ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถตุ๊ก ๆ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 22: บรรทัด 22:


ปี พ.ศ. 2530 รถตุ๊กตุ๊กถูกจำกัดจำนวน ทางราชการออกกฎห้ามจดทะเบียนรถตุ๊กตุ๊กรับจ้างเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ [[นนทบุรี]] และ[[นครราชสีมา]] แต่อนุโลมให้กับรถตุ๊กตุ๊กส่วนบุคคลที่นำไปประยุกต์ใช้งานเฉพาะอย่างได้ ซึ่งในปัจจุบันมีรถตุ๊กตุ๊กวิ่งอยู่ในกรุงเทพรวมกันประมาณ 7,405 คันเท่านั้น และถ้ารวมๆ กันทั้งประเทศ จะมีรถตุ๊กตุ๊กที่วิ่งอยู่ประมาณ 3 หมื่นกว่าคัน นอกจากประเทศไทยแล้วยังมีผลิตเพื่อส่งออกไปประเทศอื่นๆ ด้วย เช่น [[อินเดีย]] [[ศรีลังกา]] [[สิงคโปร์]] และยังถือเป็นเอกลักษณ์ที่ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทยอีกด้วย
ปี พ.ศ. 2530 รถตุ๊กตุ๊กถูกจำกัดจำนวน ทางราชการออกกฎห้ามจดทะเบียนรถตุ๊กตุ๊กรับจ้างเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ [[นนทบุรี]] และ[[นครราชสีมา]] แต่อนุโลมให้กับรถตุ๊กตุ๊กส่วนบุคคลที่นำไปประยุกต์ใช้งานเฉพาะอย่างได้ ซึ่งในปัจจุบันมีรถตุ๊กตุ๊กวิ่งอยู่ในกรุงเทพรวมกันประมาณ 7,405 คันเท่านั้น และถ้ารวมๆ กันทั้งประเทศ จะมีรถตุ๊กตุ๊กที่วิ่งอยู่ประมาณ 3 หมื่นกว่าคัน นอกจากประเทศไทยแล้วยังมีผลิตเพื่อส่งออกไปประเทศอื่นๆ ด้วย เช่น [[อินเดีย]] [[ศรีลังกา]] [[สิงคโปร์]] และยังถือเป็นเอกลักษณ์ที่ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทยอีกด้วย
ปี [[พ.ศ. 2535]]ประเทศไทยผลิตรถตุ๊กตุ๊กยี่ห้อ[[อีซูซุ]]รุ่น[[อีซูซุ วิซาร์ด]]ส่งออกที่ [[ท่าเรือคลองเตย]] ป้ายยี่ห้อรถรุ่นต่างๆคำว่าisuzuประกอบที่ บริษัท ไทยตุ๊กตุ๊ก มอเตอร์ จำกัด วี่งในเขต[[ราชเทวี]][[จังหวัดนนทบุรี]][[จังหวัดลำปาง]][[กรุงเทพมหานคร]] ซื้งมีกรุงเทพ5คัน ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยด้วย ปี [[พ.ศ. 2541]]ประเทศไทย ผลิตรถตุ๊กตุ๊ก ยี่ห้อ[[โตโยต้า]]รุ่น[[โตโยต้า ไฮลักซ์]]ส่งออกที่[[ท่าเรือปากเกร็ด]]ป้ายยี่ห้อรุ่นต่างๆคำว่าtoyota ประกอบ ที่ บริษัท ไทยตุ๊กตุ๊ก มอเตอร์ จำกัด ช่วยส่งเสริมการท่องเทียวไทยด้วย
ปี [[พ.ศ. 2535]]ประเทศไทยผลิตรถตุ๊กตุ๊กยี่ห้อ[[อีซูซุ]]รุ่น[[อีซูซุ วิซาร์ด]]ส่งออกที่ [[ท่าเรือคลองเตย]] ป้ายยี่ห้อรถรุ่นต่างๆคำว่าisuzuประกอบที่ บริษัท ไทยตุ๊กตุ๊ก มอเตอร์ จำกัด วี่งในเขต[[ราชเทวี]][[จังหวัดนนทบุรี]][[จังหวัดลำปาง]][[กรุงเทพมหานคร]] ซื้งมีกรุงเทพ5คัน ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยด้วย ปี [[พ.ศ. 2541]]ส่งออกต่างประเทศ[[ลาว]][[กัมพูชา]][[ญี่ปุ่น]]ประเทศไทย ผลิตรถตุ๊กตุ๊ก ยี่ห้อ[[โตโยต้า]]รุ่น[[โตโยต้า ไฮลักซ์]]ส่งออกที่[[ท่าเรือปากเกร็ด]]ป้ายยี่ห้อรุ่นต่างๆคำว่าtoyota ประกอบ ที่ บริษัท ไทยตุ๊กตุ๊ก มอเตอร์ จำกัด ช่วยส่งเสริมการท่องเทียวไทยด้วย ส่งออกดต่างประเทศ [[มาเลเซีย]][[ออสเตรเลีย]]
ปี พ.ศ. 2552 Daniel Snaider และ Susie Bemsel คู่รักชาวเยอรมนี ได้ทำลายสถิติโลก (Guinness World Record 2009) สร้างชื่อเสียงให้กับรถตุ๊ก ตุ๊กไทยอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้รถตุ๊กตุ๊กจากบริษัทเอกซ์เพอร์ทีสจำกัด ด้วยสถิติระยะทางที่ไกลที่สุดในโลก เริ่มเดินทางจากไทยไปกัมพูชา ลาว ญี่ปุ่น รัสเซีย มองโกเลีย ตุรกี อียิปต์ อิตาลี ฝรั่งเศส และกลับไปสิ้นสุดที่ประเทศเยอรมนี
ปี พ.ศ. 2552 Daniel Snaider และ Susie Bemsel คู่รักชาวเยอรมนี ได้ทำลายสถิติโลก (Guinness World Record 2009) สร้างชื่อเสียงให้กับรถตุ๊ก ตุ๊กไทยอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้รถตุ๊กตุ๊กจากบริษัทเอกซ์เพอร์ทีสจำกัด ด้วยสถิติระยะทางที่ไกลที่สุดในโลก เริ่มเดินทางจากไทยไปกัมพูชา ลาว ญี่ปุ่น รัสเซีย มองโกเลีย ตุรกี อียิปต์ อิตาลี ฝรั่งเศส และกลับไปสิ้นสุดที่ประเทศเยอรมนี



รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:47, 6 ตุลาคม 2556

รถตุ๊กตุ๊กในกรุงเทพฯ

รถตุ๊กตุ๊ก หรือชื่อเรียกทางราชการว่า "รถสามล้อเครื่อง" เริ่มแรกเป็นการนำรถสามล้อเครื่อง กระบะบรรทุก จากประเทศญี่ปุ่น เข้ามาดัดแปลง เข้ามาในเมืองไทยครั้งแรกปี พ.ศ. 2503 เพื่อทดแทน รถสามล้อถีบ ซึ่งถูกห้ามวิ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร ยุคแรกๆ มีทั้งยี่ห้อไดฮัทสุ ฮีโน่ มาสด้า มิตซูบิชิ ปัจจุบันเหลือเพียง ไดฮัทสุ

ทุกวันนี้ประเทศไทยได้ผลิตและส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศด้วย ในนาม "TUK-TUK" สามล้อตุ๊กตุ๊กมีบริการทั่วไปทุกจังหวัด ซึ่งบางท้องที่จะมีลักษณะเฉพาะพิเศษ อย่างเช่นรถตุ๊กตุ๊กในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีหน้ารถขนาดใหญ่กว่าทั่วไปจะเรียกกันว่า "รถตุ๊กตุ๊กหน้ากบ"

รถตุ๊กตุ๊กหน้ากบ ให้บริการทั่วไป ในอำเภอพระนครศรีอยุธยา
Daihatsu Midget Model DKA, 1957

ประวัติ

ปี พ.ศ. 2500 ประเทศญี่ปุ่นเริ่มจำหน่ายรถบรรทุกสามล้อ ยี่ห้อไดฮัทสุ (Daihatsu) รุ่นมิดเจ็ท ดีเค (Midget DK) เป็นรถสองจังหวะ (ZA 250cc) มีไฟหน้าหนึ่งดวง และมีที่จับบังคับเหมือนรถจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นรถต้นแบบรถตุ๊กตุ๊กของไทย

ปี พ.ศ. 2503 ประเทศไทยเริ่มมีการนำเข้ารถบรรทุกสามล้อ ยี่ห้อไดฮัทสุ รุ่นมิดเจ็ท ดีเคจากญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก เป็นจำนวน 30 คัน บรรทุกมาทางเรือขึ้นที่ท่าเรือคลองเตย และนำออกจำหน่ายกันอย่างแพร่หลายในย่านเยาวราช โดยคนไทยในยุคนั้นเรียกกันว่า "สามล้อเครื่อง" ต่อมาภายหลังเศรษฐกิจไทยดีขึ้น จึงเพิ่มการนำเข้ารุ่นมิดเจ็ท เอ็มพี 4 (Midget MP4) ซึ่งเป็นรถรุ่นใหม่ที่เพิ่มส่วนประตูสองข้าง โดยได้ทำการขยายการจำหน่ายไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดตรังด้วย รถรุ่นนี้จึงเป็นรถต้นแบบของรถตุ๊กตุ๊กที่วิ่งกันอยู่ในปัจจุบันของทั้งสองจังหวัด และเมื่อรถบรรทุกสามล้อได้รับความนิยมจากคนไทย จึงมีการนำเข้ารถยี่ห้ออื่นๆตามมา

ในประเทศไทยยุคแรก รถตุ๊กตุ๊กที่มีใช้คือยี่ห้อไดฮัทสุ ฮีโน่ มาสด้า มิตซูบิชิ ซึ่งตกอยู่ราวคันละ เกือบ 2 หมื่นบาท (ปัจจุบันราคาถึงหลักแสน ปัจจุบันเหลือเพียง ไดฮัทสุ) สมัยก่อนรถตุ๊กตุ๊กมีทางให้ผู้โดยสารขึ้นลง 2 ด้าน แต่เปลี่ยนมาขึ้นลงทางเดียวเพื่อความปลอดภัย

วิวัฒนาการจากการนำรถสามล้อเครื่องกระบะบรรทุกจากญี่ปุ่น เข้ามาดัดแปลง โดยเอามาต่อหลังคาเพิ่มไว้สำหรับนั่งโดยสารและขนของได้ จนปี พ.ศ. 2508 ทางราชการเตรียมยกเลิกรถตุ๊กตุ๊กเนื่องจากเห็นว่าเป็นรถที่มีกำลังแรงม้าต่ำ แล่นช้า เกะกะกีดขวางทางจราจร

ปี พ.ศ. 2515 ประเทศญี่ปุ่นเลิกผลิตรถบรรทุกสามล้อ ยี่ห้อไดฮัทสุ รุ่นมิดเจ็ท ดีเค ทำให้อะไหล่ของรถรุ่นนี้ขาดตลาด ซึ่งสร้างความเดือดร้อนแก่เจ้าของรถเป็นอย่างมาก ทำให้อู่รถต่างๆเริ่มผลิตอะไหล่ทดแทนเอง และหลังจากนั้นคุณจำรัส โวอ่อนศรีได้ตั้งโรงงานผลิตอะไหล่รถตุ๊ก ตุ๊ก แห่งแรกที่ริมทางรถไฟสายเก่า คลองเตย ผลิตชิ้นส่วนและอะไหล่รถออกจำหน่าย โดยใช้ชื่อว่า วัฒน์การช่าง ต่อมาใช้ชื้อว่า บริษัท วัฒน์ อุตสาหกรรมจำกัด ทำการเปลี่ยนป้ายชื่อยี่ห้อรถรุ่นต่างๆท้ายรถตุ๊กตุ๊กเป็นคำว่า "THAILAND" และยังคงอยู่จวบจนปัจจุบัน หลังจากนั้นอนันต์ สุภัทรวนิชย์ซึ่งประกอบอาชีพขายน้ำมันเครื่องให้กับอู่ ตุ๊ก ตุ๊ก ต่างๆในกรุงเทพฯ เห็นโอกาสในตลาดจึงเปิดโรงงานขึ้นโดยใช้ชื่อพลสิทธิ์ตุ๊ก ตุ๊ก ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น Tuk Tuk Forwarder

ปี พ.ศ. 2522 รัฐบาลออกกฎหมายบังคับให้รถบรรทุกสามล้อ หรือสามล้อเครื่อง หรือรถตุ๊กตุ๊กที่วิ่งให้บริการขนส่งโดยสารจะต้องทำการจดทะเบียนขอรับใบอนุญาต "รถยนต์รับจ้างสามล้อบรรทุกคนโดยสาร" โดยต้องผ่านการเข้าร่วมเป็นสมาชิกภายใต้ต้นสังกัดในรูปของบริษัทเสียก่อน จึงจะสามารถยื่นคำร้องขอรับใบอนุญาตนี้ได้ และจะสามารถวิ่งให้บริการได้เฉพาะในพื้นที่ที่กำหนดให้เท่านั้น

ปี พ.ศ. 2530 รถตุ๊กตุ๊กถูกจำกัดจำนวน ทางราชการออกกฎห้ามจดทะเบียนรถตุ๊กตุ๊กรับจ้างเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ นนทบุรี และนครราชสีมา แต่อนุโลมให้กับรถตุ๊กตุ๊กส่วนบุคคลที่นำไปประยุกต์ใช้งานเฉพาะอย่างได้ ซึ่งในปัจจุบันมีรถตุ๊กตุ๊กวิ่งอยู่ในกรุงเทพรวมกันประมาณ 7,405 คันเท่านั้น และถ้ารวมๆ กันทั้งประเทศ จะมีรถตุ๊กตุ๊กที่วิ่งอยู่ประมาณ 3 หมื่นกว่าคัน นอกจากประเทศไทยแล้วยังมีผลิตเพื่อส่งออกไปประเทศอื่นๆ ด้วย เช่น อินเดีย ศรีลังกา สิงคโปร์ และยังถือเป็นเอกลักษณ์ที่ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทยอีกด้วย ปี พ.ศ. 2535ประเทศไทยผลิตรถตุ๊กตุ๊กยี่ห้ออีซูซุรุ่นอีซูซุ วิซาร์ดส่งออกที่ ท่าเรือคลองเตย ป้ายยี่ห้อรถรุ่นต่างๆคำว่าisuzuประกอบที่ บริษัท ไทยตุ๊กตุ๊ก มอเตอร์ จำกัด วี่งในเขตราชเทวีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดลำปางกรุงเทพมหานคร ซื้งมีกรุงเทพ5คัน ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยด้วย ปี พ.ศ. 2541ส่งออกต่างประเทศลาวกัมพูชาญี่ปุ่นประเทศไทย ผลิตรถตุ๊กตุ๊ก ยี่ห้อโตโยต้ารุ่นโตโยต้า ไฮลักซ์ส่งออกที่ท่าเรือปากเกร็ดป้ายยี่ห้อรุ่นต่างๆคำว่าtoyota ประกอบ ที่ บริษัท ไทยตุ๊กตุ๊ก มอเตอร์ จำกัด ช่วยส่งเสริมการท่องเทียวไทยด้วย ส่งออกดต่างประเทศ มาเลเซียออสเตรเลีย ปี พ.ศ. 2552 Daniel Snaider และ Susie Bemsel คู่รักชาวเยอรมนี ได้ทำลายสถิติโลก (Guinness World Record 2009) สร้างชื่อเสียงให้กับรถตุ๊ก ตุ๊กไทยอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้รถตุ๊กตุ๊กจากบริษัทเอกซ์เพอร์ทีสจำกัด ด้วยสถิติระยะทางที่ไกลที่สุดในโลก เริ่มเดินทางจากไทยไปกัมพูชา ลาว ญี่ปุ่น รัสเซีย มองโกเลีย ตุรกี อียิปต์ อิตาลี ฝรั่งเศส และกลับไปสิ้นสุดที่ประเทศเยอรมนี

รถสามล้อสิงห์ธำรงไทย

รถสามล้อสิงห์ธำรงไทย เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมของสามล้อสกายแล๊ปขนาดเครื่องยนต์ 150 cc ที่ปรับปรุงและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก ด้วยวิธีการออกแบบและวิเคราะห์โครงสร้างโดยหลักวิศวกรรมขั้นสูงคือระเบียบวิธีไฟในต์อิลิเมนต์ (Finite Element Method, FEM) ผลที่ได้ทำให้เกิดการปรับปรุงส่วนกลไกสำคัญต่างๆ เช่น รูปร่างโครงสร้าง chassis ระบบส่งกำลังระบบกันสะเทือน ระบบเบรก ระบบเกียร์ถอยหลัง ระบบเสถียรภาพขณะวิ่ง และการเพิ่มพื้นที่บรรทุกภาระสิ่งของหรือผู้โดยสาร ทำให้ได้รถที่มีทั้งสมรรถนะและรูปลักษณ์ทันสมัยน่าใช้งานมากขึ้นกว่ารูปแบบทั่วไปที่มีอยู่เดิมในปัจจุบัน

รถสามล้อสิงห์ธำรงไทย จึงมีจุดเด่นคือ

  • โครงสร้างแข็งแรงทนทาน น้ำหนักเบา และมีความปลอดภัยตามมาตรฐานวิศวกรรมยานยนต์
  • ใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตเองภายในประเทศและมีค่าใช้จ่ายในการผลิตเพื่อเชิงพาณิชย์ต่ำ
  • ความสามารถในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานแบบอเนกประสงค์ได้ทั้งการบรรทุกคนหรือสัมภาระสิ่งของต่างๆ หรือเป็นรถนำเที่ยวตามรีสอร์ตเมื่อเพิ่มกำลังเครื่องยนต์เป็นขนาด 650 cc"

อ้างอิง

  • ดาโกะญี่ปุ่น. (2009). ไปขึ้นรถตุ๊กตุ๊กกัน. วารสารดาโกะ ฉบับภาษาไทย. 73. 6-9.
  • สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. ผลงานวิจัย สวทช. สู่เชิงพาณิชย์ ปี 2549-2554. ปทุมธานี : สำนักงานฯ, 2554.