ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 54: บรรทัด 54:
{| class="toccolours" width = 100%
{| class="toccolours" width = 100%
|-
|-
! style="background: Olivedra "| <center>ปริญญาตรี</center>
! style="background: Olivedrab "| <center>ระดับปริญญาตรี</center>
! style="background: Olivedra "| <center>ปริญญาโท</center>
! style="background: Olivedrab "| <center>ระดับปริญญาโท</center>
! style="background: Olivedra "| <center>ปริญญาเอก</center>
! style="background: Olivedrab "| <center>ระดับปริญญาเอก</center>
|-
|-
| valign = "top" |
| valign = "top" |
บรรทัด 76: บรรทัด 76:
|}
|}


'''หมายเหตุ''' ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นไป จะเป็น'''หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต''' (หลักสูตร 6 ปี)
'''หมายเหตุ''' ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นไป จะเป็นหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 6 ปี)


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:57, 7 ธันวาคม 2556

คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Faculty of Pharmacy , Chiangmai University
ไฟล์:คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.png
สถาปนาพ.ศ. 2509
คณบดีภกญ.รศ.วรรณดี แต้โสตถิกุล[1]
ที่อยู่
อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
วารสารสารสัมพันธ์เภสัชเชียงใหม่
สี███ สีเขียวมะกอก
สถานปฏิบัติสถานปฏิบัติการเภสัชชุมชน
เว็บไซต์pharmacy.cmu.ac.th

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นคณะเภสัชศาสตร์แห่งที่สองของประเทศไทย และเป็นคณะเภสัชศาสตร์แห่งแรกของภาคเหนือและส่วนภูมิภาค จัดตั้งขึ้นในราวปี พ.ศ. 2509 ในฐานะโรงเรียนเภสัชศาสตร์ สังกัดสำนักงานคณบดีคณะแพทยศาสตร์

ประวัติ

  • พ.ศ. 2509 เริ่มจัดการศึกษาเภสัชศาสตร์ ในฐานะโรงเรียนเภสัชศาสตร์ สังกัดสำนักงานคณบดีคณะแพทยศาสตร์ เป็นสถานศึกษาสาขาเภสัชศาสตร์ แห่งแรกในภูมิภาค และเป็นแหล่งที่สองในประเทศไทย มีนักศึกษารุ่นแรกจำนวน 10 คน
  • พ.ศ. 2511 เปลี่ยนเป็นภาควิชาเภสัชศาสตร์ สังกัดคณะแพทยศาสตร์
  • พ.ศ. 2512 บัณฑิตเภสัชศาสตร์ สำเร็จการศึกษารุ่นแรก จำนวน 9 คน
  • พ.ศ. 2519 ปรับปรุงหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิตครั้งแรก
  • พ.ศ. 2520 ได้ย้ายที่ทำการมาดำเนินการ ณ สถานที่ปัจจุบัน บนถนนสุเทพ
  • พ.ศ. 2525 เปิดสอนหลักสูตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชเวท
  • พ.ศ. 2530 เปิดสอนหลักสูตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเภสัชกรรม
  • พ.ศ. 2531 ปรับปรุงการบริหารเป็น 6 ภาควิชาใหม่ ได้แก่ ภาควิชาเภสัชเคมี ภาควิชาเภสัชเวท ภาควิชาเภสัชชุมชน ภาควิชาเภสัชกิจ ภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม และภาควิชาชีวเภสัชกรรม
  • พ.ศ. 2533 เปิดสอนหลักสูตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาร่วมกับคณะอื่นในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในสาขาสาธารณสุข ใช้หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิตใหม่ ซึ่งได้รับการปรับปรุงครั้งที่ 2 ตั้งแต่ พ.ศ. 2526
  • พ.ศ. 2535 เปิดสอนหลักสูตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชเคมี และวิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม
  • พ.ศ. 2539 เปิดสอนหลักสูตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิกร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์อื่น ๆ ในส่วนภูมิภาคอีก 3 มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2540 เปิดสอนหลักสูตรมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพร่วมกับคณะอื่นในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พ.ศ. 2541 ใช้หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต ซึ่งได้รับการปรับปรุง ครั้งที่ 3 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2539 เป็นหลักสูตรกึ่งเฉพาะทาง 2 แผน ได้แก่ แผนวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม และแผนเภสัชกรรมปฏิบัติ
  • พ.ศ. 2542 เปิดสอนหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ ที่คณะเภสัชศาสตร์รับผิดชอบโดยตรงคณะเดียว ที่มุ่งเน้นการวิจัยและการประยุกต์การใช้ความรู้ทางเภสัชศาสตร์ทุกแขนงร่วมกัน และเปิดสอนหลักสูตรมหาบัณฑิตนานาชาติสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพอื่น ๆ ได้ปรับปรุงการบริหาร วิชาการ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรใหม่เป็น 2 สายวิชา ซึ่งมีฐานะเทียบเท่าภาควิชาได้แก่สายวิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม และสายวิชาบริบาลเภสัชกรรม
  • พ.ศ. 2544 เปิดสอนหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์(หลักสูตรนานาชาติ) และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม
  • พ.ศ. 2547 ใช้หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต ซึ่งได้รับการปรับปรุงครั้งที่ 4 ในปีการศึกษา 2546 โดยได้ปรับปรุง เนื้อหากระบวนวิชาและเพิ่มกระบวนวิชาในเชิงบูรณาการองค์ความรู้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งปรับเนื้อหา กระบวนวิชาให้ทันสมัย สอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนในสภาวการณ์ปัจจุบันและสอดคล้องกับเกณฑ์ มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมของสภาเภสัชกรรม พ.ศ. 2545,เปิดสอนหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรม (หลักสูตร 6 ปี)และเปิดสอนโครงการการผลิตเภสัชศาสตรบัณฑิต ภาคพิเศษ รับนักศึกษารุ่นแรกจำนวน 60 คน
  • พ.ศ. 2549 เปิดสอนโครงการผลิตเภสัชกรเพื่อร้านยาคุณภาพ รับนักศึกษารุ่นแรกจำนวน 5 คน
  • พ.ศ. 2550 ใช้หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต ซึ่งได้รับการปรับปรุงครั้งที่ 5 ในปีการศึกษา 2549 โดยได้ปรับ หลักสูตรให้ทันสมัยและตรงตามความต้องการของตลาดมากขึ้น โดยปรับแผนการศึกษาจากเดิม 2 แผน เป็น 4 แผน โดยเพิ่มแผน 3 : วิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง และแผน 4 : บริบาลเภสัชกรรม (Sandwich Program ร่วมกับ Curtin University of Technology) และเปิดสอนหลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการเภสัชกรรม ทั้งหลักสูตรภาคปกติ และภาคพิเศษ
  • พ.ศ. 2551 ปรับปรุงหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2550 ในส่วนหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป และกระบวนวิชา สำหรับระบบสหกิจศึกษา ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น เป็นหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2552
  • พ.ศ. 2552 เปิดสอนหลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต พ.ศ. 2552 และหลักสูตร เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก พ.ศ. 2552
  • พ.ศ. 2553 เปิดสอนหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2553 (หลักสูตร 6 ปี) เป็นหลักสูตรสำหรับนักศึกษา ระดับปริญญาตรีที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2553 ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อให้มีความสอดคล้องกับข้อ กำหนดของสภาเภสัชกรรมตามที่กำหนดสำหรับการสอบใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม[2]

ปัจจุบันคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ทำการยุบรวมภาควิชาจาก 6 ภาควิชา เป็น 2 ภาควิชาคือ ภาควิชาบริบาลเภสัชกรรม และภาควิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม

ภาควิชา

ภาควิชาบริบาลเภสัชกรรม (Department of Pharmaceutical Care)
  1. ชีวเภสัชกรรม (ฺBiopharmacy)
  2. เภสัชกรรมชุมชน (Community Pharmacy)
  3. บริหารเภสัชกิจ (Pharmacy Administration)
ภาควิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม (Department of Pharmaceutical Sciences)
  1. เภสัชเคมี (Pharmaceutical Chemistry)
  2. เทคโนโลยีเภสัชกรรม (Pharmaceutical Technology)
  3. เภสัชเวท (Pharmacognosy)

หลักสูตร

ระดับปริญญาตรี
ระดับปริญญาโท
ระดับปริญญาเอก
  • หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี)
    • สาขาวิชาเภสัชศาสตร์
  • หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 6 ปี)[3]
    • สาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรม
  • หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
    • สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก
    • สาขาวิชาการจัดการเภสัชกรรม
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
    • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม[4]
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
    • สาขาวิชาเภสัชศาสตร์
    • สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (นานาชาติ)[5]

หมายเหตุ ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นไป จะเป็นหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 6 ปี)

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น