ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ยังต้องการจัดรูปแบบอีก
บรรทัด 77: บรรทัด 77:
=== ภาควิชา ===
=== ภาควิชา ===
* ภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช
* ภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช
- สาขาวิชากีฎวิทยา
** สาขาวิชากีฎวิทยา
- สาขาวิชาโรคพืช
- สาขาวิชาโรคพืช
* ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ
* ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ
บรรทัด 86: บรรทัด 86:
- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร
- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร
- สาขาวิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร
- สาขาวิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร
* ภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำ
* ภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำ


=== ศูนย์วิจัย ===
=== ศูนย์วิจัย ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:32, 8 กันยายน 2556

คณะเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Faculty of Agriculture,Changmai University
สถาปนา25 กุมภาพันธ์ 2510
คณบดีรศ.ธีระ วิสิทธิ์พานิช
ที่อยู่
239 ถนนห้วยแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
สีสีเหลืองข้าวโพด

คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ประวัติ

  • พ.ศ.2507 มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งเป็นภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร โดยสังกัดอยู่กับคณะวิทยาศาสตร์
  • พ.ศ.2510 ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นคณะตามประกาศพระราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2510 ให้เป็นหน่วยราชการระดับคณะ นับเป็นคณะที่ 5 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และแต่งตั้งให้ อาจารย์ ดร.สุขุม อัศเวศน์ เป็นคณบดีคนแรกของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยได้แบ่งส่วนราชการออกเป็น 5 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาปฐพีศาสตร์และอนุรักษศาสตร์ ภาควิชาสัตวบาล ภาควิชาพืชศาสตร์ ภาควิชาถนอมผลิตภัณฑ์เกษตร ภาควิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร
  • พ.ศ.2518 ภาควิชาถนอมผลิตภัณฑ์เกษตร เปลี่ยนชื่อเป็นภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร และได้พัฒนาไปเป็นคณะอุตสาหกรรมเกษตรในปัจจุบัน ส่วนภาควิชาพืชศาสตร์ ได้ยุบภาควิชาและจัดตั้งเป็น ภาควิชาพืชสวน ภาควิชาพืชไร่ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร และภาควิชาอารักขาพืช
  • พ.ศ.2523 ยุบภาควิชาอารักขาพืชจัดตั้งเป็นภาควิชาโรคพืช และภาควิชากีฏวิทยา
  • พ.ศ.2535 ภาควิชาสัตวบาลได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นภาควิชาสัตวศาสตร์
  • พ.ศ.2547 ได้แบ่งส่วนราชการออกเป็น 1 สำนักงานเลขานุการคณะ และ 8 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชากีฏวิทยา ภาควิชาปฐพีศาสตร์และอนุรักษศาสตร์ ภาควิชาพืชไร่ ภาควิชาพืชสวน ภาควิชาโรคพืช ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร ภาควิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร ภาควิชาสัตวศาสตร์
  • พ.ศ.2552 ได้หลอมรวมและแบ่งส่วนราชการเป็น 1 สำนักงานคณะ 3 ศูนย์ และ 4 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและส่งเสริมเผยแพร่การเกษตร และภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำ

พื้นที่ดูแล

  • อาคารเรียนและแปลงทดลองในบริเวณมหาวิทยาลัย 77 ไร่
  • สถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ 1,293 ไร่
  • สถานีวิจัยเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน อ.เมือง 442 ไร่
  • สถานีวิจัยการเกษตรที่สูงหนองหอย อ.แม่ริม 80 ไร่
  • สถานีวิจัยการเกษตรที่สูงดอยป่าเกี๊ยะ อ.เชียงดาว 60 ไร่
  • สถานีวิจัยการเกษตรเขตชลประทาน 50 ไร่
  • ศูนย์ศึกษาและพัฒนาลำไย “หริภุญชัย” 200 ไร่

ทำเนียบคณบดี

ทำเนียบคณบดีคณะแกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. พ.ศ.
2.
3.
4.
5.
6.
7.
8.

หน่วยงานและโครงสร้าง

สํานักงานคณะ

  • งานบริหารทั่วไป
  • งานการเงิน การคลังและพัสดุ
  • งานบริการการศึกษา และพัฒนาคุณภาพนักศึกษา
  • งานบริหารงานวิจัย และวิเทศสัมพันธ์
  • งานนโยบายและแผน และ ประกันคุณภาพการศึกษา

ภาควิชา

  • ภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช
    • สาขาวิชากีฎวิทยา

- สาขาวิชาโรคพืช

  • ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ

- สาขาวิชาพืชไร่ - สาขาวิชาพืชสวน - สาขาวิชาปฐพีศาสตร์และอนุรักษศาสตร์

  • ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและส่งเสริมเผยแพร่การเกษตร

- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร - สาขาวิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร

  • ภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำ

ศูนย์วิจัย

  • ศูนย์วิจัย สาธิตและฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ

- หน่วยวิจัยและพัฒนาวัสดุอินทรีย์ชีวภาพ - หน่วยวิจัยพืชพลังงาน - หน่วยสาธิตและฝึกอบรม - หน่วยหอพัก

  • ศูนย์วิจัยระบบทรัพยากรเกษตร

- หน่วยวิจัยและพัฒนาระบบเกษตรยั่งยืน - หน่วยวิจัยและพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

  • ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมที่สูง

- หน่วยวิจัยและพัฒนากาแฟ - หน่วยวิจัยและพัฒนาเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยนไร่หน้า - หน่วยวิจัยและพัฒนาเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยนไร่หลัง - หน่วยวิจัยและพัฒนาเกษตรที่สูงหนองหอย - หน่วยวิจัยและพัฒนาเกษตรที่สูงป่าเกี๊ยะ

  • ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา
  • สถานีวิจัยและพัฒนาลำไยหริภุญไชย
  • ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร
  • กลุ่มวิจัยผลิตผลเกษตรปลอดภัยและลดการใช้สารเคมี (Safe Agricultural Product and Appropriate Technology for Reduction of Agrochemistry in Northern Thailand )(ATRACT)
  • ศูนย์บริการการพัฒนาไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ศูนย์บริการวิชาการ

  • ศูนย์บริการวิชาการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร *

- งานบริการวิชาการและฝึกอบรม - ร้านจำหน่ายผลิตผล และธุรกิจเกษตร

หลักสูตร

ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) (4 ปี)

  • สาขาวิชาเอกการจัดการศัตรูพืช
  • สาขาวิชาเอกปฐพีศาสตร์
  • สาขาวิชาเอกพัฒนาการเกษตร
  • สาขาวิชาเอกพืชศาสตร์
  • สาขาวิชาเอกสัตวศาสตร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วาริชศาสตร์) (4 ปี)

รายนามผู้บริหารชุดปัจจุบัน

ตำแหน่ง นาม
คณบดี
รองคณบดีฝ่าย
รองคณบดีฝ่าย
- ผู้ช่วยรองคณบดีฝ่าย
- ผู้ช่วยรองคณบดีฝ่าย
- ผู้ช่วยรองคณบดีฝ่าย
- ผู้ช่วยรองคณบดีฝ่าย
รองคณบดีฝ่าย
- ผู้ช่วยรองคณบดีฝ่าย
รองคณบดีฝ่าย
รองคณบดีฝ่าย
รองคณบดีฝ่าย
- ผู้ช่วยรองคณบดีฝ่าย
- ผู้ช่วยรองคณบดีฝ่าย
ผู้ช่วยคณบดีฝ่าย
ผู้ช่วยคณบดีฝ่าย
ผู้ช่วยคณบดีฝ่าย

พัฒนาการของการวิจัย

งานวิจัยของบุคลากรของคณะเกษตรศาสตร์สามารถแบ่งเนื้องานวิจัยของคณาจารย์และบุคลากร ทั้งที่เป็นงานวิจัยแบบสาขาวิชาเดี่ยว (Disciplinary research) และสหสาขาวิชา (Interdisciplinary research) ได้ตามพัฒนาการของวงการวิจัยในระดับนานาชาติได้ดังนี้

พ.ศ.2504-2513 (ค.ศ.1961-1970)

การวิจัยทางเกษตรตามแนวคิดปฏิวัติเขียว (Green Revolution) ขององค์กรวิจัยเกษตรนานาชาติ นั่นคือการใช้เทคโนโลยีทางเกษตรได้แก่ เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยเคมี สารเคมี เครื่องจักรกลในการพัฒนาและยกระดับผลผลิตพืชและสัตว์ต่อหน่วยพื้นที่

พ.ศ.2514-2523 (ค.ศ.1971-1980)

กำเนิดยุคของระบบการปลูกพืชที่มีข้าวเป็นพืชหลัก เน้นการจัดรูปแบบการผลิตพืชแบบหมุนเวียนโดยเฉพาะในพื้นที่เขตชลประทาน ส่วนในพื้นที่นาเขตอาศัยน้ำฝนเน้นการปลูกพืชก่อนและหรือหลังนาโดยใช้ความชื้นในดิน ในระยะนี้ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับเกียรติให้จัดการประชุมวิชาการระบบการปลูกพืชครั้งแรกในประเทศไทยในปี 2520 และได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุกปี เป็นเวลา 7 ปี (พฤกษ์, 2536) โดยมี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ กรมวิชาการเกษตร หมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ ซึ่งมีการเชื่อมโยงระหว่างนักวิชาการจากหลายสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรให้มีโอกาสในการพิจารณาและศึกษาปัญหาของระบบเกษตรตั้งแต่ระดับไร่นาเกษตรกรถึงระดับนโยบาย พิจารณาประเด็นความเสมดภาคของการจัดการทรัพยากรตามนโยบายต่อเกษตรกรรายย่อย

พ.ศ.2524-2533 (ค.ศ.1981-1990)

กำเนิดยุคระบบการทำฟาร์มและยุคดิจิตอลในวงการเกษตรนานาชาติ และยุคของการเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาหลายสาขาวิชา มีการจัดตั้งสถาบันวิจัยระบบการทำฟาร์ม สังกัดกรมวิชาการเกษตรในปี 2526 มีการจัดประชุมวิชาการงานวิจัยระบบการทำฟาร์มครั้งแรกในปี 2527 โดยมีหน่วยงานเข้าร่วมเพิ่มเติมได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นต้น ในระดับนานาชาติมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์และแบบจำลองพืชหลักเพื่อเสริมงานวิจัยให้ก้าวหน้ามากขึ้น ในระยะนี้ คณะเกษตรศาสตร์ได้มีงานวิจัยพอเพียงต่อการเปิดหลักสูตรบัณฑิตศึกษาหลายสาขาวิชา ได้แก่ พืชไร่ พืชสวน เกษตรศาสตร์เชิงระบบซึ่งในปี 2531 ได้พัฒนาเป็นหลักสูตรนานาชาติ

พ.ศ.2534-2543 (ค.ศ.1991-2000)

กำเนิดของการเกษตรยั่งยืน การพัฒนาที่ยั่งยืน และยุคของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ มีการขยายหน่วยงานที่ดำเนินการวิจัยเชิงระบบในกรมวิชาการเกษตรซึ่งในปี 2536 สถาบันวิจัยการทำฟาร์มได้รับการจัดตั้งเป็นสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรจำนวนทั้งสิ้น 6 สำนัก ตามเขตเกษตรที่สำคัญของประเทศ ในระยะนี้คณะเกษตรศาสตร์ได้ดำเนินการวิจัยอย่างพอเพียงและสามารถเปิดหลักสูตรปริญญาเอกในสองสาขาวิชาในปี 2538 ซึ่งจะกล่าวในส่วนของหลักสูตร

พ.ศ.2544-2553 (ค.ศ.2001-2010)

กำเนิดของยุคการค้าเสรีในระดับโลกและระดับประเทศคู่ค้า กำเนิดของยุคจัดการความองค์ความรู้ การจัดการทรัพยากรโดยมีส่วนร่วม ในปี 2548 รัฐบาลได้แถลงต่อรัฐสภา นโยบายการกำหนดยุทธศาสตร์ในการบริหารราชการแผ่นดินในระดับรัฐไว้ 9 ด้าน ได้แก่

  • การกำหนดการแก้ไขปัญหาความยากจน
  • การพัฒนาทรัพยากรท้องถิ่นด้านมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
  • การปรับโครงสร้างการผลิต
  • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • การต่างประเทศ
  • การพัฒนากฏหมาย
  • ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย และกระบวนการประชาสังคม
  • การรักษาความมั่งคงของรัฐ สถาบันพระมหากัษตริย์ การป้องกันประเทศ
  • การรองรับการเปลี่ยนแปลงและพลวัตของโลก

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น