ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แก๊สธรรมชาติอัด"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 58: บรรทัด 58:
== การใช้ในประเทศไทย ==
== การใช้ในประเทศไทย ==
{{ไม่เป็นสารานุกรม}}
{{ไม่เป็นสารานุกรม}}
ใน[[ประเทศไทย]]แต่ก่อนเคยเป็นปัญหาว่าสถานีบริการมีน้อย และคนไทยในสมัยนั้นยังไม่คุ้นชินกับการใช้รถเติมก๊าซ แต่ปัจจุบันมีเพิ่มขึ้นมาก ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน ผู้ใช้บริการจะได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น ปัจจุบันยังมีผู้ให้บริการหลายยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็น ปตท. บางจาก ทีพีไอโพลีน เพาเวอร์ และซัสโก้ แต่เนื่องจากเงินลงทุนในการสร้างสถานีบริการต้องใช้เงินมาก แต่ได้กำไรน้อย ทำให้เอกชนไม่สนใจทำธุรกิจนี้มากเท่าที่ควร
ใน[[ประเทศไทย]]แต่ก่อนเคยเป็นปัญหาว่าสถานีบริการมีน้อย และคนไทยในสมัยนั้นยังไม่คุ้นชินกับการใช้รถเติมก๊าซ แต่ปัจจุบันมีเพิ่มขึ้นมาก ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน ผู้ใช้บริการจะได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น ปัจจุบันยังมีผู้ให้บริการหลายยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็น [[ปตท.]][[บางจากปิโตรเลียม]][[ทีพีไอ โพลีน]] และ[[ซัสโก้]]แต่เนื่องจากเงินลงทุนในการสร้างสถานีบริการต้องใช้เงินมาก แต่ได้กำไรน้อย ทำให้เอกชนไม่สนใจทำธุรกิจนี้มากเท่าที่ควร


== ดูเพิ่ม ==
== ดูเพิ่ม ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:23, 20 ตุลาคม 2556

แก๊สธรรมชาติอัด[1] (อังกฤษ: Compressed Natural Gas, CNG) เป็นเชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์อีกชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับ น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล และ แก๊สปิโตรเลียมเหลวสำหรับใช้เป็นพลังงานสะอาดทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงปกติ มีใช้กับพาหนะได้ เช่น รถยนต์ รถบรรทุก รถตู้ รถประจำทาง เป็นต้น ราคาถูกกว่าน้ำมัน และ ช่วงที่น้ำมันราคามาก จึงมีผู้นิยมใช้เพิ่มขึ้นอย่างสูง

การผลิต

ใช้แก๊สธรรมชาติ (ส่วนใหญ่เป็นมีเทน) มาอัดจนมี ความดันสูง ประมาณ 3,000 ปอนด์/ตารางนิ้ว (เป็นแรงดันที่ค่อนข้างสูงมากเท่ากับ 200 เท่าของ ความดันบรรยากาศ) แล้วนำไปเก็บไว้ในถัง ที่มีความแข็งแรง ทนทานสูงเป็นพิเศษ

ระบบที่ติดตั้ง

เครื่องยนต์เบนซินแบ่งการทำงานเป็น 2 ระบบ คือระบบหัวฉีด และระบบดูดแก๊ส ระบบดูดแก๊สเหมาะกับรถยนต์รุ่นเก่าที่เป็นเครื่องยนต์คาร์บูเรเตอร์ ระบบนี้บำรุงรักษาง่าย คุ้มทุนเร็ว ส่วนระบบฉีดแก๊สเหมาะกับรถยนต์รุ่นใหม่ ซึ่งเป็นระบบไฮเทค ให้อัตราการเร่งเครื่องยนต์ใกล้เคียงกับการใช้น้ำมันเบนซินมากกว่าระบบดูดแก๊ส อัตราการประหยัดการวิ่งเชื้อเพลิงต่อวันคุ้มกว่าระบบดูดแก๊ส สำหรับการติดตั้ง เอ็นจีวี ในเครื่องยนต์เบนซินสามารถเลือกใช้ เอ็นจีวี หรือเบนซินก็ได้ เพียงกดปุ่ม

ในเครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่ เช่น เครื่องยนต์รถสิบล้อ หรือ เครื่องยนต์ในเรือ หากต้องการจะติดตั้งแก๊สธรรมชาติอัด สามารถทำได้เช่นกัน โดยสามารถทำได้ 2 แบบ

  1. ใช้วิธีผสมระหว่าง แก๊สธรรมชาติอัด กับ ดีเซล อัตราส่วนผสม ขึ้นอยู่กับความสามารถของเครื่องยนต์แต่ละตัว
  2. ใช้วิธีดัดแปลงเครื่องมาใช้แก๊สธรรมชาติอัด 100% แต่ไม่สามารถกลับไปใช้น้ำมันดีเซลได้

ถังแก๊ส

ปัจจุบันมีการผลิตถังแก๊สอยู่ 4 ประเภท ได้แก่

  1. ถังที่ทำด้วยเหล็ก หรือ อะลูมิเนียม
  2. ถังที่ทำด้วยเหล็ก หรือ อะลูมิเนียม และหุ้มด้วยวัสดุใยแก้ว หรือ เส้นใยคาร์บอน
  3. ถังที่ทำด้วยแผ่นอะลูมิเนียมที่บางกว่าชนิดที่ 2 และหุ้มด้วยวัสดุใยแก้วหรือเส้นใยคาร์บอนตลอดตัวถัง
  4. ถังที่ทำด้วยแผ่นพลาสติกและหุ้มด้วยวัสดุใยแก้วและเส้นใยคาร์บอนผสมกันวัสดุใยแก้ว (Fiberglass)

ส่วนการระเบิดนั้น หากระบบแก๊สยังอยู่ในสภาพดี ทำงานได้เป็นปกติ จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เนื่องจากเมื่อแก๊สรั่วจะพุ่งออกมาแล้วฟุ้งกระจายขึ้นไปในอากาศอย่างรวดเร็วทำให้ไม่ลุกไหม้ ระเบิด และเรื่องของการทนความดัน ถังทุกใบทนความดันได้ถึง 2.5 เท่าของความดันปกติ ต่อให้มีไฟมาเผาถังแก๊สก็จะไม่มีอันตราย เพราะวาล์วหัวถังก็ระบายแก๊สออกมาจากถัง โดยอัตโนมัติ

การใช้แก๊สธรรมชาติทั่วโลก

จากการสำรวจในปี พ.ศ. 2553 พบว่า ประเทศปากีสถานมีการใช้สูงสุด ตามมาด้วย อิหร่าน, อาร์เจนติน่า, บราซิล และ อินเดีย มียานพาหนะที่ใช้แก๊สธรรมชาติอัดมากเป็นอันดับต้นๆของโลก ปากีสถานยังมีสถานนีบริการฯมากที่สุดในโลกกว่า 3600 แห่ง กลุ่มผู้ใช้หลักเป็นรถส่วนบุคคลซึ่งได้เปลี่ยนมาใช้แก๊สธรรมชาติอัดมากขึ้นเพราะราคาถูกกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันเบนซิน เฉพาะรถหรูหราและรถของหน่วยงานของรัฐเท่านั้นที่ยังใช้น้ำมันเบนซิน

10 อันดับประเทศที่ใช้รถเชื้อเพลิงแก๊สธรรมชาติอัดในปี พ.ศ. 2553
(ล้านคัน)
ธงของประเทศปากีสถาน ปากีสถาน 2.74
ธงของประเทศอิหร่าน อิหร่าน 2.60
ธงของประเทศอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา 1.90
ธงของประเทศบราซิล บราซิล 1.66
ธงของประเทศอินเดีย อินเดีย 1.08
ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี 0.73
 สาธารณรัฐประชาชนจีน 0.45
ธงของประเทศโคลอมเบีย โคลอมเบีย 0.34
 ไทย 0.21
ธงของประเทศยูเครน ยูเครน 0.20
รวม 12.67
ที่มา:[2]

การใช้ในประเทศไทย

ในประเทศไทยแต่ก่อนเคยเป็นปัญหาว่าสถานีบริการมีน้อย และคนไทยในสมัยนั้นยังไม่คุ้นชินกับการใช้รถเติมก๊าซ แต่ปัจจุบันมีเพิ่มขึ้นมาก ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน ผู้ใช้บริการจะได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น ปัจจุบันยังมีผู้ให้บริการหลายยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็น ปตท.บางจากปิโตรเลียมทีพีไอ โพลีน และซัสโก้แต่เนื่องจากเงินลงทุนในการสร้างสถานีบริการต้องใช้เงินมาก แต่ได้กำไรน้อย ทำให้เอกชนไม่สนใจทำธุรกิจนี้มากเท่าที่ควร

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. ราชบัณฑิตยสถานกำหนดให้คำว่า natural gas เป็น "แก๊สธรรมชาติ" ดังนั้นจึงควรใช้ว่า "แก๊สธรรมชาติอัด" ด้วย
  2. Natural Gas Vehicle Statistics(อังกฤษ)

แหล่งข้อมูลอื่น