ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กองทัพเรือไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 490: บรรทัด 490:
|-
|-
|-
|-
| [[Hawker Siddeley]] || [[Hawker Siddeley Harrier|AV-8S Matador]] || {{GBR}} || ต่อสู้ || 9 ||
| [[Hawker Siddeley]] || [[AV-8S/TAV-8S|AV-8S Matador]] || {{GBR}} || ต่อสู้ || 9 ||
|-
|-
|-
|-
| [[Ling-Temco-Vought]] || [[A-7 Corsair II|A-7E Corsair II]] || {{USA}} || โจมตี || 18 ||
| [[Ling-Temco-Vought]] || [[A-7E/TA-7C|A-7E Corsair II]] || {{USA}} || โจมตี || 18 ||
|-
|-
|-
|-

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:06, 5 กันยายน 2556

กองทัพเรือ, ราชนาวี
เครื่องหมายราชการของกองทัพเรือ
ประเทศ ไทย
รูปแบบกองทัพเรือ
กำลังรบ71,000 นาย แบ่งเป็นทหารเรือ 53,000 นาย นาวิกโยธิน 18,000 นาย
กองบัญชาการกองบัญชาการกองทัพเรือ พระราชวังเดิม กรุงเทพมหานคร
สมญาราชนาวี, ทัพประดู่
คำขวัญ ร่วมเครือนาวี จักยลปฐพีไพศาล
สีหน่วยกรมท่า
เพลงหน่วยเพลงราชนาวี, เพลงดอกประดู่
วันสถาปนา20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449
(วันกองทัพเรือ)
ปฏิบัติการสำคัญสงครามสยาม-ฝรั่งเศส
สงครามไทย-ฝรั่งเศส (ยุทธนาวีเกาะช้าง)
สงครามโลกครั้งที่สอง
สงครามเกาหลี
กบฏแมนฮัตตัน
สงครามเวียดนาม
ปฏิบัติการปราบปรามโจรสลัดในช่องแคบมะละกา
ปฏิบัติการปราบปรามโจรสลัดโซมาเลีย
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการ
ทหารเรือ
พลเรือเอก สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์
ผบ. สำคัญพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
เครื่องหมายสังกัด
ธงประจำ
กองทัพ
ธงฉานและธงชัยเฉลิมพล[1]
ธงราชนาวี

กองทัพเรือไทย หรือ ราชนาวี (คำย่อ : ทร. ชื่อภาษาอังกฤษ : Royal Thai Navy คำย่อภาษาอังกฤษ : RTN) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อการปฏิบัติการทางทหารในทะเล ลำน้ำ และพื้นที่บริเวณชายฝั่งของประเทศไทย กองทัพเรือมีจำนวนกำลังพลประจำการเป็นลำดับ 2 (รองจากกองทัพบก) ซึ่งมีเรือปฏิบัติการด้วยเรือรบกว่า 340 ลำ อากาศยานกว่า 90 เครื่อง และกำลังรบทางบกอีก 2 กองพล นับเป็นกองทัพเรือที่มีความสำคัญในลำดับต้นของภูมิภาคเอเชีย กองทัพเรือมีผู้บัญชาการทหารเรือเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด โดยเป็นหน่วยงานในสังกัดของกองบัญชาการกองทัพไทย ที่มีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชา และอยู่ในสังกัดของกระทรวงกลาโหม

กองทัพเรือมีพื้นที่ปฏิบัติการหลักทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ตามแนวเขตแดนระหว่างประเทศในทะเลความยาวกว่า 1,680 ไมล์ และตามแนวชายฝั่งความยาวกว่า 1,500 ไมล์ หน่วยต่างๆ ในสังกัดกองทัพเรือมีลักษณะการจัดโครงสร้างหน่วยที่คล้ายกับกองทัพเรือสหรัฐอเมริกามาก โดยเฉพาะในหน่วยกำลังรบ คือ กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ (กบร. กร.) หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ (นสร. กร.) และหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน (นย.)

หน้าที่ ภารกิจ และบทบาท


กองทัพเรือมีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพเรือ การป้องกันราชอาณาจักร และดำเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลังกองทัพเรือตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551[2] ตลอดจนหน้าที่อื่นๆ ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล

จากหน้าที่ดังกล่าวทำให้กองทัพเรือมีภารกิจ คือ

  1. การปกป้องเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
  2. การรักษาสิทธิและอธิปไตยของชาติทางทะเล
  3. การคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
  4. การดำรงการคมนาคมทางทะเลให้ได้อย่างต่อเนื่อง
  5. การช่วยเหลือและสนับสนุนการป้องกันอธิปไตยทางบก
  6. การสนับสนุนการรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ
  7. การสนับสนุนการพัฒนาประเทศและช่วยเหลือประชาชน

บทบาทของกองทัพเรือในปัจจุบัน คือ

  1. การปฏิบัติการทางทหาร (Military Role) คือ การปฏิบัติการทางเรือเพื่อการป้องกันประเทศในรูปแบบต่างๆ ตามสถานการณ์ที่กระทบต่ออำนาจอธิปไตยและเอกราชของประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องใช้กำลังทางเรือที่เข้มแข็ง ปฏิบัติการด้วยความเฉียบพลัน รุนแรง และเด็ดขาด
  2. การรักษากฎหมายและช่วยเหลือ (Constabulary Role) คือ การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ การรักษากฎหมายตามที่รัฐบาลมอบอำนาจ ให้ทหารเรือเป็นเจ้าหน้าที่รวม 28 ฉบับ รวมถึงการให้ความช่วยเหลือประชาชนและการพัฒนาประเทศ
  3. การสนับสนุนกิจการระหว่างประเทศ (Diplomatic Role) คือ การสนับสนุนการดำเนินนโยบายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของรัฐบาล และใช้หรือแสดงกำลังเพื่อสนับสนุนการเจรจาต่อรอง เมื่อมีการขัดกันในผลประโยชน์ของชาติหรือเหตุการณ์วิกฤติที่กระทบต่อผลประโยชน์ของชาติโดยตรง

ประวัติ


ธงราชนาวีไทย

กองทัพเรือมีกำเนิดควบคู่มากับการสร้างอาณาจักรไทยนับตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี กองทัพไทยในสมัยเดิมนั้นมีเพียงทหารเหล่าเดียวมิได้แบ่งแยกออกเป็นกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ อย่างเช่นในสมัยปัจจุบัน หากยาตราทัพไปทางบกก็เรียกว่า ทัพบก หากยาตราทัพไปทางเรือก็เรียกว่า ทัพเรือ การจัดระเบียบการปกครองบังคับบัญชากองทัพไทยในยามปกติยังไม่มีแบบแผนที่แน่นอน ในยามศึกสงครามได้ใช้ทหารทัพบกและทัพเรือรวมๆ กันไป ในการ ยาตราทัพเพื่อทำศึกสงครามภายในอาณาจักรหรือนอกอาณาจักร ก็มีความจำเป็นต้องใช้เรือเป็นพาหนะในการลำเลียงทหารและเครื่องศัสตราวุธ เรือนอกจากจะสามารถลำเลียงเสบียงอาหารได้คราวละมากๆ แล้ว ยังสามารถลำเลียงอาวุธหนัก เช่น ปืนใหญ่ ไปได้สะดวกและรวดเร็วกว่าทางบกด้วย จึงนิยมยกทัพไปทางเรือจนสุดทางน้ำแล้วจึงยกทัพต่อไปทางบก กิจการทหารเรือดำเนินไปเช่นนี้จนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์

พ.ศ. 2394 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กิจการทหารเรือเริ่มแบ่งออกมาชัดเจน และแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ทหารเรือวังหน้า ขึ้นตรงกับพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว กับทหารเรือวังหลวง หรือทหารมะรีนสำหรับเรือรบ ขึ้นตรงกับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สมุหพระกลาโหม โดยทหารเรือวังหน้ามีหน่วยขึ้นในสังกัด คือ กรมเรือกลไฟ กรมอาสาจาม และกองทะเล (บางทีเรียกว่ากองกะลาสี) ส่วนกรมอรสุมพลมีหน่วยขึ้นในสังกัด คือ กรมเรือกลไฟ กรมอาสามอญ และกรมอาสาจาม ซึ่งทหารทั้งสองหน่วยนี้เป็นอิสระจากกัน

พ.ศ. 2408 ในสมัยต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การปกครองประเทศยังเป็นระบบจตุสดมภ์อยู่โดยมีกรมพระกลาโหมว่าการฝ่ายทหาร ในขณะนั้นกิจการฝ่ายทหารเรือแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ทหารเรือวังหน้า หรือทหารเรือฝ่ายพระราชวังบวร ขึ้นตรงกับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ) และทหารเรือวังหลวง หรือกรมอรสุมพล ขึ้นตรงกับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ และต่อมาในปี พ.ศ. 2412 ขึ้นตรงกับเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ สมุหพระกลาโหม

พ.ศ. 2415 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูหัว ได้ทรงปรับปรุงหน่วยทหารในกองทัพขึ้นใหม่ โดยแบ่งออกเป็น 9 หน่วย โดยในส่วนของทหารเรือวังหลวง คือ กรมทหารเรือพระที่นั่ง (เวสาตรี) และกรมอรสุมพล

พ.ศ. 2428 กรมพระราชวังบวรสถานมงคลเสด็จทิวงคต ทหารเรือวังหน้าได้ถูกยุบเลิกไป จึงทำให้ทหารเรือในขณะนั้นมี 2 ส่วน คือ กรมทหารเรือพระที่นั่ง ขึ้นตรงกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนกรมอรสุมพล ขึ้นตรงกับเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ สมุหพระกลาโหม

8 เมษายน พ.ศ. 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับบัญชาทั่วไปในกรมทหาร (Commander-in-chief) ตาม โบราณราชประเพณี เพื่อให้เกิดการประสานงานที่มีประสิทธิภาพระหว่างหน่วยทหารต่างๆ พร้อมกับประกาศจัดการทหาร โดยจัดตั้งกรมยุทธนาธิการขึ้น ซึ่งเป็นการรวมกองทหารบกและกองทหารเรือเอาไว้ด้วยกัน ทั้งหมด ขึ้นตรงกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร แต่ในระหว่างที่ยังทรงพระเยาว์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช เป็นผู้แทนผู้บังคับบัญชาการทั่วไปในกรมทหาร สำหรับกองทหารเรือทรงตั้งนายพลเรือโทพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ เป็นเจ้าพนักงานใหญ่ผู้ช่วยบัญชาการทหารเรือ (Secretary to the Navy) มีหน้าที่ คือ ให้จัดการทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายข้อบังคับทหารเรือ จำนวนผู้คนในทหารเรือ การฝึกหัดทหารเรือ เรือรบหลวง และพาหนะทางเรือ

1 เมษายน พ.ศ. 2433 ได้มีการยกเลิกประกาศจัดการทหาร พ.ศ. 2430 และได้มีการตราพระราชบัญญัติจัดการกรมยุทธนาธิการขึ้นแทน โดยให้เรียกกรมยุทธนาธิการใหม่ว่ากระทรวงยุทธนาธิการ (Ministry of War and Marine) แบ่งออกเป็น 2 กรม คือ กรมทหารบกและกรมทหารเรือ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายพลโทพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ เป็นผู้บัญชาการทหารเรือ (Chief Staff of the Navy) และแบ่งส่วนราชการออกเป็นกรมกลาง กองบัญชีเงิน กรมคลังพัสดุทหารเรือ กองเร่งชำระ กรมคุกทหารเรือ กรมอู่ กรมช่างกล โรงพยาบาลทหารเรือ ทหารนาวิกโยธิน เรือรบหลวงและเรือพระที่นั่งประจำการ

พ.ศ. 2435 ได้มีการจัดระเบียบการปกครองแผ่นดินใหม่ และยกเลิกการปกครองแบบจตุสดมภ์ กำหนดให้มีกระทรวงในราชการ โดยกระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่ปกครองบรรดาหัวเมืองต่างๆ ทั่วพระราชอาณาจักร เป็นผลให้กระทรวงกลาโหม ไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับการปกครองทางหัวเมือง คงมีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทหารอย่างเดียว จึงได้โอนกรมทหารเรือมาขึ้นกับกระทรวงกลาโหม

11 ธันวาคม พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนฐานะกรมทหารเรือเป็นกระทรวงทหารเรือ และในวันเดียวกันนั้นก็ได้ประกาศแต่งตั้งจอมพลเรือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ

8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมกระทรวงทหารเรือกับกระทรวงทหารบกเป็นกระทรวงเดียวกัน ภายใต้นามกระทรวงกลาโหม เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก เป็นผลทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบกระเทือนดังกล่าวนี้ด้วย ทำให้ฐานะทางการเงินและเศรษฐกิจของประเทศอยู่ในภาวะตกต่ำ จำเป็นต้องพิจารณาตัดทอนรายจ่ายของประเทศให้น้อยลงให้สมดุลกับรายได้ เป็นผลทำให้มีการปรับปรุงการจัดระเบียบราชการใหม่ด้วย โดยแต่งตั้งให้นายพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร เสนาบดีกระทรวงทหารเรือเดิมเป็นเสนาบดีกระทรวงกลาโหม

พ.ศ. 2475 มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองประเทศ กองทัพเรือถูกลดฐานะเป็นเพียงกรมทหารเรือเช่นเดิม กรมต่างๆ ของทหารเรือลดฐานะมาเป็นกองทั้งหมด เว้นแต่กรมเสนาธิการทหารเรือเท่านั้น นอกจากนั้นส่วนราชการของทหารเรือบางส่วนซึ่งได้เอาไปรวมกับฝ่ายทหารบกก็กลับมาสังกัดอยู่ในกรมทหารเรือตามเดิม

30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อกรมทหารเรือเป็นกองทัพเรือ ให้เป็นการสอดคล้องกับการเรียกชื่อส่วนรวมของทหารบกว่ากองทัพบก และขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหม โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 4 ส่วน คือ กรมเสนาธิการทหารเรือ กองเรือรบ สถานีทหารเรือกรุงเทพ กรมอู่ทหารเรือ กรมสรรพาวุธทหารเรือ และกรมอุทกศาสตร์

พ.ศ. 2510 พ.ศ. 2519 และ พ.ศ. 2521 ได้มีการแบ่งส่วนราชการกองทัพเรือออกเป็น 25 หน่วย ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ส่วนราชการกองทัพเรือ กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2510 พ.ศ. 2519 และ พ.ศ. 2521 นอกจากนั้นเพื่อความสะดวก ทางกองทัพเรือได้จัดกลุ่มหน่วยราชการทั้ง 25 หน่วยขึ้นเป็น 5 ส่วนราชการ คือ ส่วนบัญชาการ ส่วนกำลังรบ ส่วนยุทธบริการ ส่วนการศึกษา และส่วนกิจการพิเศษ

13 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 ได้มีการเพิ่มกรมการขนส่งทหารเรือขึ้นในส่วนยุทธบริการ และเปลี่ยนชื่อโรงเรียนนายทหารเรือเป็นสถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง

15 เมษายน พ.ศ. 2530 จัดตั้งสำนักงานตรวจบัญชีทหารเรือเพิ่มเติม

พ.ศ. 2538 ได้มีการจัดส่วนราชการใหม่ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพเรือ กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2538 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540 โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 35 หน่วย และจัดเป็นกลุ่มส่วนราชการ 4 ส่วน คือ ส่วนบัญชาการ ส่วนกำลังรบ ส่วนยุทธบริการ และส่วนการศึกษา

1 เมษายน พ.ศ. 2552 ได้มีการจัดส่วนราชการใหม่ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพเรือ กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2552.[3] โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 36 หน่วย และจัดเป็นกลุ่มส่วนราชการ 4 ส่วน คือ ส่วนบัญชาการ ส่วนกำลังรบ ส่วนยุทธบริการ และส่วนการศึกษาและวิจัย ทั้งนี้มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ คือ ในส่วนบัญชาการ ได้เปลี่ยนชื่อกรมสื่อสารทหารเรือเป็นกรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ และสำนักงานตรวจบัญชีทหารเรือเป็นสำนักงานตรวจสอบภายในทหารเรือ รวมทั้งจัดตั้งส่วนราชการใหม่เพิ่มเติม คือ สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ และสำนักงานพระธรรมนูญทหารเรือ ในส่วนกำลังรบ ได้ยุบกองเรือป้องกันฝั่ง และจัดตั้งส่วนราชการใหม่ คือ ทัพเรือภาคที่ 1 2 และ 3 รวมทั้งปรับลดฐานทัพเรือสงขลาและพังงาจากหน่วยขึ้นตรงกองทัพเรือไปเป็นหน่วยขึ้นตรงทัพเรือภาคที่ 2 และ 3 ตามลำดับ ในส่วนยุทธบริการ ได้ย้ายสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือไปอยู่ในส่วนการศึกษาและวิจัยแทน และให้กรมอุทกศาสตร์มาอยู่ในส่วนยุทธบริการ สำหรับในส่วนการศึกษาและวิจัย ได้มีการยุบสถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง

โครงสร้างหน่วยงาน


ส่วนบัญชาการ ส่วนกำลังรบ ส่วนยุทธบริการ ส่วนการศึกษาและวิจัย

กำลังพล


  • กำลังพลหลัก มีดังต่อไปนี้ คือ
    • ทหารประจำการ หมายความว่า ทหารซึ่งรับราชการตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดซึ่งไม่ใช่ทหารกองประจำการ[4] หรือ หมายถึง ข้าราชการทหาร ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521[5] มีดังต่อไปนี้
      • นายทหารสัญญาบัตรประจำการ หมายถึง นายทหารสัญญาบัตรซึ่งมีตำแหน่งราชการประจำในกระทรวงกลาโหม โดยสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายเรือ มีหน้าที่ผลิตนายทหารชั้นสัญญาบัตร ซึ่งจะได้จากนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพเรือ ที่เมื่อจบหลักสูตร 3 ปีจากโรงเรียนเตรียมทหารแล้ว (วิทยฐานะ ม.6) จะเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายเรือเป็นเวลา 4 ปี โดยในระหว่างนั้นจะมีการให้นักเรียนนายเรือเลือกพรรคและเหล่าที่ต้องการ เมื่อจบหลักสูตรแล้ว (วิทยฐานะปริญญาตรี) จะได้รับการแต่งตั้งยศเป็น "ว่าที่เรือตรี" และบรรจุเป็นข้าราชการทหาร สามารถปฏิบัติงานตามพรรคและเหล่าที่เลือกได้ทันที (จากนั้นจะได้รับพระราชทานกระบี่และพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ พระราชทานยศทหารเป็น เรือตรี) นายทหารพรรคนาวินถือเป็นกำลังพลหลักที่จะได้ปฏิบัติงานในหน่วยต่างๆ ของกองเรือยุทธการ โดยเฉพาะการประจำในเรือรบของกองเรือต่างๆ แต่ทั้งนี้นายทหารจะต้องผ่านหลักสูตรการฝึกสั้นๆ ที่กองการฝึก กองเรือยุทธการ (กฝร.) ก่อนปฏิบัติงานจริงๆ นอกจากนี้ยังเป็นกำลังพลในหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งด้วย สำหรับนายทหารพรรคกลินก็จะคล้ายกันเพียงแต่มีจำนวนน้อยกว่า ส่วนนายทหารพรรคนาวิกโยธินก็จะเป็นกำลังพลหลักสำหรับหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน หรือ นายทหารสัญญาบัตรสายแพทย์และพยาบาล ซึ่งสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้า (สมทบ), วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ ผลิตนายทหารสัญญาบัตรเหล่าแพทย์ หรือ บุคคลพลเรือนซึ่งมีคุณวุฒิปริญญาตรีหรือเทียบเท่าขึ้นไปสมัครสอบคัดเลือกและได้รับการบรรจุเป็นนายทหารสัญญาบัตรพรรคพิเศษ
      • นายทหารประทวนประจำการ หมายถึง นายทหารประทวนซึ่งมีตำแหน่งราชการในกระทรวงกลาโหม โดยสำเร็จการศึกษาจาก โรงเรียนชุมพลทหารเรือ มีหน้าที่ผลิตนายทหารชั้นประทวน พรรคนาวิน เหล่าสามัญ การปืน สรรพาวุธ และพรรคกลิน หรือ โรงเรียนสายวิชาชีพเฉพาะทาง เช่น โรงเรียนพยาบาลทหารเรือ ผลิตนายทหารประทวนสายพยาบาล โรงเรียนนาวิกโยธิน โรงเรียนพลาธิการ โรงเรียนไฟฟ้าและสื่อสาร โรงเรียนขนส่ง และโรงเรียนดุริยางค์ทหารเรือ หรือ บุคคลพลเรือนซึ่งมีคุณวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าสมัครสอบคัดเลือกและได้รับการบรรจุเป็นนายทหารประทวนพรรคพิเศษ
    • ทหารกองประจำการ หมายความว่า ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการ และได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลด (มาตรา 4 (3) แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497)
  • กำลังพลสำรอง หมายถึง กำลังที่มิใช่กำลังประจำการและกำลังกองประจำการ (ที่ปลดเป็นกองหนุนแล้ว) เตรียมไว้สำหรับใช้ในยามสงคราม, ยามประกาศกฎอัยการศึก, ยามภาวะฉุกเฉินหรือในยามปฏิบัติการด้วยกำลังทหารขนาดใหญ่ เพื่อปกป้องคุ้มครองรักษาเอกราช และอธิปไตยของชาติ เพื่อปราบปรามคอมมิวนิสต์ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย และความมั่นคงภายในประเทศ (หน้า 58-59 หนังสือคู่มือนักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 3) ซึ่งประกอบด้วยกำลังต่าง ๆ ดังนี้
    • นายทหารสัญญาบัตรนอกกอง หมายถึง นายทหารสัญญาบัตรซึ่งไม่มีตำแหน่งราชการประจำในกระทรวงกลาโหม และกระทรวงกลาโหมสั่งให้เป็นนายทหารสัญญาบัตรประเภทนี้ (โอนไปรับราชการในกระทรวงอื่น)
    • นายทหารสัญญาบัตรกองหนุน หมายถึง นายทหารสัญญาบัตรซึ่งไม่มีตำแหน่งราชการประจำในกระทรวงกลาโหม และกระทรวงกลาโหมสั่งให้เป็นนายทหารสัญญาบัตรประเภทนี้ (ผู้ที่เคยเป็นนายทหารสัญญาบัตรประจำการและได้ลาออกจากราชการทหารไปแล้ว (มีเบี้ยหวัด) หรือ นายทหารสัญญาบัตรที่สำเร็จการฝึกวิชาทหารตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร (ไม่มีเบี้ยหวัด)) คือ นักศึกษาวิชาทหาร ที่สำเร็จชั้นปีที่ 5 ในส่วนของกองทัพเรือ และได้รับการแต่งตั้งยศทหารเป็น ว่าที่เรือตรี (แล้วปลดเป็นนายทหารกองหนุน) ซึ่งเป็นกำลังพลสำรองระดับชั้นสัญญาบัตรที่กองทัพเรือได้ผลิตขึ้นโดยรับสมัครผู้มีคุณสมบัติที่กำหนดตามระเบียบของกระทรวงกลาโหม และกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร กองทัพเรือจึงได้อนุมัติจัดตั้งกองการกำลังพลสำรอง สังกัดกรมกำลังพลทหารเรือ เพื่อทำหน้าที่ในการพัฒนาและผลิตกำลังพลสำรองของกองทัพเรือให้เกิดเป็นรูปธรรม เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงกลาโหม ในแผนแม่บทการพัฒนาระบบกำลังสำรองของกองบัญชาการกองทัพไทย เมื่อสำเร็จตามหลักสูตรแล้วปลดเป็นกองหนุน โดยกำหนดช่วงอายุเป็นเกณฑ์ คือ

ยศ (ว่าที่) ร.ต.- ร.อ. อายุไม่เกิน 45 ปี

ยศ (ว่าที่) น.ต.- น.ท. อายุไม่เกิน 50 ปี

ยศ (ว่าที่) น.อ. - นายพล อายุไม่เกิน 55 ปี

เมื่อครบกำหนดช่วงอายุตามชั้นยศแล้ว จะปลดเป็น นายทหารสัญญาบัตรนอกราชการ และ นายทหารสัญญาบัตรพ้นราชการ ไปตามลำดับ

    • นายทหารสัญญาบัตรนอกราชการ หมายถึง นายทหารสัญญาบัตรซึ่งไม่มีตำแหน่งราชการประจำในกระทรวงกลาโหม และกระทรวงกลาโหมสั่งให้เป็นนายทหารสัญญาบัตรประเภทนี้ โดยถืออายุไม่เกินกำหนด คือ

ยศ (ว่าที่) ร.ต.- ร.อ. อายุไม่เกิน 55 ปี

ยศ (ว่าที่) น.ต.- น.ท. อายุไม่เกิน 60 ปี

ยศ (ว่าที่) น.อ. - นายพล อายุไม่เกิน 65 ปี

    • นายทหารสัญญาบัตรพ้นราชการ หมายถึง นายทหารสัญญาบัตรซึ่งไม่มีตำแหน่งราชการประจำในกระทรวงกลาโหม และกระทรวงกลาโหมสั่งให้เป็นนายทหารสัญญาบัตรประเภทนี้ โดยถูกปลดและถูกถอดยศ หรือ มีอายุพ้นเกณฑ์นายทหารสัญญาบัตรนอกราชการ คือ

ยศ (ว่าที่) ร.ต.- ร.อ. อายุเกิน 55 ปี

ยศ (ว่าที่) น.ต.- น.ท. อายุเกิน 60 ปี

ยศ (ว่าที่) น.อ. - นายพล อายุเกิน 65 ปี

    • นายทหารประทวนกองหนุน หมายถึง นายทหารประทวนที่ปลดจากประจำการ (ลาออกจากราชการทหาร) แต่ยังอยู่ในชั้นกองหนุน หรือ นักศึกษาวิชาทหารซึ่งสำเร็จการฝึกวิชาทหารตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร (นักศึกษาวิชาทหารที่สำเร็จการฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ 3) และได้ขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วปลดเป็นทหารกองหนุนตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 และได้รับการแต่งตั้งยศเป็นนายทหารประทวน ซึ่งยังอยู่ในชั้นกองหนุน ดังนั้น การฝึกนักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 1 ในส่วนของกองทัพเรือจึงเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2552 ณ ศูนย์ฝึกนักศึกษาวิชาทหาร ศูนย์ฝึกทหารใหม่ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี โดยผู้ที่จะเข้าเป็นนักศึกษาวิชาทหารในส่วนของกองทัพเรือนั้น จะต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันออกเท่านั้น(ชลบุรี,ระยอง,จันทบุรี และ ตราด) ซึ่งระเบียบการนี้จะมีผลเข้มงวดมากขึ้น ทั้งนี้ก็เพราะต้องการกำลังพลที่อาศัยอยู่ภูมิลำเนาขั้นต้น และมีความเข้าใจถึง ภูมิประเทศ สังคม และวัฒนธรรมท้องถิ่น
    • นายทหารประทวนพ้นราชการ หมายถึง นายทหารประทวนซึ่งอยู่ในชั้นกองหนุนครบ 23 ปี นับจากวันปลดจากกองประจำการ
    • พลทหารกองหนุน และ จ.ต.กองประจำการ กองหนุน หมายถึง ทหารที่ปลดจากกองประจำการโดยรับราชการในกองประจำการจนครบกำหนดตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 หรือ ทหารที่ปลดจากกองประจำการโดยรับราชการในกองประจำการยังไม่ครบกำหนด แต่ต้องจำขัง หรือมีโทษจำคุกกำหนดวันที่ต้องลงทัณฑ์ หรือต้องโทษรวมได้ไม่น้อยกว่า 1 ปีหรือทหารกองประจำการผู้ใด ซึ่งกระทรวงกลาโหมเห็นว่าจะกระทำการเสื่อมเสียให้แก่ราชการทหารด้วยประการใด ๆ แล้วปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 2 ก็ได้ หรือ ทหารกองเกินซึ่งมีอายุครบ 30 ปีบริบูรณ์ เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 2 หรือ นักศึกษาวิชาทหารซึ่งสำเร็จการฝึกวิชาทหารตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหารและได้ขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วปลดเป็นทหารกองหนุนตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 และยังไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายทหารประทวน
    • พลทหารพ้นราชการ หมายถึง ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 ซึ่งอยู่ในชั้นกองหนุนครบ 23 ปี นับจากวันปลดจากกองประจำการ หรือ ทหารกองหนุนประเภทที่ 2 ที่มีอายุครบ 46 ปี บริบูรณ์ หรือ พลทหารกองประจำการที่พิการทุพพลภาพหรือมีโรคซึ่งไม่สามารถรับราชการทหารได้ หรือ ทหารกองหนุนที่พิการทุพพลภาพหรือมีโรคซึ่งไม่สามารถรับราชการทหารได้ หรือ ทหารกองเกินที่พิการทุพพลภาพหรือมีโรคซึ่งไม่สามารถรับราชการทหารได้

ยศทหารเรือไทย


ชื่อยศ
(ไทย)
อักษรย่อ
(ไทย)
ชื่อยศ
(อังกฤษ)
อักษรย่อ
(อังกฤษ)
ชื่อยศ
(ไทย)
อักษรย่อ
(ไทย)
ชื่อยศ
(อังกฤษ)
อักษรย่อ
(อังกฤษ)
1. ชั้นสัญญาบัตร 2. ชั้นประทวน
1.1 จอมพลเรือ - Admiral of the Fleet ADMF 2.1 พันจ่าเอก พ.จ.อ. Chief Petty Officer First Class 1 CPO
1.2 พลเรือเอก พล.ร.อ. Admiral ADM 2.2 พันจ่าโท พ.จ.ท. Chief Petty Officer Second Class 2 CPO
1.3 พลเรือโท พล.ร.ท. Vice Admiral VADM 2.3 พันจ่าตรี พ.จ.ต. Chief Petty Officer Third Class 3 CPO
1.4 พลเรือตรี พล.ร.ต. Rear Admiral RADM 2.4 จ่าเอก จ.อ. Petty Officer First Class 1 PO
1.5 พลเรือจัตวา พล.ร.จ. Commodore CDRE 2.5 จ่าโท จ.ท. Petty Officer Second Class 2 PO
1.6 นาวาเอก (พิเศษ) น.อ.(พิเศษ) Special Captain SPEC CAPT 2.6 จ่าตรี จ.ต. Petty Officer Third Class 3 PO
1.7 นาวาเอก น.อ. Captain CAPT 3. ต่ำกว่าชั้นประทวน
1.8 นาวาโท น.ท. Commander CDR 3.1 พลทหาร (ปี 2) พลฯ Seaman First Class 1 SEAMAN
1.9 นาวาตรี น.ต. Lieutenant Commander LCDR 3.2 พลทหาร (ปี 1) พลฯ Seaman Second Class 2 SEAMAN
1.10 เรือเอก ร.อ. Lieutenant LT 4. นักเรียนทหาร
1.11 เรือโท ร.ท. Junior Lieutenant JLT 4.1 นักเรียนนายเรือ นนร. Naval Cadet -
1.12 เรือตรี ร.ต. Sub-Lieutenant SUBLT 4.2 นักเรียนจ่าทหารเรือ นรจ. Naval Rating Candidate -

เหล่าทหารของกองทัพเรือไทย


พรรคนาวิน (นว.) พรรคกลิน (กล.) พรรคนาวิกโยธิน (นย.) พรรคพิเศษ (พศ.)
เหล่าทหารการปืน (ป.) เหล่าทหารไฟฟ้า (ฟ.) เหล่าทหารราบ (ร.) เหล่าทหารสารบรรณ (สบ.)
เหล่าทหารอาวุธใต้น้ำ (ด.) เหล่าทหารเครื่องกล (ย.) เหล่าทหารปืนใหญ่ (ป.) เหล่าทหารพลาธิการ (พธ.)
เหล่าทหารสามัญ (ส.) เหล่าทหารช่าง (ช.) เหล่าทหารการเงิน (กง.)
เหล่าทหารสัญญาณ (ญ.) เหล่าทหารสื่อสาร (สส.) เหล่าทหารพระธรรมนูญ (ธน.)
เหล่าทหารอุทกศาสตร์ (อศ.) เหล่าทหารช่างยุทธโยธา (ยย.)
เหล่าทหารขนส่ง (ขส.) เหล่าทหารวิทยาศาสตร์ (วศ.)
เหล่าทหารสรรพาวุธ (สพ.) เหล่าทหารดุริยางค์ (ดย.)
เหล่าทหารอุตุนิยมวิทยา (อ.) เหล่าทหารแพทย์ (พ.)
เหล่าทหารสารวัตร (สห.)
เหล่าทหารการข่าว (ขว.)

ยุทโธปกรณ์ประจำการ

เรือหลวงจักรีนฤเบศร
เรือหลวงนเรศวร
ไฟล์:HTMS Angthong 791.jpg
เรือหลวงอ่างทอง
MH-60S Knighthawk

เรือรบ

ประเภท/ชั้น ประเทศ จำนวน ชื่อ สมบูรณ์ ข้อมูล
เรือบรรทุกเครื่องบิน
จักรีนฤเบศร ธงของประเทศสเปน สเปน 1 เอชทีเอ็มเอส จักรีนฤเบศร 1997 เป็นเรือที่ต่อขึ้นจากประเทศสเปน โดยนำแบบมาจากเรือ ปรินซีเปเดอัสตูเรียส
เรือยกพลขึ้นบก
Endurance class  สิงคโปร์ 1 เอชทีเอ็มเอส อ่างทอง 2012
เรือชั้นสีชัง  ไทย 2 เรือหลวงสีชัง 1987
เรือหลวงสุรินทร์ 1988
เรือฟริเกต
Gwanggaeto class[6] ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้/  ไทย 2 ... เป็นเรือรบล่องหน ซื้อลิขสิทธิ์จากบริษัทแดวู[7]
... เป็นเรือรบล่องหน ซื้อลิขสิทธิ์จากบริษัทแดวู[8]
Oliver Hazard Perry[9]  สหรัฐ 2 ... 2013
... 2013
Knox class  สหรัฐ 2 เอชทีเอ็มเอส พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก 1994
เอชทีเอ็มเอส พุทธเลิศหล้านภาลัย 1997
เรือชั้นนเรศวร ธงของประเทศจีน จีน/  ไทย 2 เอชทีเอ็มเอส นเรศวร 1995 เป็นเรือรบที่ออกแบบในไทย แต่ต่อในจีน
เอชทีเอ็มเอส ตากสิน 1995 เป็นเรือรบที่ออกแบบในไทย แต่ต่อในจีน
Type 053 class ธงของประเทศจีน จีน 4 เอชทีเอ็มเอส เจ้าพระยา 1991
เอชทีเอ็มเอส บางกะปง 1991
เอชทีเอ็มเอส กระบุรี 1992
เอชทีเอ็มเอส สายบุรี 1992
เรือชั้นมกุฎราชกุมาร  สหราชอาณาจักร 1 เอชทีเอ็มเอส มกุฎราชกุมาร 1973
Cannon class DE  สหรัฐ 1 HTMS Pin Klao
เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง หรือ OPV
เรือชั้นปัตตานี ธงของประเทศจีน จีน/  ไทย 2 เอชทีเอ็มเอส ปัตตานี 2005
เอชทีเอ็มเอส นราธิวาส 2005
River class  สหราชอาณาจักร/ ไทย 1 เอชทีเอ็มเอส กระบี่ 2013 เป็นเรือรบที่ต่อในไทย แต่ซื้อแบบมาจากอังกฤษ
เรือคอร์เวต
เรือชั้นรัตนโกสินทร์  สหรัฐ 2 เอชทีเอ็มเอส รัตนโกสินทร์ 1986
เอชทีเอ็มเอส สุโขทัย 1987
เรือชั้นคำรณสินธุ์  ไทย 3 เอชทีเอ็มเอส คำรณสินธุ์ 1992
เอชทีเอ็มเอส ทะยานชล 1992
เอชทีเอ็มเอส ล่องลม 1992
เรือชั้นตาปี  สหรัฐ 2 เอชทีเอ็มเอส ตาปี 1971
เอชทีเอ็มเอส คีรีรัฐ 1974

อาวุธ

ชื่อ ประเทศ ประเภท จำนวน ข้อมูล
Sting Ray torpedo  สหราชอาณาจักร ASW 96
Blowpipe (missile)  สหราชอาณาจักร จรวจต่อต้านอากาศยาน 200
Sea Cat  สหราชอาณาจักร จรวจต่อต้านอากาศยาน 8
Selenia Aspide ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี BVRAAM 99
RIM-162 ESSM  สหรัฐ จรวจต่อต้านอากาศยาน 0 สั่งซื้อ +9 ใช้ในเรือฟริเกต
เอ็กโซเซต์ ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส จรวจต่อต้านเรือรบ 84
C-801/CSS-N-4/Sardine  สาธารณรัฐประชาชนจีน จรวจต่อต้านเรือรบ 78
C-802/CSS-N-8  สาธารณรัฐประชาชนจีน จรวจต่อต้านเรือรบ 60
เอจีเอ็ม-84 ฮาร์พูน  สหรัฐ จรวจต่อต้านเรือรบ 67
Mistral ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส จรวจต่อต้านอากาศยาน 60 ใช้ในระบบป้องกันตัวของเรือหลวงจักรีนฤเบศร

อากาศยาน

บริษัท ชื่อ ประเทศ ประเภท จำนวน ข้อมูล
Dornier GmbH Do 228 ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี ลาดตระเวนค้นหาเรือดำน้ำ 7 ใช้ในโครงการฝนหลวง
Fokker F.27-200/400 ธงของประเทศเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ ลำเลียงทางยุทธวิธี, ต่อต้านเรือดำน้ำ 6
Lockheed Corporation P-3T/UP-3T  สหรัฐ ASW 3
Canadair CL-215 ธงของประเทศแคนาดา แคนาดา SAR, ต่อสู้ 1
GAF N.24A Normad ธงของประเทศออสเตรเลีย ออสเตรเลีย ลำเลียงทางยุทธวิธี 5
Hawker Siddeley AV-8S Matador ธงของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร ต่อสู้ 9
Ling-Temco-Vought A-7E Corsair II  สหรัฐ โจมตี 18
Cessna T-337  สหรัฐ ฝึก, โจมตี, ลาดตระเวน 14
Naval Aircraft Experimental NAX Seaplane  ไทย ลาดตระเวน 2
Embraer ERJ-135LR ธงของประเทศบราซิล บราซิล ธุรการ, MADEVAC 2
Bell Helicopter Bell 212  สหรัฐ ลำเลียงทางยุทธวิธี 8
Bell Helicopter Bell 214ST  สหรัฐ ธุรการ 7
Sikorsky Aircraft Corporation SH-60B Seahawk  สหรัฐ ASW 6 ใช้ในหน่วยการบินของเรือหลวงจักรีนฤเบศร
Sikorsky Aircraft Corporation S-76B  สหรัฐ SAR 6
Sikorsky Aircraft Corporation MH-60S Knighthawk  สหรัฐ ลำเลียงทางยุทธวิธี, SAR 2 สั่งซื้อ +4
AgustaWestland Super Lynx 300 ธงของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร ต่อต้านเรือรบ 2 สั่งซื้อ +4 ใช้ในเรือOPV
Defense Technology Institute UAV DTI RTN KSM150  ไทย อากาศยานไร้คนขับ 0

กองเรือยุทธการ

เรือรบขนาดใหญ่ที่ประจำการในกองทัพเรือไทยจะต่อจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน สหราชอาณาจักร อิตาลี สิงคโปร์ สเปน หรือ เยอรมนี ในขณะที่เรือรบซึ่งมีขนาดเล็กหรือเป็นเรือที่ไม่ใช่เรือรบหลัก ส่วนใหญ่จะต่อจากอู่ภายในประเทศทั้งอู่ของเอกชนและอู่ของกรมอู่ทหารเรือเอง เช่น เรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำ เรือตรวจการณ์ปืน เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง เรือยกพลขึ้นบก เรือระบายพล เรือสนับสนุนการต่อต้านทุ่นระเบิด เรือน้ำมัน เรือน้ำ เรือลากจูง เรือสำรวจ เป็นต้น

ดูรายละเอียดที่เรือรบในประจำการของกองทัพเรือไทย

กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ

อากาศยานของกองการบินทหารเรือสร้างจากต่างประเทศทั้งหมด โดยส่วนใหญ่มาจาก สหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังมีจาก สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ บราซิล และ แคนาดา ทั้งนี้อากาศยานจำนวนประมาณเกือบครึ่งหนึ่ง เป็นอากาศยานที่ได้รับการออกแบบให้สามารถปฏิบัติการจากเรือรบผิวน้ำของกองทัพเรือได้ คือ จากเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เรือฟริเกต เรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ หรือเรือส่งกำลังบำรุงขนาดใหญ่ ส่วนที่เหลือเป็นอากาศยานที่ต้องปฏิบัติการจากสนามบินบนฝั่ง

ดูรายละเอียดที่อากาศยานในประจำการของกองทัพเรือไทย

  • เครื่องบินขับไล่/โจมตี 27 เครื่อง
  • เครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล 13 เครื่อง
  • เครื่องบินตรวจการณ์ 14 เครื่อง
  • เครื่องบินลำเลียง 11 เครื่อง
  • เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทะเล 8 เครื่อง
  • เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง 18 เครื่อง

หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ (หน่วยซีล หรือ SEAL)

  • กำลังพลนักทำลายใต้น้ำจู่โจม 3 กองรบพิเศษ (เทียบเท่า 3 กองพัน)
  • อาวุธประจำกาย ปืนพก ขนาด 11 มม. Heckler & Koch USP ปืนเล็กกล ขนาด 9 มม. Heckler & Koch MP-5K/MP-5SD, Heckler & Koch UMP-9 ปืนเล็กสั้น ขนาด 5.56 มม. Heckler & Koch G36KV เครื่องยิงลูกระเบิดจากปืนเล็กยาว ขนาด 40 มม. Heckler & Koch AG36 ปืนกลเบา ขนาด 5.56 มม. M249 Para, Heckler & Koch HK23E ปืนเล็กยาวซุ่มยิง ขนาด 7.62 มม. Heckler & Koch MSG-1 ปืนเล็กยาวซุ่มยิง ขนาด 12.7 มม. M82, Accuracy International AW50
  • เรือปฏิบัติการพิเศษ 7 ลำ

หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน

  • กำลังพลนาวิกโยธิน 1 กองพล (2 กรมทหารราบ 1 กรมทหารปืนใหญ่ 1 กรมสนับสนุน 1 กรมรักษาความปลอดภัย)
  • อาวุธประจำกาย ปืนพก ขนาด 11 มม. M1911 ปืนเล็กสั้น ขนาด 5.56 มม. M4A1/M4A3, Heckler & Koch G36C ปืนเล็กยาว ขนาด 5.56 มม. M16A1/M16A2, Norinco CQ M-311 เครื่องยิงลูกระเบิดจากปืนเล็กยาว ขนาด 40 มม. M203 ปืนกลเบา ขนาด 5.56 มม. M249 ปืนเล็กยาวซุ่มยิง ขนาด 7.62 มม. Knights Armament SR-25 (Mk.11 mod.0)
  • อาวุธประจำหน่วย ปืนกลกลาง ขนาด 7.62 มม. M60 ปืนกลหนัก ขนาด 12.7 มม. M2 เครื่องยิงลูกระเบิด ขนาด 60 มม. M19 เครื่องยิงลูกระเบิด ขนาด 60 มม. M29 ปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลัง ขนาด 106 มม. M40 อวป.ต่อสู้รถถัง M47 Dragon, Messerschmitt-Bölkow-Blohm (MBB) Armbrust
  • รถถังหลัก Type 69 II
  • รถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV
  • รถเกราะ V-150, BTR-3E1
  • รถยนต์บรรทุก HMMWV ติด อวป.ต่อสู้รถถัง TOW
  • เครื่องยิงลูกระเบิดขนาดหนัก ขนาด 120 มม. M120
  • ปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง ขนาด 105 มม. M101A1, M101A1 (ปรับปรุง) ใช้ลำกล้องของปืนใหญ่ Giat LG1
  • ปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้ง ขนาด 155 มม. Space Research Corporation GC-45, Noricum GHN-45

หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง

  • กำลังพล 1 กองพล (2 กรมต่อสู้อากาศยาน 1 กรมรักษาฝั่ง 1 กรมสนับสนุน 2 ศูนย์ต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง)
  • อาวุธปล่อยนำวิถี พื้น-สู่-อากาศ QW-18, PL-9
  • ปืนต่อสู้อากาศยาน ขนาด 20 มม.
  • ปืนต่อสู้อากาศยาน ขนาด 37 มม. Type 74
  • ปืนต่อสู้อากาศยาน ขนาด 40 มม. Bofors L70 และ Bofors L60
  • ปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้ง ขนาด 130 มม. Type 59
  • ปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้ง ขนาด 155 มม. Noricum GHN-45
  • เรดาร์และออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง Type 702 สำหรับปืนต่อสู้อากาศยาน Type 74
  • เรดาร์ควบคุมการยิง Type 311B สำหรับปืนต่อสู้อากาศยาน Type 74
  • เรดาร์ควบคุมการยิง Thales Flycatcher สำหรับปืนต่อสู้อากาศยาน Bofors L70
  • เรดาร์ตรวจการณ์ทางอากาศ ASR-8 (AN/GPN-20/27)
  • เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ แบบเคลื่อนที่ Thales BOR-A 550

เรือรบของกองทัพเรือไทย


ระเบียบการใช้คำนำหน้าชื่อเรือ

  • เรือที่มีระวางขับน้ำปกติตั้งแต่ 150 ตันขึ้นไป กองทัพเรือใช้คำว่า "เรือหลวง" หรือคำย่อว่า "ร.ล." เป็นคำนำหน้าชื่อเรือ อันเป็นการแสดงถึงความเป็นเรือรบของพระมหากษัตริย์ โดยในภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า "His Thai Majesty's Ship" หรือใช้คำย่อว่า "HTMS" เป็นคำนำหน้าชื่อเรือ เช่น เรือหลวงนเรศวร หรือ ร.ล.นเรศวร หรือ HTMS Naresuan ทั้งนี้ชื่อเรือเหล่านี้ให้ขอพระราชทานพระมหากษัตริย์ทรงตั้ง
  • เรือที่มีระวางขับน้ำปกติต่ำกว่า 150 ตันลงมา กองทัพเรือใช้ตัวอักษรระบุชนิด/หน้าที่ของเรือ เป็นคำนำหน้า และมีหมายเลขเรือต่อท้าย เช่น ต.991 ทั้งนี้ชื่อเรือเหล่านี้กองทัพเรือเป็นผู้ตั้งเอง

ระเบียบการตั้งชื่อเรือ

พิพิธภัณฑ์เรือหลวงท่าจีน โรงเรียนเตรียมทหาร
  • เรือพิฆาต ตั้งตามชื่อตัว ชื่อบรรดาศักดิ์ หรือชื่อสกุล ของบุคคลที่เป็นวีรบุรุษของชาติ เช่น ร.ล.ตากสิน ร.ล.ปิ่นเกล้า
  • เรือฟริเกต ตั้งตามชื่อแม่น้ำสายสำคัญ เช่น ร.ล.เจ้าพระยา ร.ล.ตาปี
  • เรือคอร์เวต ตั้งตามชื่อเมืองหลวงหรือเมืองสำคัญในประวัติศาสตร์ เช่น ร.ล.สุโขทัย ร.ล.รัตนโกสินทร์
  • เรือเร็วโจมตี
    • เรือเร็วโจมตี (อาวุธปล่อยนำวิถี) ตั้งตามชื่อเรือรบในทะเลสมัยโบราณที่มีความหมายเหมาะสมแก่หน้าที่ของเรือนั้นๆ เช่น ร.ล.ราชฤทธิ์ ร.ล.ปราบปรปักษ์
    • เรือเร็วโจมตี (ปืน) และเรือเร็วโจมตี (ตอร์ปิโด) ตั้งตามชื่อจังหวัดชายทะเล เช่น ร.ล.ชลบุรี ร.ล.ภูเก็ต
  • เรือดำน้ำ ตั้งตามชื่อผู้มีอิทฤทธิ์ในนิยายหรือวรรณคดีเกี่ยวกับการดำน้ำ เช่น ร.ล.มัจฉานุ
  • เรือทุ่นระเบิด ตั้งตามชื่อสมรภูมิที่สำคัญ เช่น ร.ล.บางระจัน ร.ล.ลาดหญ้า
  • เรือยกพลขึ้นบก เรือส่งกำลังบำรุง เรือน้ำมัน เรือน้ำ เรือลากจูง และเรือลำเลียง ตั้งตามชื่อเกาะ เช่น ร.ล.สีชัง ร.ล.สิมิลัน
  • เรือตรวจการณ์
    • เรือตรวจการณ์ (ปืน) ตั้งชื่อตามอำเภอชายทะเล เช่น ร.ล.สัตหีบ ร.ล.หัวหิน
    • เรือตรวจการณ์ (ปราบเรือดำน้ำ) ตั้งตามชื่อเรือรบในลำน้ำสมัยโบราณที่มีความเหมาะสมแก่หน้าที่ของเรือนั้น เช่น ร.ล.คำรณสินธุ ร.ล.ล่องลม
  • เรือสำรวจ ตั้งชื่อตามดาวสำคัญ เช่น ร.ล.ศุกร์ ร.ล.พฤหัสบดี
  • เรือหน้าที่พิเศษ ตั้งชื่อด้วยถ้อยคำที่มีความหมายเหมาะสมแก่หน้าที่ของเรือนั้นๆ
  • เรือที่ไม่ได้กล่าวไว้ ให้พิจารณาตั้งชื่อตามความเหมาะสมเป็นคราวๆ ไป เช่น ร.ล.จักรีนฤเบศร ซึ่งเป็นเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ หรือเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ตั้งตามชื่อจังหวัดชายทะเล เช่น ร.ล.ปัตตานี ร.ล.นราธิวาส

หลักการกำหนดหมายเลขเรือ

  • หมายเลขตัวที่ 1 แสดงประเภทเรือ (Type) ซึ่งกำหนดไว้ 9 ประเภท คือ
    • หมายเลข 1 เรือบัญชาการและสนับสนุนการยกพลขึ้นบก
    • หมายเลข 2 เรือดำน้ำ
    • หมายเลข 3 เรือเร็วโจมตี
    • หมายเลข 4 เรือพิฆาต เรือฟริเกต และเรือคอร์เวต
    • หมายเลข 5 เรือตรวจการณ์
    • หมายเลข 6 เรือทุ่นระเบิด
    • หมายเลข 7 เรือยกพลขึ้นบก
    • หมายเลข 8 เรืออุทกศาสตร์ เรือช่วยรบ และเรือประเภทอื่นๆ
    • หมายเลข 9 เรือบรรทุกอากาศยาน
  • หมายเลขตัวที่ 2 แสดงชุดหรือชั้นของเรือ (Class) โดยเรือที่มีคุณลักษณะใกล้เคียงกันจะมีการจัดรวมไว้ในชุดเดียวกัน
  • หมายเลขตัวที่ 3 แสดงลำดับที่ของเรือในชุดนั้นๆ โดยเริ่มจากลำดับที่ 1 เรียงต่อกันไปตามลำดับ หากเรือชุดมีเกิน 9 ลำ เรือลำที่ 10 จะเพิ่มเป็น 4 ตัว

ระเบียบการเขียนชื่อเรือ

  • ชื่อเรือที่มีระวางขับน้ำปกติตั้งแต่ 150 ตันขึ้นไป ให้ทำด้วยทองเหลืองบนพื้นสีน้ำเงิน ติดกับตัวเรือตอนท้ายสุดเหนือแนวน้ำ ยกเว้นเรือบางลำหรือบางประเภท ถ้าติดชื่อเรือบริเวณดังกล่าวไม่สะดวก ให้ติดไว้ข้างเรือตอนท้ายทั้งสองข้าง ส่วนเรือดำน้ำ ให้ติดไว้กับตัวเรือทั้งสองข้างค่อนทางหัวเรือเหนือแนวน้ำขณะลอยลำเต็มที่
  • ชื่อเรือที่มีระวางขับน้ำปกติต่ำกว่า 150 ตันลงมา ให้เขียนด้วยสีขาวไว้กับตัวเรือทั้งสองข้างตอนหัวเรือ ตรงกึ่งกลางระหว่างแนวน้ำกับแนวกราบเรือ
  • ให้ติดป้ายชื่อเรือที่มีระวางขับน้ำตั้งแต่ 100 ตันขึ้นไป และเรือประเภทเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ที่ข้างสะพานเดินเรือทั้งสองกราบ เป็นภาษาไทยอยู่ด้านบน และภาษาอังกฤษอยู่ด้านล่าง โดยลักษณะของป้ายชื่อเรือ ให้เป็นไปตามที่กองเรือยุทธการกำหนด
  • การเขียนหมายเลขเรือให้ใช้ตัวเลขอาระบิค

ระเบียบการแบ่งชั้นเรือ

  • เรือที่มีอัตราผู้บังคับการเรือ ให้จัดแบ่งตามชั้นยศของผู้บังคับการเรือ คือ
    • เรือชั้น 1 คือ เรือที่มีผู้บังคับการเรือยศนาวาโทขึ้นไป
    • เรือชั้น 2 คือ เรือที่มีผู้บังคับการเรือยศนาวาตรี
    • เรือชั้น 3 คือ เรือที่มีผู้บังคับการเรือยศเรือเอก เรือโท หรือเรือตรี
  • เรือที่มีอัตราผู้ควบคุมเรือ จะไม่จัดเข้าอยู่ในชั้นใด และให้ถือเป็นเรือขนาดเล็ก

ระเบียบการแบ่งชั้นหมู่เรือ

  • หมู่เรือชั้น 1 คือ หมู่เรือที่ประกอบด้วยเรือชั้น 1 ทั้งหมด หรือเรือชั้น 1 กับเรืออื่นๆ
  • หมู่เรือชั้น 2 คือ หมู่เรือที่ประกอบด้วยเรือชั้น 2 ทั้งหมด หรือเรือชั้น 2 กับเรืออื่นๆ ที่ไม่ใช่เรือชั้น 1
  • หมู่เรือชั้น 3 คือ หมู่เรือที่ประกอบด้วยเรือชั้น 3 ทั้งหมด หรือเรือชั้น 3 กับเรือขนาดเล็ก หรือเรือขนาดเล็กทั้งหมด

หลักการแบ่งประเภทของเรือและคำย่อ

ประเภท
(ไทย)
คำย่อ
(ไทย)
ประเภท
(อังกฤษ)
คำย่อ
(อังกฤษ)
ทร.
ไทย
1. เรือรบผิวน้ำหลัก
1.1 เรือบรรทุกเครื่องบิน เรือ บ. Aircraft Carrier CV มี
1.2 เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เรือ บฮ. Helicopter Carrier CVH มี
1.3 เรือพิฆาต เรือ พฆ. Destroyer DD ไม่มี
1.4 เรือฟริเกต เรือ ฟก. Guided-missile Frigate FFG มี
Frigate FF มี
Patrol Frigate PF มี
1.5 เรือคอร์เวต เรือ คว. Corvette FS มี
2. เรือเร็วโจมตี เรือ รจ.
2.1 เรือเร็วโจมตี (อาวุธปล่อยนำวิถี) เรือ รจอ. Fast Attack Craft (Guided-missile) FAC(M) มี
2.2 เรือเร็วโจมตี (ตอร์ปิโด) เรือ รจต. Fast Attack Craft (Torpedo) FAC(T) มี
2.3 เรือเร็วโจมตี (ปืน) เรือ รจป. Fast Attack Craft (Gun) FAC(G) มี
3. เรือดำน้ำ เรือ ด.
3.1 เรือดำน้ำ (ธรรมดา) เรือ ด. Submarine, General SS มี
3.2 เรือดำน้ำใกล้ฝั่ง เรือ ดก. Submarine, Coastal SSC ไม่มี
3.3 เรือดำน้ำเล็ก เรือ ดล. Midget Submarine SSM ไม่มี
4. เรือตรวจการณ์ เรือ ตก.
4.1 เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง เรือ ตกก. Ocean Patrol Vessel OPV มี
4.2 เรือตรวจการณ์ (ปราบเรือดำน้ำ) เรือ ตกด. Patrol Craft (Anti-submarine) PC มี
4.3 เรือตรวจการณ์ (ปืน) เรือ ตกป. Patrol Craft (Gun) PG มี
4.4 เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง เรือ ตกฝ. Coastal Patrol Craft PGM มี
4.5 เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง เรือ ตกช. Inshore Patrol Craft PCF มี
5. เรือตรวจการณ์ลำน้ำ เรือ ตล.
5.1 เรือเร็วตรวจการณ์ลำน้ำ เรือ รตล. River Patrol Boat PBR มี
5.2 เรือยนต์ตรวจการณ์ลำน้ำ เรือ ยตล. River Patrol Craft RPC มี
6. เรือจู่โจมลำน้ำ เรือ จล.
6.1 เรือจู่โจมลำน้ำ (เครื่องติดท้าย) เรือ จลค. Outboard Motor Assault Boat AB(M) มี
6.2 เรือจู่โจมลำน้ำ (เครื่องพ่นน้ำ) เรือ จลพ. Hydro Jet Assault Boat AB(H) มี
7. เรือยกพลขึ้นบก เรือ ยพ.
7.1 เรือบัญชาการและสนับสนุนการยกพลขึ้นบก เรือ บยพ. Amphibious Command and Support Ship LCC ไม่มี
7.2 เรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ เรือ ยพญ. Landing Ship, Tank LST มี
7.3 เรือยกพลขึ้นบกขนาดกลาง เรือ ยพก. Landing Ship, Medium LSM ไม่มี
7.4 เรือยกพลขึ้นบกขนาดเล็ก เรือ ยพล. Landing Ship, Infantry, Large LSIL ไม่มี
7.5 เรือระบายพลขนาดใหญ่ เรือ รพญ. Landing Craft, Utility LCU มี
7.6 เรือระบายพลขนาดกลาง เรือ รพก. Landing Craft, Mechanized LCM มี
7.7 เรือระบายพลขนาดเล็ก เรือ รพล. Landing Craft, Vehicle, Personnel LCVP มี
Landing Craft, Personnel, Large LCPL มี
7.8 เรือสนับสนุนการยกพลขึ้นบก เรือ สยพ. Landing Ship Support, Large LSSL ไม่มี
7.9 เรือหุ้มเกราะลำเลียงพล เรือ หกล. Mini-Armoured Troop Carrier MATC มี
8. เรือทุ่นระเบิด
8.1 เรือต่อต้านทุ่นระเบิด เรือ ตท. Mine Countermeasures Ship MCM
8.1.1 เรือกวาดทุ่นระเบิด เรือ กท. Mine Sweeper MS
8.1.1.1 เรือกวาดทุ่นระเบิดไกลฝั่ง เรือ กทก. Mine Sweeper, Ocean MSO มี
8.1.1.2 เรือกวาดทุ่นระเบิดใกล้ฝั่ง เรือ กทฝ. Mine Sweeper, Coastal MSC มี
8.1.1.3 เรือกวาดทุ่นระเบิดชายฝั่ง เรือ กทช. Mine Sweeper, Inshore MSI ไม่มี
8.1.1.4 เรือกวาดทุ่นระเบิดน้ำตื้น เรือ กทต. Motor Launch Mine Sweeper MLMS มี
Mine Sweeping Boat MSB มี
8.1.2 เรือล่าทำลายทุ่นระเบิด เรือ ลท. Mine Hunter MH
8.1.2.1 เรือล่าทำลายทุ่นระเบิดใกล้ฝั่ง เรือ ลทฝ. Mine Hunter, Coastal MHC มี
8.1.2.2 เรือล่าทำลายทุ่นระเบิดชายฝั่ง เรือ ลทช. Mine Hunter, Inshore MHI มี
8.2 เรือวางทุ่นระเบิด เรือ วท. Mine Layer ML
8.2.1 เรือวางทุ่นระเบิดใกล้ฝั่ง เรือ วทฝ. Mine Layer, Coastal MLC ไม่มี
8.2.2 เรือวางทุ่นระเบิดชายฝั่ง เรือ วทช. Mine Layer, Inshore MLI ไม่มี
8.3 เรือสนับสนุนการต่อต้านทุ่นระเบิด เรือ สตท. Mine Countermeasures Support Ship MCS มี
9. เรือส่งกำลังบำรุง เรือ สก.
9.1 เรือส่งกำลังบำรุงขนาดใหญ่ เรือ สกญ. Replenishment Ship, Large AOR(H) มี
9.2 เรือส่งกำลังบำรุงขนาดกลาง เรือ สกก. Replenishment Ship, Medium AOR(L) ไม่มี
9.3 เรือส่งกำลังบำรุงขนาดเล็ก เรือ สกล. มี
9.4 เรือน้ำมัน เรือ นม. Oil Barge YO มี
Gasoline Barge YOG มี
9.5 เรือน้ำ เรือ น. Water Barge YW มี
10. เรือลากจูง เรือ ลจ.
10.1 เรือลากจูงขนาดใหญ่ เรือ ลจญ. Harbour Tug, Large YTB มี
10.2 เรือลากจูงขนาดกลาง เรือ ลจก. Harbour Tug, Medium YTM มี
10.3 เรือลากจูงขนาดเล็ก เรือ ลจล. Harbour Tug, Small YTL มี
11. เรือลำเลียง เรือ ลล.
11.1 เรือลำเลียงทหาร เรือ ลลท. Personnel Transport AP มี
11.2 เรือลำเลียงพัสดุ เรือ ลลพ. Light Cargo Ship AKL ไม่มี
11.3 เรือเสบียง เรือ ลลส. Store Issue Ship AKS มี
12. เรือสำรวจ เรือ สร.
12.1 เรือสำรวจขนาดใหญ่ เรือ สรญ. Oceanographic Research Ship AGOR มี
12.2 เรือสำรวจขนาดเล็ก เรือ สรฝ. Surveying Ship, Coastal AGSC มี
13. เรือพี่เลี้ยง เรือ พล.
13.1 เรือพี่เลี้ยงเรือดำน้ำ เรือ พลด. Submarine Tender AS ไม่มี
14. เรือช่วยรบอื่นๆ
14.1 เรือกู้ซ่อม เรือ กซ. Salvage Ship ARS ไม่มี
14.2 เรือช่วยเหลือผู้ประสบภัย เรือ ชภ. Salvage and Rescue Ship ATS มี
14.3 เรือพยาบาล เรือ พย. Hospital Ship AH ไม่มี
14.4 เรือโรงงาน เรือ รง. Repair Ship AR ไม่มี
14.5 เรืออู่แห้ง เรือ อห. Floating Dry Dock AFD ไม่มี
15. เรือใช้ในกิจการพิเศษอื่นๆ
15.1 เรือขจัดคราบน้ำมัน เรือ คม. Pollution Control Vessel ไม่มี
15.2 เรือขุดลอก เรือ ขล. Dredger YM ไม่มี
15.3 เรือใช้งานเครื่องหมายทางเรือ เรือ งคร. Navigation Aids Service Ship/Buoy Tender ABU มี
15.4 เรือฝึก เรือ ฝ. Training Ship AX ไม่มี
15.5 เรือพระที่นั่ง Royal Yacht YAC มี

ที่ตั้งสำคัญของกองทัพเรือไทย


กองทัพเรือไทยมีที่ตั้งหลักอยู่ในบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และริมชายฝั่งทะเลทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน 4 แห่ง คือ ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและสมุทรปราการ พื้นที่ภาคตะวันออกในจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด พื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันออกในจังหวัดสงขลาและนราธิวาส และพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตกในจังหวัดพังงา ภูเก็ต และสตูล เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของกองทัพเรือทั้งในส่วนของกองเรือยุทธการ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง และหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ปฏิบัติการ

ในส่วนกองบัญชาการเพื่อสั่งการใช้กำลังรบของกองทัพเรือ มี 4 แห่ง คือ กองบัญชาการกองทัพเรือเป็นหน่วยหลัก และกองบัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 2 และ 3 เป็นหน่วยรองแยกตามพื้นที่ปฏิบัติการ (ทัพเรือภาคที่ 1 อ่าวไทยตอนบน ทัพเรือภาคที่ 2 อ่าวไทยตอนล่าง และทัพเรือภาคที่ 3 ทะเลอันดามัน)

ฐานทัพเรือก็จะมี 4 แห่งตามพื้นที่เช่นกัน คือ ฐานทัพเรือกรุงเทพ สัตหีบ สงขลา และพังงา ตามลำดับ โดยฐานทัพเรือกรุงเทพและสัตหีบจะมีสถานะใหญ่กว่าอีก 2 แห่งที่เหลือ ขึ้นต่อกองทัพเรือโดยตรง และมีผู้บัญชาการฐานทัพยศพลเรือเอก ส่วนฐานทัพเรือสงขลาและพังงามีสถานะรองลงไป ขึ้นตรงต่อทัพเรือภาคที่ 2 และ 3 ตามลำดับ และมีผู้บัญชาการฐานทัพยศพลเรือโท

ชื่อสถานที่ เขต/อำเภอ จังหวัด หน่วยงาน
1. พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
1.1 กองบัญชาการกองทัพเรือ พระราชวังเดิม ธนบุรี กรุงเทพมหานคร หลายหน่วย
1.2 ฐานทัพเรือกรุงเทพ ธนบุรี กรุงเทพมหานคร ฐานทัพเรือกรุงเทพ
1.2.1 ท่าเทียบเรือป้อมพระจุลจอมเกล้า พระสมุทรเจดีย์ สมุทรปราการ ฐานทัพเรือกรุงเทพ
1.2.2 หอประชุมกองทัพเรือ ธนบุรี กรุงเทพมหานคร กิจการหอประชุมกองทัพเรือ
1.3 ท่าเทียบเรือกองเรือลำน้ำ บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร กองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ
1.4 ท่าเทียบเรือกองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ บางนา กรุงเทพมหานคร กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กองเรือยุทธการ
1.5 ท่าเทียบเรือกองเรือทุ่นระเบิด พระสมุทรเจดีย์ สมุทรปราการ กองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ
1.6 อู่ทหารเรือธนบุรี ธนบุรี กรุงเทพมหานคร กรมอู่ทหารเรือ
1.7 อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า พระสมุทรเจดีย์ สมุทรปราการ กรมอู่ทหารเรือ
1.8 กองพันต่อสู้อากาศยานที่ 13 (โครงการ) พระสมุทรเจดีย์ สมุทรปราการ กรมต่อสู้อากาศยานที่ 1 หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง
2. พื้นที่ภาคตะวันออก
2.1 กองบัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 สัตหีบ ชลบุรี ทัพเรือภาคที่ 1
2.2 ฐานทัพเรือสัตหีบ สัตหีบ ชลบุรี ฐานทัพเรือสัตหีบ
2.2.1 ท่าเทียบเรือแหลมเทียน สัตหีบ ชลบุรี ฐานทัพเรือสัตหีบ
2.2.2 ท่าเทียบเรือน้ำลึกจุกเสม็ด สัตหีบ ชลบุรี ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ-กองทัพเรือ
2.2.3 สถานีตรวจสอบและลบล้างแม่เหล็กเรือ สัตหีบ ชลบุรี ฐานทัพเรือสัตหีบ
2.3 ท่าเทียบเรือทุ่งโปรง สัตหีบ ชลบุรี กรมสรรพาวุธทหารเรือ
2.4 อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช สัตหีบ ชลบุรี กรมอู่ทหารเรือ
2.5 ฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด แหลมงอบ ตราด ทัพเรือภาคที่ 1
2.6 สนามบินอู่ตะเภา บ้านฉาง ระยอง กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ
2.7 สนามบินท่าใหม่ ท่าใหม่ จันทบุรี หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
2.8 กองพันต่อสู้อากาศยานที่ 11 บ้านฉาง ระยอง กรมต่อสู้อากาศยานที่ 1 หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง
2.9 กองพันต่อสู้อากาศยานที่ 12 ศรีราชา ชลบุรี กรมต่อสู้อากาศยานที่ 1 หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง
2.10 กองพันรักษาฝั่งที่ 13 สัตหีบ ชลบุรี กรมรักษาฝั่งที่ 1 หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง
2.11 ค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้า สัตหีบ ชลบุรี กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 1 กองพลนาวิกโยธิน
2.12 ค่ายตากสิน เมือง จันทบุรี กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 1 กองพลนาวิกโยธิน
2.13 ค่ายกรมหลวงชุมพร สัตหีบ ชลบุรี กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 1 กองพลนาวิกโยธิน
2.14 ค่ายมหาสุรสิงหนาท เมือง ระยอง กองพันทหารราบที่ 7 กรมทหารราบที่ 3 กองพลนาวิกโยธิน
3. พื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันออก
3.1 กองบัญชาการทัพเรือภาคที่ 2 เมือง สงขลา ทัพเรือภาคที่ 2
3.2 ฐานทัพเรือสงขลา เมือง สงขลา ฐานทัพเรือสงขลา
3.2.1 ท่าเทียบเรือฐานทัพเรือสงขลา เมือง สงขลา ฐานทัพเรือสงขลา
3.2.2 สนามบินทหารเรือสงขลา เมือง สงขลา ฐานทัพเรือสงขลา
3.3 สนามบินบ้านทอน เมือง นราธิวาส หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
3.4 กองพันต่อสู้อากาศยานที่ 21 (โครงการ) ขนอม นครศรีธรรมราช กรมต่อสู้อากาศยานที่ 2 หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง
3.5 กองพันต่อสู้อากาศยานที่ 23 (โครงการ) เมือง สงขลา กรมต่อสู้อากาศยานที่ 2 หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง
3.6 กองพันรักษาฝั่งที่ 12 (โครงการ) เมือง สงขลา กรมรักษาฝั่งที่ 1 หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง
3.7 ค่ายกรมหลวงสงขลานครินทร์ เมือง สงขลา กองพันทหารราบที่ 8 กรมทหารราบที่ 3 กองพลนาวิกโยธิน
3.8 ค่ายจุฬาภรณ์ เมือง นราธิวาส กองพันทหารราบที่ 9 กรมทหารราบที่ 3 กองพลนาวิกโยธิน
4. พื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตก
4.1 กองบัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 เมือง ภูเก็ต ทัพเรือภาคที่ 3
4.2 ฐานทัพเรือพังงา ท้ายเหมือง พังงา ฐานทัพเรือพังงา
4.2.1 ท่าเทียบเรือทับละมุ ท้ายเหมือง พังงา ฐานทัพเรือพังงา
4.2.2 สถานีเรือละงู ละงู สตูล ฐานทัพเรือพังงา
4.3 กองพันต่อสู้อากาศยานที่ 22 ท้ายเหมือง พังงา กรมต่อสู้อากาศยานที่ 2 หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง
4.4 กองพันรักษาฝั่งที่ 11 (โครงการ) ท้ายเหมือง พังงา กรมรักษาฝั่งที่ 1 หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง
5. พื้นที่อื่นๆ
5.1 สถานีเรือเชียงแสน เชียงแสน เชียงราย หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง
5.2 สถานีเรือเชียงของ เชียงของ เชียงราย หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง
5.3 สถานีเรือเชียงคาน เชียงคาน เลย หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง
5.4 สถานีเรือสังคม สังคม หนองคาย หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง
5.5 สถานีเรือหนองคาย เมืองหนองคาย หนองคาย หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง
5.6 สถานีเรือรัตนวาปี รัตนวาปี หนองคาย หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง
5.7 สถานีเรือโพนพิสัย โพนพิสัย หนองคาย หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง
5.8 สถานีเรือบึงกาฬ เมืองบึงกาฬ บึงกาฬ หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง
5.9 สถานีเรือศรีเชียงใหม่ ศรีเชียงใหม่ หนองคาย หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง
5.10 สถานีเรือบ้านแพง บ้านแพง นครพนม หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง
5.11 สถานีเรือนครพนม เมืองนครพนม นครพนม หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง
5.12 สถานีเรือธาตุพนม ธาตุพนม นครพนม หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง
5.13 สถานีเรือมุกดาหาร เมืองมุกดาหาร มุกดาหาร หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง
5.14 สถานีเรือเขมราฐ เขมราฐ อุบลราชธานี หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง
5.15 สถานีเรือโขงเจียม โขงเจียม อุบลราชธานี หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง
5.16 ท่าเทียบเรือสถานีสมุทรศาสตร์หัวหิน หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ กรมอุทกศาสตร์

ข่าวการจัดหาอาวุธของกองทัพเรือ


เรือรบหลัก

  • การจัดหาระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-พื้น C-802A - คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2550 อนุมัติงบประมาณจำนวน 1600 ล้านบาท ผูกพันระหว่างปีงบประมาณ 2550-2552 ให้กองทัพเรือดำเนินการจัดหาระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-พื้น (โจมตีเรือ) แบบใหม่ ทดแทนระบบอาวุธปล่อยนำวิถี C-801 บนเรือฟริเกตชุด ร.ล.เจ้าพระยา ที่จัดหามาตั้งแต่ปี 2534 และปัจจุบันได้หมดอายุการใช้งานไปแล้ว ซึ่งกองทัพเรือได้ลงในนามในสัญญาจ้างกับบริษัท China National Precision Machinery Import and Export Corp. (CPMIEC) ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2550 ให้เป็นผู้ดำเนินการกับเรือฟริเกตชุด ร.ล.เจ้าพระยา จำนวน 2 ลำ คือ ร.ล.กระบุรี และ ร.ล.สายบุรี ประกอบด้วยการติดตั้งแท่นยิงสำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-พื้น แบบ C-802A จำนวน 4 แท่นยิง ซึ่งแต่ละแท่นยิงรองรับกล่องยิงอาวุธปล่อยฯ ได้ 2 ท่อยิง (อาวุธปล่อยฯ 1 ลูก ต่อ 1 กล่องยิง) รวม 8 ท่อยิงหรืออาวุธปล่อยฯ 8 ลูก ต่อเรือ 1 ลำ พร้อมระบบควบคุมการยิงที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการส่งมอบลูกอาวุธปล่อยฯ C-802A จำนวน 13 ลูก พร้อมกล่องยิง 16 กล่อง นอกจากนี้กองทัพเรือยังได้จัดหาเรดาร์เดินเรือ/ตรวจการณ์พื้นน้ำแบบ BridgeMaster E ของบริษัท Sperry Marine ประเทศสหรัฐอเมริกา มาติดตั้งกับเรือทั้ง 2 ลำด้วย [10] [11]
  • การปรับปรุงเรือฟริเกต ชุด ร.ล.นเรศวร ระยะที่ 2 - กองทัพเรือมีโครงการปรับปรุงเรือฟริเกตชุด ร.ล.นเรศวร จำนวน 2 ลำ คือ ร.ล.นเรศวร และ ร.ล.ตากสิน ด้วยงบประมาณจำนวน 3,800 ล้านบาท ผูกพันระหว่างปีงบประมาณ 2552-2556 แต่เนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณของรัฐบาล ทำให้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายกองทัพเรือมีมติ เมื่อวันที่ 12 พ.ค. 52 ให้ชะลอโครงการออกไปก่อน โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการปรับปรุงแผนโครงการให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับ ทั้งนี้คาดว่ารายการปรับปรุงหลักๆ จะประกอบด้วยการจ้างปรับปรุงเรดาร์ตรวจการณ์ทางอากาศระยะไกลแบบ LW-08 และเรดาร์ควบคุมการยิงแบบ STIR-180 โดยบริษัท Thales Nederland B.V. ประเทศเนเธอแลนด์ การจัดซื้อระบบอำนวยการรบแบบ TACTICOS เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ-อากาศแบบ SMART-S Mk.2 และเรดาร์ควบคุมการยิงแบบ STIR-180 จากบริษัท Thales Nederland B.V. ประเทศเนเธอแลนด์ การจัดซื้อแท่นยิงแบบ Mk.41 VLS สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-อากาศ แบบ ESSM จำนวน 1 แท่นยิง ซึ่งรองรับท่อยิงอาวุธปล่อยฯ ได้ 8 ท่อยิง (อาวุธปล่อยฯ 4 ลูก ต่อ 1 ท่อยิง) รวมอาวุธปล่อยฯ 32 ลูกต่อเรือ 1 ลำ จากบริษัท Lockheed Martin ประเทศสหรัฐอเมริกา พร้อมลูกอาวุธปล่อยฯ ESSM จากบริษัท Raytheon ประเทศสหรัฐอเมริกา การจัดซื้อปืนใหญ่กลแบบ DS-30M REMSIG ขนาด 30 มม./75 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว จากบริษัท MSI Defense Systems Ltd. ประเทศสหราชอาณาจักร ส่วนการปรับปรุงในระยะที่ 1 กองทัพเรือได้ดำเนินการไปเรียบร้อยแล้ว ในปี 2552 คือ การติดตั้งระบบชักลาก ฮ. ระหว่างลานจอดและโรงเก็บ ฮ. ประจำเรือ แบบ Samahe ของบริษัท DCNS ประเทศฝรั่งเศส โดยบริษัท Italthai Marines เป็นผู้ดำเนินการ [12]
  • การปรับปรุงเรือฟริเกต ชุด ร.ล.เจ้าพระยา ระยะที่ 1 - กองทัพเรือได้ลงนามในสัญญาจ้างปรับปรุงเรือฟริเกต ชุด ร.ล.เจ้าพระยา จำนวน 2 ลำ คือ ร.ล.กระบุรี และ ร.ล.สายบุรี ด้วยงบประมาณจำนวน 850 ล้านบาท ผูกพันระหว่างปีงบประมาณ 2552-2555 ประกอบด้วยการจัดซื้อระบบอำนวยการรบแบบ Poseidon-3 ปืนใหญ่เรือแบบ JRNG-5 ขนาด 100 มม./56 คาลิเบอร์ แท่นคู่ เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำแบบ SR-60A เรดาร์ควบคุมการยิงแบบ TR-47C และระบบออปโทรนิกส์ควบคุมการยิงแบบ JPT-46 พร้อมการเชื่อมต่อให้สามารถทำงานร่วมกับระบบต่างๆ ที่มีอยู่เดิมภายในเรือ จากบริษัท China Shipbuilding & Offshore International Company Ltd. (CSOC) ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ส่วนการปรับปรุงในระยะที่ 2 และ 3 เช่น การเปลี่ยนปืนใหญ่กลและระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ การติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-อากาศ (อาจจะเป็นแบบ LY-60) จะได้มีการดำเนินการต่อไป [13]
  • การปรับปรุงเรือคอร์เวต ชุด ร.ล.รัตนโกสินทร์ - กองทัพเรือได้ลงนามในสัญญาจ้างปรับปรุงเรือคอร์เวต ชุด ร.ล.รัตนโกสินทร์ จำนวน 2 ลำ คือ ร.ล.รัตนโกสินทร์ และ ร.ล.สุโขทัย ด้วยงบประมาณจำนวน 750 ล้านบาท เมื่อวันที่ 17 ก.ย. 2551 ประกอบด้วยการจัดซื้อระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ ESM แบบ AN/SLD-4(V) (หรือแบบ ES-3601) ของบริษัท ITT Electronics System ประเทศสหรัฐอเมริกา การจ้างปรับปรุงระบบโซนาร์ใต้ลำตัวเรือแบบ DSQS-21C โดยบริษัท Atlas Elektronik GmbH ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันี การจ้างปรับปรุงระบบเรดาร์และออปโทรนิกส์ควบคุมการยิงแบบ LIROD-8 โดยบริษัท Thales Nederland B.V. ประเทศเนเธอแลนด์ และการจัดซื้อเป้าลวงแบบ Dagaie ของบริษัท Sagem Défense Sécurité ประเทศฝรั่งเศส [14]
  • การปรับปรุงเรือตรวจการณ์ปืน ชุด ร.ล.สัตหีบ - กองทัพเรือได้ลงนามในสัญญาจ้างปรับปรุงเรือตรวจการณ์ปืน ชุด ร.ล.สัตหีบ จำนวน 3 ลำ คือ ร.ล.สัตหีบ ร.ล.คลองใหญ่ และ ร.ล.ตากใบ ด้วยงบประมาณจำนวน 1,570 ล้านบาท ผูกพันระหว่างปีงบประมาณ 2552-2554 เมื่อวันที่ 5 ส.ค. 2552 ประกอบด้วยการจัดซื้อระบบอำนวยการรบแบบ TACTICOS และระบบออปโทรนิกส์ควบคุมการยิงแบบ Mirador พร้อมการเชื่อมต่อให้สามารถทำงานร่วมกับระบบต่างๆ ที่มีอยู่เดิมภายในเรือ จากบริษัท Thales Nederland B.V. ประเทศเนเธอแลนด์ [15]
  • การจัดหาเรือยกพลขึ้นบกแบบใหม่ - คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 9 ก.ย. 2551 ให้กองทัพเรือจัดหาเรือยกพลขึ้นบก (Amphibious Transport Dock; LPD) จำนวน 1 ลำ จากบริษัท ST Marine ประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ มูลค่า 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อทดแทนเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ที่ต่อในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่จะต้องปลดประจำการจำนวน 2 ลำ นอกจากนี้กองทัพเรือจะได้รับเรือระบายพลขนาดกลางและขนาดเล็กมาพร้อมกับเรือด้วย ทั้งนี้กองทัพเรือได้เลือกใช้แบบเรือของบริษัท ST Marine โดยมีการดัดแปลงจากแบบเรือชั้น Endurance ของกองทัพเรือสิงคโปร์ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของบริษัท Terma AS. ประเทศเดนมาร์ค (ระบบอำนวยการรบแบบ C-Flex เรดาร์ตรวจการณ์ทางอากาศแบบ SCANTER 4100 (C-Search) ระบบออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง C-Fire) และระบบอาวุธของบริษัท Oto Melara SpA. ประเทศอิตาลี (ปืนใหญ่เรือแบบ OTO Breda Compact ขนาด 76 มม./62 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว) และบริษัท MSI Defense Systems Ltd. ประเทศสหราชอาณาจักร (ปืนใหญ่กลแบบ DS-30M REMSIG ขนาด 30 มม./75 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว) โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2555 [16] [17] [18]

อากาศยาน

  • การจัดหาเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง MH-60S - รัฐสภาสหรัฐฯ ได้อนุมัติให้รัฐบาลสหรัฐฯ โดยกองทัพเรือ ขายเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบ MH-60S Knighthawk ของบริษัท Sikorsky ประเทศสหรัฐอเมริกา ให้กับกองทัพเรือไทย จำนวน 6 เครื่อง เพื่อนำไปปฏิบัติการค้นหา ช่วยชีวิต และขนส่งกำลังพล โดยกองทัพเรือได้เซ็นสัญญาจัดซื้อในขั้นต้นก่อนจำนวน 2 เครื่อง และจะดำเนินการจัดซื้อจนครบ 6 ลำต่อไป ปัจจุบันได้รับแล้ว 2 ลำ โดยคาดว่ากองทัพเรือจะนำไปปฏิบัติการจากเรือยกพลขึ้นบกลำใหม่ที่สั่งต่อจากประเทศสิงคโปร์ [19]
  • การจัดหาเครื่องบินลำเลียงขนาดกลาง ERJ-135LR - กองทัพบกและกองทัพเรือร่วมกันลงนามในสัญญาจัดซื้อเครื่องบินแบบ ERJ-135LR จากบริษัท Embraer ประเทศบราซิล จำนวน 2 เครื่อง เหล่าทัพละ 1 เครื่อง โดยกองทัพบกและกองทัพเรือจะนำไปใช้ในการสนับสนุนการเดินทางของผู้บัญชาการและบุคคลสำคัญ สำหรับเครื่องของกองทัพเรือยังมีขีดความสามารถในการขนส่งผู้บาดเจ็บจากการสู้รบ (CASEVAC) ได้ด้วย ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนภารกิจของกองทัพเรือใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ [20] และต่อมากองทัพเรือได้ลงนามในสัญญาจัดซื้อเครื่องบินแบบดังกล่าวเพิ่มเติมอีก 1 เครื่อง เพื่อให้มีจำนวนเครื่องบินพร้อมใช้งานมากขึ้น [21]
  • การปรับปรุงเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ S-70B - คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 22 ก.ย. 2552 อนุมัติงบประมาณจำนวน 990 ล้านบาท ผูกพันระหว่างปีงบประมาณ 2552-2554 ให้กองทัพเรือดำเนินการพัฒนาขีดความสามารถในการปราบเรือดำน้ำของ ฮ.ปราบเรือดำน้ำ แบบ S-70B Seahawk จำนวน 6 เครื่อง ซึ่งกองทัพเรือได้ลงในนามในสัญญาจ้างกับบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 25 ก.ย. 2552 ให้จัดซื้อโซนาร์ชักหย่อน แบบ HELRAS (HElicopter Long-Range Active Sonar) DS-100 ของบริษัท L-3 Communications Ocean Systems ประเทศสหรัฐอเมริกา สำหรับ ฮ. จำนวน 3 เครื่อง และการปรับปรุงระบบควบคุมและประมวลผลทางยุทธวิธี AN/ASN-150(V) TDMS (Tactical Data Management System) สำหรับ ฮ. ทั้ง 6 เครื่อง ให้สามารถทำงานร่วมกับระบบโซนาร์แบบชักหย่อน ระบบตอร์ปิโดและระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ ทั้งนี้เพื่อให้ ฮ. S-70B สามารถปฏิบัติภารกิจได้เต็มขีดความสามารถตามที่ได้รับการออกแบบไว้ตั้งแต่ต้น และพร้อมรับกับภัยคุกคามจากเรือดำน้ำที่ประเทศเพื่อนบ้านทยอยจัดซื้อเข้าประจำการอยู่ในปัจจุบัน [22]

อาวุธทางบก

  • การจัดหารถเกราะลำเลียงพล BTR-3E1 - กองทัพเรือได้ลงนามในสัญญาจัดซื้อรถเกราะล้อยาง BTR-3E1 จำนวน 12 คัน กับบริษัท Ukrspetsexport ประเทศยูเครน ด้วยงบประมาณจำนวน 420 ล้านบาท เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 2551 เพื่อนำไปทดแทนรถเกราะคอมมานโด V-150 สำหรับสนับสนุนภารกิจตามแผนป้องกันประเทศ และการปฏิบัติการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ของหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน โดยจะนำเข้าประจำการในกองพันลาดตระเวน กองพลนาวิกโยธิน [23]
  • การจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-อากาศ QW-18 - กองทัพเรือได้จัดซื้ออาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-อากาศ ประทับบ่ายิง พิสัยยิงใกล้ นำวิถีด้วยระบบอินฟราเรด แบบ QW-18 จากบริษัท China National Precision Machinery Import and Export Corp. (CPMIEC) ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ในปี 2552 โดยคาดว่าจะนำเข้าประจำการในกองพันต่อสู้อากาศยาน กรมต่อสู้อากาศยาน หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง และในกองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน กรมทหารปืนใหญ่ กองพลนาวิกโยธิน

การพึ่งพาตนเอง

  • เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.991 - คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อ 2546 อนุมัติงบประมาณจำนวน 1,912 ล้านบาท ให้กองทัพเรือดำเนินการต่อเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด ต.991 จำนวน 3 ลำ คือ ต.991 ต.992 และ ต.993 ซึ่งกองทัพเรือได้ลงนามในสัญญาจ้างกับบริษัทมาร์ซัน จำกัด ให้จัดสร้างเรือจำนวน 2 ลำ คือ ต.992 และ ต.993 และจัดส่งวัสดุอุปกรณ์สำหรับสร้างเรือให้กับกรมอู่ทหารเรือเป็นผู้จัดสร้างเรืออีก 1 ลำ คือ ต.991 โดยต่อที่อู่ทหารเรือธนบุรี ฐานทัพเรือกรุงเทพ ทั้งนี้เรือชุด ต.991 เป็นเรือที่จัดสร้างตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงร่วมออกแบบและทดสอบเรือด้วยพระองค์เอง โดยกรมอู่ทหารเรือเป็นผู้ออกแบบโดยขยายแบบเรือ ต.99 ให้ใหญ่ขึ้นร้อยละ 10 กับปรับปรุงสมรรถนะของเรือให้สามารถปฏิบัติการในทะเลให้ดีขึ้น รวมทั้งปรับปรุงการจัดพื้นที่ใช้สอยและที่พักอาศัยความเป็นอยู่ของกำลังพลประจำเรือให้ดีขึ้น นอกจากนี้กองทัพเรือยังได้เลือกใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของบริษัท Thales Nederland B.V. ประเทศเนเธอแลนด์ และระบบอาวุธของบริษัท MSI Defense Systems Ltd. ประเทศสหราชอาณาจักร โดยปัจจุบันเรือทั้ง 3 ลำ แล้วเสร็จและขึ้นระวางประจำการเรียบร้อยแล้ว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธีปล่อยเรือ ต.991 ลงน้ำด้วยพระองค์เอง เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2550 ส่วนเรือ ต.992 และ ต.993 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงประกอบพิธีปล่อยเรือลงน้ำ เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2550 [24]
  • เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.994 - คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 22 ก.ย. 2552 อนุมัติงบประมาณจำนวน 1,603 ล้านบาท ให้กองทัพเรือดำเนินการต่อเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด ต.994 จำนวน 3 ลำ คือ ต.994 ต.995 และ ต.996 ซึ่งกองทัพเรือได้ลงนามในสัญญาจ้างกับบริษัทมาร์ซัน จำกัด เมื่อวันที่ 25 ก.ย. 2552 ให้จัดสร้างเรือจำนวน 2 ลำ และจัดส่งวัสดุอุปกรณ์สำหรับสร้างเรือให้กับกรมอู่ทหารเรือเป็นผู้จัดสร้างเรืออีก 1 ลำ โดยต่อที่อู่ทหารเรือธนบุรี ฐานทัพเรือกรุงเทพ ทั้งนี้เรือชุด ต.994 ได้รับการออกแบบโดยกรมอู่ทหารเรือ โดยนำข้อบกพร่องจากการใช้งานเรือชุด ต.991 มาพัฒนาปรับปรุง โดยมีการขยายแบบเรือขึ้นร้อยละ 8 แต่ยังคงคุณลักษณะ อุปกรณ์หลัก และรูปแบบลายเส้นตัวเรือ เหมือนกับเรือชุด ต.991 และมีการปรับปรุงขนาดอุปกรณ์และตำแหน่งการติดตั้งให้เหมาะสมกับการใช้งานและขนาดของเรือด้วย นอกจากนี้กองทัพเรือยังได้เลือกใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของบริษัท Thales Nederland B.V. ประเทศเนเธอแลนด์ (ระบบอำนวยการรบแบบ TACTICOS ระบบออปโทรนิกส์ควบคุมการยิงแบบ Mirador) และระบบอาวุธของบริษัท MSI Defense Systems Ltd. ประเทศสหราชอาณาจักร (ปืนใหญ่กลแบบ DS-30M REMSIG ขนาด 30 มม./75 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว) และบริษัท Oto Melara SpA. ประเทศอิตาลี (ปืนกลแบบ OTO Melara naval terret ขนาด 12.7 มม. แท่นเดี่ยว) โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2554 ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ไปทรงประกอบพิธีวางกระดูกงูเรือ ต.994 เมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2553 [25]
  • เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งแบบใหม่ - คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2551 อนุมัติงบประมาณจำนวน 2,871 ล้านบาท ให้กองทัพเรือดำเนินการต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำใหม่ จำนวน 1 ลำ ซึ่งกองทัพเรือได้ลงนามในสัญญาจ้างกับบริษัทอู่กรุงเทพ จำกัด เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2552 ให้เป็นเป็นผู้ดำเนินการ โดยจะทำการต่อที่อู่ราชนาวีมหิดลฯ ฐานทัพเรือสัตหีบ ทั้งนี้กองทัพเรือได้เลือกใช้แบบเรือของบริษัท BVT Surface Fleet ประเทศสหราชอาณาจักร ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของบริษัท Thales Nederland B.V. ประเทศเนเธอแลนด์ (ระบบอำนวยการรบแบบ TACTICOS เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำแบบ Variant พร้อมระบบพิสูจน์ฝ่ายแบบ TSA 2525 เรดาร์และออปโทรนิกส์ควบคุมการยิงแบบ LIROD Mk.2 ระบบสื่อสารแบบรวมการ FICS (Fully Integrated Communications System)) และบริษัท Servowatch ประเทศสหราชอาณาจักร (ระบบ IPMS (Intergrate Platform Management System)) และระบบอาวุธของบริษัท Oto Melara SpA. ประเทศอิตาลี (ปืนใหญ่เรือแบบ OTO Breda Compact ขนาด 76 มม./62 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว) และบริษัท MSI Defense System Ltd. ประเทศสหราชอาณาจักร (ปืนใหญ่กลแบบ DS-30M REMSIG ขนาด 30 มม./75 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว) โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2555 [26]
  • เรือปฏิบัติการพิเศษชุดเรือ พ.51 - กองทัพเรือได้ลงนามในสัญญาจ้างจัดสร้างเรือปฏิบัติการความเร็วสูง (ลักษณะคล้ายกับเรือปฏิบัติการพิเศษ SOC Mk.V ของกองทัพเรือสหรัฐฯ) จำนวน 4 ลำ กับบริษัทมาร์ซัน จำกัด ด้วยงบประมาณจำนวน 300 ล้านบาท เมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2550 เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของกำลังพลนักทำลายใต้น้ำจู่โจม หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ ซึ่งกองทัพเรือได้ประกอบพิธีปล่อยเรือลงน้ำเมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2552 ณ อู่ต่อเรือของบริษัทมาร์ชัน จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ และทำพิธีรับมอบเรือเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2552 ณ ฐานทัพเรือสัตหีบ [27]
  • เรือส่งกำลังบำรุงขนาดเล็ก - กองทัพเรือได้ลงนามในสัญญาจ้างจัดสร้างเรือส่งกำลังบำรุงขนาดเล็ก (ลักษณะเหมือนกับเรือระบายพลขนาดใหญ่) จำนวน 2 ลำ กับบริษัทมาร์ซัน จำกัด ด้วยงบประมาณจำนวน 300 ล้านบาท ผูกพันระหว่างปีงบประมาณ 2551-2553 เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2551 เพื่อนำไปทดแทนเรือระบายพลขนาดใหญ่ ชุด ร.ล.มัตโพน รวมถึงเพื่อรองรับภารกิจการป้องกันประเทศและการช่วยเหลือประชาชนอื่นๆ เช่น การสนับสนุนการลำเลียงยุทโธปกรณ์ทางทะเล การลำเลียงเครื่องอุปโภคบริโภค การช่วยเหลือผู้ประสบภัย การลำเลียงน้ำจืดสนับสนุนเรือ หน่วยเฉพาะกิจ หน่วยราชการ ประชาชนตามเกาะและแนวขอบฝั่งทะเลที่ประสบปัญหาขาดแคลน รวมทั้งโครงการตามพระราชดำริ การสนับสนุนการฝึกปฏิบัติงานของหน่วยต่างๆ ทั้งในและนอก ทร. ซึ่งกองทัพเรือได้ประกอบพิธีวางกระดูกงูเรือเมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2552 ณ อู่ต่อเรือของบริษัทมาร์ชัน จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2553 [28]
  • ยานใต้น้ำขนาดเล็ก - กองทัพเรือโดยสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ ได้จ้างจัดสร้างยานใต้น้ำสำหรับหน่วยปฏิบัติการพิเศษของกองทัพเรือ จำนวน 1 ลำ กับบริษัทอู่กรุงเทพ จำกัด ด้วยงบประมาณจำนวน 30 ล้านบาท โดยเป็นงบประมาณจากกระทรวงกลาโหมจำนวน 24,953,200 และจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติจำนวน 5,000,000 บาท ทั้งนี้ยานใต้น้ำลำนี้เป็นยานต้นแบบมีระวางขับน้ำ 20 ตัน [29]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. ธงทั้งสองอย่างนี้นับเป็นคนละธง แต่ลักษณะของธงตามที่บรรยายไว้ในพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522 นั้น เป็นลักษณะอย่างเดียวกัน
  2. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551
  3. "พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพเรือ กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2552" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. 30 มีนาคม 2552. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2553. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. มาตรา 4(8)แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497
  5. มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521
  6. hhttp://thaipublica.org/2013/08/frigate/
  7. http://thaidefense-news.blogspot.com/2013/08/blog-post_27.html#more
  8. http://thaidefense-news.blogspot.com/2013/08/blog-post_27.html#more
  9. http://defense-studies.blogspot.com/2013/01/us-transfers-two-ohp-class-frigates-to.html
  10. นาวิกศาสตร์ ปีที่ ๙๐ เล่มที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พักครึ่งเวลา พลแรือเอก สถิรพันธุ์ เกยานนท์
  11. สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ โครงการจัดหาระบบอาวุธปล่อยนำวิถี พื้น-สู่-พื้น ทดแทน C-801 พร้อมลูกอาวุธปล่อยฯ
  12. สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ โครงการปรับปรุงเรือฟริเกตชุด ร.ล.นเรศวร
  13. สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ โครงการปรับปรุงเรือฟริเกตชุด ร.ล.เจ้าพระยา
  14. สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ โครงการปรับปรุงเรือคอร์เวตชุด ร.ล.รัตนโกสินทร์
  15. สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ โครงการจัดหาเครื่องควบคุมการยิงเรือตรวจการณ์ปืนชุด ร.ล.สัตหีบ
  16. DefenseNews.com Thailand Plans $191.3M Arms Purchase
  17. Janes.com Terma for Thai LPD
  18. สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ โครงการจัดหาเรือยกพลขึ้นบก
  19. Defense Industry Daily Up to $246M for 6 Royal Thai Navy MH-60S Helicopters
  20. Embraer Press Release Embraer sign contracts with the Royal Thai Army and the Royal Thai Navy
  21. สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ โครงการจัดหา บ. ลำเลียงขนาดกลาง ลำที่ 2
  22. สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการปราบเรือดำน้ำของ ฮ.ปด.1
  23. Embraer Naval Science 92th year. 2nd issue. Febburary 2009. ISSN 0125-4324.
  24. Thai Military Blog ต.991 เรือรบตามพระราชดำริ...ของกองทัพเรือไทย (Thai)
  25. สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ โครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด เรือ ต.994
  26. มติชนออนไลน์ ครม.อนุมัติงบกว่า 3 พันล้าน ถอยเรือตรวจการใหม่
  27. Royal Thai Navy Official Website ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีปล่อยเรือปฏิบัติการความเร็วสูงลงน้ำ และพิธีวางกระดูกงูเรือส่งกำลังบำรุงขนาดเล็ก (Thai)
  28. Royal Thai Navy Official Website ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีปล่อยเรือปฏิบัติการความเร็วสูงลงน้ำ และพิธีวางกระดูกงูเรือส่งกำลังบำรุงขนาดเล็ก (Thai)
  29. OA Military Book กองทัพเรือจัดสร้างยานใต้น้ำลำแรกของไทย

แหล่งข้อมูลอื่น