ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าฟ้ากุณฑล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: เปลี่ยนจาก หมวดหมู่:ฐานันดรศักดิ์ชั้นเจ้าฟ้า ไปยัง หมวดหมู่:เจ้าฟ้า
บรรทัด 11: บรรทัด 11:


[[หมวดหมู่:ราชวงศ์บ้านพลูหลวง]]
[[หมวดหมู่:ราชวงศ์บ้านพลูหลวง]]
[[หมวดหมู่:ฐานันดรศักดิ์ชั้นเจ้าฟ้า|ก]]
[[หมวดหมู่:เจ้าฟ้า|ก]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:04, 27 พฤศจิกายน 2556

เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลและเจ้าฟ้าหญิงมงกุฎ เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศและเจ้าฟ้าสังวาลย์ และเป็นพระขนิษฐาต่างพระมารดาของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐสุริยวงศ์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) เจ้าฟ้าทั้ง 2 พระองค์นั้นเป็นผู้พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องดาหลังและอิเหนา

พระประวัติ

ในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยานั้น สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีเจ้าฟ้าที่เป็นยอดกวีของกรุงศรีอยุธยา ได้แก่ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ รวมทั้ง เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลและเจ้าฟ้าหญิงมงกุฎด้วย เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลและเจ้าฟ้าหญิงมงกุฎเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศและเจ้าฟ้าสังวาลย์ วันหนึ่งมีนางข้าหลวงจากปัตตานีมาเป็นพระพี่เลี้ยงของเจ้าฟ้าทั้งสองชื่อว่ายายยะโว ยายยะโวนั้นชอบเล่านิทานปรัมปราต่างๆ ให้เจ้าฟ้าทั้งสองฟัง วันหนึ่งยายยะโวเล่าเรื่องอิเหนาให้ฟังแต่เล่าไม่จบเพราะยายยะโวต้องไปธุระ เจ้าฟ้าทั้งสองจึงแอบออกจากพระตำหนักมาหอสมุดเพื่อหาอ่านกัน แต่ไปเจอเจ้าฟ้ากุ้งเสียก่อน เจ้าฟ้ากุ้งจึงเล่าเรื่องอิเหนาให้ฟังจนจบ เจ้าฟ้าทั้งสองชอบเรื่องอิเหนาเป็นอย่างมากจึงเอาไปแสดงเล่นกับเหล่าเจ้าฟ้าบ่อยครั้ง อีกทั้งได้ให้เจ้าฟ้ากุ้งสอนกวีนิพนธ์ต่างๆด้วย หลายปีต่อมาคนฝึกซ้อมละครในไม่มีพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเห็นว่าเจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎนั้นได้เก่งด้านนี้จึงให้เจ้าฟ้าทั้งสองเป็นคนฝึกซ้อมละครในแทน เมื่อฝึกซ้อมแล้วเอาไปแสดง นานเข้าคนดูเริ่มเบื่อ เจ้าฟ้าทั้งสองจึงคิดที่จะแต่งบทละครกันเองโดยได้ปรึกษากันว่าจะแต่งเรื่องอิเหนา แต่ก็ไม่รู้ว่าจะเอาตอนไหนมาแต่งดีอีกทั้งความคิดของเจ้าฟ้าทั้งสองไม่ตรงกันจึงไปปรึกษาพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจึงให้แต่งกันคนละเรื่อง เจ้าฟ้าทั้งสองใช้เวลานานกว่าเดือนกว่าจะแต่งเสร็จ เมื่อแต่งเสร็จก็ไปให้พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทอดพระเนตร พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจึงให้เจ้าฟ้าทั้งสองนำไปแสดงเป็นละคร โดยเจ้าฟ้ากุณฑลพระราชนิพนธ์เรื่องดาหลัง ส่วนเจ้าฟ้ามงกุฎพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาพอเอาไปแสดงละครแล้วปรากฏว่าคนดูชอบของเจ้าฟ้ามงกุฎมากกว่า พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจึงอนุญาตให้นำบทละครทั้งสองมาแสดงสืบต่อมา แต่ครั้นเสียกรุงครั้งที่ 2 ต้นฉบับทั้ง 2 ก็ได้หายสาบสูญไป จนสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่

อ้างอิง

  • หนังสือเรื่อง เจ้าฟ้ากุณฑล เจ้าฟ้ามงกุฎกับบทพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนา ของบริษัท EQ plus