ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: เปลี่ยนจาก หมวดหมู่:ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน) ไปยัง หมวดหมู่:ราชวงศ์ทิพย...
บรรทัด 78: บรรทัด 78:
}}{{สิ้นพระชนม์ปี|2413}}
}}{{สิ้นพระชนม์ปี|2413}}
[[หมวดหมู่:เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่| 6]]
[[หมวดหมู่:เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่| 6]]
[[หมวดหมู่:ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)]]
[[หมวดหมู่:ราชวงศ์ทิพย์จักร]]
[[หมวดหมู่:พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ]]
[[หมวดหมู่:พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ]]
[[หมวดหมู่:ราชโอรสและราชธิดาในเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 1]]
[[หมวดหมู่:ราชโอรสและราชธิดาในเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 1]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:02, 7 ธันวาคม 2556

พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์
พระเจ้านครเชียงใหม่
ครองราชย์พ.ศ. 2399 - พ.ศ. 2413
รัชสมัย16 ปี
รัชกาลก่อนหน้าพระเจ้ามโหตรประเทศ
รัชกาลถัดไปพระเจ้าอินทวิชยานนท์
พิราลัยพ.ศ. 2413
พระมเหสีแม่เจ้าอุษามหาเทวี
พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ดำรงนพีสีนคร สุนทรทศลักษณะเกษตร วรฤทธิ์เดชมหาโยนางคราชวงศาธิบดี พระเจ้านครเชียงใหม่
พระบุตร· แม่เจ้าเทพไกรสรราชเทวี
· เจ้าอุบลวรรณา
ราชวงศ์ราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน (ทิพย์จักราธิวงศ์)
พระบิดาพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ
พระมารดาแม่เจ้าโนจาราชเทวี

พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ทรงเป็น พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 6 แห่ง "ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)"[1] ด้วยพระนิสัยที่เด็ดขาดเป็นที่เคารพยำเกรงในหมู่ข้าราชบริพารและพสกนิกร เมื่อทรงพิจารณาตัดสินว่าคดีความใดแล้ว หากทรงเอ่ยว่า "อ้าว" เมื่อใด หมายถึงการต้องโทษตัดศีรษะประหารชีวิต จนประชาชนทั่วไปต่างถวายพระสมัญญาว่า "เจ้าชีวิตอ้าว"

พระราชประวัติ

พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ หรือ พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ดำรงนพีสีนคร สุนทรทศลักษณะเกษตร วรฤทธิ์เดชมหาโยนางคราชวงศาธิบดี พระเจ้านครเชียงใหม่ ทรงราชสมภพเมื่อจุลศักราช - ปี- จัตวาศก (พ.ศ.-) ทรงเป็นราชโอรสใน พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ, พระเจ้านครเชียงใหม่ องค์ที่ 1 กับ แม่เจ้าโนจาราชเทวี และทรงเป็นราชนัดดา (หลานปู่) ใน เจ้าฟ้าชายแก้ว สิงหราชธานี เจ้าผู้ครองนครลำปาง กับ แม่เจ้าจันทาราชเทวี

พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ทรงมีราชเชษฐา ราชอนุชา และราชขนิษฐา รวม 5 พระองค์ มีพระนามตามลำดับ ดังนี้

  • เจ้าราชบุตร (สุริยฆาต), เจ้าราชบุตรนครเชียงใหม่ - พระไปยกา (เจ้าตาทวด) ใน "เจ้าหญิงทิพวัน กฤดากร" และ "เจ้าหญิงศรีนวล กฤดากร" ชายา ใน "พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช"
  • พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 6
  • เจ้าหญิงคำใส
  • เจ้าหนานไชยเสนา

พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ เสด็จขึ้นครองนครเชียงใหม่ ใน พ.ศ. 2399 จนกระทั่งถึงแก่พิราลัยใน พ.ศ. 2413 รวมระยะเวลาที่ทรงครองนคร 16 ปี สิริพระชนมายุได้ - ชันษา

ราชโอรส ราชธิดา

พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ทรงมีราชธิดา กับแม่เจ้าอุษามหาเทวี รวม 2 พระองค์ ดังนี้

ราชกรณียกิจ

พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ทรงปกครองนครเชียงใหม่ และทำนุบำรุงศาสนาอย่างสม่ำเสมอ ทั้งยังทรงจัดสร้างระฆังชุดใหญ่ ถวายแด่วัดพระธาตุดอยสุเทพ

ในด้านการปกครองทรงเข้มแข็งเป็นที่เกรงขาม แม้แต่สยามประเทศ ก็ยังมิอาจล่วงเกินกิจการภายในของนครเชียงใหม่ได้ แต่พระเจ้ากาวิโรรสฯ ก็มิได้โปรดให้มีการเผยแพร่ศาสนาอื่น เข้ามาในนครเชียงใหม่ และได้ทรงสั่งประหารชีวิตคริสเตียน จำนวน 2 คน ในปี พ.ศ. 2411

พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ เป็นผู้น้อมเกล้าฯ ถวายพระเศวตวรวรรณฯ เป็นช้างในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เมื่อปี พ.ศ. 2412[2]

อ้างอิง

  1. รุ่งพงษ์ ชัยนาม. ประวัติศาสตร์ล้านนา : ประวัติศาสตร์ไทยที่คนไทยไม่ค่อยมีโกาสได้ศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  2. พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย

แหล่งข้อมูลอื่น

  • ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. เพ็ชร์ล้านนา. (ครั้งที่ 2) เชียงใหม่ :ผู้จัดการ ศูนย์ภาคเหนือ, 2538.
  • เจ้าวงศ์สัก ณ เชียงใหม่, คณะทายาทสายสกุล ณ เชียงใหม่. เจ้าหลวงเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2539.
  • นงเยาว์ กาญจนจารี. ดารารัศมี : พระประวัติพระราชชายา เจ้าดารารัศมี. เชียงใหม่ :สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์, 2539.
  • คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์, นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ. [1]
ก่อนหน้า พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ถัดไป
พระเจ้ามโหตรประเทศ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
(พ.ศ. 2399 - พ.ศ. 2413)
พระเจ้าอินทวิชยานนท์