ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บึงละหาน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Natthaphum (คุย | ส่วนร่วม)
Natthaphum (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 23: บรรทัด 23:


=== ปลา ===
=== ปลา ===
บึงละหานมีอาณาบริเวณที่กว้างใหญ่และมีน้ำตลอดทั้งปี ทำให้ปลาสามารถอาศัยและขยายพันธุ์ได้ดี พบปลาอย่างน้อย 25 ชนิด '''ชนิดที่อยู่ในสภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์''' ได้แก่ [[ปลาดุกด้าน]] '''ปลาในวงศ์ปลาตะเพียน''' พบ 9 ชนิด '''ปลาในวงศ์ปลาหมอ''' พบ 3 ชนิด '''ปลาเศรษฐกิจ''' ได้แก่ [[ปลาสลาด]] ปลาสูบจุด ปลาตะเพียนขาว ปลาสร้อยขาว ปลาสร้อยนกเขา ปลาหมอช้างเหยียบ ปลาช่อน
บึงละหานมีอาณาบริเวณที่กว้างใหญ่และมีน้ำตลอดทั้งปี ทำให้ปลาสามารถอาศัยและขยายพันธุ์ได้ดี พบปลาอย่างน้อย 25 ชนิด '''ชนิดที่อยู่ในสภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์''' ได้แก่ [[ปลาดุกด้าน]] '''ปลาในวงศ์ปลาตะเพียน''' พบ 9 ชนิด '''ปลาในวงศ์ปลาหมอ''' พบ 3 ชนิด '''ปลาเศรษฐกิจ''' ได้แก่ [[ปลาสลาด]] ปลาสูบจุด [[ปลาตะเพียนขาว]] [[ปลาสร้อยขาว]] [[ปลาสร้อยนกเขา]] [[ปลาหมอช้างเหยียบ]] [[ปลาช่อน]]


=== พืช ===
=== พืช ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:35, 22 พฤศจิกายน 2556

บึงละหาน เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติมีเนื้อที่กว้างใหญ่ เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 3 ของประเทศไทย 18,181 ไร่ เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์และยังมีระบบนิเวศที่ดี บึงละหานได้รับเลือกให้เข้าอยู่ในทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติของไทย ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2543 เรื่อง ทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและระดับชาติของประเทศไทย และมาตรการการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ เพื่อเสนอขอขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำสำคัญระดับนานาชาติ(Ramsar Site)ต่อสำนักงานเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกภาคีของอนุสัญญาแรมซาร์(Ramsar Convention) อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะในการเป็นถิ่นที่อยู่ของนกน้ำ (The Convention on Wetlands of International Importance, especially as Waterfowl Habitat.) และเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2552 มีมติคณะรัฐมนตรี การทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2543

ที่ตั้งและพื้นที่

บึงละหาน ครอบคลุมพื่นที่ 4 ตำบลในอำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ได้แก่ ตำบลละหาน ตำบลหนองบัวใหญ่ ตำบลหนองบัวบาน ตำบลลุ่มลำชี โดยมีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณตำบลละหาน อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ

เนื้อที่ 29.09 ตารางกิโลเมตร ( 18,181 ไร่ )

ตำแหน่งทางภูมิศาตร์ 15ํ 35'-40' N และ 101ํ 50'-56' E

สูงจากระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 190 เมตร

สภาพทางกายภาพ

สภาพเดิม

สภาพเดิม เป็นหนองน้ำหลายแห่งที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ในฤดูน้ำหลากน้ำจะไหลเข้ามาจากลำห้วยต่างๆเช่น ห้วยลำคันฉู ห้วยหลัว ห้วยยาง ห้วยตาแก้ว เป็นต้น ทำให้ปริมาณน้ำในหนองเออเข้าหากันรวมเป็นหนองขนาดใหญ่ เรียกว่า บึงละหาน ภายในบริเวณบึงมีเกาะที่เกิดจากน้ำท่วมไม่ถึงซึ่งชาวบ้านเรียกว่าโนน เช่น โนนจาน โนนงิ้ว และน้ำในบึงจะใหลลงแม่น้ำชีในที่สุด เนื่องจากบึงละหานเป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติไม่มีระบบกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งน้ำในบึงจึงลดลงมากจนมีสภาพตื้นเขินสามารถนำปศุสัตว์ลงหากินและทำเกษตรได้ในบางพื้นที่

สภาพปัจจุบัน

สภาพปัจจุบัน บึงละหาน ได้รับการพัฒนาให้มีคันดินล้อมรอบบริเวณบึง มีฝายน้ำล้นกักเก็บน้ำและมีประตูเปิดปิดน้ำไว้ไม่ให้ไหลลงลำน้ำชีเร็วเกินไปเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภคหล่อเลี้ยงชาวจังหวัดชัยภูมิ เพื่อการเกษตร การประมง และเพื่อป้องกันการบุกรุกพื้นที่บึงละหาน บึงละหานจึงกลายเป็นบึงขนาดใหญ่ มีน้ำตลอดทั้งปี ระดับน้ำลึกที่สุดประมาณ 1.5 – 4 เมตร และยังคงมีแกาะกลางน้ำที่น้ำท่วมไม่ถึงอยู่เช่นเดิม เกาะที่ใหญ่ที่สุดประมาณ 0.3 ตารางกิโลเมตร (187.5 ไร่) มีป่าละเมาะขึ้นที่โดยรอบจะมีลักษณะเกาะจะค่อนข้างเรียบลักษณะดินโดยรอบเป็นดินที่ที่มีการทับถมของซากพืชจึงมีความอ่อนตัวของดิน จากสภาพเดิมของบึงละหานที่เป็นบึงน้ำตามธรรมชาติ ในฤดูน้ำหลากน้ำจะเออเข้าท่วมหมู่บ้านโดยรอบเป็นประจำทุกปี

สภาพทางชีวภาพ

นก

บึงละหานมีระบบนิเวศที่มีความสภาพสมบูรณ์ ยังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่มากทำให้มีนกหลากหลายสายพันธุ์เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่ ซึ่งพบอย่างน้อย 56 ชนิด นกประจำถิ่น 24 ชนิด นกน้ำและนกชายเลน 27 ชนิด นกอพยพแต่มิใช่เพื่อการผสมพันธุ์ 29 ชนิดได้แก่ นกยางโทนน้อย นกยางโทนใหญ่ นกยางเปีย นกยางไฟธรรมดา นกยางไฟหัวดำ นกอพยพเพื่อการผมพันธ์ 1 ชนิด ได้แก่ นกแอ่นทุ่งใหญ่ นกอพยพตามฤดูกาล 1 ชนิด ได้แก่ นกแซงแซวหางปลา นกที่อยู่ในสภาพใกล้สูญพันธุ์ ได้แก่ นกกระสานวล นกกระสาแดง นกกระแตหาง นกที่อยู่ในสภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง ได้แก่ นกกระแตผีใหญ่ นกที่พบมาก ได้แก่ นกนางแอ่นทุ่งใหญ่ เป็ดแดง

ปลา

บึงละหานมีอาณาบริเวณที่กว้างใหญ่และมีน้ำตลอดทั้งปี ทำให้ปลาสามารถอาศัยและขยายพันธุ์ได้ดี พบปลาอย่างน้อย 25 ชนิด ชนิดที่อยู่ในสภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ ได้แก่ ปลาดุกด้าน ปลาในวงศ์ปลาตะเพียน พบ 9 ชนิด ปลาในวงศ์ปลาหมอ พบ 3 ชนิด ปลาเศรษฐกิจ ได้แก่ ปลาสลาด ปลาสูบจุด ปลาตะเพียนขาว ปลาสร้อยขาว ปลาสร้อยนกเขา ปลาหมอช้างเหยียบ ปลาช่อน

พืช

พืชในบึงละหานกระจายอยู่ในบริเวณต่างๆ หนาแน่นบริเวณขอบบึงทิศตะวันตกและทิศเหนือของบึง พบมากที่สุดคือธูปฤๅษี กกสามเหลี่ยม หญ้าขน หญ้าชันกาด บริเวณขอบบึงถึงบริเวณกลางน้ำพบ ผักตกชวา จอกแหน พังพวยน้ำ ผักบุ้ง สาวบัว บัวหลวง กระจับ จอก ไข่ผำ บริเวณน้ำลึกจะมีสาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายหางวัว บางบริเวณจะมีกลุ่มพืชที่ขึ้นทับถมกันหนาแน่นลอยไปตามน้ำคล้ายเกาะลอยน้ำ ชาวบ้านในท้องถิ่น เรียกว่า กอสนม

แหล่งข้อมูลอื่น