ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Gyssyr (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8: บรรทัด 8:
| ก่อตั้ง = [[พ.ศ. 2512]]
| ก่อตั้ง = [[พ.ศ. 2512]]
| ประเภท = [[โรงเรียนสาธิต]] สังกัด [[สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา]]
| ประเภท = [[โรงเรียนสาธิต]] สังกัด [[สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา]]
| ตำแหน่งหัวหน้า = ผู้อำนวยการ
| ผู้อำนวยการ = ผศ.กนก คงทอง
| หัวหน้า = ผศ.บัณฑิต ดุลยรักษ์
| เพลง = เขตรั้วสีบลู
| เพลง = เขตรั้วสีบลู
| ต้นไม้ - ดอกศรีตรัง
| ต้นไม้ - ดอกศรีตรัง

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:03, 9 กันยายน 2556

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Demonstration School of Prince of Songkla University
ข้อมูล
ชื่ออื่นPSU
ประเภทโรงเรียนสาธิต สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
คำขวัญปัญญาดี มีคุณธรรม สร้างสรรค์สังคม
สถาปนาพ.ศ. 2512
สี███ สีแสด
เพลงเขตรั้วสีบลู
เว็บไซต์satit.pn.psu.ac.th

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นโรงเรียนสาธิต ในสังกัดมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2512

ประวัติ

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2512 เป็นหน่วยงานมีฐานะเทียบเท่าภาควิชา สังกัดคณะศึกษาศาสตร์ ตามการจัดรูปการบริหารงานของคณะศึกษาศาสตร์ ในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พุทธศักราช 2522

ในปีการศึกษา 2512 ได้เปิดรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช 2503 เพื่อให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของคณะศึกษาศาสตร์ในขณะนั้น ที่จะผลิตครูเพื่อสอนระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย จึงเตรียมการให้โรงเรียนเป็นที่ฝึกทดลองสอนของ นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ และมุ่งให้นักเรียนศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา

ต่อมาปีการศึกษา 2518 คณะศึกษาศาสตร์จัดทำโครงการพิเศษเพื่อทดลอง รับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แนวศิลปศาสตร์ เปิดรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเป็นปีแรก ในปี พ.ศ. 2519

ในปีการศึกษา 2526 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ขยายโครงการเพื่อรับนักเรียนจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แนววิทยาศาสตร์ และแนวศิลปศาสตร์อย่างละ 1 กลุ่ม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนไทยมุสลิมได้ศึกษาในระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย และมีโอกาสเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษามากขึ้น นอกจากนั้นยังเป็นการกระตุ้นให้โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามปรับปรุง คุณภาพการศึกษาของตน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายปรับปรุงโรงเรียนเอกชน สอนศาสนาอิสลาม และในปีเดียวกันนั้น ทางโรงเรียนได้รับอนุมัติจากคณะ รัฐมนตรีให้ขยายโครงการเพื่อรับนักเรียนไทยมุสลิมจากโรงเรียนมัธยมสามัญทั่วไป ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย แนววิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ อย่างละ 1 กลุ่มอีกด้วย

ปีการศึกษา 2537 โรงเรียนจัดทำโครงการเยาวชนช้างเผือก 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) เพื่อรับนักเรียนที่มีความ สามารถพิเศษและความประพฤติดี จากโรงเรียนประถมศึกษา ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวม 10 คน เข้าศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โครงการ นี้มีระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีการศึกษา 2537-2539 ขณะนี้โครงการ ได้สิ้นสุดแล้ว

นโยบายหลักที่สำคัญของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ประการหนึ่ง คือการสนองนโยบายของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในด้านการผลิตครูระดับปริญญาตรี ซึ่งจะต้องใช้โรงเรียน และนักเรียนเป็น ที่ทดลองวิธีสอนแบบต่าง ๆ ทดลองการจัดการหลักสูตร การวิจัยทางการศึกษา และพฤติกรรมการเรียนการสอน

ปัจจุบันโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้จัดการสอนและ ประเมินผลตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ โดยใช้หลักสูตรมัธยมศึกษา ตอนต้น พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ในระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทั้งนี้ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จัดให้มี 3 แผนการเรียน คือ - แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ - ภาษาอังกฤษ -คณิตศาสตร์ และ - ภาษาอังกฤษ - ภาษาฝรั่งเศส

เปิดวิชาเลือกเสรีต่าง ๆ ให้นักเรียนเลือกตามความถนัดและความสนใจทั้ง ทางด้านเกษตรกรรม พาณิชยกรรม คหกรรม ดนตรีสากล และคอมพิวเตอร์ สำหรับในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2546 ใช้หลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544

และจากการประเมินผลการคัดเลือกโรงเรียนที่ดีที่สุด 100 อันดับแรกของประเทศไทยในปี 2549 ปรากฏว่า โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อยู่อันดับที่ 39 ของประเทศไทย

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

  • ตราโรงเรียน ใช้ตราประจำมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คือ ตรามหาพิชัยมงกุฎ มีอักษรย่อ มอ. ซึ่งเป็นอักษรย่อ พระนามเดิมสมเด็จพระบรมราชชนก เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช
  • ดอกศรีตรัง ดอกไม้และสีประจำโรงเรียนดอกศรีตรัง เป็นไม้ในสกุลBignoniaceae ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Jacaranda ดอกศรีตรัง มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศบราซิล เมื่อพระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เจ้าเมืองตรัง นำมาปลูก ครั้งแรกที่เมืองตรัง ท่านก็ให้ชื่อว่า "ศรีตรัง"
  • สีแสด เป็นสีประจำคณะศึกษาศาสตร์ ซึ่งโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ใช้สีแสดเป็นสีประจำโรงเรียนด้วย
  • เพลงประจำโรงเรียนเขตรั้วสีบลูเป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และก็ยังถือว่าเพลงนี้เป็นเป็นเพลงประจำโรงเรียนสาธิต มอ.เช่นเดียวกัน แต่ในปี พ.ศ. 2543 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภดล ทิพยรัตน์ ได้ทำการเรียบเรียงเนื้อร้องและทำนอง เพลงประจำโรงเรียนใหม่ขึ้นมา คือ มาร์ชสาธิตสงขลานครินทร์ เนื่องมาจากในปีดังกล่าวได้มีการจัดแข่งขันกีฬาสาธิตสามัคคี ครั้งที่ 26 รูสะมิแลเกมส์และเป็นครั้งแรกที่ได้จัดกีฬาสาธิตในภาคใต้ แต่ยังไรก็ตาม เพลงเขตรั้วสีบลูก็ยังเป็นเพลงประจำโรงเรียนสาธิตควบคู่กับเพลงมาร์ชสาธิตสงขลานครินทร์
  • มาร์ชสาธิตสงขลานครินทร์ ยึดมั่นปณิธานในดวงจิต สาธิตสงขลานครินทร์ เกรียงไกรยิ่งใหญ่ในทักษิณ ณ แดนดินถิ่นบุหงา..ปัตตานี เปี่ยมด้วยศักดิ์ศรีอันดีงาม เดินตามรอยพระบาทด้วยใจมุ่งมั่น กิจประโยชน์ผู้อื่นเป็นสำคัญ กิจเรานั้นต้องเป็นสอง..รองลงมา สงขลา...นครินทร์ สาธิตสงขลานครินทร์ สงขลา...นครินทร์ นครินทร์ถิ่นศรีตรังรวมใจเรา (ดนตรี) ยึดมั่นปนิธานในดวงจิต สาธิตสงขลานครินทร์ เกรียงไกรยิ่งใหญ่ในทักษิณ ณ แดนดินถิ่นบุหงา..ปัตตานี เปี่ยมด้วยศักดิ์ศรีอันดีงาม เดินตามรอยพระบาทด้วยใจมุ่งมั่น กิจประโยชน์ผู้อื่นเป็นสำคัญ กิจเรานั้นต้องเป็นสอง..รองลงมา สงขลา...นครินทร์ สาธิตสงขลานครินทร์ สงขลา...นครินทร์ นครินทร์ถิ่นศรีตรังรวมใจเรา สงขลา...นครินทร์ สาธิตสงขลานครินทร์ สงขลา...นครินทร์ นครินทร์ถิ่นศรีตรังรวมใจเรา นครินทร์ถิ่นศรีตรังรวมใจเรา นครินทร์ถิ่นศรีตรังรวมใจเรา

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

  • นาวาอากาศโทปรัชญา ทิพยรัตน์ (ศิษย์เก่าโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะศึกษาศาสตร์) อดีตนักบินเครื่องบินขับไล่ F-16 กองบิน 1 ปัจจุบันเป็นนักบินเครื่องบินขับไล่ Gripen กองบิน 7 กองทัพอากาศ ได้รับประกาศเกียรติคุณจากโรงเรียนนายเรืออากาศสหรัฐอเมริกาว่า เป็นนักเรียนนายเรืออากาศชั้นเยี่ยม นับเป็นคนไทยคนแรกและเป็นคนต่างชาติคนที่ 2 ในรอบ 41 ปี ที่ได้รับตำแหน่งนักเรียนบังคับบัญชาขณะกำลังศึกษาที่ United Air Force Academy U.S.A กองทัพอากาศ
  • พุทธชาด พงศ์สุชาติ
  • พุดเดิล ปาจรีย์ ณ นคร