ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นายกรัฐมนตรีเยอรมนี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 27: บรรทัด 27:
ในสมัย [[อดอล์ฟ ฮิตเลอร์]] ได้รวมตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเข้ากับตำแหน่งประธานาธิบดีแล้วเรียกว่า "ผู้นำ" (Führer) หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมนีกลับไปใช้ระบบสหพันธรัฐและมีประธานาธิบดีเป็นประมุขเช่นเดิม หัวหน้าฝ่ายบริหารก็ยังคงเรียกแบบเดิมคือนายกรัฐมนตรี ตำแหน่งนี้เทียบเท่ากับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทย หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมาเยอรมนีมีนายกรัฐมนตรี 8 คน ถ้าไม่นับฮิตเลอร์
ในสมัย [[อดอล์ฟ ฮิตเลอร์]] ได้รวมตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเข้ากับตำแหน่งประธานาธิบดีแล้วเรียกว่า "ผู้นำ" (Führer) หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมนีกลับไปใช้ระบบสหพันธรัฐและมีประธานาธิบดีเป็นประมุขเช่นเดิม หัวหน้าฝ่ายบริหารก็ยังคงเรียกแบบเดิมคือนายกรัฐมนตรี ตำแหน่งนี้เทียบเท่ากับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทย หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมาเยอรมนีมีนายกรัฐมนตรี 8 คน ถ้าไม่นับฮิตเลอร์


นายกรัฐมนตรีคนล่าสุดคือ [[อันเกลา แมร์เคิล]] ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของเยอรมนี สังกัด[[พรรคสหภาพคริสเตียนเดโมแครต]] นางขึ้นดำรงตำแหน่งต่อจาก[[แกร์ฮาร์ด ชโรเดอร์]] จาก[[พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยเยอรมนี]]ในปี ค.ศ. 2005 และได้ัรับเลือกต่อเป็นสมัยที่สองในปี ค.ศ. 2009
นายกรัฐมนตรีคนล่าสุดคือ [[อันเกลา แมร์เคิล]] ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของเยอรมนี สังกัด[[พรรคสหภาพคริสเตียนเดโมแครต]] นางขึ้นดำรงตำแหน่งต่อจาก[[แกร์ฮาร์ด ชโรเดอร์]] จาก[[พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยเยอรมนี]]ในปี ค.ศ. 2005 และได้รับเลือกต่อเป็นสมัยที่สองในปี ค.ศ. 2009


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:39, 28 พฤศจิกายน 2556

นายกรัฐมนตรี
แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
ตรา
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
อันเกลา แมร์เคิล

ตั้งแต่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548
ผู้ประเดิมตำแหน่งคอนราด อเดเนาร์
สถาปนาพ.ศ. 2492
เว็บไซต์www.bundeskanzlerin.de

นายกรัฐมนตรี[1] (เยอรมัน: Bundeskanzler; อังกฤษ: Chancellor) คือ ตำแหน่งประมุขฝ่ายบริหารประเทศเยอรมนี เป็นชื่อเรียกตำแหน่งเก่าแก่ เกิดขึ้นในสมัยที่เยอรมนีเพิ่งรวมประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญจักรวรรดิเยอรมัน (Constitution of the German Empire 1871 AD) ในสมัยบิสมาร์คในปี ค.ศ. 1871 โดยรัฐต่าง ๆ ของเยอรมนีที่เป็นประเทศอิสระจากกันหลายประเทศ หลายแว่นแคว้น (ภายหลังการยกเลิกจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในปี ค.ศ. 1815 โดยพระจักรพรรดินโปเลียนมหาราชแห่งฝรั่งเศส) ได้เข้ามารวมกันภายใต้การนำของราชอาณาจักรปรัสเซีย

การร่างรัฐธรรมนูญครั้งนั้น กำหนดให้พระราชาแห่งราชอาณาจักรปรัสเซียเป็นประธานาธิบดีของสหพันธรัฐ แล้วเรียกชื่อว่า จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิเยอรมัน จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิเยอรมันจะแต่งตั้งหัวหน้าฝ่ายบริหาร คือตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีแห่งจักรวรรดิ (German Chancellor) ที่เรียกชื่อตำแหน่งเช่นนี้ เนื่องจากเยอรมนีมีสภาพเป็นสหพันธรัฐ แต่ละรัฐหรือราชอาณาจักรในสหพันธรัฐ (เช่น ราชอาณาจักรปรัสเซีย, ราชอาณาจักรบาวาเรีย เป็นต้น) ต่างก็มีตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของตนเอง

เมื่อมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ที่เยอรมนีเปลี่ยนไปเป็นระบบประธานาธิบดี หรือแม้แต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ระบบสหพันธรัฐก็ยังคงอยู่ (แม้ว่ายุคบิสมาร์กจะเรียกจักรวรรดิ แต่ในรัฐธรรมนูญนั้นยังเรียกว่าระบบสหพันธรัฐ) ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจึงยังคงเป็นตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหารไม่เปลี่ยนแปลง

ในสมัย อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้รวมตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเข้ากับตำแหน่งประธานาธิบดีแล้วเรียกว่า "ผู้นำ" (Führer) หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมนีกลับไปใช้ระบบสหพันธรัฐและมีประธานาธิบดีเป็นประมุขเช่นเดิม หัวหน้าฝ่ายบริหารก็ยังคงเรียกแบบเดิมคือนายกรัฐมนตรี ตำแหน่งนี้เทียบเท่ากับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทย หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมาเยอรมนีมีนายกรัฐมนตรี 8 คน ถ้าไม่นับฮิตเลอร์

นายกรัฐมนตรีคนล่าสุดคือ อันเกลา แมร์เคิล ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของเยอรมนี สังกัดพรรคสหภาพคริสเตียนเดโมแครต นางขึ้นดำรงตำแหน่งต่อจากแกร์ฮาร์ด ชโรเดอร์ จากพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยเยอรมนีในปี ค.ศ. 2005 และได้รับเลือกต่อเป็นสมัยที่สองในปี ค.ศ. 2009

อ้างอิง

  1. สมใจ ไพโรจน์ธีระรัชต์ (2547). ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม และคณะ (บ.ก.). สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่: ยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (pdf). Vol. 1 (อักษร A-B) (3 ed.). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน. p. 137. ISBN 974-9588-25-8. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2555.

แม่แบบ:Link FA