ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กิมฮ้อ นิมมานเหมินท์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 43: บรรทัด 43:
# นางอุณณ์ ชุติมา - ผู้ก่อตั้ง ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่
# นางอุณณ์ ชุติมา - ผู้ก่อตั้ง ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่


นางกิมฮ้อถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2524 ณ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ สิริอายุ 87 ปี
นางกิมฮ้อถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2524 ณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สิริอายุ 87 ปี


=== บรรพบุรุษ ===
=== บรรพบุรุษ ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:26, 8 กันยายน 2556

กิมฮ้อ นิมมานเหมินท์
นางกิมฮ้อ ในปี พ.ศ. 2513
เกิด20 มีนาคม พ.ศ. 2437
นครเชียงใหม่
เสียชีวิต30 เมษายน พ.ศ. 2524 (87 ปี)
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
คู่สมรสกี นิมมานเหมินท์
บุตร6 คน

กิมฮ้อ นิมมานเหมินท์ (สกุลเดิม: ชุติมา) หรือเป็นที่รู้จักในนาม แม่กิมฮ้อ เป็นคหบดีชาวเชียงใหม่ซึ่งผู้คนในเชียงใหม่ยกย่องและเคารพนับถือมากคนหนึ่งในยุคนั้น จากการเป็นผู้ริเริ่มการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมไปถึงการอนุเคราะห์และสงเคราะห์ประชาชน, องค์กรการกุศล, การศึกษา และศาสนสถานต่างๆในเชียงใหม่มากมาย

ประวัติ

กิมฮ้อ เป็นบุตรหญิงคนโตของหลวงอนุสารสุนทร (สุ่นฮี้ ชัวย่งเสง) กรมการพิเศษเมืองนครเชียงใหม่ และนางคำเที่ยง เกิดเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2437 ณ เรือนคำเที่ยง นครเชียงใหม่ มีพี่น้องร่วมมารดาและต่างมารดาคือ

  1. นายแพทย์ยงค์ ชุติมา
  2. นายสงัด บรรจงศิลป์
  3. นายเชื้อ อนุสารสุนทร
  4. นางสาว กรองทอง ชุติมา
  5. นายวิพัฒน์ ชุติมา
  6. นายชัชวาล ชุติมา

นางกิมฮ้อจบการศึกษาจากโรงเรียนสตรีพระราชชายา และในปี พ.ศ. 2454 นางกิมฮ้อได้สมรสกับนายกี นิมมานเหมินท์ และมีบุตรธิดารวมทั้งสิ้น 6 คน คือ

  1. นายไกรศรี นิมมานเหมินท์ - ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ล้านนา และเป็นหนึ่งในนักธุรกิจใหญ่ของเชียงใหม่ของยุค
  2. นายพิสุทธิ์ นิมมานเหมินท์ - ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนที่ 8
  3. ศาสตราจารย์ อัน นิมมานเหมินท์ - ศาสตราจารย์ประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  4. นายเรือง นิมมานเหมินท์ - นักการเมืองท้องถิ่น และอดีตนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่
  5. นายแจ่มจิตต์ เลาหวัฒน์ - นักสังคมสงเคราะห์
  6. นางอุณณ์ ชุติมา - ผู้ก่อตั้ง ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่

นางกิมฮ้อถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2524 ณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สิริอายุ 87 ปี

บรรพบุรุษ

การเพื่อสังคม

การก่อตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พ.ศ. 2496 นางกิมฮ้อ และนายกี นิมมานเหมินท์ สามี ริเริ่มความคิดในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นในภาคเหนือ โดยทำการยกที่ดินให้กับคณะมิชชันนารีอเมริกัน ซึ่งในขณะนั้นคณะมิชชันนารีคณะนี้กำลังทำหนังสือขออนุมัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งก็ได้รับการปฏิเสธจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยอ้างว่าการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเป็นเอกสิทธิของรัฐบาลกลางเพียงผู้เดียว ต่อมาได้มีการรณรงค์ในเชียงใหม่ทางคณะหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ว่า "ในภาคเหนือ เราต้องการมหาวิทยาลัย" และ "เราต้องการมหาวิทยาลัยประจำล้านนาไทย"[1]ซึ่งการเคลื่อนไหวอย่างหนักทำให้รัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็ได้ตอบว่าจะสร้างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้เป็นสาขาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้เปิดการประมูลที่ดินใกล้ตัวเมืองเพื่อจัดตั้งมหาวิทยาลัย ซึ่งนางกิมฮ้อร่วมกับนายกีได้บริจาคที่ดินจำนวน 100 ไร่เศษ ณ บริเวณฝั่งตะวันตกของตัวเมืองใกล้เชิงดอยสุเทพ[1] แต่รัฐบาลไม่ยอมรับ และรัฐบาลไปซื้อที่ดินบริเวณอำเภอแม่ริม (เขตทหารในปัจจุบัน) แต่ก็มิได้ทำการจัดตั้งมหาวิทยาลัย ต่อมาชาวเชียงใหม่สามารถก่อตั้งโรงเรียนแพทย์เชียงใหม่ขึ้น โดยความช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกา

ต่อมารัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีนโยบายที่จะจัดตั้งมหาวิทยาลัยและคณะแพทย์ศาสตร์ขึ้นที่เชียงใหม่ รัฐบาลได้เล็งเห็นช่องทางที่จะทำให้นโยบายเกิดความรวดเร็ว จึงได้เกิดความร่วมมือกับตระกูลนิมมานเหมินท์-ชุติมา ในการจัดหาที่ดิน ซึ่งรัฐบาลก็ได้ที่ดินริมถนนสุเทพมาเพื่อจัดตั้งคณะแพทย์ศาสตร์ ต่อมานายกีและนางกิมฮ้อก็ได้ตกลงขายที่ดินผืนใหญ่ในราคาเสมือนให้เปล่าให้กับรัฐบาลบริเวณที่ตั้งของมหาวิทยาลัยในปัจจุบันมา[1] และในที่สุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็สามารถจัดตั้งขึ้นได้ ในปี พ.ศ. 2507 นอกจากนี้ยังบริจาคที่ดินบางส่วนเพื่อใช้ตัดถนนใหม่เพื่อให้การจราจรคล่องตัว (ถนนนิมมานเหมินท์ในปัจจุบัน)

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 ลานนาปริทัศน์ ในวาระครบรอบปีคล้ายวันมรณะ นางกิมฮ้อ นิมมานเหมินท์ ๒๕๒๕