ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรมการค้าภายใน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
มังกรคาบแก้ว (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 22: บรรทัด 22:
| รหัสภูมิภาค =
| รหัสภูมิภาค =
| บุคลากร =
| บุคลากร =
| งบประมาณ = 1,135.5406 ล้านบาท <small>([[พ.ศ. 2555]])</small><ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2555/A/015/1.PDF พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555]ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 129 ตอนที่ 15ก วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2555</ref>
| งบประมาณ = 1,241.9402 ล้านบาท <small> ([[พ.ศ. 2557]]) </small><ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/A/093/1.PDF พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557]</ref>
| รัฐมนตรี1_ชื่อ =
| รัฐมนตรี1_ชื่อ =
| รัฐมนตรี1_ตำแหน่ง =
| รัฐมนตรี1_ตำแหน่ง =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:55, 30 ตุลาคม 2556

กรมการค้าภายใน
Department of Internal Trade of Thailand
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง5 พฤษภาคม พ.ศ. 2485
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่44/100 ถนนสนามบินน้ำ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000
งบประมาณประจำปี1,241.9402 ล้านบาท (พ.ศ. 2557) [1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • สมชาติ สร้อยทอง, อธิบดี
  • สันติชัย สารถวัลย์แพศย์, รองอธิบดี
  • สมชาติ สร้อยทอง, รองอธิบดี
  • นพพร ลิ้นทอง, รองอธิบดี
ต้นสังกัดกระทรวงพาณิชย์
หน่วยงานลูกสังกัด
เว็บไซต์http://www.dit.go.th

กรมการค้าภายใน (อังกฤษ: Department of Internal Trade of Thailand) ก่อตั้งวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 [2] ซึ่งในขณะนั้นประเทศอยู่ระหว่างสงครามประเทศไทยไม่อาจหลีกเลี่ยงผลภัยจากสงครามได้ จึงมีความจำเป็นต้องพร้อมเตรียมรับปัญหาทุกด้าน และงานเศรษฐกิจสำคัญ เช่น การพาณิชย์ อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ ยังรวมอยู่ในการดูแลของกระทรวงเดียว จึงได้ยกฐานะกรมพาณิชย์ขึ้นเป็นกระทรวงพาณิชย์ และตั้งกรมการค้าภายในขึ้นในสังกัด ทำหน้าที่ดูแลงานการค้าภายในประเทศ

ประวัติ

กรมการค้าภายในสมัยแรกเริ่มนั้น มีภารกิจหลักคือมุ่งเน้นส่งเสริมการค้าภายในประเทศเป็นสำคัญ ทำหน้าที่ส่งเสริมการค้าของคนไทย และการค้าโดยทั่วไป สืบราคาและรายงานความเคลื่อนไหวของสินค้า อุปโภคบริโภคที่จำเป็นในการครองชีพ และแหล่งผลิตของสินค้านั้นๆ เพื่อใช้ประกอบการส่งเสริมและช่วยเหลือผู้ผลิตให้ขายได้ราคา รวมทั้งแก้ไขปัญหาการค้าอันกระทบกระเทือนถึงการครองชีพของประชาชน เนื่องจากระหว่างนั้นอยู่ในสมัยของสงคราม เศรษฐกิจในประเทศไม่เป็นปกติ การดูแลแก้ปัญหา สินค้าขาดแคลนและขึ้นราคาเป็นภาระหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งทุกหน่วยงานรวมทั้งกรมการค้าภายในต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาโดยใกล้ชิด และเมื่อหลังสิ้นสุดสงครามแล้วราคาสินค้าต่าง ๆ ได้พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งเป็นภาระของกรมการค้าภายในต้องจัดหาสินค้ามาป้อนร้านค้าให้เพียงพอ เพื่อตรึงราคามิให้สูงเกินสมควร

ในปี พ.ศ. 2487พ.ศ. 2495 กระทรวงพาณิชย์ [3]ได้ปรับปรุงจัดระเบียบการบริหารงานของหน่วยงานในสังกัด และโอนงานหลายอย่างมาให้กรมการค้าภายในดูแลรับผิดชอบ โอนงานของกรมควบคุมการค้าที่ถูกยุบเลิก มาจัดตั้งเป็นกองควบคุมการค้า และกองควบคุมข้าว[4] อันทำให้ภารกิจของกรมการค้าภายในแต่เดิมเป็นงานส่งเสริม เพิ่มมาทำหน้าที่ควบคุมด้วยหลังจากนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ เพื่อให้เหมาะสมกับภารกิจและสถานการณ์ในปี พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2535 และ พ.ศ. 2542

วิสัยทัศน์

เป็นองค์กรนำในการเสริมสร้างประสิทธิภาพกลไกการตลาดและความเป็นธรรมทางการค้า[5]ได้

บทบาทหน้าที่

  1. กำกับดูแลให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรม ในการอุปโภคบริโภคสินค้าและบริการ รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้บริโภคมีบทบาทในการพิทักษ์ประโยชน์ของตนเอง[6]
  2. พัฒนาระบบตลาด รวมทั้งส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการตลาดและตลาดในประเทศ เพื่อสร้างโอกาสการและความเป็นธรรมแก่เกษตรกร ผู้ผลิตที่เกี่ยวข้อง
  3. กำกับดูแลและส่งเสริมพัฒนาการประกอบธุรกิจการค้าในประเทศให้มีการแข่งขัน และมีการค้าที่เป็นธรรม
  4. ส่งเสริมและพัฒนาการชั่ง ตวง วัด ในทางการค้าให้เป็นมาตรฐานสากล กำกับดูแลและสอดส่องพฤติกรรมการใช้เครื่องชั่ง ตวง วัด ในการซื้อหรือขายสินค้าเกษตร และสินค้าอุปโภคให้เกิดความเป็นธรรม

พันธกิจ

  1. พัฒนาและส่งเสริมระบบตลาด การตลาด และตลาด ให้เกิดประสิทธิภาพ เพื่อสร้างโอกาสและให้ความเป็นธรรมแก่เกษตรกร
  2. กำกับดูแลการค้าสินค้าและบริการ และการชั่งตวงวัด เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการซื้อขาย รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้บริโภคมีบทบาทในการดูแลราคาและพฤติกรรมทางการค้า
  3. กำกับดูแลและส่งเสริมการประกอบธุรกิจการค้าในประเทศให้มีการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม
  4. พัฒนาองค์กรให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

เป้าประสงค์

  1. เกษตรกรได้รับผลตอบแทนที่เป็นธรรมภายใต้ระบบตลาด การตลาด และตลาดที่มีประสิทธิภาพ
  2. ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมในด้านราคา ปริมาณ คุณภาพ รวมทั้งมีความเข้มแข็งในการพิทักษ์ประโยชน์ของตนเอง
  3. ธุรกิจมีการแข่งขันอย่างเป็นธรรมและมีธรรมาภิบาลทางการค้า
  4. ระบบการบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล บนพื้นฐานของหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

กลยุทธ์ในภาพรวมของกรม

  1. เสริมสร้างประสิทธิภาพกลไกการตลาด เพื่อสร้างเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรที่เป็นธรรม
  2. เสริมสร้างระบบตลาด เพื่อสร้างโอกาสทางการตลาด และกระจายสินค้าอย่างมีประสิทธิพ และเชื่อมโยงกับตลาดทั้งในและต่างประเทศ
  3. ส่งเสริมการลดค่าครองชีพโดยจัดการและสร้างความร่วมมือกับกลไกภาคเอกชนให้มีสินค้าที่มีราคาเหมาะสมและเป็นธรรมต่อผู้บริโภค
  4. พัฒนาระบบบริหารจัดการในการกำกับดูแลราคาให้เหมาะสม เป็นธรรม ปริมาณเพียงพอ ครบถ้วน ถูกต้อง
  5. ส่งเสริมและพัฒนาระบบการชั่งตวงวัดให้มีมารฐานเป็นกลไกสนับสนุนให้เกิดความเป็นธรรมในการซื้อสินค้าและบริการ
  6. สร้างความเข้มแข็งผู้บริโภคและสร้างเครือข่ายพันธมิตรในการดูแลราคาและพฤติกรรมทางการค้า
  7. ส่งเสริมการค้าสินค้าและบริการให้มีการประกอบการที่ดี มีมาตรฐานเพื่อเป็นทางเลือกแก่ผู้บริโภค
  8. พัฒนาระบบการกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม [7]
  9. พัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการโลจิสติกส์การตลาด้านคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น ให้มีมาตรฐาน เอื้อต่อการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
  10. พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance)

ค่านิยม

  • ธำรงไว้ซึ่งความเป็นธรรมทางการค้า
  • พัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ
  • เปิดเผย โปร่งใส ใส่ใจ ให้บริการ
  • ทำงานมุ่งผลสัมฤทธิ์และอุทิศตนเพื่อส่วนรวม

หน่วยงานในสังกัด

  • สำนักงานเลขานุการกรม
  • สำนักกฎหมาย
  • สำนักส่งเสริมและพัฒนาระบบตลาด
  • สำนักจัดระบบราคาและปริมาณสินค้า
  • สำนักชั่ง ตวง วัด
  • สำนักตรวจสอบและปฏิบัติการ
  • สำนักสารสนเทศการค้าในประเทศ
  • สำนักส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า
  • สำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร
  • กลุ่มตรวจสอบภายใน
  • กลุ่มงานพัฒนาระบบบริหาร
  • กองกิจการงานภูมิภาค
  • กองพัฒนาระบบการค้า

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น