ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาอำนาจ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 42: บรรทัด 42:


== ดูเพิ่ม ==
== ดูเพิ่ม ==
* [[ประเทศอำนาจภูมิภาค]] (regional power)
* [[จี7]] (g7)
* [[จี8]] (g8)
* [[อภิมหาอำนาจ]] (superpower)
* [[อภิมหาอำนาจ]] (superpower)
* [[ประเทศอำนาจปานกลาง]] (middle power)
* [[ประเทศอำนาจปานกลาง]] (middle power)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:32, 1 ตุลาคม 2556

ประเทศมหาอำนาจในปัจจุบัน

มหาอำนาจ หมายถึงรัฐซึ่งได้รับการยอมรับว่ามีความสามารถแผ่อิทธิพลในระดับโลกได้ ลักษณะของรัฐมหาอำนาจ คือ ครอบครองอำนาจทางทหารและเศรษฐกิจ ตลอดจนอิทธิพลทางการทูตและอำนาจแบบอ่อน (soft power) ซึ่งอาจเป็นเหตุให้ประเทศด้อยอำนาจต้องพิจารณาความเห็นของมหาอำนาจก่อนดำเนินการใด ๆ ของตน นักทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ระบุว่า ลักษณะของสถานภาพมหาอำนาจสามารถจำแนกเป็นขีดความสามารถของอำนาจ และมิติสถานภาพ ในบางครั้ง สถานภาพมหาอำนาจได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในการประชุมที่สำคัญ ดังเช่น การประชุมแห่งเวียนนา[1] หรือในหน่วยงานระหว่างประเทศ ดังเช่น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ[2]

คำว่า มหาอำนาจ (great power) มีใช้ครั้งแรกหมายถึงประเทศสำคัญ ๆ ของทวีปยุโรคในยุคหลังนโปเลียน[3] "มหาอำนาจ" ก่อตั้ง "ความร่วมมือแห่งยุโรป" (Concert of Europe) และอ้างสิทธิในการบังคับใช้สนธิสัญญาหลังสงครามร่วมกัน การแบ่งแยกระหว่างประเทศด้อยอำนาจกับมหาอำนาจมีขึ้นอย่างเป็นทางการในสนธิสัญญาเชามงใน ค.ศ. 1814[4] นับตั้งแต่นั้น ดุลภาพแห่งอำนาจระหว่างประเทศได้มีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง โดยครั้งที่สำคัญเกิดขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบางชาติจะถูกพิจารณาว่าเป็นมหาอำนาจอย่างกว้างขวาง แต่ยังไม่มีรายชื่อจำกัดความ จึงนำไปสู่การโต้เถียงกันต่อไป

ลักษณะ

ไม่มีเกณฑ์หรือลักษณะจำกัดความของมหาอำนาจ ลักษณะเหล่านี้มักถือว่าเป็นเชิงประสบการณ์และประจักษ์ชัดในตัวของผู้ประเมิน[5] อย่างไรก็ดี ความเข้าใจนี้มีข้อเสียเรื่องอัตวิสัย ผลคือ มีความพยายามหยิบยกเกณฑ์สามัญบางข้อมาพิจารณาและจัดเป็นส่วนสำคัญของสถานภาพมหาอำนาจ

งานเขียนช่วงต้นเกี่ยวกับเรื่องนี้มักตัดสินรัฐตามเกณฑ์สัจนิยม ตามที่แสดงโดยนักประวัติศาสตร์ เอ. เจ. พี. เทย์เลอร์ เมื่อเขาเขียนว่า "การทดสอบมหาอำนาจ คือ การทดสอบความเข้มแข็งในการทำสงคราม"[6] Later writers have expanded this test, attempting to define power in terms of overall military, economic, and political capacity.[7] นักเขียนสมัยหลังได้ขยายการทดสอบนี้ โดยพยายามนิยามมหาอำนาจในแง่ขีดความสามารถทางทหาร เศรษฐกิจและการเมืองโดยรวม[8] เคนเน็ธ วอลทซ์ ผู้ก่อตั้งทฤษฎีสัจนิยมใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ได้ใช้ชุดหลักเกณฑ์ 5 ข้อ เพื่อระบุความเป็นมหาอำนาจ: ประชากรและภูมิประเทศ; การบริจาคทรัพยากร; ศักยภาพทางเศรษฐกิจ; เสถียรภาพและอำนาจทางการเมือง; และความเข้มแข็งทางทหาร เกณฑ์ดังกล่าวสามารถแบ่งออกได้ในสามหัวข้อ: ขีดความสามารถแห่งอำนาจ แง่พื้นที่ และสถานภาพ[1]

ประเทศมหาอำนาจแบ่งตามช่วงเวลา

1815 1880 1900 1919 1939 1946 2000
จักรวรรดิออสเตรีย ออสเตรีย ออสเตรีย-ฮังการี ออสเตรีย-ฮังการี ออสเตรีย-ฮังการี ออสเตรีย-ฮังการี จักรวรรดิบริติช สหราชอาณาจักร จักรวรรดิบริติช สหราชอาณาจักร จักรวรรดิบริติช สหราชอาณาจักร  สหราชอาณาจักร
จักรวรรดิบริติช สหราชอาณาจักร จักรวรรดิบริติช สหราชอาณาจักร จักรวรรดิบริติช สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส ไต้หวัน จีน ธงของประเทศจีน จีน
การฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บง ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส ราชอาณาจักรอิตาลี อิตาลี นาซีเยอรมนี เยอรมนี ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
ราชอาณาจักรปรัสเซีย ปรัสเซีย จักรวรรดิเยอรมัน เยอรมนี จักรวรรดิเยอรมัน เยอรมนี จักรวรรดิญี่ปุ่น ญี่ปุ่น  อิตาลี ธงของสหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี
 รัสเซีย  อิตาลี  อิตาลี  สหรัฐ จักรวรรดิญี่ปุ่น ญี่ปุ่น  สหรัฐ ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
 รัสเซีย จักรวรรดิญี่ปุ่น ญี่ปุ่น ธงของสหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย
 รัสเซีย  สหรัฐ  สหรัฐ
 สหรัฐ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Danilovic, Vesna. "When the Stakes Are High—Deterrence and Conflict among Major Powers", University of Michigan Press (2002), p 27, p225-p228 (PDF chapter downloads) (PDF copy).
  2. Kelsen, Hans (2000). The law of the United Nations: a critical analysis of its fundamental ... United States of America: The Lawbook Exchange, Ltd. pp. 272–281, 911. ISBN 1584770775. {{cite book}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help)
  3. Webster, Charles K, Sir (ed), British Diplomacy 1813–1815: Selected Documents Dealing with the Reconciliation of Europe, G Bell (1931), p307.
  4. Toje, A. (2010). The European Union as a small power: After the post-Cold War. New York: Palgrave Macmillan.
  5. Waltz, Kenneth N (1979). Theory of International Politics. McGraw-Hill. p. 131. ISBN 0-201-08349-3.
  6. Taylor, Alan JP (1954). The Struggle for Mastery in Europe 1848–1918. Oxford: Clarendon. p. xxiv. ISBN 0-19-881270-1.
  7. Organski, AFK – World Politics, Knopf (1958)
  8. Organski, AFK – World Politics, Knopf (1958)