ 1 เมษายน พ.ศ. 2547 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2551 [64]
16
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ภิรมย์ กมลรัตนกุล
1 เมษายน พ.ศ. 2551 - 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 (วาระที่ 1) [65]
18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน (วาระที่ 2) [66]

การศึกษา

หอประชุมจุฬาฯ
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดทำการเรียนการสอนครอบคลุมทั้งสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ในปีการศึกษา 2553 เปิดทำการเรียนการสอนในหลักสูตรปกติทั้งหมด 540 สาขาวิชา โดยจำแนกเป็นระดับปริญญาตรี 113 สาขาวิชา, หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต 24 สาขาวิชา หลักสูตรระดับปริญญาโท 231 สาขาวิชา หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง 58 สาขาวิชา และหลักสูตรระดับปริญญาเอก 114 สาขาวิชา[67] นอกจากนี้ ยังได้เปิดทำการเรียนการสอนในหลักสูตรนานาชาติและหลักสูตรภาษาอังกฤษ อีก 85 สาขาวิชา[68] ปัจจุบัน ประกอบด้วยส่วนงานทางวิชาการที่จัดการเรียนการสอน ได้แก่[69]

นอกจากนี้ ยังมีส่วนงานที่จัดการเรียนการสอนและงานวิจัยเฉพาะในระดับบัณฑิตศึกษา ได้แก่

รวมทั้ง มีสถาบันสมทบอีก 2 แห่ง ได้แก่[69]

งานวิจัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีส่วนงานที่มีวัตถุประสงค์หลักในการก่อตั้งเพื่อเป็นสถาบันวิจัยในศาสตร์สาขาต่างๆ ดังต่อไปนี้

หน่วยงานที่สนับสนุนการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ อีก ได้แก่ ศูนย์บริการวิชาการ (Unisearch) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยนำผลการศึกษาวิจัยออกสู่สังคมและหน่วยงานนอกมหาวิทยาลัย ส่วนหน่วยงานสถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผลงานศึกษาวิจัยได้พัฒนาและนำไปสู่การจดสิทธิบัตรประเภทต่าง ๆ

ในปี พ.ศ. 2549 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับทุนสนับสนุนโครงการวิจัย แบ่งตามสาขา 4 สาขา[70] ได้แก่

นอกจากนี้ ยังมีโครงการวิจัยสหสาขาวิชา 2 โครงการ และโครงการอื่น ๆ ในบัณฑิตวิทยาลัย และศูนย์บริการวิชาการ (Unisearch) โดยในปี พ.ศ. 2549 มีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติในฐานข้อมูล ISI จำนวน 538 เรื่อง ฐานข้อมูล Pubmed จำนวน 288 เรื่อง ฐานข้อมูล ScienceDirect จำนวน 220 เรื่อง และฐานข้อมูล Scopus 604 เรื่อง รวมจำนวนผลงานที่มีอยู่ในฐานข้อมูลโดยไม่นับซ้ำเป็นจำนวน 897 เรื่อง นอกจากนี้ ยังมีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในระดับชาติอีกจำนวน 848 เรื่อง[70]

อันดับและมาตรฐานของมหาวิทยาลัย

อันดับมหาวิทยาลัย
ระดับชาติ
Webometrics (2556) 1 [71]
THE (Asia) (2556) 3 [72]
QS (Asia) (2556) 2 [73]
QS (World) (2555) 1
SIR (2555) 1
ระดับนานาชาติ
Webometrics (2556) 169 [71]
THE (Asia) (2556) 82 [72]
QS (Asia) (2556) 48 [73]
QS (World) (2555) 201 [74]
SIR (2555) 480 [75]

การประเมินคุณภาพภายนอก

เมื่อปี พ.ศ. 2549 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยระดับดีเลิศ ทั้งในด้านการเรียนการสอนและการวิจัย จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของไทยโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา อีกทั้งยังเป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย[76] นอกจากนี้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. ได้เข้าประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้รับรองมาตรฐานในระดับดีมากแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[77]

อันดับมหาวิทยาลัย

ดูเพิ่มที่ อันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

นอกจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยหน่วยงานในประเทศไทยแล้ว จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกประจำปี พ.ศ. 2554 โดยวารสารไทมส์ไฮเออร์เอดูเคชันซัปพลีเมนต์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่ติดอยู่ใน 400 อันดับแรกของโลก ในขณะที่การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกโดยแควกเควเรลลี ไซมอนด์ส ประจำปี พ.ศ. 2554 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับในภาพรวมอยู่ในอันดับที่ 171 ของโลก ส่วนการจัดอันดับแบบแยกเป็นสาขาวิชา 5 สาขา พบว่า สาขาศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์ อยู่ในอันดับที่ 69[78] สาขาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ในอันดับที่ 101 สาขาเวชชีวศาสตร์ อยู่ในอันดับที่ 78[79] สาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ อยู่ในอันดับที่ 138[80] และสาขาสังคมศาสตร์ อยู่ในอันดับที่ 68[81] โดยเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทยทั้งในการจัดอันดับแบบภาพรวมและในการจัดอันดับแบบแยกเป็นสาขาวิชา 4 สาขา จากที่จัดอันดับทั้งหมด 5 สาขา

นอกจากนี้ ยังมีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในทวีปเอเชียประจำปี พ.ศ. 2553 โดยแควกเควเรลลี ไซมอนด์ส พบว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับในภาพรวมอยู่ในอันดับที่ 44 ของเอเชีย ส่วนการจัดอันดับแบบแยกเป็นสาขาวิชา 5 สาขา พบว่า สาขาศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์ อยู่ในอันดับที่ 7 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและชีวการแพทย์ อยู่ในอันดับที่ 10 สาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ อยู่ในอันดับที่ 27 สาขาสังคมศาสตร์ อยู่ในอันดับที่ 9 และสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและวิศวกรรมศาสตร์ อยู่ในอันดับที่ 31 โดยเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทยในการจัดอันดับแบบแยกเป็นสาขาวิชาทั้ง 5 สาขา[82]

พื้นที่มหาวิทยาลัย

พื้นที่การศึกษา

พื้นที่มหาวิทยาลัยฝั่งหอประชุมใหญ่

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แบ่งพื้นที่การศึกษาออกเป็น 6 ส่วน[83] ซึ่งอยู่บริเวณ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน ได้แก่

  • ส่วนที่ 1 ฝั่งตะวันออกของถนนพญาไทประกอบด้วย พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สนามรักบี้ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ อาคารมหาวชิราวุธ ศาลาพระเกี้ยว ศูนย์หนังสือจุฬาฯ (สาขาศาลาพระเกี้ยว) หอประวัติ (ตึกจักรพงษ์) อาคารจุลจักรพงษ์ สระว่ายน้ำ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี วิทยาลัยประชากรศาสตร์ สถาบันภาษา สถาบันวิจัยสังคม สถาบันเอเชียศึกษา และสถาบันการขนส่ง
  • ส่วนที่ 2 ฝั่งตะวันตกของถนนพญาไท ประกอบด้วย สำนักงานมหาวิทยาลัย (กลุ่มอาคารจามจุรี 1-5,8-9) บัณฑิตวิทยาลัย สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์กีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฟิตเนสเซ็นเตอร์ คณะนิเทศศาสตร์ คณะครุศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ ศูนย์วิทยทรัพยากร สถานีวิทยุจุฬาฯ โรงพิมพ์จุฬาฯ ธรรมสถาน สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ หอพักนิสิตแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารวิทยพัฒนา อาคารแว่นแก้ว หอพักศศนิเวศ อาคารศศปาฐศาลา ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์
  • ส่วนที่ 3 ทิศเหนือของถนนพญาไท ติดกับสยามสแควร์ ประกอบด้วย คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ โอสถศาลา และอาคารวิทยกิตติ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์หนังสือจุฬาฯ (สาขาสยามสแควร์) คณะพยาบาลศาสตร์ (ชั้น 12) และคณะจิตวิทยา (ชั้น 16)
  • ส่วนที่ 4 ทิศตะวันออกของถนนอังรีดูนังต์ บนพื้นที่ของสภากาชาดไทยเป็นที่ตั้งของคณะแพทยศาสตร์ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลในสังกัดสภากาชาดไทย และวิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบันสมทบของจุฬาฯ
  • ส่วนที่ 5 เป็นพื้นที่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับคืนจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (พลศึกษา) คือ พื้นที่บริเวณระหว่างห้างมาบุญครอง และสนามกีฬาแห่งชาติ ในส่วนนี้เป็นกลุ่มอาคารจุฬาพัฒน์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะสหเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะจิตวิทยา ศูนย์วิทยาศาตร์ฮาลาล และอาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์บริการวิทยาศาสตร์สุขภาพ
  • ส่วนที่ 6 คือ พื้นที่ภายในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน (ได้รับคืนจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน) ในส่วนนี้เป็นกลุ่มอาคารจุฬาวิชช์ อันเป็นส่วนขยายของคณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะจิตวิทยา และโครงการขยายโอกาสอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในส่วนพื้นที่การศึกษานี้ มีต้นไม้สำคัญของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรวม 6 ต้น ได้แก่ ต้นจามจุรีพระราชทาน 5 ต้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินมาทรงปลูกไว้บริเวเสาธงหน้าหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตั้งอยู่บริเวณระหว่างอาคารมหาธีรราชานุสรณ์ (หอสมดุกลาง) และอาคารจามจุรี 5 นอกจากนี้ บริเวณพื้นที่ลานจอดรถหน้าศาลาพระเกี้ยว ทุก ๆ วันศุกร์ (หรือตามแต่กรรมการสโมสรอาจารย์เป็นผู้กำหนด) จะจัดเป็นตลาดนัดตั้งแต่เช้าจรดเย็น เรียกกันว่า "ตลาดพิกุล" เนื่องจากพื้นที่นั้นมีต้นพิกุล กิจกรรมดังกล่าวดำเนินการโดยสโมสรอาจารย์

พื้นที่เขตพาณิชย์

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยุ่หัว (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเวลาต่อมา) พระองค์มีพระราชประสงค์ให้ใช้ที่ดินส่วนหนึ่งเพื่อเป็นที่ปลูกสร้างสถานศึกษาและอีกส่วนหนึ่งให้ใช้จัดหาผลประโยชน์เพื่อนำมาปรับปรุงการศึกษาโดยไม่ต้องพึ่งงบประมาณแผ่นดินแต่เพียงอย่างเดียว โดยพื้นที่ของมหาวิทยาลัยในเขตปทุมวัน มีการแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ตามลักษณะการใช้พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่เขตการศึกษา 637 ไร่ พื้นที่ส่วนราชการเช่าใช้ 131 ไร่ และพื้นที่เขตพาณิชย์ 385 ไร่ รวม 1,153 ไร่[84]

พื้นที่ต่างจังหวัด

นอกจากพื้นที่ในกรุงเทพมหานครแล้ว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังมีพื้นที่การศึกษาในจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่

  • พื้นที่จังหวัดนครปฐม

พื้นที่จังหวัดนครปฐมเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2511 หลังจากการโอนย้ายคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ส่วนที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกลับคืนมาเป็นคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยพลเอกประภาส จารุเสถียร อดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ปรารภว่า "การโอนคณะสัตวแพทยศาสตร์โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น การโอนก็ไม่มีความหมาย" ดังนั้น จึงได้โอนที่ดินของกระทรวงมหาดไทยที่ขณะนั้นว่างเปล่าอยู่ 79 ไร่ ในเขตตำบลบ่อพลับ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เพื่อจัดเป็นไร่ฝึกแก่นิสิตใช้ฝึกปฏิบัติวิชาสัตวบาลจนพัฒนาเป็น "ศูนย์ฝึกนิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" และ "โรงพยาบาลปศุสัตว์" ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงขอใช้ชื่อว่า "ไร่ฝึกนิสิตจารุเสถียร" นอกจากจะใช้พื้นที่สำหรับสนับสนุนการเรียนการสอน การค้นคว้าวิจัย และตรวจรักษาปศุสัตว์และสัตว์เลี้ยงของประชาชนแล้ว ทางคณะสัตวแพทยศาสตร์ยังใช้ผลผลิตฟาร์มเป็นผลพลอยได้จำหน่ายเป็นสวัสดิการให้อาจารย์-บุคลากรของคณะและมหาวิทยาลัย[85]

  • พื้นที่จังหวัดน่าน

พื้นที่จังหวัดน่านเป็นที่ตั้งของ "ศูนย์การเรียนรู้และบริการวิชาการเครือข่ายแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" สำหรับให้บริการการศึกษาเรียนรู้สำหรับนิสิตโดยเฉพาะในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณทิต สาขาวิชาการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตร ประกอบด้วย อาคารวิชชาคาม 1 อาคารวิชชาคาม 2 และกลุ่มอาคารชมพูภูคา[86]

  • พื้นที่จังหวัดสระบุรี

การพัฒนาที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เขตอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี เริ่มขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2532 โดยมีพื้นที่ทั้งหมดรวม 3,364 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ที่กรมป่าไม้อนุญาตให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้ประโยชน์ 2,632 ไร่ และพื้นที่ที่มูลนิธินิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ใช้ประโยชน์ 732 ไร่ โดยมีการแบ่งเขตพื้นที่ออกเป็น 5 เขต ได้แก่ เขตพื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติ เขตศูนย์วิจัยเฉพาะทาง เขตโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-สระบุรี เขตบริการวิชาการและการศึกษา และเขตบริหารจัดการ โดยได้รับความร่วมมือจาก 6 คณะที่จะเข้าไปจัดทำโครงการในเขตพื้นที่ดังกล่าว ได้แก่ คณะเภสัชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะครุศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์[87]

นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่ในความดูแลของมหาวิทยาลัยแห่งอื่น เช่น พระตำหนักดาราภิรมย์ จังหวัดเชียงใหม่, พระจุฑาธุชราชฐานและพิพิธภัณฑ์ชลทัศนสถาน เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี

สถาปัตยกรรมที่สำคัญในมหาวิทยาลัย

อาคารมหาจุฬาลงกรณ์
  • อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ และ อาคารมหาวชิราวุธ หรือ ตึกคณะอักษรศาสตร์ เป็นอาคารที่มีเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมไทย ก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2457 โดยเป็นตึกบัญชาการของโรงเรียนข้าราชการพลเรือน นอกจากนี้ ตึกคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อปี พ.ศ. 2530[88]
  • หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างขึ้นในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นอธิการบดี โดยมีความมุ่งหวังให้เป็นที่รับรองพระบรมวงศานุวงศ์ที่เสด็จมาประกอบพระกรณียกิจที่มหาวิทยาลัย และใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย
  • เรือนภะรตราชา สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งแต่สมัยก่อตั้งมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นที่พักของผู้บริหาร อาจารย์ชาวต่างประเทศ และข้าราชการของมหาวิทยาลัย หลังจากเกิดการชำรุดตามกาลเวลา เรือนหลังนี้จึงได้รับการบูรณะเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานและเป็นการระลึกถึงพระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) อดีตผู้บัญชาการมหาวิทยาลัย ที่เคยพำนักอยู่ ณ เรือนแห่งนี้ เรือนภะรตราชาได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อปี พ.ศ. 2540[89][90]
  • เรือนไทย สร้างขึ้นในโอกาสครบรอบ 70 ปีแห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธียกเสาเอก ประกอบด้วย เรือน 5 หลัง โดยเรือนประธานเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปพระราชทาน ศีรษะครูเทพเจ้าทางดนตรีไทย เครื่องดนตรีไทยปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ และระนาดทรงของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรือนที่เหลือจัดแสดงเครื่องใช้และวัตถุโบราณ เครื่องจักสานไทยของภาคต่าง ๆ และมีศาลากลางน้ำสำหรับจัดกิจกรรมต่าง ๆ[91]
  • ศาลาพระเกี้ยว สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2509 ในสมัย จอมพลประภาส จารุเสถียร ดำรงตำแหน่งอธิการบดี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำกิจกรรมของนิสิตเช่น งานจุฬาฯ วิชาการ แต่ในระหว่างการก่อสร้างได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขในส่วนชั้นใต้ดินให้เป็นที่ทำการต่าง ๆ เช่น ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาศาลาพระเกี้ยว , ร้านสหกรณ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งในระยะแรกนั้นมีแผนที่จะทำเป็นสถานที่จอดรถ[92]

พิพิธภัณฑ์และหอศิลป์

ดูบทความหลักที่ พิพิธภัณฑ์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภายในพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนอกจากเป็นที่ตั้งของคณะวิชาและหน่วยงานต่าง ๆ แล้ว ยังประกอบด้วยพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ที่ตั้งอยู่ทั้งภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้ทั้งในเชิงวิชาการและการอนุรักษ์ โดยพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ภายในคณะวิทยาศาสตร์ ได้แก่ พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา พิพิธภัณฑสถานธรณีวิทยา พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ พิพิธภัณฑสถานพืชศาสตราจารย์กสิน สุวะตะพันธุ์ และพิพิธภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับไทย ส่วนคณะแพทยศาสตร์เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานออร์โธปิดิกส์ และพิพิธภัณฑสถานกุมารศัลยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานวาจวิทยาวัฑฒน์ คณะเภสัชศาสตร์เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานเครื่องยาไทยและประวัติเภสัชกรรมไทย และคณะสัตวแพทยศาสตร์เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานปรสิตวิทยาในสัตว์ ส่วนหอศิลป์ภายในมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย หอศิลปวิทยนิทรรศน์ ตั้งอยู่บริเวณ ชั้น 7 สถาบันวิทยบริการ และหอศิลป์จามจุรี ตั้งอยู่ที่อาคารจามจุรี 8

นอกจากนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังมีพิพิธภัณฑ์ที่อยู่ในความดูแลที่ตั้งอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ พิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์ จังหวัดเชียงใหม่, พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐานและพิพิธภัณฑ์ชลทัศนสถานเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี[93]

ชีวิตในมหาวิทยาลัย

การเรียนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะใช้เวลาใกล้เคียงกับการเรียนในมหาวิทยาลัยอื่น โดยทั่วไปจะใช้เวลา 4 ปีในการเรียน แต่สำหรับคณะครุศาสตร์และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ใช้เวลา 5 ปี ในขณะที่ คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์จะใช้เวลา 6 ปี ตลอดระยะเวลาการเรียน มีทั้งการเรียนในคณะของตนเอง และการเรียนวิชานอกคณะได้ พบปะกับบุคคลในคณะอื่น นอกจากนี้ ยังมีการร่วมกิจกรรมในมหาวิทยาลัยหลายอย่าง ไม่ว่าการเข้าชมรมของมหาวิทยาลัย การเข้าชมรมของคณะ การเล่นกีฬา หรือการพบปะกับเพื่อนหรือรุ่นพี่ที่มาจากโรงเรียนเดียวกันที่โต๊ะโรงเรียน

การพักอาศัยของนิสิตจุฬาฯ

ซีมะโด่ง หอพักภายในมหาวิทยาลัย

การพักอาศัยของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพัก มีลักษณะคล้ายกับนิสิตนักศึกษาอื่นในกรุงเทพฯ โดยคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพหรือเขตปริมณฑล หรือมีญาติพี่น้องอยู่แถบนั้น ก็จะพักอาศัยตามบ้านหรือบ้านคนรู้จัก สำหรับนิสิตที่มาจากต่างจังหวัดจะพักอาศัยในหอพักมหาวิทยาลัย ไม่ก็เช่าหอพักเอกชนร่วมกับเพื่อนนอกมหาวิทยาลัย

การพักอาศัยในหอพักมหาวิทยาลัยนั้น จำเป็นต้องมีการสมัครล่วงหน้าและมีการตรวจสอบประวัติ เนื่องจากหอพักมีจำนวนจำกัดและราคาที่ถูกกว่าหอพักภายนอก ซึ่งหอพักมหาวิทยาลัยนี้เรียกกันว่า "ซีมะโด่ง" โดยหอจะแบ่งออกเป็น หอพักหญิง 3 หอ ได้แก่ หอพุดตาน (หอสูงสีน้ำตาล 14 ชั้น) หอพุดซ้อน (หอสูงสีขาวที่ปรับปรุงเสร็จล่าสุด) หอชวนชม (อาคาร 3 ชั้นสีเขียว อยู่ใกล้ประตูทางเข้าหอพักที่สุด) และ หอพักชาย 2 หอ ได้แก่ หอจำปี (อาคารสูงสีขาว 14 ชั้น) และหอพักจำปา (อยู่ถัดจากหอจำปี สูง 5 ชั้น เดิมเป็นหอพักหญิงชื่อ หอเฟื่องฟ้า แต่ถ้าย้อนไปในอดีตตั้งแต่ต้น หอนี้เคยเป็นหอชายก่อนหน้าที่จะมาเป็นหอหญิง) นอกจากนี้ ยังมีหอพักพวงชมพู หรือเรียกอีกอย่างหนึ่ง คือ หอ U-center ตั้งอยู่บริเวณหลังสามย่าน สร้างเสร็จในปี 2546

ชมรม

การเข้าร่วมกิจกรรมชมรมในจุฬาลงกรณ์ไม่มีการจำกัดชั้นปี โดยชมรมของมหาวิทยาลัยนั้นเปิดให้นิสิตในแต่ละคณะรวมกัน และเจอกับนิสิตคณะอื่น พบปะสังสรรค์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และมีชมรมที่จัดขึ้นเฉพาะคณะต่าง ๆ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ตึกจุลจักรพงษ์ โดยชมรมต่าง ๆ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

  1. ชมรมสังกัดฝ่ายวิชาการ เช่น ชมรมพุทธศาสน์และประเพณี ชมรมวาทศิลป์และมนุษยสัมพันธ์ ชมรมประดิษฐ์และออกแบบ เป็นต้น
  2. ชมรมสังกัดฝ่ายพัฒนาสังคมและบำเพ็ญประโยชน์ เช่น ชมรมค่ายอาสาพัฒนาชาวไทยภูเขา ชมรมสลัม ชมรมโรตาแรคท์ เป็นต้น
  3. ชมรมสังกัดฝ่ายศิลปและวัฒนธรรม เช่น ชมรมอีสาน ชมรมล้านนา ชมรมจุฬา-ทักษิน ชมรมนักร้องประสานเสียง ชมรมศิลปการถ่ายภาพ เป็นต้น
  4. ชมรมฝ่ายกีฬา เช่น ชมรมฟุตบอล ชมรมบริดจ์และหมากกระดาน เป็นต้น

กิจกรรมในมหาวิทยาลัย

ลานเกียร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
ดูเพิ่มเติม กิจกรรมระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
งานลอยกระทง
งานลอยกระทงจัดขึ้นทุกทุกปีในวันลอยกระทง จัดขึ้นโดยในงานมีจัดทำกระทงของแต่ละคณะ ขบวนพาเหรด และนางนพมาศจากแต่ละคณะมาประชันกัน และในตัวงานได้มีการจัดงานรื่นเริง พร้อมเกมการละเล่นโดยรอบบริเวณสระน้ำหน้าลานพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล
การประชุมเชียร์
คือ กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อประสานความสัมพันธ์ของนิสิตปี 1 จุดประสงค์ของงานเพื่อให้นิสิตเรียนรู้เพลง ประเพณี และธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบต่อกันมายาวนานของมหาวิทยาลัย โดยมักจัดขึ้นในห้องเชียร์ เพื่อให้นิสิตได้รู้จักเพื่อน งานรับน้องจัดโดยนิสิตรุ่นพี่ในคณะ ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต่อเนื่องกันมาทุกรุ่น
จุฬาฯ วิชาการ
งานวิชาการที่จัดขึ้นทุก ๆ 3 ปี จัดขึ้นในตัวมหาวิทยาลัยโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้บุคคลภายนอก รวมทั้งนักเรียนจากระดับประถมถึงมัธยม ได้เรียนรู้ รวมทั้งเปิดให้นักศึกษาจากต่างมหาวิทยาลัย และบุคคลอื่นอื่นได้มาเรียนรู้เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นและพัฒนาในมหาวิทยาลัย โดยครั้งล่าสุดจะจัดขึ้นในวันที่ 14-18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
รับน้องก้าวใหม่
งานก้าวใหม่จัดขึ้นทุกปี ช่วงก่อนเปิดการศึกษาภาคเรียนที่ 1 จัดขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อแนะนำนิสิตให้รู้จักมหาวิทยาลัย รวมทั้งฝึกให้นิสิตเข้าใหม่ได้มีการปรับตัวให้เข้ากับระบบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย กิจกรรมส่วนใหญ่เน้นการละลายพฤติกรรมเข้าหากันระหว่างเพื่อน พี่ น้อง
กีฬาเฟรชชี่
งานกีฬาระหว่างคณะจัดขึ้นช่วงสองเดือนแรกของการเปิดเทอม 1 ระหว่างนิสิตชั้นปี 1 ของแต่ละคณะ กีฬาแต่ละชนิดถูกจัดขึ้นกระจายไปตามแต่ละที่ในมหาวิทยาลัย รวมทั้ง สนามกีฬาในร่ม และสนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือที่เรียกกันติดปากในหมู่นิสิตว่า "สนามจุ๊บ"
กีฬา 5 หมอ
งานกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคณะทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะสหเวชศาสตร์
ซียู อินเตอร์ เกม
งานกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ของนิสิตระดับปริญญาตรี หลักสูตรนานาชาติและหลักสูตรภาษาอังกฤษ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ หลักสูตร BBA คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, หลักสูตร EBA คณะเศรษฐศาสตร์, หลักสูตร INDA คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, หลักสูตร COMMDE คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ,หลักสูตรภาษาอังกฤษ คณะนิเทศศาสตร์ (COMM'ARTS), หลักสูตร JIPP คณะจิตวิทยา, หลักสูตร ISE คณะวิศวกรรมศาสตร์, หลักสูตร BSAC คณะวิทยาศาสตร์, และ หลักสูตร BALAC คณะอักษรศาสตร์

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมระหว่างมหาวิทยาลัยที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ร่วม ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างมหาวิทยาลัย ได้แก่ งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ รักบี้ประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ที่จัดขึ้นทุกปีในช่วงเดือนมกราคม, คอนเสิร์ตประสานเสียงสามสถาบัน จุฬาฯ เกษตรศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (CKT) รวมถึงกิจกรรมที่แต่ละคณะได้จัดการแข่งขันกับคณะเดียวกันในมหาวิทยาลัยอื่น เช่น เกียร์เกมส์,กีฬาสามเส้า, อะตอมเกมส์, กีฬาเข็มสัมพันธ์, กีฬาเภสัชสัมพันธ์, กีฬาสิงห์สัมพันธ์, กีฬาสหเวชศาสตร์-เทคนิคการแพทย์สัมพันธ์, กีฬาเศรษฐสัมพันธ์, งานจ๊ะเอ๋ลูกนก, ไม้เรียวเกมส์, วิทยาศาสตร์การกีฬาสัมพันธ์, ไตรอาร์ทส์, กีฬาเปิดกระป๋อง (วิทยาศาสตร์อาหาร) เป็นต้น

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร

ไฟล์:พระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรก.jpg
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในการพระราชทานปริญญาบัตร ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2473

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดให้มีพิธีพระราชทานปริญญาบัตรขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2473 ณ ตึกบัญชาการ (อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ ในปัจจุบัน) โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี มาพระราชทานปริญญาบัตรแก่เวชชบัณฑิต (แพทยศาสตรบัณฑิต) ของมหาวิทยาลัย ซึ่งนับได้ว่าเป็นพิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกของประเทศไทย ในการนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังได้ทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยบัณฑิตพิเศษแด่พระองค์ด้วย[94][95] หลังจากพิธีพระราชทานปริญญาบัตรในครั้งนั้นเสร็จสิ้นแล้ว สภามหาวิทยาลัยได้เสนอให้กระทรวงธรรมการกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตสงวนธรรมเนียมนี้ไว้ กล่าวคือ "ถือว่าการพระราชทานปริญญาบัตรเป็นการหน้าที่นั่ง หากเสด็จไม่ได้ก็จะเป็นการถวายปฏิญญาต่อพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ และรับพระราชทานปริญญาบัตรจากผู้แทนพระองค์" เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบก็พระราชทานพระบรมราชานุญาตตามที่มหาวิทยาลัยกราบบังคมทูลขอ ดังนั้น พิธีพระราชทานปริญญาบัตรจึงเป็นธรรมเนียมที่สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน[96]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตร ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2489 ซึ่งเป็นการเสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครั้งแรกและครั้งเดียวของพระองค์[97]

ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2493[98] และได้เสด็จพระราชดำเนินมาในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรด้วยพระองค์เองเรื่อยมา อย่างไรก็ตาม ในบางปีนั้นพระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตในระดับปริญญาตรีด้วยพระองค์เอง ส่วนมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตนั้นจะเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรต่อหน้าพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครุยพระบรมราชูปถัมภกแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[99]

ปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นประจำทุกปี

วันสำคัญที่เกี่ยวกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไฟล์:วันปิยมหาราช-จุฬาฯ.jpg
พิธีถวายบังคมของนิสิตเนื่องในวันปิยมหาราช
วันคล้ายวันสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตรงกับวันที่ 26 มีนาคม ของทุกปี โดยมีกิจกรรมต่อเนื่องกันหลายวัน เช่น พิธีบำเพ็ญกุศลน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตลอดจนบูรพาจารย์และผู้มีอุปการคุณแก่มหาวิทยาลัย, พิธีตักบาตรในตอนเช้าวันที่ 26 มีนาคม, พิธีถวายชัยมงคลแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ 2 เมษายน, การแสดงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์, งานคืนเหย้าของนิสิตเก่าจุฬาฯ ณ ลานหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ฯลฯ
วันอานันทมหิดล
วันคล้ายวันเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร "พระผู้พระราชทานกำเนิดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ซึ่งตรงกับวันที่ 9 มิถุนายน ของทุกปี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ จึงจัดงานขึ้นด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์
วันภาษาไทยแห่งชาติ
ถือกำเนิดจากคณะกรรมการรณรงค์เพื่อภาษาไทยแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เสนอต่อรัฐบาลให้กำหนดวันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เป็น "วันภาษาไทยแห่งชาติ"[100]
วันทรงดนตรี
เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาทรงดนตรี และทรงสังสรรค์ร่วมกับนิสิตเป็นการส่วนพระองค์ในระหว่างปี 2500-2516 โดยจุฬาฯ จัดงานวันที่ระลึกวันทรงดนตรีขึ้น ในวันที่ 20 กันยายน เป็นประจำทุกปี
วันปิยมหาราช
ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว "พระผู้พระราชทานกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ซึ่งคณะผู้บริหารและนิสิต จุฬาฯ จะเข้าร่วมถวายบังคมที่พระบรมรูปทรงม้า รวมทั้งจัดพิธีบำเพ็ญกุศลน้อมเกล้าฯ ถวาย และจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณต่อพระองค์ อาทิ งานปิยมหาราชานุสรณ์ หารายได้สมทบเป็นทุนการศึกษาแก่นิสิต เป็นประจำทุกปี
วันมหาธีรราชเจ้า
ตรงกับวันที่ 25 พฤศจิกายน โดยเป็นวันที่ระลึกวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว[101] "พระผู้ทรงสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" โดยในวันนี้ คณะผู้บริหารและนิสิตจุฬาฯ จะเข้าร่วมถวายบังคม ณ ลานหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 6 บริเวณสวนลุมพินี รวมทั้งจัดพิธีบำเพ็ญกุศลน้อมเกล้าฯ ถวาย และจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณต่อพระองค์ อาทิ งานมหาธีรราชเจ้าคอนเสิร์ต ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประจำทุกปี
วันภูมิพล

เป็นวันที่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกันประกอบกิจกุศล โดยการบริจาคทุนทรัพย์และสิ่งของนำไปแจกจ่ายแก่เด็กอนาถาตามสถานสงเคราะห์ต่างๆ บรรดานิสิตอาสาสมัครจะไปแสดงดนตรี และให้ความสนุกสนานรื่นเริงแก่เด็กๆ การบำเพ็ญประโยชน์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อการน้อมเกล้าฯ รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และโดยเสด็จพระราชกุศลในดิถีอันเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา

นายสงคราม สมบูรณ์ นายกสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี ๒๕๐๙ ได้ทำหนังสือ ที่ ๓๒/๒๕๐๙ ลงวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๐๙ ไปยังสำนักราชเลขาธิการ เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาติใช้นาม “วันภูมิพล” สำหรับการบำเพ็ญประโยชน์ของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในวันที่ ๕ ธันวาคม ตลอดไป ซึ่งหม่อมเจ้าวงศานุวัตร เทวกุล รองเลขาธิการ กองการในพระองค์ ได้ทำหนังสือแจ้งตอบ ที่ ร ล ๐๐๐๒ /๓๔๗๘ ว่า “ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ได้รับ พระราชทานพระบรมราชานุญาติ และทรงอนุโมทนาในกุศลเจตนาของบรรดานิสิตที่ร่วมกันบำเพ็ญประโยชน์นี้”[ต้องการอ้างอิง]

การเดินทาง

ที่จอดรถโดยสารจุฬาฯ หน้าศาลาพระเกี้ยว

นิสิตสามารถเดินทางมาจุฬาฯ ได้หลายเส้นทาง ทั้งทางรถยนต์ส่วนตัว รถโดยสารประจำทาง รถไฟฟ้าบีทีเอส (สถานีสยาม) และรถไฟฟ้ามหานคร (สถานีสามย่าน)

สำหรับการเดินทางในมหาวิทยาลัย มีรถโดยสารภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้บริการฟรี 4 สาย ครอบคลุมส่วนต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยทั้งหมด โดยมีป้ายจอดรถดังนี้[102]

สายที่ 1
ศาลาพระเกี้ยว คณะรัฐศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ แยกเฉลิมเผ่า โรงภาพยนตร์ลิโด้ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
สายที่ 2
ศาลาพระเกี้ยว คณะวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ อาคารจามจุรี 9 สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์ อาคารวิทยพัฒนา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา (ถึงเวลา 17.00 น.) หอพักนิสิต สำนักงานมหาวิทยาลัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
สายที่ 3
ศาลาพระเกี้ยว คณะรัฐศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะวิทยาศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
สายที่ 4
ศาลาพระเกี้ยว คณะรัฐศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ แยกเฉลิมเผ่า โรงภาพยนตร์ลิโด้ คณะเภสัชศาสตร์ คณะครุศาสตร์ อาคารจามจุรี 9 U-CENTER คณะนิติศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์

บุคคลสำคัญจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดูบทความหลักที่ รายนามบุคคลจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับจุฬาลงกรณ์รวมถึงคณาจารย์และศิษย์เก่ามีหลากหลาย ซึ่งรวมถึงบุคคลสำคัญในด้านการเมืองการปกครองไม่ว่าจะเป็นรองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีประจำกระทรวงต่างๆ, ปลัดกระทรวง และข้าราชการระดับสูง และรวมถึงพระบรมวงศานุวงศ์ เช่น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ นอกจากนี้ ยังมีผู้ได้รับรางวัลแมกไซไซ 3 คน นักเขียนผู้ได้รับรางวัลซีไรต์ 3 คน นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ (2528-2548) อีก 48 คน นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น 11 คน (2525-2549) ศิลปินแห่งชาติ 13 คน (2528-2549) ศิษย์เก่าได้รับรางวัลแพทย์ดีเด่นของแพทยสภาแห่งประเทศไทย 3 คน (เรียนหลักสูตรประกาศนียบัตร 1 คน ปริญญาตรี 2 คน) บุคลากรได้รับรางวัลแพทย์ดีเด่นของแพทยสภาแห่งประเทศไทย 1 คน และรางวัลพยาบาลดีเด่นของพยาบาลสภาแห่งประเทศไทย 1 คน รวมถึงเจ้าของธุรกิจขนาดใหญ่ นักแสดง นักดนตรีของประเทศไทยอีกหลายคน

การเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐบาล

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐสมบูรณ์อย่างเป็นทางการ เมื่อพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 29 ก เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 โดย นายกรัฐมนตรี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ จากนี้สถานภาพของพนักงานมหาวิทยาลัยจะได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ และข้าราชการมีสิทธิที่จะขอเปลี่ยนสภาพเป็นพนักงานได้ ภายในระยะเวลา 90 วัน และจะไม่มีข้าราชการเพิ่มขึ้นอีกตามมาตรา 78 ของพระราชบัญญัติ[103]

การนำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยออกจากระบบราชการหรือที่เรียกว่าสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐบาลนั้น เป็นประเด็นขัดแย้งโดยมีการรวบรวมรายชื่อเพื่อคัดค้านมาโดยตลอด จนถึงขั้นตอนการพิจารณาในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) [104][105] โดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาคณาจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[106][107]และ ผศ.นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ในฐานะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันคัดค้าน สนช. ในการผ่านร่าง พ.ร.บ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.... อย่างเร่งรีบโดยไม่ฟังเสียงจากประชาคมจุฬาฯ[108][109][110] จนกระทั่งวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ร่าง พรบ. ฉบับนี้ได้ผ่านการพิจารณาของ สนช. โดยประกาศใช้ร่าง พ.ร.บ.จุฬาฯ เป็นกฎหมายด้วยมติ 134-6 เสียง (งดออกเสียง 4 เสียง) [111] มีผลทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐลำดับที่ 13 ของประเทศ

วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2550 น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ, พล.อ. ปานเทพ ภูวนารถนุรักษ์, พล.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน, และนายไพศาล พืชมงคล สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ร่วมกันแถลงข่าวกรณี สนช. 27 คน เข้าชื่อให้นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน สนช. ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีร่าง พ.ร.บ.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีข้อความที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี 2550 และตราขึ้นมาโดยไม่ถูกต้อง เนื่องจากมีบทบัญญัติหลายมาตราที่มีข้อความและเนื้อหาที่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญหลายมาตรา และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสร้างขึ้นมาด้วยปณิธานที่ว่าจะจัดการศึกษาให้กับพสกนิกรไทย แต่การยกร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้มีลักษณะฉ้อฉลปล้นทรัพย์แผ่นดินเพื่อให้คณะบุคคลเอาไปใช้สอยและเป็นการทำลายพระราชปณิธานแห่งการสถาปนาจุฬาฯ เพื่อเอาไปใช้ประโยชน์หรือตอบสนองประโยชน์สำหรับการศึกษาขั้นสูงสำหรับผู้มีรายได้และไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน การตรากฎหมายในลักษณะนี้จึงไม่ใช่วิธีทางแห่งรัฐธรรมนูญที่ต้องการความเสมอภาค เสรีภาพ และการรักษาผลประโยชน์ของชาติ[112] อย่างไรก็ตาม ทางมหาวิทยาลัยได้แถลงว่าผู้ที่สามารถสอบเข้าเรียนในจุฬาฯ ได้ในหลักสูตรปกตินั้นจะได้เรียนจนจบในระดับปริญญาตรี เนื่องจากมหาวิทยาลัยเตรียมทุนการศึกษาไว้ปีละมากกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท ซึ่งเพียงพอแต่ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์อย่างแน่นอน และถ้าไม่เพียงพอทางมหาวิทยาลัยจะจัดสรรเพิ่มขึ้นอีก[113]

ต่อมาในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ศ.ดร.โสภณ เริงสำราญ ประธานเครือข่ายกลุ่มคัดค้านการนำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการ ได้เดินทางไปยื่นหนังสือต่อนายศรีราชา เจริญพานิช เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เพื่อให้พิจารณาว่าร่าง พ.ร.บ.จุฬาฯ ที่ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีเนื้อหาและกระบวนการพิจารณาขัดและไม่ชอบด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ เช่น มาตรา 16 ในร่าง พ.ร.บ.จุฬาฯ ว่าด้วยบุคคลสามารถยกความขึ้นเป็นข้อเรียกร้องต่อสู้ในเรื่องทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยไม่ได้ ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 40 (2) ว่าด้วยเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานในการเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพ[114] บางมาตรายังมีผลกระทบต่อสถานภาพของมหาวิทยาลัยซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานที่ดินอันเป็นที่พระราชทรัพย์แก่จุฬาฯ ให้เป็นที่ตั้งทำการและหาประโยชน์เพียงเพื่อจรรโลงการศึกษา มิใช่มุ่งหวังให้แสวงผลประโยชน์ทางธุรกิจและการค้าเป็นสำคัญ แต่ร่าง พ.ร.บ.จุฬาฯ จะมีผลทำให้จุฬาฯ เปลี่ยนแปลงไปเป็นสถาบันการศึกษาที่มีวัตถุประสงค์ดำเนินการทางธุรกิจการค้าควบคู่กับการศึกษาโดยอาศัยที่ดินพระราชทานเป็นเครื่องแสวงผลประโยชน์ บางมาตรายังมีบทบัญญัติรองรับให้จุฬาฯ สามารถร่วมลงทุนร่วมกับบุคคลอื่นตั้งนิติบุคคล รวมทั้งการกู้ยืม ซึ่งเป็นภาวะเสี่ยงอย่างยิ่ง[115] อย่างไรก็ตาม ทางมหาวิทยาลัยได้ออกมาชี้แจงประเด็นเรื่องที่ดินพระราชทานว่า ภายใต้ร่างกฎหมายฉบับนี้จะไม่สามารถนำไปขายได้เด็ดขาด[113][116]

อ้างอิง

  1. ประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  2. รางวัลเกียรติยศ : จุฬาฯ มหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของประเทศไทย
  3. จุฬาฯ ติดอันดับ ๑๓๘ มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของโลกปีนี้ จาก Times Higher Education
  4. จุฬาฯ ๑ ใน ๙ มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ
  5. แอดมิชชั่น53นิติจุฬาฯคะแนนอันดับ1
  6. ประกาศกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย ฉบับที่ 11 เรื่อง คะแนนสูงสุดต่า สุด ปี การศึกษา 2550, 2551, 2552 และ 2553[ลิงก์เสีย]
  7. Programs Offered at Chulalongkorn University
  8. หลักสูตรนานาชาติ/หลักสูตรภาษาอังกฤษ
  9. พระบรมราชโองการประกาศตั้งโรงเรียนมหาดเล็ก
  10. พระบรมราชโองการประกาศตั้งโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระแสพระบรมราชโองการ บรรจุในศิลาพระฤกษ์โรงเรียนข้าราชการพลเรือน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, เล่ม ๓๒, ตอน ๐ง, ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๘, หน้า ๒๕๖๒
  12. สวัสดิ์ จงกล,จุฬาสาระ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หอประวัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  13. พระบรมราชโองการประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงมุรธาธร พระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้ตราสำหรับตำแหน่ง, เล่ม ๓๑, ตอน ๐ง, ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๗, หน้า ๔๑๔
  15. ประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒๔๕๙-๒๕๐๙ พิมพ์เป็นที่ระลึกในวันครบห้าสิบปีของการสถาปนา วันที่ ๒๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๑๐, หน้า 37
  16. วิวัฒนาการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงธรรมการ เรื่อง การศึกษาวิชาข้าราชการพลเรือนแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม ๔๘, ตอน ๐ ง, ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๔, หน้า ๔๔๕๙
  18. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ โอนโรงเรียนกฎหมายไปขึ้นแก่จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, เล่ม ๕๐, ตอน ๐ ก, ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๖, หน้า ๑๔๔
  19. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๔๗๗, เล่ม ๕๒, ตอน ๐ ก, ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘, หน้า ๘๒
  20. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง พุทธศักราช ๒๔๗๖, เล่ม ๕๐, ตอน ๐ก, ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖, หน้า ๑๐๐๗
  21. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พุทธศักราช ๒๔๘๖, เล่ม ๖๐, ตอน ๗ ก, ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๖, หน้า ๒๑๒
  22. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๒๑ มีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ กำหนดให้โอนกิจการ ทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ ข้าราชการ ลูกจ้าง นักศึกษาและเงินงบประมาณของมหาวิทยาลัยมหิดลเฉพาะที่เกี่ยวกับราชการของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ไปเป็นของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม ๘๙, ตอน ๖๐ ก ฉบับพิเศษ, ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๕, หน้า ๙
  23. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติโอนกิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน ข้าราชการ ลูกจ้างและเงินงบประมาณของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เฉพาะที่เกี่ยวกับราชการของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งตั้งอยู่ ณ ตำบลวังใหม่ อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร ไปเป็นของ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๑๐, เล่ม ๘๔, ตอน ๑๒๖ ก ฉบับพิเศษ, ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๐, หน้า ๑
  24. ตามรอยโบราณ "ค้นคว้าอักขระโบราณ" ตัวหนังสือไทย ตอน ๒
  25. พระราชบัญญัติ จุลาลงกรน์มหาวิทยาลัย พุทธสักราช2486
  26. พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๒๒
  27. ประวัติพระเกี้ยว
  28. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : เพลงมหาจุฬาลงกรณ์
  29. พระราชกำหนดเสื้อครุยบัณฑิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๔๗๓
  30. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : เสื้อครุยพระราชทาน
  31. รายละเอียดต้นจามจุรี
  32. รายละเอียดสีชมพูจุฬา
  33. รายนามผู้บัญชาการ และอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  34. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัยและตั้งผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม ๓๔, ตอน ๐ ก, ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๐, หน้า ๒๓
  35. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงธรรมการ เรื่อง ตั้งผู้รั้งตำแหน่งปลัดทูลฉลอง ผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์และผู้ช่วยปลัดทูลฉลอง, เล่ม ๔๖, ตอน ๐ ง, ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๒, หน้า ๓๓๕๐
  36. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,เล่ม ๕๒, ตอน ๐ ง, ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘, หน้า ๒๓๒๗
  37. ราชกิจจานุเบกษา, เรื่อง ตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม ๕๓, ตอน ๐ ง, ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙, หน้า ๒๒๗๑
  38. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม ๕๖, ตอน ๐ ง, ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒, หน้า ๒๗๐๒
  39. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม ๖๖, ตอน ๖๐ ง, ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๒, หน้า ๔๙๖๙
  40. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม ๖๑, ตอน ๕๔ ง, ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๗, หน้า ๑๗๒๒
  41. ราชกิจจานุเบกษา, เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม ๖๓, ตอน ๕๘ ง, ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๙, หน้า ๑๒๓๐
  42. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม ๖๕, ตอน ๔๘ ง, ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๑, หน้า ๒๔๗๓
  43. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม ๖๗, ตอน ๔๘ ง, ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๓, หน้า ๓๘๓๒
  44. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม ๖๙, ตอน ๕๔ ง, ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๕, หน้า ๒๙๑๔
  45. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม ๗๑, ตอน ๔๗ ง, ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๗, หน้า ๑๖๓๐
  46. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม ๗๓, ตอน ๗๖ ง, ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๙, หน้า ๒๗๓๐
  47. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม ๗๕, ตอน ๘๒ ง, ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๑, หน้า ๒๗๙๓
  48. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, เล่ม ๗๗, ตอน ๗๓ ง, ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๓, หน้า ๑๙๘๒
  49. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม ๗๘, ตอน ๗๒ ง ฉบับพิเศษ, ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๔, หน้า ๖
  50. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม ๘๐, ตอน ๑๐๐ ง ฉบับพิเศษ, ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๖, หน้า ๑
  51. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม ๘๒, ตอน ๘๙ ง ฉบับพิเศษ, ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๘, หน้า ๑๓
  52. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม ๘๔, ตอน ๙๒ ง ฉบับพิเศษ, ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๐, หน้า ๕
  53. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, เล่ม ๘๖, ตอน ๕๖ ง ฉบับพิเศษ, ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๒, หน้า ๔
  54. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, เล่ม ๘๘, ตอน ๘๓ ง ฉบับพิเศษ, ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๔, หน้า ๒
  55. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, เล่ม ๙๐, ตอน ๙๒ ง ฉบับพิเศษ, ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๖, หน้า ๕
  56. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม ๙๒, ตอน ๑๐๙ ง, ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๘, หน้า ๑๓๗๙
  57. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม ๙๔, ตอน ๕๕ ง ฉบับพิเศษ, ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๐, หน้า ๔
  58. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (นายเกษม สุวรรณกุล), เล่ม ๙๘, ตอน ๙๕ ง ฉบับพิเศษ, ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๔, หน้า ๕
  59. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม ๑๐๒, ตอน ๔๘ ง ฉบับพิเศษ, ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๘, หน้า ๒๓
  60. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม ๑๐๕, ตอน ๒๓๖ ง, ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๑, หน้า ๙๕๙๔
  61. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (นายจรัส สุวรรณเวลา), เล่ม ๑๑๐, ตอน ๑๑ ง, ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๖, หน้า ๒
  62. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศาสตราจารย์เทียนฉาย กีระนันทน์ แทนนายจรัส วรรณเวลา ซึ่งลาออก), เล่ม ๑๑๓, ตอน ๒๐ ง, ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๙, หน้า ๘
  63. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (นายธัชชัย สุมิตร แทน ศาสตราจารย์เทียนฉาย กีระนันท์ซึ่งครบวาระ), เล่ม ๑๑๗, ตอน ๒๙ ง, ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๓, หน้า ๒
  64. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม ๒๑๒, ตอน ๓๐ ง, ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๗, หน้า ๑๔
  65. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (นายภิรมย์ กมลรัตนกุล), เล่ม ๑๒๕, ตอน ๓๖ ง, ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑, หน้า ๓
  66. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (นายภิรมย์ กมลรัตนกุล), เล่ม ๑๒๙, ตอนพิเศษ ๘๔ ง, ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕, หน้า ๕
  67. Programs Offered at Chulalongkorn University
  68. หลักสูตรนานาชาติ/หลักสูตรภาษาอังกฤษ
  69. 69.0 69.1 ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ส่วนงานของมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๒
  70. 70.0 70.1 งานวิจัยของปีงบประมาณปี 2549
  71. 71.0 71.1 Webometrics: Thailand, เข้าถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
  72. 72.0 72.1 Asia University Rankings 2013 Top 100, เข้าถึงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2556
  73. 73.0 73.1 QS Asia University Rankings 2013, เข้าถึงวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556
  74. QS world university ranking 2012, เข้าถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
  75. SIR World Report 2012, เข้าถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
  76. จุฬาฯ ๑ ใน ๙ มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ
  77. [1]
  78. QS World University Rankings 2011 - Faculty Rankings: Arts & Humanities
  79. QS World University Rankings 2011 - Faculty Rankings: Life Sciences & Medicine
  80. QS World University Rankings 2011 - Faculty Rankings ซ Natural Sciences
  81. QS World University Rankings 2011 - Faculty Rankings : Social Sciences & Management
  82. [2]
  83. แผนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  84. ความเป็นมาขององค์กร:สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เข้าถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
  85. ประวัติการจัดการศึกษาด้านสัตวแพทยศาสตร์และคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สืบค้นข้อมูลวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
  86. ศูนย์การเรียนรู้และบริการวิชาการ เครือข่ายแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สืบค้นข้อมูลวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
  87. โครงการพัฒนาที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สืบค้นข้อมูลวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
  88. รางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น : ตึกอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  89. รางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น : เรือนภะรตราชา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  90. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : เรือนภะรตราชา
  91. ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; เรือนไทยแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  92. หนังสือพระเกี้ยว, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  93. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; พิพิธภัณฑ์และหอศิลป์
  94. พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกแห่งกรุงสยาม
  95. พระบรมราโชวาท ในการพระราชทานประกาศนียบัตรแก่เวชบัณฑิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ ๒๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๗๓
  96. พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกแห่งกรุงสยาม, หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  97. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
  98. พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
  99. ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของพิธีพระราชทานปริญญาบัตรดุษฎีบัณฑิต และมหาบัณฑิตแห่งจุฬาฯ ปีการศึกษา 2540
  100. การจัดตั้งวันภาษาไทยแห่งชาติ
  101. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์กำหนดให้วันที่ 25 พฤศจิกายน เป็นวันเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากเสด็จสวรรคตเมื่อเวลาประมาณ 1 นาฬิกา 45 นาที ซึ่งผ่านวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 มาไม่กี่นาที และทรงกำหนดให้วันที่ 26 พฤศจิกายน เป็นวันเถลิงถวัลยราชสมบัติของพระองค์ จาก โฮมเพจเพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
  102. "ข่าวดี! สำหรับชาวจุฬาฯ รถปอ.พ. บริการฟรี เริ่ม 2 พ.ค. 54". 27 เมษายน 2554. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2554. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  103. พระราชบัญญัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๑ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ [3]
  104. ผู้จัดการรายวัน “คุณหญิงจารุวรรณ” นำทัพค้านจุฬาฯ ออกนอกระบบ21 พฤศจิกายน 2550 22:56 น
  105. หนังสือพิมพ์ข่าวสดรายวันประชาคมจุฬาฯ-กราบทูลพระเทพฯวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 17 ฉบับที่ 6228
  106. ข่าวสภาคณาจารย์ เรื่องการออกนอกระบบ ฉบับที่ 14, ฉบับที่ 16, สำเนาหนังสือฯ, ฉบับที่ 17, ฉบับที่ 18, ฉบับที่ 19, แถลงการณ์จากสภามหาวิทยาลัยฯ
  107. สำนักงานสารนิเทศ จุฬาฯ คำชี้แจงของจุฬาฯกรณีผู้คัดค้านร่าง พรบ.ฯ
  108. หนังสือพิมพ์เดลินิวส์. ประชาคมจุฬาฯยื่น สนช.ค้านออกนอกระบบ. วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2550
  109. บทบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์แทบลอยด์ เรื่องปก 'ถอนร่างออก' นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ 17 ธันวาคม 2549
  110. ณศักต์ อัจจิมาธร, หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์. ผ่าความคิด 'นพ. ตุลย์ สิทธิสมวงศ์' หัวหอกต้าน 'จุฬาฯ' ออกนอกระบบวันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2550
  111. หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน สนช.ผ่านร่างพ.ร.บ."จุฬาฯ-มช.-สจล." วาระ2-3หลังลุยพิจารณากม.ในกำกับ, "สนช."ผ่านฉลุยกม.3มหา"ลัย จุฬาฯ-เชียงใหม่-ลาดกระบังวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10876
  112. ผู้จัดการออนไลน์ 27 สนช.เข้าชื่อส่งศาล รธน.ตีความ จุฬาฯ ออกนอกระบบขัด กม.21 ธันวาคม 2550 19:56 น.
  113. 113.0 113.1 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติจุฬาฯ พ.ศ. ...., จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  114. หนังสือพิมพ์ มติชน ยื่นตีความร่างกม.จุฬาฯผ่านผู้ตรวจฯวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10885
  115. ผู้จัดการออนไลน์ ยื่นผู้ตรวจการแผ่นดิน “หยุด” จุฬาฯ ออกนอกระบบ ชำแหละยับขัด-ไม่ชอบด้วยรธน.28 ธันวาคม 2550 18:53 น.
  116. ความจริงเมื่อจุฬาฯ เปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

13°44′18″N 100°31′57″E / 13.73826°N 100.532413°E / 13.73826; 100.532413