ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดแม่แบบเรียงลำดับ
Rotlink (คุย | ส่วนร่วม)
dead link
บรรทัด 27: บรรทัด 27:
หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล เกิดเมื่อวันที่ [[16 เมษายน]] [[พ.ศ. 2410]] {{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} <!--จากหนังสือ 100 ปีภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ ร.5 บอกว่าเกิด พ.ศ. 2404--> ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เป็นบุตรของ[[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงษ์ กรมหมื่นปราบปรปักษ์]] (พระโอรสใน [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์]] ต้น[[:หมวดหมู่:ราชสกุลมาลากุล|ราชสกุลมาลากุล]] ประสูติจากหม่อมกลีบ) และหม่อมเปี่ยม หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล ศึกษาชั้นต้นที่[[โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ]] มีเลขประจำตัวหมายเลข 2 มีผลการเรียนดีเลิศ ซึ่งสอบได้ประโยคที่ 2 ในจุลศักราช 1248 หรือ [[พ.ศ. 2429]]
หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล เกิดเมื่อวันที่ [[16 เมษายน]] [[พ.ศ. 2410]] {{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} <!--จากหนังสือ 100 ปีภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ ร.5 บอกว่าเกิด พ.ศ. 2404--> ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เป็นบุตรของ[[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงษ์ กรมหมื่นปราบปรปักษ์]] (พระโอรสใน [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์]] ต้น[[:หมวดหมู่:ราชสกุลมาลากุล|ราชสกุลมาลากุล]] ประสูติจากหม่อมกลีบ) และหม่อมเปี่ยม หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล ศึกษาชั้นต้นที่[[โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ]] มีเลขประจำตัวหมายเลข 2 มีผลการเรียนดีเลิศ ซึ่งสอบได้ประโยคที่ 2 ในจุลศักราช 1248 หรือ [[พ.ศ. 2429]]


หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล เข้ารับราชการในกรมศึกษาธิการ ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ เป็น '''หลวงไพศาลศิลปศาสตร์''' จากนั้นย้ายมารับราชการอยู่ที่กระทรวงมหาดไทย เป็น '''พระมนตรีพจนกิจ''' ท่านได้รับการไว้วางพระราชหฤทัยจาก[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ให้เป็นผู้อภิบาล [[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็น [[สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร]] เสด็จไปทรงศึกษาต่อ ณ [[ประเทศอังกฤษ]] ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตพิเศษไทยประจำอังกฤษและยุโรป <ref>[http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=2776 เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย] </ref> ระหว่าง พ.ศ. 2440-2442 <ref>[http://www.thaiembassyuk.org.uk/list_amb.html รายนามเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน] สำเนาจากกูเกิลแคช [http://www.google.com/search?q=cache:iNTEHzgLDD4J:www.thaiembassyuk.org.uk/list_amb.html+%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%A2+%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5&hl=th&ct=clnk&cd=24&gl=th]</ref>
หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล เข้ารับราชการในกรมศึกษาธิการ ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ เป็น '''หลวงไพศาลศิลปศาสตร์''' จากนั้นย้ายมารับราชการอยู่ที่กระทรวงมหาดไทย เป็น '''พระมนตรีพจนกิจ''' ท่านได้รับการไว้วางพระราชหฤทัยจาก[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ให้เป็นผู้อภิบาล [[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็น [[สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร]] เสด็จไปทรงศึกษาต่อ ณ [[ประเทศอังกฤษ]] ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตพิเศษไทยประจำอังกฤษและยุโรป <ref>[http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=2776 เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย] </ref> ระหว่าง พ.ศ. 2440-2442 <ref>[http://www.thaiembassyuk.org.uk/list_amb.html รายนามเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน] สำเนาจากกูเกิลแคช [http://web.archive.org/web/20080703171333/http://www.thaiembassyuk.org.uk/list_amb.html]</ref>


จากการที่ท่านได้เห็นการศึกษาของนักเรียนไทยในต่างประเทศเป็นเวลาหลายปี ท่านได้กราบทูลเสนอให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปรับปรุงระบบการศึกษาของไทย ร่างเป็น "โครงแผนการศึกษาในกรุงสยาม" เมื่อวันที่ [[19 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2441]] และโครงการสร้างสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษา เมื่อวันที่ [[10 เมษายน]] [[พ.ศ. 2453]]
จากการที่ท่านได้เห็นการศึกษาของนักเรียนไทยในต่างประเทศเป็นเวลาหลายปี ท่านได้กราบทูลเสนอให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปรับปรุงระบบการศึกษาของไทย ร่างเป็น "โครงแผนการศึกษาในกรุงสยาม" เมื่อวันที่ [[19 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2441]] และโครงการสร้างสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษา เมื่อวันที่ [[10 เมษายน]] [[พ.ศ. 2453]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:56, 24 กันยายน 2556

เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี
ไฟล์:เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี.jpg
เสนาบดีว่าการกระทรวงธรรมการ
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2454 – พ.ศ. 2458
ก่อนหน้าเจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร
ถัดไปเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 เมษายน พ.ศ. 2410
ประเทศไทย
เสียชีวิต14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสท่านผู้หญิงเสงี่ยม มาลากุล
ไฟล์:ศาลาพระเสด็จ.jpg
ศาลาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี ภายในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2468 เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี
โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดีจัดทำหลักสูตรการสอน ตามพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี นามเดิม หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล (16 เมษายน พ.ศ. 2410 - 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459) อดีตเสนาบดีกระทรวงธรรมการ

ประวัติ

หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล เกิดเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2410 [ต้องการอ้างอิง] ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นบุตรของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงษ์ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ (พระโอรสใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ต้นราชสกุลมาลากุล ประสูติจากหม่อมกลีบ) และหม่อมเปี่ยม หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล ศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ มีเลขประจำตัวหมายเลข 2 มีผลการเรียนดีเลิศ ซึ่งสอบได้ประโยคที่ 2 ในจุลศักราช 1248 หรือ พ.ศ. 2429

หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล เข้ารับราชการในกรมศึกษาธิการ ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ เป็น หลวงไพศาลศิลปศาสตร์ จากนั้นย้ายมารับราชการอยู่ที่กระทรวงมหาดไทย เป็น พระมนตรีพจนกิจ ท่านได้รับการไว้วางพระราชหฤทัยจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เป็นผู้อภิบาล พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตพิเศษไทยประจำอังกฤษและยุโรป [1] ระหว่าง พ.ศ. 2440-2442 [2]

จากการที่ท่านได้เห็นการศึกษาของนักเรียนไทยในต่างประเทศเป็นเวลาหลายปี ท่านได้กราบทูลเสนอให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปรับปรุงระบบการศึกษาของไทย ร่างเป็น "โครงแผนการศึกษาในกรุงสยาม" เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2441 และโครงการสร้างสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2453

ท่านได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ เป็น พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ ดำรงตำแหน่ง ปลัดทูลฉลองกระทรวงธรรมการ (ปัจจุบันคือ กระทรวงศึกษาธิการ) และได้เลื่อนเป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการ ในสมัยรัชกาลที่ 6

พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี เมื่อปี พ.ศ. 2456 และถึงแก่อสัญกรรมในอีก 3 ปีต่อมา เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459

ชีวิตครอบครัว

เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี สมรสกับท่านผู้หญิงเสงี่ยม มาลากุล (วสันตสิงห์) มีบุตร-ธิดา 8 คน คือ

  • หม่อมหลวงปก มาลากุล
  • หม่อมหลวงปอง มาลากุล สมรสกับ หม่อมเจ้าสุรวุฒิประวัติ เทวกุล
  • หม่อมหลวงเปนศรี มาลากุล
  • หม่อมหลวงเปนศักดิ์ มาลากุล
  • หม่อมหลวงป้อง มาลากุล
  • หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลผู้ก่อตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สมรสกับ ท่านผู้หญิงดุษฏี มาลากุล
  • หม่อมหลวงเปี่ยมสิน มาลากุล
  • หม่อมหลวงปานตา มาลากุล สมรสกับ นายเมืองเริง วสันตสิงห์

สมรสกับคุณเจียร ลักษณะบุตร มีธิดาคือ

  • หม่อมหลวงนกน้อย มาลากุล

สมรสกับคุณเลื่อน ศิวานนท์ มีบุตรคือ

  • หม่อมหลวงประวัติ มาลากุล

ผลงาน

ด้านการศึกษา

โดยเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) จัดทำหลักสูตรโรงเรียนเบญจมบพิตร หรือ โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตรในปัจจุบัน ตามพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ทรงกำหนดหลักสูตรแนวการสอนด้วยพระองค์เองสำหรับโรงเรียนเบญจมบพิตร (โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตรในปัจจุบัน )

เพลงสรรเสริญพระบารมี

แต่เดิม การร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี มีการแยกเนื้อร้องที่ใช้สำหรับ ทหารเรือหรือพลเรือนร้อง นอกจากนี้ยังมีการแบ่งแยกเนื้อร้องบางวรรคบางตอน สำหรับชาย และหญิงร้องต่างกัน ทำให้เกิดความลักลั่น เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2445 พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ได้ออกคำสั่ง กำหนดให้เพลงสรรเสริญพระบารมีมีเพียงเนื้อร้องเดียว เหมือนกันหมด

เพลงสามัคคีชุมนุม

พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ เป็นผู้ประพันธ์คำร้องภาษาไทยของเพลง สามัคคีชุมนุม โดยใช้ทำนองเพลง โอลด์แลงไซน์ ท่านได้รับการยกย่องว่า สามารถใส่เนื้อร้องภาษาไทยเข้าไปให้สอดคล้องกับทำนองเดิมได้อย่างเหมาะเจาะ สามารถร้องเนื้อภาษาไทยไปพร้อมๆกับเนื้อภาษาเดิมของเพลงได้อย่างไม่ขัดเขิน เนื้อเพลงมีความหมายลึกซึ้ง ให้ความรู้สึกถึงความสามัคคีเป็นอันดีต่อหมู่คณะ [3]

สมบัติผู้ดี

พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ ได้แต่งหนังสือไว้หลายเล่ม เล่มหนึ่งที่มีชื่อเสียงคือ สมบัติผู้ดี ซึ่งกล่าวถึงหลักปฏิบัติ 10 ประการของผู้ที่มีกาย วาจา ใจ อันสุจริต ท่านได้เรียบเรียงไว้เมื่อ พ.ศ. 2455 [4]

อ้างอิง