ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถตุ๊ก ๆ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2: บรรทัด 2:


[[ไฟล์:Tuktukpktalad05b.jpg|thumb|thumb| รถตุ๊กตุ๊กในกรุงเทพฯ]]
[[ไฟล์:Tuktukpktalad05b.jpg|thumb|thumb| รถตุ๊กตุ๊กในกรุงเทพฯ]]
'''รถตุ๊กตุ๊ก''' หรือชื่อเรียกทางราชการว่า "รถสามล้อเครื่อง" เริ่มแรกเป็นการนำรถสามล้อเครื่อง กระบะบรรทุก จาก[[ประเทศญี่ปุ่น]] เข้ามาดัดแปลง เข้ามาในเมืองไทยครั้งแรกปี [[พ.ศ. 2503]] เพื่อทดแทน [[รถสามล้อถีบ]] ซึ่งถูกห้ามวิ่ง ในเขต[[กรุงเทพมหานคร]] ยุคแรกๆ มีทั้งยี่ห้อ[[ไดฮัทสุ]] [[ฮีโน่]] [[มาสด้า]] [[มิตซูบิชิ]] ปัจจุบันเหลือเพียง ไดฮัทสุ
'''รถตุ๊กตุ๊ก''' หรือชื่อเรียกทางราชการว่า "รถสามล้อเครื่อง" เริ่มแรกเป็นการนำรถสามล้อเครื่อง กระบะบรรทุก จาก[[ประเทศญี่ปุ่น]] เข้ามาดัดแปลง เข้ามาในเมืองไทยครั้งแรกปี [[พ.ศ. 2503]] เพื่อทดแทน [[รถสามล้อถีบ]] ซึ่งถูกห้ามวิ่ง ในเขต[[กรุงเทพมหานคร]] ยุคแรกๆ มีทั้งยี่ห้อ[[ไดฮัทสุ]] [[ฮีโน่]] [[มาสด้า]] [[มิตซูบิชิ]] ปัจจุบันเหลือเพียง ไดฮัทสุ มาสด้า ฮีโน่


ทุกวันนี้[[ประเทศไทย]]ได้ผลิตและส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศด้วย ในนาม "TUK-TUK" สามล้อตุ๊กตุ๊กมีบริการทั่วไปทุกจังหวัด ซึ่งบางท้องที่จะมีลักษณะเฉพาะพิเศษ อย่างเช่นรถตุ๊กตุ๊กใน[[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]] มีหน้ารถขนาดใหญ่กว่าทั่วไปจะเรียกกันว่า "รถตุ๊กตุ๊กหน้ากบ"
ทุกวันนี้[[ประเทศไทย]]ได้ผลิตและส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศด้วย ในนาม "TUK-TUK" สามล้อตุ๊กตุ๊กมีบริการทั่วไปทุกจังหวัด ซึ่งบางท้องที่จะมีลักษณะเฉพาะพิเศษ อย่างเช่นรถตุ๊กตุ๊กใน[[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]] มีหน้ารถขนาดใหญ่กว่าทั่วไปจะเรียกกันว่า "รถตุ๊กตุ๊กหน้ากบ"

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:20, 25 พฤศจิกายน 2556

รถตุ๊กตุ๊กในกรุงเทพฯ

รถตุ๊กตุ๊ก หรือชื่อเรียกทางราชการว่า "รถสามล้อเครื่อง" เริ่มแรกเป็นการนำรถสามล้อเครื่อง กระบะบรรทุก จากประเทศญี่ปุ่น เข้ามาดัดแปลง เข้ามาในเมืองไทยครั้งแรกปี พ.ศ. 2503 เพื่อทดแทน รถสามล้อถีบ ซึ่งถูกห้ามวิ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร ยุคแรกๆ มีทั้งยี่ห้อไดฮัทสุ ฮีโน่ มาสด้า มิตซูบิชิ ปัจจุบันเหลือเพียง ไดฮัทสุ มาสด้า ฮีโน่

ทุกวันนี้ประเทศไทยได้ผลิตและส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศด้วย ในนาม "TUK-TUK" สามล้อตุ๊กตุ๊กมีบริการทั่วไปทุกจังหวัด ซึ่งบางท้องที่จะมีลักษณะเฉพาะพิเศษ อย่างเช่นรถตุ๊กตุ๊กในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีหน้ารถขนาดใหญ่กว่าทั่วไปจะเรียกกันว่า "รถตุ๊กตุ๊กหน้ากบ"

รถตุ๊กตุ๊กหน้ากบ ให้บริการทั่วไป ในอำเภอพระนครศรีอยุธยา
Daihatsu Midget Model DKA, 1957

ประวัติ

ปี พ.ศ. 2500 ประเทศญี่ปุ่นเริ่มจำหน่ายรถบรรทุกสามล้อ ยี่ห้อไดฮัทสุ (Daihatsu) รุ่นมิดเจ็ท ดีเค (Midget DK) เป็นรถสองจังหวะ (ZA 250cc) มีไฟหน้าหนึ่งดวง และมีที่จับบังคับเหมือนรถจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นรถต้นแบบรถตุ๊กตุ๊กของไทย

ปี พ.ศ. 2503 ประเทศไทยเริ่มมีการนำเข้ารถบรรทุกสามล้อ ยี่ห้อไดฮัทสุ รุ่นมิดเจ็ท ดีเคจากญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก เป็นจำนวน 30 คัน บรรทุกมาทางเรือขึ้นที่ท่าเรือคลองเตย และนำออกจำหน่ายกันอย่างแพร่หลายในย่านเยาวราช โดยคนไทยในยุคนั้นเรียกกันว่า "สามล้อเครื่อง" ต่อมาภายหลังเศรษฐกิจไทยดีขึ้น จึงเพิ่มการนำเข้ารุ่นมิดเจ็ท เอ็มพี 4 (Midget MP4) ซึ่งเป็นรถรุ่นใหม่ที่เพิ่มส่วนประตูสองข้าง โดยได้ทำการขยายการจำหน่ายไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดตรังด้วย รถรุ่นนี้จึงเป็นรถต้นแบบของรถตุ๊กตุ๊กที่วิ่งกันอยู่ในปัจจุบันของทั้งสองจังหวัด และเมื่อรถบรรทุกสามล้อได้รับความนิยมจากคนไทย จึงมีการนำเข้ารถยี่ห้ออื่นๆตามมา

ในประเทศไทยยุคแรก รถตุ๊กตุ๊กที่มีใช้คือยี่ห้อนิสสัน อีซูซุ ไดฮัทสุ ฮีโน่ มาสด้า มิตซูบิชิ ซึ่งตกอยู่ราวคันละ เกือบ 2 หมื่นบาท (ปัจจุบันราคาถึงหลักแสน ปัจจุบันเหลือเพียง มาสด้าฮีโน่อีซูซุสมัยก่อนรถตุ๊กตุ๊กมีทางให้ผู้โดยสารขึ้นลง 2 ด้าน แต่เปลี่ยนมาขึ้นลงทางเดียวเพื่อความปลอดภัย

วิวัฒนาการจากการนำรถสามล้อเครื่องกระบะบรรทุกจากญี่ปุ่น เข้ามาดัดแปลง โดยเอามาต่อหลังคาเพิ่มไว้สำหรับนั่งโดยสารและขนของได้ จนปี พ.ศ. 2508 ทางราชการเตรียมยกเลิกรถตุ๊กตุ๊กเนื่องจากเห็นว่าเป็นรถที่มีกำลังแรงม้าต่ำ แล่นช้า เกะกะกีดขวางทางจราจร


ปี พ.ศ. 2535 ประเทศไทยผลิตรถบรรทุก3ล้อยี่ห้ออีซูซุรุ่นอีซูซุ วิซาร์ดรุ่นไอเคIK,มี่ทั้งหมด3รุ่น ce2 ce3 ce4ผลิตรถโรงงานอีซูซุ อำเภอพระประแดงจังหวัดสมุทรปราการเครื่องยนต์isuzuohcเป็นรถหกจังหวะ248ccไอเคจากไทยครั้งแรกจำนวน278คันป้ายยี่ห้อรถรุ่นต่างๆคำว่าISUZUบรรทุกขื้นเรือที่ท่าน้ำนนทบุรีโรงงานผลิตชื้นส่วนอะไหล่แห่งที่3บริษัท ไทยตุ๊กตุ๊กมอเตอร์ จำกัดถนนเพชรบุรีเขตราชเทวีไปวันชนะ สวัสดีเป็นอาชีพขายน้ำมันเครื่องยี่ห้อเอ็กซอนโมบิลที่ขไปศูนย์บริการอีซูซุไปซ่อมรถถ่ายน้ำมันเครื่องยี่ห้อเอ็กซอนโมบิลรุ่นวัน ติดแบตเตอรี่ยี่ห้อพานาโซนิค คอร์ปอเรชั่นติดวิทยุcd mp3เจวีซีฟังเพลงของบริษัทแกรมมี่โกลด์ส่งออกไปต่างประเทศ ญี่ปุ่น เกาหลี ลาวไปออกจำหน่ายกันอย่างแพร่หลายที่แยกประตูน้ำช่วยส่งเสริมท่องเที่ยวของไทยด้วย ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นอีซูซุ

รถสามล้อสิงห์ธำรงไทย

รถสามล้อสิงห์ธำรงไทย เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมของสามล้อสกายแล๊ปขนาดเครื่องยนต์ 150 cc ที่ปรับปรุงและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก ด้วยวิธีการออกแบบและวิเคราะห์โครงสร้างโดยหลักวิศวกรรมขั้นสูงคือระเบียบวิธีไฟในต์อิลิเมนต์ (Finite Element Method, FEM) ผลที่ได้ทำให้เกิดการปรับปรุงส่วนกลไกสำคัญต่างๆ เช่น รูปร่างโครงสร้าง chassis ระบบส่งกำลังระบบกันสะเทือน ระบบเบรก ระบบเกียร์ถอยหลัง ระบบเสถียรภาพขณะวิ่ง และการเพิ่มพื้นที่บรรทุกภาระสิ่งของหรือผู้โดยสาร ทำให้ได้รถที่มีทั้งสมรรถนะและรูปลักษณ์ทันสมัยน่าใช้งานมากขึ้นกว่ารูปแบบทั่วไปที่มีอยู่เดิมในปัจจุบัน

รถสามล้อสิงห์ธำรงไทย จึงมีจุดเด่นคือ

  • โครงสร้างแข็งแรงทนทาน น้ำหนักเบา และมีความปลอดภัยตามมาตรฐานวิศวกรรมยานยนต์
  • ใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตเองภายในประเทศและมีค่าใช้จ่ายในการผลิตเพื่อเชิงพาณิชย์ต่ำ
  • ความสามารถในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานแบบอเนกประสงค์ได้ทั้งการบรรทุกคนหรือสัมภาระสิ่งของต่างๆ หรือเป็นรถนำเที่ยวตามรีสอร์ตเมื่อเพิ่มกำลังเครื่องยนต์เป็นขนาด 650 cc"

อ้างอิง

  • ดาโกะญี่ปุ่น. (2009). ไปขึ้นรถตุ๊กตุ๊กกัน. วารสารดาโกะ ฉบับภาษาไทย. 73. 6-9.
  • สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. ผลงานวิจัย สวทช. สู่เชิงพาณิชย์ ปี 2549-2554. ปทุมธานี : สำนักงานฯ, 2554.